เรียน อาจารย์ครับ
ไม่ทราบว่ามีความคลาดเคลื่อนหรือเปล่านะครับ คือผมเข้าใจดังนี้ครับ
การที่เรามีการได้ฟังพระธรรม และได้ศึกษาพระธรรมเนี่ยครับ คือก็เข้าใจครับว่า เราเคย
ได้สะสมบุญมาแล้วในการก่อน พระธรรมก็ไม่สาธาณะกับทุกๆ คนและสภาพธรรมก็เป็น
อนัตตา เป็นสัจจะความจริงที่ไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะธรรมเป็นจริงอย่างไรก็เป็นจริงอย่าง
นั้น ที่อาจารย์ได้กล่าวไว้ในกระทู้ธรรมที่ได้อ่านที่ผ่านๆ มาครับ และเข้าใจขั้นการอ่าน
อีกครับว่า ธรรมที่เป็น กุศล และ อกุศลนั้นเป็นสังขารขันธ์ปรุงแต่งสืบต่อ เป็นการสั่งสม
สันดารตนด้วยสามารถแห่งชวนวิถี สืบขณะต่อๆ ไปทุกๆ ขณะ เฉพาะกุศล อกุศลหรือว่า
กราบเรียนถามครับ
กุศล อกุศล วิบาก กิริยา ล้วนสั่งสมสันดารตนทั้งหมดเลยหรือเปล่าครับ
และได้เข้าใจขั้นอ่าน ขั้นได้ฟัง จะถือได้ว่ามีธรรมเป็นเครื่องอยู่ เครื่องรู้ได้ไหมครับ
ขอ อาจารย์กรุณาให้ความรู้ความเข้าใจ และให้โอวาสอะไรควรไม่ควรด้วยครับ
เพราะผมเป็นผู้มีความรู้น้อย ความจำไม่ค่อยดี และก็รู้ได้ช้า กราบขอบพระคุณครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
จิต เป็นสภาพธรรมที่สะสม สันดาน หมายถึง สะสมสิ่งที่ดี และ ไม่ดีในจิตใจ แต่
จะต้องเป็นขณะที่ กุศลจิต อกุศลจิต ที่เป็นสภาพธรรมที่ดี และ ไม่ดี จึงจะสะสม
ต่อไปในจิตขณะต่อไปที่เกิดขึ้น แต่ ขณะที่ วิบาก คือ ผลของกรรม เกิดขึ้น ขณะนั้น
ทำหน้าที่ รับผลของกรรมเท่านั้น เช่น เห็น ได้ยิน เป็นต้น ขณะนั้น ไม่ได้สะสม
อุปนิสัย สะสมสันดาน ต่อไปในจิตขณะนั้น รวมทั้งกิริยาจิต มี จิตของพระอรหันต์
เป็นต้น ก็ไม่ได้สะสมสิ่งที่ดี และ ไม่ดีในขณะจิตต่อไป ครับ เพราะฉะนั้น การสะสม
ของจิต มุ่งหมายถึง กุศลจิต และ อกุศลจิตเท่านั้น ครับ
ส่วนคำถามที่ว่า
ได้เข้าใจขั้นอ่าน ขั้นได้ฟัง จะถือได้ว่ามีธรรมเป็นเครื่องอยู่ เครื่องรู้ได้ไหมครับ
ธรรม เครื่องอยู่ ในพระไตรปิฎก แสดงถึง ปัญญที่อบรมจนถึงได้ฌาน สงบจาก
กิเลส อย่างยาวนาน ชื่อว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่ อยู่ด้วยความสุขที่สงบจากกิเลส
ซึ่ง ปัญญาที่เพิ่มเริ่มจากการฟัง จากการศึกษาพระะรรม ยังไม่มาก ปัญญา ยังไม่มี
กำลังเพราะฉะนั้นก็ทำให้ยังไม่มี ความสงบจากกิเลสอย่างยาวนาน ก็เกิด กิเลส
ง่ายๆ ต่อไปในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้น ปัญญาเพียงขั้นการฟัง จึงไม่ใช่ธรรม
เครื่องอยู่ เพราะ ปัญญาน้อยมากนั่นเอง หากแต่ว่า ปัญญาทีเ่กิดจากความเข้าใจ
พระธรรม ก็เป็นการเริ่มสะสมความเข้าใจถูกเห็นถูก จะให้ปัญญาเจริญขึ้นมากๆ
ในทันทีทันใดก็ไม่ได้ ก็ต้องค่อยๆ สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปทีละเล็กทีละ
น้อย เพราะเหตุว่าสะสมความไม่รู้มานานแสนนานถูกปกคลุมมืิดมิดด้วยความไม่รู้
และกิเลสอกุศลธรรมประการต่างๆ มานานแสนนาน จึงต้องอาศัยกาลเวลาที่ยาว
นานในการสะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกซึ่งจะเป็นไปเพื่ี่อขัดเกลาความไม่รู้ซึ่งมีเป็น
อย่างมากไปทีละเล็กทีละน้อย ความเข้าใจไม่สูญหายไปจากจิต มีแต่จะสะสม
เพิ่มขึ้น ถ้าไม่ขาดการฟังพระธรรม เมื่อเห็นประโยชน์ของพระธรรม ก็จะไม่ละเลย
โอกาสที่สำคัญ ตราบใดที่ยังมีการฟังพระธรรมศึกษาพระธรรมอยู่ มีหรือที่จะไม่
เข้าใจ? ก็จะต้องเข้่าใจอย่างแน่นอน ฟังแล้วมีการพิจารณาไตร่ตรองในสิ่งที่ได้ยิน
ได้ฟัง ถ้าในขณะที่ไม่ได้ฟัง ก็สามารถที่จะพิจารณาไตร่ตรองในพระธรรมที่ได้ยิน
ได้ฟัง ได้ ที่สำคัญจะต้องไม่ใจร้อน ค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป ครับ
ซึ่ง พระอริยบุคคล ที่บรรลุธรรม มีปัญญามาก ก็ต้องมีปัญญาน้อยมาก่อนแต่ ค่อยๆ
สะสมปัญญาไปทีละน้อย ย่อมมีปัญญามากได้ในอนาคต แต่สำคัญที่สุด คือ ความ
อดทน ที่จะอบรมปัญญา เป็น จิรกาลภาวนา คือ การอบรมปัญญายาวนานต่อไป
ขออนุโมทนา ครับ
กราบขอบพระคุณครับ
ผมจะรู้สึกเดือดร้อนเกือบจะทุกครั้งครับ เมื่อได้ยินได้ฟังข้อความสะกิดใจแล้วจำไม่ค่อยได้
และก็พยายามจดบันทึกเอาไว้ แต่ด้วยที่ว่าเป็นคนมีความรู้น้อยในด้านสะกดคำเขียนช้า
เขียนไม่ค่อยถูกบ้าง พอได้ยินได้ฟังเร็วมากผ่านไปแล้วก็จำไม่ได้ จำไม่ได้เลยเอาจริงๆ
ครับ ก็ขอกราบขอบพระคุณอาจารย์อีกครั้งครับที่อาจารย์ ยังตรงนี้ครับ
กราบอนุโมทนาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ไม่พ้นไปจากความเกิดขึ้นเป็นไปของสภาพธรรมที่มีจริงๆ ในชีวิตประจำวันเลย เพราะกล่าวถึงสภาพธรรมที่มีจริงประการหนึ่ง คือ จิต, จิตเป็นใหญ่เป็นประธานการรู้แจ้งซึ่งอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นจิตประเภทใด ก็มีลักษณะเดียว คือ มีลักษณะที่รู้แจ้งอารมณ์เท่านั้น จิตหลากหลายประเภท ก็เพราะเจตสิกธรรมที่เกิดร่วมด้วย ที่จะมีการสะสมดีหรือไม่ดีก็ต้องในขณะที่เป็นกุศลกับอกุศล เท่านั้น แต่ว่าอกุศลเกิด
แล้ว กุศลเกิดแล้ว ไม่สูญหายแล้วไปไหน สะสมสืบต่อต่ออยู่ในจิตทุกๆ ขณะ
จึงทำให้เห็นถึงความแตกต่างกันของแต่ละบุคคลได้ว่า มีความประพฤติเป็นไป
อย่างไร ดีบ้าง ไม่ดี บ้าง นั้นก็เพราะเป็นไปตามการสะสม นั่นเอง เพราะฉะนั้น
แล้ว การสะสมที่ดี ที่ประเสริฐ ก็ต้องเป็นการสะสมกุศล สะสมความดี ในชีวิต
ประจำวัน ในขณะที่ความดีเกิดขึ้นเป็นไปในนั้น จิตก็เป็นจิตที่ดีงาม มีเจตสิกธรรม
ที่ดีงาม เช่น ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ เป็นต้น เกิดร่วมด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
คือ การสะสมความเข้าใจถูกเห็นถูก ด้วยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม เป็นปกติ
ในชีวิตประจำวัน เพราะไม่ขาดการฟังพระธรรม ความเข้าใจก็จะค่อยๆ เจริญขึ้น
ธรรมเป็นเครื่องอยู่ ก็มีหลายนัย สำหรับในชีวิตประจำวันแล้ว ผู้ที่เป็นคนดี
มีปัญญา ท่านจะไม่อยู่ด้วยความโกรธ ความเกลียดชังผู้อื่นเลยไม่ว่าจะเป็นใน
กรณีใดๆ ก็ตาม แต่อยู่ด้วยความดีประการต่างๆ เช่น ความเป็นผู้มีเมตตา
เป็นมิตรเป็นเพื่อนกับผู้อื่น (เมตตา) เห็นคนอื่นเดือดร้อน ก็พยายามที่จะช่วย
เหลือเท่าที่จะเป็นไปได้ (กรุณา) เมื่อผู้อื่นได้ดี มีความสุข ก็ไม่ริษยา มีแต่ความ
ชื่นชมยินดีด้วย (มุทิตา) และ เป็นผู้มีความเป็นกลาง มั่่นคง ไม่เอนเอียงไปด้วย
อำนาจของอกุศล เมื่อช่วยผู้อื่นอย่างเต็มที่แล้ว แต่ไม่สามารถทำให้ผู้นัน้พ้น
จากทุกข์ได้ ก็ไม่เดือดร้อนใจ มีความมั่นคงในเรื่องกรรมและผลของกรรม (อุเบกขา)
ประการที่สำคัญที่สุด ก็คือ อยู่ด้วยปัญญา ความเข้าใจถูกเห็นถูก ซึ่งเป็นที่พึ่งได้
ในทุกสถานการณ์ ปัญญาเกิดขึ้นเมื่อใด ไม่เคยนำความทุกข์ความเดือดร้อนมา
ให้ใครๆ เลย ดังนั้น ก็จะต้องอาศัยการสะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปทีละเล็ก
ทีละน้อยจริงๆ มีชีวิตอยู่เพื่อปัญญาปรากฏ และเมื่อมีปัญญาแล้ว ก็จะเป็นผู้ที่อยู่
ด้วยปัญญา มีปัญญา เป็นที่พึ่ง ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
วิบาก กิริยา สะสมสันดานไม่ได้ ถ้าจะสะสมสันดานต้องเป็นชวนจิต
เท่านั้น ที่สะสมฝ่ายดีและไม่ดี ค่ะ
กราบขอบพระคุณ อาจารย์ทุกๆ ท่านครับ กราบอนุโมทนาครับ