๓. เสขปฏิปทาสูตร เจ้าศากยะสร้างสัณฐาคารใหม่
โดย บ้านธัมมะ  28 ส.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 36058

[เล่มที่ 20] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 43

๓. เสขปฏิปทาสูตร

เจ้าศากยะสร้างสัณฐาคารใหม่


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 20]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 43

๓. เสขปฏิปทาสูตร

เจ้าศากยะสร้างสัณฐาคารใหม่

[๒๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตเมืองกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ก็สมัยนั้น สัณฐาคารใหม่ที่พวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ให้สร้างแล้วไม่นาน อันสมณพราหมณ์หรือมนุษย์ผู้ใดผู้หนึ่งยังมิได้เคยอยู่เลย ครั้งนั้น พวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอประทานพระวโรกาส สัณฐาคารใหม่อันพวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ให้สร้างแล้วไม่นาน อันสมณพราหมณ์หรือมนุษย์ผู้ใดผู้หนึ่งยังมิได้เคยอยู่เลย ขอเชิญพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบริโภคสัณฐาคารนั้นเป็นปฐมฤกษ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบริโภคเป็นปฐมฤกษ์แล้ว พวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์จักบริโภคภายหลัง ข้อนั้น พึงมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์สิ้นกาลนาน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับด้วยดุษณีภาพ.

ลําดับนั้น พวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ทราบการรับของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทําประทักษิณแล้วเข้าไปยังสัณฐาคารใหม่ แล้วสั่งให้ปูลาดสัณฐาคารให้มีเครื่องลาดทุกแห่ง ให้แต่งตั้งอาสนะ ให้ตั้งหม้อน้ำ ให้ตามประทีปน้ำมัน แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 44

ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายปูลาดสัณฐาคารให้มีเครื่องลาดทุกแห่ง แต่งตั้งอาสนะ ตั้งหม้อน้ำ ตามประทีปน้ำมันแล้ว บัดนี้ขอพระผู้พระภาคเจ้าจงทรงทราบกาลอันควรเถิด.

[๒๕] ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวรพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เสด็จเข้าไปยังสัณฐาคาร ทรงชําระพระบาทยุคลแล้วเสด็จเข้าไปสู่สัณฐาคาร ประทับนั่งพิงเสากลาง ทรงผินพระพักตร์ตรงทิศบูรพา แม้ภิกษุสงฆ์ชําระเท้าแล้ว เข้าไปสู่สัณฐาคาร แล้วนั่งพิงฝาด้านทิศปัศจิม ผินหน้าเฉพาะทิศบูรพาแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้พวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ชําระพระบาทแล้ว เสด็จเข้าไปสู่สัณฐาคาร ประทับนั่งพิงฝาด้านทิศบูรพา ผินพักตร์เฉพาะทิศปัศจิม แวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังพวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมีกถาตลอดราตรีเป็นอันมาก แล้วตรัสเรียกท่านพระอานนท์มาว่า ดูก่อนอานนท์ ปฏิปทาของเสขบุคคลจงแจ่มแจ้งกะเธอ เพื่อพวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์เถิด เราเมื่อยหลัง เราจักเหยียดหลังนั้น ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดให้ปูลาดผ้าสังฆาฏิเป็น ๔ ชั้น สําเร็จสีหไสยา ด้วยพระปรัศว์เบื้องขวา ทรงซ้อนพระบาทเหลื่อมพระบาท มีพระสติสัมปชัญญะ ทรงมนสิการสัญญาในอันที่จะเสด็จลุกขึ้น.

ธรรม ๖ อย่าง

[๒๖] ลําดับนั้น ท่านพระอานนท์เชิญท้าวมหานามศากยะมาว่า ดูก่อนมหานาม อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียรเครื่องตื่น


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 45

ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม ๗ ประการ เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเป็นธรรมอาศัยซึ่งจิตอันยิ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ตามความปรารถนา เป็นผู้ได้โดยไม่ยากไม่ลําบาก.

[๒๗] ดูก่อนมหานาม อย่างไร อริยสาวกจึงจะชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สํารวมระวังในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย.

ดูก่อนมหานาม อย่างนี้แล อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.

[๒๘] ดูก่อนมหานาม อย่างไร อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสํารวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สํารวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงํานั้นชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสํารวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยโสตะแล้ว... ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว... ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสํารวมมนินทรีย์ ที่ไม่สํารวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงํานั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสํารวมในมนินทรีย์.

ดูก่อนมหานาม อย่างนี้แล อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย.

[๒๙] ดูก่อนมหานาม อย่างไร อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วกลืนกินอาหารไม่ใช่เพื่อจะเล่น เพื่อจะมัวเมา เพื่อความผ่องใส เพื่อความงดงาม


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 46

เพียงเพื่อความดํารงอยู่แห่งกายนี้ เพื่อให้กายนี้เป็นไปได้ เพื่อบําบัดความอยากอาหาร เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดว่า จักกําจัดเวทนาเก่าเสียด้วย จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้นด้วย ความเป็นไปแห่งอิริยาบถ ความเป็นผู้ไม่มีโทษ และความอยู่เป็นผาสุกจักมีแก่เรา.

ดูก่อนมหานาม อย่างนี้แล อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ.

[๓๐] ดูก่อนมหานาม อย่างไร อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่น อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เวลากลางวันชําระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นจิต ด้วยการเดิน การนั่ง. เวลากลางคืน ในปฐมยาม ชําระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นจิต ด้วยการเดิน การนั่ง. เวลากลางคืน ในมัชฌิมยาม สําเร็จสีหไสยาโดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ มนสิการสัญญาในอันที่จะลุกขึ้น. เวลากลางคืน ในปัจฉิมยาม ลุกขึ้นแล้ว ชําระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นจิต ด้วยการเดิน การนั่ง.

ดูก่อนมหานาม อย่างนี้แล อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่น.

[๓๑] ดูก่อนมหานาม อย่างไร อริยสาวกจึงชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม ๗ ประการ อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้

๑. เป็นผู้มีศรัทธา คือ เชื่อความตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จําแนกพระธรรม.


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 47

๒. เป็นผู้มีหิริ คือ ละอายกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ละอายต่อการถึงพร้อมแห่งอกุศลธรรมอันลามก.

๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ คือ สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อการถึงพร้อมแห่งอกุศลธรรมอันลามก.

๔. เป็นพหูสูต ทรงธรรมที่ได้สดับแล้ว สั่งสมธรรมที่ได้สดับแล้ว ธรรมเหล่าใดงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรมทั้งหลายเห็นปานนั้น อันท่านได้สดับมามาก ทรงจําไว้ได้ สั่งสมด้วยวาจา ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น.

๕. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในอกุศลธรรมทั้งหลาย.

๖. เป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติและปัญญาเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกได้ ตามระลึกได้ แม้ซึ่งกิจการที่ทําไว้แล้วนาน แม้ซึ่งถ้อยคําที่พูดไว้แล้วนาน.

๗. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญา อันเห็นความเกิดและความดับ อันเป็นอริยะ ชําแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.

ดูก่อนมหานาม อย่างนี้แล อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม ๗ ประการ.

[๓๒] ดูก่อนมหานาม อย่างไร อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔ อันเป็นธรรมอาศัยซึ่งจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ตามความปรารถนา เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก ไม่ลําบาก.

อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติ


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 48

และสุข เกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.

ดูก่อนมหานาม อย่างนี้แล อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔ อันเป็นธรรมอาศัยซึ่งจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมตามความปรารถนา เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก ไม่ลําบาก.

เสขปฏิปทา

[๓๓] ดูก่อนมหานาม เพราะอริยสาวกเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้ คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างนี้ รู้จักประมาณในโภชนะอย่างนี้ ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างนี้ ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม ๗ อย่างนี้ เป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔ อันเป็นธรรมอาศัยซึ่งจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมตามความปรารถนา เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก ไม่ลําบาก อย่างนี้.

บัณฑิตจึงกล่าวอริยสาวกนี้ว่า เป็นผู้มีเสขปฏิปทา ถึงพร้อมด้วยคุณธรรมซึ่งเป็นดุจฟองไก่ที่ไม่เน่า ควรจะชําแรกกิเลส ควรจะตรัสรู้ ควรจะบรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากกิเลสเครื่องประกอบ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า.

ดูก่อนมหานาม เปรียบเหมือนฟองไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ฟองไก่เหล่านั้น แม่ไก่นอนทับ กก อบให้ได้ไออุ่นดีแล้ว ถึงแม่ไก่นั้นจะไม่เกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอลูกไก่เหล่านี้พึงทําลายเปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจงอยปาก ออกได้โดยสะดวกเถิด ดังนี้ ลูกไก่ภายใน


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 49

เปลือกไข่นั้น ก็คงทําลายเปลือกไข่ออกได้โดยสวัสดี ฉันใด.

ดูก่อนมหานาม อริยสาวกก็ฉันนั้น เพราะท่านเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้ คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างนี้ รู้จักประมาณในโภชนะอย่างนี้ ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างนี้ ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม ๗ อย่างนี้ เป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔ อันเป็นธรรมอาศัยซึ่งจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ตามความปรารถนา เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก ไม่ลําบาก อย่างนี้ บัณฑิตจึงกล่าวอริยสาวกนี้ว่า เป็นผู้มีเสขปฏิปทา ถึงพร้อมด้วยคุณธรรมซึ่งเป็นดุจฟองไก่ที่ไม่เน่า ควรจะชําแรกกิเลส ควรจะตรัสรู้ ควรจะบรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากกิเลสเครื่องประกอบ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า.

ดูก่อนมหานาม อริยสาวกนั้นอาศัยจตุตถฌาน มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ ไม่มีสิ่งอื่นยิ่งกว่านี้อย่างเดียว ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ว่าในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกําหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกําหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้.

ข้อนี้เป็นความแตกฉานแห่งฌานข้อที่หนึ่งของอริยสาวกนั้น เปรียบเหมือนลูกไก่เจาะเปลือกไข่ออกฉะนั้น.


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 50

ดูก่อนมหานาม อริยสาวกนั้นอาศัยจตุตถฌาน มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ไม่มีสิ่งอื่นยิ่งกว่านี้อย่างเดียว เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กําลังจุติ กําลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทําด้วยอํานาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทําด้วยอํานาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์กําลังจุติ กําลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้.

ข้อนี้ เป็นความแตกฉานแห่งฌานข้อที่สองของอริยสาวกนั้น เปรียบเหมือนลูกไก่เจาะเปลือกไข่ออก ฉะนั้น.

ดูก่อนมหานาม อริยสาวกนั้นอาศัยจตุตถฌาน มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ ไม่มีสิ่งอื่นยิ่งกว่านี้อย่างเดียว ย่อมทําให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่.

ข้อนี้เป็นความแตกฉานแห่งฌานข้อที่สามของอริยสาวกนั้น เปรียบเหมือนลูกไก่เจาะเปลือกไข่ออก ฉะนั้น.

ความเป็นผู้มีวิชชาและจรณะ

[๓๔] ดูก่อนมหานาม แม้ข้อที่อริยสาวกเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลนี้ ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง แม้ข้อที่อริยสาวกเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายนี้ ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง แม้ข้อที่อริยสาวกเป็นผู้รู้ประมาณ


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 51

ในโภชนะนี้ ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง แม้ข้อที่อริยสาวกเป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นนี้ ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง แม้ข้อที่อริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม ๗ ประการนี้ ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง แม้ข้อที่อริยสาวกเป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔ อันเป็นธรรมอาศัยซึ่งจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมตามความปรารถนา เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก ไม่ลําบากนี้ ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง.

แม้ข้อที่อริยสาวกระลึกชาติก่อนๆ ได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ว่าในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกําหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกําหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ นี้ก็เป็นวิชชาของเธอประการหนึ่ง.

แม้ข้อที่อริยสาวกเห็นหมู่สัตว์ที่กําลังจุติ กําลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทําด้วยอํานาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทําด้วยอํานาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 52

กายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ดังนี้ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์กําลังจุติ กําลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ นี้ก็เป็นวิชชาของเธอประการหนึ่ง.

แม้ข้อที่อริยสาวกทําให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ซึ่งปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ นี้ก็เป็นวิชชาของเธอประการหนึ่ง.

คาถาสนังกุมารพรหม

ดูก่อนมหานาม อริยสาวกนี้ บัณฑิตสรรเสริญว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาแม้เพราะเหตุนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจรณะแม้เพราะเหตุนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะแม้เพราะเหตุนี้ แม้สนังกุมารพรหมก็ได้กล่าวคาถาไว้ว่า

ในชุมชนที่ยังรังเกียจกันด้วยโคตร กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐสุด ในหมู่เทวดาและมนุษย์ ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะเป็นผู้ประเสริฐสุด.

[๓๕] ดูก่อนมหานาม คาถานั้น สนังกุมารพรหมขับดีแล้ว มิใช่ขับชั่ว กล่าวดีแล้ว มิใช่กล่าวชั่ว ประกอบด้วยประโยชน์ มิใช่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุมัติแล้ว ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลุกขึ้นแล้ว ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า สาธุๆ อานนท์ เธอได้กล่าวเสขปฏิปทาแก่พวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ดีแล.


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 53

ท่านพระอานนท์ได้กล่าวภาษิตนี้จบลงแล้ว พระศาสดาทรงยินดี พวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ ชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระอานนท์ ดังนี้แล.

จบเสขปฏิปทาสูตรที่ ๓

๓. อรรถกถาเสขปฏิปทาสูตร

เสขปฏิปทาสูตร (๑) มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้นคําว่า นวํ สนฺถาคารํ คือ สันถาคารที่สร้างเสร็จมาไม่นาน อธิบายว่า ศาลาใหญ่หลังหนึ่ง.

แท้จริงในเวลาจัดกระบวนรับเสด็จเป็นต้น เขาจัดระเบียบกั้นเขตอย่างนี้ คือ พวกเจ้าที่อยู่ในที่นั้น อยู่ข้างหน้าเท่านี้ อยู่ข้างหลังเท่านี้ สองข้างเท่านี้ ขี่ช้างเท่านี้ ขี่ม้าเท่านี้ ยืนบนรถเท่านี้ เพราะฉะนั้นที่นั้นเขาจึงเรียกว่า สันถาคาร.

อนึ่ง คนทั้งหลายมาจากที่กระบวนรับเสด็จ กระทําการฉาบทาด้วยโคมัยสดเป็นต้น ที่บ้านเรือนทั้งหลาย ตราบใดพวกเจ้าเหล่านั้น ก็อนุเคราะห์อยู่ในที่นั้น ๒ - ๓ วันตราบนั้น. แม้เพราะเหตุนั้น ที่นั้นจึงชื่อว่า สันถาคาร อาคารเป็นที่สั่งการด้วยตนเองของเจ้าเหล่านั้น.

แม้เพราะเหตุนั้น อาคารนั้นจึงชื่อว่า สันถาคาร แท้จริงคนเหล่านั้นเป็นคณะเจ้า เพราะฉะนั้น กิจที่เกิดขึ้น จึงเด็ดขาดด้วยอํานาจเจ้าองค์เดียว ควรจะได้ฉันทะพอใจของเจ้าทั้งหมด เพราะฉะนั้น เจ้าทุกพระองค์จึงประชุมสั่งการในที่นั้น ด้วยเหตุนั้นจึงกล่าวว่า อาคารเป็นที่สั่งการ ด้วยตนเอง แม้เพราะเหตุนั้น อาคารนั้นจึงชื่อว่า สันถาคาร แต่เจ้าเหล่านั้นประชุมกันในที่นั้น ย่อมปรึกษากันถึงกิจการฝ่ายฆราวาส โดยนัยเป็นต้นอย่างนี้ว่า เวลา


(๑) ในอรรถกถา เรียกว่า เสขสูตร ส่วนบาลี เรียกว่า เสขปฏิปทาสูตร.


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 54

นี้ควรไถ เวลานี้ควรหว่าน เพราะฉะนั้น เจ้าทั้งหลายกระจายกิจการฆราวาสออกเป็นส่วนย่อยๆ ในที่นั้น แม้เพราะเหตุนั้น ที่นั้นจึงชื่อว่า สันถาคาร.

คําว่า สร้างไม่นาน คือ สร้างเสร็จไม่นาน ประหนึ่งเทพวิมาน อันตกแต่งดีแล้วด้วยงานไม้งานหินและงานจิตรกรรมเป็นต้น.

ในคําว่า สมเณน วา เป็นต้น เพราะเหตุที่ในเวลากําหนดพื้นที่สร้างเรือน เทวดาทั้งหลายย่อมถือว่าเป็นสถานที่อยู่ของตน ฉะนั้นพวกเจ้าศากยะจึงไม่กล่าวว่า อันเทวดาหรือ แต่กล่าวว่า อันสมณะหรือพราหมณ์ หรือมนุษย์ไรๆ (ไม่เคยเข้ามาอยู่ก่อน).

คําว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิํสุ ความว่า พวกเจ้าศากยะได้ฟังว่า สันถาคารเสร็จแล้ว ก็ใคร่จะไปดูสันถาคารนั้น จึงไปตรวจดูหมดตั้งแต่ซุ้มประตู ก็คิดว่า สันถาคารนี้น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง มีสิริเฉกเช่นเทพวิมาน ใครเล่าใช้ก่อน จะพึงเป็นประโยชน์สุขแก่เราไปนาน จึงปรึกษาตกลงกันว่าสันถาคารนี้เหมาะแก่พระศาสดาเท่านั้น ในเมื่อเราถวายเป็นปฐมแก่พระญาติ ผู้ประเสริฐสุดของเราเหมาะแก่พระศาสดาเท่านั้น ในเมื่อเราถวายด้วยอํานาจที่พระองค์ทรงเป็นทักขิไณยบุคคล เพราะฉะนั้น เราจักอาราธนาพระศาสดาให้ทรงใช้เป็นปฐมฤกษ์ จักอาราธนาพระภิกษุสงฆ์มา เมื่อพระภิกษุสงฆ์มา ก็จักเท่ากับพระไตรปิฎกพุทธวจนะมาด้วย เราจักอาราธนาพระศาสดาให้ตรัสธรรมกถาสอนเราตลอดราตรีทั้ง ๓ ยาม.

ดังนั้น สันถาคารนี้ก็เป็นอันพระรัตนตรัยใช้สอยแล้ว เราจักใช้สอยในภายหลัง อย่างนี้ก็จักเป็นประโยชน์สุขแก่เราตลอดกาลนาน แล้วก็พากันไปเฝ้า.

คําว่า เยน สนฺถาคารํ เตนุปสงฺกมิํสุ ความว่า เขาว่า วันนั้นสันถาคารจะเป็นที่ๆ ตกแต่งจัดแจงไว้เพื่อให้พวกราชสกุลทอดพระเนตรก็จริงอยู่ แต่ก็ไม่ได้จัดให้สมควรแก่พระพุทธองค์ ด้วยธรรมดาว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีอัธยาศัยชอบป่า ยินดีแต่ป่า จะประทับอยู่ภายในหมู่บ้านหรือไม่หนอ เพราะฉะนั้น พวกเจ้าศากยะจึงคิดว่า จักรู้พระอัธยาศัย


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 55

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าก่อนแล้วจึงจะปูลาด เพราะเหตุนั้น จึงพากันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ.

แต่มาบัดนี้ พวกเจ้าศากยะทรงทราบพระอัธยาศัยแล้วทรงประสงค์จะปูลาดจึงพากันไปยังสันถาคาร.

คําว่า สพฺพสนฺถริสนฺถตํ สนฺถาคารํ สนฺถราเปตฺวา ความว่า ให้ลาดสันถัตไว้ทุกแห่ง.

คําว่า สพฺพปมํ ตาว โคมยนฺนาม สพฺพมงฺคเลสุ วฏฺฏติ ความว่า พวกเจ้าศากยะให้เอาโคมัยสดโบกทับพื้นที่ๆ แม้โบกด้วยปูนขาวไว้แล้ว รู้ว่าหมดจดแล้ว ก็ชโลมด้วยคันธชาติ ๔ ชนิด โดยไม่ให้รอยพระบาทปรากฏในที่ๆ ย่างพระบาท ลาดเสื่อลําแพนมีสีต่างๆ ไว้ข้างบน ให้ปูปิดช่องว่างทุกแห่งที่ควรปูด้วยเครื่องปูลาดทั้งหลายมีสีสรรต่างๆ กัน เช่น เครื่องปูลาดลายช้าง ลายม้า ลายราชสีห์ ลายเสือ ลายพระจันทร์ ลายพระอาทิตย์ ลายจิตรกรรม เป็นต้น ตั้งต้นแต่ผ้าโกเชาว์กั้นหลังผืนใหญ่ ไว้ข้างบนเสื่อลําแพนเหล่านั้น.

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สพฺพสนฺถริสนฺถตํ สนฺถาคารํ สนฺถราเปตฺวา ดังนี้.

คําว่า อาสนานิ ปฺาเปตฺวา ความว่า ปูลาดพุทธอาสน์ที่มีค่ามาก พิงเสามงคลที่ตรงกลางก่อนแล้ว ลาดปัจถรณ์ซึ่งอ่อนละมุนน่ารื่นรมย์บนพุทธอาสน์นั้น วางพระเขนยที่น่าพอตา มีสีแดงสองข้างไว้ ติดเพดานอันวิจิตรด้วยดาวทอง ดาวเงินไว้เบื้องบน ประดับพวงของหอมพวงดอกไม้และพวงมุกดาเป็นต้น ทําข่ายด้วยดอกไม้ในที่ ๑๒ ศอกโดยรอบ เอาม่านล้อมที่ราว ๓๐ ศอก ตั้งตั่งบัลลังก์ ตั่งพิง และตั่งโล้นไว้ ให้ปูลาดปัจถรณ์สีขาวไว้ข้างบน สําหรับภิกษุสงฆ์พิงฝาด้านหลัง ปูลาดผ้าโกเชาว์ผืนใหญ่ให้วางพระเขนยที่บรรจุด้วยขนหงส์เป็นต้นไว้สําหรับตนพิงฝาด้านหน้า ด้วยดําริว่า พวกเราไม่ลําบากจักฟังธรรมได้ตลอดทั้งคืนอย่างนี้.

ท่านหมายเอาข้อนี้จึงกล่าวว่า อาสนานิ ปฺเปตฺวา ดังนี้.

คําว่า อุทกมณิกํ ได้แก่ หม้อน้ำที่มีกระพุ้งใหญ่.

คําว่า


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 56

ปติฏฺเปตฺวา ความว่า พวกเจ้าศากยะคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ จักล้างพระหัตถ์หรือพระบาทหรือบ้วนพระโอษฐ์ตามพอพระทัยอย่างนี้ จึงบรรจุหม้อด้วยน้ำใสสีดังแก้วมณีใส่ดอกไม้ต่างๆ และผงอบน้ำเพื่อประโยชน์อบน้ำให้หอม ปิดด้วยใบกล้วยตั้งไว้ในที่นั้นๆ.

ท่านหมายเอาข้อนี้จึงกล่าวว่า ปติฏฺเปตฺวา.

คําว่า เตลปฺปทีปํ อาโรเปตฺวา ความว่า ตามประทีปน้ำมันที่ตะเกียงมีด้ามทําด้วยเงินและทองเป็นต้น และที่ภาชนะอันทําด้วยทองและเงินเป็นต้น ที่เขาตั้งไว้ในมือของรูปชาวโยนกและรูปกินนรเป็นอาทิ.

ก็ในบาลีนี้ว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิํสุ พึงทราบความดังนี้ พวกเจ้าศากยะเหล่านั้น ให้จัดตกแต่งสันถาคารอย่างเดียวหามิได้ ที่แท้ให้ตีกลองร้องป่าวประกาศว่า ท่านทั้งหลายจงให้กวาดถนนนครรอบๆ กรุงกบิลพัสดุ์โยชน์หนึ่ง ให้ยกธง ให้ตั้งหม้อน้ำ และต้นกล้วยที่ประตูเรือน กระทําทั่วพระนคร ประหนึ่งดวงดาวเกลื่อนกล่นด้วยประทีปและมาลัยเป็นต้น ให้ทารกที่ยังดื่มนม ให้ดื่มนมเสีย ให้เด็กรุ่นรีบกินข้าวแล้วให้นอนเสีย อย่าทําเสียงดัง วันนี้พระศาสดาจักประทับอยู่ภายในหมู่บ้านตลอดคืนหนึ่ง ด้วยธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายต้องการเสียงเงียบ แล้วตนเองก็ถือประทีปมีด้ามเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ.

พระบาลีว่า อถโข ภควา นิวาเสตฺวา ปตฺตจีวรํ อาทาย สทฺธิํ ภิกฺขุสงฺเฆน เยน นวํ สนฺถาคารํ เตนุปสงฺกมิ พึงทราบความดังนี้.

นัยว่าเมื่อพวกเจ้าศากยะกราบทูลเวลาอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบเวลาอันควร ณ บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจัดผ้าแดง สีดังดอกทองหลาง แดงชุ่มด้วยน้ำครั่ง ประหนึ่งตัดดอกปทุมด้วยกรรไกร ทรงนุ่งอันตรวาสกปกปิดมณฑลทั้งสาม ทรงคาดรัดประคดมีสิริดังสายฟ้า ประหนึ่งคาดกําปทุมด้วยสายสร้อยทอง ทรงห่มบังสุกุลจีวรอันประ-


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 57

เสริฐสีแดง มีวรรณะละม้ายยอดอ่อนแห่งต้นไทร ที่ทําให้มหาปฐพีที่ประกอบด้วยขุนเขาสิเนรุและเขายุคนธรแห่งจักรวาล ให้ไหวแล้วจับไว้ ประหนึ่งคลุมตระพองช้างด้วยผ้ากัมพลแดง ประหนึ่งโปรยข่ายแก้วประพาฬในที่สูง ๑๐๐ ศอก ที่มีค่าดังทอง ประหนึ่งเปลื้องเสื้อกัมพลแดงที่สุวรรณเจดีย์ ประหนึ่งปิดดวงจันทร์เพ็ญที่กําลังโคจรด้วยฝนแดง ประหนึ่งรดน้ำครั่งที่สุกดีบนยอดกาญจนบรรพต ประหนึ่งล้อมยอดเขาจิตรกูฏด้วยสายฟ้า เสด็จออกจากประตูพระคันธกุฎี ดั่งหนึ่งราชสีห์ออกจากถ้ำทอง และดังดวงจันทร์เพ็ญโผล่ออกจากยอดอุทัยบรรพต.

ก็แหละครั้นเสด็จออกแล้ว ก็ประทับยืนที่หน้าพระคันธกุฎี ครั้งนั้น พระรัศมีที่แผ่ออกจากพระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ประหนึ่งกลุ่มสายฟ้าลอดออกจากช่องเมฆ กระทําให้พฤกษชาติในพระอาราม ประหนึ่งมีใบดอกผลและค่าคบเรื่อเลื่อมด้วยพรายน้ำทองราดรด พร้อมกันนั้น ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ก็ถือบาตรและจีวรของตนแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ก็แลภิกษุทั้งหลายที่ยืนล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ก็เป็นผู้มักน้อยสันโดษ สงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร มีวัตรอดทนถือคําสั่งสอน เตือนกัน ตําหนิความชั่ว ถึงพร้อมด้วยศีลและสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญาวิมุตติและวิมุตติญาณทัสสนะ เห็นปานฉะนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าอันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ก็งามสง่าประดุจก้อนทองที่ล้อมไว้ด้วยผ้ากัมพลแดง ประดุจนาวาทองที่แล่นไปกลางดงปทุมแดง และประดุจปราสาททองที่ล้อมด้วยเรือนแก้วประพาฬ แม้พระมหาเถระทั้งหลาย มีท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโมคคัลลานะเป็นต้น ก็ห่มบังสกุลจีวรมีสีดังเมฆ ล้วนเป็นผู้คายราคะ ทําลายกิเลส สางชัฏได้แล้ว ตัดเครื่องผูกพันแล้ว ไม่ติดข้องในสกุลหรือหมู่ ยืนแวดล้อมประดุจช้างใหญ่ที่มีผิวหนังคลุมด้วยหนังแก้วมณี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์เอง ก็ทรงปราศจากราคะ อันเหล่าภิกษุที่ปราศจากราคะ แวดล้อมแล้ว ทรงปราศจาก


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 58

โทสะ อันเหล่าภิกษุที่ปราศจากโทสะแวดล้อมแล้ว ทรงปราศจากโมหะ อันเหล่าภิกษุที่ปราศจากโมหะแวดล้อมแล้ว ทรงไม่มีตัณหา อันเหล่าภิกษุที่ไม่มีตัณหาแวดล้อมแล้ว ทรงไม่มีกิเลส อันเหล่าภิกษุที่ไม่มีกิเลสแวดล้อมแล้วเป็นผู้ตรัสรู้เอง อันเหล่าภิกษุผู้ตรัสรู้เพราะเป็นพหูสูตแวดล้อมแล้ว ประดุจไกรสรราชสีห์ อันฝูงมฤคแวดล้อมแล้ว ประดุจดอกกรรณิการ์ที่เกสรล้อมไว้ ประดุจพระยาช้างชื่อฉัททันต์ อันโขลงช้างแปดพันแวดล้อมแล้ว ประดุจพระยาหงส์ชื่อ ธตรฐ อันฝูงหงส์เก้าหมื่นแวดล้อมแล้ว ประดุจองค์จักรพรรดิ อันเสนางคนิกรแวดล้อมแล้ว ประดุจท้าวสักกเทวราช อันทวยเทพแวดล้อมแล้ว ประดุจท้าวหาริตมหาพรหม อันเหล่าพรหมแวดล้อมแล้ว ประดุจดวงจันทร์เพ็ญ อันกลุ่มดาวแวดล้อมแล้ว เสด็จเดินทางไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ ด้วยเพศของพระพุทธเจ้าซึ่งไม่มีผู้ใดเสมอ ด้วยท่วงทีอันสง่า ของพระพุทธเจ้า ที่หาประมาณมิได้ ด้วยประการฉะนี้.

ครั้งนั้น พระรัศมีอันมีพรรณดังทอง พลุ่งออกจากพระกายเบื้องหน้าของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นกินพื้นที่ระยะแปดสิบศอก. พระรัศมีอันมีพรรณดั่งทองพลุ่งออกจากพระวรกายเบื้องหลัง เบื้องขวา เบื้องซ้าย ก็กินพื้นที่ระยะแปดสิบศอก พระรัศมีอันมีพรรณดังแววหางนกยูง พลุ่งออกจากวนพระเกศาทั้งหมดตั้งแต่ปลายพระเกศาเบื้องบน กินพื้นที่ระยะแปดสิบศอก ณ พื้นอัมพรพระรัศมีอันมีพรรณดังแก้วประพาฬพลุ่งออกจากพื้นพระบาท เบื้องล่าง กินพื้นที่ระยะแปดสิบศอก ณ แผ่นพื้นปฐพีอันทึบ พระพุทธรัศมีมีพรรณ ๖ โชติช่วง แผ่พวยพุ่งไปตลอดพื้นที่ระยะแปดสิบศอก โดยรอบ ประดุจแสงไฟที่พุ่งออกจากดวงประทีปด้ามทองขึ้นไปสู่อากาศ ประดุจสายฟ้าที่พุ่งออกจากเมฆก้อนใหญ่ ทั้งสี่ทิศ ด้วยประการฉะนี้.


ความคิดเห็น 17    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 59

พระพุทธรัศมีกระจายแผ่ไปทุกทิศาภาค ประหนึ่งเกลื่อนกล่นด้วยดอกจําปาทอง ประหนึ่งราดด้วยสายน้ำทองที่ออกจากหม้อทอง ประหนึ่งล้อมไว้ด้วยแผ่นทองที่คลี่แล้ว ประหนึ่งดารดาษด้วยละอองดอกทองกวาวและดอกกรรณิการ์ ที่ลมเวรัมภาก่อให้เกิดขึ้น.

พระสรีระแม้ของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็รุ่งเรืองด้วยพระวรลักษณ์สามสิบสอง ประดับด้วยพระอนุพยัญชนะแปดสิบและพระรัศมีวาหนึ่ง สง่างามประหนึ่งพื้นนภากาศ ซึ่งมีดวงดาวสะพรั่ง ประหนึ่งป่าปทุมที่บานแล้ว ประหนึ่งปาริฉัตรสูงร้อยโยชน์ที่มีดอกบานสะพรั่งไปทั้งต้น ประหนึ่งเอาสิริครอบงําสิริของพระจันทร์สามสิบสองดวง พระอาทิตย์สามสิบสองดวง พระเจ้าจักรพรรดิสามสิบสองพระองค์ ราชาแห่งเทวดาสามสิบสององค์ มหาพรหมสามสิบสององค์ ซึ่งสถิตอยู่ตามลําดับ.

เหมือนอย่างทานที่ทรงถวาย ศีลที่ทรงรักษา กัลยาณกรรมที่ทรงกระทําตลอดสี่อสงไขย ยิ่งด้วยแสนกัป ประดับด้วยทศบารมี ทศอุปบารมี ทศปรมัตถบารมี รวมเป็นบารมีสามสิบถ้วน ที่ทรงบําเพ็ญมาด้วยดีแล้ว ก็มาประชุมลงในอัตภาพอันเดียว ไม่ได้ฐานะที่จะให้วิบากเป็นเหมือนตกอยู่ในที่คับแคบ เป็นเหมือนประหนึ่งเวลายกสิ่งของจากพันลําเรือลงสู่เรือลําเดียว ประหนึ่งเวลายกสิ่งของจากพันเล่มเกวียนลงสู่เกวียนเล่มเดียว ประหนึ่งเวลาเอาแม่น้ำยี่สิบห้าสาย รวมกองเป็นสายเดียวกัน ที่ประตูทางร่วม (ชุมทาง) แห่งโอฆะ.

คนทั้งหลายยกประทีปมีด้ามหลายพันดวงไว้เบื้องหน้าของพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ที่กําลังเปล่งโอภาสด้วยพระพุทธสิรินี้. เบื้องหลัง ทางซ้าย ข้างขวา ก็อย่างนั้นเหมือนกัน ฝนทั้งหลายที่ปล่อยเมฆทั้งสี่ทิศของดอกมะลิซ้อน ดอกจําปา ดอกมะลิป่า ดอกอุบลแดง อุบลขาว กํายานและยางทราย และดอกไม้ที่มีสีเขียว สีเหลืองเป็นต้น มีกลิ่นหอมและละเอียด ก็กระจายไปเหมือนละอองน้ำ เสียงกึกก้องของดนตรี มีองค์ห้า และกึกก้อง


ความคิดเห็น 18    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 60

แห่งเสียงสดุดี อันประกอบด้วยคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ก็ตามไปทุกทิศ ดวงตาของเหล่าเทวดา มนุษย์นาค สุบรรณ คนธรรพ์ และยักษ์เป็นต้นก็ได้เห็นเหมือนดื่มน้ำอมฤต แต่จะอยู่ในฐานะที่กล่าวพรรณนาการเสด็จพระพุทธดําเนินด้วยโศลกพันบท ก็ควร.

ในข้อนั้นจะกล่าวพอเป็นทางดังนี้.

พระผู้นําโลก สมบูรณ์ด้วยพระสรรพางค์อย่างนี้ ทรงทํามหาปฐพีให้ไหว ไม่ทรงเบียดเบียนสัตว์เสด็จไป พระนราสภ ผู้สูงสุดกว่าบรรดาสัตว์สองเท้า ยกพระบาทขวา ก้าวแรกเสด็จพระพุทธดําเนิน ก็สมบูรณ์ด้วยสิริ สง่างาม เมื่อพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดเสด็จพระพุทธดําเนิน ฝ่าพระบาทอันอ่อนนุ่มสัมผัสพื้นดินที่เรียบก็ไม่เปื้อนด้วยละออง.

เมื่อพระผู้เป็นนายกแห่งโลก เสด็จพระพุทธดําเนินที่ลุ่มก็ดอนขึ้น ที่ดอนก็ราบเรียบ แผ่นดิน แผ่นหิน ก้อนกรวด กระเบื้อง ตอและหนามทุกอย่างไม่มีจิตใจก็เว้นทางถวาย เมื่อพระผู้เป็นนายกแห่งโลกเสด็จพระพุทธดําเนิน ก็ไม่ต้องยกพระบาทก้าวยาวในที่ไกล ไม่ต้องยกพระบาทก้าวสั้นในที่ใกล้ ไม่ทรงอึดอัดพระทัย เสด็จพุทธดําเนิน พระมุนีผู้มีจรณะสมบูรณ์ ก็ไม่ยกพระชานุทั้งสองและข้อพระบาท เสด็จไปเร็วนัก.

พระผู้มีพระทัย


ความคิดเห็น 19    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 61

ตั้งมั่น เมื่อเสด็จพระพุทธดําเนินก็ไม่ต้องเสด็จไปช้านัก พระองค์มิได้ทรงจ้องมองเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ทิศใหญ่ ทิศน้อย อย่างนั้น เสด็จไป ทอดพระเนตรเพียงชั่วแอก พระชินเจ้าพระองค์นั้นทรงมีอาจาระน่าชม ดังพระยาช้าง สง่างามในอาการเสด็จพระพุทธดําเนิน พระผู้เป็นเลิศแห่งโลก เสด็จพระพุทธดําเนินงามนัก ทรงยังมนุษยโลกกับทั้งเทวโลกให้ร่าเริงสง่างามดังพระยาอุสุภราช ดังไกรสรราชสีห์ ที่เที่ยวไปทั้งสี่ทิศ ทรงยังสัตว์เป็นอันมากให้ยินดี เสด็จถึงบุรีอันประเสริฐสุด ดังนี้.

นัยว่า เวลานี้เป็นเวลาแห่งพรรณนา. เรี่ยวแรงเท่านี้ เป็นข้อสําคัญสําหรับพระธรรมกถึกในการพรรณนาพระสรีระหรือพรรณนาพระคุณของพระพุทธเจ้าในกาลทั้งหลายอย่างนี้. ยังสามารถพรรณนาด้วยคําร้อยแก้ว หรือคําร้อยกรองได้เท่าใด ก็ควรกล่าวเท่านั้น ไม่ควรพูดว่า กล่าวยาก.

แท้จริงพระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีพระคุณหาประมาณมิได้ แม้แต่พระพุทธเจ้าด้วยกันเอง ก็ยังไม่สามารถพรรณนาคุณของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น โดยไม่ให้หลงเหลือได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงหมู่สัตว์นอกจากนี้เล่า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าสู่พระบุรีของศากยราช อันประดับตกแต่งด้วยสิริวิลาสอย่างนี้ อันชนมีจิตเลื่อมใสบูชาด้วยของหอมธูปเครื่องอบและจุรณเป็นต้น เสด็จเข้าสู่สันถาคาร เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อถ โข ภควา นิวาเสตฺวา ปตฺตจีวรํ อาทาย สทฺธิํ ภิกฺขุสงฺเฆน เยน นวํ สนฺถาคารํ เตนุปสงฺกมิ ดังนี้.

คําว่า ภควนฺตํ เยว ปุรกฺขตฺวา ความว่า กระทําพระผู้มีพระภาคเจ้าไว้ข้างหน้า ณ สันถาคารนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งกลางเหล่าภิกษุและเหล่าอุบาสก ทรงรุ่งโรจน์อย่างยิ่ง เสมือน


ความคิดเห็น 20    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 62

รูปปฏิมาที่หล่อด้วยทองคําแท่งสีแดงที่บุคคลสรงสนานด้วยน้ำหอม เช็ดทําสะอาดด้วยผ้าเทริดจนแห้งแล้ว ฉาบทาด้วยชาดสีแดง ตั้งไว้บนตั่งที่คลุมด้วยผ้ากัมพลแดงฉะนั้น.

แนวทางพรรณนาพระคุณของท่านโบราณาจารย์ทั้งหลายในข้อนี้มีดังนี้.

พระผู้เลิศแห่งโลก มีจรณะ น่าชมดังพระยาช้าง เสด็จไปสู่โรงมณฑล (พิธี) เปล่งพระรัศมี ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์อันประเสริฐ พระผู้เป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ มีพระบุณยลักษณ์ร้อยหนึ่ง ประทับนั่ง ณ ที่นั้น อยู่ท่ามกลางพุทธอาสน์ทรงรุ่งเรือง เสมือนแท่งทองอันบุคคลวางไว้ บนผ้ากัมพลเหลืองฉะนั้น

พระผู้ปราศจากมลทินสง่างามเหมือนแท่งทองชมพูนุท ที่เขาวางไว้บนผ้ากัมพลสีเหลือง เหมือนแก้วมณีส่องประกายอยู่ฉะนั้น ทรงสง่างามเหมือนต้นสาละใหญ่ ออกดอกสะพรั่ง อันเป็นเครื่องประดับของขุนเขาเมรุราชฉะนั้น เปล่งแสงเหมือนปราสาททอง เหมือนดอกปทุมโกกนท เหมือนต้นประทีปส่องสว่าง เหมือนดวงอัคคีบนยอดเขา เหมือนต้นปาริฉัตรของทวยเทพอันดอกบานสะพรั่งฉะนั้น.

ปกิณณกกถาที่ประกอบด้วยการอนุโมทนาฉลองสันถาคาร พึงทราบว่าชื่อธรรมีกถา ในที่นี้ว่า กาปิลวตฺถุเก สกฺเย พหุเทว รตฺติํ ธมฺมิยา กถาย.

จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปกิณณกกถา ที่นําประโยชน์สุขมา


ความคิดเห็น 21    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 63

ให้พวกเจ้าศากยะชาวกรุงกบิลพัสดุ์ ประดุจทรงยังพวกเจ้าศากยะให้ข้ามอากาศคงคา (๑) ประดุจทรงควักโอชะแห่งปฐพีมาให้ ประดุจทรงจับต้นหว้าใหญ่สั่นประดุจทรงกวาดรวงผึ้งขนาดโยชน์หนึ่ง ด้วยจักรยนต์ ให้พวกเจ้าศากยะดื่มน้ำผึ้งฉะนั้นว่า

ดูก่อนมหาบพิตร การถวายที่อยู่เป็นทานใหญ่ ที่อยู่ของพวกท่านเราตถาคตก็ใช้สอยแล้ว ภิกษุสงฆ์ก็ใช้สอยแล้ว ที่อยู่ที่เราตถาคตและภิกษุสงฆ์ใช้สอยแล้ว ก็เป็นอันพระธรรมรัตนะ ก็ใช้สอยแล้วเหมือนกัน เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า พระรัตนะทั้งสามใช้สอยแล้ว.

ก็เมื่อพวกท่านถวายอาวาสทานแล้ว ทานทั้งปวง ก็เป็นอันพวกท่านถวายแล้วเหมือนกัน ธรรมดาอานิสงส์ของบรรณศาลาที่ตั้งอยู่บนพื้นดินก็ดี มณฑปที่ตั้งอยู่บนกิ่งไม้ก็ดี ใครๆ ก็ไม่สามารถกําหนดได้.

ครั้นตรัสธรรมกถาเป็นอันมาก มีนัยวิจิตรนานาประการแล้ว ก็ตรัสพระคาถา (วิหารทานคาถา) ว่า

วิหารย่อมป้องกันหนาวร้อนและสัตว์ร้ายทั้งหลาย งูและยุงและฝนทั้งหลายในฤดูหนาว แต่นั้นลมและแดดอันร้ายที่เกิดเอง ย่อมบรรเทาไป. การถวายวิหารแก่สงฆ์เพื่ออยู่เร้น เพื่อสุข เพื่อเพ่งฌาน เพื่อเจริญวิปัสสนา พระพุทธะทั้งหลายสรรเสริญว่าเป็นทานอันเลิศ เพราะฉะนั้นแล คนผู้เป็นบัณฑิตเมื่อพิจารณาเห็นสุขของตน พึงสร้างวิหารที่น่ารื่นรมย์ให้ภิกษุพวกพหูสูตอยู่อาศัย.

อนึ่ง พึงถวายข้าวน้ำ ผ้าและเสนาสนะแก่ภิกษุเหล่านั้น มีใจเลื่อมใสในท่านผู้ปฏิบัติตรง เขารู้ทั่วถึงธรรมอันใด ใน


(๑) ดูอธิบายในอรรถกถาโปตลิยสูตร ต่อจากสูตรนี้.


ความคิดเห็น 22    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 64

ธรรมวินัยนี้แล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพาน ภิกษุพหูสูตเหล่านั้น ย่อมแสดงธรรมเครื่องบรรเทาทุกข์ทั้งปวงแก่เขาแล.

อานิสงส์ในอาวาสทานแม้นี้ ก็มีด้วยประการฉะนี้.

คําว่า อยมฺปิจานิสํโส ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอานิสังสกถาในอาวาสทาน ตลอดราตรีเป็นอันมาก คือ เกินสองยามครึ่ง.

ในพระบาลีนั้น คาถาเหล่านี้เท่านั้น ท่านยกขึ้นสู่สังคีติ (สังคายนา) ส่วนปกิณณกธรรมเทศนาหาขึ้นสู่สังคีติไม่.

คําว่า สนฺทสฺเสมิ เป็นต้น มีเนื้อความที่กล่าวแล้วทั้งนั้น.

คําว่า อายสฺมนฺตํ อานนฺทํ อามนฺเตสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระพุทธประสงค์จะให้ท่านพระอานนท์กล่าวธรรมกถา จึงรับสั่งให้ทราบ.

ถามว่า ก็เมื่อพระมหาเถระผู้เป็นพระอสีติมหาสาวก เช่นท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลลานะและท่านพระมหากัสสปะเป็นต้น ก็มีอยู่ เหตุไรพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงมอบภาระให้ท่านพระอานนท์เถระเล่า?

ตอบว่า เพราะอํานาจอัธยาศัยของบริษัท เป็นความจริงท่านพระอานนท์มีชื่อเสียงปรากฏ ไปในฝ่ายเจ้าศากยะว่า เป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้เป็นพหูสูต สามารถจะกล่าวธรรมกถาได้ไพเราะ ด้วยบทพยัญชนะที่กลมกล่อม เหล่าเจ้าศากยะแม้เสด็จไปพระวิหาร ก็เคยฟังธรรมกถาของท่าน ส่วนฝ่ายในแห่งเจ้าศากยะเหล่านั้น ไม่ได้โอกาสที่จะไปยังพระวิหารได้ตามความพอใจ เจ้าศากยะเหล่านั้นจึงได้ดําริอยู่แต่ในใจว่า น่าที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะตรัสธรรมกถาแต่น้อยๆ แล้วทรงมอบภาระให้ท่านพระอานนท์ พระญาติผู้ประเสริฐของเรา. เพราะอํานาจอัธยาศัยของเจ้าศากยะเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงมอบภาระให้ท่านพระอานนท์นั้นแต่องค์เดียว.

คําว่า เสโข ปฏิปโท ได้แก่ เป็นเสขสมณะผู้ปฏิบัติพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ตรัสว่า เสขปฏิปทาจงแจ่มแจ้ง ปรากฏแก่เธอ เธอจงแสดงปฏิปทาของเสขสมณะนั้น ทรงกําหนดบุคคลแสดงด้วยปฏิปทา.


ความคิดเห็น 23    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 65

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงกําหนดปฏิปทานี้.

ตอบว่า เพราะเหตุหลายอย่าง.

ก่อนอื่นเจ้าศากยะเหล่านี้ มุ่งหวังมงคล ปรารถนาความเจริญแก่มงคลศาลา อนึ่ง เสขปฏิปทานี้ เป็นมงคลปฏิปทา เป็นปฏิปทาของผู้เจริญอยู่ในพระศาสนาของเรา แม้เพราะเหตุนี้ จึงทรงกําหนดปฏิปทานี้.

อนึ่ง พระเสขบุคคลเป็นอันมาก นั่งอยู่ในบริษัทของพระองค์ เมื่อพระองค์ตรัสฐานะที่ทรงแทงตลอดด้วยพระองค์เองแล้ว พระเสขบุคคลเหล่านั้น จักกําหนดได้อย่างไม่ลําบากเลย แม้เพราะเหตุนี้จึงทรงกําหนดปฏิปทานี้.

อนึ่งเล่า ท่านพระอานนท์ก็บรรลุเสขปฏิสัมภิทา ท่านกล่าวในฐานะอันประจักษ์ที่ท่านแทงตลอดแล้วด้วยตนเอง ก็ไม่ลําบาก จักสามารถทําให้ผู้อื่นเข้าใจได้ แม้เพราะเหตุนี้ จึงทรงกําหนดปฏิปทานี้.

อนึ่ง สิกขาแม้ทั้งสามก็รวมอยู่ในเสขปฏิปทาแล้ว ในสิกขาทั้งสามนั้น เมื่อท่านกล่าวอธิศีลสิกขา วินัยปิฎกทั้งหมด ก็เป็นอันท่านกล่าวไว้แล้ว เมื่อกล่าวอธิจิตตสิกขา สุตตันตปิฎกทั้งหมด ก็เป็นอันท่านกล่าวไว้แล้ว เมื่อกล่าวอธิปัญญาสิกขา อภิธรรมปิฎกทั้งหมด ก็เป็นอันท่านกล่าวไว้แล้ว.

อนึ่ง พระอานนท์เป็นพหูสูตทรงพระไตรปิฎก ท่านสามารถจะกล่าวสิกขาทั้งสามด้วยปิฎกทั้งสามได้ เมื่อท่านกล่าวอย่างนี้ มงคลและความเจริญอย่างเดียว จักมีแก่เหล่าเจ้าศากยะ แม้เพราะเหตุนี้ จึงทรงกําหนดปฏิปทานี้.

ถามว่า ในพระบาลีว่า หลังของเราไม่ค่อยสบายนี้ เหตุไร พระปฤษฎางค์จึงไม่สบาย.

ตอบว่า เพราะเมื่อทรงตั้งความเพียรอยู่ ๖ ปี ทุกข์ทางพระวรกายก็มีมาก ต่อมาภายหลังครั้งทรงพระชรา ลมเบื้องพระปฤษฎางค์ก็เกิดแก่พระองค์.

หรือว่า ข้อนั้นยังไม่เป็นสาเหตุ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงสามารถเพื่อจะข่มเวทนาที่เกิดขึ้น ประทับนั่งโดยอิริยาบถเดียวได้ถึงสัปดาห์หนึ่งบ้าง


ความคิดเห็น 24    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 66

สองสัปดาห์บ้าง แต่มีพระพุทธประสงค์จงทรงใช้ศาลาสันถาคารด้วยอิริยาบถทั้งสี่ จึงได้ทรงพุทธดําเนินตั้งแต่ที่ชําระพระหัตถ์และพระบาท จนประทับนั่งเหนืออาสนะ แสดงธรรม เสด็จพระพุทธดําเนินในที่เช่นนี้ ถึงอาสนะแสดงธรรม ค่อยๆ ประทับยืนแล้วประทับนั่ง ประทับนั่งเหนืออาสนะแสดงธรรมสองยามครึ่ง ในที่เช่นนี้ สําเร็จการประทับนั่งในที่เช่นนี้ บัดนี้ เมื่อทรงบรรทม โดยพระปรัศว์เบื้องขวา ก็สําเร็จการบรรทม.

พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระพุทธประสงค์จะทรงใช้ด้วยอิริยาบถสี่ ดังกล่าวมาด้วยประการฉะนี้ ไม่ควรกล่าวว่า ก็ธรรมดาสรีระที่มีวิญญาณครองของเรา ไม่สบายดังนี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงถือเอาความไม่สบายแม้เล็กน้อย ที่เกิดจากประทับนั่งนาน จึงตรัสอย่างนี้.

คําว่า สงฺฆาฏิํ ปฺเปตฺวา ความว่า นัยว่าพวกเจ้าศากยะเหล่านั้นให้กั้นม่านผ้าไว้ที่ส่วนข้างหนึ่งของสันถาคาร ให้จัดตั้งเตียงที่สมควร แล้วลาดด้วยเครื่องลาดที่สมควรแล้วติดเพดานประดับด้วยดาวทอง พวงมาลัยหอม ไว้ข้างบน ตามประทีปน้ำมันหอมไว้ ด้วยทรงดําริว่า ไฉนหนอพระศาสดาจักเสด็จลุกขึ้นจากธรรมาสน์ แล้วพักหน่อยหนึ่ง จะทรงบรรทม ณ ที่นี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ สันถาคารนี้ เป็นอันพระศาสดาทรงใช้แล้วด้วยอิริยาบถ ๔ ก็จักเป็นประโยชน์สุขแก่พวกเรา ตลอดกาลนาน. แม้พระศาสดาก็ทรงทราบอัธยาศัยนั้นนั่นแล จึงทรงปูสังฆาฏิบรรทม ณ ที่นั้น.

คําว่า อุฏฺานสฺํ มนสิกริตฺวา ความว่า ทรงตั้งอุฏฐานสัญญาไว้ในใจว่า ล่วงเวลาเท่านี้ เราจักลุกขึ้น.

คําว่า มหานามํ สกฺกํ อามนฺเตสิ ความว่า นัยว่า ในเวลานั้นเจ้ามหานามศากยะเป็นหัวหน้าสูงสุดในบริษัทนั้น เมื่อท่านพระอานนท์สงเคราะห์เจ้ามหานามนั้นแล้ว ก็เป็นอันสงเคราะห์บริษัทส่วนที่เหลือด้วย เพราะเหตุนั้นพระเถระจึงเรียกเฉพาะเจ้ามหานามศากยะนั้นองค์เดียว.

คําว่า สีลสมฺปนฺโน แปลว่า ถึงพร้อมด้วยศีล. อธิบายว่า มีศีลสมบูรณ์ มีศีลบริบูรณ์.

คําว่า


ความคิดเห็น 25    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 67

สทฺธมฺเมหิ แปลว่า ด้วยธรรมอันดี หรือด้วยธรรมของคนดี คือ สัตบุรุษ.

ด้วยคําว่า กถํ จ มหานาม นี้ พระเถระประสงค์จะตั้งแม่บทแห่งเสขปฏิปทาด้วยฐานะเท่านี้แล้ว อธิบายให้พิศดารโดยลําดับ จึงกล่าวอย่างนี้.

คําว่า สีลสมฺปนฺโน เป็นต้น ในพระบาลีนั้น บัณฑิตพึงทราบตามนัยที่ตรัสไว้แล้วในอากังเขยยสูตร เป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์อยู่เถิดดังนี้.

ในคําว่า กายทุจฺจริเตน เป็นต้น เป็นตติยาวิภัตติ ลงในอรรถทุติยาวิภัตติ. อธิบายว่า ละอาย เกลียด กายทุจริตเป็นต้น ที่ควรละอาย.

คําว่า กายทุจฺจริเตน เป็นตติยาวิภัตติ ลงในอรรถเหตุ ในนิทเทสแห่งโอตตัปปะ. อธิบายว่า เกรงกลัว แต่กายทุจริตเป็นต้น อันเป็นตัวเหตุแห่งโอตตัปปะ.

คําว่า อารทฺธวิริโย คือ ผู้มีความเพียรอันประคองไว้ มีใจไม่ย่อหย่อน.

คําว่า ปหานาย คือเพื่อประโยชน์แก่การละ.

คําว่า อุปสมฺปทาย คือ เพื่อประโยชน์แก่การกลับได้.

คําว่า ถามว่า คือ ผู้ประกอบด้วยเรี่ยวแรงคือความเพียร.

คําว่า ทฬฺหปรกฺกโม คือ ผู้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง.

คําว่า อนิกฺขิตฺตธุโร กุสเลสุ ธมฺเมสุ ความว่า ผู้มีธุระอันไม่ทอดทิ้ง มีความเพียรอันไม่ย่อหย่อนในกุศลธรรม.

คําว่า ปรเมน คือ สูงสุด.

คําว่า สติเนปกฺเกน คือ ด้วยสติและความเป็นผู้มีปัญญารักษาตน.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ปัญญาจึงมาในบทภาชนีย์ของสติ.

ตอบว่า เพื่อแสดงความที่สติมีกําลัง. แท้จริงสติที่ปราศจากปัญญาย่อมอ่อนกําลัง สติที่ประกอบด้วยปัญญาย่อมมีกําลัง.

คําว่า จิรกตํปิ ความว่า การบําเพ็ญข้อปฏิบัติคือมหาวัตร ๘๐ มีเจติยังคณวัตรเป็นต้น อันตนเองหรือคนอื่น กระทําด้วยกายมานาน.

คําว่า จิรภาสิตํปิ ความว่า คําที่ตนเองหรือผู้อื่นกล่าวด้วยวาจามานาน ได้แก่


ความคิดเห็น 26    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 68

กถาที่ว่าด้วยการอุทิศเอง การให้ผู้อื่นอุทิศ การประชุมธรรม การแสดงธรรมและเลียบเคียงด้วยความเคารพ คือ วจีกรรม ที่เป็นไปด้วยอํานาจ ถ้อยคําที่ควรอนุโมทนาเป็นต้น.

คําว่า สริตา อนุสฺสริตา ความว่า เมื่อกายกรรมนั้น กระทํามานานด้วยกาย ชื่อว่า กายเป็นกายวิญญัติ เมื่อวจีกรรมกล่าวมานาน ชื่อว่า วาจา เป็นวจีวิญญัติ แม้ทั้งสองอย่างนั้น เป็นรูปจิตและเจตสิกที่ยังรูปนั้นให้ตั้งขึ้นเป็นรูป ย่อมระลึกและตามระลึกว่า รูปธรรมและอรูปธรรมเหล่านี้ เกิดขึ้นอย่างนี้ ดับไปอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

อธิบายว่ายังสติสัมโพชฌงค์ให้ตั้งขึ้น แท้จริงในที่นี้ท่านประสงค์เอาสติที่ยังโพชฌงค์ให้ตั้งขึ้น ด้วยสตินั้น อริยสาวกนั้น พึงทราบว่า ชื่อว่า สริตา เพราะระลึกได้ครั้งเดียว ชื่อว่า อนุสฺสริตา เพราะระลึกได้บ่อยๆ.

คําว่า อุทยตฺถคามินิยา ความว่า อันถึงความเกิดและความเสื่อมคือ สามารถเพื่อจะรู้ชัด ซึ่งความเกิดและความเสื่อมแห่งขันธ์ทั้งห้า.

คําว่า อริยาย ความว่า หมดจด เพราะตั้งอยู่ไกลจากกิเลสทั้งหลาย โดยข่มไว้ และโดยตัดได้ขาด.

คําว่า ปฺาย สมนฺนาคโต คือ เป็นผู้พร้อมด้วยวิปัสสนาปัญญา และมรรคปัญญา.

ในคําว่า นิพฺเพธิกาย ความว่า วิปัสสนาปัญญา และมรรคปัญญานั้นแล ท่านเรียกว่า นิพเพธิกา เพราะเป็นเครื่องแทงตลอด.

อธิบายว่า ประกอบด้วยนิพเพธิกปัญญานั้น. บรรดาวิปัสสนาปัญญาและมรรคปัญญาทั้งสองนั้น มรรคปัญญาชื่อว่า นิพเพธิกา เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า เจาะแทง คือ ทําลายกองโลภะ กองโทสะ กองโมหะที่ไม่เคยเจาะแทงที่ไม่เคยทําลายเสียได้ โดยตัดได้ขาด วิปัสสนาปัญญาชื่อว่า นิพเพธิกา เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า เจาะแทงทําลายกองโลภะเป็นต้นได้โดยเจาะแทงทําลายได้ชั่วขณะ และเพราะเป็นไปเพื่อได้มาซึ่งมรรคปัญญา อัน


ความคิดเห็น 27    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 69

เป็นเครื่องเจาะแทง เพราะเหตุนั้น วิปัสสนาปัญญาจะเรียกว่า นิพเพธิกา ก็ควร มรรคปัญญาทําทุกข์ในวัฏฏะให้สิ้นไปโดยชอบ คือ โดยเหตุ โดยนัย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ.

แม้ในคําว่า สมฺมาทุกฺขกฺขยคามินิยา วิปัสสนาทําทุกข์ในวัฏฏะและทุกข์เพราะกิเลสให้สิ้นไป ด้วยอํานาจตทังคปหาน เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์ อีกอย่างหนึ่ง วิปัสสนานั้นก็พึงทราบว่าเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์ แม้เพราะเป็นไปเพื่อได้มาซึ่งมรรคปัญญา อันเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์.

คําว่า อภิเจตสิกานํ ความว่า อันอิงอาศัยจิตอันยิ่ง จิตอันประเสริฐ.

คําว่า ทิฏฺธมฺมสุขวิหารานํ ความว่า อันเป็นเหตุให้ได้มาซึ่งสุขในขณะที่เอิบอิ่ม.

คําว่า นิกามลาภี ความว่า เข้าสมาบัติในขณะที่ต้องการๆ.

คําว่า อกิจฺฉลาภี คือ ได้ไม่ยาก.

คําว่า อกสิรลาภี คือ ได้อย่างไพบูลย์.

พระอริยสาวกรูปหนึ่ง สามารถเข้าสมาบัติได้ ในขณะที่ต้องการ เพราะเป็นผู้คล่องแเคล่ว แต่อีกรูปหนึ่ง ไม่ลําบาก แต่ไม่สามารถข่มธรรมที่เป็นอันตรายแห่งสมาธิไว้ได้ เธอก็ออกจากสมาบัติไปทันที เพราะตนไม่ปรารถนาไม่สามารถดํารงสมาบัติไว้ได้ โดยเวลาตามที่กําหนดไว้ อริยสาวกนี้ชื่อว่า ได้ยาก ได้ลําบาก ส่วนอริยสาวกรูปหนึ่ง สามารถเข้าสมาบัติได้ในขณะที่ต้องการ ทั้งไม่ลําบาก ในธรรมที่มีสมาธิบริสุทธิ์ ก็ข่มใจไว้ได้ เธอสามารถออกจากสมาบัติโดยเวลาตามที่กําหนดไว้ได้ อริยสาวกนี้ชื่อว่า ได้โดยไม่ยาก ทั้งชื่อว่าได้โดยไม่ลําบาก.

ด้วยคําว่า อยํ วุจฺจติ มหานาม อริยสาวโก เสโข ปาฏิปโท นี้ พระเถระแสดงว่า ดูก่อนท่านมหานาม อริยสาวกผู้ปฏิบัติเสขปฏิปทา ท่านเรียกว่า ผู้ประกอบด้วยข้อปฏิบัติ อันเป็นไปเพื่อห้องแห่งวิปัสสนา.


ความคิดเห็น 28    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 70

คําว่า อปุจฺจณฺฑตาย คือ เพราะความเป็นกะเปาะไข่ที่ไม่เสีย.

คําว่า ภพฺโพ อภินิพฺภิทาย คือ ควรเพื่อกระเทาะออกด้วยอํานาจฌาน.

คําว่า สมฺโพธาย คือ เพื่ออริยมรรค.

ด้วยคําว่า อนุตฺตรสฺส โยคกฺเขมสฺส นี้พระเถระแสดงว่า พระอรหัตชื่อว่า ธรรมอันเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยมเป็นผู้ควรเพื่อบรรลุธรรมนั้น ข้ออุปมาที่ท่านนํามาเพื่อแสดงข้อความในพระสูตรนี้ บัณฑิตพึงทราบตามนัยที่ท่านกล่าวไว้ในเจโตขีลสูตรนั่นแล.

ก็การเทียบเคียงข้ออุปมาอันใด มาในเจโตขีลสูตรนั้น อย่างที่ว่า ความเพียรยิ่งของภิกษุนี้ คือ ความที่ภิกษุนี้เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๕ นั้น ก็เหมือนการกระทํากิริยา ๓ อย่างในกะเปาะไข่ของแม่ไก่นั้น การเทียบเคียงข้ออุปมานั้น บัณฑิตพึงประกอบความอย่างนี้ว่า ความที่ภิกษุนี้ พร้อมด้วยธรรม ๑๕ มีความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลเป็นต้น ก็เหมือนการกระทํากิริยา ๓ อย่าง ในกะเปาะไข่ของแม่ไก่นั้น แล้วพึงทราบอย่างเดียวกัน เพราะพระบาลีว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้เป็นต้น.

คําที่เหลือก็เช่นเดียวกับคําที่ท่านกล่าวไว้ในที่ทั้งปวงนั่นแล.

คําว่า อิมํเยว อนุตฺตรํ อุเปกฺขา สติปาริสุทฺธิํ ความว่า อันเป็นจตุตถฌานอันสูงสุด ไม่เหมือนกับปฐมฌานเป็นต้น อันนี้.

คําว่า ปมา อภินิพฺภิทา คือ การทําลายด้วยฌาณ ครั้งแรก แม้ในครั้งที่สองเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ก็ลูกไก่เกิดสองครั้ง คือ ออกจากท้องแม่ ครั้งหนึ่ง ออกจากกะเปาะไข่ครั้งหนึ่ง, อริยสาวกเกิดสามครั้งด้วยวิชชาสาม คือ บรรเทาความมืดที่ปกปิดขันธ์ที่เคยอาศัยในปางก่อน เกิดครั้งที่หนึ่งด้วยปุพเพนิวาสญาณ บรรเทาความมืดที่ปกปิดจุติปฏิสนธิ ของสัตว์ทั้งหลาย แล้วเกิดครั้งที่สองด้วยทิพยจักษุญาณ บรรเทาความมืดที่ปกปิดสัจจะทั้งสี่ แล้วเกิดครั้งที่สามด้วยอาสวักขยญาณ.


ความคิดเห็น 29    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 71

คําว่า อิทํ ปิสฺส โหติ จรณสฺมิํ ความว่า แม้อันนี้ก็ย่อมชื่อว่าจรณะของภิกษุผู้มีศีล ชื่อว่า จรณะมีมากมิใช่อย่างเดียว ได้แก่ ธรรม ๑๕ มีศีลเป็นต้น.

อธิบายว่า ในธรรม ๑๕ นั้น แม้ศีลนี้ก็เป็นจรณะอย่างหนึ่ง แต่โดยใจความเฉพาะบท ผู้ใดเที่ยว คือไปสู่ทิศที่ไม่เคยไปด้วยคุณชาตนี้ เหตุนั้นคุณชาตนี้ชื่อว่า จรณะ เครื่องเที่ยวไป.

ในที่ทุกแห่ง ก็มีนัยนี้.

คําว่า อิทํ ปิสฺส โหติ วิชฺชาย ความว่า ปุพเพนิวาสญาณนี้ ย่อมชื่อว่า วิชชาของภิกษุนั้น. ชื่อว่า วิชชามีมาก มิใช่อย่างเดียว ได้แก่ ญาณ ๘ มีวิปัสสนาญาณเป็นต้น.

อธิบายว่า ในญาณ ๘ นั้น ญาณแม้นี้ ก็ชื่อว่า วิชชาอย่างหนึ่ง แต่โดยใจความเฉพาะบท ผู้ใดรู้แจ้งแทงตลอดด้วยคุณชาตนี้ เหตุนั้นคุณชาตนี้ชื่อว่า วิชชา เครื่องรู้แจ้งแทงตลอด.

คําว่า วิชฺชาสมฺปนฺโน อติปิ ความว่า ถึงพร้อมด้วยวิชชา ๓ เรียกว่า ผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชาดังนี้บ้าง.

คําว่า จรณสมฺปนฺโน อิติปิ ความว่า ถึงพร้อมด้วยธรรม ๑๕ เรียกว่า ผู้สมบูรณ์ด้วยจรณะดังนี้บ้าง.

คําว่า วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน อิติปิ ความว่า ส่วนผู้ถึงพร้อมด้วยทั้งสองอย่างนั้น เรียกว่า ผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะดังนี้บ้าง.

คําว่า สนฺนงฺกุมาเรน (๑) คือ เด็กโบราณ ที่ปรากฏชื่อว่า กุมารมาตั้งแต่กาลไกลโน้น เล่ากันว่า ในถิ่นมนุษย์สันนังกุมารนั้น ทําฌานให้บังเกิดครั้งยังเป็นเด็กไว้จุก ๕ จุก ฌานก็ไม่เสื่อม ไปบังเกิดในพรหมโลก อัตภาพของเขาน่ารักน่าพอใจ เพราะฉะนั้นเขาจึงเที่ยวไปด้วยอัตภาพเช่นนั้น ด้วยเหตุนั้น คนทั้งหลายจึงให้สมญานามเขาว่า สันนังกุมาร.

คําว่า ชเนตสฺมิํ คือ ในหมู่ชน. อธิบายว่า ในหมู่ประชาชน.

คําว่า เย โคตฺตปฏิสาริโน ความว่า ชนเหล่าใดยึดถือโคตร ในชนหมู่นั้นว่าเราเป็นโคตมะ เราเป็นกัสสปะ ในหมู่คนที่ยึดถือเรื่องโคตรนั้น กษัตริย์ก็เป็นผู้ประเสริฐสุดในโลก.

คําว่า อนุมตา


(๑) บาลีเป็นสนังกุมาร


ความคิดเห็น 30    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 72

ภควตา ความว่า คาถานี้เราเทียบเคียงแสดงพร้อมด้วยปัญหาพยากรณ์ของเรา.

ในอัมพัฏฐสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสว่า ดูก่อนอัมพัฏฐะ ถึงเราก็กล่าวอย่างนี้ว่า

ในหมู่ชนที่ยังยึดถือในเรื่องโคตรกษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐสุด คนที่สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะเป็นผู้ประเสริฐสุดในหมู่เทวดาและมนุษย์.

ก็ทรงอนุมัติ คือ ทรงอนุโมทนา.

ตามคาถานี้ คําว่า สาธุ สาธุ อานนฺท ความว่า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่หยั่งลงสู่นิทรารมณ์มาตั้งแต่ต้นทรงสดับพระสูตรนี้ ทรงทราบว่า อานนท์จับยึดเอายอดเสขปฏิปทา จึงเสด็จลุกขึ้นประทับนั่งขัดสมาธิ ได้ประทานสาธุการรับรอง ดังนั้นพระสูตรนี้ ด้วยพระวาจาเพียงเท่านี้ จึงเกิดชื่อว่า เป็นภาษิตของพระชินเจ้า.

คําที่เหลือในที่ทุกแห่งตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาเสขปฏิปทาสูตรที่ ๓