การอดทนเมื่อมีผู้ทำความเสียหาย หมายถึง ไม่โต้ตอบ ไม่ไปแก้ไขหรือแก้ตัว ไม่อธิบายไม่เสวนาหรือเปล่าคะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
อดทนเมื่อมีผู้อื่นที่ทำให้เสียหาย ก่อนอื่นก็ควรเข้าใจความหมาย ของคำว่า อดทนให้ถูกต้องก่อนครับว่า อดทนในที่นี้ หมายถึงอะไร
อดทน เป็นสภาพธรรมที่มีจริงซึ่งก็ไม่พ้นจากสภาพธรรมที่เป็นนามธรรมที่เป็น จิตเจตสิกที่เ่กิดขึ้น ความอดทน เป็นเจตสิกฝ่ายดี ที่เป็น อโทสเจตสิก เป็นความไม่โกรธและเป็นกุศลในขณะนั้น ดังนั้น ความอดทน ที่เป็น ขันติ เป็นอโทสเจตสิก จะต้องเป็นสภาพธรรมฝ่ายดี ที่เป็นกุศล ไม่ใช่อดทนด้วยอกุศล ครับ ดังนั้น กิริยาภายนอก ไม่สามารถตัดสินได้เลยว่า ขณะนั้นอดทนหรือไม่ แต่ใจขณะนั้นเองต่างหากที่ตัดสินว่า อดทนหรือไม่ครับ ขณะใดที่กุศลจิตเกิด มีอโทสเจตสิกเกิดร่วมด้วย มีความอดทนที่เป็นขันติ ไม่โกรธในขณะนั้น และอดทนที่จะเป็นอกุศลด้วย แต่กิริยาภายนอก ที่ไม่โต้ตอบ เงียบ แต่ใจเป็นอกุศลในขณะนั้น จะกล่าวว่าอดทนไม่ได้ เพราะอกุศลไม่อดทน
ดังนั้น จากคำกล่าวที่ว่า การอดทนเมื่อมีผู้ทำความเสียหาย หมายถึง ไม่โต้ตอบ ไม่ไปแก้ไขหรือแก้ตัว ไม่อธิบายไม่เสวนาหรือเปล่าคะ
การไม่โต้ตอบ จึงเป็นได้ทั้ง อกุศลที่ไม่ใช่ความอดทน และ เป็นกุศลที่เป็น ขันติ เป็นความอดทนในขณะนั้น เช่น ไม่โต้ตอบ แต่จิตใจโกรธขุ่นเคือง ขณะนั้นไม่อดทน หรือคิดว่า หากแสดงความไม่อดทนพููดไป คนจะมองไม่ดี จึงไม่พูด แต่ใจก็โกรธ ขุ่นเคืองขณะนั้นไม่อดทนแล้ว ครับ
ความอดทน เมื่อมีผู้อื่นทำความเสียหาย จึงหมายถึง จิตเป็นกุศลในขณะนั้น ที่ไม่โกรธมีเมตตา และอดทน ต่อถ้อยคำ หรือ กาย วาจาที่ผู้อื่นทำความเสียหายให้ ครับ ดังนั้น ความอดทนที่เป็นขันติ จึงมีหลายระดับ ตามระดับของปัญญา ที่เป็นความอดทน ขันติที่อดทนต่อ หนาว ร้อน ด้วยจิตเป็นกุศลไม่เดือดร้อน อดทนต่อคำว่าร้าย และกายที่ไม่ดีของผู้อื่นที่ทำความเสียหาย ด้วยการพิจารณาด้วยการคิดนึก ว่า ควรเห็นใจคนที่ทำไม่ดีว่าเขาจะต้องได้รับผลของกรรมไม่ดี ไม่ควรโกรธ และ มีเมตตา หวังดีกับผู้นั้น เพราะ ขณะนั้น เขามีความไม่รู้ เพราะถ้ารู้ จะไม่ทำเลย นี่ก็เป็นตัวอย่าง ขันติที่เกิดจากปัญญาขั้นคิดพิจารณา และ ขันติขั้นสูง ที่เป็นการเจริญวิปัสสนา ขณะที่ผู้อื่นทำความเสียหาย ก็ไม่โกรธ เพราะขณะนั้น ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฎทางตา หรือทางหู ที่เป็นแต่เพียงเสียง ไม่ใช่เสียงของคนอื่น เป็นแต่เพียง ธรรม เป็นต้น จึงไม่โกรธเพราะเป็นกุศลที่ประกอบด้วยปัญญาที่รู้ตามความเป็จริงว่าเป็นแต่เพียงธรรม เป็นขันติขั้นสูง ครับ อดทนที่จะไม่เป็นอกุศล เพราะรู้ความจริงนั่นเอง
ความอดทน จึงไม่ได้หมายความว่าไม่โต้ตอบ หรือ ไม่พูดคุย ไม่สนทนาเลย แต่ จิตขณะนั้น อดทนด้วยกุศลและก็มีเมตตา ก็ชื่อว่าอดทนด้วย เมื่อมีเมตตา ก็อาจพูดวาจาที่ดี เหมาะสมด้วยจิตที่ดี กับผู้ว่าร้าย ทำร้ายได้ ด้วยจิตที่เมตตา ด้วยความอดทนในขณะนั้นได้ครับ ก็ชื่อว่าอดทนต่อผู้ทำความเสียหายแล้ว ความอดทนจึงไม่ได้หมายถึง ไม่พูด ไม่เสวนาเลย เพราะมีเมตตา กล่าววาจาที่ดี เป็นต้น ครับ ดังนั้น ความอดทน จึงเป็นสภาพธรรมที่เป็นนามธรรม ที่เป็นกุศลจิต สำคัญที่จิตเป็นสำคัญ ไม่ใช่เพียงการตัดสินภายนอกเท่านั้น ครับ แต่หากเป็นจิตที่มีเมตตาและความอดทนที่เป็นขันติแล้ว ไม่มีทางเลย ที่จะเป็นการกระทำทางกาย วาจาที่ไม่ดีเลย ไม่ว่าผู้อื่นจะทำดี หรือ ไม่ดีให้ก็ตามครับ การศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม จนปัญญาเจริญขึ้น ปัญญานั้นเองที่จะทำให้ ความอดทน ที่เป็นขันติและกุศลธรรมประการต่างๆ เจริญขึ้นครับ
ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
บุคคลผู้ควรโกรธ ไม่มี ไม่มีคำสอนใดในทางพระพุทธศาสนาแม้แต่บทเดียวที่สอนให้โกรธ สอนให้โกรธตอบ สอนให้เป็นอกุศล (แม้จะเล็กน้อย) ไม่มีเลย มีแต่คำสอนที่เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของกุศลธรรม ขัดเกลากิเลส ซึ่งเป็นความไม่ดีทั้งหลาย จนกว่าจะสามารถดับได้จนหมดสิ้น ถึงแม้คนอื่นเขาจะเป็นคนไม่ดีอย่างไร ก็เป็นเรื่องของเขา ควรหรือที่เราจะเก็บความไม่ดีของผู้อื่นเ้ข้ามาไว้ในใจของตนเอง เราควรให้ให้อภัย ดีกว่า พร้อมทั้งถ้ามีโอกาสที่จะช่วยเหลือเขาได้ ก็ควรช่วย นี้แหละคือความเจริญขึ้นของกุศลธรรมในชีวิตประจำวัน และประการที่สำคัญพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่า ผู้มีปัญญาเท่านั้น ย่อมเป็นผู้อดทนต่อความเสียหายที่ผู้อื่นกระทำกับตนได้ ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะใด น้อยหรือมากเพียงใดก็ตาม
แต่ในทางตรงกันข้าม ผู้ไม่มีปัญญา ย่อมไม่อดทนต่อความเสียหายที่ผู้อื่นกระทำให้กับตน แต่จะโกรธตอบ ทำร้ายตอบด้วยวิธีการต่างๆ ความเสียหายที่ผู้อื่นกระทำกับผู้มีปัญญาย่อมทำให้ท่านเป็นผู้มีความอดทนมากขึ้น แต่คนที่ไม่มีปัญญา เมื่อผู้อื่นทำความเสียหายให้ ย่อมเพิ่มความโกรธมากขึ้น สะสมอกุศลเพิ่มขึ้นซึ่งไม่เป็นประโยชน์เลยแม้แต่น้อย นี่ก็เป็นความต่างกันที่เห็นได้ชัดระหว่างผู้ที่มีปัญญา กับ ผู้ที่ไม่มีปัญญา เพราะฉะนั้น ปัญญา เป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุดในชีวิต ประเสริฐกว่าทรัพย์ภายนอกอย่างเทียบกันไม่ได้ เพราะทรัพย์ภายนอก เช่น แก้ว แหวน เงิน ทอง บางครั้งบางคราวก็ทำให้เกิดทุกข์ เดือดร้อน นำมาซึ่งภัยอันตรายมากมาย แต่ปัญญา นำมาซึ่งคุณประโยชน์แก่ชีวิตอย่างเดียว ไม่นำความทุกข์เดือดร้อนใดๆ มาให้เลย
เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงควรฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม สะสมความเข้าใจไปตามลำดับ ซึ่งจะเป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นแห่งปัญญา และกุศลธรรมประการอื่นๆ ก็จะเจริญขึ้นด้วย ครับ.
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขันติ คือ ความอดทน เป็นหนึ่งใน บารมี ๑๐ ประการ ผู้ที่จะถึงฝั่งคือ พระนิพพานจะต้องอบรมเจริญบารมีทั้ง ๑๐ ประการ ทุกบารมีที่บำเพ็ญประกอบด้วยปัญญา จึงจะเป็นหนทางที่จะนำไปสู่การดับกิเลส และการพ้นทุกข์ ค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
"อดทนต่ออกุศลครับ"
ขอบคุณ และขออนุโมทนาในกุศลศรัทธาของทุกๆ ท่านครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
"...แต่ปัญญา นำมาซึ่งคุณประโยชน์แก่ชีวิตอย่างเดียว ไม่นำความทุกข์เดือดร้อนใดๆ มาให้เลย เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงควรฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม สะสมความเข้าใจไปตามลำดับ ซึ่งจะเป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นแห่งปัญญา และกุศลธรรมประการอื่นๆ ก็จะเจริญขึ้นด้วย..."
ขอบพระคุณ และ ขออนุโมทนาครับ
เพิ่งทราบเลยค่ะว่าความอดทนที่แท้จริงคืออดทนที่จะไม่เป็นอกุศลจิต ถ้างั้นความอดทนแบบคนทั่วไป ก็ไม่ใช่ความอดทนที่แท้จริง
ขอบพระคุณมากค่ะ ขออนุโมทนา
"...ผู้มีปัญญาเท่านั้น ย่อมเป็น ผู้อดทนต่อความเสียหายที่ผู้อื่นกระทำกับตนได้..."
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
กราบนอบน้อมพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า
ฟังพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงความจริงของสภาพธรรม ที่ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน จึงอดทนที่จะเข้าใจสภาพธรรมที่เกิดปรากฏว่า ไม่ใช่เรา
กราบเท้าบูชาพระคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างสูงยิ่งค่ะ
ขออนุโมทนาครับ