ตายเมื่อวัยหนุ่มสาว ไม่ทันได้ฟังเมื่อถึงวัยชรา
โดย ธรรมทัศนะ  8 ม.ค. 2550
หัวข้อหมายเลข 2615

ผู้ที่สะสมมาดีได้ฟังและศึกษาธรรม ตั้งแต่อายุน้อยๆ ในวัยที่ร่างกายยังแข็งแรง ดวงตายังแจ่มใสอยู่ นับว่าเป็นผู้ที่โชคดีอย่างยิ่ง


เคยได้ยินคตินิยมของชนชาติหนึ่ง ซึ่งเก่งในการค้าขายอย่างมาก ท่านเล่าสู่ดิฉันฟังว่า เมื่อเล็กให้ตั้งใจเรียนและขยันช่วยงานบ้าน พอถึงวัยหนุ่มแข็งแรงให้ตั้งใจทำงาน ประหยัด และหาเงินสะสมมากๆ เมื่อถึงวัยชราจะได้สบายแล้วค่อยเข้าวัดทำบุญเมื่อถึงวัยเกษียณก็ได้ เพราะสะสมทรัพย์ไว้พอเลี้ยงตัวและไม่ลำบากแล้ว มองกันทางโลกแบบด้านเดียว ก็อาจเห็นว่าคตินิยมนี้ ใช่เลย แต่ถ้าได้มองดูสิ่งที่เกิดขึ้นกันอย่างจริงๆ บนโลกใบนี้แล้ว จะเห็นว่า มีคนตายเมื่อวัยหนุ่มสาว วัยทำงาน ไม่ทันได้หอบเงินไปทำบุญที่วัดเมื่อแก่ตามคตินิยมที่ท่องไว้จนขึ้นใจ ก็มีเป็นจำนวนมากมายนัก



ความคิดเห็น 1    โดย medulla  วันที่ 8 ม.ค. 2550

กราบอนุโมทนาค่ะ ดิฉันจะตั้งใจศึกษาพระธรรมให้เข้าใจยิ่งขึ้นต่อไป แม้จะเริ่มเมื่ออายุ21 แต่อาจตายในอีกวินาทีที่จะถึงก็ได้ จะพยายามไม่ประมาทในการศึกษาธรรม


ความคิดเห็น 3    โดย sthanind  วันที่ 8 ม.ค. 2550

อายุของแต่ละชีวิตย่อมแตกต่างกัน แต่การใฝ่ใจในธรรมะยิ่งต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเพราะการสั่งสมมาไม่เหมือนกัน ใครมีศรัทธาได้ตั้งแต่หนุ่มสาว ย่อมมีโอกาสมากกว่าคนอื่น


ความคิดเห็น 4    โดย supakorn  วันที่ 8 ม.ค. 2550
ขออนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 5    โดย shumporn.t  วันที่ 8 ม.ค. 2550

ขอเชิญรับฟังได้ด้วยนะค่ะ

ถึงกาลที่บุญกุศลให้ผลได้ฟังพระธรรม


ความคิดเห็น 6    โดย natmarchy  วันที่ 8 ม.ค. 2550

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 7    โดย muja  วันที่ 8 ม.ค. 2550

เสียโอกาสและเวลาไปมากเหลือเกิน เพราะวิบากกรรมที่ทำในอดีตชาติ มีอำนาจชักนำชีวิตให้ห่างไกลอาจารย์ผู้สอน นานหลายปี เพิ่งจะมีกุศลส่งในคราวนี้ แต่จิตใจใฝ่ในทางนี้มาโดยตลอด แม้จะมีเวลาเพียงช่วงสั้นๆ ที่จักได้รับฟังธรรม แต่ก็ตั้งใจอย่างยิ่งค่ะ


ความคิดเห็น 8    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 8 ม.ค. 2550

สภาพธัมมะทั้งหลายเป็นอนัตตา ปุถุชนยังมีความตระหนี่อยู่ ตราบใดที่ยังไม่ใช่พระ-โสดาบัน เราก็ยังต้องยอมรับว่ายังมีความยินดีพอใจในทรัพย์กันทั้งนั้น และก็ยังมีการสะสมทรัพย์อยู่ ข้อนี้เป็นธรรมดา แต่จะใช้ทรัพย์ที่ได้มาแล้วอย่างไร จะแบ่งปันทรัพย์ที่ได้มาแล้วอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับปัญญา ดังนั้นเมื่อเราฟังพระธรรม ปัญญาก็จะเจริญขึ้นว่าควรจะใช้ทรัพย์อย่างไรครับ ดังตัวอย่างในพระไตรปิฎก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 159



๕. ชนสันธชาดก

ว่าด้วยเหตุที่ทำจิตให้เดือดร้อน

[๑๖๔๙] พระเจ้าชนสันธะ ได้ตรัสอย่างนี้ว่า เหตุที่จะทำให้จิตเดือดร้อนนั้นมีอยู่ ๑๐ ประการ บุคคล ไม่กระทำเสียในกาลก่อนแล้ว ย่อมเดือดร้อนในภาย- หลัง. [๑๖๔๐] บุคคลเมื่อยังเป็นหนุ่ม ไม่ทำความ พยายามยังทรัพย์ให้เกิดขึ้น ครั้นแก่ลงหาทรัพย์ไม่ได้ ย่อมเดือดร้อนภายหลังว่า เมื่อก่อนเราไม่ได้แสวงหา ทรัพย์ไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺเพ ความว่า บุคคลเมื่อคราวเป็นหนุ่มครั้งแรกทีเดียว ไม่กระทำความบากบั่น ครั้นแก่ลงหาทรัพย์ไม่ได้ ต้องเดือดร้อนเศร้าโศก เห็นคนทั้งหลายมีความสุข ตนเองเป็นอยู่ลำบาก ย่อมเดือดร้อนในภายหลังอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราไม่ได้แสวงหาทรัพย์เอาไว้ ครั้นแก่ลงย่อมลำบาก เพราะฉะนั้น เมื่อต้องการจะมีความสุขในเวลาแก่ ต้องทำงานมีกสิกรรมเป็นต้น ที่ชอบธรรม แต่เมื่อยังเป็นหนุ่มทีเดียว

เรื่องการใช้ทัพย์

ข้อความบางตอนจาก ปัตตกัมมสูตร พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 200 ดูก่อนคฤหบดี ธรรม ๔ อย่างนี้แล เป็นทางให้ได้ธรรม ๔ ประการอันเป็นที่ปรารถนารักใคร่ชอบใจ หาได้โดยยากในโลกนั้น ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกนั้น ย่อมเป็นผู้ทำกรรมที่สมควร ๔ ประการด้วยโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยความหมั่นขยัน ที่สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน ที่ต้องทำงานจนเหงื่อไหล ที่ชอบธรรม ที่ได้มาโดยธรรม กรรมที่สมควร ๔ประการคืออะไรบ้าง คือ อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เลี้ยงตน เลี้ยงมารดาบิดา บุตร ภริยาบ่าว ไพร่ คนอาศัย เพื่อนฝูง ให้เป็นสุขเอิบอิ่มสำราญดี ด้วยโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยความหมั่นขยัน ที่สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน ที่ต้องทำงานจนเหงื่อไหลที่ชอบธรรม ที่ได้มาโดยธรรม นี้ กรรมที่สมควรข้อที่ ๑ ของอริยสาวกนั้นเป็นการชอบแก่เหตุแล้ว เป็นการสมควรแล้ว เป็นการใช้ (โภคทรัพย์) โดยทางที่ควรใช้แล้ว อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมบำบัดอันตรายทั้งหลาย ที่เกิดแต่ไฟก็ดี เกิดแต่น้ำก็ดี เกิดแต่พระราชาก็ดี เกิดแต่โจรก็ดี เกิดแต่ทายาทผู้เกลียดชังกันก็ดีย่อมทำตนให้สวัสดี (จากอันตรายเหล่านั้น) ด้วยโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยความหมั่นขยัน ฯลฯ ที่ได้มาโดยธรรม นี้กรรมที่สมควรข้อที่ ๒ ของอริยสาวกนั้น

เป็นการชอบแก่เหตุแล้ว เป็นการสมควรแล้ว เป็นการใช้ (โภคทรัพย์) โดยทางที่ควรใช้แล้ว อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมเป็นผู้ทำพลี ๕ คือญาติพลี (สงเคราะห์ญาติ) อติถิพลี (ต้อนรับแขก) ปุพพเปตพลี (ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย) ราชพลี (ช่วยราชการ) เทวตาพลี (ทำบุญอุทิศให้เทวดา) ด้วยโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยความหมั่นขยัน ฯลฯ ที่ได้มาโดยธรรม นี้เป็นกรรมที่สมควรข้อที่ ๓ของอริยสาวกนั้น เป็นการชอบแก่เหตุแล้ว เป็นการสมควรแล้ว เป็นการใช้ (โภคทรัพย์) โดยทางที่ควรใช้แล้ว อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมตั้ง (บริจาค) ทักษิณาทานอย่างสูง ที่จะอำนวยผลดีเลิศ มีสุขเป็นวิบาก เป็นทางสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้เว้นไกลจากความมัวเมาประมาท มั่นคงอยู่ในขันติโสรัจจะ ฝึกฝนตนอยู่ผู้เดียว รำงับตนอยู่ผู้เดียว ดับกิเลสตนอยู่ผู้เดียว ด้วยโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยความหมั่นขยัน ฯลฯ ที่ได้มาโดยธรรม นี้เป็นกรรมที่สมควรข้อที่ ๔ ของอริยสาวกนั้น เป็นการชอบแก่เหตุแล้ว เป็นการสมควรแล้ว เป็นการใช้ (โภคทรัพย์) โดยทางที่ควรใช้แล้ว ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกนั้นย่อมเป็นผู้ทำกรรมที่สมควร ๔ นี้ ด้วยโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยความหมั่นขยัน ที่สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน ที่ต้องทำงานจนเหงื่อไหล ที่ชอบธรรม ที่ได้มาโดยธรรม ดูก่อนคฤหบดี โภคทรัพย์ทั้งหลายของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ถึงความหมดเปลืองไป เว้นเสียจากกรรมที่สมควร ๔ ประการนี้ โภคทรัพย์เหล่านี้เรียกว่าหมดไปโดยไม่ชอบแก่เหตุ หมดไปโดยไม่สมควร


ความคิดเห็น 9    โดย orawan.c  วันที่ 8 ม.ค. 2550

เป็นบุญที่สะสมมาจริงๆ จึงมีโอกาสได้ฟังพระธรรม ที่มีค่ามหาศาล ซึ่งไม่มีอะไรเปรียบเทียบได้จริงๆ จึงขอกราบอนุโมทนา ท่านอ. สุจินต์ ที่เคารพรักยิ่ง และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่ช่วยเอื้อเฟื้อเกื้อกูล


ความคิดเห็น 10    โดย wannee.s  วันที่ 9 ม.ค. 2550

ผู้ที่ได้ฟังธรรมะเป็นผู้เคยสะสมบุญไว้แต่ปางก่อน และได้อยู่ในประเทศที่มีคำสอนของพระพุทธเจ้า ได้คบสัตบุรษ ตั้งไว้ชอบ ท่านได้ลาภที่ประเสริฐแล้วหนอที่ได้ฟังธรรมะ


ความคิดเห็น 11    โดย อิสระ  วันที่ 11 ม.ค. 2550
ขออนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 12    โดย pornpaon  วันที่ 13 ม.ค. 2550

ขออนุโมทนาค่ะ ปุถุชนคนเราย่อมต้องขวนขวายสะสมทรัพย์ เพื่อการยังตนให้เป็นผู้ปราศจากความหิวในอาหารและน้ำ เพื่อยังตนให้ห่างไกลจากโรคาพาธอันเกิดจากการกระทบของลมฟ้าอากาศในเคหะสถานอันตนหามาโดยชอบ เพื่อยังตนมิให้เป็นผู้อุจาดจากการปราศจากอาภรณ์สวมใส่ และต้องรู้จักการใช้จ่ายในการอันควร มีการให้ทาน เป็นต้น การสะสมทรัพย์อันควรจึงต้องรีบทำเมื่อยังเยาว์ เช่นเดียวกับการจักได้มาซึ่งทรัพย์อันประเสริฐ (อริยทรัพย์) ยิ่งต้องเร่งขวนขวาย กระทำการสะสมกุศลกรรมในทุกๆ ทาง ผู้สะสมมาดี ย่อมเป็นผู้มีโอกาสได้สะสมเพิ่มอีกในปัจจุบันชาติตั้งแต่เมื่ออายุยังน้อย และย่อมจะเป็นผู้ได้ใช้สอย (รับผล) ผลของการสะสมนั้นในอนาคตกาลทั้งใกล้และไกล


ความคิดเห็น 13    โดย เรือนพร  วันที่ 16 ม.ค. 2550

ใครไปก็ได้ใช่ไหมคะมูลนิธิฯ เห็นภาพกิจกรรมแล้วก็อยากจะไป แต่คงไม่มีโอกาสเพราะ

อยู่ต่างจังหวัดไม่เคยไปกรุงเทพฯ


ความคิดเห็น 14    โดย study  วันที่ 16 ม.ค. 2550

ใครไปก็ได้ครับ รับข้อูลของสถานที่ มูลนิธิ

กรุณาติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของมุลนิธิ ทางโทรศัพท์ หมายเลข 02 468 0239

ดูแผนที่ไปมูลนิธิฯ คลิกที่นี่


ความคิดเห็น 15    โดย pamali  วันที่ 28 ก.ย. 2553

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะุ


ความคิดเห็น 16    โดย chatchai.k  วันที่ 28 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ