๑๑. สัปปกเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระสัปปกเถระ
โดย บ้านธัมมะ  19 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 40602

[เล่มที่ 52] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 56

เถรคาถา จตุกกนิบาต

๑๑. สัปปกเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระสัปปกเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 52]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 56

๑๑. สัปปกเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระสัปปกเถระ

[๓๓๓] เมื่อใด นกยางทั้งหลายมีขนอันขาวสะอาดถูกความกลัวต่อเมฆคุกคามแล้ว ปรารถนาจะหลบซ่อนอยู่ในรัง บินเข้าไปสู่รัง เมื่อนั้น แม่น้ำอชกรณีย่อมยังเราให้ยินดี เมื่อใด นกยางมีขนขาวสะอาดดี ถูกความกลัวต่อเมฆดำ คุกคามแล้วไม่เห็นที่หลบลี้ จึงแสวงหาที่หลบลี้ เมื่อนั้น แม่น้ำอชกรณีย่อมยังเราให้ยินดี ต้นหว้าทั้งหลาย ทั้งสองข้างแห่งแม่น้ำอชกรณี ทำฝั่งแม่น้ำข้างหลังแห่ง ถ้ำใหญ่ของเราให้งาม จะไม่ยังสัตว์อะไรให้ยินดีในหมู่นั้นได้เล่า กบทั้งหลายมีปัญญาน้อย พ้นดีแล้วจากหมู่แห่งงู มีพิษและงูไม่มีพิษ พากันร้องด้วยเสียงอันไพเราะ วันนี้ เป็นสมัยที่อยู่ปราศจากภูเขาและน้ำก็หามิได้ แม่น้ำอชกรณีนี้เป็นแม่น้ำปลอดภัย เป็นแม่น้ำเกษมสำราญ รื่นรมย์ดี. (ดูบันทึกเพิ่มเติม)

จบสัปปกเถรคาถา

อรรถกาถาสัปปกเถรคาถาที่ ๑๑

คาถาของท่านพระสัปปกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ยทา พลากา ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร.

พระเถระแม้นี้ ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน สั่งสมบุญไว้ในภพนั้นๆ ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ บังเกิดเป็นนาคมีอานุภาพมาก


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 57

เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่าสัมภวะ นั่งเข้าสมาบัติในกลาง แจ้ง ท่านถือเอาดอกปทุมดอกใหญ่กั้นไว้เหนือศีรษะ ได้กระทำการบูชา.

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ใน พุทธุปบาทกาลนี้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในกรุงสาวัตถี ได้นามว่า สัปปกะ ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว ฟังธรรมในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ศรัทธาบวชเรียนพระกรรมฐาน อยู่ ณ เลณคิริวิหาร ใกล้ฝั่งแม่น้ำ ชื่อว่าอชกรณี ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ ในอปทาน (๑) ว่า

ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์ มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อโรมสะ ครั้งนั้นพระพุทธเจ้าพระนามว่า สัมภวะ ประทับอยู่ กลางแจ้ง เราออกจากที่อยู่ไปถือเอาดอกปทุมบูชา เรา ถือดอกปทุมบูชาอยู่วันหนึ่ง แล้วจึงได้กลับที่อยู่ ในกัป ที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าใด ด้วยการบูชา นั้นเราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา เราเผา กิเลสทั้งหลายแล้ว... ฯลฯ... พระพุทธศาสนาเราได้ทำ เสร็จแล้ว ดังนี้.

ท่านบรรลุพระอรหัตแล้วมายังกรุงสาวัตถี เพื่อถวายบังคมพระศาสดา อันญาติทั้งหลายอุปัฏฐากอยู่ในที่นั้น ๒ - ๓ วัน แสดงธรรม ให้ญาติทั้งหลายตั้งอยู่ในสรณะและศีล ได้เป็นผู้ประสงค์จะไปตามที่กล่าว แล้วนั้นแล. ญาติทั้งหลายอ้อนวอนว่า ขอท่านจงอยู่ในที่นี้เถิดขอรับ


(๑) ขุ. อป. ๓๓/ ๑๑๐./๑๖๒ ในชื่อว่า ปทุมธาริยเถราปทาน


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 58

พวกกระผมจะปฏิบัติ. ท่านแสดงอาการไปแล้วยืนอยู่ เมื่อจะประกาศความยินดียิ่งในวิเวก โดยการแสดงอ้างระบุถึงสถานที่ที่ตนอยู่ จึงได้ กล่าว ๔ คาถาว่า

เมื่อใด นกยางทั้งหลายมีขนอันขาวสะอาดถูกความกลัวต่อเมฆคุกคามแล้ว ปรารถนาจะหลบซ่อนอยู่ในรัง บินเข้าไปสู่รัง เมื่อนั้น แม่น้ำอชกรณีย่อมยังเราให้ยินดี เมื่อใดนกยางมีขนขาวสะอาดดี ถูกความกลัวต่อเมฆดำคุกคามแล้ว ไม่เห็นที่หลบลี้ จึงแสวงหาที่หลบลี้ เมื่อนั้น แม่น้ำอชกรณีย่อมยังเราให้ยินดี ต้นหว้าทั้งหลาย ทั้งสองข้างแห่งแม่น้ำอชกรณี ทำฝั่งแม่น้ำข้างหลังแห่งถ้ำใหญ่ของเราให้งาม จะไม่ยังสัตว์อะไรให้ยินดีในที่นั้นได้เล่า กบทั้งหลายมีปัญญาน้อย พ้นดีแล้วจากหมู่แห่งงูพิษและงูไม่มีพิษ พากันร้องด้วยเสียงไพเราะ วันนี้ เป็นสมัยที่อยู่ปราศจากภูเขาและแม่น้ำก็หามิได้ แม่น้ำอชกรณีนี้เป็นแม่น้ำปลอดภัย เป็นแม่น้ำเกษมสำราญ รื่นรมย์ดี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยทา แปลว่า ในกาลใด. บทว่า พลากา แปลว่า นกยาง.

บทว่า สุจิปณฺฑรจฺฉทา แปลว่า มีขนขาวสะอาดบริสุทธิ์.

บทว่า กาฬสฺส เมฆสฺส ภเยน ตชฺชิตา ความว่า ถูกความกลัว แต่ฝนจากการคำรามแห่งเมฆในฤดูฝน คล้ายภูเขาอัญชันดำเพราะน้ำจำนวนมากหุ้มห่อไว้ คุกคามทำให้หวาดกลัวแล้ว.


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 59

บทว่า ปเลหิติ ความว่า จักบินไปจากที่หากิน.

บทว่า อาลยํ แปลว่า ที่อยู่ คือรังของตน.

บทว่า อาลเยสินี ความว่า ปรารถนาจะหลบซ่อนอยู่ในรังเท่านั้น.

บทว่า ตทา นที อชกรณี รเมติ มํ ความว่า ในฤดูฝนตกนั้น แม่น้ำ ชื่อว่า อชกรณี เต็มไปด้วยน้ำใหม่ ได้แก่ ฝั่งแม่น้ำ ซึ่งพัดเอาสิ่งที่พัด ไปได้ ย่อมยังเราให้ยินดี คือยังจิตของเราให้ยินดี เพราะฉะนั้น ท่านจึง ประกาศความยินดียิ่งในวิเวก โดยแสดงอ้างพิเศษถึงฤดูและประเทศ.

บทว่า สุวิสุทฺธปณฺฑรา ได้แก่ มีสีขาวสะอาดหมดจด, อธิบายว่า มีสีไม่เจือปน คือมีสีขาวล้วน.

บทว่า ปริเยสติ แปลว่า ย่อมแสวงหา.

บทว่า เลณํ แปลว่า ที่เป็นที่อยู่.

บทว่า อเลณทสฺสินี ได้แก่ ไม่เห็นที่อยู่. อธิบายว่า ชื่อว่าไม่เห็นที่หลบลี้ เพราะเมื่อก่อนไม่มีที่อยู่ประจำ. บัดนี้ ในเวลาฤดูฝนตกถูก ความกระหึ่มของเมฆคุกคาม จึงต้องจากรังแสวงหาที่อยู่ เพราะฉะนั้น จึงต้องทำรังอันเป็นที่อยู่ประจำ.

บทว่า กํ นุ ตตฺถ ฯเปฯ ปจฺฉโต ความว่า ต้นหว้าทั้งหลาย น้อมกิ่งที่ทรงผลหนักลง มีใบเป็นร่มเงาสนิท ตลอดกาลเป็นนิตย์ ให้ฝั่งแม่น้ำ คือให้ ๒ ฝั่งแม่น้ำอชกรณี ข้างหลังถ้ำใหญ่อันเป็นที่อยู่ของเราให้งามในที่นั้น และทั้งข้างโน้นข้างนี้ จะยังสัตว์อะไรๆ ให้ไม่ยินดีในที่นั้นเล่า คือ ย่อมให้สัตว์ทั้งปวงยินดีทีเดียว.

บทว่า ตามตมทสงฺฆสุปฺปหีนา ความว่า พิษงู ท่านเรียกว่า อมตะ งูพิษทั้งหลายชื่อว่า อมตมทา เพราะอรรถว่า สัตว์ทั้งหลาย ย่อมตายด้วย


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 60

งูพิษนั้น หมู่แห่งงูเหล่านั้น ชื่อว่า หมู่แห่งงูพิษ. เราละแล้ว คือปราศจาก แล้วด้วยดีจากงูพิษนั้น.

กบทั้งหลายมีปัญญาน้อย พากันร้องด้วยเสียงอันไพเราะ คือย่อมทำ ที่นั้นให้เลื่อนลั่นด้วยเสียงอันไพเราะ.

บทว่า นาชฺช คิรินทีหิ วิปฺปวาสสมโย ความว่า วันนี้ คือบัดนี้ ไม่เป็นสมัยที่ปราศจากแม่น้ำซึ่งตกจากภูเขาแม้เหล่าอื่น แต่เมื่อว่าโดยพิเศษ แม่น้ำอชกรณีปลอดภัย เพราะเว้นจากปลาร้ายและจระเข้เป็นต้น. ชื่อว่าปลอดโปร่ง เพราะสมบูรณ์ด้วยพื้น ท่า และ หาดทรายที่ดี อธิบายว่า น่ายินดีน่ารื่นรมย์ใจด้วยดี เพราะฉะนั้น ใจของเราย่อมยินดีในที่นั้น นั่นแล.

ก็แล้วครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว สละญาติทั้งหลาย ไปยังที่อยู่ของตนตามเดิม. ด้วยการแสดงความยินดียิ่งในสุญญาคาร คำนี้แหละ เป็นคำ พยากรณ์พระอรหัตตผลของพระเถระ ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาสัปปกเถรคาถาที่ ๑๑