อธิมุตตกเถราปทานที่ ๖ (๓๖) ว่าด้วยผลแห่งการถวายอ้อย
โดย บ้านธัมมะ  27 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 41025

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 154

เถราปทาน

กุณฑธานวรรคที่ ๔

อธิมุตตกเถราปทานที่ ๖ (๓๖)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายอ้อย


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 154

อธิมุตตกเถราปทานที่ ๖ (๓๖)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายอ้อย

[๓๘] เมื่อพระโลกนาถพระนามว่าอัตถทัสสี ผู้เป็นอุดมบุคคล เสด็จนิพพานแล้ว เรามีจิตเลื่อมใส นิมนต์ภิกษุสงฆ์ เรา ทำมณฑปด้วยอ้อยแล้ว นิมนต์สังฆรัตนะ ผู้ซื่อตรง มีจิต ตั้งมั่นเป็นสงฆ์ผู้อุดม ให้ฉันอ้อย.

เราเข้าถึงกำเนิดใดๆ คือความเป็นเทวดาหรือมนุษย์ ใน กำเนิดนั้นๆ เราย่อมครอบงำสัตว์ทั้งปวง นี้เป็นผลแห่งบุญ กรรม.

ในกัปที่ ๑,๘๐๐ เราได้ให้ทานใดในเวลานั้น ด้วยผลแห่ง ทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายอ้อย.

คุณวิเศษเหล่านี้คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราได้ทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เรา ได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านอธิมุตตกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบอธิมุตตกเถราปทาน


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 155

๓๖. อรรถกถาอธิมุตตเถราปทาน (๑)

อปทานของพระอธิมุตตเถระ มีคำเริ่มต้นว่า นิพฺพุเต โลกนาถมฺหิ ดังนี้.

พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้นๆ เมื่อพระ โลกนาถพระนามว่าอัตถทัสสี ปรินิพพานแล้ว บังเกิดในเรือนมีตระกูล แห่งหนึ่ง เลื่อมใสในพระรัตนตรัย นิมนต์ภิกษุสงฆ์ ให้ทำโรงปะรำด้วย อ้อยทั้งหลาย แล้วบำเพ็ญมหาทานให้เป็นไป ในทีได้ปรารถนาสันติบท. ท่านจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เสวยสมบัติทั้งสองในเทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เลื่อมใส ในพระศาสนา เพราะท่านตั้งอยู่ในศรัทธา จึงปรากฏนามว่า อธิมุตตเถระ.

ท่านบรรลุพระอรหัต ด้วยอำนาจบุญสมภารที่ท่านทำไว้ด้วยลาการ อย่างนี้ ระลึกถึงบุพกรรมของตนแล้ว เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศ ปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า นิพฺพุเต โลกนาถฺมหิ ดังนี้. คำ ที่เหลือมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาอธิมุตตเถราปทาน


๑. บาลีเป็นอธิมุตตกเถราปทาน.