สวัสดีค่ะ อยากขอคำอธิบายของประโยคที่ว่า "เห็นธรรมในธรรม" หมายความว่าอย่างไรคะ
คำว่า "เห็นธรรมในธรรม" หมายความว่า เห็นสภาพธรรมว่า ไม่ใช่เรา คือ สภาพ ธรรมในที่นี้หมายถึง ธรรมอื่นที่นอกเหนือจาก กาย เวทนา จิต ชื่อว่า ธรรม ในธัมมา นุปัสสนาสติปัฏฐาน ได้แก่ นิวรณ์ ขันธ์ อายตนะ โพชฌงค์ สัจจะ อีกอย่างหนึ่ง เห็นธรรมในธรรม หมายถึง ไม่ใช่เห็นธรรมในกาย ไม่ใช่เห็นธรรมใจเวทนา หรือไม่ ใช่เห็นธรรมในจิต แต่เห็นธรรมในธรรม ดังคำอธิบายเห็นกายในกายจากอรรถกถาสติ ปัฏฐานสูตร
เชิญคลิกอ่านที่นี่...
เห็นกายในกาย [สติปัฏฐานสูตร]
เชิญคลิกอ่านที่นี่...
ธัมมานุปัสสนา [มหาสติปัฏฐานสูตร]
เห็นธรรมในธรรม หมายความว่าอย่างไรคะ?
เป็นเรื่องของการเจริญวิปัสสนา (การเจริญสติปัฏฐาน) ถามว่าอะไรเห็นธรรม สติ และสัมปชัญญะเห็น ไม่ใช่เราไปจดจ้องให้เห็นธรรม นี่เป็นความเข้าใจเบื้องต้นที่ สำคัญสติปัฏฐาน มี ๔
1. กายยานุปัสสนา เห็นกายในกาย หมายถึง กายในที่นี้ก็คือ มหาภูตรูป ๔ คือ ธาตุดิน (แข็ง อ่อน) ธาตุไฟ (เย็น ร้อน) ธาตุลม ตึง ไหว ลักษณะที่กล่าวมาต้องเห็นสิ่ง ต่างๆ ที่เคยยึดถือว่าเป็นกาย ว่าเป็นเพียงสภาพธัมมะ เช่น เย็น ร้อน แข็ง อ่อน เป็นต้น นี่คือเห็นกายในกาย
2. เวทนานุปัสสนา เห็นเวทนาในเวทนา โดยนัยเดียวกัน เวทนาเกิดสติก็ระลึก สภาพธัมมะที่เป็นเวทนาต่างๆ ว่าเป็นเพียงธัมมะ นี่คือเห็นเวทนาในเวทนา (ไม่มีการ บังคับ)
3.จิตตานุปัสสนา เห็นจิตในจิต ระลึกสภาพธัมมะที่เป็นจิต เช่น จิตเห็น ว่าเป็น ธัมมะไม่ใช่เรา นี่คือเห็นจิตในจิต
4. ธัมมมานุปัสสนา ตรงนี้แหละที่คุณถาม เห็นธรรมในธรรม คือ สติระลึกสภาพ ธัมมะที่นอกเหนือไปจาก กาย (มหาภูตรูป) เวทนา จิต นั่นเอง เช่น สติระลึกใน นิวรณ์ ขันธ์ ๕อายตนะ โพชฌงค์ สัจจะ ๔
ที่สำคัญเบื้องต้น คือ ธัมมะทั้งหลายเป็นอนัตตา บังคับให้สติเกิดไม่ได้ เมื่อบังคับ สติไม่ได้ ก็ไม่มีใครที่จะไปเลือกหมวดนั้น หมวดนี้ (กายา หรือเลือก ธัมมานุปัสสนา เป็นต้น) ได้ครับ
อนุโมทนาครับ
เห็นธรรมในธรรม หมายถึง พิจารณาธรรมะทั้งหลาย ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา โลกุตตรธรรม ๙ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ อย่างเช่น พระพุทธเจ้าตรัสว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเราตถาคต
จำแนกโดย เวทนา 5 อย่าง คือ
1. โสมนัสเวทนา ความรู้สึกดีใจ สุขใจ
2. โทมนัสเวทนา ความรู้สึก เสียใจ ทุกข์ใจ
3. อุเบกขาเวทนา ความรู้สึก เฉยๆ ทางใจ คือ ไม่สุขใจ ไม่ทุกข์ใจ
4. สุขเวทนา ความรู้สึกสบายทางกาย
5. ทุกขเวทนา ความรู้สึกทุกข์ทางกาย ได้รับกระทบ เย็น-ร้อน-อ่อน-แข็ง-ตึง- ไหว ที่ไม่พอดี ไม่ต้องถึงขนาดเจ็บปวดทางกาย เช่น เส้นผมที่ตกลงมาตรงหน้า ผาก ทำให้เกิดความรำคาญทางกาย ขณะนั้นก็เป็นทุกขเวทนาทางกายแล้ว ทางกาย มีเวทนา เพียง 2 อย่าง คือ สุขเวทนา หรือ ทุกขเวทนา เท่านั้น (ไม่มี อุเบกขาเวทนา)
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ