ขอนอบน้อมแด่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ข้อความบางตอน จากการถอดเทปวิทยุโดย คุณย่าสงวน สุจริตกุล
ท่านอาจารย์สุจินต์ สนทนาธรรมกับ คุณทรงเกียรติ
คุณทรงเกียรติ ถ้ามีการใส่ใจ มีการพิจารณา ก็สงบถ้าไม่มีการใส่ใจ ไม่มีการพิจารณา ก็ไม่สงบ
ท่านอาจารย์ ใส่ใจว่ายังไงคะ
คุณทรงเกียรติ ใส่ใจพิจารณา แล้วแต่ครับ บางทีอาจจะพิจารณาเย็นบ้าง ร้อนบ้าง เบาบ้าง แรงบ้าง อะไรต่างๆ เหล่านี้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ไม่ต้องที่ลมหายใจ ก็ได้ ใช่ไหมคะ
คุณทรงเกียรติ แต่ส่วนใหญ่
ท่านอาจารย์ ค่ะ "แต่ส่วนใหญ่" เสมอโดยปราศจากเหตุผล และความเข้าใจจริงๆ
คุณทรงเกียรติ ไม่ใช่อย่างนั้นครับ เพราะว่าลมหายใจ มันต่างกับลมส่วนอื่น เพราะว่าลมหายใจเป็นอารมณ์ของกัมมัฏฐานหนึ่งในอารมณ์กัมมัฏฐาน ๔๐
ท่านอาจารย์ แล้วลมอื่น ไม่เป็นอารมณ์หรือคะ
คุณทรงเกียรติ ลมอื่น ไม่ใช่อารมณ์ของกัมมัฏฐาน ครับ
ท่านอาจารย์ ธาตุววัฏฐาน ได้แก่อะไร จตุธาตุววัฏฐาน (จตุธาตุววัฏฐาน คือ การกำหนดพิจารณาธาตุ ๔, พิจารณาร่างกายของตนโดยสักว่าเป็นธาตุ ๔ แต่ละอย่างๆ อีกนัยหนึ่งคือ ธาตุมนสิการ ธาตุ ๔ คือ มหาภูตรูป ๔)
คุณทรงเกียรติ นั่นเป็นการพิจารณาโดยการเป็นธาตุ.
ท่านอาจารย์ ใช่ซีคะ ลม ก็คือธาตู ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เหมือนกัน ไม่ใช่มี "ชื่อ" ลมหายใจ ติดอยู่ที่ชองจมูก โดยลักษณะจริงๆ แล้วลม ก็เป็นเพียงสภาพธรรม ที่สามารถกระทบสัมผัสกายปสาทได้ เพราะฉะนั้น อย่าเพิ่งพอใจนะคะ จนกว่าจะรู้ลักษณะของจิตที่สงบจริงๆ ว่าต้องเป็น "กุศลจิต" เท่านั้นจึงจะ "สงบ" ถ้าไม่ใช่กุศลจิตแล้ว ไม่สงบ
ขณะที่กำลังเห็น นั่งเฉยๆ แล้วเห็น ใครจะรู้ หรือไม่รู้ก็ตามมีอกุศลจิตเกิดแล้ว โดยไม่รู้ ฉันใดเวลาที่ลม กระทบกายปสาท ส่วนหนึ่งส่วนใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นที่ช่องจมูก ที่แขน ทีมือ ที่เท้า โดยปกติ ก็มีอกุศลจิตเกิด แล้วจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม
เพราะฉะนั้น อย่าเพิ่งคิดว่าเมื่อลมกระทบที่ช่องจมูกแล้ว ก็ชื่อว่า ลมหายใจแล้วขณะนั้นเข้าใจว่า จิตจะสงบ เพราะชื่อว่า ลมหายใจ อย่าคิดอย่างนั้นค่ะ สภาพธรรม ต้องตรง ตามความเป็นจริง อย่าลืม ถ้าไม่ใช่กุศลจิตแล้ว ไม่สงบ เพราะฉะนั้น ต้องรู้ "ลักษณะ" ที่ต่างกันของกุศลจิตและอกุศลจิต ความสงบ จึงจะเพิ่มขึ้นได้ แล้วก็ ต้องตามเหตุ ตามปัจจัยด้วย
ขออนุโมทนา
ขออุทิศกุศล แด่คุณพ่อ คุณแม่ ญาติมิตร ที่ล่วงลับ สรรพสัตว์ ที่ล่วงรู้ได้อนุโมทนาบุญ ร่วมกันค่ะ
จงให้ทานด้วยความเคารพ จงให้ทานด้วยมือของตนเอง จงให้ทานโดยยำเกรง จงให้ทานโดยไม่โยนให้ ทิ้งให้ จาก ปายาสิราชัญญสูตร
ขออนุโมทนาครับ
จิตที่อ่อน คือสภาพจิตที่เป็นกุศล จิตที่ควรแก่การงาน คือสามารถเข้าใจพระธรรมได้ เปรียบเหมือนผ้าที่เขาซักอย่างดีแล้วขาวสะอาด ย่อมเหมาะควรแก่การย้อมค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
การจับจ้องอยู่แต่ที่เฉพาะลมหายใจ คิดตามว่า ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก คิดว่าไม่ได้คิดเรื่องอื่น แต่จริงๆ แล้ว คิดเรื่องลมหายใจ จดจ้องอยู่ที่ลมหายใจ จึงเข้าใจผิดว่านั่นคือความสงบ ที่จริงคือ คิด ว่าสงบ โดยการคิดเอาเอง
จาก คนเคยคิดเอาเองมาก่อน
ขออนุโมทนาค่ะ
สาธุ
ขออนุโมทนาครับ
การฟังพระธรรมเพื่ออบรมเจริญปัญญานั้น สิ่งที่จำเป็นที่จะต้องรู้ว่าจิตขณะใดเป็นกุศลจิตและจิตขณะใดเป็นอกุศลจิต ขณะที่เป็น "กุศลจิต" ขณะนั้นจึงจะสงบ ขณะที่กุศลจิตเกิดขณะนั้นเป็นกุศลที่เป็นไปทั้งในทาน (ทาน ปัตติทาน ปัตตานุโมทนา) ในศีล (ศีล อปจายนะ เวยยาวัจจะ) ในภาวนา (ภาวนา ธัมมเทสนา ธัมมสวนะ ทิฎฐุชุกัมม์) ขณะใดที่จิตไม่เป็นไปในทาน ศีล ภาวนา ซึ่งก็คือ บุญญกิริยาวัตถุ ๑๐ ขณะนั้นไม่ใช่กุศลจิต จึงไม่สงบ และผู้ที่จะอบรมเจริญ ความสงบขั้นสมถภาวนาต้องเป็นผู้มีปัญญาที่จะรู้ว่าจิตขณะนั้นสงบจากอกุศลคือ โลภะ โทสะ โมหะ ฉะนั้น การอบรมสมถะต้องเป็นกุศลที่ประกอบด้วยปัญญาเท่านั้น
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
อนุโมทนาคะ
ความสงบ ไม่ใช่เพียงสงบจากโทสะที่ประกอบด้วยโทมนัสเวทนาดังที่คนส่วนใหญ่ เข้าใจไปเองเท่านั้น แต่เป็นการสงบจากอกุศลทั้งปวง ทั้งอกุศลที่ประกอบด้วย โทมนัสเวทนา (รู้สึกทุกข์ใจ) อุเบกขาเวทนา (รู้สึกเฉยๆ) และโสมนัสเวทนา (รู้สึก สุขใจ)
เนื่องจากกุศลก็มีทั้งที่ประกอบด้วย อุเบกขาเวทนา และโสมนัสเวทนาเช่นกัน ดังนั้น ผู้ที่จะเจริญความสงบได้ ต้องรู้ความต่างกันระหว่างกุศลกับอกุศล ในขณะที่ธรรมะ เหล่านั้นเกิดขึ้นจริงๆ ในชีวิตประจำวัน
ซึ่งการรู้ลักษณะที่ต่างกันของกุศลและอกุศลนั้น เกิดจากการศีกษาพระธรรม และพิจารณาธรรมะตามความเป็นจริง
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ
ขออนุโมทนาค่ะ ^__^
เหมือนประตู ๔ ด้านในพระนครเขามิได้ปิดไว้ ถึงในภายในเรือนซุ้มประตูและห้องเป็นต้นจะปิดไว้อย่างดีก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ชื่อว่ามิได้รักษา มิได้คุ้มครองสิ่งของทั้งหมดไว้ในภายในพระนครได้เลย เพราะพวกโจรเข้าไปทางประตูนคร พึงกระทำตามปรารถนาได้ ฉันใด เมื่อความทุศีลเป็นต้นเกิดขึ้นแล้วในชวนะ เมื่ออสังวรนั้นมีอยู่ ย่อมเป็นอันมิได้คุ้มครอง แม้ทวาร แม้ภวังค์ แม้วิถีจิต มีอาวัชชนะเป็นต้น ฉันนั้นเหมือนกัน.
ขออนุโมทนาครับ