ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น.
ข้อความบางตอน จากการสนทนาธรรม กับท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ณ อาคารมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๔ ถอดเทปบันทึกเสียง โดย คุณสงวน สุจริตกุล
"อิริยาบถ" คือ อาการของรูปธรรม-แต่ละประเภท-ที่เกิดขึ้น-ประชุมรวมกันแล้ว ทรงอยู่ ตั้งอยู่ ในอาการต่างๆ เท่านั้นเอง ถ้า ไม่มี รูปธรรมเหล่านั้น จะมี นั่ง นอน ยืน เดิน ฯ ได้ไหม
รูปธรรม-แต่ละรูป เกิดแล้ว ก็ต้องดับไป ไม่เหลือเลย คำ-ที่บัญญัติเรียก ว่า นั่ง นอน ยืน เดิน จะมีได้ไหม ถ้า ไม่มี "รูปธรรม-แต่ละประเภท" เกิดขึ้น-ประชุมรวมกัน เมื่อรู้ "ความจริง" ว่า รูปธรรมทั้งหลาย ไม่ได้นั่ง นอน ยืน เดิน ฯลฯ จึง "เพิก-อิริยาบถ" และ "รู้" ว่า ไม่มี อิริยาบถ ก็ต่อเมื่อ "ปัญญา" รู้-ลักษณะของรูปธรรม-แต่ละรูป-ซึ่งเกิดขึ้นประชุมรวมกันเมื่อเกิดแล้ว ก็ดับไป ตามเหตุ ตามปัจจัย จนกว่า "ปัญญา" ได้อบรมขึ้น จนรู้ชัด-ในสภาพธรรม-ตามความเป็นจริงเข้าใจ-ตามความเป็นจริง ว่า อิริยาบถ นั่ง นอน ยืน เดิน ฯลฯ ไม่มี "ปัญญา" รู้-ตรง-ลักษณะ-ของนามธรรม หรือ รูปธรรมแต่ละอย่าง แต่ละทาง แต่ละขณะไม่พ้นไปจาก ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจ ซึ่งไม่ปะปนกันเลย
"ความเห็นผิด" ละให้หมดทันทีไม่ได้ แต่ ค่อยๆ ละได้ เมื่อ "ความเห็นถูก" ค่อยๆ เพิ่มขึ้น
มีผู้ถามว่า...."อิริยาบถ ปิดบังทุกข์ อย่างไร"
.
อ. อรรณพ หอมจันทร์ "อิริยาบถ" คือ การสมมติ.!เนื่องจากมี "รูปแต่ละประเภท-ประชุมรวมกัน"และ มีความเป็นไป-ของรูป-ที่ประชุมรวมกัน นั้นๆ จึงสมมติ เรียกว่า เป็นรูปร่าง เป็นอิริยาบถ นั่ง นอน ยืน เดิน ฯลฯถ้าจะให้ตรง...."อิริยาบถ" มี ขณะไหน.?
มี ขณะที่ "คิด" เช่น ขณะที่กำลังคิดว่า "นั่ง" ท่านอาจารย์เคยถามว่าขณะที่ "เห็น" ขณะนั้น "คิดว่านั่ง" หรือเปล่า.?ตามความเป็นจริง........ขณะที่ "จิตเห็น" เกิดขึ้นขณะนั้น มี เจตสิกเกิดร่วมด้วย เพียง ๗ ประเภท
ไม่มี วิตก-เจตสิก (ตรึก-นึกถึง-อารมณ์นั้น) เกิดร่วมด้วย.เพราะฉะนั้นขณะที่กำลังเห็น ขณะนั้น ไม่มี การคิดว่านั่งหรือ ขณะที่กำลังหลับสนิท (จิตเป็นภวังค์) มีการคิดว่า นั่ง นอน ยืน เดิน หรือเปล่า.....?ข้อความที่ว่า "อิริยาบถ ปิดบังทุกข์" มีอยู่ในพระไตรปิฎกแต่ ผู้ฟัง ควรพิจารณา.!
เมื่อไม่เข้าใจถึงความละเอียดลึกซึ้ง ของพระธรรม ก็คิดเผินๆ และ อาจจะเข้าใจผิด ว่า "ทุกข์" ในที่นี้ หมายถึงเฉพาะ "ทุกข์กาย"จึงมีการเปลี่ยน อิริยาบถ-ที่เมื่อยจากการนั่ง ด้วยการลุกขึ้นยืน เดิน นอน ฯลฯ หรือ เมื่อไม่เห็น "ทุกข์" ที่เข้าใจว่า เป็นทุกข์กายก็อยากเห็นทุกข์ โดยคิดว่า ต้องอยู่ในอิริยาบถเดิมนานๆ เช่น นั่งนานๆ เพื่อที่จะได้เห็นทุกข์นั่นเป็นความเห็นผิด.....ที่ "ยึดถือ" ว่า อิริยาบถ มีจริงและ เข้าใจผิด ว่า "ทุกข์" หมายถึง ทุกข์กาย เท่านั้น.ทั้งหมดดังกล่าว เป็น ความคิดว่า มี "ตัวตน"จึงพยายามไปจดจ้อง....เพื่อให้ เห็น "ทุกข์"แต่ ไม่เข้าใจ ใน "ลักษณะ-ของทุกข์" จริงๆ
มีข้อความที่ว่า "เดิน ก็รู้ ว่า เราเดิน...นั่ง ก็รู้ ว่า เรานั่ง"
.
ท่านอาจารย์ ควรเข้าใจใน "โวหาร-เทศนา" ของพระผู้มีพระภาคฯ พระผู้มีพระภาคฯ ทรงใช้ "โวหาร" เพื่อทรงแสดง "ธรรม" ธรรม ที่เป็น นามธรรม หรือ รูปธรรม.นามธรรม หรือ รูปธรรมหนึ่ง-รูปธรรมใดนั่ง นอน ยืน เดิน...ได้หรือเปล่า เพราะฉะนั้นสำหรับผู้ที่ไม่ได้ศึกษาพระธรรม...ไม่เข้าใจความหมายของ "รูปธรรม"ไม่เข้าใจ "ลักษณะ-ของรูปธรรม-แต่ละอย่าง"ก็เข้าใจว่า มีอิริยาบถ ที่เรียกว่า "นั่ง"ทุกคน ย่อมรู้จัก อาการนั่งรู้จักในฐานะที่ทรงอยู่ ตั้งอยู่ ในอาการนั่งแต่ ตามความเป็นจริง ต้องมี รูปธรรม-หลายประเภท-ที่เกิดขึ้น-ประชุมรวมกัน จึงมีการทรงอยู่ ตั้งอยู่ ในอาการต่างๆ และ ทุกคน ก็รู้ใน "บัญญัติ"แม้ว่าไม่เรียกชื่อ...ก็รู้จัก ว่า อาการอย่างนี้ เป็นอาการหนึ่งแล้วแต่ว่าจะเป็นอาการที่เรียกว่า นั่ง นอน ยืน เดิน ฯลฯการใช้ คำ (โวหาร) เพื่อให้เข้าใจตรงกัน เพื่อ หมายรู้แต่ ควรรู้ "ตามความเป็นจริง" โวหารเทศนา ที่พระผู้มีพระภาคฯ ทรงแสดงคือ "คำ-สอน" ที่แสดงถึง "ความจริง" ว่า ทุกอย่าง เป็น "ธรรม"
"ธรรม" คือ นามธรรม หรือ รูปธรรม.จากข้อความที่แสดงในพระไตรปิฎก ที่ว่า"นั่ง ก็ให้รู้ นอน ก็ให้รู้ ฯ"แต่ ต้องเป็น "รู้" ที่ประกอบด้วย "สติ-สัมปชัญญะ" (สติ-ปัญญา) เช่น ขณะที่กำลังนั่ง หรือ กำลังยืน เป็นต้นขณะนั้น......มี "รูปธรรมใด" กำลังปรากฏ.!ต้องเป็น "ปัญญา"ที่ "รู้" ว่า รูปธรรมใด...กำลังเกิด-ปรากฏ-ทางหนึ่ง-ทางใดไม่ใช่ การรู้ท่าทางต่างๆ ที่เรียกว่า นั่ง นอน ยืน เดิน ฯลฯและถ้าไม่ใช้คำว่า "เพิก"แต่เข้าใจ ว่า ไม่มี-อิริยาบถ ก็ได้.!บางท่านคิดว่า ต้องมีตัวตน ไปเพิก คือ ไปเอาออก หรือ ทำให้ไม่มีแต่ ขณะใด ที่ "ปัญญา" รู้-รูปธรรม-ที่เกิด-ปรากฏขณะนั้น ว่ารูปธรรม แต่ละรูปนั้น มี "ลักษณะ" อย่างไรขณะนั้น..........ไม่มี "อิริยาบถ" ใดๆ เลย
ขออนุโมทนา
"ปัญญา" รู้-ตรง-ลักษณะ-ของนามธรรม หรือ รูปธรรมแต่ละอย่าง แต่ละทาง แต่ละขณะ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ