[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 100
๑๐. ผัคคุนสูตร
ว่าด้วยเรื่องบัญญัติ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 100
๑๐. ผัคคุนสูตร
ว่าด้วยเรื่องบัญญัติ
[๙๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระผัคคุนะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเมื่อจะบัญญัติ พึงบัญญัติพระพุทธเจ้าผู้ตัดตัณหาเครื่องให้เนิ่นช้าแล้ว ตัดทางได้แล้ว ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวง ปรินิพพานที่ล่วงไปแล้ว ด้วยจักษุใด จักษุนั้นมีอยู่หรือ ฯลฯ บุคคลอื่นเมื่อจะบัญญัติ พึงบัญญัติพระพุทธเจ้าในอดีตผู้ตัดตัณหาเครื่องให้เนิ่นช้าแล้ว ตัดทางได้แล้ว ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวง ปรินิพพานที่ล่วงไปแล้ว ด้วยใจใด ใจนั้นมีอยู่หรือ พระพุทธเจ้าข้า.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 101
[๑๐๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนผัคคุนะ บุคคลเมื่อจะบัญญัติ พึงบัญญัติพระพุทธเจ้าผู้ตัดตัณหาเครื่องให้เนิ่นช้าแล้ว ตัดทางได้แล้ว ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวง ปรินิพพานที่ล่วงไปแล้ว ด้วยจักษุใด จักษุนั้นไม่มีเลย ฯลฯ บุคคลเมื่อจะบัญญัติ พึงบัญญัติพระพุทธเจ้าผู้ตัดตัณหาเครื่องให้เนิ่นช้าแล้ว ตัดทางได้แล้ว ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวง ปรินิพพานที่ล่วงไปแล้ว ด้วยใจใด ใจนั้นไม่มีเลย.
จบ ผัคคุนสูตรที่ ๑๐
คิลานวรรคที่ ๓
อรรถกถาผัคคุนสูตรที่ ๑๐
ในผัคคุนสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ฉินฺนปปญฺเจ ความว่า ชื่อว่าผู้มีธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าอันขาดแล้ว เพราะตัดธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า คือตัณหาเสียได้ ชื่อว่าผู้มีทางอันตัดแล้ว เพราะตัดทาง คือตัณหานั่นเองได้แล้ว. ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า เราจะถามอะไร. แก้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ความจริง เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จล่วงลับไปแล้ว เราจะถามถึง จักษุและโสตเป็นต้น ที่ภิกษุถามไว้แล้ว อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ถ้าแม้เมื่อเจริญมรรคแล้ว ความหมุนเวียนแห่งจักษุและโสตะ เป็นต้น จะพึงหมุนเวียนในอนาคตได้ไซร้ เราจะถามถึงข้อนั้น.
จบ อรรถกถาผัคคุนสูตรที่ ๑๐
จบ คิลานวรรคที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 102
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปฐมคิลานสูตร ๒. ทุติยคิลานสูตร ๓. ปฐมราธสูตร ๔. ทุติยราธสูตร ๕. ตติยราธสูตร ๖. ปฐมอวิชชาสูตร ๗. ทุติยอวิชชาสูตร ๘. ภิกขุสูตร ๙. โลกสูตร ๑๐. ผัคคุนสูตร.