[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 918
เถราปทาน
ปิลินทวรรคที่ ๔๐
สัพพกิตติกเถราปทานที่ ๓ (๓๙๓)
ว่าด้วยอานิสงส์การสรรเสริญธรรม
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 918
สัพพกิตติกเถราปทานที่ ๓ (๓๙๓)
ว่าด้วยอานิสงส์การสรรเสริญธรรม
[๓๙๕] เราเป็นพราหมณ์ผู้ทรงชฎาและหนังสัตว์ เป็นผู้ซื่อตรง มีตบะ ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้นายกของโลก ทรงรุ่งเรืองดัง ดอกกรรณิการ์ โชติช่วงดังดวงรูปรุ่งโรจน์ดังดาวประกายพรึก เปรียบเหมือนสายฟ้าในอากาศ ไม่ทรงครั่นคร้าม ไม่ทรง สะดุ้งกลัว ดังพญาไกรสรราชสีห์ ทรงประกาศแสงสว่างแห่ง พระญาณ ทรงย่ำยีพวกเดียรถีย์ ทรงช่วยเหลือสัตว์โลกนี้ ทรงตัดความสงสัยทั้งปวง ไม่ทรงหวาดหวั่นดังพญาเนื้อฉะนั้น จึงถือเอาผ้าเปลือกไม้กรองลาดลง ถ ที่ใกล้พระบาท.
หยิบเอากลัมพักมาชโลมทาพระตถาคต ครั้นชโลมทา พระสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้ชมเชยพระองค์ผู้เป็นนายกของโลก ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 919
ข้าแต่พระมหามุนี พระองค์ทรงข้ามพ้นโอฆะแล้ว ทรง ยังโลกนี้ให้ข้ามพ้น ทรงยังพระญาณอันประเสริฐสูงสุดให้ โชติช่วงด้วยแสงสว่างแห่งพระญาณ.
ทรงประกาศธรรมจักร ทรงย่ำยีเดียรถีย์อื่น ทรงเป็นผู้ กล้าหาญ ทรงชนะสงครามแล้ว ยังแผ่นดินให้หวั่นไหว.
คลื่นในมหาสมุทรย่อมแตกในที่สุดฝั่ง ฉันใด ทิฏฐิทั้งปวง ย่อมแตกทำลายในเพราะพระญาณของพระองค์ ฉันนั้น.
ข่ายตาเล็กๆ ที่เขาเหวี่ยงลงไปในสระแล้ว สัตว์ทั้งหลาย ที่อยู่ภายในข่าย เป็นผู้ถูกบีบคั้นในขณะนั้น ฉันใด ข้าแต่ พระองค์ผู้นิรทุกข์ พวกเดียรถีย์ในโลก เป็นผู้หลงงมงายไม่ อาศัยสัจจะ ย่อมเป็นไปภายในพระญาณอันประเสริฐของ พระองค์ ฉันนั้น.
พระองค์เท่านั้นเป็นที่พึ่งของผู้ที่ว่ายอยู่ในห้วงน้ำ เป็น นาถะของผู้ไม่มีความผูกพัน เป็นสรณะของผู้ที่ตั้งอยู่ในภัย เป็นผู้นำหน้าของผู้ต้องการความพ้น.
เสด็จเที่ยวไปผู้เดียว ไม่มีใครเหมือน ทรงประกอบด้วย พระเมตตากรุณา ทรงมีปัญญา ประกอบการเสียสละ มี ความชำนาญ คงที่ เป็นที่อยู่แห่งคุณ เป็นนักปราชญ์ ปราศจากความหลง ไม่ทรงหวั่นไหว ไม่มีความสงสัย เป็น ผู้พอพระทัย มีโทสะอันคายแล้ว ไม่มีมลทิน ทรงสำรวม มีความสะอาด ล่วงธรรมเครื่องข้อง มีความเมาไปปราศแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 920
ได้วิชชา ๓ ถึงความเจริญ ทรงถึงเขตแดน เป็นผู้หนักใน ธรรม มีประโยชน์อันถึงแล้ว ทรงหว่านประโยชน์.
ทรงยังสัตว์ให้ข้ามเปรียบเหมือนเรือ ทรงมีขุมทรัพย์ ทรงทำความเบาใจ ไม่ทรงครั่นคร้ามดังราชสีห์ ทรงฝึก พระองค์แล้ว เหมือนพญาคชสารอันฝึกแล้ว.
ในกาลนั้น ครั้นเราสรรเสริญพระมหามุนี พระนามว่า ปทุมุตตระด้วยคาถา ๑๐ คาถา ถวายบังคมพระบาทพระศาสดา แล้ว ได้ยืนนั่งอยู่.
พระศาสดาพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้รู้แจ้งโลก สมควร รับเครื่องบูชา ประทับอยู่ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
ผู้ใดสรรเสริญศีล ปัญญา และธรรมของเรา เราจัก พยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว
ผู้นั้นจักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอดหกหมื่นกัป จักเสวย ความเป็นอิสระครอบงำเทวดาเหล่าอื่น.
ภายหลัง อันกุศลมูลตักเตือนแล้ว เขาจักออกบวชใน พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระนามว่าโคดม.
ครั้นบวชแล้ว เว้นบาปกรรมด้วยภาย กำหนดรู้อาสวะ ทั้งปวงแล้ว จักไม่มีอาสวะ นิพพาน.
เมฆครางกระหึ่ม ย่อมยังพื้นดินนี้ให้อิ่ม ฉันใด ข้าแต่ พระมหาวีรเจ้า พระองค์ทรงยังข้าพระองค์ ให้อิ่มด้วยธรรม ฉันนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 921
ครั้นเราเชยชมศีล ปัญญา ธรรมและพระนายกของโลก แล้ว ได้บรรลุนิพพานอันเป็นธรรมระงับอย่างยิ่ง เป็นบทไม่ เคลื่อน.
โอหนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุพระองค์นั้นพึงดำรง อยู่นานแน่ เราก็พึงรู้แจ้งธรรมที่ยังไม่รู้แจ้ง พึงเห็นอมตบท.
ชาตินี้เป็นชาติที่สุดของเรา เราถอนภพขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.
ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้สรรเสริญพระพุทธเจ้าพระองค์ ใด ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ สรรเสริญ.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว อาสวะทั้งปวงสิ้นรอบแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี.
การที่เราได้มาในสำนักพระพุทธเจ้าของเรานี้ เป็นการมา ดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของ พระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว.
คุณวิเศษเหล่านั้น คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสัพพกตติกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ ฉะนี้แล.
จบสัพพกิตติกเถราปทาน