อยากเรียนถามว่า ผมเคยได้ยิน คำว่า อัสสาสะ ๑. มันคืออะไรครับ และอยู่ส่วนไหนของพระไตรปิฏก ๒. มันแตกต่างจากผัสสะ อย่างไรครับขอบคุณครับ
คำว่า อัสสาสะ หมายถึง ลมหายใจออก แต่โดยทั่วไปมักแปลว่า ลมหายใจเข้า
ลมหายใจออก เป็นบัญญัติ ผัสสะ เป็นเจตสิกปรมัตถ์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 254 ๔. ลมอัสสาสะและปัสสาสะของท่านผู้เข้าจตุตถฌาน ย่อมดับไป
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 447 [๔๖๔] ธรรม ๙ อย่าง ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน. ได้แก่ อนุ-ปุพพนิโรธ ๙ คือ เมื่อเข้าปฐมฌาน กามสัญญาดับ เมื่อเข้าทุติยฌานวิตกวิจารดับ เมื่อเข้าตติยฌาน ปีติดับ เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมอัสสาสะ-ปัสสาสะดับ เมื่อเข้าอากาสานัญจายตนะ รูปสัญญาดับ
ผัสสะ หมายถึง กระทบ เช่น จิตเห็นต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยอย่างน้อย ๗ ดวง และ ๑ ใน ๗ ก็มีผัสสเจตสิกเกิดร่วมด้วย อัสสาสะ และปัสสาสะ เป็นลมหายใจเข้าออกใช้กับผู้ที่เจริญสมถภาวนา
คนทั่วไป จะมีโอกาสรู้จักผัสสะจริงๆ ได้ไหม หรือว่ารู้ได้จากการอ่านตามตำราเท่านั้น และอยากรู้ว่า การที่ท่านแสดงหัวข้อธรรมมากมายหลายอย่าง และท่านก็แนะนำว่าให้เรารู้ลักษณะ ไม่ให้รู้เฉพาะคำ เราจะเลือกศึกษาหัวข้อไหนดี ที่เรารู้ได้ง่ายๆ ก่อน เพื่อจะได้ไม่ข้ามขั้นตอน
ยินดีในกุศลจิตค่ะ