恐懼是什麼? 恐懼能被控制?
ความกลัว คืออะไร? เราสามารถควบคุมความกลัวได้ไหม?
問:請問阿姜如何可以不會心生恐懼?
ผู้ถาม: ขอเรียนถามอาจารย์ว่าทำอย่างไรจึงจะไม่ให้เกิดความกลัว?
Ajhan Sujin:你能夠控制不讓恐懼的心生起嗎?
อ.สุจินต์: คุณสามารถที่จะควบคุมไม่ให้จิตที่กลัวเกิดขึ้นได้ไหม?
問:不能控制。
ผู้ถาม: ควบคุมไม่ได้
Ajhan Sujin:既然你明白恐懼是無法被控制,那麼你是否應該要知道為何不能受控制?你知道無法控制它(恐懼),但是你可以瞭解它。
อ.สุจินต์: ในเมื่อเข้าใจแล้วว่าความกลัวไม่อาจควบคุมได้ ก็ควรที่จะรู้ว่าเพราะเหตุอะไรจึงควบคุมไม่ได้? ควบคุมความกลัวไม่ได้ แต่ว่าสามารถเข้าใจได้
問:當看到體型很大隻的狗迎面而來,我就會莫名的感到非常害怕,然而我不清楚為何我會害怕?
ผู้ถาม: ในขณะที่เห็นสุนัขตัวใหญ่ที่อยู่ตรงหน้า อยู่ๆ ก็รู้สึกหวาดกลัวมาก ซึ่งเราก็ไม่เข้าใจว่าทำไมจึงกลัว?
Ajhan Sujin:這個就是法,害怕、恐懼就是一種實相。當你在害怕時會覺得快樂嗎?
อ.สุจินต์: นี่คือธรรมะ ความหวาดกลัว ความกลัว คือสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ในขณะที่กำลังกลัวขณะนั้นมีความสุขไหม?
問:害怕時不會有快樂。
ผู้ถาม: ขณะที่กลัวไม่มีความสุข
Ajhan Sujin:因為這是兩種不同的實相。那麼害怕是心還是心所?
อ.สุจินต์: เพราะว่านี่เป็นสภาพธรรมสองอย่างที่ต่างกัน ความกลัวเป็นจิตหรือเจตสิก?
問:害怕是一個心所。
ผู้ถาม: ความกลัวเป็นเจตสิกอย่างหนึ่ง
Ajhan Sujin:的確。害怕這個心所也是自然地生起,它是無法被控制的。
อ.สุจินต์: ค่ะ ความกลัว เจตสิกประเภทนี้เกิดขึ้นเป็นธรรมดา ไม่สามารถบังคับบัญชาได้
問:但為何其他人並不會感到害怕?請問要如何才不會害怕?
ผู้ถาม: เพราะเหตุใดคนอื่นเขาจึงไม่กลัว? ขอเรียนถามว่าทำอย่างไรจึงจะไม่กลัว?
Ajhan Sujin:雖然其他人對狗並不會感到害怕,但他們是否也會害怕其它的東西?
อ.สุจินต์: คนอื่นเขาจะไม่กลัวสุนัข แต่เขาก็กลัวสิ่งอื่นใช่ไหม?
問:會的。
ผู้ถาม: ใช่
Ajhan Sujin:由於我們還存在著無明,因此才會感到害怕。當我們不再感到害怕時,在那時我們已經成為聖者。 假如我們不想害怕,那麼我們就必須研習佛法,從佛法當中聽聞到真理並去瞭解真理。當你真正的瞭解到所有生起的法,是有其適當的因緣條件而生起,且它是不受控制的,那麼在那個時候你就不會想著要去刻意控制它。
อ.สุจินต์: เนื่องจากเรายังอยู่ในความไม่รู้ จึงรู้สึกกลัว เมื่อใดที่ไม่รู้สึกกลัวแล้ว เมื่อนั้นก็เป็นพระอริยบุคคล สมมติว่าไม่อยากกลัว ก็ควรอย่างยิ่งที่จะศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรมและเข้าใจในสิ่งที่มีจริง เมื่อใดที่เข้าใจจริงๆ ว่าธรรมะที่เกิดขึ้นทุกอย่างเป็นไปตามเหตุปัจจัย และไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร เมื่อนั้นก็จะไม่มีความคิดที่จะจงใจตั้งใจจดจ้องควบคุมธรรมะ
問:請問阿姜這是否也意謂著無明的存在?
ผู้ถาม: นั่นหมายความว่าโมหะยังมีอยู่ใช่ไหม?
Ajhan Sujin:的確。那麼無明是一種實相還是“我”?
อ.สุจินต์: แน่นอน ดังนั้นโมหะเป็นสภาพที่มีจริงอย่างหนึ่งหรือว่าเป็นเรา?
問:無明是實相(心所)。
ผู้ถาม: โมหะคือสิ่งที่มีจริง
問:請問老師您對佛法如此的深入與瞭解,是否也已經不再有恐懼或害怕?
ผู้ถาม: อาจารย์มีความเข้าใจที่ลึกซึ้งอย่างยิ่ง จึงไม่มีความหวาดหวั่นหรือความกลัวแล้วใช่ไหม?
Ajhan Sujin:有誰不會害怕呢?除非我們已經到達徹底的根除染污雜質成為聖者,那麼就不會再有任何的恐懼與害怕生起。在經典故事之中有一位相當有修為的女善士名叫律薩卡,他在七歲時就已經證得初果,但是她的孫女逝世時,她依然會傷心。聖者共有四個階段,當逐漸體證到三果時才會沒有恐懼生起,而證得四果即是所謂的阿羅漢。我們研習佛法不是為了要求得到什麼果位,而是要正確的瞭解生命的實相,倘若在還沒有努力之前就想著要獲得結果,當有這樣的想法時對於修行是一種障礙。
อ.สุจินต์: ใครที่จะไม่กลัวบ้าง? นอกเสียจากว่าจะดับกิเลสเป็นพระอริยบุคคล เมื่อนั้นก็จะไม่มีความกลัวใดๆ เกิดขึ้นอีกเลย ในชาดกมีเรื่องที่กล่าวถึงอุบาสิกาท่านหนึ่งชื่อ วิสาขา ขณะที่ท่านอายุ ๗ ขวบ ท่านบรรลุเป็นพระอริยบุคคลขั้นแรก แต่ตอนที่หลานสาวของท่านสิ้นชีวิต ท่านก็ร้องไห้เสียใจ พระอริยบุคคลทั้งหมดมี ๔ ระดับ เมื่อบรรลุอริยบุคคลระดับที่ ๓ จึงจะไม่มีความกลัวใดๆ เกิดขึ้นอีกเลย และพระอริยบุคคลระดับที่ ๔ คือพระอรหันต์ การศึกษาพระธรรมไม่ใช่เพื่อจะบรรลุเป็นอริยบุคคลระดับนั้นระดับนี้ แต่เพื่อเข้าใจชีวิตถูกต้องตามความเป็นจริง ถ้ายังไม่มีความเข้าใจวัตถุประสงค์ของการศึกษาพระธรรม ก็มุ่งที่จะได้ผล ซึ่งเมื่อใดที่คิดอย่างนั้น เมื่อนั้นก็เป็นเครื่องกั้นในการศึกษา
問:請問阿姜當我們有慈悲心時,是否就不會有恐懼呢?
ผู้ถาม: ขณะที่มีความกรุณาก็จะไม่มีความกลัวใช่ไหม?
Ajhan Sujin:所謂的慈愛與悲憫它們和恐懼,都是在不同時刻生起的,而慈愛是譬如對他人友善等,悲憫則是不忍見他人之苦,欲拔除他人的痛苦。 也因此心的生滅是極為快速,這一刻恐懼生起下一刻可能就不會恐懼害怕,心是無常變化的。由於心的生滅是極其快速,導致我們會以為看到和思考是在同一個時間出現。
อ.สุจินต์: ไม่ว่าจะเป็นเมตตา กรุณา หรือความกลัว ทั้งหมดไม่ได้เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน เช่น เมตตา มีความเป็นมิตรเป็นเพื่อน กรุณา คือช่วยเหลือให้ผู้อื่นพ้นจากความทุกข์ การเกิดดับของจิตรวดเร็วประมาณมิได้ ขณะนี้ความกลัวเกิดขึ้น ขณะถัดไปก็อาจจะไม่กลัวก็เป็นได้ จิตแปรเปลี่ยนไปไม่เที่ยง เนื่องจากจิตเกิดดับรวดเร็วสุดที่จะประมาณ จึงทำให้เราเข้าใจผิดว่าขณะที่เห็นและคิดเกิดขึ้นพร้อมกัน
問:請問阿姜是否當慈愛與悲憫累積越多時,就可以消除恐懼?
ผู้ถาม: หากว่าเมตตาและกรุณาสะสมมากขึ้นก็จะสามารถกำจัดความกลัวใช่ไหม?
Ajhan Sujin:這是否是因為想要以慈愛跟悲憫,來消除你自己的恐懼?
อ.สุจินต์: นี่เป็นเพราะอยากจะใช้เมตตาและกรุณามากำจัดความกลัวของตัวเองใช่ไหม?
問:是的。
ผู้ถาม: ใช่
Ajhan Sujin:那麼這是否是帶著貪愛想要獲得什麼?然而慈愛與悲憫是為他人的利益設想,並非是為了自己的利益,因此這樣的心並不能稱之為慈愛與悲憫。 假如當你看到一隻很兇的狗,如果有生起慈愛與悲憫,那麼你就不會感到害怕。 我們要去瞭解恐懼和慈愛以及悲憫 它們是不一樣的法,有不同的特質。 慈愛與悲憫是屬於善心,能直接覺知到慈愛與悲憫的特徵是需要透過培養覺知與智慧一起生起。 不論如何,必須要先知道不善的危險,看到善的價值,才能有機會培養所謂的慈愛與悲憫。
อ.สุจินต์: นี่คือความต้องการที่อยากจะได้รับผลบางอย่างใช่ไหม? เมตตาและกรุณาต้องเป็นไปด้วยการคำนึงถึงประโยชน์ของผู้อื่น ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ตนเอง เพราะฉะนั้น หากเป็นไปเพื่อประโยขน์ของตนเอง นั่นไม่ใช่จิตที่เมตตาหรือกรุณา สมมติว่าเห็นสุนัขที่ดุมากตัวหนึ่ง แล้วก็เกิดความเมตตากรุณา ในขณะนั้นก็ย่อมไม่มีความรู้สึกกลัว เราควรที่จะเข้าใจความกลัว ความเมตตา ความกรุณา ว่าเป็นสภาพธรรมที่ไม่เหมือนกัน มีลักษณะที่แตกต่างกัน เมตตาและกรุณา เป็นกุศลธรรม ซึ่งการที่จะรู้ลักษณะของเมตตาหรือกรุณาได้ ต้องด้วยปัญญาที่เกิดพร้อมสติ อย่างไรก็ตาม ก่อนอื่นควรอย่างยิ่งที่จะรู้ถึงโทษภัยของอกุศลธรรมและคุณค่าของกุศลธรรมก่อน จึงจะเป็นโอกาสที่จะเจริญเมตตาและกรุณาได้
問:請問阿姜倘若是無我,那麼在死亡心生起之前剛好有不善的業生起,投生到傍生道那麼是否就無需感到恐懼?因為是無我。
ผู้ถาม: หากว่าไม่มีเรา ในขณะที่ก่อนจุติจิตเกิด มีอกุศลกรรมเกิดขึ้น ถ้าเป็นอย่างนั้น การจะไปปฏิสนธิในภพภูมิใดก็ไม่ต้องรู้สึกกลัวแล้วเพราะว่าไม่มีเรา
Ajhan Sujin:這是由不同的因緣條件所生起的業報,想投生到哪裡是不能被控制的,但無論投生為人或傍生都不離心和心所以及色法所生起。
อ.สุจินต์: วิบากต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็ย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัย อยากจะไปเกิดที่ไหนก็ไม่อาจบังคับบัญชาได้ ไม่ว่าจะไปเกิดเป็นมนุษย์หรือภพภูมิอื่นๆ ก็ไม่อาจพ้นไปจาก จิต เจตสิก รูป ที่เกิดขึ้นเป็นไป
問:倘若沒有我那麼為何能知道並沒有我?
ผู้ถาม: ทำอย่างไรถึงจะรู้ว่าไม่มีเรา?
Ajhan Sujin:唯有智慧能瞭解只有法沒有我。
อ.สุจินต์: มีเพียงปัญญาเท่านั้นที่สามารถเข้าใจว่ามีเพียงธรรมะ ไม่มีเรา
敬感恩阿姜舒淨 (Ajhan Sujin Boriharnwanaket) 的恩惠
น้อมเคารพในคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
謹以此施法之功德與我們在輪迴裡每一世的父母 師長 同修 親友 仙人 各位讀者及其他一切眾生分享
กุศลในการนี้ ข้าพเจ้าขออุทิศแด่บิดามารดาในทุกภพทุกชาติ ครูบาอาจารย์ ญาติมิตรสหาย เทวดา และผู้อ่าน รวมถึงสัตว์ทั้งหลาย
By line group Just Dhamma
หมายเหตุ
ที่มา : การสนทนาธรรมออนไลน์ระหว่างท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ กับ ชาวจีน
สรุปใจความภาษาจีน โดย 陳品彤 เฉินผิ่นถง (คุณแพท)
แปลภาษาไทย โดย คุณปาล สว่างพัฒนกุล (黃如蓮)
อ่านหัวข้ออื่นๆ คลิกที่นี่ ... บทความแปลภาษาจีน
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ
กราบอนุโมทนาค่ะ