[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 173
ทุติยปัณณาสก์
โยธาชีววรรคที่ ๓
๕. ปฐมโยธาชีวสูตร
ว่าด้วยนักรบอาชีพ ๕ จําพวก
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 173
๕. ปฐมโยธาชีวสูตร
ว่าด้วยนักรบอาชีพ ๕ จำพวก
[๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ใน โลก ๕ จำพวกเป็นไฉน คือ นักรบอาชีพบางพวกในโลกนี้ เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นเท่านั้น ย่อมหยุดนิ่ง สะทกสะท้าน ไม่สามารถเข้ารบได้ นักรบอาชีพบางพวกแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ นี้เป็นนักรบอาชีพพวกที่ ๑ มีปรากฏอยู่ในโลก.
อีกประการหนึ่ง นักรบอาชีพบางพวกในโลกนี้ แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แต่พอเห็นยอดธงข้าศึกเข้าเท่านั้น ย่อมหยุดนิ่ง สะทกสะท้าน ไม่สามารถเข้ารบได้ นักรบอาชีพบางพวกแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ นี้เป็นนักรบอาชีพพวกที่ ๒ มีปรากฏอยู่ในโลก.
อีกประการหนึ่ง นักรบอาชีพบางพวกในโลกนี้ แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็นยอดธงของข้าศึกก็อดทนได้ แต่พอได้ยินเสียงกึกก้องของ ข้าศึกเข้าเท่านั้น ย่อมหยุดนิ่ง สะทกสะท้าน ไม่สามารถเข้ารบได้ นักรบอาชีพบางพวก แม้เช่นนี้ก็มีอยู่ นี้เป็นนักรบอาชีพพวกที่ ๓ มีปรากฏอยู่ ในโลก.
อีกประการหนึ่ง นักรบอาชีพบางพวกในโลกนี้ แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็นยอดธงของข้าศึกก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึก ก็อดทนได้ แต่ว่าย่อมขลาดสะดุ้ง ต่อการสัมปหารของข้าศึก นักรบอาชีพบางพวก แม้เช่นนี้ก็มีอยู่ นี้เป็นนักรบอาชีพพวกที่ ๔ มีปรากฏอยู่ในโลก.
อีกประการหนึ่ง นักรบอาชีพบางพวกในโลกนี้ แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็นยอดธงของข้าศึกก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียงกึกก้องข้าศึกก็อดทนได้ อดทนต่อการสัมปหารของข้าศึกได้ เขาชนะสงครามนั้นแล้ว
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 174
เป็นผู้พิชิตสงคราม ยึดครองค่ายสงครามนั้นไว้ได้ นักรบอาชีพบางพวก แม้เช่นนี้ก็มีอยู่ นี้เป็นนักรบอาชีพพวกที่ ๕ มีปรากฏอยู่ในโลก.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในพวกภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกัน ๕ จำพวกเป็นไฉน คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นเท่านั้น ย่อมหยุดนิ่ง สะทกสะท้าน ไม่สามารถจะสืบต่อพรหมจรรย์ไปได้ ทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพลในสิกขา บอกคืนสิกขา เวียนมาเพื่อหินเพศ. อะไรเป็นฝุ่นฟุ้งขึ้นของเธอ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมได้ฟังว่า ในบ้านหรือในนิคมโน้น มีหญิง หรือกุมารีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยผิวพรรณงามอย่างยิ่ง เธอได้ฟัง ดังนั้นแล้ว ย่อมหยุดนิ่ง สะทกสะท้าน ไม่สามารถจะสืบต่อพรหมจรรย์ไปได้ ทำให้แจ้ง ซึ่งความเป็นผู้ทุรพลในสิกขา บอกคืนสิกขา เวียนมาเพื่อหินเพศ นี้ชื่อว่า ฝุ่นฟุ้งขึ้นของเธอ นักรบอาชีพนั้นเห็น ฝุ่นฟุ้งขึ้นเท่านั้นย่อมหยุดนิ่ง สะทกสะท้าน ไม่สามารถเข้ารบได้ แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ นี้บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๑ มี ปรากฏอยู่ในพวกภิกษุ.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุแม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้น ก็อดทนได้ แต่ว่าเธอเห็นยอดธงของข้าศึกเข้าเท่านั้น ย่อมหยุดนิ่ง สะทกสะท้าน ไม่สามารถจะสืบต่อพรหมจรรย์ไปได้ ทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้ทุรพลในสิกขา บอกคืนสิกขา เวียนมาเพื่อหินเพศ อะไรชื่อว่า เป็นยอดธงของข้าศึกของเธอ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ได้ฟังว่าในบ้านหรือนิคมชื่อโน้น มีหญิงหรือกุมารีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยผิวพรรณงามอย่างยิ่ง แต่ว่าเธอย่อมได้เห็น ด้วยตนเอง ซึ่งหญิง หรือกุมารีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยผิวพรรณ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 175
งามอย่างยิ่ง เธอเห็นแล้วย่อมหยุดนิ่ง สะทกสะท้าน ไม่สามารถจะสืบต่อพรหมจรรย์ไปได้ ทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้ทุรพลในสิกขา บอกคืนสิกขา เวียนมาเพื่อหินเพศ นี้ชื่อว่า ยอดธงของข้าศึกของเธอ นักรบอาชีพนั้น เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้น ก็อดทนได้ แต่พอเห็นยอดธง ของข้าศึกเข้าเท่านั้น ย่อมหยุดนิ่ง สะทกสะท้าน ไม่สามารถเข้ารบได้ แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบ ฉันนั้น บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ จำพวกที่ ๒ มีปรากฏอยู่ในพวกภิกษุ.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุแม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้น ก็อดทนได้ แม้เห็นยอดธงของข้าศึก ก็อดทนได้ แต่พอเธอได้ยิน เสียงกึกก้องของข้าศึกเข้าเท่านั้น ย่อมหยุดนิ่ง สะทกสะท้าน ไม่สามารถจะสืบต่อพรหมจรรย์ไปได้ ทำให้แจ้ง ซึ่งความเป็นผู้ทุรพลในสิกขา บอกคืนสิกขา เวียนมาเพื่อหินเพศ อะไรชื่อว่า เป็นเสียงกึกก้อง ของข้าศึกของเธอ คือ มาตุคามเข้าไปหา ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้อยู่ในป่า โคนไม้ หรือเรือนว่างเปล่า แล้วย่อมยิ้มแย้ม ปราศรัย กระซิก กระซี้ เย้ยหยัน เธอถูกมาตุคามยิ้มแย้ม ปราศรัย กระซิกกระซี้ เย้ยหยันอยู่ ย่อมหยุดนิ่ง สะทกสะท้าน ไม่สามารถจะสืบต่อพรหมจรรย์ไปได้ ทำให้แจ้ง ซึ่งความเป็นผู้ทุรพลในสิกขา บอกคืนสิกขา เวียนมาเพื่อหินเพศ นี้ชื่อว่า เสียงกึกก้อง ของข้าศึกของเธอ นักรบอาชีพนั้น แม้เห็นฝุ่น ฟุ้งขึ้น ก็อดทนได้ แม้เห็นยอดธงของข้าศึก ก็อดทนได้ แต่พอได้ยิน เสียงกึกก้องของข้าศึกเข้าเท่านั้น ย่อมหยุดนิ่ง สะทกสะท้าน ไม่สามารถเข้ารบได้ แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ ก็มีอยู่ นี้คือ บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๓ มีปรากฏอยู่ในพวกภิกษุ.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุแม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้น ก็อดทนได้ แม้เห็นยอดธงของข้าศึก ก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึก ก็อดทนได้ แต่ว่าย่อม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 176
ขลาดต่อการสัมปหารของข้าศึก อะไรชื่อว่า เป็นการสัมปหารของข้าศึกของเธอ คือ มาตุคามเข้าไปหา ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้อยู่ในป่า โคนไม้ หรือเรือนว่างเปล่า แล้วย่อมนั่งทับ นอนทับ ข่มขืน เธอถูกมาตุคามนั่งทับ นอนทับ ข่มขืนอยู่ ไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้ทุรพล ย่อมเสพเมถุนธรรม นี้ชื่อว่า การสัมปหารของข้าศึกของเธอ นักรบอาชีพนั้น แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้น ก็อดทนได้ แม้เห็นยอดธงของข้าศึก ก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึก ก็อดทนได้ แต่ว่าย่อมขลาดต่อการสัมปหารของข้าศึก แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น บุคคลบางคน แม้เช่นนี้ก็มีอยู่ นี้คือบุคคล ผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๔ มีปรากฏอยู่ในพวกภิกษุ.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุแม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้น ก็อดทนได้ แม้เห็นยอดธงของข้าศึก ก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึก ก็อดทนได้ อดทนการสัมปหาร ของข้าศึก เขาชนะสงครามแล้ว เป็นผู้พิชิตสงคราม ยึดครองค่ายสงครามนั้นไว้ได้ อะไรชื่อว่า ชัยชนะในสงครามของเธอ คือมาตุคามเข้าไปหา ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้อยู่ในป่า โคนไม้ หรือเรือนว่างเปล่า แล้วย่อมนั่ง ทับ นอนทับ ข่มขืน เธอถูกมาตุคาม นั่งทับ นอนทับ ข่มขืนอยู่ ไม่พัวพัน ปลดเปลื้อง หลีกออกได้ แล้วหลีกไปตามประสงค์ เธอย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธออยู่ในป่า โคนไม้ หรือเรือนว่างเปล่า ย่อมนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอย่อมละอภิชฌาในโลกเสีย มีจิตปราศจาก อภิชฌาอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา เธอย่อมละความประทุษร้าย คือ พยาบาท มีจิตไม่พยาบาทอยู่ เป็นผู้มีความเกื้อกูล อนุเคราะห์สัตว์ทั้งปวง ชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากความประทุษร้าย คือ พยาบาท เธอย่อมละถีนมิทธะ ปราศจากถีนมิทธะอยู่ เป็นผู้มีอาโลกสัญญา มีสติสัมปชัญญะ ชำระจิตให้
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 177
บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ เธอย่อมละอุทธัจจกุกกุจจะ มีจิตไม่ฟุ้งซ่านอยู่ เป็นผู้มีจิตสงบ ณ ภายใน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ เธอย่อมละวิจิกิจฉา เป็นผู้ข้ามพ้นวิจิกิจฉาอยู่ หมดความสงสัยในธรรมทั้งหลาย ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา เธอละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งใจ ทำปัญญาให้ทุรพลได้แล้ว สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวแล้วอย่างนี้ เธอย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่ออาสวักขยญาณ เธอย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุเกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับอาสวะ เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตของเธอย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก นี้ชื่อว่า ชัยชนะในสงครามของเธอ นักรบอาชีพนั้น แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้น ก็อดทนได้ แม้เห็นยอดธงของข้าศึก ก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึก ก็อดทนได้ อดทนต่อการสัมปหารของข้าศึกได้ เขาชนะสงครามแล้ว เป็นผู้พิชิตสงครามแล้ว ยึดครองค่ายสงครามนั้นไว้ได้ แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ จำพวกที่ ๕ มีปรากฏอยู่ในพวกภิกษุ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในพวกภิกษุ.
จบปฐมโยธาชีวสูตรที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 178
อรรถกถาปฐมโยธาชีวสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในปฐมโยธาชีวสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โยธาชีวา ได้แก่ ผู้อาศัยการรบเลี้ยงชีพ [ทหารอาชีพ] บทว่า รชคฺคํ ได้แก่ กลุ่มละอองที่ฟุ้งขึ้นจากแผ่นดินที่แตกกระจาย เพราะการเหยียบย้ำด้วยเท้าของช้างม้า เป็นต้น. บทว่า น สนฺถมฺภติ ได้แก่ ยืนปักหลักอยู่ไม่ได้. บทว่า สหติ รชคฺคํ ได้แก่ แม้เห็นกลุ่มละอองก็อดกลั้น. บทว่า ธชคฺคํ ได้แก่ ยอดธงที่เขายกขึ้นบนหลังช้างม้า เป็นต้น และบนรถทั้งหลาย. บทว่า อุสฺสาทนํ ได้แก่ เสียงกึกก้องอื้ออึงของช้าง ม้า รถ และของหมู่ทหาร. บทว่า สมฺปหาเร ได้แก่ การประหัตประหาร แม้ขนาดเล็กน้อย ที่มาถึงเข้า. บทว่า หญฺติ ได้แก่ เดือดร้อน คับแค้นใจ. บทว่า พฺยาปชฺ ชติ ได้แก่ ถึงวิบัติ ละปกติภาพไป. บทว่า สหติ สมฺปหารํ ได้แก่ แม้ประสบการประหาร ๒ - ๓ ครั้ง ก็ทน ก็อดกลั้นได้.
บทว่า ตเมว สงฺคามสึสํ ได้แก่ สถานที่ตั้งค่ายชัยภูมิ [สนามรบ] นั้นนั่นแหละ. บทว่า อชฺฌาวสติ ได้แก่ ครอบครองอยู่ประมาณ ๗ วัน [สัปดาห์]. ถามว่า เพราะเหตุไร ตอบว่า เพราะว่า เพื่ออุปการะบำรุง ผู้ต้องอาวุธบาดเจ็บ เพื่อรู้ความชอบแห่งหน้าที่ที่ปฏิบัติมาแล้ว จะได้ปูนบำเหน็จตำแหน่ง และเพื่อเสวยสุขในความเป็นใหญ่ [ได้ชัยชนะ].
เพราะเหตุที่ พระศาสดาไม่ทรงมีกิจหน้าที่ ด้วยเหล่านักรบทั้งหลาย แต่ทรงนำข้ออุปมานี้มา เพื่อทรงแสดงบุคคล ๕ จำพวก เห็นปานนั้นในพระศาสนานี้ ฉะนั้น บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงบุคคลเหล่านั้น จึงตรัสว่า เอวเมวโข เป็นอาทิ. ในคำนั้น บทว่า สํสีทติ ได้แก่ ระทดระทวย เข้าไปใน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 179
มิจฉาวิตก. บทว่า น สกฺโกติ พฺรหฺมจริยํ สนฺตาเนตุํ ได้แก่ คุ้มครอง พรหมจริยวาส การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ที่ยังไม่ขาดสายไว้ไม่ได้. บทว่า สิกฺขาทุพฺพลฺยํ อาวิกตฺวา ได้แก่ ประกาศความถอยกำลังในสิกขา. ด้วยบทว่า กิมสฺส รชคฺคสฺมึ ตรัสว่า อะไร ชื่อว่า ปลายผงละอองของบุคคลนั้น.
บทว่า อภิรูปา แปลว่า งดงาม. บทว่า ทสฺสนียา ได้แก่ ควรแก่การชม. บทว่า ปาสาทิกา ได้แก่ นำความแจ่มใสมาให้จิต โดยการเห็นเท่านั้น. บทว่า ปรมาย ได้แก่ สูงสุด. บทว่า วณฺณโปกฺขรตาย ได้แก่ ด้วยผิวพรรณแห่งสรีระ และด้วยทรวดทรงแห่งอวัยวะ. บทว่า โอสหติ แปลว่า ทน. บทว่า อุลฺลปติ แปลว่า กล่าว. บทว่า อุชฺชคฺฆติ ได้แก่ ปรบมือหัวเราะลั่น. บทว่า อุปผณฺเฑติ ได้แก่ เยาะเย้ย. บทว่า อภินิ สีทติ ได้แก่ นั่งชิดกัน หรือนั่งร่วมที่นั่งกัน. แม้ในบทที่สอง ก็นัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า อชฺโฌตฺถรติ แปลว่า ทับ. บทว่า วินิเวเตฺวา วินิโมเจตฺวา ได้แก่ ปลดและปล่อยมือของหญิงนั้น จากที่ที่จับไว้. คำที่เหลือในข้อนั้น มีความง่ายทั้งนั้นแล. พระสูตรนี้ ตรัสทั้งวัฏฏะ และวิวัฏฏะ.
จบอรรถกถา ปฐมโยธาชีวสูตรที่ ๕