[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 459
ทุติยปัณณาสก์
สมณวรรคที่ ๔
๗. ตติยเสขสูตร
ว่าด้วยเสขบุคคล
อรรถกถา ตติยเสขสูตร 460
พระโสดาบัน 460
พระสกทาคามี 460
พระอนาคามี 460
พระโสดาบัน ๒๔ ประเภท เป็นต้น 462
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 34]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 459
๗. ตติยเสขสูตร
ว่าด้วยเสขบุคคล
[๕๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิกขาบทที่สำคัญ ๑๕๐ นี้ ย่อมมาสู่อุทเทสทุกกึ่งเดือน ฯลฯ(๑) นี้แล สิกขา ๓ ที่สิกขาบททั้งปวงนั่นรวมกันอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ที่เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำพอประมาณในสมาธิและในปัญญา ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุนั้นเพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ เป็นสัตตักขัตตุปรมะ เวียนว่ายตายเกิดไปในเทวโลกและมนุษยโลก ๗ ชาติเป็นอย่างมาก ก็ทำที่สุดทุกข์ (คือ ทำทุกข์ให้สิ้น สำเร็จพระอรหัต) ได้ เป็นโกลังโกละ เวียนว่ายตายเกิดไป ๒ หรือ ๓ ชาติ ก็ทำที่สุดทุกข์ได้ เป็นเอกพีชี เกิดเป็นมนุษย์อีกชาติเดียว ก็ทำที่สุดทุกข์ได้
ภิกษุนั้น เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ ราคะ โทสะ โมหะเบาบาง เป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้อีกคราวเดียว ก็ทำที่สุดทุกข์ได้
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ที่เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีลและในสมาธิ ทำพอประมาณในปัญญา ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุนั้นเพราะสิ้นสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ เป็น อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี (ผู้มีกระแสในเบื้องบนไปถึงอกนิฏฐภพ) เป็น สสังขารปรินิพพายี (ผู้ปรินิพพานด้วยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง) เป็น อสังขารปรินิพพายี (ผู้ปรินิพพานด้วยไม่ต้องใช้ความเพียรนัก) เป็น อุปหัจจปรินิพพายี (ผู้ปรินิพพานเมื่ออายุพ้นกึ่งแล้วจวนถึงที่สุด) เป็น อันตราปรินิพพายี (ผู้ปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ถึงกึ่ง)
(๑) ความพิสดารเหมือนทุติยเสขสูตร
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 460
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ที่เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ทั้งในศีล ทั้งในสมาธิ ทั้งในปัญญา ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุนั้นกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะสิ้นอาสวะด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง สำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี้
อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทำได้เพียงเอกเทศ ย่อมทำได้ดีเพียงเอกเทศ ผู้ทำได้บริบูรณ์ ย่อมทำได้ดีบริบูรณ์ เราจึงกล่าวว่า สิกขาบททั้งหลายหาเป็นหมันไม่.
จบตติยเสขสูตรที่ ๓
อรรถกถาตติยเสขสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในตติยเสขสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-
พระโสดาบัน
บทว่า โกลํโกโล ได้แก่ (พระโสดาบัน) ไปจากตระกูลสู่ตระกูล. ก็ในบทว่า ตระกูล นี้ ท่านประสงค์เอาภพ เพราะเหตุนั้น แม้ในบทว่า ๒ หรือ ๓ ตระกูล นี้ พึงทราบความหมายว่า ๒ หรือ ๓ ภพ. จริงอยู่ พระโสดาบันนี้ย่อมท่องเที่ยวไป ๒ ภพบ้าง ๓ ภพบ้าง หรืออย่างสูงที่สุดก็ ๖ ภพ เพราะเหตุนั้น พึงเห็นวิกัป (ข้อกำหนด) ในบทนี้อย่างนี้ว่า ๒ ภพบ้าง ๓ ภพบ้าง ๔ ภพบ้าง ๕ ภพบ้าง ๖ ภพบ้าง.
พระสกทาคามี
บทว่า เอกวีชี มีรูปวิเคราะห์ว่า พืชของภพหนึ่งเท่านั้นของพระอริยะนี้มีอยู่ เหตุนั้นพระอริยะนี้จึงชื่อว่าเอกวีชี (ผู้มีพืชครั้งเดียว).
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 461
พระอนาคามี
ในบทว่า อุทฺธํโสโต เป็นต้น อธิบายว่า พระอนาคามีประเภท อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี มีกระแสในเบื้องบน และไปถึงอกนิฏฐภพก็มี ๑ พระอนาคามีประเภทอุทธังโสโตนอกนิฏฐคามี มีกระแสในเบื้องบน แต่ไปไม่ถึงอกนิฏฐภพก็มี ๑ พระอนาคามีประเภทนอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ไม่มีกระแสในเบื้องบน แต่ไปถึงอกนิฏฐภพก็มี ๑ พระอนาคามีประเภท นอุทธังโสโตนอกนิฏฐคามี ไม่มีกระแสในเบื้องบน และไปไม่ถึงอกนิฏฐภพก็มี ๑.
บรรดาพระอนาคามี ๔ จำพวกนั้น พระอนาคามีใดได้บรรลุอนาคามิผลในโลกนี้แล้ว บังเกิดในชั้นสุทธาวาสมีชั้นอวิหาเป็นต้น ดำรงอยู่ในชั้นอวิหานั้นจนตราบสิ้นอายุแล้ว ก็บังเกิดในชั้นสุทธาวาสชั้นสูงๆ ขึ้นไปถึงสุทธาวาสชั้นอกนิฏฐะ พระอนาคามีนี้ชื่อว่า อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี.
ส่วนพระอนาคามีใดบังเกิดในสุทธาวาสชั้นอวิหาเป็นต้น (แต่) ไม่ปรินิพพานในสุทธาวาสชั้นนั้น ไปปรินิพพานในพรหมโลกชั้นสูงๆ ขึ้นไป โดยยังไม่ถึงสุทธาวาสชั้นอกนิฏฐะ พระอนาคามีนี้ชื่อว่า อุทธังโสโตนอกนิฏฐคามี.
พระอนาคามีใดจุติจากโลกนี้แล้วไปบังเกิดในสุทธาวาสชั้นอกนิฏฐะเลยทีเดียว พระอนาคามีนี้ชื่อว่า นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี.
ส่วนพระอนาคามีใดบังเกิดในสุทธาวาสชั้นใดชั้นหนึ่งในบรรดาสุทธาวาส ๔ มีอวิหาเป็นต้น แล้วปรินิพพานในสุทธาวาสชั้นนั้นแล พระอนาคามีนี้ชื่อว่า นอุทธังโสโตนอกนิฏฐคามี.
ส่วนพระอนาคามีผู้อุบัติในพรหมโลกชั้นใดชั้นหนึ่ง แล้วบรรลุอรหัตตผลด้วยจิตที่เป็นสสังขารและเป็นสัปปโยค พระอนาคามีนี้ชื่อว่า สสังขารปรินิพพายี.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 462
พระอนาคามีผู้บรรลุอรหัตตผลด้วยจิตที่เป็นอสังขาร เป็นอสัปปโยค พระอนาคามีนี้ชื่อว่า อสังขารปรินิพพายี.
พระอนาคามีใดบังเกิดในสุทธาวาสชั้นอวิหา ซึ่งมีอายุ ๑,๐๐๐ กัป ผ่านพ้นไปได้ ๑๐๐ กัปแรก ก็บรรลุอรหัตตผล พระอนาคามีนี้ชื่อว่า อุปหัจจปรินิพพายี.
แม้ในสุทธาวาสชั้นอตัปปาเป็นต้น ก็มีนัยนี้แล.
บทว่า อนฺตราปรินิพฺพายี ความว่า พระอนาคามีใดอายุยังไม่ทันเลยครึ่งไปก็ปรินิพพาน พระอนาคามีนั้นมี ๓ ประเภท คือ อันดับแรก พระอนาคามีท่านหนึ่งบังเกิดในสุทธาวาสชั้นอวิหาซึ่งมีอายุ ๑,๐๐๐ กัป แล้วก็บรรลุอรหัตตผลในวันที่บังเกิดนั้นเอง หากว่ามิได้บรรลุอรหัตตผลในวันที่ตนบังเกิด แต่ว่าได้บรรลุในที่สุด ๑๐๐ กัปแรก พระอนาคามีนี้ชื่อว่า อันตราปรินิพพายี ประเภทที่ ๑.
พระอนาคามีอีกท่านหนึ่ง ไม่สามารถบรรลุอรหัตตผลได้อย่างนั้น (แต่ว่า) ได้บรรลุในที่สุด ๒๐๐ กัป พระอนาคามีนี้ชื่อว่า อันตราปรินิพพายี ประเภทที่ ๒.
พระอนาคามีอีกท่านหนึ่ง แม้ในที่สุด ๒๐๐ กัป อย่างนั้น ก็ไม่สามารถ (บรรลุอรหัตตผล) ได้ (แต่ว่า) ได้บรรลุในที่สุด ๔๐๐ กัป พระอนาคามีนี้ชื่อว่า อันตราปรินิพพายี ประเภทที่ ๓. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วแล.
พระโสดาบัน ๒๔ เป็นต้น
อนึ่ง นักศึกษาพึงดำรงอยู่ในฐานะนี้ แล้วกล่าวถึงพระโสดาบัน ๒๔ จำพวก พระสกทาคามี ๑๒ จำพวก พระอนาคามี ๔๘ จำพวก และพระอรหันต์ ๑๒ จำพวก. อธิบายว่า ในศาสนานี้ มีธุระ ๒ คือ สัทธาธุระ ๑ ปัญญาธุระ ๑ มีปฏิปทา ๔ มีทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 463
ในสัทธาธุระ กับปัญญาธุระนั้น พระโสดาบันบุคคลท่านหนึ่ง ยึดมั่นด้วยสัทธาธุระจนได้บรรลุโสดาปัตติผล บังเกิดในภพหนึ่ง แล้วทำที่สุดทุกข์ได้ พระโสดาบันบุคคลท่านนี้ จัดเป็นเอกพีชีประเภทหนึ่ง พระโสดาบันบุคคลประเภทเอกพีชีนั้น มี ๔ ประเภทด้วยอำนาจปฏิปทา. พระโสดาบันบุคคลประเภทเอกพีชีผู้ยึดมั่นด้วยสัทธาธุระนี้เป็นฉันใด แม้ท่านที่ยึดมั่นด้วยปัญญาธุระก็เป็นฉันนั้น รวมเป็นว่า พระโสดาบันบุคคลประเภทเอกพีชีมี ๘ ประเภท. พระโสดาบันประเภท โกลํโกละ และพระโสดาบันประเภท สัตตักขัตตุปรมะ ก็เหมือนกัน คือ มีประเภทละ ๘ รวมเป็นว่า พระโสดาบันเหล่านี้มี ๒๔ ประเภท.
ในวิโมกข์ทั้ง ๓ พระสกทาคามีบุคคลผู้บรรลุภูมิของพระสกทาคามีด้วยสุญญตวิโมกข์ก็มี ๔ ด้วยอำนาจปฏิปทา ๔ อนึ่ง พระสกทาคามีบุคคลผู้บรรลุภูมิของพระสกทาคามีด้วยอนิมิตวิโมกข์ก็มี ๔ ผู้บรรลุภูมิของพระสกทาคามีด้วยอัปปณิหิตวิโมกข์ก็มี ๔ รวมเป็นว่า พระสกทาคามีเหล่านี้ มี ๑๒ ประเภท.
ส่วนในพรหมโลกชั้นอวิหา พระอนาคามีมีอยู่ ๕ คือ พระอนาคามีประเภทอันตราปรินิพพายีมี ๓ พระอนาคามีประเภทอุปหัจจปรินิพพายีมี ๑ พระอนาคามีประเภทอุทธังโสโตอกนิฏฐคามีมี ๑. พระอนาคามีเหล่านั้น แยกเป็น ๑๐ คือ พระอนาคามีประเภท อสังขารปรินิพพายีมี ๕ พระอนาคามีประเภทสสังขารปรินิพพายีอีก ๕. ในสุทธาวาสชั้นอตัปปาเป็นต้น ก็มีจำนวนเท่ากัน แต่ในสุทธาวาสชั้นอกนิฏฐะ พระอนาคามีประเภทอุทธังโสโตไม่มี. เพราะฉะนั้น ในสุทธาวาสชั้นอกนิฏฐะนั้น จึงมีพระอนาคามี ๘ คือ พระอนาคามีประเภท สสังขารปรินิพพายีมี ๔ พระอนาคามีประเภทอสังขารปรินิพพายีมี ๔ (เหมือนกัน) รวมเป็นว่า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 464
พระอนาคามีเหลานี้มีทั้งหมด ๔๘. แม้พระอรหันต์ก็พึงทราบว่า มี ๑๒ เหมือนพระสกทาคามี. แม้ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภารเจ้าก็ตรัสสิกขา ๓ ไว้คละกัน.
จบอรรถกถาตติยเสขสูตรที่ ๗