[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 214
ปสาทกรธัมมาทิบาลี
เรื่องคุณสมบัติที่เป็นส่วนหนึ่งของลาภ 207/214
เรื่องผู้ชื่อว่าทําตามคําสอนของพระศาสดา 208/214
เรื่องอานิงส์การเจริญกายคตาสติ 225/219
อรรถกถาปสาทกรธัมมาทิบาลี
อรรถกถาปสาทกรธรรมวรรค 225
อรรถกถาอัจฉราสังฆาตวรรค 226
อรรถกถากายคตาสติวรรค 273
อรรถกถาอมตวรรค 284
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 214
ปสาทกรธัมมาทิบาลี
ว่าด้วยคุณสมบัติที่เป็นส่วนหนึ่งของลาภ
[๒๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ความเป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ความเป็นผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ความเป็นผู้ถือทรงไตรจีวร ความเป็นพระธรรมกถึก ความเป็นพระวินัยธร ความเป็นผู้มีพระพุทธพจน์อันได้สดับแล้วมาก ความเป็นผู้มั่นคง ความมีอากัปปสมบัติ ความมีบริวารสมบัติ ความเป็นผู้มีบริวารมาก ความเป็นกุลบุตร ความเป็นผู้มีผิวพรรณงาม ความเป็นผู้มีเจรจาไพเราะ ความเป็นผู้มักน้อย ความเป็นผู้มีอาพาธน้อย นี้เป็นส่วนหนึ่งของลาภ.
ว่าด้วยผู้ชื่อว่าทำตามคำสอนของพระศาสนา
[๒๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเจริญปฐมฌานแม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือไซร้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า ก็จะป่วยกล่าวไปไยถึงผู้กระทำให้มากซึ่งปฐมฌานนั้นเล่า.
[๒๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้เจริญทุติยฌานแม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือ ... เจริญตติยฌาน ... เจริญจตุตถฌาน ... เจริญเมตตาเจโตวิมุตติ ... เจริญกรุณาเจโตวิมุตติ ... เจริญมุทิตาเจโตวิมุตติ ... เจริญอุเบกขาเจโตวิมุตติ ... พิจารณากายในกายอยู่ พึงเป็นผู้มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก ... พิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ... พิจารณาจิตในจิตอยู่ ... พิจารณา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 215
ธรรมในธรรมทั้งหลาย ... ยังฉันทะให้เกิด พยายามปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ... ยังฉันทะให้เกิด พยายามปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ... ยังฉันทะให้เกิด พยายามปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ... ยังฉันทะให้เกิด พยายามปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งมั่นไม่ฟั่นเฝือ เพื่อความมีมาก เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ... เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร ... เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ... เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ... เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร ... เจริญสัทธินทรีย์ ... เจริญวิริยินทรีย์ ... เจริญสตินทรีย์ ... เจริญสมาธินทรีย์ ... เจริญปัญญินทรีย์ ... เจริญสัทธาพละ ... เจริญวิริยพละ ... เจริญสติพละ ... .เจริญสมาธิพละ ... เจริญปัญญาพละ ... เจริญสติสัมโพชฌงค์ ... เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ... เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ... เจริญปีติสัมโพชฌงค์ ... เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ... เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ... เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ... เจริญสัมมาทิฏฐิ ... เจริญสัมมาสังกัปปะ ... เจริญสัมมาวาจา ... เจริญสัมมากัมมันตะ ... เจริญสัมมาอาชีวะ ... เจริญสัมมาวายามะ ... เจริญสัมมาสติ ถ้าภิกษุเจริญสัมมาสมาธิแม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือไซร้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 216
ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า จะป่วยกล่าวไปไยถึงผู้กระทำให้มากซึ่งสัมมาสมาธิเล่า.
[๒๑๐] ภิกษุผู้มีความเข้าใจรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็ก มีวรรณะดีหรือวรรณะทรามเข้า เธอครอบงำรูปเหล่านั้นเสียได้แล้ว มีความเข้าใจเช่นนี้ว่า เรารู้ เราเห็น ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า จะป่วยกล่าวไปไยถึงผู้กระทำให้มากซึ่งความเข้าใจนั้นเล่า.
[๒๑๑] ภิกษุผู้มีความเข้าใจรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไม่มีประมาณ มีวรรณะดีหรือมีวรรณะทรามเข้า เธอครอบงำรูปเหล่านั้นเสียได้แล้ว มีความเข้าใจเช่นนี้ว่า เรารู้ เราเห็น ...
[๒๑๒] ภิกษุผู้มีความเข้าใจอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็ก มีวรรณะดีหรือวรรณะทราม เธอครอบงำรูปเหล่านั้นเสียได้แล้ว มีความเข้าใจเช่นนี้ว่า เรารู้ เราเห็น ...
[๒๑๓] ภิกษุผู้มีความเข้าใจอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไม่มีประมาณ มีวรรณะดีหรือมีวรรณะทรามเข้า เธอครอบงำรูปเหล่านั้นเสียได้แล้ว มีความเข้าใจเช่นนี้ว่า เรารู้ เราเห็น ...
[๒๑๔] ภิกษุผู้มีความเข้าใจอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว มีแสงเขียวเข้า เธอครอบงำรูปเหล่านั้นเสียได้แล้ว มีความเข้าใจเช่นนี้ว่า เรารู้ เราเห็น ...
[๒๑๕] ภิกษุผู้มีความเข้าใจอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีแสงเหลืองเข้า เธอครอบงำรูปเหล่า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 217
นั้นเสียได้แล้ว มีความเข้าใจเช่นนี้ว่า เรารู้ เราเห็น ...
[๒๑๖] ภิกษุผู้มีความเข้าใจอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีแสงแดงเข้า เธอครอบงำรูปเหล่านั้นเสียได้แล้ว มีความเข้าใจเช่นนี้ว่า เรารู้ เราเห็น ...
[๒๑๗] ภิกษุผู้มีความเข้าใจอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีแสงขาวเข้า เธอครอบงำรูปเหล่านั้นเสียได้แล้ว มีความเข้าใจเช่นนี้ว่า เรารู้ เราเห็น ... ภิกษุผู้มีรูป ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย ...
[๒๑๘] ภิกษุผู้มีความเข้าใจอรูปภายใน ย่อมเห็นรูปภายนอก ... ภิกษุย่อมเป็นผู้น้อมใจไปว่างามเท่านั้น ...
[๒๑๙] ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยมนสิการว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญาเสียได้ เพราะไม่ใส่ใจซึ่งสัญญาต่างๆ อยู่ ... .
[๒๒๐] ภิกษุก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว ได้บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุด ...
[๒๒๑] ภิกษุก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว ได้บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยมนสิการว่า สิ่งอะไรไม่มี ...
[๒๒๒] ภิกษุก้าวล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว ได้บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ...
[๒๒๓] ภิกษุก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว ได้บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ ...
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 218
[๒๒๔] ดูก่อนทั้งหลาย ถ้าภิกษุเจริญปฐวีกสิณแม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือไซร้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า ก็จะป่วยกล่าวไปไยถึงผู้กระทำให้มากซึ่งปฐวีกสิณนั้นเล่า ถ้าภิกษุเจริญอาโปกสิณ ... เจริญเตโชกสิณ ... เจริญวาโยกสิณ ... เจริญนีลกสิณ ... เจริญปีตกสิณ ... เจริญโลหิตกสิณ ... เจริญโอทาตกสิณ ... เจริญอากาสกสิณ ... เจริญวิญญาณกสิณ ... เจริญอสุภสัญญา ... เจริญมรณสัญญา ... เจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญา ... เจริญสัพพโลเกอนภิรตสัญญา ... เจริญอนิจจสัญญา ... เจริญอนิจเจทุกขสัญญา ... เจริญทุกเขอนัตตสัญญา ... เจริญปหานสัญญา ... เจริญวิราคสัญญา ... เจริญนิโรธสัญญา ... เจริญอนิจจสัญญา ... เจริญอนัตตสัญญา ... เจริญมรณสัญญา ... เจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญา ... เจริญสัพพโลเกอนภิรตสัญญา ... เจริญอัฏฐิกสัญญา ... เจริญปุฬุวกสัญญา ... เจริญวินีลกสัญญา ... เจริญวิจฉิททกสัญญา ... เจริญอุทธุมาตกสัญญา ... เจริญพุทธานุสสติ ... เจริญธัมมานุสสติ ... เจริญสังฆานุสสติ ... เจริญสีลานุสสติ ... เจริญจาคานุสสติ ... เจริญเทวตานุสสติ ... เจริญอานาปานสติ ... เจริญมรณสติ ... เจริญกายคตาสติ ... เจริญอุปสมานุสสติ ... เจริญสัทธินทรีย์อันสหรคตด้วยปฐมฌาน ... เจริญวิริยินทรีย์ ... เจริญสตินทรีย์ ... เจริญสมาธินทรีย์ ... เจริญปัญญินทรีย์ ... เจริญสัทธาพละ ... เจริญวิริยพละ ... เจริญสติพละ ... เจริญสมาธิพละ ... เจริญปัญญาพละ ... เจริญสัทธินทรีย์อันสหรคตด้วยทุติยฌาน ฯลฯ เจริญสัทธินทรีย์อันสหรคตด้วยตติยฌาน ฯลฯ เจริญสัทธินทรีย์อันสหรคตด้วยจตุตถฌาน ฯลฯ เจริญสัทธินทรีย์อันสหรคตด้วย
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 219
เมตตา ฯลฯ เจริญสัทธินทรีย์อันสหรคตด้วยกรุณา ฯลฯ เจริญสัทธินทรีย์อันสรหคตด้วยมุทิตา ฯลฯ เจริญสัทธินทรีย์อันสหรคตด้วยอุเบกขา ... เจริญวิริยินทรีย์ ... เจริญสตินทรีย์ ... เจริญสมาธินทรีย์ ... เจริญปัญญินทรีย์ ... เจริญสัทธาพละ ... เจริญวิริยพละ ... เจริญสติพละ ... เจริญสมาธิพละ ... เจริญปัญญาพละ แม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือไซร้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า จะป่วยกล่าวไปไยถึงผู้กระทำให้มากซึ่งปัญญาพละอันสหรคตด้วยอุเบกขาเล่า.
ว่าด้วยอานิสงส์การเจริญกายคตาสติ
[๒๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งเป็นไปในส่วนวิชชา ย่อมหยั่งลงในภายในของภิกษุนั้น เปรียบเหมือนมหาสมุทรอันผู้ใดผู้หนึ่งถูกต้องด้วยใจแล้ว แม่น้ำน้อยสายใดสายหนึ่งซึ่งไหลไปสู่สมุทร ย่อมหยั่งลงในภายในของผู้นั้นฉะนั้น.
[๒๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อหนึ่งซึ่งบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว เป็นไปเพื่อความสังเวชใหญ่ เป็นไปเพื่อประโยชน์ใหญ่ เป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะใหญ่ เป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะ เป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ เป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งผลคือวิชชาและวิมุตติ ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสังเวชใหญ่ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ใหญ่ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะใหญ่ ย่อมเป็นไปเพื่อสติและ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 220
สัมปชัญญะ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุตติ.
[๒๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว แม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ แม้วิตกวิจารก็สงบ ธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งวิชชาแม้ทั้งสิ้น ก็ถึงความเจริญบริบูรณ์ ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว แม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ แม้วิตกวิจารก็สงบ ธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งวิชชาแม้ทั้งสิ้น ก็ถึงความเจริญบริบูรณ์.
[๒๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้นได้เลย และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสียได้ ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้นได้เลย และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสียได้.
[๒๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 221
[๒๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมละอวิชชาเสียได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น ย่อมละอัสมิมานะเสียได้ อนุสัยย่อมถึงความเพิกถอน ย่อมละสังโยชน์เสียได้ ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว การทำให้มากแล้ว ย่อมละอวิชชาเสียได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น ย่อมละอัสมิมานะเสียได้ อนุสัยย่อมถึงความเพิกถอน ย่อมละสังโยชน์เสียได้.
[๒๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความแตกฉานแห่งปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความแตกฉานแห่งปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน.
[๒๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีการแทงตลอดธาตุมากหลาย ย่อมมีการแทงตลอดธาตุต่างๆ ย่อมมีความแตกฉานในธาตุมากหลาย ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีการแทงตลอดธาตุมากหลาย ย่อมมีการแทงตลอดธาตุต่างๆ ย่อมมีความแตกฉานในธาตุมากหลาย
[๒๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง ย่อม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 222
เป็นไปเพื่อทำอรหัตตผลให้แจ้ง ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำอรหัตตผลให้แจ้ง.
[๒๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาใหญ่ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไพบูลย์ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาสามารถยิ่ง ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มากด้วยปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาว่องไว ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแล่น ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาคม ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ... ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส.
[๒๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดไม่บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมไม่บริโภคอมตะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดบริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมบริโภคอมตะ.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 223
[๒๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่บริโภคแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่บริโภคแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดบริโภคแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นบริโภคแล้ว.
[๒๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติของชนเหล่าใดเสื่อมแล้ว อมตะของชนเหล่านั้นชื่อว่าเสื่อมแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติของชนเหล่าใดไม่เสื่อมแล้ว อมตะของชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่เสื่อมแล้ว.
[๒๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดเบื่อแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นเบื่อแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดชอบใจแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นชอบใจแล้ว.
[๒๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดประมาทกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าประมาทอมตะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดไม่ประมาทกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ประมาทอมตะ.
[๒๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดหลงลืม อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นหลงลืม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่หลงลืม อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่หลงลืม.
[๒๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่ส้องเสพแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่ส้องเสพแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดส้องเสพแล้ว อมติชื่อว่าอันชนเหล่านั้นส้องเสพแล้ว.
[๒๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่เจริญแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่เจริญแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาย-
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 224
คตาสติอันชนเหล่าใดเจริญแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นเจริญแล้ว.
[๒๔๓] ดูก่อนภิกษุทั่งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่ทำให้มากแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่ทำให้มากแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดทำให้มากแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นทำให้มากแล้ว.
[๒๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง.
[๒๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่กำหนดรู้แล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่กำหนดรู้แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดกำหนดรู้แล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นกำหนดรู้แล้ว.
[๒๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่ทำให้แจ้งแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่ทำให้แจ้งแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดทำให้แจ้งแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นทำให้แจ้งแล้ว.
เอกนิบาต ๑,๐๐๐ สูตร จบบริบูรณ์
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 225
อรรถกถาปสาทกรธัมมาทิบาลี (๑)
อรรถกถาปสาทกรธรรมวรรค (๒)
คำว่า อทฺธํ ในบทเป็นต้นว่า อทฺธมิทํ นี้ เป็นชื่อของส่วนหนึ่งๆ ท่านอธิบายว่า นี้เป็นลาภแน่แท้ คือ นี้เป็นส่วนหนึ่งๆ ของลาภ. บทว่า ยทิทํ อารญฺกตฺตํ คือ ความเป็นผู้อยู่ป่าส่วนหนึ่งใด. อธิบายว่า ชื่อว่าความเป็นผู้อยู่ป่าเป็นส่วนหนึ่งของลาภ คือ ภิกษุผู้อยู่ป่าอาจได้ลาภ เพราะเป็นผู้บำเพ็ญได้อย่างแท้จริง. ก็ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตรคิดว่า เราจักกระทำสิ่งที่สมควรแก่การอยู่ป่าของตัวเรา จึงไม่กระทำกรรมที่ชื่อว่าลามก. เมื่อเป็นเช่นนั้น มหาชนก็จะเกิดความเคารพต่อท่านว่า ภิกษุนี้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ย่อมทำการบูชาด้วยปัจจัยทั้ง ๔. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตรนี้ เป็นลาภแน่แท้ ดังนี้. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้แหละ.
ก็ความเป็นผู้ได้สดับฟังมาก ชื่อว่า พาหุสัจจะ ในสูตรนี้. บทว่า ถาวเรยฺยํ ได้แก่ ความเป็นผู้ถึงความมั่นคง เพราะเป็นผู้บวชนาน. บทว่า อากปฺปสมฺปทา ได้แก่ ความถึงพร้อมด้วยมารยาทมีการครองจีวรเป็นต้น. ความเป็นผู้มีบริวารสะอาด ชื่อว่า ปริวารสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยบริวาร. ความเป็นกุลบุตร ชื่อว่า กุลปุตติ (บุตรคนมีตระกูล). ความเป็นผู้มีรูปร่างดี ชื่อว่า วัณณโปกขรตา. ความเปล่งถ้อยคำไพเราะ ชื่อว่า กัลยาณวากกรณตา. ความถึงพร้อมด้วยความไม่มีโรค ชื่อว่า อัปปาพาธตา. ก็ภิกษุผู้ไม่มีโรค ย่อมบำเพ็ญวาสธุระ
(๑) บาลีข้อ ๒๐๗ - ๒๔๖.
(๒) บาลีข้อ ๒๐๗.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 226
(ธุระในการอบรมจิตใจ) และคันถธุระให้บริบูรณ์ได้ เพราะตนเป็นผู้มีร่างกายสบาย. เพราะเหตุนั้น ลาภทั้งหลายจึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นแล.
จบอรรถกถาปสาทกรธรรมวรรค
อรรถกถาอปรอัจฉราสังฆาตวรรค (๑)
พระสูตรแม้นี้ว่า อจฺฉราสงฺฆาตมตฺตํ ดังนี้ ตรัสไว้ในเหตุเกิดเรื่องของอัคคิกขันโธปมสูตร. ก็กถาที่พูดถึงผลของเมตตาที่ไม่ถึงอัปปนาไม่มี. พระธรรมเทศนานี้ พึงทราบว่า ทรงปรารภในเมื่อเกิดเรื่องนั้นนั่นแล.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปมํ มีเนื้อความดังกล่าวไว้ในวิภังค์ว่า เป็นที่ ๑ ตามลำดับแห่งการนับ ชื่อว่าเป็นที่ ๑ เพราะเข้าฌานที่ ๑ นี้. บทว่า ณานํ ความว่า ชื่อว่าฌานมี ๒ อย่าง คือ อารัมมณูปนิชฌาน และลักขณูปนิชฌาน. ในฌาน ๒ อย่างนั้น สมาบัติ ๘ ชื่อว่า อารัมมณูปนิชฌาน. ก็สมาบัติ ๘ เหล่านั้น เรียกว่าอารัมมณูปนิชฌาน เพราะเข้าไปเพ่งอารมณ์มีปฐวีกสิณเป็นต้น. วิปัสสนา มรรค และผล ชื่อว่าลักขณูปนิชฌาน. ก็วิปัสสนาชื่อว่าลักขณูปนิชฌาน เพราะเข้าไปเพ่งลักษณะของสังขารด้วยอำนาจไตรลักษณ์มีความไม่เที่ยงเป็นต้น. ก็มรรคท่านเรียกว่าลักขณูปนิชฌาน เพราะกิจในการเข้าไปเพ่งลักษณะแห่งวิปัสสนาย่อมสำเร็จด้วยมรรค ผลท่านเรียกว่าลักขณูปนิชฌาน เพราะเข้าไปเพ่งพระนิพพานอันมีลักษณะเป็นสุญญตะ (ว่างเปล่า) อนิมิตตะ (ไม่มีนิมิต) และอัปปณิหิตะ (ไม่มีที่ตั้ง). ก็บรรดาฌาน ๒ อย่างนั้น ในอรรถนี้ประสงค์เอาอารัมมณูปนิชฌาน.
(๑) บาลีข้อ ๒๐๘ - ข้อ ๒๒๔ ในบาลีไม่ได้แยกเป็นวรรค แต่รวมอยู่ในปสาทกรธัมมาทิบาลี.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 227
บทว่า โก ปน วาโท เย น พหุลีกโรนฺติ ความว่า ไม่มีคำที่จะพึงกล่าวในชนผู้กระทำปฐมฌานนั้นให้มาก คำที่เหลือในสูตรนี้ พึงเข้าใจโดยนัยดังกล่าวไว้แล้วในหนหลังนั้นแล.
แม้ในบทว่า ทุติยํ ดังนี้เป็นต้นไป ก็พึงทราบเนื้อความโดยนัยมีอาทิว่า เป็นที่ ๒ ตามลำดับแห่งการนับ ดังนี้.
บทว่า เมตฺตํ ได้แก่ แผ่ประโยชน์เกื้อกูลไปในสรรพสัตว์ทั้งหลาย. บทว่า เจโตวิมุตฺตึ ได้แก่ ความหลุดพ้นด้วยจิต. เมตตาที่ถึงอัปปนาเท่านั้น ท่านประสงค์เอาในที่นี้. แม้ในกรุณาเป็นต้นก็มีนัยนี้นั่นแล. ก็พรหมวิหาร ๔ เหล่านี้เป็นวัฏฏะ เป็นบาทแห่งวัฏฏะ เป็นบาทแห่งวิปัสสนา เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เป็นบาทแห่งอภิญญา หรือเป็นบาทแห่งนิโรธ. แต่ไม่เป็นโลกุตระ. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะยังมีสัตว์เป็นอารมณ์.
บทว่า กาเย กายานุปสฺสี ความว่า ผู้พิจารณาเห็นด้วยปัญญาซึ่งกายนั้นแล ในกาย ๑๘ ประการนี้ คือ อานาปานบรรพ ๑ อิริยาปถบรรพ ๑ จตุสัมปชัญญบรรพ ๑ ปฏิกูลมนสิการบรรพ ๑ ธาตุมนสิการบรรพ ๑ นวสีวถิกาบรรพ ๙ กสิณมีนีลกสิณเป็นต้น ๔ เนื่องด้วยบริกรรมภายใน. บทว่า วิหรติ แปลว่า เป็นอยู่ คือ เป็นไปอยู่. ด้วยบทว่า วิหรติ นี้ ย่อมเป็นอันกล่าวถึงอิริยาบถของภิกษุผู้เจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานด้วยกาย ๑๘ อย่างนี้ด้วย. บทว่า อาตาปี ได้แก่ มีความเพียร ด้วยความเพียรเป็นเครื่องเจริญสติปัฏฐานมีประการดังกล่าวแล้วนั้นนั่นแล. บทว่า สมฺปชาโน ได้แก่ รู้อยู่โดยชอบด้วยปัญญาเครื่องพิจารณากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ด้วยกาย ๑๘ อย่าง. บทว่า สติมา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 228
ผู้ประกอบด้วยสติอันควบคุมการพิจารณาเห็นกายด้วยกาย ๑๘ อย่าง. บทว่า วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ มีอธิบายว่า ภิกษุนำออก คือ ข่มตัณหาอันเป็นไปในกามคุณ ๕ และโทมนัสอันประกอบด้วยปฏิฆะในโลก กล่าวคือ กายนั้นนั่นแหละ เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่. ด้วยประการเพียงเท่านี้ พึงทราบว่า ท่านกล่าวการพิจารณารูปล้วนๆ ด้วยกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน.
บทว่า เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี ความว่า ก็ในคำเป็นต้นว่า บรรดาเวทนาทั้งหลายมีสุขเวทนาเป็นต้น ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนา ๙ อย่าง ดังที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า เมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า เรากำลังเสวยสุขเวทนา เมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า เรากำลังเสวยทุกขเวทนา เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา (เวทนาที่ไม่สุขไม่ทุกข์) ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา เมื่อเสวยสุขเวทนาอิงอามิส หรือสุขเวทนาปราศจากอามิส ทุกขเวทนาอิงอามิส หรือทุกขเวทนาปราศจากอามิส อทุกขมสุขเวทนาอิงอามิส หรืออทุกขมสุขเวทนาปราศจากอามิส ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาปราศจากอามิส ดังนี้ พึงทราบเนื้อความในเรื่องนี้ด้วยอำนาจของวิริยะ ปัญญา และสติ ซึ่งเป็นตัวกำกับการเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานโดยประการ ๙ อย่าง. ก็ในบทว่า โลเก นี้ พึงทราบว่า ได้แก่ เวทนา.
แม้ในจิตและธรรมเป็นต้นก็มีนัยนี้แหละ. แต่บทว่า จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี ในสูตรนี้ มีความหมายว่า พิจารณาเห็นด้วยอนุปัสสนาอันพิจารณาอย่างนี้ ในจิต ๑๖ ประเภท ที่ท่านขยายความไว้ว่า หรือย่อมรู้ชัดจิตมีราคะว่า เป็นจิตมีราคะ ดังนี้.
บทว่า ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี ความว่า พิจารณาเห็นธรรม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 229
เหล่านั้นด้วยอนุปัสสนาอันเป็นตัวพิจารณาในธรรมที่กล่าวไว้ ๕ ประการ ด้วยโกฏฐาส คือ ส่วนอย่างนี้ คือ นิวรณ์ ๕ อุปาทานขันธ์ อายตนะภายในและอายตนะภายนอกอย่างละ ๖ โพชฌงค์ ๗ อริยสัจ ๔.
ก็ในการพิจารณาเห็นธรรมนี้ ท่านกล่าวการพิจารณานามล้วนๆ ในเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน และจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน. กล่าวถึงการพิจารณาทั้งรูปและนามในธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน. พึงทราบว่า สติปัฏฐานแม้ทั้ง ๔ นี้ ท่านกล่าวทั้งโลกิยะและโลกุตระคละกันไป.
บทว่า อนุปฺปนฺนานํ ได้แก่ ที่ยังไม่เกิด. บทว่า ปาปกานํ ได้แก่ ต่ำทราม. บทว่า อกุสลานํ ธมฺมานํ ได้แก่ ธรรมมีโลภะเป็นต้นอันเกิดจากความไม่ฉลาด. บทว่า อนุปฺปาทาย คือ เพื่อต้องการไม่เกิด. บทว่า ฉนฺทํ ชเนติ ความว่า ย่อมให้เกิดกุศลฉันทะในความเป็นผู้ใคร่จะทำ. บทว่า วายมติ ได้แก่ กระทำความเพียรเป็นเครื่องประกอบ คือ ความบากบั่น. บทว่า วีริยํ อารภติ ได้แก่ กระทำความเพียรทางกายและทางใจ. บทว่า จิตฺตํ ปคฺคณฺหาติ ได้แก่ ยกจิตขึ้นด้วยความเพียรอันเกิดร่วมกันนั้นนั่นแหละ. บทว่า ปทหติ ได้แก่ กระทำความเพียรอันเป็นปธานะ.
บทว่า อุปฺปนฺนานํ ได้แก่ เกิดแล้ว คือ บังเกิดแล้ว. บทว่า กุสลานํ ธมฺมานํ ได้แก่ ธรรมมีอโลภะเป็นต้นอันเกิดจากความฉลาด.
บทว่า ิติยา แปลว่า เพื่อความตั้งอยู่. บทว่า อสมฺโมสาย แปลว่า เพื่อความไม่เลือนหาย. บทว่า ภิยฺโยภาวาย แปลว่า เพื่อความมีบ่อยๆ. บทว่า วิปุลาย แปลว่า เพื่อความไพบูลย์. บทว่า ภาวนาย แปลว่า เพื่อความเจริญ. บทว่า ปาริปูริยา แปลว่า เพื่อ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 230
ความบริบูรณ์.
การขยายความเฉพาะบทเดียวสำหรับสัมมัปปธาน ๔ เพียงเท่านี้ก่อน. ก็ชื่อว่ากถาว่าด้วยสัมมัปปธานนี้ มี ๒ อย่าง คือ เป็นโลกิยะ ๑ เป็นโลกุตระ ๑. ในกถา ๒ อย่างนั้น สัมมัปปธานกถาอันเป็นโลกิยะมีอยู่ในเบื้องต้นแห่งกถาทั้งปวง. กถาว่าด้วยสัมมปปธานอันเป็นโลกิยะนั้น พึงทราบได้เฉพาะในขณะมรรคอันยังเป็นโลกิยะโดยปริยายแห่งกัสสปสังยุต.
สมจริงดังที่ท่านพระมหากัสสปะกล่าวไว้ในกัสสปสังยุตนั้นว่า
ผู้มีอายุ สัมมัปปธาน (ความเพียรชอบ) ๔ เหล่านี้ สัมมปปธาน ๔ อย่างเป็นไฉน. ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมกระทำความเพียรอยู่ว่า อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อเกิดขึ้น พึงเป็นไปเพื่อความฉิบหาย, ย่อมกระทำความพากเพียรอยู่ว่า อกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อยังละไม่ได้ พึงเป็นไปเพื่อความฉิบหาย, ย่อมกระทำความพากเพียรอยู่ว่า กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อยังไม่เกิดขึ้น พึงเป็นไปเพื่อความฉิบหาย, ย่อมกระทำความพากเพียรอยู่ว่า กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อดับไป พึงเป็นไปเพื่อความฉิบหายดังนี้.
ก็ในอธิการนี้ อกุศลธรรมทั้งหลายมีโลภะเป็นต้น พึงทราบว่า อกุศลธรรมอันลามก. บทว่า อนุปฺปนฺนา เม กุสลา ธมฺมา ได้แก่
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 231
สมถวิปัสสนาและมรรค. สมถวิปัสสนาและมรรค ชื่อว่ากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว. แต่มรรคนั้นเกิดขึ้นคราวเดียวแล้วดับไป ชื่อว่าย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหาย. เพราะมรรคนั้นให้ปัจจัยแก่ผล (ก่อน) แล้วก็ดับไป. อีกอย่างหนึ่ง แม้ในตอนต้นกล่าวไว้ว่า พึงถือเอาเฉพาะสมถวิปัสสนาเท่านั้น ชื่อว่ากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว แต่คำที่กล่าวนั้นไม่ควร. กถาว่าด้วยสัมมัปปธานอันเป็นโลกิยะ พึงทราบโดยปริยายแห่งกัสสปสังยุตในตอนต้นๆ แห่งสูตรทั้งปวง. ก็ในขณะโลกุตรมรรค ความเพียรอย่างเดียวนี้เท่านั้น ได้ชื่อ ๔ ชื่อ เนื่องด้วยทำกิจ ๔ อย่างให้สำเร็จ.
ในบทว่า อนุปฺปนฺนานํ ปาปกานํ นี้ ในบาลีแห่งกัสสปสังยุตนั้น พึงทราบความตามนัยที่กล่าวในบทว่า อนุปฺปนฺโน เจว กามฉนฺโท (กามฉันทะยังไม่เกิดขึ้น) ดังนี้เป็นต้น.
ในบทว่า อุปฺปนฺนานํ ปาปกานํ นี้ อุปปันนะมี ๔ อย่าง คือ วัตตมานุปปันนะ ภุตวาวิคตุปปันนะ โอกาสกตุปปันนะ ภูมิลัทธุปปันนะ.
ในอุปปันนะ ๔ อย่างนั้น ข้อที่กิเลสมี (และ) พร้อมพรั่งด้วยการถือมั่น นี้ ชื่อว่า วัตตมานุปปันนะ.
ก็เมื่อกรรมเป็นไปอยู่ เสวยรสอารมณ์แล้ว วิบากดับไป ชื่อว่า ภุตวาวิคตุปปันนะ. กรรมที่เกิดขึ้นแล้วดับไป ก็ชื่อว่าภุตวาวิคตุปปันนะ. แม้ทั้งสองความหมายนั้น ก็นับว่า ภุตวาวิคตุปปันนะ.
กุศลกรรมห้ามวิบากของกรรมอื่นเสีย ให้โอกาสแก่วิบากของตน. วิบากที่เกิดขึ้นในโอกาสที่ได้อย่างนี้ เรียกว่า อุปปันนะ จำเดิมแต่ได้
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 232
โอกาสนี้ ชื่อว่า โอกาสกตุปปันนะ.
ก็เบญจขันธ์ ชื่อว่าภูมิของวิปัสสนา. เบญจขันธ์เหล่านั้น เป็นขันธ์ต่างโดยอดีตขันธ์เป็นต้น. ส่วนกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในเบญจขันธ์เหล่านั้น ไม่ควรกล่าวว่าเป็นอดีตหรืออนาคต. เพราะกิเลสแม้นอนเนื่องอยู่ในอดีตขันธ์ก็ยังละไม่ได้ แม้ที่นอนเนื่องอยู่ในอนาคตขันธ์ก็ยังละไม่ได้ แม้ที่นอนเนื่องอยู่ในปัจจุบันขันธ์ก็ยังละไม่ได้ เพราะเหตุนั้น ข้อที่ยังละกิเลสอันนอนเนื่องในขันธ์ต่างๆ ไม่ได้นี้ ชื่อว่า ภูมิลัทธุปปันนะ. เพราะเหตุนั้น ท่านโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า กิเลสทั้งหลายที่ยังถอนไม่ได้ในภูมินั้นๆ ย่อมนับว่า ชื่อว่าภูมิลัทธุปปันนะ.
อุปปันนะ ๔ ประการ อีกอย่างหนึ่ง คือ สมุทาจารุปปันนะ อารัมมณาธิคหิตุปปันนะ อวิกขัมภิตุปปันนะ อสมุคฆาฏิตุปปันนะ.
ในอุปปันนะ ๔ อย่างนั้น อุปปันนะที่เป็นไปทันทีทันใด ชื่อว่าสมุทาจารุปปันนะ.
ไม่ควรกล่าวว่า กิเลสจักไม่เกิดขึ้น. ในขณะที่ลืมตาขึ้นครั้งหนึ่ง แล้วระลึกถึงอารมณ์ที่ถือเป็นนิมิต. เพราะเหตุไร. เพราะกิเลสยึดติดอารมณ์. ถามว่า เหมือนอะไร. ตอบว่า เหมือนบุคคลเอาขวานฟันต้นไม้ที่มียาง พูดไม่ได้ว่า ในที่ที่ถูกขวานฟันแล้วยางจักไม่ไหล. นี้ชื่อว่า อารัมมณาธิคหิตุปปันนะ.
ก็กิเลสที่ไม่ได้ข่มไว้ด้วยสมาบัติ ไม่ควรกล่าวว่า จักไม่เกิดในที่ชื่อนี้. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะไม่ได้ข่มไว้. ถามว่า เหมือนอะไร. ตอบว่า เหมือนคนเอาขวานตัดต้นไม้ที่มียาง ไม่ควรกล่าวว่า ยางจะไม่ไหลในที่ชื่อนี้. อันนี้ชื่อว่าอวิกขัมภิตุปปันนะ.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 233
ก็กิเลสที่ยังไม่ได้ถอนขึ้นด้วยมรรค ย่อมเกิดแม้แก่ผู้บังเกิดในภวัคคพรหม เพราะเหตุนั้น พึงขยายความให้พิสดารโดยนัยก่อนนั้นแล. อันนี้ชื่อว่าอสมุคฆาฏิตุปปันนะ.
ในอุปปันนะเหล่านั้น อุปปันนะ ๔ อย่าง คือ วัตตมานุปปันนะ ภุตวาวิคตุปปันนะ โอกาสกตุปปันนะ สมุทาจารุปปันนะ ไม่เป็นอุปปันนะที่มรรคจะพึงฆ่า. อุปปันนะที่มรรคจะพึงฆ่าได้มี ๔ อย่าง คือ ภูมิลัทธุปปันนะ อารัมมณาธิคหิตุปปันนะ อวิกขัมภิตุปปันนะ อสมุคฆาฏิตุปปันนะ. เพราะมรรคเกิดขึ้นย่อมละกิเลสเหล่านี้. มรรคนั้นละกิเลสเหล่าใด กิเลสเหล่านั้นไม่ควรจะกล่าวว่าเป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน.
สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า
หากละกิเลสอันเป็นอดีตไซร้ ถ้าอย่างนั้น ก็ย่อมยังกิเลสที่สิ้นไปแล้วให้สิ้นไปได้ ดับกิเลสที่ดับแล้วให้ดับได้ ยังกิเลสที่ถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ ให้ถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ ละกิเลสที่ล่วงไปแล้วซึ่งไม่มีอยู่ได้. หากละกิเลสอันเป็นอนาคตได้ไซร้ ถ้าอย่างนั้น ก็ย่อมละกิเลสที่ยังไม่เกิด ย่อมละกิเลสที่ยังไม่บังเกิด ยังไม่เกิดขึ้นแล้ว ยังไม่ปรากฏได้ ย่อมละกิเลสที่ยังไม่มาถึงซึ่งไม่มีอยู่ได้. หากละกิเลสอันเป็นปัจจุบันได้ไซร้ ถ้าอย่างนั้น คนผู้กำหนัด ย่อมละราคะได้ คนผู้ประทุษร้าย ย่อมละโทสะได้ คนผู้หลง ย่อมละโมหะได้ คนผู้เย่อหยิ่ง ย่อมละมานะได้ คนผู้
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 234
ยึดมั่นความเห็นผิด ย่อมละทิฏฐิได้ คนผู้ตัดสินใจไม่ได้ ย่อมละวิจิกิจฉาได้ คนผู้มีเรี่ยวแรง ย่อมละอนุสัยได้ ธรรมดำกับธรรมขาว ก็ย่อมจะเป็นธรรมคู่กำกับกันเป็นไป. การบำเพ็ญมรรคก็ย่อมเป็นไปกับสังกิเลส ฯลฯ. ถ้าอย่างนั้น การบำเพ็ญมรรค ย่อมไม่มี, การทำผลให้แจ้ง ย่อมไม่มี. การละกิเลส ย่อมไม่มี, การตรัสรู้ธรรม ย่อมไม่มี. การบำเพ็ญมรรค มีอยู่ ฯลฯ การตรัสรู้ธรรม มีอยู่. ถามว่า เปรียบเหมือนอะไร. ตอบว่า เปรียบเหมือนต้นไม้รุ่นๆ ฯลฯ เป็นไม้ที่ยังไม่ปรากฏ (ผล) ย่อมไม่ปรากฏ (ผล) เลย.
ต้นไม้ที่ยังไม่เกิด (มีที่) มาในพระบาลี แต่ควรแสดงต้นไม้ที่เกิดผลด้วย. เปรียบเหมือนต้นมะม่วงรุ่นที่มีผล พวกมนุษย์จะบริโภคผลของมัน จึง (เขย่า) ให้ผลที่เหลือหล่นลง แล้วเอาใส่ในกระเช้าให้เต็ม. ภายหลัง บุรุษอีกคนเอาขวานตัดต้นมะม่วงนั้น. ผลอันเป็นอดีตของมะม่วงต้นนั้น ย่อมเป็นผลที่บุรุษคนนั้นทำให้เสียหายไม่ได้ ผลที่เป็นปัจจุบันและอนาคตก็ทำให้เสียหายไม่ได้. เพราะผลที่เป็นอดีต พวกมนุษย์ก็บริโภคไปแล้ว ผลที่เป็นอนาคตก็ยังไม่เกิด จึงไม่อาจทำให้เสียหาย. ก็ในสมัยที่ต้นมะม่วงนั้นถูกเขาตัด ผลมะม่วงยังไม่มี เพราะเหตุนั้น ผลที่เป็นปัจจุบัน จึงไม่ถูกทำให้เสียไป. ก็ถ้าต้นมะม่วงยังไม่ถูกตัด ผลของมันอาศัยรสของดินและรสของน้ำเกิดขึ้นในภายหลังนั้น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 235
ย่อมถูกทำให้เสียหาย. เพราะผลเหล่านั้นที่ยังไม่เกิด ก็เกิดไม่ได้ ที่ยังไม่บังเกิด ก็ไม่บังเกิด และที่ยังไม่ปรากฏ ก็ปรากฏไม่ได้ ฉันใด มรรคก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมละกิเลสอันต่างด้วยกิเลสอันเป็นอดีตเป็นต้นก็หามิได้ จะไม่ละก็หามิได้. การเกิดขึ้นแห่งกิเลสเหล่าใด จะพึงมีได้ในเมื่อมรรคยังไม่กำหนดรู้ขันธ์ทั้งหลาย (แต่) เพราะมรรคเกิดขึ้นกำหนดรู้ขันธ์ทั้งหลายได้แล้ว กิเลสเหล่านั้นที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิด ที่ยังไม่บังเกิด ก็ไม่บังเกิด ที่ยังไม่ปรากฏ ก็ไม่ปรากฏ. พึงขยายเนื้อความนี้ให้แจ่มแจ้งด้วยยาสำหรับให้หญิงแม่ลูกอ่อนไม่คลอดบุตรอีกต่อไป หรือแม้สำหรับระงับโรคของคนเจ็บป่วย. ไม่ควรกล่าวว่า กิเลสทั้งหลายที่มรรคละได้นั้น เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน ด้วยประการอย่างนี้. อนึ่ง มรรคจะไม่ละกิเลสทั้งหลายก็หาไม่. แต่ท่านหมายเอากิเลสที่มรรคละได้เหล่านั้น จึงกล่าวว่า อุปฺปนฺนานํ ปาปกานํ ดังนี้เป็นต้น. ก็มรรคจะละแต่กิเลสเท่านั้นก็หามิได้ แม้อุปาทินนขันธ์ที่เกิดขึ้นก็ละได้ เพราะละกิเลสทั้งหลายได้เด็ดขาดแล้ว.
สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า (ขันธ์ทั้งหลายเหล่าใด คือ) นามและรูป พึงเกิดขึ้นในสังสารอันกำหนดที่สุดเบื้องต้นและเบื้องปลายไม่ได้ เว้น ๗ ภพ โดยดับอภิสังขารวิญญาณด้วยโสดาปัตติมรรคญาณ ขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้นย่อมดับที่นามรูปนี้ ดังนี้ ความพิสดารแล้ว. มรรคย่อมออกจากอุปาทินนขันธ์และอนุปาทินนขันธ์ ด้วยประการฉะนี้.
ก็ว่าด้วยภพทั้งปวง โสดาปัตติมรรคย่อมออกจากอบายภพ. สกทาคามิมรรคย่อมออกจากส่วนหนึ่งของสุคติภพ. อนาคามิมรรคย่อมออกจากสุคติกามภพ. อรหัตตมรรคย่อมออกจากรูปภพและอรูปภพ. บางอาจารย์กล่าวว่า พระอรหัตตมรรคย่อมออกจากภพทั้งปวง ดังนี้ก็มี.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 236
ถามว่า ก็เมื่อเป็นอย่างนั้น ในขณะแห่งมรรค จะมีการอบรมเพื่อยังธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นได้อย่างไร หรือจะมีการอบรมเพื่อให้ธรรมที่เกิดขึ้นแล้วดำรงอยู่ได้อย่างไร. ตอบว่า ด้วยการที่มรรคดำเนินไปไม่ขาดสายนั่นแหละ. ก็มรรคที่กำลังดำเนินไปอยู่ เรียกชื่อว่า อนุปปันนะ เพราะไม่เคยเกิดขึ้นในกาลก่อน. เหมือนอย่างว่า คนผู้ไปยังที่ที่ไม่เคยไป และได้เสวยอารมณ์ที่ยังไม่เคยเสวย มักจะกล่าวว่า พวกเราได้ไปยังที่ที่ไม่ได้เคยไปแล้วหามิได้ (๑) เสวยอารมณ์ที่ไม่ได้เคยเสวยแล้วหามิได้ (๒) ดังนี้ ฉันใด. ความดำเนินไปของมรรคนี้นั่นแหละ ชื่อว่าตั้งอยู่ เพราะเหตุนั้น จะกล่าวว่า ในภาวะแห่งการตั้งอยู่ ดังนี้ก็ควร. ความเพียรในขณะโลกุตรมรรคนี้ของภิกษุนั้น ย่อมได้ชื่อ ๔ ชื่อ มีอาทิว่า อนุปฺปนฺนานํ ปาปกานํ อกุสลานํ ธมฺมานํ อนุปาทาย ดังนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน. กถาว่าด้วยความเพียรชอบในขณะโลกุตรมรรคเพียงเท่านี้. ก็ในพระสูตรนี้ ท่านกล่าวความเพียรชอบอันเป็นโลกิยะและโลกุตระคละกันไป.
บรรดาอิทธิบาททั้งหลาย สมาธิที่อาศัยฉันทะดำเนินไป ชื่อว่า ฉันทสมาธิ. บทว่า ปธานสงฺขารสมนฺนาคตํ ความว่า บาทแห่งความสำเร็จที่แสดงไว้แล้วด้วยธรรมเหล่านั้น หรือบาทอันเป็นความสำเร็จ ชื่อว่าอิทธิบาท. แม้ในบทที่เหลือ ก็มีนัยนี้นั่นแล. ในที่นี้มีความสังเขปเพียงเท่านี้. ส่วนความพิสดารมีมาแล้วในอิทธิบาทวิภังค์นั่นแล. ก็เนื้อความ (แห่งอิทธิบาทนั้น) แสดงไว้แล้วในวิสุทธิมรรค. ในวิสุทธิมรรคนั้น แสดงไว้ว่า ในกาลใด ภิกษุนี้อาศัยธุระอย่างหนึ่งในฉันทอิทธิบาทเป็นต้น เจริญวิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต แม้สมถะก็เหมือนกัน
(๑) ม. ไม่มี น.
(๒) ไม่มี น. ปฏิเสธว่า หามิได้.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 237
อิทธิบาทที่ภิกษุนั้นอาศัยเจริญวิปัสสนา ในกาลนั้น เป็นโลกิยะในเบื้องต้น เป็นโลกุตระในเบื้องปลาย แม้อิทธิบาทที่เหลือก็อย่างนั้น ดังนี้. ในพระสูตรแม้นี้ ก็ตรัสอิทธิบาทอันเป็นทั้งโลกิยะและโลกุตระ.
ก็ศรัทธาในบทว่า สทฺธินฺทฺริยํ ภาเวติ ดังนี้ เป็นต้น ชื่อว่าสัทธินทรีย์ เพราะกระทำความเป็นใหญ่ในศรัทธาธุระของตน. แม้ในวิริยินทรีย์เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ. ก็ในบทว่า ภาเวติ นี้ พระโยคาวจรผู้เริ่มบำเพ็ญเพียร ชำระสัทธินทรีย์ให้หมดจดด้วยเหตุ ๓ ประการ ชื่อว่าเจริญสัทธินทรีย์. แม้ในวิริยินทรีย์แป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
สมจริงดังที่ท่านพระสารีบุตรกล่าวไว้ว่า
สัทธินทรีย์ย่อมบริสุทธิ์ด้วยเหตุ ๓ ประการเหล่านี้ แก่บุคคลผู้เว้นบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา ผู้เสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้บุคคลผู้มีศรัทธา ผู้พิจารณาพระสูตรอันน่าเลื่อมใส.
วิริยินทรีย์ย่อมบริสุทธิ์ด้วยเหตุ ๓ ประการเหล่านี้ แก่บุคคลผู้เว้นบุคคลผู้เกียจคร้าน ผู้เสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้บุคคลผู้ปรารภความเพียร ผู้พิจารณาสัมมัปปธาน (ความเพียรชอบ).
สตินทรีย์ย่อมบริสุทธิ์ด้วยเหตุ ๓ ประการเหล่านี้ แก่บุคคลผู้เว้นบุคคลผู้มีสติหลงลืม ผู้เสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้บุคคลผู้มีสติปรากฏ ผู้พิจารณาสติปัฏฐาน.
สมาธินทรีย์ย่อมบริสุทธิ์ด้วยเหตุ ๓ ประการ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 238
เหล่านี้ แก่บุคคลผู้เว้นบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ผู้เสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น ผู้พิจารณาฌาน และวิโมกข์.
ปัญญินทรีย์ย่อมบริสุทธิ์ด้วยเหตุ ๓ ประการเหล่านี้ แก่บุคคลผู้เว้นบุคคลผู้ไม่มีปัญญา ผู้เสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้บุคคลผู้มีปัญญา ผู้พิจารณาญาณจริยาอันลึกซึ้ง.
ก็บทว่า คมฺภีรญาณจริยํ ปจฺจเวกฺขโต ในพระบาลีนั้น มีความว่า ผู้พิจารณาลำดับขันธ์ (๑) ลำดับอินทรีย์ พละ และโพชฌงค์ ลำดับมรรค และลำดับผลอันละเอียดสุขุม. ก็พระโยคาวจรผู้เริ่มบำเพ็ญกรรมฐาน ไม่กระทำความยึดมั่นด้วยอำนาจแห่งเหตุละ ๓ๆ เหล่านี้ เริ่มตั้งความยึดมั่นในศรัทธาธุระเป็นต้น อบรมให้เจริญขึ้น ในที่สุดละขาดได้ ย่อมถือเอาพระอรหัต. พระโยคาวจรนั้น ชื่อว่าเจริญอินทรีย์เหล่านี้จนกระทั่งพระอรหัตตมรรค. เมื่อบรรลุพระอรหัตตผลแล้ว ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เจริญอินทรีย์. ท่านกล่าวอินทรีย์แม้ทั้ง ๕ นี้ เป็นทั้งโลกิยะและโลกุตระ ด้วยประการฉะนี้.
ในสัทธาพละเป็นต้น ศรัทธานั่นแหละเป็นพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหว เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า สัทธาพละ. แม้ใน วิริยพละ เป็นต้น ก็มีนัยเหมือนสัทธาพละนั้นแล. ก็ศรัทธาในอธิการว่าด้วยพละนี้ ย่อมไม่หวั่นไหวด้วยความไม่เชื่อ, ความเพียรย่อมไม่หวั่นไหวด้วยความเกียจคร้าน, สติย่อมไม่หวั่นไหวด้วยความหลงลืมสติ, สมาธิย่อมไม่
(๑) ฎีกาแก้ว่า ความที่ขันธ์ทั้งหลายเป็นต่างๆ กันโดยสภาวะ ชาติ และภูมิเป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 239
หวั่นไหวด้วยความฟุ้งซ่าน. ปัญญาย่อมไม่หวั่นไหวด้วยอวิชชา เพราะเหตุนั้น พละแม้ทั้งหมดเรียกว่า พละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหว. ก็การประกอบความเพียรในการเจริญภาวนาในพละนี้ พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้ว ในการเจริญอินทรีย์นั่นแล. ท่านกล่าวพละ ๕ นี้ เป็นทั้งโลกิยะและโลกุตระ.
ในบทว่า สติสมฺโพชฺฌงฺคํ ภาเวติ นี้ มีภาวนานัยแห่งการพรรณนาเนื้อความพร้อมกับกุลบุตรผู้เริ่มบำเพ็ญกรรมฐานเพียงเท่านี้. บทต้น ๗ บท ซึ่งกล่าวไว้โดยนัยเป็นต้นว่า สติสมฺโพชฺฌงฺคํ ดังนี้ ในพระบาลีนั้น มีการพรรณนาความดังต่อไปนี้ก่อน.
พึงทราบวินิจฉัยในสติสัมโพชฌงค์ก่อน. ชื่อว่าสติ เพราะอรรถว่า ระลึกได้. ก็สตินั่นนั้น มีความปรากฏขึ้นเป็นลักษณะ หรือมีอันให้นึกได้เป็นลักษณะ.
สมจริงดังที่ท่านพระนาคเสนกล่าวไว้ว่า มหาบพิตร ขุนคลังของพระราชา กราบทูลให้พระราชาทรงนึกถึงพระราชทรัพย์ว่า ข้าแต่มหาราช เงินมีเท่านี้ ทองมีเท่านี้ ทรัพย์สินมีเท่านี้ ดังนี้ ฉันใด มหาบพิตร สติก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อเกิดขึ้น ย่อมให้นึกได้ ย่อมให้ระลึกได้ซึ่งธรรมทั้งหลาย อันเป็นกุศลและอกุศล มีโทษและไม่มีโทษ เลวและประณีต มีส่วนเปรียบด้วยธรรมดำและธรรมขาว. คือ สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ ความพิสดารแล้ว. (สติ) มีอันให้นึกได้เป็นรส (คือกิจ). ก็พระเถระกล่าวลักษณะนั่นของสตินั้นว่า เป็นกิจนั่นเอง. อีกอย่างหนึ่ง (สติ) มีความไม่หลงลืมเป็นรส มีความเผชิญหน้าต่ออารมณ์เป็นปัจจุปัฏฐาน (เครื่องปรากฏ). สตินั่นแหละเป็นสัมโพชฌงค์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 240
สติสัมโพชฌงค์ ด้วยประการอย่างนี้.
ในบทว่า สติสมฺโพชฺฌงฺโค นั้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้ หรือแห่งพระโพธิญาณ. ถามว่า ท่านอธิบายไว้อย่างไร. ตอบว่า อธิบายไว้ว่า ธรรมสามัคคีนี้ เรียกว่า โพธิ เพราะกระทำอธิบายว่า พระอริยสาวกย่อมตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคี คือ สติ ธรรมวิจัย วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา อันเกิดขึ้นในขณะแห่งมรรคอันเป็นโลกิยะและโลกุตระ อันเป็นปฏิปักษ์ต่ออันตรายมิใช่น้อย มีการตั้งอยู่ และการประมวลไว้ซึ่งความหดหู่และความฟุ้งซ่าน และความยึดมั่นในการประกอบกามสุข การทำตนให้ลำบาก และในอุจเฉททิฏฐิและสัสสตทิฏฐิ. บทว่า พุชฺฌติ ความว่า ออกจากความหลับ คือ กิเลสสันดาน. อธิบายว่า แทงตลอดอริยสัจ ๔ หรือทำให้แจ้งเฉพาะพระนิพพาน. สมจริงดังที่ตรัสไว้แล้วว่า เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วตรัสรู้ พร้อมเฉพาะซึ่งพระสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม ดังนี้. ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่งโพธิ คือ ธรรมสามัคคีนั้น ดังนี้บ้าง เหมือนดังฌานังคะองค์ฌาน มัคคังคะองค์มรรคฉะนั้น. พระอริยสาวกเรียกว่า โพธิ เพราะกระทำอธิบายว่า พระอริยสาวกนั้นแม้ใดตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคีนั่น ซึ่งมีประการดังกล่าวแล้ว องค์แห่งพระอริยสาวก (ที่เรียกว่าโพธิ) นั้น แม้เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าโพชฌงค์ (องค์แห่งพระอริยสาวกผู้ตรัสรู้) เหมือนดังองค์ประกอบแห่งกองทัพ และองค์ประกอบแห่งรถเป็นต้นฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่งบุคคลผู้ตรัสรู้. อีกอย่างหนึ่ง ในบาลีว่า โพชฺฌงฺคา นี้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถอะไร. ชื่อว่าโพชฌงค์
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 241
เพราะเป็นไปเพื่อตรัสรู้. ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้. ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะแทงตลอด. (ย่อมเจริญ) สติสัมโพชฌงค์นั้น.
แม้ในบทว่า ธมฺมวิจยสมฺโพชฺฌงฺคํ ดังนี้เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- ชื่อว่า ธรรมวิจัย เพราะค้นหาสัจธรรมทั้ง ๔. ก็ธรรมวิจัยนั้น มีการเลือกเฟ้นเป็นลักษณะ มีความแจ่มแจ้งเป็นรส มีความไม่หลงลืมเป็นปัจจุปัฏฐาน (เครื่องปรากฏ). ชื่อว่า วิริยะ เพราะภาวะกล้าหาญ และเพราะดำเนินไปตามวิธี. ก็วิริยะนั้น มีการประคองไว้เป็นลักษณะ มีการค้ำจุนไว้เป็นรส มีการไม่ย่อหย่อนเป็นปัจจุปัฏฐาน. ชื่อว่า ปีติ เพราะอิ่มเอิบ. ปีตินั้น มีการแผ่ซ่านเป็นลักษณะ หรือมีความยินดีเป็นลักษณะ มีการทำกายและจิตให้เอิบอิ่มเป็นรส มีการทำกายและจิตนั้นแหละให้ฟูขึ้นเป็นปัจจุปัฏฐาน. ชื่อว่า ปัสสัทธิ เพราะระงับความกระวนกระวายแห่งกายและจิต. ปัสสัทธินั้น มีความสงบเป็นลักษณะ มีการย่ำยีความกระวนกระวายแห่งกายและจิตเป็นรส มีความเย็นอันเกิดจากความไม่ดิ้นรนเป็นปัจจุปัฏฐาน. ชื่อว่า สมาธิ เพราะความตั้งมั่น. ก็สมาธินั้น มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ หรือมีการไม่ซ่านออกเป็นลักษณะ มีการประมวลจิตและเจตสิกไว้เป็นรส มีความตั้งอยู่แห่งจิตเป็นปัจจุปัฏฐาน. ชื่อว่า อุเบกขา เพราะความเพ่งเฉย. อุเบกขานั้น มีการพิจารณาเป็นลักษณะ หรือมีการนำไปอย่างสม่ำเสมอเป็นลักษณะ มีการห้ามความหย่อนไปและความเกินไปเป็นรส หรือมีการตัดขาดในการเข้าเป็นฝักฝ่ายเป็นรส มีความเป็นกลางเป็นปัจจุปัฏฐาน. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวไว้แล้วนั่นแล. บทว่า ภาเวติ ความว่า พอกพูน คือ ให้เพิ่มขึ้น อธิบายว่า ให้เกิดขึ้น.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 242
ในสัมโพชฌงค์นั้น ธรรม ๔ ประการ คือ สติสัมปชัญญะ ๑ ความเว้นบุคคลผู้มีสติหลงลืม ๑ ความเสพบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ๑ ความเป็นผู้น้อมใจไปในสติสัมโพชฌงค์นั้น ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสติสัมโพชฌงค์. ก็ในฐานะทั้ง ๗ แม้มีการก้าวไปเป็นต้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้น ด้วยสติสัมปชัญญะ ด้วยการเว้นบุคคลผู้ที่สติหลงลืมดุจกาซ่อนเหยื่อ ด้วยการเสพบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น เช่น พระติสสทัตตเถระและพระอภัยเถระ และด้วยความเป็นผู้มีจิตโอนน้อมโน้มไปเพื่อให้สติตั้งขึ้นในการยืนและการนั่งเป็นต้น. เพราะฉะนั้น กุลบุตรผู้เริ่มบำเพ็ญกรรมฐาน ยังสติสัมโพชฌงค์ให้ตั้งขึ้นด้วยเหตุ ๔ ประการเหล่านี้ แล้วกระทำสติสัมโพชฌงค์นั้นอย่างเดียวให้เป็นธุระ เริ่มตั้งความยึดมั่นไว้ ย่อมถือเอาพระอรหัตได้โดยลำดับ. กุลบุตรนั้นนั่นแล ชื่อว่าเจริญสติสัมโพชฌงค์ในพระอรหัตตมรรค. เมื่อกุลบุตรนั้นบรรลุพระอรหัตตผลแล้ว ย่อมเป็นผู้ชื่อว่าเจริญสติสัมโพชฌงค์แล้ว.
ธรรม ๗ ประการ คือ ความสอบถาม ๑ ความทำวัตถุให้สละสลวย ๑ ความทำอินทรีย์ให้ดำเนินไปสม่ำเสมอ ๑ ความเว้นบุคคลผู้มีปัญญาทราม ๑ ความเสพบุคคลผู้มีปัญญา ๑ ความพิจารณาญาณจริยาอันลึกซึ้ง ๑ ความน้อมใจไปในธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้น ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
บรรดาธรรม ๗ ประการนั้น ความเป็นผู้มากด้วยการสอบถามอันอิงอาศัยอรรถแห่งขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ องค์มรรค ฌาน สมถะ และวิปัสสนา ชื่อว่า ความสอบถาม. การทำความสละสลวยแก่วัตถุทั้งภายในและภายนอก ชื่อว่าความทำวัตถุให้
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 243
สละสลวย. ก็ในกาลใด ผม เล็บ และขนของกุลบุตรนั้นยาว หรือสรีระมีโทษ หมักหมมและมอมแมมด้วยมลทินเหงื่อไคล ในกาลนั้น วัตถุภายในไม่สละสลวย ไม่หมดจด. อนึ่ง ในกาลใด จีวรเก่า สกปรก มีกลิ่นเหม็นสาบ หรือเสนาสนะรกรุงรัง ในกาลนั้น วัตถุภายนอกไม่สละสลวย ไม่สะอาด เพราะฉะนั้น ควรทำวัตถุภายในให้สละสลวย ด้วยการโกนผมเป็นต้น ด้วยการทำร่างกายให้เบาด้วยการขับถ่ายทั้งเบื้องบนและเบื้องล่างเป็นต้น และด้วยการอบและอาบ. พึงทำวัตถุภายนอกให้สละสลวย ด้วยการเย็บ การซัก การย้อม และการประพรมเป็นต้น. ก็แม้ญาณในจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้นในวัตถุภายในและภายนอกที่ไม่สละสลวยนี้นั่นแล ก็พลอยเป็นญาณไม่บริสุทธิ์ไปด้วย เปรียบเหมือนแสงสว่างของเปลวประทีปที่อาศัยโคมประทีป ไส้ และน้ำมันเป็นต้นที่ไม่สะอาดเกิดขึ้นฉะนั้น. ก็แม้ญาณในจิตและเจตสิกที่เกิดในวัตถุทั้งภายในและภายนอกอันสละสลวย ก็เป็นญาณชัดแจ้ง เหมือนแสงสว่างของดวงประทีปที่อาศัยโคมประทีป ไส้ และน้ำมันเป็นต้นที่สะอาดเกิดขึ้นฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า กระทำวัตถุให้สละสลวย ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ดังนี้.
การทำอินทรีย์ทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้นให้สม่ำเสมอ ชื่อว่าการทำอินทรีย์ให้ถึงความสม่ำเสมอ ก็ถ้าสัทธินทรีย์ของกุลบุตรนั้นมีกำลัง อินทรีย์นอกนี้อ่อน. แต่นั้น วิริยินทรีย์ไม่อาจทำหน้าที่ประคับประคอง สตินทรีย์ไม่อาจทำหน้าที่ปรากฏ สมาธินทรีย์ไม่อาจทำหน้าที่ไม่ฟุ้งซ่าน ปัญญินทรีย์ไม่อาจทำหน้าที่เห็น. เพราะฉะนั้น ควรให้ลดลงไป ด้วยการพิจารณาสภาวธรรม หรือด้วยการไม่ได้ใส่ใจ โดยประการที่เมื่อใส่ใจ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 244
(สัทธินทรีย์) กลับมีกำลังขึ้น. ก็ในข้อนี้ มีเรื่อง พระวักกลิเถระ เป็นอุทาหรณ์. ก็ถ้าวิริยินทรีย์มีกำลัง เมื่อเป็นอย่างนั้น สัทธินทรีย์ย่อมไม่อาจทำกิจในการน้อมใจเชื่อ อินทรีย์นอกนี้ก็ไม่อาจทำกิจนอกนี้แต่ละชนิดได้. เพราะฉะนั้น วิริยินทรีย์นั้นควรทำให้ลดลง ด้วยการทำศรัทธาเป็นต้นให้เจริญขึ้น. แม้ในข้อนั้น ก็ควรแสดงเรื่องราวของ พระโสณเถระ. แม้ในอินทรีย์ที่เหลือ ก็อย่างนั้น. พึงทราบว่า เมื่ออินทรีย์อย่างหนึ่งมีกำลังกล้า อินทรีย์นอกนี้จะไม่มีความสามารถในหน้าที่ของตนๆ.
ก็โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอธิการว่าด้วยอินทรีย์นี้ ท่านสรรเสริญความเสมอกันของศรัทธากับปัญญา และสมาธิกับวิริยะ. เพราะคนผู้มีศรัทธาแก่กล้า ย่อมเป็นผู้มีปัญญาเขลา เลื่อมใสง่าย ย่อมเลื่อมใสในสิ่งที่ไม่เข้าเรื่อง. คนผู้มีปัญญามาก มีศรัทธาน้อย ย่อมคบกับฝ่ายเกเร เหมือนโรคมีสมุฏฐานมาจากยา ย่อมเป็นโรคที่แก้ไขยาก. คนผู้ (มีความคิด) แล่นเกินไปว่า กุศลมีได้ด้วยสักว่าทำให้เกิดขึ้นในจิตเท่านั้น แล้วไม่ทำกุศลมีการให้ทานเป็นต้น ย่อมเกิดในนรก. เพราะศรัทธากับปัญญาทั้งสองเท่ากัน คนจึงเลื่อมใสในเรื่องที่เป็นเรื่อง. ก็ความเกียจคร้าน ย่อมครอบงำคนผู้มีสมาธิกล้า แต่มีความเพียรอ่อน เพราะสมาธิเป็นฝ่ายข้างความเกียจคร้าน. ความฟุ้งซ่านย่อมครอบงำคนที่มีความเพียรกล้า สมาธิอ่อน เพราะความเพียรเป็นฝ่ายข้างความฟุ้งซ่าน. ก็สมาธิที่กำกับด้วยความเพียร ย่อมไม่ตกไปในความเกียจคร้าน. ความเพียรที่กำกับด้วยสมาธิ ย่อมไม่ตกไปในความฟุ้งซ่าน. เพราะฉะนั้น ต้องทำทั้งสองอย่างนั้นให้เท่ากัน ก็เพราะทั้งสองอย่างเท่ากัน อัปปนาย่อมเกิด.
อีกอย่างหนึ่ง สำหรับผู้บำเพ็ญสมาธิ ศรัทธามีกำลังจึงควร. เพราะ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 245
ผู้เชื่อเมื่อปักใจเชื่ออย่างนั้น จักบรรลุถึงอัปปนา. ก็บรรดาสมาธิและปัญญา ความมีจิตแน่วแน่มีกำลัง ย่อมควรสำหรับผู้บำเพ็ญสมาธิ. เพราะเมื่อเป็นอย่างนั้น ผู้บำเพ็ญสมาธินั้น ย่อมบรรลุถึงอัปปนา. ปัญญามีกำลัง ย่อมควรสำหรับท่านผู้บำเพ็ญวิปัสสนา. เพราะเมื่อเป็นอย่างนั้น ท่านผู้บำเพ็ญวิปัสสนานั้น ย่อมบรรลุการแทงตลอดไตรลักษณ์. ก็แม้สมาธิกับปัญญาทั้งสองเท่ากัน ย่อมเป็นอัปปนาแท้. ก็สติมีกำลังในทุกอย่าง ย่อมไม่เสียหาย. ก็สติย่อมรักษาจิตไว้มิให้ตามไปในความฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจของศรัทธา ความเพียร และปัญญา อันเป็นปฏิปักษ์ต่อความฟุ้งซ่าน และมิให้ตกไปในความเกียจคร้านด้วยสมาธิอันเป็นปฏิปักษ์ต่อความเกียจคร้าน. เพราะฉะนั้น สตินั้นจำต้องปรารถนาในที่ทั้งปวง เหมือนเกลือกับเครื่องเทศต้องใช้ปรุงกับข้าวทุกชนิด และเหมือนอำมาตย์ผู้ชำนาญในสรรพกิจ จำต้องใช้ในราชการทั้งปวงฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ก็แล สติ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มีประโยชน์ทุกอย่าง. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะจิตมีสติเป็นที่พึ่งอาศัย และสติมีการรักษาเป็นเครื่องปรากฏ เว้นสติเสียแล้ว การประคองและการข่มจิตจะมีไม่ได้ ดังนี้.
การเว้นให้ห่างไกลจากบุคคลผู้มีปัญญาทราม ผู้ไม่มีปัญญาหยั่งลงในประเภทแห่งขันธ์เป็นต้น ชื่อว่า เว้นบุคคลผู้มีปัญญาทราม. การเสพบุคคลผู้ประกอบด้วยอุทยัพพยปัญญา (เห็นเกิดดับ) อันกำหนดพิจารณาลักษณะ ๕๐ ถ้วน ชื่อว่า เสพบุคคลผู้มีปัญญา. การพิจารณาประเภทของญาณอันลึกซึ้ง ซึ่งดำเนินไปในขันธ์เป็นต้นอันลึกซึ้ง ชื่อว่า พิจารณาความเป็นไปแห่งญาณอันลึกซึ้ง. ความมีจิตน้อมไปเพื่อให้ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ตั้งขึ้นในการยืนและการนั่งเป็นต้น ชื่อว่า ความน้อมใจไป
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 246
ในธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้น. เพราะฉะนั้น กุลบุตรผู้เริ่มบำเพ็ญเพียร ทำธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ให้ตั้งขึ้นด้วยเหตุ ๗ ประการเหล่านี้ ทำธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้นนั่นแหละให้เป็นการเป็นงาน เริ่มยึดมั่นไว้ ย่อมถือเอาพระอรหัตได้โดยลำดับ. กุลบุตรนั้นชื่อว่าเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์จนกระทั่งถึงอรหัตตมรรค. เมื่อบรรลุผล ย่อมชื่อว่าเป็นผู้อบรมเสร็จแล้ว.
ธรรม ๑๑ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งวิริยสัมโพชฌงค์ คือ ความพิจารณาภัยในอบาย ๑ ความเห็นอานิสงส์ ๑ ความพิจารณาทางสำหรับไป ๑ ความยำเกรงต่อบิณฑบาต ๑ ความพิจารณามรดกความเป็นทายาทเป็นใหญ่ ๑ ความพิจารณาความเป็นใหญ่แห่งพระศาสดา ๑ ความพิจารณาความเป็นใหญ่โดยชาติ ๑ ความพิจารณาความที่เพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์เป็นใหญ่ ๑ ความเว้นบุคคลผู้เกียจคร้าน ๑ ความเสพบุคคลผู้เริ่มทำความเพียร ๑ ความเป็นผู้มีใจน้อมไปในวิริยสัมโพชฌงค์นั้น ๑.
บรรดาธรรม ๑๑ ประการนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้นแม้แก่ผู้พิจารณาอบายอย่างนี้ว่า ใครๆ ไม่อาจยังวิจยสัมโพชฌงค์ให้เกิดขึ้นแม้ในเวลาเสวยทุกข์ใหญ่ จำเดิมแต่ต้องถูกลงโทษด้วยเครื่องจองจำครบ ๕ อย่างในนรก แม้ในเวลาถูกเขาจับด้วยแห อวน และไซเป็นต้นในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน อนึ่ง แม้ในเวลาลากเกวียนเป็นต้นของสัตว์ที่ถูกแทงด้วยเครื่องประหารมีปฏักและคันธนูเป็นต้น แม้ในเวลากระสับกระส่ายด้วยความหิวและความระหาย ตลอดพันๆ ปีบ้าง พุทธันดรหนึ่งบ้าง ในเปรตวิสัย แม้ในเวลาเสวยทุกข์อันเกิดจากลมและแดดเป็นต้น ด้วยทั้งอัตภาพสักแต่หนังหุ้มกระดูก สูงประมาณ ๖๐ ศอก ในพวกเปรตกาล-
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 247
กัญชิกาสูร. ดูก่อนภิกษุ กาลนี้แหละ เป็นกาลของเธอแล้ว ดังนี้. วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดแม้แก่ผู้เห็นอานิสงส์อย่างนี้ว่า ผู้เกียจคร้านไม่ได้โลกุตรธรรม ๙. ผู้ปรารภความเพียรเท่านั้นจึงได้. นี้เป็นอานิสงส์ของวิริยสัมโพชฌงค์. ย่อมเกิดแม้แก่ผู้พิจารณาทางไปอย่างนี้ว่า ทางที่พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระมหาสาวกทั้งปวงไปแล้ว เราควรไป ก็ทางนั้นอันผู้เกียจคร้านไม่อาจไป ดังนี้. ย่อมเกิดแม้แก่ผู้พิจารณาถึงความยำเกรงต่อบิณฑบาตอย่างนี้ว่า มนุษย์เหล่าใดบำรุงท่านด้วยบิณฑบาตเป็นต้น มนุษย์เหล่านี้ มิใช่ญาติ มิใช่ทาสกรรมกร ให้บิณฑบาตอันประณีตแก่ท่านด้วยหวังใจว่า พวกเราจักอาศัยบิณฑบาตนั้นเลี้ยงชีวิตก็หามิได้. โดยที่แท้ เขาหวังว่า การทำอุปการะของตนเป็นของมีผลมากจึงให้. แม้พระศาสดาทรงเห็นอย่างนี้ว่า ภิกษุนี้บริโภคปัจจัยเหล่านี้แล้วจักเป็นผู้มีร่างกายล่ำสันอยู่เป็นสุข ดังนี้ จึงทรงอนุญาตปัจจัยทั้งหลายแก่เธอก็หามิได้ โดยที่แท้ ทรงอนุญาตปัจจัยทั้งหลายแก่เธอก็ด้วยพระประสงค์ว่า ภิกษุนี้บริโภคปัจจัยเหล่านี้กระทำสมณธรรมแล้วจักพ้นวัฏฏทุกข์. บัดนี้ เธอนั้นเกียจคร้านอยู่ จักประพฤติยำเกรงต่อบิณฑบาตนั้นก็หาไม่. เพราะธรรมดาว่า ความยำเกรงต่อบิณฑบาตย่อมมีแก่ผู้ที่ปรารภความเพียรเท่านั้น เหมือนพระมหามิตตเถระและพระปิณฑปาติยติสสเถระฉะนั้น.
เขาเล่าว่า พระมหามิตตเถระอาศัยอยู่ในถ้ำชื่อกัสสกะ. ก็มหาอุบาสิกาคนหนึ่งในโคจรคามของท่าน ปฏิบัติพระเถระเหมือนกับบุตร. วันหนึ่งนางจะไปป่า จึงสั่งลูกสาวว่า ลูกจ๋า ข้าวสารเก่าอยู่โน้น นมสดอยู่โน้น เนยใสอยู่โน้น น้ำอ้อยอยู่โน้น เวลาพระผู้เป็นเจ้ามิตตะ พี่ชายของ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 248
เจ้ามา เจ้าจงหุงข้าวถวายพร้อมกับนมสด เนยใส และน้ำอ้อย และเจ้าก็ควรบริโภคเสียด้วย ส่วนแม่จะบริโภคข้าวค้างคืนที่หุงไว้เมื่อวานนี้กับน้ำผักดอง. ลูกสาวถามว่า กลางวันแม่จะบริโภคอะไรล่ะจ๊ะแม่. แม่ตอบว่า เจ้าจงใส่ผักดอง เอาข้าวสารหักๆ ต้มข้าวยาคูเปรี้ยวเก็บไว้ให้นะลูก พระเถระห่มจีวรแล้ว กำลังนำบาตรออกมา ได้ยินเสียงนั้นจึงกล่าวสอนตนว่า นัยว่า มหาอุบาสิกาจักบริโภคข้าวค้างคืนกับน้ำผักดอง แม้ตอนกลางวันก็จักบริโภคข้าวยาคูเปรี้ยวปรุงด้วยข้าวสารหักกับผัก. ก็นางบอกให้ข้าวสารเก่าเป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่ท่าน และนางอาศัยท่านแล้วจะหวังได้นา หวังได้สวนก็หามิได้ แต่นางปรารถนาสมบัติทั้ง ๓ จึงให้ ท่านจักสามารถให้สมบัติเหล่านั้นแก่นางไหม ก็บิณฑบาตนี้แล ท่านผู้มีราคะ โทสะ โมหะ ไม่อาจรับ ดังนี้แล้ว จึงอาบาตรใส่ถลก ปลดลูกดุม กลับไปที่ถ้ำกัสสกะ เก็บบาตรไว้ใต้เตียง พาดจีวรไว้ที่สายระเดียง นั่งอธิษฐานความเพียรว่า เรายังไม่บรรลุพระอรหัต จักไม่ออกไป. ภิกษุผู้ไม่ประมาทอยู่ประจำมานาน เจริญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัตในเวลาก่อนภัตตาหาร เป็นพระขีณาสพ กระทำความแย้มออกไปเหมือนดอกบัวแย้มฉะนั้น. เทวดาผู้สิงอยู่ที่ประตูถ้ำเปล่งอุทานว่า
นโม เต ปุริสาชญฺ
นโม เต ปุริสุตฺตม
ยสฺส เต อาสวา ขีณา
ทกฺขิเณยฺโยสิ มาริส
ท่านบุรุษอาชาไนย เราขอนอบน้อมท่าน ท่านบุรุษผู้สูงสุด เราขอนอบน้อมท่าน ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านมีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นพระทักขิไณยบุคคล.
ดังนี้ แล้วกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ หญิงแก่ถวายภิกษาหารแก่พระ-
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 249
อรหันต์เช่นท่านผู้เข้าไปบิณฑบาต จักพ้นทุกข์. พระเถระลุกขึ้นเปิดประตู มองดูเวลา รู้ว่ายังเช้าอยู่ จึงถือบาตรและจีวรเข้าไปยังบ้าน. แม้เด็กหญิงก็เตรียมภัตตาหารไว้พร้อมแล้ว นั่งมองดูประตูด้วยหวังใจว่า ประเดี๋ยวพระพี่ชายของเราจักมาถึง. เมื่อพระเถระถึงประตูบ้าน เด็กหญิงนั้นก็รับบาตร บรรจุภัตตาหารอันประกอบด้วยเนยใสและน้ำอ้อยให้เต็ม แล้ววางไว้ที่มือ. พระเถระทำอนุโมทนาว่า จงมีความสุขเถิด แล้วหลีกไป. ก็เด็กหญิงนั้นได้ยืนมองดูท่านอยู่. ก็ในคราวนั้น พระเถระมีฉวีวรรณบริสุทธิ์ยิ่งนัก อินทรีย์ผ่องใส ใบหน้าสุกสกาวเหมือนผลตาลสุกที่หลุดจากขั้วฉะนั้น. มหาอุบาสิกากลับมาจากป่า ถามบุตรสาวว่า พระพี่ชายมาแล้วหรือลูก. บุตรสาวนั้นจึงบอกความเป็นไปนั้นทั้งหมด. อุบาสิการู้ว่า กิจแห่งบรรพชิตของบุตรเราถึงที่สุดแล้วในวันนี้ จึงกล่าวว่า แม่ พระพี่ชายของเจ้ายินดี ไม่เบื่อระอาในพระพุทธศาสนาแล้ว.
ก็เรื่องพระปิณฑปาติยเถระพึงทราบอย่างนี้. ได้ยินว่า บุรุษเข็ญใจคนหนึ่งในบ้านมหาคาม เลี้ยงชีวิตด้วยการขายฟืน. บุรุษนั้นได้ชื่อตามเหตุการณ์นั้นนั่นแล จึงมีชื่อว่า ทารุภัณฑกมหาติสสะ. วันหนึ่ง เขาพูดกะภรรยาของเขาว่า ชื่อว่าความเป็นอยู่ของพวกเราเป็นอย่างไรกัน พระศาสดาตรัสว่า ทลิทททานมีผลมาก แต่เราไม่อาจให้เป็นประจำได้ เราถวายปักขิกภัตแล้ว แม้สลากภัตอันเกิดขึ้นข้างหน้าเราก็จักถวาย. ภรรยารับคำว่า ดีละนาย แล้วได้ถวายปักขิกภัตตามมีตามได้ในวันรุ่งขึ้น. ก็เวลานั้น เป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์ไม่ขัดข้องด้วยเรื่องปัจจัยทั้งหลาย. ภิกษุหนุ่มและสามเณรทั้งหลายฉันโภชนะล้วนประณีต รู้ว่านี้เป็นอาหารไม่สู้ดี ก็กระทำปักขิกภัตของคนทั้งสองนั้นให้เป็นแต่สักว่ารับไว้เท่านั้น เมื่อคน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 250
ทั้งสองนั้นเห็นอยู่นั้นแหละ ก็ทิ้งเสียแล้วก็ไป. ฝ่ายหญิงนั้นเห็นการกระทำนั้น จึงบอกแก่สามี. แต่ไม่ได้มีความเดือดร้อนใจว่า พระทิ้งของที่เราถวาย. สามีของนางกล่าวว่า ก็พวกเราไม่อาจให้พระผู้เป็นเจ้าฉันได้โดยง่าย เพราะเป็นคนจน เราจักกระทำอย่างไรหนอแล จึงจักอาจเอาใจพระผู้เป็นเจ้าได้. ทีนั้น ภรรยาของเขากล่าวว่า นาย ท่านพูดว่าอะไรหรือ ธรรมดาคนเข็ญใจทั้งหลายมีบุตรก็มีอยู่มิใช่หรือ นี้ธิดาของท่าน. ท่านจงเอาธิดาคนนี้วางเป็นประกันไว้ในตระกูลหนึ่ง เอาทรัพย์มาสัก ๑๒ กหาปณะ (๑ กหาปณะ = ๔ บาท ของชาวมคธ) แล้วซื้อแม่โคนมมาตัวหนึ่ง เราจักถวายสลากภัตปรุงกับนมสดแก่พระผู้เป็นเจ้า เราอาจเอาใจของพระผู้เป็นเจ้าเหล่านั้นได้ ด้วยอาการอย่างนี้. สามีรับคำว่า ได้ แล้วจึงกระทำอย่างนั้น. ด้วยบุญของคนทั้งสองนั้น แม่โคนมตัวนั้นให้น้ำนม ๓ มาณิกะในตอนเย็น (มาณิกะเป็นมาตราตวงของชาวมคธ) ในตอนเช้าให้นม ๓ มาณิกะ. คนทั้งสองทำนมสดที่ได้ในตอนเย็นให้เป็นนมเปรี้ยว ในวันรุ่งขึ้นจึงทำให้เป็นเนยใสจากเนยข้นที่ถือเอาจากนมส้มนั้น แล้วถวายสลากภัตปรุงด้วยนมสดพร้อมกับเนยใสนั่นแหละ จำเดิมแต่นั้น พระผู้มีบุญจึงจะได้สลากภัตในเรือนของเขา.
วันหนึ่ง สามีกล่าวกะภรรยาว่า พวกเราพ้นจากเรื่องที่น่าละอายก็เพราะมีลูกสาว ทั้งภัตตาหารในเรือนของเราแห่งเดียว เป็นของควรบริโภคแห่งพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย เธออย่าประมาทในวัตรอันดีงามนี้จนกว่าพี่จะมา พี่จะทำงานอะไรสักอย่างไถ่ตัวลูกสาว เขาไปยังประเทศหนึ่ง ทำงานหีบอ้อย โดยเวลา ๖ เดือน ได้เงิน ๑๒ กหาปณะ คิดว่า เงินเท่านี้อาจจะไถ่ลูกสาวของเราได้ จึงเอาชายผ้าขอดกหาปณะเหล่านั้น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 251
ไว้ แล้วเดินทางด้วยตั้งใจว่าจักไปบ้าน.
ในสมัยนั้น พระปิณฑปาติยติสสเถระอยู่ในอัมพริยมหาวิหาร คิดว่า จักไปมหาวิหารไหว้พระเจดีย์ จึงออกจากที่อยู่ของตนไปยังบ้านมหาคาม เดินไปทางนั้นเหมือนกัน อุบาสกนั้นเห็นพระเถระแต่ไกล คิดว่า เรามาผู้เดียว จักไปฟังธรรมกถากัณฑ์หนึ่ง พร้อมกันกับพระผู้เป็นเจ้ารูปนี้ เพราะผู้มีศีลหาได้ยากตลอดมาทุกเวลา จึงรีบไปทันพระเถระไหว้ แล้วเดินไปด้วยกัน เมื่อเวลาฉันภัตตาหารใกล้เข้ามา จึงคิดว่า ห่อภัตตาหารไม่มีอยู่ในมือเรา และก็ถึงเวลาฉันภิกษาหารของพระผู้เป็นเจ้าแล้ว ทั้งค่าใช้สอยนี้ก็มีอยู่ในมือเรา ในเวลาถึงประตูบ้านแห่งหนึ่ง เราจักถวายบิณฑบาตแก่พระผู้เป็นเจ้า.
เมื่อความคิดของเขาสักว่าพอเกิดขึ้นอย่างนี้เท่านั้น คนผู้หนึ่งถือห่อภัตตาหารมาถึงที่นั้นพอดี อุบาสกเห็นคนผู้นั้นแล้ว กล่าวนิมนต์ว่า ท่านผู้เจริญ โปรดคอยหน่อยเถิดๆ แล้วเข้าไปหาคนผู้นั้นกล่าวว่า บุรุษผู้เจริญ ฉันจะให้กหาปณะแก่ท่าน ท่านจงให้ห่อภัตตาหารแก่ฉัน บุรุษผู้นั้นคิดว่า ภัตตาหารแม้นี้จะมีราคาแม้สักมาสกหนึ่งในเวลานี้ก็หามิได้ แต่อุบาสกนี้ให้เรากหาปณะหนึ่ง เป็นครั้งแรกทีเดียว เหตุในเรื่องนี้จักมี ครั้นคิดแล้วจึงกล่าวว่า โดยกหาปณะหนึ่ง เราจะไม่ให้ อุบาสกกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านจงถือเอา ๒ กหาปณะ จงถือเอา ๓ กหาปณะ โดยทำนองนี้ประสงค์จะให้กหาปณะเหล่านั้นแม้ทั้งหมด บุรุษนอกนี้สำคัญว่า กหาปณะแม้อื่นของอุบาสกนั้นมีอยู่ (อีก) จึงกล่าวว่า เราไม่ให้ ครั้งนั้น อุบาสกนั้นกล่าวกะบุรุษนั้นว่า ท่านผู้เจริญ ถ้ากหาปณะแม้อื่นของเราพึงมีอยู่ไซร้ เราพึงให้กหาปณะแม้เหล่านั้น แต่เราจะถือเอาเพื่อ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 252
ประโยชน์แก่ตนเองก็หามิได้เลย เรานิมนต์พระผู้เป็นเจ้ารูปหนึ่งให้นั่งอยู่ที่โคนไม้ต้นหนึ่ง กุศลจักมีแก่ท่านด้วย ท่านจงให้ภัตตาหารนั้นแก่เราเถิด บุรุษนั้นพูดว่า ท่านผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงเอาไป จงนำกหาปณะเหล่านั้นมา ได้ถือเอากหาปณะแล้วให้ห่อภัตตาหารไป อุบาสกถือภัตตาหารเข้าไปหาพระเถระแล้วกล่าวว่า นำบาตรออกมาเถิด ท่านขอรับ พระเถระนำบาตรออกมา เมื่ออุบาสกถวายภัตตาหารเข้าไปได้ครึ่งหนึ่ง ก็ปิดบาตรเสีย อุบาสกกล่าวว่า มีส่วนเดียวเท่านั้น กระผมไม่อาจบริโภคจากส่วนเดียวนี้ ภัตตาหารนี้กระผมเที่ยวหาได้มาก็เพื่อประโยชน์แก่ท่านเท่านั้น ขอท่านจงรับภัตตาหารนั้นเถิด เพื่ออนุเคราะห์กระผม พระเถระคิดว่า มีเหตุ จึงรับมาฉันทั้งหมด อุบาสกได้กรองน้ำดื่มด้วยเครื่องกรองน้ำแล้วถวาย ต่อจากนั้น เมื่อพระเถระทำภัตกิจเสร็จแล้ว แม้ทั้งสองก็เดินทางไป (ด้วยกัน).
พระเถระถามอุบาสกว่า เพราะเหตุไรท่านจึงไม่บริโภค อุบาสกนั้นบอกเรื่องราวในการไปของตนทั้งหมด พระเถระฟังความเป็นไปนั้นแล้วสลดใจ คิดว่า อุบาสกทำสิ่งที่ทำได้ยาก ก็เราบริโภคบิณฑบาตเห็นปานนี้ ควรเป็นผู้กตัญญูต่ออุบาสกนี้ เราได้เสนาสนะอันเป็นสัปปายะแล้ว เมื่อผิวหนัง เนื้อ และเลือด แม้จะแห้งไปในเสนาสนะนั้น (ก็ตามที) ยังไม่บรรลุพระอรหัต โดยนั่งขัดสมาธิอยู่นั่นแหละ จักไม่ลุกขึ้น พระเถระนั้นไปยังติสสมหาวิหาร กระทำอาคันตุกวัตร (คือระเบียบปฏิบัติสำหรับผู้จรมา) แล้วเข้าไปยังเสนาสนะที่ถึงแก่ตน ลาดเครื่องลาดแล้วนั่งบนเครื่องลาดนั้น กำหนดมูลกรรมฐานของตนนั่นเอง พระเถระนั้นไม่อาจจะทำแม้สักว่าโอภาสให้บังเกิดขึ้นในราตรีนั้น. จำเดิมแต่วันรุ่งขึ้น จึง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 253
ตัดความกังวลในการเที่ยวภิกษาจารเสีย ก็เห็นแจ้งกรรมฐานนั้นนั่นแหละ ทั้งอนุโลมและปฏิโลม พระเถระเห็นแจ้งอยู่โดยอุบายนั้น ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาในอรุณที่ ๗ แล้วคิดว่า สรีระเมื่อยล้าเหลือเกิน ชีวิตของเราจักดำเนินไปได้นานไหมหนอ ครั้งนั้น พระเถระกำหนดได้แน่นอนว่า สรีระนั้นจะไม่ดำเนินไป จึงถือบาตรและจีวรไปยังท่ามกลางวิหาร ตีกลองให้ภิกษุสงฆ์ประชุมกัน.
พระสังฆเถระถามว่า ใครให้ภิกษุสงฆ์ประชุม. พระเถระตอบว่า กระผมขอรับ. พระสังฆเถระถามว่า เพื่ออะไร ท่านสัตบุรุษ. พระเถระตอบว่า กรรมอื่นไม่มีดอกขอรับ แต่ว่าท่านผู้มีความสงสัยในมรรคหรือผล ท่านผู้นั้นจงถามกระผมเถิด. พระสังฆเถระถามว่า ท่านสัตบุรุษ ภิกษุทั้งหลายเช่นท่าน ย่อมไม่กล่าวคุณที่ไม่มีอยู่ ความสงสัยในมรรคหรือผลนี้ ไม่มีแก่พวกเรา. ก็อะไรเป็นเหตุให้เกิดความสังเวชแก่ท่าน. ท่านทำอะไรให้เป็นปัจจัย พระอรหัตนี้จึงบังเกิดขึ้น. พระเถระตอบว่า ท่านขอรับ ในวัลลิยวิถีในบ้านมหาคามนี้ มีอุบาสกชื่อทารุภัณฑกมหาติสสะ จำนองธิดาของตนไว้ภายนอกแล้วเอาทรัพย์มา ๑๒ กหาปณะ ซื้อแม่โคนมมาตัวหนึ่ง เริ่มตั้งสลากภัตนมสดแก่พระสงฆ์. เขาคิดว่า เราจักไถ่ธิดา จึงทำการรับจ้างอยู่ในโรงหีบอ้อยถึง ๖ เดือน ได้ทรัพย์ ๑๒ กหาปณะแล้ว จึงเดินไปบ้านของตนด้วยหวังใจว่า จักไถ่ธิดา เห็นกระผมในระหว่างทาง ในเวลาภิกษาจารได้ให้กหาปณะนั้นแม้ทั้งหมด แล้วถือเอาห่อภัตตาหารมาถวายกระผมทั้งหมด. กระผมฉันบิณฑบาตนั้นแล้วมาที่นี้ ได้เสนาสนะอันเป็นสัปปายะแล้วคิดว่า เราจักกระทำความยำเกรงต่อบิณฑบาต ดังนี้ จึงได้ทำคุณวิเศษให้เกิดขึ้นขอรับ. บริษัท ๔ ผู้ประชุมกันอยู่ที่นั้น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 254
ได้ให้สาธุการแก่พระเถระ. ชื่อว่าผู้สามารถเพื่อดำรงตามภาวะของตนไม่มีเลย. พระเถระนั่งพูดอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ กำลังพูดอยู่นั้นแล อธิษฐานว่า กูฏาคาร (คือเรือนมียอด) ของเราจงเคลื่อนไป ในเวลาที่ทารุภัณฑกมหาติสสะเอามือถูกต้องเท่านั้น ดังนี้แล้ว ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ.
พระเจ้ากากวัณณติสสมหาราชทรงสดับว่า พระเถระรูปหนึ่งปรินิพพาน จึงเสด็จไปยังวิหาร ทรงทำสักการะสัมมานะแล้ว ตรัสสั่งให้ตระเตรียมกูฏาคาร แล้วยกพระเถระขึ้นใส่ในกูฏาคารนั้น ทรงดำริว่า เราจักไปที่เชิงตะกอนเดี๋ยวนี้ จึงทรงยกกูฏาคาร ก็ไม่อาจให้เคลื่อนที่ได้. พระราชารับสั่งถามภิกษุสงฆ์ว่า ท่านผู้เจริญ คำพูดอะไรที่พระเถระกล่าวไว้มีอยู่หรือ. ภิกษุทั้งหลายจึงทูลเรื่องราวที่พระเถระกล่าวไว้. พระราชารับสั่งให้เรียกอุบาสกนั้นมาแล้วตรัสถามว่า ในที่สุด ๗ วันจากวันนี้ไป เธอถวายห่อภัตตาหารแก่ภิกษุไรๆ ผู้เดินทางหรือ. อุบาสกทูลว่า ถวายพระเจ้าข้า ข้าแต่สมมติเทพ. พระราชาตรัสถามว่า เธอถวายทำนองไหน. อุบาสกนั้นจึงกราบทูลเหตุการณ์นั้นทั้งหมด. ลำดับนั้น พระราชาจึงทรงส่งอุบาสกนั้นไป ณ ที่ตั้งกูฏาคารของพระเถระด้วยพระดำรัสว่า เธอจงไป จงรู้พระเถระนั้นว่า เป็นรูปนั้นหรือรูปอื่น. อุบาสกนั้นไปแล้วเลิกม่านขึ้น เห็นหน้าพระเถระก็จำได้ เอามือทั้งสองทุบหัวใจ ไปยังสำนักของพระราชากราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ เป็นพระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์. ลำดับนั้น พระราชารับสั่งให้พระราชทานเครื่องประดับชุดใหญ่แก่อุบาสกนั้น. ตรัสกะอุบาสกผู้ประดับเสร็จแล้วว่า ท่านมหาติสสะผู้พี่ชาย ท่านจงไปไหว้พระผู้เป็นเจ้าของเรา แล้วจึงยกกูฏาคารขึ้น. อุบาสกรับพระดำรัสว่า ขอ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 255
รับใส่เกล้า ข้าแต่สมมติเทพ แล้วไปไหว้เท้าพระเถระ เอามือทั้งสองยกขึ้นทูนไว้เหนือกระหม่อมของตน. ขณะนั้นเอง กูฏาคารลอยไปทางอากาศ ประดิษฐานอยู่ ณ ข้างบนของเชิงตะกอน. ในกาลนั้น เปลวไฟลุกขึ้นเองจากมุมแม้ทั้ง ๔ ของเชิงตะกอน.
วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดแม้แก่ผู้พิจารณาถึงมรดกความเป็นทายาทเป็นใหญ่อย่างนี้ว่า ก็ทรัพย์มรดกคืออริยทรัพย์ ๗ ของพระศาสดานั้น เป็นของใหญ่ ทรัพย์มรดกนั้นอันคนผู้เกียจคร้านไม่อาจรับ เหมือนอย่างว่า บิดามารดาย่อมกีดกันบุตรผู้ประพฤติผิดไว้ภายนอกว่า ผู้นี้ไม่เป็นบุตรของเรา เมื่อบิดามารดาล่วงลับไป เขาย่อมไม่ได้ทรัพย์มรดก ฉันใด แม้คนเกียจคร้านก็ฉันนั้น ย่อมไม่ได้มรดกคืออริยทรัพย์นี้ ผู้ปรารภความเพียรเท่านั้นจึงจะได้ ดังนี้.
วิริยสัมโพฌงค์ ย่อมเกิดแม้แก่ผู้พิจารณาถึงความที่พระศาสดาเป็นใหญ่อย่างนี้ว่า ก็พระศาสดาของท่าน (ยิ่ง) ใหญ่แล เพราะในเวลาที่พระศาสดาของท่านถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระมารดาก็ดี ในการเสด็จออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่ก็ดี ในการตรัสรู้สัมโพธิญาณอันยิ่งก็ดี ในการประกาศพระธรรมจักร ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ เสด็จลงจากเทวโลก และทรงปลงอายุสังขารก็ดี ในกาลดับขันธ์ปรินิพพานก็ดี หมื่นโลกธาตุหวั่นไหวแล้ว ความที่ท่านบวชในศาสนาของพระศาสดาเห็นปานนั้นแล้ว เป็นผู้เกียจคร้านไม่สมควรเลย.
วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดแม้แก่ผู้พิจารณาถึงความที่ชาติเป็นใหญ่อย่างนี้ว่า แม้ว่าโดยชาติ บัดนี้ท่านก็เป็นผู้มีชาติไม่ต่ำทราม ท่านเป็นผู้เกิดในวงศ์ของพระเจ้าโอกกากราชอันสืบมาจากเชื้อสายของพระเจ้า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 256
มหาสมมตราชอันไม่ปะปน (กับวงศ์อื่น) เป็นหลานของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช ของพระนางมายาเทวี เป็นน้องชายของพระราหุลภัททะ ชื่อว่าท่านเป็นบุตรของพระชินเจ้าเห็นปานนี้ เป็นผู้เกียจคร้านอยู่ ไม่ควรเลย.
วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดแม้แก่ผู้พิจารณาถึงความที่เพื่อนพรหมจรรย์เป็นใหญ่อย่างนี้ว่า พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะกับพระอสีติมหาสาวก ย่อมแทงตลอดโลกุตรธรรม ๙ ด้วยความเพียร ท่านจงดำเนินตามทางของเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์เหล่านั้น ดังนี้.
วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดแม้แก่ผู้เว้นบุคคลเกียจคร้านผู้สละความเพียรทางกายและทางจิต เช่นกับงูเหลือมกินเต็มท้องแล้วก็หยุด (ไม่เลื้อยไปไหน) แม้แก่ผู้เสพบุคคลผู้มีจิตมั่นคง ปรารภความเพียร แม้แก่บุคคลผู้มีจิตน้อมโน้มโอนไปเพื่อยังความเพียรให้เกิดขึ้นในการยืนและการนั่งเป็นต้น. เพราะฉะนั้น กุลบุตรผู้เริ่มบำเพ็ญกรรมฐาน ทำวิริยสัมโพชฌงค์ให้ตั้งขึ้นด้วยเหตุ ๑๑ ประการเหล่านี้แล้ว ทำวิริยสัมโพชฌงค์นั้นนั่นแล ให้เป็นธุระ เริ่มตั้งความยึดมั่นไว้ ย่อมถือเอาพระอรหัตได้โดยลำดับ. กุลบุตรนั้น ชื่อว่าเจริญวิริยสัมโพชฌงค์จนกระทั่งถึงอรหัตตมรรค. เมื่อบรรลุผลแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้เจริญแล้วแล.
ธรรม ๑๑ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งปีติสัมโพชฌงค์. คือ พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ๑ ธัมมานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระธรรม ๑ สังฆานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ ๑ สีลานุสสติ ระลึกถึงคุณของศีล ๑ จาคานุสสติ ระลึกถึงการบริจาค ๑ เทวตานุสสติ ระลึกถึงคุณอันทำบุคคลให้เป็นเทวดา ๑ อุปสมานุสสติ ระลึกถึงความเข้าไปสงบ (คือพระนิพพาน) ๑ เว้นคนผู้เศร้าหมอง ๑ เสพคนผู้
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 257
เรียบร้อย ๑ พิจารณาพระสูตรอันน่าเลื่อมใส ๑ ความเป็นผู้มีจิตน้อมไปในปีติสัมโพชฌงค์นั้น ๑.
ก็แม้เมื่อบุคคลระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ปีติสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดแผ่ซ่านไปตลอดร่างกายทั้งสิ้น จนกระทั่งถึงอุปจารสมาธิ. ปีติสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดแม้แก่บุคคลผู้ระลึกถึงคุณของพระธรรมและพระสงฆ์ แม้แก่บรรพชิตผู้พิจารณาจตุปาริสุทธิศีล รักษาไม่ให้ขาดมาตลอดกาลนาน แม้แก่คฤหัสถ์ผู้พิจารณาศีล ๑๐ ศีล ๕ แม้แก่บุคคลผู้ถวายโภชนะอันประณีตแก่เพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ในยามมีภัยอันเกิดแต่การที่ภิกษาหาได้ยากเป็นต้น แล้วพิจารณาถึงการบริจาคว่า เราได้ให้ทานชื่ออย่างนี้แล้วเป็นต้น แม้แก่คฤหัสถ์ผู้พิจารณาถึงทานที่ให้แล้วแก่ท่านผู้มีศีลทั้งหลายเห็นปานนี้ แม้แก่ผู้พิจารณาถึงคุณทั้งหลายอันเป็นเหตุให้ผู้ประกอบไว้ซึ่งคุณเครื่องเป็นเทวดาเห็นปานนั้นว่ามีอยู่ในตน แม้แก่ผู้พิจารณาถึงกิเลสทั้งหลายที่ข่มไว้ด้วยการเข้าสมาบัติว่า ไม่ฟุ้งซ่านมาตั้ง ๖๐ ปีบ้าง ๗๐ ปีบ้าง แม้แก่ผู้เว้นบุคคลเศร้าหมองเช่นกับธุลีบนหลังลา เพราะไม่มีความรักด้วยอำนาจความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าเป็นต้น เพราะความเป็นผู้เศร้าหมองอันบ่งถึงกิริยาที่ไม่เคารพในการเห็นพระเจดีย์ เห็นต้นโพธิ์ และเห็นพระเถระ แม้แก่ผู้เสพบุคคลผู้เรียบร้อย มีจิตอ่อนโยน มากด้วยความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าเป็นต้น แม้แก่ผู้พิจารณาพระสูตรอันน่าเลื่อมใสแสดงคุณของพระรัตนตรัย แม้แก่ผู้มีจิตน้อมโน้มโอนไปเพื่อยังปีติให้เกิดขึ้นในการยืนและการนั่งเป็นต้น. เพราะเหตุนั้น กุลบุตรผู้เริ่มบำเพ็ญกรรมฐาน ยังปีติสัมโพชฌงค์ให้ตั้งขึ้นด้วยเหตุ ๑๑ ประการนี้แล้ว ทำปีติสัมโพชฌงค์นั้นนั่นแหละให้เป็นธุระ เริ่มตั้งความยึดมั่นไว้
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 258
ย่อมถือเอาพระอรหัตได้โดยลำดับ. กุลบุตรนั้น ชื่อว่าเจริญปีติสัมโพชฌงค์จนกระทั่งถึงอรหัตตมรรค. เมื่อบรรลุผลแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้เจริญปีติสัมโพชฌงค์แล้ว.
ธรรม ๗ ประการ คือ เสพโภชนะอันประณีต ๑ เสพฤดูอันสบาย ๑ เสพอิริยาบถอันสบาย ๑ ประกอบตนเป็นกลาง ๑ เว้นบุคคลผู้มีกายไม่สงบ ๑ เสพบุคคลผู้มีกายสงบ ๑ น้อมจิตไปในปัสสัทธิสัมโพชฌงค์นั้น ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดปัสสัทธิสัมโพชฌงค์.
ก็ความสงบ ย่อมเกิดแม้แก่ผู้บริโภคโภชนะอันเป็นสัปปายะ ประณีต งดงาม แม้แก่ผู้เสพฤดูในฤดูหนาวและร้อนและอิริยาบถมียืนเป็นต้นอันเป็นสัปปายะ. ก็บุคคลใดมีชาติเป็นมหาบุรุษ เป็นผู้อดทนได้ในฤดู (หนาว - ร้อน) และอิริยาบถทั้งปวง คำนี้ท่านกล่าวโดยหมายเอาบุคคลนั้นก็หามิได้. ความสงบย่อมเกิดแก่บุคคลผู้เสพฤดูและอิริยาบถอันเป็นสภาคกัน. การพิจารณาความเป็นผู้มีกรรมเป็นของตน ทั้งของตนและของคนอื่น เรียกว่า การประกอบตนเป็นกลาง ความสงบย่อมเกิดด้วยการประกอบตนเป็นกลางดังกล่าวมานี้. ความสงบ ย่อมเกิดแม้แก่ผู้เว้นบุคคลผู้มีกายไม่สงบ ผู้เที่ยวเบียดเบียนสัตว์อื่นด้วยก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้นเห็นปานนั้น แม้แก่ผู้เสพบุคคลผู้มีกายสงบ สำรวมมือและเท้า แม้แก่ผู้มีจิตน้อมโน้มโอนไปเพื่อต้องการทำความสงบให้เกิดขึ้นในการยืนและการนั่งเป็นต้น. เพราะฉะนั้น กุลบุตรผู้เริ่มบำเพ็ญกรรมฐาน ยังปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ให้ตั้งขึ้นด้วยเหตุ ๗ ประการนี้ กระทำปัสสัทธิสัมโพชฌงค์นั้นให้เป็นธุระ เริ่มตั้งความยึดมั่นไว้ ย่อมถือเอาพระอรหัตได้โดยลำดับ. กุลบุตรนั้น ชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์จนถึงพระอรหัตตมรรค เมื่อบรรลุ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 259
ผลแล้ว ย่อมชื่อว่าเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ได้แล้ว.
ธรรม ๑๑ ประการ คือ ทำวัตถุให้สละสลวย ๑ ทำอินทรีย์ให้ดำเนินไปสม่ำเสมอ ๑ ความฉลาดในนิมิต ๑ ประคองจิตในสมัย (ควรประคอง) ๑ ข่มจิตในสมัย (ควรข่ม) ๑ การทำ (จิต) ให้ร่าเริงในสมัย (ควรให้ร่าเริง) ๑ การเพ่งดูจิตในสมัย (ควรเพ่งดู) ๑ การเว้นบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ๑ เสพบุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น ๑ พิจารณาฌานและวิโมกข์ ๑ ความเป็นผู้มีจิตน้อมไปในสมาธิสัมโพชฌงค์นั้น ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสมาธิสัมโพชฌงค์.
บรรดาธรรมเหล่านั้น การทำวัตถุให้สละสลวยและการทำอินทรีย์ให้ดำเนินไปสม่ำเสมอ พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้ว. ความฉลาดในการเรียนกสิณนิมิต ชื่อว่าฉลาดในนิมิต. บทว่า สมเย จิตฺตสฺส ปคฺคณฺหนตา ความว่า ในสมัยใด จิตหดหู่ด้วยย่อหย่อนความเพียรเป็นต้น ในสมัยนั้น ประคองจิตไว้ด้วยการทำธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ และปีติสัมโพชฌงค์ให้เกิดขึ้น. บทว่า สมเย จิตฺตสฺส นิคฺคณฺหนตา ความว่า ในสมัยใด จิตฟุ้งซ่านด้วยปรารภความเพียรเป็นต้นเกินไป ในสมัยนั้น ข่มจิตไว้ด้วยการทำปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ และอุเบกขาสัมโพชฌงค์ให้เกิดขึ้น. บทว่า สมเย สมฺปหํสนตา ความว่า ในสมัยใด จิตไม่แช่มชื่นเพราะประกอบปัญญาน้อยไป หรือเพราะไม่ได้สุขอันสงบ ในสมัยนั้น ยังจิตให้สังเวชด้วยการพิจารณาสังเวควัตถุ ๘ ประการ. ชื่อว่าสังเวควัตถุ ๘ ประการ คือ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ รวมเป็น ๔ ทุกข์ในอบายเป็นที่ ๕ ทุกข์มีวัฏฏะเป็นมูลในอดีตเป็นที่ ๖ ทุกข์มีการแสวงหาอาหารเป็นมูลในปัจจุบันเป็นที่ ๗ ทุกข์มี
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 260
วัฏฏะเป็นมูลในอนาคตเป็นที่ ๘. การยังความเลื่อมใสให้เกิดขึ้นด้วยการระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย นี้เรียกว่า ความทำจิตให้ร่าเริงในสมัย. ชื่อว่าความเพ่งดูจิตในสมัย ได้แก่ ในคราวที่จิตอาศัยการปฏิบัติชอบ เป็นจิตไม่หดหู่ ไม่ฟุ้งซ่าน มีความแช่มชื่น ดำเนินไปตามสมถวิถีซึ่งเป็นไปอย่างสม่ำเสมอในอารมณ์นั้น กุลบุตรไม่ต้องขวนขวายในการประคอง ข่ม และทำให้ร่าเริง เหมือนสารถีไม่ต้องขวนขวายในเมื่อม้าวิ่งไปเรียบ นี้เรียกว่า ความเพ่งดูจิตในสมัย. ชื่อว่าการเว้นบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ได้แก่ เว้นให้ห่างไกลบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ผู้ยังไม่บรรลุอุปจารสมาธิหรืออัปปนาสมาธิ. ชื่อว่าเสพบุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น ได้แก่ เสพ คือ คบ เข้าไปนั่งใกล้บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ. ชื่อว่าความเป็นผู้มีจิตน้อมไปในสมาธิสัมโพชฌงค์นั้น ได้แก่ ความเป็นผู้มีจิตน้อมโน้มโอนไปเพื่อให้สมาธิเกิดขึ้นในการยืนและการนั่งเป็นต้น. ก็เมื่อปฏิบัติอยู่อย่างนี้แหละ สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้น. เพราะฉะนั้น กุลบุตรผู้เริ่มบำเพ็ญกรรมฐาน ยังสมาธิสัมโพชฌงค์ให้เกิดขึ้นด้วยเหตุ ๑๑ ประการเหล่านี้ การทำสมาธิสัมโพชฌงค์นั้นเท่านั้นให้เป็นธุระ เริ่มตั้งความยึดมั่นไว้ ย่อมถือเอาพระอรหัตได้โดยลำดับ. กุลบุตรนั้น ชื่อว่าบำเพ็ญสมาธิสัมโพชฌงค์จนกระทั่งถึงอรหัตตมรรค เมื่อบรรลุผลแล้ว ย่อมชื่อว่าเป็นผู้ได้เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์แล้ว.
ธรรม ๕ ประการ คือ ความเป็นกลางในสัตว์ ๑ ความเป็นกลางในสังขาร ๑ ความเว้นบุคคลผู้ยึดถือสัตว์และสังขาร (ว่าเป็นของตน) ๑ เสพบุคคลผู้วางตนเป็นกลางในสัตว์และสังขาร ๑ ความเป็นผู้มี
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 261
จิตน้อมไปในอุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้น ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์.
ในธรรม ๕ ประการนั้น บุคคลย่อมยังความเป็นกลางในสัตว์ ให้เกิดขึ้นด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ ด้วยการพิจารณาความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตนอย่างนี้ว่า ท่านมาด้วยกรรมของตน จักไปด้วยกรรมของตน แม้สัตว์นี้จักไปด้วยกรรมของตนเหมือนกัน ท่านจะยึดถือใครว่าเป็นของตน ดังนี้ และด้วยการพิจารณาถึงความไม่มีสัตว์อย่างนี้ว่า โดยปรมัตถ์สัตว์ไม่มี ท่านนั้นจะยึดถือใครว่าเป็นของตน ดังนี้. บุคคลย่อมยังความเป็นกลางในสังขารให้เกิดขึ้นด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ ด้วยการพิจารณาถึงความเป็นของไม่มีเจ้าของอย่างนี้ว่า จีวรนี้เข้าถึงความวิการ (ผันแปร) แห่งสีและความเก่าไปโดยลำดับ เป็นท่อนผ้าสำหรับเช็ดเท้า จักต้องเอาปลายไม้เท้าเขี่ยทิ้งไป ก็ถ้าจีวรนั้นพึงมีเจ้าของ เขาจะต้องไม่ให้มันฉิบหายไปอย่างนี้ และด้วยการพิจารณาเป็นของชั่วคราวอย่างนี้ว่า จีวรนี้เป็นของชั่วคราว ไม่คงทน ดังนี้. แม้ในบาตรเป็นต้น ก็พึงประกอบความเหมือนดังในจีวรนั่นแล.
ในบทว่า สตฺตสงฺขารเกลายนปุคฺคลปริวชฺชนตา นี้ พึงทราบวินิจฉัยต่อไปนี้. บุคคลใดเป็นคฤหัสถ์ ยึดถือบุตรและธิดาเป็นต้นของตนว่าเป็นของเรา หรือเป็นบรรพชิต ยึดถืออันเตวาสิกผู้ร่วมอุปัชฌาย์กันเป็นต้นว่าเป็นของเรา กระทำการปลงผม โกนหนวด เย็บจีวร ซักจีวร และระบมบาตรเป็นต้นแก่อันเตวาสิกเหล่านั้นด้วยมือของตนเอง เมื่อไม่เห็นแม้สักครู่หนึ่ง ก็มองหาไปรอบๆ ว่า สามเณรโน้นไปไหน ภิกษุหนุ่มโน้นไปไหน ดังนี้ เหมือนเนื้อตื่นเหลียวมองทางโน้นทางนี้อยู่
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 262
ฉะนั้น แม้ผู้อื่นขอไปเพื่อประโยชน์แก่การปลงผมเป็นต้นว่า ขอท่านจงส่งท่านรูปโน้นไปสักครู่ก่อนเถิด ก็ไม่ให้ โดยพูดบ่ายเบี่ยงว่า แม้พวกเราก็ยังไม่ให้ท่านรูปนั้นทำการงานของตน พวกท่านพาเธอไปจักลำบาก นี้ชื่อว่า ยึดถือสัตว์เป็นของตน. ส่วนบุคคลใดยึดถือจีวร บาตร ภาชนะ และไม้เท้าเป็นต้นว่าเป็นของเรา แม้คนอื่นจะเอามือลูบคลำ ก็ไม่ (ยอม) ให้ (ทำ) เขายืมชั่วคราวก็พูดว่า แม้เราเป็นเจ้าของสิ่งนี้ก็ยังไม่ใช้เอง เราจะให้พวกท่านได้อย่างไร นี้ชื่อว่า ยึดถือสังขารว่าเป็นของตน.
ส่วนบุคคลใดวางตนเป็นกลาง เป็นผู้วางเฉยในวัตถุแม้ทั้งสองเหล่านั้น บุคคลนี้ชื่อว่า วางตนเป็นกลางในสัตว์และสังขาร. อุเบกขาสัมโพชฌงค์นี้ ย่อมเกิดขึ้นแม้แก่ผู้เว้นห่างไกลบุคคลผู้ยึดถือสัตว์และสังขารเห็นปานนี้ แม้แก่ผู้เสพบุคคลผู้วางตนเป็นกลางในสัตว์และสังขาร แม้แก่ผู้มีจิตน้อมโน้มโอนไปเพื่อให้อุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้นเกิดขึ้นในการยืนและการนั่งเป็นต้น ด้วยประการดังนี้. เพราะฉะนั้น กุลบุตรผู้เริ่มบำเพ็ญกรรมฐาน ทำอุเบกขาสัมโพชฌงค์ให้เกิดขึ้นด้วยเหตุ ๕ ประการเหล่านี้ กระทำอุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้นนั่นแหละให้เป็นธุระ เริ่มตั้งความยึดมั่นไว้ ย่อมถือเอาพระอรหัตได้โดยลำดับ. กุลบุตรนั้น ชื่อว่าเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์จนถึงอรหัตตมรรค เมื่อบรรลุผลแล้ว ย่อมชื่อว่าได้เจริญแล้ว. สัมโพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ ตรัสคละกันทั้งโลกิยะและโลกุตระ ด้วยประการดังนี้.
บทว่า สมฺมาทิฏฺึ ภาเวติ ความว่า ย่อมพอกพูน คือ เพิ่มขึ้น ซึ่งสัมมาทิฏฐิอันเป็นเบื้องต้นของมรรคมีองค์ ๘. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้นั่นแล. ก็ในข้อที่ว่าด้วยมรรคมีองค์ ๘ นี้ สัมมาทิฏฐิ มีความเห็นชอบเป็นลักษณะ. สัมมาสังกัปปะ มีความยกขึ้นซึ่งจิตโดยชอบเป็น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 263
ลักษณะ. สัมมาวาจา มีความกำหนดถือเอาชอบเป็นลักษณะ. สัมมากัมมันตะ มีการตั้งขึ้นซึ่งการงานโดยชอบเป็นลักษณะ. สัมมาอาชีวะ มีความทำอาชีพให้บริสุทธิ์โดยชอบเป็นลักษณะ. สัมมาวายามะ มีความประคองไว้ชอบเป็นลักษณะ. สัมมาสติ มีความปรากฏขึ้นชอบเป็นลักษณะ. สัมมาสมาธิ มีความตั้งมั่นชอบเป็นลักษณะ.
ในมรรคมีองค์ ๘ นั้น มรรคหนึ่งๆ มีกิจ ๓ อย่าง คือ ก่อนอื่น สัมมาทิฏฐิ ละมิจฉาทิฏฐิพร้อมกับกิเลสที่เป็นข้าศึกของตนแม้อย่างอื่นๆ กระทำนิโรธให้เป็นอารมณ์ เห็นสัมปยุตธรรม เพราะไม่หลง ด้วยอำนาจการกำจัดโมหะที่ปกปิดสัมมาทิฏฐินั้น. แม้สัมมาสังกัปปะเป็นต้นก็เหมือนกัน ละมิจฉาสังกัปปะเป็นต้น และทำนิโรธให้เป็นอารมณ์.
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในมรรคนี้ สัมมาสังกัปปะ ดำริถึงสหชาตธรรม สัมมาวาจา กำหนดถือเอาชอบ สัมมากัมมันตะ ตั้งขึ้นซึ่งการงานชอบ สัมมาอาชีวะ ทำอาชีพให้บริสุทธิ์โดยชอบ สัมมาวายามะ ประคองไว้ชอบ สัมมาสติ ปรากฏขึ้นชอบ สัมมาสมาธิ ตั้งมั่นชอบ.
อีกประการหนึ่ง ธรรมดาว่า สัมมาทิฏฐินี้ ในเบื้องต้นมีขณะต่างกัน มีอารมณ์ต่างกัน (แต่) ในเวลาเป็นมรรค มีขณะเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกัน. แต่เมื่อว่าโดยกิจ ได้ชื่อ ๔ ชื่อ มีว่า ทุกฺเข าณํ ดังนี้เป็นต้น. แม้สัมมาสังกัปปะเป็นต้น ก็มีขณะต่างกัน มีอารมณ์ต่างกันในเบื้องต้น แต่ในเวลาเป็นมรรค มีขณะเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกัน. ในมรรคเหล่านั้น สัมมาสังกัปปะ เมื่อว่าโดยกิจ ได้ชื่อ ๓ ชื่อ มีว่า เนกขัมมสังกัปปะ ดังนี้เป็นต้น. องค์มรรค ๓ แม้มีสัมมาวาจาเป็นต้น ในเบื้องต้น มีขณะต่างกัน มีอารมณ์ต่างกัน คือ เป็นวิรัติบ้าง เป็นเจตนาบ้าง แต่ใน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 264
ขณะมรรคเป็นวิรัติเท่านั้น. แม้องค์มรรคทั้งสองนี้ คือ สัมมาวายามะ สัมมาสติ เมื่อว่าโดยกิจ ได้ชื่อ ๔ ชื่อ ด้วยอำนาจสัมมัปปธาน ๔ และ สติปัฏฐาน ๔. ส่วนสัมมาสมาธิ คงเป็นสัมมาสมาธิอย่างเดียว ทั้งในเบื้องต้น ทั้งในขณะมรรค.
ในธรรม ๘ ประการนี้ ดังพรรณนามาฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสัมมาทิฏฐิก่อน เพราะเป็นอุปการะแก่พระโยคีผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุพระนิพพาน. ก็สัมมาทิฏฐินี้เป็นไปโดยชื่อว่า ปญฺญาปชฺโชโต ปญฺาสตฺถํ (ปัญญาเป็นแสงสว่าง ปัญญาเพียงดังศัสตรา) ดังนี้. เพราะเหตุนั้น พระโยคาวจรกำจัดมืดคืออวิชชา ด้วยสัมมาทิฏฐิ คือ วิปัสสนาญาณนี้ในเบื้องต้น ฆ่าโจรคือกิเลสเสีย ย่อมบรรลุพระนิพพานโดยความเกษม. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
นิพฺพานาธิคมาย
ปฏิปนฺนสฺส โยคิโน
พหุการตฺตา ปมํ
สมฺมาทิฏฺิ เทสิตา.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสัมมาทิฏฐิก่อน เพราะเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่พระโยคีผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุพระนิพพาน.
ก็สัมมาสังกัปปะมีอุปการะมากแก่สัมมาทิฏฐินั้น เพราะฉะนั้น จึงตรัสไว้ในลำดับแห่งสัมมาทิฏฐินั้น. เหมือนอย่างว่า เหรัญญิกใช้มือพลิกไปพลิกมา ตาดูเหรียญกษาปณ์ ย่อมรู้ว่า อันนี้ปลอม อันนี้ดี ฉันใด แม้พระโยคาวจรก็ฉันนั้น ในเบื้องต้น ใช้วิตกตรึกไปตรึกมา ใช้วิปัสสนาปัญญาตรวจดู ย่อมรู้ว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกามาวจร ธรรมเหล่านี้เป็น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 265
รูปาวจรเป็นต้น. ก็หรือว่าช่างถาก เอาขวานถากไม้ใหญ่ที่บุรุษจับปลายคอยพลิกให้ ย่อมนำไปใช้งานได้ ฉันใด พระโยคาวจรพิจารณาธรรมที่วิตกคอยตรึกให้ด้วยปัญญา โดยนัยมีอาทิว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกามาวจร ธรรมเหล่านี้เป็นรูปาวจร ย่อมนำเข้าไปใช้งานได้ ฉันนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ก็สัมมาสังกัปปะมีอุปการะมากแก่สัมมาทิฏฐินั้น เพราะฉะนั้น จึงตรัสไว้ในลำดับแห่งสัมมาทิฏฐินั้น ดังนี้.
สัมมาสังกัปปะนี้นั้น มีอุปการะแก่สัมมาวาจา เหมือนดังมีอุปการะแก่สัมมาทิฏฐิฉะนั้น สมดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนคหบดี บุคคลตรึกแล้ว พิจารณาแล้วในเบื้องต้นก่อนแล จึงเปล่งวาจา เพราะฉะนั้น พระองค์จึงตรัสสัมมาวาจาไว้ในลำดับแห่งสัมมาสังกัปปะนั้น.
ก็เพราะเหตุที่คนจะต้องจัดแจงด้วยวาจาก่อนว่า เราจะกระทำสิ่งนี้ และสิ่งนี้ ดังนี้แล้ว จึงประกอบการงานในโลก เพราะฉะนั้น จึงตรัสสัมมากัมมันตะไว้ในลำดับสัมมาวาจา เพราะวาจามีอุปการะแก่การงาน. ก็เพราะเหตุที่ศีลมีอาชีวะเป็นที่ ๘ ย่อมบริบูรณ์แก่ผู้ละวจีทุจริต ๔ และกายทุจริต ๓ แล้วทำวจีสุจริตและกายสุจริตทั้งสองอย่างให้บริบูรณ์ ไม่บริบูรณ์สำหรับคนนอกนี้ เพราะฉะนั้น จึงตรัสสัมมาอาชีวะไว้ในลำดับแห่งสัมมาวาจาและสัมมากัมมันตะทั้งสองนั้น.
เพื่อแสดงว่า ถ้าบุคคลผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์อย่างนี้ กระทำความปลาบปลื้มด้วยเหตุเพียงเท่านี้ว่า อาชีพของเราบริสุทธิ์ แล้วเป็นผู้ประมาทเหมือนดังหลับอยู่ ไม่ควร โดยที่แท้ ควรต้องปรารภความเพียรนี้ทุกๆ อิริยาบถ จึงตรัสสัมมาวายามะไว้ในลำคับแห่งสัมมาชีวะนั้น. ต่อแต่นั้น เพื่อจะแสดงว่า แม้ปรารภความเพียรแล้ว ก็ควรกระทำสติให้ตั้งมั่นใน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 266
วัตถุทั้ง ๔ มีกายเป็นต้น จึงทรงแสดงสัมมาสติไว้ในลำดับแห่งสัมมาวายามะ.
ก็เพราะเหตุที่สติตั้งมั่นอย่างนี้แล้ว ใส่ใจได้ดีถึงคติธรรมทั้งหลายที่มีอุปการะและไม่มีอุปการะแก่สมาธิ ย่อมสามารถทำจิตให้แน่วแน่ในเอกัคคตารมณ์ เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ทรงแสดงสัมมาสมาธิไว้ในลำดับแห่งสัมมาสติแล. ดังนั้น จึงตรัสมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ แม้นี้ คละกันทั้งโลกิยะและโลกุตระ.
ในบทว่า อชฺฌตฺตํ รูปสญฺี ดังนี้เป็นต้น ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีความเข้าใจรูปภายใน ด้วยอำนาจบริกรรมรูปภายใน. ก็เมื่อกระทำบริกรรมรูปสีเขียวในภายใน ย่อมกระทำ (บริกรรม คือ พิจารณาบ่อยๆ ) ที่ผม ที่ดี หรือที่ดวงตา. เมื่อทำบริกรรมรูปสีเหลือง ย่อมทำที่มันข้นที่ผิวหนัง ที่ฝ่ามือฝ่าเท้า หรือในที่ที่นัยน์ตามีสีเหลือง. เมื่อทำบริกรรมรูปสีแดง ย่อมทำที่เนื้อ ที่เลือด ที่ลิ้น หรือในที่ที่นัยน์ตามีสีแดง. เมื่อทำบริกรรมรูปสีขาว ย่อมทำที่กระดูก ที่ฟัน ที่เล็บ หรือในที่ที่นัยน์ตามีสีขาว. ก็รูปสีเขียวเป็นต้นนั้น ไม่เป็นสีเขียวแท้ ไม่เหลืองแท้ ไม่แดงแท้ ไม่ขาวแท้ เป็นสีไม่บริสุทธิ์เลย.
บทว่า เอโก พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ ความว่า บริกรรมอย่างนี้ของภิกษุใดเกิดขึ้นภายใน นิมิตเกิดขึ้นภายนอก ภิกษุนั้นเรียกว่า มีความเข้าใจรูปภายใน เห็นรูปภายนอก ด้วยอำนาจบริกรรมรูปภายใน และให้รูปภายนอกถึงอัปปนา. บทว่า ปริตฺตานิ ได้แก่ ยังไม่เจริญ. บทว่า สุวณฺณทุพฺพณฺณานิ ความว่า จะเป็นรูปมีวรรณะดี หรือวรรณะทรามก็ช่างเถิด พึงทราบว่า ท่านกล่าวอภิภายตนะ (๑) นี้ ด้วยอำนาจรูปที่เป็น
(๑) อภิภายตนะมี ๘ ประการ หมายถึงการบำเพ็ญฌานโดยเพ่งรูปคือวัณณกสิณเป็นอารมณ์.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 267
ปริตตารมณ์เท่านั้น.
บทว่า ตานิ อภิภุยฺย ความว่า บุรุษผู้มีไฟธาตุดี ได้ภัตตาหารประมาณทัพพีหนึ่ง คิดว่า มีอะไรที่เราจะพึงบริโภคได้ในภัตตาหารนี้ จึงรวมทำให้เป็นคำข้าวคำเดียวกัน ฉันใด บุคคลผู้มีญาณอันยิ่ง มีญาณแจ่มใส ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาว่า มีอะไรที่เราจะพึงเข้าฌานในปริตตารมณ์นี้ อันนี้ไม่เป็นเรื่องหนักสำหรับเรา จึงครอบงำรูปเหล่านั้นเข้าฌาน อธิบายว่า ให้ถึงอัปปนาในรูปนั้นพร้อมกับทำนิมิตให้เกิดขึ้นทีเดียว. ก็ด้วยบทว่า ชานามิ ปสฺสามิ นี้ ท่านกล่าวถึงความคำนึงของภิกษุนั้น. ก็ความคำนึงถึงนั้นแล ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ออกจากสมาบัติ ไม่ใช่มีในภายในสมาบัติ. บทว่า เอวํ สญฺี โหติ ความว่า ย่อมมีความเข้าใจอย่างนี้ ด้วยความเข้าใจในความคำนึงถึงบ้าง ด้วยความเข้าใจในฌานบ้าง. ก็ความเข้าใจในการครอบงำ (รูป) ย่อมมีแก่ภิกษุนั้นในภายในสมาบัติ แต่ความเข้าใจในการคำนึงถึง ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ออกจากสมาบัติแล้วเท่านั้น.
บทว่า อปฺปมาณานิ ความว่า ขยายขนาดขึ้น คือ ใหญ่ขึ้น. ก็ในบทว่า อภิภุยฺย นี้ มีความว่า เหมือนบุรุษผู้กินจุ ได้ภัตตาหารเพิ่มอีกหนึ่งที่ก็คิดว่า แม้ภัตตาหารอื่นก็ช่างเถิด ภัตตาหารนั้นจักทำอะไรเรา ย่อมไม่เห็นภัตตาหารที่ได้เพิ่มนั้นโดยเป็นของมากมาย ฉันใด บุคคลผู้มีญาณอันยิ่ง มีญาณแจ่มใส ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นว่า เราจะพึงเข้าฌานอะไรในรูปนี้ รูปนี้มีประมาณมากมายก็หามิได้ เราไม่หนักใจในการทำจิตให้แน่วแน่ (กับรูปนี้) ดังนี้ ครอบงำรูปเหล่านั้นเสีย แล้วเข้าสมาบัติ คือ ทำให้ถึงอัปปนาพร้อมกับทำนิมิตให้เกิดขึ้นทีเดียว.
บทว่า อชฺฌตฺตํ อรูปสญฺี ความว่า ผู้เดียวเว้นบริกรรมสัญญา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 268
ในรูปภายในเสีย เพราะไม่ได้หรือเพราะไม่ต้องการ. บทว่า พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ ความว่า บริกรรมก็ดี นิมิตก็ดี ของภิกษุใดเกิดขึ้นเฉพาะภายนอก ภิกษุนั้นท่านเรียกว่า ผู้เดียว มีความเข้าใจอรูปในภายใน เห็นรูปในภายนอก. คำที่เหลือในสูตรนี้ มีนัยดังกล่าวไว้ในอภิภายตนะที่ ๔ นั่นแล. ก็บรรดารูปทั้ง ๔ นี้ รูปที่เป็นปริตตารมณ์ มาด้วยอำนาจวิตกจริต. รูปมากหลายไม่มีประมาณ มาด้วยอำนาจโมหจริต. รูปมีวรรณะดี มาด้วยอำนาจโทสจริต. รูปมีวรรณะทราม มาด้วยอำนาจราคจริต. เพราะรูปเหล่านี้ เป็นสัปปายะของจริตเหล่านี้. ก็ความที่รูปเหล่านั้นเป็นสัปปายะ ได้กล่าวไว้พิสดารแล้วในจริยนิเทศในวิสุทธิมรรค.
ในอภิภายตนะที่ ๕ เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยต่อไปนี้ :-
บทว่า นีลานิ กล่าวเนื่องด้วยการถือเอาทั้งหมด. บทว่า นีลวณฺณานิ กล่าวเนื่องด้วยวรรณะ. บทว่า นีลนิทสฺสนานิ กล่าวเนื่องด้วยเห็นสีเขียว อธิบายว่า สีไม่ปะปนกัน ปรากฏชัดเจน. เห็นเป็นสีเขียวสีเดียวเท่านั้น. ก็บทว่า นีลนิภาสานิ กล่าวเนื่องด้วยแสง อธิบายว่า ประกอบด้วยสีเขียว. ท่านแสดงว่า อภิภายตนะเหล่านั้นบริสุทธิ์ ด้วยบทว่า นีลนิภาสานิ นี้. ก็ท่านกล่าวอภิภายตนะเหล่านี้ ด้วยสีบริสุทธิ์เท่านั้น. ก็ในอธิการที่ว่าด้วยอภิภายตนะนี้ การทำกสิณ การบริกรรม และวิธีถึงอัปปนา มีอาทิว่า เมื่อถือเอานีลกสิณ ย่อมถือเอานิมิตในดอกไม้ ผ้า หรือวรรณธาตุที่มีสีเขียว ดังนี้ ทั้งหมดได้กล่าวไว้แล้วโดยพิสดารในวิสุทธิมรรค. ก็อภิภายตนฌานทั้ง ๘ ประการนี้ เป็นวัฏฏะบ้าง เป็นบาทของวัฏฏะบ้าง เป็นบาทของวิปัสสนาบ้าง เป็นบาทของอภิญญาบ้าง แต่พึงทราบว่า เป็นโลกิยะเท่านั้น ไม่เป็นโลกุตระ.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 269
ในบทว่า รูปี รูปานิ ปสฺสติ นี้ รูปฌานที่เกิดด้วยอำนาจนีลกสิณเป็นต้น ณ ที่ผมเป็นต้นในภายใน ชื่อว่ารูป. ชื่อว่า รูปี เพราะอรรถว่า เขามีรูปฌานนั้น. บทว่า พทิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ ความว่า ย่อมเห็นรูปมีนีลกสิณเป็นต้นภายนอกด้วยฌานจักษุ. ด้วยบทนี้ ท่านแสดงรูปาจรฌานแม้ทั้ง ๔ ของบุคคลผู้ทำฌานให้เกิดในกสิณอันเป็นวัตถุภายในและภายนอก. บทว่า อชฺฌตฺตํ อรูปสญฺี ความว่า ไม่มีความเข้าใจรูปภายใน คือ รูปาวจรฌานอันไม่เกิดที่ผมเป็นต้นของตน. ด้วยบทนี้ ท่านแสดงรูปาวจรฌานของบุคคลผู้กระทำบริกรรม (กสิณ) ในภายนอก แล้วทำฌานให้เกิด (ที่กสิณ) ในภายนอกนั่นแหละ.
ด้วยบทว่า สุภนฺเตว อธิมุตฺโต โหติ นี้ ท่านแสดงฌานในวัณณกสิณมีนีลกสิณเป็นต้นอันบริสุทธิ์. ในฌานเหล่านั้น ความคำนึงว่า งาม ย่อมไม่มีในภายในอัปปนาก็จริง ถึงอย่างนั้น ภิกษุใดทำความงามอันบริสุทธิ์ดีให้เป็นอารมณ์ของกสิณอยู่ เพราะเหตุที่ภิกษุนั้นจะต้องถูกเรียกว่า เป็นผู้น้อมใจไปว่างาม เพราะฉะนั้น จึงตรัสเทศนาอย่างนั้น. ก็ในปฏิสัมภิทามรรค ท่านพระสารีบุตรกล่าวไว้ว่า ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะเป็นผู้น้อมใจไปว่างามอย่างไร. ภิกษุในพระศาสนานี้ มีจิตสหรคตด้วยเมตตา ฯลฯ แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ เพราะเป็นผู้เจริญเมตตา สัตว์ทั้งหลายจึงเป็นผู้ไม่น่ารังเกียจ. มีจิตสหรคตด้วยกรุณา มุทิตา อุเบกขา แผ่ไป ฯลฯ ตลอดทิศหนึ่งอยู่ เพราะเป็นผู้เจริญกรุณา มุทิตา อุเบกขา สัตว์ทั้งหลายจึงเป็นผู้ไม่น่ารังเกียจ, ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า เป็นผู้น้อมใจว่างามอย่างนี้ ด้วยประการดังกล่าวนี้. คำใดที่จะพึงกล่าวในบทว่า สพฺพโส รูปสญฺานํ เป็นต้น คำทั้งหมดแม้นั้น ได้กล่าวไว้แล้วใน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 270
วิสุทธิมรรคนั่นแล.
ก็ในบทว่า ปวีกสิณํ ภาเวติ นี้ ที่ชื่อว่ากสิณ เพราะอรรถว่า ทั้งสิ้น. กสิณมีปฐวีเป็นอารมณ์ ชื่อว่าปฐวีกสิณ. คำว่า ปวีกสิณํ ภาเวติ นี้ เป็นชื่อของบริกรรมว่าปฐวีก็มี ของอุคคหนิมิตก็มี ของปฏิภาคนิมิตก็มี ของฌานอันทำนิมิตนั้นให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้นก็มี. แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์. ภิกษุนั้นเจริญปฐวีกสิณนั้น.
แม้ในอาโปกสิณเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ก็ภิกษุเมื่อจะเจริญกสิณเหล่านี้ ชำระศีลแล้วตั้งอยู่ในศีลอันบริสุทธิ์ ตัดบรรดาปลิโพธความกังวล ๑๐ ประการที่มีอยู่นั้นออกไปเสีย แล้วเข้าไปหากัลยาณมิตรผู้ให้กรรมฐาน เรียนเอากรรมฐานที่เป็นสัปปายะโดยเกื้อกูลแก่จริตของตน แล้วละที่อยู่อันไม่เหมาะแก่การบำเพ็ญกสิณ อยู่ในที่อยู่อันเหมาะสม ทำการตัดความกังวลเล็กๆ น้อยๆ อย่าทำภาวนาวิธีทุกอย่างให้เสื่อมไป พึงเจริญเถิด. นี้เป็นความย่อในสูตรนี้ ส่วนความพิสดารได้กล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค.
ก็วิญญาณกสิณมาในวิสุทธิมรรคนั้นทั้งสิ้น วิญญาณกสิณนั้น โดยใจความก็คือวิญญาณอันเป็นไปในอากาสกสิณ. ก็วิญญาณนั้นแล ท่านกล่าวโดยเป็นอารมณ์ ไม่ใช่กล่าวโดยเป็นสมาบัติ. ก็ภิกษุนี้กระทำวิญญาณกสิณนั้นให้เป็นวิญญาณไม่มีที่สุด แล้วเจริญวิญญาณัญจายตนะสมาบัติอยู่ เรียกว่า เจริญวิญญาณกสิณ. กสิณ ๑๐ แม้นี้ เป็นวัฏฏะบ้าง เป็นบาทของวัฏฏะบ้าง เป็นบาทของวิปัสสนาบ้าง เป็นประโยชน์แก่การอยู่เป็นสุขในปัจจุบันบ้าง เป็นบาทของอภิญญาบ้าง เป็นบาทของนิโรธบ้าง เป็นโลกิยะเท่านั้น ไม่เป็นโลกุตระ.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 271
บทว่า อสุภสญฺํ ภาเวติ ความว่า สัญญาอันสหรคตด้วยปฐมฌานซึ่งเกิดในอารมณ์ ๑๐ มีศพที่ขึ้นพองเป็นต้น เรียกว่า อสุภ. อบรม คือ พอกพูน เจริญอสุภสัญญานั้น. อธิบายว่า ทำอสุภสัญญาที่ยังไม่เกิดขึ้น ตามรักษาอสุภสัญญาที่เกิดขึ้นแล้วเอาไว้. ก็แนวของการเจริญอสุภ ๑๐ ทั้งหมดกล่าวไว้พิสดารแล้วในวิสุทธิมรรค.
บทว่า มรณสญฺํ ภาเวติ ความว่า เจริญสัญญาอันทำมรณะแม้ทั้ง ๓ คือ สมมติมรณะ ขณิกมรณะ สมุจเฉทมรณะให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น อธิบายว่า ทำสัญญาที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ตามรักษาสัญญาที่เกิดขึ้นแล้วเอาไว้. มรณสติอันมีลักษณะดังกล่าวไว้ในหนหลังนั่นแหละ เรียกว่า มรณสัญญาในที่นี้. อธิบายว่า เจริญมรณสัญญานั้น ทำให้เกิดขึ้น ให้เจริญขึ้น. ก็นัยแห่งการเจริญมรณสัญญานั้น กล่าวไว้พิสดารแล้วในวิสุทธิมรรคนั่นแล.
บทว่า อาหาเร ปฏิกูลสญฺํ ภาเวติ ความว่า ย่อมเจริญสัญญาอันเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้พิจารณาความปฏิกูล ๙ อย่าง มีปฏิกูลโดยการไปเป็นต้น ในกวฬิงการาหารชนิดที่กินและดื่มเป็นต้น อธิบายว่า ทำให้เกิดขึ้น ให้เจริญขึ้น. นัยแห่งการเจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญาแม้นั้น ก็ได้กล่าวไว้อย่างพิสดารแล้วในวิสุทธิมรรคเหมือนกัน.
บทว่า สพฺพโลเก อนภิรตสญฺํ ภาเวติ ความว่า เจริญอนภิรตสัญญา (ความสำคัญว่าไม่น่ายินดี) คือ อุกกัณฐิตสัญญาในไตรโลกธาตุแม้ทั้งสิ้น. บทว่า อนิจฺจสญฺํ ภาเวติ ความว่า เจริญสัญญาอันเกิดขึ้นในขันธ์ ๕ ว่าไม่เที่ยง กำหนดพิจารณาความเกิดขึ้น ความเสื่อมไป และความแปรปรวนแห่งอุปาทานขันธ์ ๕. บทว่า อนิจฺเจ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 272
ทุกฺขสญฺํ ภาเวติ ความว่า เจริญสัญญาอันเกิดขึ้นว่า เป็นทุกข์ กำหนดพิจารณาทุกขลักษณะคือความบีบคั้นในขันธบัญจกอันไม่เที่ยง.
บทว่า ทุกฺเข อนตฺตสํ ภาเวติ ความว่า เจริญสัญญาอันเกิดขึ้นว่า เป็นอนัตตา อันกำหนดพิจารณาอนัตตลักษณะ กล่าวคือ อาการอันไม่อยู่ในอำนาจในขันธบัญจกอันเป็นทุกข์เพราะอรรถว่าบีบคั้น. บทว่า ปหานสญฺํ ภาเวติ ความว่า เจริญสัญญาอันทำปหานะ ๕ อย่างให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น. บทว่า วิราคสญฺํ ภาเวติ ความว่า เจริญสัญญาอันกระทำวิราคะ ๕ อย่างนั่นแลให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น.
บทว่า นิโรธสญฺํ ภาเวติ ความว่า เจริญสัญญาอันทำสังขารนิโรธให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น. บางอาจารย์กล่าวว่า สัญญาอันกระทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น ดังนี้ก็มี. ก็ในบทว่า นิโรธสฺํ ภาเวติ นี้ ท่านกล่าวถึงวิปัสสนาอันแก่กล้าด้วยสัญญาทั้ง ๓ นี้ คือ สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑ อนิจจสัญญา ๑ อนิจเจทุกขสัญญา ๑. ท่านกล่าวซ้ำเฉพาะการปรารภวิปัสสนาด้วยสัญญา ๑๐ ประการ มีคำว่า อนิจฺจสญฺํ ภาเวติ ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า พุทฺธานุสฺสติ เป็นต้น ได้กล่าวอธิบายความไว้แล้ว.
บทว่า ปมชฺฌานสหคตํ แปลว่า ไป คือ เป็นไปพร้อมกับปฐมฌาน อธิบายว่า สัมปยุตด้วยปฐมฌาน. บทว่า สทฺธินฺทฺริยํ ภาเวติ ความว่า เจริญสัทธินทรีย์ให้สหรคตด้วยปฐมฌาน คือ อบรม พอกพูนให้เจริญ. ในบททุกบทมีนัยดังกล่าวนี้.
จบอรรถกถาอปรอัจฉราสังฆาตวรรค
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 273
อรรถกถากายคตาสติวรรค (๑)
ในบทว่า เจตสา ผุโฏ (แผ่ไปด้วยใจ) นี้ การแผ่มี ๒ อย่าง คือ แผ่ไปด้วยอาโปกสิณ ๑ แผ่ไปด้วยทิพยจักษุ ๑. ใน ๒ อย่างนั้น การเข้าอาโปกสิณแล้วแผ่ไปด้วยอาโป ชื่อว่าแผ่ด้วยอาโปกสิณ. เมื่อมหาสมุทรแม้ถูกแผ่ไปด้วยการแผ่ไปอย่างนี้ แม่น้ำน้อยทุกสายที่ไหลลงมหาสมุทร ย่อมเป็นอันรวมเข้าอยู่ด้วย. ก็การเจริญอาโลกกสิณแล้วเห็นสมุทรทั้งสิ้นด้วยจักษุ ชื่อว่าแผ่ด้วยทิพยจักษุ เมื่อมหาสมุทรแม้ถูกแผ่ไปด้วยการแผ่ไปอย่างนี้ แม่น้ำน้อยที่ไหลลงมหาสมุทร ย่อมเป็นอันรวมเข้าไว้ด้วย.
บทว่า อนฺโตคธา ตสฺส ความว่า กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเป็นอันหยั่งลงในภายในแห่งการเจริญของภิกษุนั้น. ในบทว่า วิชฺชาภาคิยา นี้ มีวิเคราะห์ดังต่อไปนี้ :- ชื่อว่าวิชชาภาคิยะ เพราะบรรจบวิชชาด้วยการประกอบเข้ากันได้. ชื่อว่าวิชชาภาคิยะ เพราะเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา คือ ในภาคของวิชชา. ในบทว่า วิชฺชาภาคิยา นั้น วิชชามี ๘ คือ วิปัสสนาญาณ ๑ มโนมยิทธิ ๑ อภิญญา ๖. โดยความหมายแรก ธรรมที่สัมปยุตด้วยวิชชาเหล่านั้น เป็นวิชชาภาคิยะ. โดยความหมายหลัง วิชชาข้อใดข้อหนึ่งเพียรข้อเดียวในบรรดาวิชชา ๘ นั้นเป็นวิชชา. ธรรมที่เหลือเป็นวิชชาภาคิยะ คือ เป็นส่วนแห่งวิชชา. รวมความว่า วิชชาก็ดี ธรรมอันสัมปยุตด้วยวิชชาก็ดี พึงทราบว่า เป็นวิชชาภาคิยะทั้งนั้น
บทว่า มหโต สํเวคาย แปลว่า เพื่อประโยชน์แก่ความสังเวชใหญ่. แม้ในสองบทข้างหน้า ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ก็ในอธิการนี้
(๑) บาลีข้อ ๒๒๕- ข้อ ๒๓๔, วรรคนี้รวมอยู่ในปสาทกรธัมมาทิบาลี.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 274
วิปัสสนา ชื่อว่าความสังเวชใหญ่ มรรค ๔ ชื่อว่าประโยชน์ใหญ่ สามัญญผล ๔ ชื่อว่าความเกษมจากโยคะใหญ่. อีกอย่างหนึ่ง มรรคพร้อมกับวิปัสสนา ชื่อว่าความสังเวชใหญ่ สามัญญผล ๔ ชื่อว่าประโยชน์ใหญ่ พระนิพพาน ชื่อว่าความเกษมจากโยคะใหญ่.
บทว่า สติสมฺปชญฺาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่สติและญาณ. บทว่า าณทสฺสนปฏิลาภาย คือ เพื่อทิพยจักขุญาณ. บทว่า ทิฏฺธมฺมสุขวิหาราย ได้แก่ เพื่อต้องการอยู่เป็นสุขในอัตภาพที่ประจักษ์อยู่นี้ทีเดียว. บทว่า วิชฺชาวิมุตฺติผลสจฺฉิกิริยาย ได้แก่ เพื่อต้องการทำให้เห็นประจักษ์ซึ่งผลของวิชชาและวิมุตติ. ก็ในบทว่า วิชฺชาวิมุตฺติผลสจฺฉิกิริยาย นี้ ปัญญาในมรรค ชื่อว่าวิชชา. ธรรมที่เหลืออันสัมปยุตด้วยวิชชานั้น ชื่อว่าวิมุตติ. อรหัตตผล ชื่อว่าผลของธรรมเหล่านั้น อธิบายว่า เพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลนั้น.
บทว่า กาโยปิ ปสฺสมฺภติ ความว่า ทั้งนามกาย ทั้งกรัชกาย ย่อมสงบ. อธิบายว่า เป็นกายอันสงบแล้ว. บทว่า วิตกฺกวิจาราปิ ความว่า ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าย่อมเข้าไปสงบด้วยทุติยฌาน. ก็ในที่นี้ ท่านกล่าวหมายเอาการเข้าไปสงบธรรมอย่างหยาบ. บทว่า เกวลา แปลว่า ทั้งสิ้น อธิบายว่า ทั้งหมดไม่เหลือเลย. บทว่า วิชฺชาภาคิยา คือ เป็นไปในส่วนของวิชชา. ธรรมเหล่านั้นได้แยกแยะแสดงไว้แล้วข้างต้น.
บทว่า อวิชฺชา ปหียติ ความว่า ความมืดตื้อ คือ ความไม่รู้ อันกระทำความมืดอย่างมหันต์ เป็นมูลรากของวัฏฏะในฐานะ ๘ ประการ อันภิกษุย่อมละได้. บทว่า วิชฺชา อุปฺปชฺชติ ได้แก่ วิชชาในอรหัตตมรรค ย่อมเกิดขึ้น. บทว่า อสฺมิมาโน ปหียติ ความว่า มานะ ๙ ว่า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 275
เป็นเราเป็นต้น อันภิกษุย่อมละได้. บทว่า อนุสยา ได้แก่ อนุสัย ๗. บทว่า สํโยชนานิ ได้แก่ สังโยชน์ ๑๐. บทว่า ปญฺาปฺปเภทาย ได้แก่ เพื่อถึงความแตกฉานแห่งปัญญา. บทว่า อนุปาทาปรินิพฺพานาย แปลว่า เพื่อต้องการทำให้แจ้งปรินิพพานอันหาปัจจัยมิได้.
บทว่า อเนกธาตุปฏิเวโธ โหติ ความว่า ย่อมมีความรู้แจ้งแทงตลอดลักษณะของธาตุ ๑๘ ประการ. บทว่า นานาธาตุปฏิเวโธ โหติ ความว่า ย่อมมีการรู้แจ้งแทงตลอดลักษณะโดยภาวะต่างๆ แห่งธาตุ ๑๘ เหล่านั้นแหละ. ด้วยบทว่า อเนกธาตุปฏิสมฺภิทา โหติ นี้ ท่านกล่าวถึงความรู้ประเภทของธาตุ. ปัญญาเป็นเครื่องรู้ว่า ธาตุนี้ชื่อว่ามีเป็นอันมาก ชื่อว่าธาตุปเภทญาณ ความรู้ประเภทของธาตุ. ก็ความรู้ประเภทของธาตุนี้นั้น มิใช่มีแก่คนทั่วไป มีโดยตรงแก่พุทธะทั้งหลายเท่านั้น. ความรู้ประเภทของธาตุนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามิได้ตรัสไว้โดยประการทั้งปวง (โดยเฉพาะ). ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะเมื่อตรัสไว้ ก็ไม่มีประโยชน์.
บท ๑๖ บทมีอาทิว่า ปญฺาปฏิลาภาย ดังนี้ไป ท่านตั้งหัวข้อแล้วขยายความพิสดารไว้ในปฏิสัมภิทามรรคอย่างนี้ว่า สัปปุริสูปสังเสวะ คบสัตบุรุษ ๑ สัทธัมมสวนะ ฟังธรรมของสัตบุรุษ ๑ โยนิโสมนสิการะ ใส่ใจโดยแยบคาย ๑ ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ (และหัวข้ออย่างนี้ว่า) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แล ที่บุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะปัญญา ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส.
สมจริงดังที่ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ ในบทว่า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 276
ปญฺาปฏิลาภาย สํวตฺตนฺติ ดังนี้ การได้เฉพาะปัญญาเป็นไฉน. การได้ การได้เฉพาะ การถึง การถึงพร้อม การถูกต้อง การทำให้แจ้ง การเข้าถึง มรรคญาณ ๔ ผลญาณ ๔ ปฏิสัมภิทาญาณ ๔ อภิญญาญาณ ๖ ญาณ ๗๓ ญาณ ๗๗. นี้ชื่อว่าการได้เฉพาะปัญญา ในบทว่า ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะปัญญา.
ในบทว่า ปญฺาวุฑฺฒิยา สํวตฺตนฺติ ดังนี้ ความเจริญปัญญาเป็นไฉน. ปัญญาของพระเสกขะ ๗ จำพวก และของกัลยาณปุถุชน ย่อมเจริญ แต่ปัญญาของพระอรหันต์เป็นวัฑฒนาปัญญา (คือปัญญาอันเจริญเต็มที่แล้ว) นี้ชื่อว่าความเจริญปัญญา ในบทว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญปัญญา.
ในบทว่า ปฺาเวปุลฺลาย สํวตฺตนฺติ ดังนี้ ความไพบูลย์แห่งปัญญาเป็นไฉน. ปัญญาของพระเสกขบุคคล ๗ พวก และของกัลยาณปุถุชน ย่อมถึงความไพบูลย์ ปัญญาของพระอรหันต์ถึงความไพบูลย์แล้ว นี้ชื่อว่าความไพบูลย์แห่งปัญญา ในบทว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา.
ในบทว่า มหาปญฺตาย สํวตฺตนฺติ ดังนี้ ปัญญาใหญ่เป็นไฉน. ชื่อว่าปัญญาใหญ่ เพราะกำหนดถือเอาประโยชน์ใหญ่ ชื่อว่าปัญญาใหญ่ เพราะกำหนดถือเอาธรรมใหญ่ ฯลฯ นิรุตติใหญ่ ปฏิภาณใหญ่ กองศีลใหญ่ กองสมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะใหญ่ ฐานะและอฐานะใหญ่ วิหารสมาบัติใหญ่ อริยสัจใหญ่ สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน และอิทธิบาทใหญ่ อินทรีย์ พละใหญ่ โพชฌงค์ใหญ่ อริยมรรคใหญ่ สามัญญผลใหญ่ มหาอภิญญาใหญ่ พระนิพพานอันเป็นประโยชน์อัน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 277
ยิ่งใหญ่. นี้ชื่อว่าปัญญาใหญ่ในบทว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาใหญ่.
ในบทว่า ปุถุปญฺญตาย สํวตฺตติ ดังนี้ ปัญญามากเป็นไฉน. ชื่อว่าปัญญามาก เพราะญาณย่อมเป็นไปในขันธ์ต่างๆ มาก. ชื่อว่าปัญญามาก เพราะญาณย่อมเป็นไปในธาตุต่างๆ มาก ในอายตนะต่างๆ มาก ในปฏิจจสมุปบาทต่างๆ มาก ในการได้สุญญตะต่างๆ มาก ในอรรถ ธรรม นิรุตติ ปฏิภาณมาก ในสีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ และวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ต่างๆ มาก ในฐานะและอฐานะต่างๆ มาก ในวิหารสมาบัติต่างๆ มาก ในอริยสัจต่างๆ มาก ในสติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ต่างๆ มาก ในอริยมรรคต่างๆ มาก ในสามัญญผลต่างๆ มาก ในอภิญญาต่างๆ มาก. ชื่อว่าปัญญามาก เพราะญาณเป็นไปในพระนิพพานอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ล่วงธรรมอันทั่วไปแก่ชนต่างๆ มาก. นี้ชื่อว่าปัญญามากในบทว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก.
ในบทว่า วิปุลปญฺาย สํวตฺตติ ดังนี้ ปัญญาไพบูลย์เป็นไฉน. ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนดถือเอาประโยชน์อันไพบูลย์ ฯลฯ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนดถือเอาพระนิพพานอันมีประโยชน์ยิ่งไพบูลย์ นี้ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ในบทว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไพบูลย์.
ในบทว่า คมฺภีรปญฺตาย สํวตฺตนฺติ ดังนี้ ปัญญาลึกซึ้งเป็นไฉน. ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในขันธ์ทั้งหลายอันลึกซึ้ง. ความพิสดารเหมือนกับข้อที่ว่าด้วยปัญญามาก. ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 278
ญาณย่อมเป็นไปในพระนิพพานอันมีประโยชน์อย่างยิ่ง ลึกซึ้ง. นี้ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้งในบทว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง.
ในบทว่า อสฺสามนฺตปญฺตาย สํวตฺตนฺติ ดังนี้ ปัญญาเทียมกันได้เป็นไฉน. บุคคลใดบรรลุ กระทำให้แจ้ง ถูกต้องด้วยปัญญา ซึ่งอัตถปฏิสัมภิทา โดยการกำหนดรู้อรรถ บรรลุ กระทำให้แจ้ง ถูกต้องด้วยปัญญา ซึ่งธรรม นิรุตติ ปฏิภาณ โดยกำหนดรู้ธรรม นิรุตติ และปฏิภาณ ใครๆ อื่นย่อมไม่อาจครอบงำ อรรถ ธรรม นิรุตติ และปฏิภาณของบุคคลนั้น และบุคคลนั้นเป็นผู้อันคนทั้งหลายอื่นไม่พึงครอบงำได้ เพราะฉะนั้น บุคคลนั้น จึงชื่อว่าผู้มีปัญญาไม่เทียบกันได้.
ปัญญาของกัลยาณปุถุชน ไกล ห่างไกล ไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ใกล้เคียงกับปัญญาของพระอริยบุคคลที่ ๘, เมื่อเทียบกับกัลยาณปุถุชน พระอริยบุคคลที่ ๘ ชื่อว่าเป็นผู้มีปัญญาไม่เทียบกันได้. ปัญญาของพระอริยบุคคลที่ ๘ ไกล ฯลฯ ปัญญาของพระโสดาบัน. เมื่อเทียบกับพระอริยบุคคลที่ ๘ พระโสดาบัน ชื่อว่าเป็นผู้มีปัญญาไม่เทียบกันได้. ปัญญาของพระโสดาบันไกล ฯลฯ ปัญญาของพระสกทาคามี ปัญญาของพระสกทาคามีไกล ฯลฯ ปัญญาของพระอรหันต์. ปัญญาของพระอรหันต์ไกล ห่างไกล ไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่เฉียดปัญญาของพระปัจเจกพุทธเจ้า. เมื่อเทียมกันพระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า ชื่อว่าเป็นผู้มีปัญญาไม่เทียบกันได้. เมื่อเทียบกับพระปัจเจกพุทธเจ้า และชาวโลก พร้อมทั้งเทวดา พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้มีพระปัญญา ไม่มีของใครเทียบได้ เป็นชั้นเลิศ.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 279
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงฉลาดในประเภทของปัญญา ทรงมีพระญาณแตกฉาน ฯลฯ บัณฑิตเหล่านั้นแต่งปัญหาแล้วเข้าไปเฝ้าพระตถาคต ทูลถามทั้งข้อลี้ลับและปกปิด ปัญหาเหล่านั้นที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกและทรงตอบแล้ว ย่อมเป็นอันทรงชี้เหตุให้เห็นชัด และปัญหาที่เขายกขึ้นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงตอบได้สมบูรณ์ โดยแท้จริงแล้ว ในปัญหานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบแจ่มแจ้งด้วยพระปัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่ามีพระปัญญาไม่มีของใครเทียบได้ เป็นชั้นเลิศ นี้ชื่อว่าปัญญาไม่มีของใครเทียบได้ในบทว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไม่มีของใครเทียบได้.
ในบทว่า ภูริปญฺตาย สํวตฺตนฺติ ดังนี้ ภูริปัญญาเป็นไฉน. ชื่อว่าภูริปัญญา เพราะครอบงำราคะอยู่. ชื่อว่าภูริปัญญา เพราะครอบงำราคะได้แล้ว. ชื่อว่าภูริปัญญา เพราะย่อมครอบงำโทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาไถย ถัมภะ สารัมภะ นานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง อภิสังขารทั้งปวง ฯลฯ กรรมอันเป็นเหตุนำไปสู่ภพทั้งปวง. ชื่อว่าภูริปัญญา เพราะครอบงำแล้ว. ราคะชื่อว่าเป็นอริ. ปัญญาอันย่ำยีอรินั้น เหตุนั้น ชื่อว่าภูริปัญญา. โทสะ โมหะ ฯลฯ กรรมเป็นเหตุนำไปสู่ภพทั้งปวง ชื่อว่าเป็นอริ ปัญญาอันย่ำยีอรินั้น เหตุนั้น ชื่อว่าภูริปัญญา. แผ่นดินเรียกว่าภูริ ผู้ประกอบด้วยปัญญาอันแผ่ไปกว้างขวางเสมอแผ่นดินนั้น เหตุนั้น จึงชื่อว่าภูริปัญโญ ผู้มีปัญญาเสมอแผ่นดิน. อีกอย่างหนึ่ง คำนี้ คือ ภูริ เมธา ปริณายิกา เป็นชื่อของปัญญา. นี้ชื่อว่าภูริปัญญาในบทว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีภูริปัญญา.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 280
ในบทว่า ปญฺญาพาหุลฺลาย สํวตฺตนฺติ ดังนี้ ความเป็นผู้มากด้วยปัญญาเป็นไฉน. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้หนักในปัญญา เป็นผู้มีปัญญาเป็นจริต มีปัญญาเป็นที่อาศัย น้อมใจไปในปัญญา มีปัญญาเป็นธงชัย มีปัญญาเป็นยอดธง มีปัญญาเป็นอธิบดี มากด้วยการวิจัย มากด้วยการค้นคว้า มากด้วยการพิจารณา มากด้วยการเพ่งพินิจ มีการเพ่งพินิจเป็นธรรมดา อยู่ด้วยปัญญาอันแจ่มแจ้ง และประพฤติในปัญญานั้น หนักในปัญญานั้น มากด้วยปัญญานั้น น้อมไปในปัญญานั้น โน้มไปในปัญญานั้น เงื้อมไปในปัญญานั้น น้อมใจไปในปัญญานั้น มีปัญญานั้นเป็นอธิบดี อุปมาเหมือนภิกษุผู้หนักในหมู่คณะ ก็เรียกว่าผู้มากด้วยหมู่คณะ ผู้หนักในจีวร ผู้หนักในบาตร ผู้หนักในเสนาสนะ ก็เรียกผู้มากด้วยเสนาสนะ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้หนักในปัญญา มีปัญญาเป็นจริต ฯลฯ มีปัญญาเป็นอธิบดี. นี้ชื่อว่าความเป็นผู้มากด้วยปัญญาในบทว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มากด้วยปัญญา.
ในบทว่า สีฆปญฺตาย สํวตฺตนฺติ ดังนี้ ปัญญาเร็วเป็นไฉน. ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะทำศีลให้บริบูรณ์รวดเร็ว. ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะทำอินทรียสังวร โภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยค ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ให้บริบูรณ์รวดเร็ว. ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะแทงตลอดฐานะและอฐานะได้รวดเร็ว เพราะทำวิหารสมาบัติให้บริบูรณ์ได้รวดเร็ว เพราะแทงตลอดอริยสัจได้รวดเร็ว เพราะเจริญสติปัฏฐานได้รวดเร็ว เพราะเจริญสัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ อริยมรรคได้รวดเร็ว. ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะทำให้
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 281
แจ้งสามัญญผลได้รวดเร็ว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะแทงตลอดอภิญญาได้รวดเร็ว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะทำให้แจ้งพระนิพพานอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งได้รวดเร็ว. นี้ชื่อว่าปัญญาเร็วในบทว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว.
ในบทว่า ลหุปญฺตาย สํวตฺตนฺติ ดังนี้ ปัญญาฉับพลันเป็นไฉน. ฉับพลัน ฯลฯ ชื่อว่าปัญญาฉับพลัน เพราะทำให้แจ้งพระนิพพานอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งได้ฉับพลัน. นี้ชื่อว่าปัญญาฉันพลันในบทว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาฉับพลัน.
ในบทว่า หาสปญฺตาย สํวตฺตนฺติ ดังนี้ ปัญญาร่าเริงเป็นไฉน. ชื่อว่าปัญญาร่าเริง เพราะบุคคลบางคนในโลกนี้ มีความร่าเริงมาก มีความอิ่มใจมาก มีความยินดีมาก มีความปราโมทย์มาก บำเพ็ญศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ ฯลฯ ชื่อว่าปัญญาร่าเริง เพราะทำให้แจ้งพระนิพพานอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง. นี้ชื่อว่าปัญญาร่าเริงในบทว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง.
ในบทว่า ชวนปญฺตาย สํวตฺตนฺติ ดังนี้ ปัญญาแล่นเป็นไฉน. ชื่อว่าปัญญาแล่น เพราะรูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ที่ไกลหรือใกล้ ปัญญาพลันแล่นไปยังวิญญาณทั้งปวงโดยความเป็นของไม่เที่ยง. ชื่อว่าปัญญาพลันแล่น เพราะพลันแล่นไปโดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา. ชื่อว่าปัญญาพลันแล่น เพราะพลันแล่นไปยังจักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ อันเป็นอดีต อนาคต และ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 282
ปัจจุบัน โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา. ชื่อว่าปัญญาพลันแล่น เพราะเทียบเคียง พิจารณา รู้แจ้ง ทำให้แจ่มแจ้งรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ว่าไม่เที่ยง เพราะอรรถว่าสิ้นไป ว่าเป็นทุกข์ เพราะอรรถว่าน่ากลัว ว่าเป็นอนัตตา เพราะอรรถว่าไม่มีแก่นสาร แล้วพลันแล่นไปในพระนิพพานอันเป็นที่ดับรูป ฯลฯ ชื่อว่าปัญญาพลันแล่น เพราะพลันแล่นไปยังพระนิพพานอันเป็นที่ดับชราและมรณะ. ชื่อว่าปัญญาพลันแล่น เพราะเทียบเคียง พิจารณา รู้แจ้ง ทำให้แจ่มแจ้งรูป ฯลฯ ชราและมรณะ ทั้งอดีต อนาคต ปัจจุบัน ไม่เที่ยง ถูกปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความเสื่อมเป็นธรรมดา มีความสิ้นเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา แล้วพลันแล่นไปยังพระนิพพานอันเป็นที่ดับชราและมรณะ นี้ชื่อว่าปัญญาพลันแล่นในบทว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแล่นพลัน
ในบทว่า ติกฺขปญฺตาย สํวตฺตนฺติ ดังนี้ ปัญญากล้าเป็นไฉน. ชื่อว่าปัญญากล้า เพราะตัดกิเลสได้ไว. ชื่อว่าปัญญากล้า เพราะไม่รับ ละทิ้ง บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีต่อไปซึ่งกามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก อกุศลบาปธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นเล่า ชื่อว่าปัญญากล้า เพราะไม่รับไว้ ละทิ้งไป บรรเทาได้ ทำให้สิ้นสุดไป ให้ถึงความไม่มีต่อไปซึ่งราคะ โทสะ โมหะที่เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นเล่า ฯลฯ ซึ่งกรรมเป็นเหตุไปสู่ภพทั้งปวง. ชื่อว่าปัญญากล้า เพราะบรรลุ ทำให้แจ้ง ถูกต้องด้วยปัญญาซึ่งอริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ บนอาสนะเดียว. นี้ชื่อว่าปัญญากล้าในบทว่า ย่อมเป็นไป
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 283
เพื่อความเป็นผู้มีปัญญากล้า.
ในบทว่า นิพฺเพธิกปญฺญตาย สํวตฺตนฺติ ดังนี้ ปัญญาเครื่องทำลายกิเลสเป็นไฉน. ชื่อว่าปัญญาเครื่องทำลายกิเลส เพราะบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้หวาดเสียวมาก เป็นผู้สะดุ้งมาก เป็นผู้กระสันมาก เป็นผู้มากด้วยความไม่ยินดี มากไปด้วยความไม่ยินดียิ่งในสังขารทั้งปวง เป็นผู้หันหน้าออก ไม่ยินดีในสังขารทั้งปวง. แทง ทำลายกองโลภซึ่งยังไม่เคยแทงยังไม่เคยทำลาย. ชื่อว่าปัญญาเครื่องทำลายกิเลส เพราะแทง ทำลายกองโทสะ กองโมหะ โกธะ อุปนาหะ ฯลฯ กรรมอันเป็นเครื่องไปสู่ภพทั้งปวงที่ไม่เคยแทงที่ไม่เคยทำลาย. นี้ซึ่งว่าปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในบทว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส.
พึงทราบเนื้อความในอธิการที่ว่าด้วยปัญญานี้ โดยนัยดังกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทามรรคด้วยประการอย่างนี้. ก็ในปฏิสัมภิทามรรคนั้น เป็นพหูพจน์อย่างเดียว ในสูตรนี้เป็นเอกพจน์ ดังนั้น ความต่างกันในเรื่องปัญญานี้มีเพียงเท่านี้. คำที่เหลือเหมือนกันทั้งนั้นแล. ก็แหละมหาปัญญา ๑๖ ประการนี้ ท่านกล่าวคละกันทั้งโลกิยะและโลกุตระ.
จบอรรถกถากายคตาสติวรรค
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 284
อรรถกถาอมตวรรค (๑)
บทว่า อมตนฺเต ภิกฺขเว ปริภุญฺชนฺติ ความว่า ชนเหล่านั้น ชื่อว่าย่อมบริโภคพระนิพพานอันปราศจากมรณะ. ถามว่า ก็พระนิพพานเป็นโลกุตระ กายคตาสติเป็นโลกิยะ มิใช่หรือ ชนผู้บริโภคกายคตาสตินั้น ชื่อว่าบริโภคอมตะได้อย่างไร. ตอบว่า เพราะต้องเจริญกายคตาสติจึงจะบรรลุ (อมตนิพพาน). จริงอยู่ ผู้เจริญกายคตาสติย่อมบรรลุอมตะ ไม่เจริญก็ไม่บรรลุ เพราะฉะนั้น จึงตรัสอย่างนั้น. พึงทราบเนื้อความในบททั้งปวง โดยอุบายดังกล่าวนี้.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า วิรทฺธํ ในสูตรนี้ ได้แก่ บกพร่องแล้ว คือ ไม่บรรลุ. บทว่า อารทฺธํ ได้แก่ บริบูรณ์แล้ว. บทว่า ปมาทึสุ ได้แก่ เลินเล่อ. บทว่า ปมุฏฺํ แปลว่า หลงลืม ซ่านไป หรือหายไป. บทว่า อาเสวิตํ แปลว่า ส้องเสพมาแต่ต้น. บทว่า ภาวิตํ แปลว่า เจริญแล้ว. บทว่า พหุลีกตํ แปลว่า ทำบ่อยๆ. บทว่า อนภิญฺาตํ แปลว่า ไม่รู้ด้วยญาตอภิญญา (รู้ยิ่งด้วยการรู้). บทว่า อปริญฺาตํ แปลว่า ไม่กำหนดรู้ด้วยญาตปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการรู้) นั้นแหละ. บทว่า อสจฺฉิกตํ แปลว่า ไม่ทำให้ประจักษ์. บทว่า สจฺฉิกตํ แปลว่า ทำให้ประจักษ์. คำที่เหลือทุกแห่งมีความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอมตวรรค
จบอรรถกถาเอกนิบาตประมาณ ๑,๐๐๐ สูตร ใน
มโนรถปูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย
(๑) บาลี ข้อ ๒๓๕ - ๒๔๖ วรรคนี้รวมอยู่ในปสาทกรธัมมาทิบาลี.