ทานที่ให้แล้วมีผล ๑ ยัญที่บูชาแล้วมีผล ๑ การสังเวยที่บวงสรวงแล้วมีผลสามประการนี้ต่างกันอย่างไรครับ
ขอถามต่อถึง
การกล่าวก่อนและการกล่าวตามกัน ๑๐ ประการ อันชอบด้วยเหตุของสมณะหรือพราหมณ์ผู้นั้นในมหาจัตตารีสกสูตร ข้อ 281 หมายความว่าอะไรครับ คืออะไรครับ
เชิญคลิกอ่าน...เมื่อมีสัมมาทิฏฐิก็สลัดมิจฉาทิฏฐิได้ [มหาจัตตารีสกสูตรที่ ๗]
ในอรรถกถาขยายความหมาย ๓ ประการดังนี้
บทว่า อตฺถิ ทินฺนํ (ทานที่ให้แล้วมีผล) บทว่า อตฺถิ ยิฏฺฐํ (การบูชามีผล) ความว่า การบูชาใหญ่ (มหายาโค) ตรัสเรียกว่า ยิฏฺฐํ (การบูชา) คือ ย่อมรู้ว่า การบูชานั้นใครๆ อาจบูชาได้ แต่ย่อมถือว่า ผลวิบากของการบูชามี ดังนี้ บทว่า หุตํ (การบวงสรวง) ความว่า กิริยาที่บูชา และนำของมาให้ เพื่อมงคล บุคคลย่อมรู้กิริยาอันนั้นว่า ใครๆ ก็อาจทำได้ แต่ว่าเขาย่อมถือว่าผลวิบากของกิริยามงคลนั้นมีผล สรุปคือ ข้อแรกหมายถึงการให้ทาน ข้อที่สองหมายถึงการบูชาใหญ่ หมายถึงการบูชาผู้ที่มีคุณมาก ข้อที่สามหมายถึงมงคลกิริยา ได้แก่ การต้อนรับแขกผู้มีเยือนเป็นต้น เป็นการทำสิ่งที่ดีอันเป็นมงคล
๑.ทานมีผล เชื่อว่าทานที่ให้แล้วไม่สูญหายไปไหน ทำให้เกิดชาติหน้าก็มีเป็น มีทรัพย์
๒.การบูชามีผล คือ เชื่อว่าคุณของมารดา บิดามี คุณของอาจารย์มี ให้ทดแทนพระคุณ
๓.การบวงสรวงมีผล คือ การกระทำความดีทุกอย่างมีผล เช่น เผยแพร่พระธรรม การรับใช้งานศาสนา เป็นการบูชาธรรม
ขอนอบน้อมแด่พระัรัตนตรัย
ต่างกัน ตรงลักษณะของการทำ เช่น ประการแรก เป็นการให้ทาน (เจตนาที่สละวัตถุที่จะให้) ประการที่สอง ยัณที่บูชา หมายถึง การบูชา บุคคลหรือสิ่งที่ควรบูชา ประการที่สาม การบวงสรวง คือ การกระทำที่เล็กกว่าประการที่สอง เช่น การต้อนรับ เป็นต้น ที่ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีแต่ ๓ ประการนี้เหมือนกัน ตรงเชื่อเรื่องของกรรมและผลของกรรมว่ามีจริง ทำแล้วย่อมให้ผล จึงเป็นสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขอขอบพระคุณ
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
ยินดีในกุศลจิตค่ะ