อาจารย์สุจินต์ มีความมุ่งมั่นในการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้เกิดแก่ผู้รับสาร โดยกล่าวว่า “ก็มีความหวังดีที่จะให้ผู้ฟังเข้าใจ สำหรับตัวดิฉันเองไม่ได้หวังอะไรเลย นอกจากหวังให้ผู้ฟังมีความเข้าใจถูกต้อง เพราะฉะนั้นแม้ว่าเขาจะเข้าใจถูกต้องแม้สักนิดหนึ่งก็เป็นผลของการที่ได้เผยแพร่ธรรมะ การแสดงธรรมนั้น ไม่ได้หมายถึงเฉพาะการเทศน์ การแสดงปาฐกถาหรือการบรรยายธรรมเท่านั้น แต่ไม่ว่าจะเป็นธรรมข้อหนึ่ง ข้อใด หรือว่าเรื่องหนึ่งเรื่องใดที่เข้าใจถูกต้องตามเหตุผล และสภาพความเป็นจริงของธรรมนั้นๆ แล้ว เมื่อมีโอกาสก็ชี้แจงให้คนอื่นเข้าใจด้วย ไม่ว่าจะเป็นที่ไหนหรือขณะใดก็ได้ ขณะนั้นก็เป็นการแสดงธรรมและบุคคลที่จะแสดงธรรมด้วยนั้นก็มีอยู่ตลอดเวลาในโอกาสที่สมควร เช่น ชี้แจงธรรมที่ควรเข้าใจและควรประพฤติปฏิบัติกับคนในครอบครัว ในวงศ์ญาติ ในหมู่มิตรสหาย หรือ แม้แก่คนอื่น ศาสนาอื่น ที่มีความสนใจใคร่จะฟังธรรมก็ได้”
จากหนังสือ ..บทบาทของ ..อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ในการเผยแผ่พุทธธรรม โดย พระธนนาถ นิธิปญฺโญ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 88
[๒๐๐] ดูก่อนคฤหบดีบุตร อาจารย์ผู้เป็นทิศเบื้องขวา อันศิษย์บำรุงด้วยสถาน ๕ คือ ด้วยลุกขึ้นยืนรับ ๑ ด้วยเข้าไปยินคอยต้อนรับ . ด้วยการเชื่อฟัง ๑ ด้วยการปรนนิบัติ ๑ ด้วยการเรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ ๑.
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 580
เราข้ามแล้วพึงให้สัตว์ข้าม เราพ้นแล้วพึงให้สัตว์พ้น เราฝึกแล้วพึงให้สัตว์
ฝึก เราสงบแล้วพึงให้สัตว์สงบ เราหายใจคล่องแล้วพึงให้สัตว์หายใจคล่องเรานิพพานแล้วพึงให้สัตว์นิพพาน เราบริสุทธิ์แล้วพึงให้สัตว์บริสุทธิ์ เราตรัสรู้แล้วพึงให้สัตว์ตรัสรู้ ดังนี้. ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขออนุโมทนา
สาธุ
ขออนุโมทนาครับ