ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ณ กาลครั้งหนึ่ง สนทนาธรรมที่ร้านเรดชิลลี่ คาเฟ่ 3 พ.ย. 66 เช้า
ฟังเพื่อเข้าใจ ฟังอะไรก็เข้าใจ ประโยชน์อยู่ที่เข้าใจ ไม่ใช่แค่จำ เป็นความเข้าใจจริงๆ ไม่ใช่คิดเผินๆ ต้องเข้าใจในสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ ยังไม่ได้เริ่มเข้าใจเลย ถ้าคิดเองหรือยังไม่ได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คิดว่าเข้าใจแต่เข้าใจอะไร? นี่คือการสนทนาธรรมเพื่อให้เข้าใจชัดเจน ถูกต้อง ต้องไตร่ตรอง ไม่ใช่ฟังแล้ว ได้ยินแล้ว จำแล้ว รู้แล้วหมายความว่าอะไร ... แต่ต้องเข้าใจสิ่งที่พูดถึง
ส่วนใหญ่ได้ยินคำว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า สนทนาธรรม มีการกล่าวคำของพระองค์เพื่อที่จะเข้าใจ แต่ไม่รู้ว่าเข้าใจคืออะไร และเข้าใจนั้นเข้าใจอะไร ... ต้องรู้ว่าเข้าใจสิ่งที่ได้ฟัง ... ง่ายหรือยาก น่าสนใจไหม เพราะว่าทุกคนเหมือนเข้าใจใช่ไหม ... เหมือนนะ ... คล้ายนะ ...
ฟังอะไรจึงว่าเข้าใจยากมาก ... ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องละเอียดมาก ถ้าไม่ใช่คำนี้จะเข้าใจอะไรหรือเปล่า ... พูดเรื่องอะไร เพราะฉะนั้นตอนนี้เราจะไม่พูดคำของคนอื่น ฟังมาเยอะ คนนั้นก็ว่าอย่างนั้น คนนี้ก็ว่าอย่างนี้ คิดไปพูดไป แต่ตอนนี้เราจะพูดคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อที่จะได้เข้าใจว่าคำนั้นเป็นคำของพระองค์จริงๆ หรือเปล่า หรือเป็นคำที่เขาจำมาพูดกัน แต่ไม่ใช่คำที่พระองค์ตรัสเพื่อให้เข้าใจทุกคำ
การที่จะรู้ว่าเป็นคำของพระองค์จริงๆ ก็ต้องเป็นความเข้าใจในคำนั้น ต้องเข้าใจทีละคำ เข้าใจความหมายของคำนั้น และลึกซึ้งในคำนั้นว่า กล่าวถึงสิ่งที่มีจริงจริงขณะนี้ ... อดทนไหม? คำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วคนฟังในครั้งนั้นเป็นใคร เราฟังแล้วเข้าใจถึงระดับไหน?
เหตุเหตุการณ์ก็ผ่านมาหลายพันปีแล้ว คำนั้นก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่ว่าคนฟังเข้าใจอย่างคนในครั้งนั้นหรือเปล่า เพราะอะไร? ... ถ้าฟังแล้วไม่คิดจะเข้าใจไหม ... ไม่มีทางเลย คิดเผินๆ นิดเดียวจะเข้าใจไหม? เพราะฉะนั้นวันนี้จะเข้าใจคำไหน? ... "วาจาสัจจะ" ... สัจจะคือความจริง วาจาคือคำพูด เพราะฉะนั้นพูดคำจริงก็ถูกแล้ว ... วาจาสัจจะ
“สนทนาธรรมที่ ร้านเรดชิลลี่ คาเฟ่” วันศุกร์ ที่ ๓ พ.ย. ๒๕๖๖ ช่วงเช้า
🔴 www.youtube.com/watch?v=YVYkhqZalh0
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ด้วยความเคารพยิ่ง
ยินดีในความดีของทุกท่านค่ะ
จะเป็นวาจาสัจจะที่พร้อมกับความเข้าใจคืออย่างไร? ถ้าไม่ฟังจะรู้ไหม? เริ่มต้นคือขั้นฟัง ฟังให้เข้าใจว่าเห็นเป็นสิ่งที่มีจริง ไม่ใช่เรา เห็นก็กำลังเห็น แต่ปัญญาที่จะรู้ตรงเห็นก็ยังไม่เกิด ... รู้ใช่ไหมว่าพูดคำจริง?
ขั้นเข้าใจขั้นฟังก่อนที่จะรู้ตรง ... ความเข้าใจในขั้นการฟังเข้าใจว่าเห็นเป็นธรรมะ ไม่ใช่เรา ถ้าไม่ฟังก็คิดว่าเป็นเราเห็น แต่เมื่อฟังแล้วก็รู้ว่า เห็นมีจริง ไม่เข้าใจเห็น เราก็พูดเรื่องเห็นให้เข้าใจถูกต้อง
กำลังเห็นต้องไปหาลักษณะอื่นมารู้ไหม? ไม่ต้องเพราะกำลังเห็นอยู่ แต่ไม่เข้าใจเห็นจริงๆ แล้วเราขาดการไตร่ตรองอย่างมากๆ ตลอดมา เพราะว่าคำอื่นเราไม่ต้องไตร่ตรอง พูดก็เข้าใจไปหมดทุกภาษา แต่การที่จะต้องได้ยินอะไรและก็รู้ว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งซึ่งแต่ละคำที่ได้ยินนั้นเข้าใจแค่ไหน ... เพื่อเข้าใจ ... ไม่งั้นเราก็พูดไปเรื่อยๆ
ใครรู้จักเห็นบ้างทั้งๆ ที่กำลังเห็น?? เป็นคำถามที่จะให้ไตร่ตรอง ให้เข้าใจมั่นคงว่า เห็นเกิดหรือเปล่า ดับหรือเปล่า ... ยังไม่รู้!!! นี่แหละที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้หนทางที่จะรู้ความจริงให้ตรงกับที่พระองค์ตรัสว่า "ทุกอย่างเป็นธรรมะ มีจริง เป็นอนัตตา" คำนี้คำเดียวลึกซึ้งแค่ไหน? ไม่ใช่อะไรเลยทั้งสิ้น ไม่ใช่คน ไม่ใช่โต๊ะ ไม่ใช่หิว ไม่ใช่สุข ไม่ใช่ทุกข์ เห็นเป็นเห็น เห็นต้องเกิดดับ นี่คือการตรัสรู้!!!
สิ่งที่ไม่รู้คือไม่รู้ความจริง มีตั้งแต่เกิด แม้เดี๋ยวนี้เห็นก็กำลังเกิดและดับ ... ก็ไม่รู้ แต่วาจาสัจจะคือบุคคลนั้นรู้หรือไม่รู้ ก็ต้องตอบตามความเป็นจริง
ยังไม่รู้จักเห็นแต่รู้ได้ ... แต่เดี๋ยวนี้รู้ไม่ได้ ... หัดคิด ... เราขาดการไตร่ตรองมากๆ เพราะฉะนั้นฟังธรรมะเพื่อเริ่มไม่ต้องไปถึงไหน ไม่ต้องไปถึงนิพพาน แค่คำถามนั้นเราสามารถที่จะคิดละเอียดขึ้นได้ไหมว่าคำถามถามอะไร? ... ขาดการไตร่ตรองคำถามเพราะตอบไม่ตรงคำถาม ถ้าตอบตรง ... ไม่ขาดการไตร่ตรองว่าถามอะไรและความหมายว่าอะไรและตอบให้ตรงความหมาย มิฉะนั้นก็ไม่ไปไหน วนเวียนกับความคิดของเรา ก็ตอบไปตามที่ได้ฟังมา ได้อ่านมา แค่นี้หรือเข้าใจเห็น!!!
ไตร่ตรองอย่างไรจึงจะรู้จักเห็นที่กำลังเห็น เพราะฉะนั้นทุกคำทุกเรื่องในพระไตรปิฎกจะมีคำว่าต้องไตร่ตรอง ขาดคำว่าไตร่ตรองไม่ได้และใช้คำด้วยดี ความละเอียด ความรอบคอบ ความลึกซึ้ง
เมื่อไม่ไตร่ตรองจึงถาม แต่เมื่อไตร่ตรองก็รู้ เพราะฉะนั้นทุกคำต้องรู้ความเป็นจริงจากการไตร่ตรอง
เราฟังเรื่องเห็น เพราะเห็นกำลังมีจริงๆ ให้เห็น แต่คำที่เราได้ฟังสามารถที่จะรู้ความจริงที่ได้ฟังทันทีได้ไหม???
อีกนานไหมกว่าจะรู้จักเห็น ... เพราะอะไร? นานเพราะยังเป็นเราอยู่ นานแล้วรู้ได้เพราะฟังแล้วต้องไตร่ตรอง เพราะฉะนั้นพูดแล้วต้องไตร่ตรอง!!! ต่างกันแล้วใช่ไหม ... พูดไตร่ตรองแล้วไม่ไตร่ตรอง ... หาวิธีไตร่ตรองแล้วใช่ไหม?
จะเข้าใจเห็นมากขึ้นได้อย่างไร? ถ้าไม่มีการฟังจะเข้าใจขึ้นไหม ... แค่นี้ต้องถามหรือ? ... ถ้าเราคิด ... ที่เราฟังน่ะเพื่อที่จะเข้าใจจากการที่ผู้ที่ได้ตรัสไว้แล้วทรงแสดงให้เราไตร่ตรอง พระองค์เอาความเข้าใจของพระองค์มาให้เราไม่ได้ มีแต่ค่อยๆ พิจารณาว่า ทุกคำจริงไหมและนิสัยเดิมค่อยๆ เปลี่ยนตามความเข้าใจขึ้น ละเอียดขึ้น
ธรรมเตือนใจ ... เก็บไว้ในหทัย ... ณ กาลครั้งหนึ่ง สนทนาธรรมที่ร้านเรดชิลลี่ คาเฟ่ 3 พ.ย. 66 เช้า
ปัญญาเกิดไม่ได้ถ้าขาดการไตร่ตรอง
ศึกษาธรรมเพื่ออะไร? เพื่อจะตอบ เพื่อจะตาม เพื่อเข้าใจสิ่งที่กำลังมีซึ่งลึกซึ้ง
เป็นเรื่องละทั้งหมด แต่ละเองไม่ได้ ต้องเข้าใจ เข้าใจเองก็ไม่ได้ ต้องไตร่ตรองจนละเอียดขึ้นเป็นปกติ เริ่มผิดปกติเมื่อไหร่ เมื่อคิดจะทำ เมื่อต้องการจะรู้
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ ด้วยความเคารพยิ่ง
ยินดีในกุศลจิตครับ