จากที่ได้อ่านข้อความที่ว่า .. สำหรับฆราวาสทั่วไป ก็มีธรรมที่เรียกว่า คิหิปฏิบัติ หรือ Social philosophy of Buddhism เป็นธรรมสำหรับรู้หน้าที่ของกันและกัน เพื่อไม่เบียดเบียน.. จึงขอรบกวนเรียนถามว่า คิหิปฏิบัติ มีกล่าวในพระไตรปิฎกหรือไม่อย่างไรคะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
คิหิปฏิบัติ คือ ข้อปฏิบัติของผู้ครองเรือนที่ถูกต้อง นั่นคือ พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในสิงคาลกสูตรไว้ดีแล้ว แต่ ไม่ใช่ทฤษฎีใหม่ที่คิดเองของชาวโลก ครับ
เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ
อริยสาวกเป็นผู้ปกปิดทิศทั้ง ๖ [สิงคาลกสูตร]
ขออนุโมทนา
ขอขอบพระคุณอ.ผเดิม อ.คำปั่น และทุกท่านที่กรุณาช่วยให้ความเข้าใจในสิ่งที่เคยสงสัยหลายอย่าง และขออนุโมทนาในความตั้งใจดีนี้ค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
คฤหัสถ์ คือ เพศที่ไม่ใช่ผู้ที่สละอาคารบ้านเรื่อนออกบวชเป็นบรรพชิต คฤหัสถ์มีชีวิตเป็นไปตามควรแก่คฤหัสถ์ มีการดำรงชีวิตตามปกติ มีการประกอบอาชีพการงานต่างๆ มีหน้าที่ต่างๆ ที่จะพึงกระทำ ธรรมที่ควรมีในคฤหัสถ์ หรือ คฤหัสถ์ควรน้อมประพฤติ ก็่ย่อมไม่พ้นไปจากความดีประการต่างๆ ทั้งในเรื่องของศีล ๕ คือ เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม เว้นจากการพูดเท็จ เว้นจากการดื่มสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท, ในเรื่องของกุศลกรรมบถ ๑๐ ที่เป็นไปทางกาย ทางวาจา และทางใจ ได้แก่ เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม เว้นจากการพูดเท็จ เว้นจากการพูดส่อเสียด เว้นจากการพูดคำหยาบ เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่โลภอยากได้ของของผู้อื่น ไม่พยาบาทปองร้ายผู้อื่นมีความเห็นที่ถูกต้อง หรือแม้กระทั่งในเรื่องของสัจจะ ความเป็นผู้จริงใจ มีคำจริง ธรรมะ คือ ปัญญา ความเข้าใจถูกเห็นถูก ธิติ ความเพียร และ จาคะ การให้ การเสียสละ เป็นต้น ล้วนเป็นธรรมของคฤหัสถ์ทั้งนั้น เมื่อกล่าวโดยประมวลแล้ว ไม่พ้นไปจากความดีทุกอย่าง
ที่น่าพิจารณาเป็นอย่างยิ่ง คือ ขณะนี้แต่ละคนได้เกิดมาแล้ว พระสัทธรรมก็ยังมีอยู่ จึงไม่ควรที่จะประมาทในชีวิต เพราะชีวิตเหลือน้อยเต็มที สั้นมาก เปรียบเหมือนกับหยาดน้ำค้างที่อยู่บนยอดหญ้า พอถูกแสงอาทิตย์ ก็เหือดแห้งไป เปรียบเหมือนกับรอยไม้ที่ขีดลงไปในน้ำ ย่อมกลับเข้าหากันเร็ว ไม่ตั้งอยู่นาน, เปรียบเหมือนกับชิ้นเนื้อที่ใส่ไว้ในกระทะเหล็ก ไฟเผาตลอดทั้งวัน ย่อมจะย่อยยับไปรวดเร็ว ไม่ตั้งอยู่นาน, เปรียบเหมือนกับ แม่โคที่จะถูกเชือด ที่เขานำไปสู่ที่ฆ่า ย่อมก้าวเท้าเดินไปใกล้ที่ฆ่า ใกล้ความตาย เป็นต้น ไม่รู้ว่าจะจากโลกนี้ไปเมื่อใด การไม่ประมาทในการเจริญกุศลประการต่างๆ และอบรมปัญญาด้วย จึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุดครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ธรรมะที่ทำให้อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข คือ มีเมตตา กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ต่อหน้าและลับหลังเหมือนกัน ได้ลาภมาก็แบ่งปัน มีศีลเสมอกัน และทิฏฐิเสมอกัน ค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
จากตอนหนึ่งในสิงคาลกสูตร
[๒๐๔] ดูก่อนคฤหบดีบุตร สมณพราหมณ์ผู้เป็นทิศเบื้องบน อันกุลบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ ด้วยกายกรรมประกอบด้วยเมตตา ๑ ด้วยวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ๑ ด้วยมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ๑ ด้วยความเป็นผู้ไม่ปิดประตู ๑ ด้วยให้อามิสทานเนืองๆ ๑.
รบกวนเรียนถามว่า ด้วยความเป็นผู้ไม่ปิดประตู ๑ ด้วยให้อามิสทานเนืองๆ ๑. หมายความว่าอย่างไรคะ
ขออนุโมทนาค่ะ
เรียน ความคิดเห็นที่ ๗ ครับ
ข้อความจากอรรถกถา สิงคาลกสูตร ได้อธิบายทั้ง ๒ ประการ ดังนี้ ครับ
[เล่มที่ 16] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ ๑๑๙
บทว่า อนาวฏทฺวารตาย แปลว่า ด้วยความเป็นผู้ไม่ปิดประตู. ในบทนั้นอธิบายว่า กุลบุตรแม้เปิดประตูทั้งหมด ไม่ให้ ไม่ต้อนรับผู้มีศีลทั้งหลาย ก็ชื่อว่าเป็นผู้ปิดประตูอยู่นั้นเอง. ก็แต่ว่ากุลบุตร แม้ปิดประตูทั้งหมด ให้ต้อนรับ ผู้มีศีลเหล่านั้น ก็ชื่อว่าเป็นผู้เปิดประตูอยู่นั้นเอง. เมื่อผู้มีศีลมาถึงประตูเรือน ไม่ควรกล่าวสิ่งที่มีอยู่ว่าไม่มี แล้วถวาย อย่างนี้ชื่อว่า ความเป็นผู้ไม่ปิดประตู.
บทว่า ด้วยให้อามิสทานเนืองๆ อธิบายว่า ของที่ควรบริโภคก่อนภัตตาหารชื่อว่าอามิส เพราะฉะนั้น ด้วยการถวายข้าวยาคู (ข้าวต้ม) และภัตแด่ผู้มีศีลทั้งหลาย ดังนี้.
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอบพระคุณค่ะ