ขอความรู้เกี่ยวกับ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ครับขอบพระคุณล่วงหน้าครับ
ขอเชิญคลิกอ่านคำอธิบายที่
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
ธรรมเป็นเหตุเกิดธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ หมายถึงอะไร
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ หมายถึง การวิจัยธรรม แต่ไม่ใช่ตัวตนที่เลือกทำ
ต้องเป็นปัญญาที่เข้าใจความจริงของสภาพธรรมจริงๆ ค่ะ
คือพิจารณาเห็นธรรมอยู่เสมอ , มีธรรมะอยู่ในใจ , ไม่ถูกครอบงำจากโลกิยะ
อ่านหมดแล้วก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดี
คำว่า "วิจย, อ่านว่า วิจะยะ" นี้ ท่านใช้กับทานเหมือนกัน ถ้าผมจำไม่ผิด ก็คือ วิจยทานํ
สุคตปสตฺถํ (อ่านว่า วิจะยะทานัง สุคะตะปะสัตถัง แปลว่าพระสุคตเจ้าทรงสรรเสริญ
ทานทีเลือกเฟ้นดีแล้ว) อะไรทำนองนี้แหละครับ ต้องขออภัยด้วยหากจำบาลีมาผิด
พลาด ประเด็นก็คือดูเหมือนว่า การให้ทานนั้นต้องเลือกให้ แต่บางที่ก็เหมือนกับว่า ไม่
ให้เลือก เช่น สังฆทาน ถ้าเลือกก็จะกลายเป็นปาฏิปุคคลิกทานไป ไม่เป็นสังฆทาน
และผลที่ได้รับก็ไม่มากเหมือนสังฆทาน
ขอความกรุณาอธิบาย และแก้บาลีให้ถูกต้องด้วยหากผิด
เรียนความเห็นที่ ๔
ภาษาบาลีและคำแปลที่ถูกคือ
วิเจยฺย ทานํ สุคตปฺปสตฺถํ.
การเลือกให้ อันพระสุคตทรงสรรเสริญ.
การเลือกให้แก่ผู้มีศีล ให้แก่หมู่อริยสงฆ์ ย่อมมีผลมากกว่าให้แก่ผู้ทุศีลหรือให้แก่หมู่อื่นๆ ที่ไม่มีคุณธรรม ดังนั้นการเลือกให้ก็เป็นสังฆทานได้การเลือกให้เป็นปาฏิปุคคลิกทานก็ได้ อยู่ที่ความเข้าใจในพระพุทธพจน์ ซึ่งไม่ขัดกันเลยครับ
ขอขอบคุณครับอาจารย์ประเชิญครับ