ผู้ที่ศึกษาพระอภิธรรมโดยละเอียดจะทราบว่า จิตบางประเภท รู้ปรมัตถอารมณ์
เพียงอย่างเดียว เช่น ปัญจทวารวิถีจิต ตั้งแต่อาวัชชนะ จักขุวิญญาณ.......... ฯลฯ
โลกุตตรจิต ๘ เป็นต้นรู้เพียงปรมัตถเป็นอารมณ์ จิตบางประเภทรู้บัญญัติเป็นอารมณ์
อย่างเดียว เช่น รูปาวจรจิตจิต บางประเภทรู้ได้ทั้งปรมัตถ์และบัญญัติ ได้แก่ กุศลจิต
อกุศลจิต เป็นต้น ส่วนภวังคจิตมีอารมณ์เดียวกับจิตในเวลาใกล้ตายในชาติที่แล้ว คือในขณะก่อนตายรู้อารมณ์อะไรเมื่อภวังคจิตเกิดขึ้นย่อมมีอารมณ์เดียวกัน ตามหลักฐานในอภิธรรมมัตถสังคห ดังนี้
อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกาปริเฉทที่ ๓ ....แต่จิตที่พ้นจากทวาร คือปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และจุติจิต มีอารมณ์แม้ทั้ง ๖ อย่าง ที่ทวาร ๖ ถือเอาในภพอื่น เป็นปัจจุบัน และอดีตโดยมาก ตามสมควรแก่
การสมภพ หรือเป็นบัญญัติที่เรียกกันว่า กรรม กรรมนิมิต และคตินิมิต ฯ
อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา
ในอาลัมพนสังคหะนั้น มีการสงเคราะห์โดยอาการ ๗ อย่าง คือ ในอารมณ์ที่เป็นกามวจร ได้จิต ๒๕, ในอารมณ์ที่เป็น
มหัคคตะ ได้จิต ๖, ในอารมณ์ที่เป็นบัญญัติ ได้จิต ๒๑,
ในอารมณ์คือพระนิพพาน ได้จิต ๘ ฯ ในอารมณ์ที่พ้นจากโลกุตตระ ได้จิต ๒๐, ในอารมณ์ทั้งหมด เว้นอรหัตตมรรค อรหัตตผลได้จิต ๕ ในอารมณ์ทุกอย่าง (ไม่มีเว้น) ได้จิต ๖ ฯ
ภวังคจิตทำหน้าที่ดำรงรักษาภพชาติ ภวังคจิต คือ จิตที่ไม่ใช่วิถีจิต พ้นจากวิถีจิต เรียกว่า วีถีมุติจิต ภวังคจิตรู้อารมณ์เดียวกับชวนจิตสุดท้ายก่อนจุติจิตของชาติที่แล้ว
1. ภวังคจิต ไม่เป็นทั้งกุศลและอกุศล เพราะเป็นวิบากจิต ใช่หรือไม่?
2. อารมณ์ที่ภวังคจิตรู้ ต้องเป็นกุศลหรืออกุศล ใช่หรือไม่?
๑. ภวังคจิตเป็นวิบากจิต
๒. อารมณ์ของภวังค์จิต คือ อารมณ์ ๖ อย่างใดอย่างหนึ่ง (ในภพก่อน)