๖. อรรถกถา อุทยัพพยานุปัสสนาญาณุทเทส ว่าด้วยอุทยัพพยานุปัสสนาญาณ
โดย บ้านธัมมะ  23 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 40817

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 53

มหาวรรค

ญาณกถามาติกา

๖. อรรถกถา อุทยัพพยานุปัสสนาญาณุทเทส

ว่าด้วยอุทยัพพยานุปัสสนาญาณ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 53

๖. อรรถกถาอุทยัพพยานุปัสสนาญาณุทเทส

ว่าด้วย อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ

คำว่า ปจฺจุปฺปนฺนานํ ธมฺมานํ วิปริณามานุปสฺสเน ปญฺา ความว่า ปัญญาในการเห็นความแปรไป คือความดับไปแห่งธรรมคือ เบญจขันธ์ ในภายในที่เป็นปัจจุบันด้วยอำนาจสันตติ. จิตแม้กำหนดความเกิดขึ้นว่า ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ครั้นเกิดขึ้นแล้วก็ย่อมดับไป ดังนี้ ก็ชื่อว่าตั้งอยู่ในความแตกดับไปเหมือนกัน, เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า การเกิดขึ้นแม้ไม่ได้กล่าวไว้แล้วก็เป็นอันกล่าวไว้เหมือนกัน. อีกอย่างหนึ่ง การเกิดขึ้นแห่งปัจจุบันธรรมทั้งหลาย ย่อมเป็นอันกล่าวแล้วด้วยทัสนะ เพราะสำเร็จการเห็นความเกิดขึ้น.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 54

จริงอยู่ เว้นอุทยะคือการเกิดขึ้นเสีย ความเกิดขึ้นแห่งธรรมทั้งหลายก็ย่อมไม่สำเร็จ, เพราะฉะนั้น แม้เมื่อไม่กล่าวว่า ปัญญาในการตามเห็นความเกิดขึ้นและความแปรไปแห่งปัจจุบันธรรมทั้งหลาย ก็พึงทราบว่า เป็นอันกล่าวแล้วเหมือนกัน.

อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ย่อมเกิดแก่พระโยคีบุคคลผู้บรรลุสัมมสนญาณ ตามที่กล่าวแล้วในลำดับว่า ก็การเห็นความเกิดขึ้น ย่อมสำเร็จเพราะคำนั้นกำหนดตามพระบาลีว่า อุทยพฺพยานุปสฺสเน าณํ แปลว่า ปัญญาในการตามเห็นการเกิดและความดับไป ดังนี้ แล้วก็กำหนดการเกิดขึ้นและความดับไปในสังขารธรรมที่กำลังปรากฏในสัมมสนญาณนั่นเอง แล้วปรารภอุทยัพพยานุปัสสนาเพื่อทำการกำหนดสังขารธรรมทั้งหลาย. เพราะว่าญาณนั้น ท่านเรียกว่า อุทยัพพยานุปัสสนา เพราะตามเห็นความเกิดและความดับ.