พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ 465
ข้อความบางตอนจาก ธรรมปริยายสูตร
[๑๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมปริยายอันเป็นเหตุ
แห่งความกระเสือกกระสนแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมปริยายอันเป็นเหตุแห่งความ
กระเสือกกระสนเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีกรรม
เป็นกำเนิด มีกรรมเป็นพวกพ้อง มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กระทำกรรม
อันใดไว้ เป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 746 เมื่อพระโยคาวจร พิจารณาเห็นว่าคนและคนอื่นมีกรรมเป็นของตนอย่างนี้ว่า เจ้าโกรธเขาแล้ว จักทำอะไรได้ เจ้าจักสามารถทำคุณธรรมมีศีลเป็นต้น ของเขาให้พินาศได้หรือ เจ้ามาตามกรรมของตนแล้ว ก็จักไปตามกรรมของตนนั่นเอง มิใช่หรือ? ชื่อว่า การโกรธคนอื่นเป็นเหมือนกับการที่บุคคลประสงค์จะคว้าเอาเถ้าที่ปราศจากเปลว หลาวเหลีกที่ร้อนและคูถเป็นต้น ขว้างปาบุคคลอื่น ถึงเขาโกรธเจ้าแล้วก็จักทำอะไรให้ได้เขาจักสามารถให้คุณธรรมมีศีลเป็นต้น ของเจ้าพินาศได้หรือ? เขามาตามกรรมของตน ก็จักไปตามกรรมของตนเหมือนกัน ความโกรธนั้นก็จักตกรดหัวเขานั่นแหละ เหมือนของที่ส่งไป ไม่มีใครรับ (ก็จะกลับมาหาผู้ส่ง) และเหมือนกำฝุ่นที่ซัดไป ทวนลม (ก็จะปลิวกลับมาถูกผู้ขว้าง) ฉะนั้น บ้างพิจารณาเห็นว่า ทั้งคนทั้งคนอื่น มีกรรมเป็นของตนและดำรงอยู่ในการพิจารณาบ้าง คบหากัลยาณมิตรผู้ยินดีในเมตตาภาวนาเช่นพระอัสสคุตตเถระบ้าง, พยาบาทอันเธอย่อมละได้.
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
เกิดมาก็เพราะกรรม ได้รับสิ่งที่ดี ไม่ดีก็เพราะกรรม ตายก็เพราะกรรม แล้วจะโทษใครในเมื่อได้รับสิ่งที่ดีและไม่ดี เพราะสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆ ตน เมื่อพิจารณาดังนี้ ความโกรธก็ลดลงได้ครับขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์