[เล่มที่ 4] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒
พระวินัยปิฎก เล่ม ๒
มหาวิภังค์ ทุติยภาค
ปาจิตติยภัณฑ์
ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๑
มุสาวาทวรรค
มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๙
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร 342/247
พระบัญญัติ 248
สิกขาบทวิภังค์ 343/248
บทภาชนีย์ 344/249
อนาปัตติวาร 348/250
มุสาวาทวรรค ทุฏุลลาโรจนสิกขาบทที่ ๙ 251
แก้อรรถเรื่องอาบัติชั่วหยาบ 251
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 4]
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 247
มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๙
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๓๔๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระ อุปนันทศากยบุตร กำลังเป็นผู้ก่อการทะเลาะกับพระฉัพพัคคีย์ ท่านต้องอาบัติ ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ แล้วได้ขอปริวาสเพื่ออาบัตินั้นต่อสงฆ์ๆ ได้ให้ปริวาส เพื่ออาบัตินั้นแก่ท่าน ก็แลสมัยนั้น ในพระนครสาวัตถีมีสังฆภัทของประชาชน หมู่หนึ่ง ท่านกำลังอยู่ปริวาส จึงนั่งท้ายอาสนะในโรงภัต พระฉัพพัคคีย์ได้ กล่าวกะอุบาสกเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลาย ท่านพระอุปนันทศากยบุตรนั่น เป็นพระประจำตระกูลที่พวกท่านสรรเสริญ ได้พยายามปล่อยอสุจิด้วยมือที่ บริโภคของที่เขาถวายด้วยศรัทธา ท่านต้องอาบัติชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฎฐิแล้ว ได้ขออยู่ปริวาสเพื่ออาบัตินั้นต่อสงฆ์ๆ ได้ให้ปริวาสเพื่ออาบัตินั้น แก่ท่าน แล้ว ท่านกำลังอยู่ปริวาส จึงนั่งท้ายอาสนะ.
บรรดาภิกษุที่มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน พระฉัพพัคคีย์จึงได้บอก อาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่อนุปสัมบันเล่า ... แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระ ผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถานพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่อนุปสัมบัน จริงหรือ.
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 248
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่อนุปสัมบันเล่า การกระทำของพวก เธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ เลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๕๘. ๙. อนึ่ง ภิกษุใด บอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุ แก่ อนุปสัมบัน เว้นไว้แต่ภิกษุได้รับสมมติ เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๔๓] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า ของภิกษุ คือ ของภิกษุรูปอื่น.
อาบัติที่ชื่อว่า ชั่วหยาบ ได้แก่ ปาราชิก และสังฆาทิเสส ๑๓.
ที่ชื่อว่า อนุปสัมบัน คือ เว้นภิกษุและภิกษุณี นอกนั้นชื่อว่า อนุปสัมบัน.
บทว่า บอก คือ บอกแก่สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต.
บทว่า เว้นไว้แต่ภิกษุได้รับสมมติ คือ ยกเว้นแต่ภิกษุที่สงฆ์ สมมติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 249
บทภาชนีย์
[๓๔๔] การสมมติภิกษุ กำหนดอาบัติ ไม่กำหนดสกุลก็มี การสมมติ ภิกษุ กำหนดสกุล ไม่กำหนดอาบัติก็มี การสมมติภิกษุ กำหนดอาบัติและ กำหนดสกุลก็มี การสมมติภิกษุ ไม่กำหนดอาบัติ ไม่กำหนดสกุลก็มี
ที่ชื่อว่า กำหนดอาบัติ คือ สงฆ์กำหนดอาบัติว่า พึงบอกตามจำนวนอาบัติเท่านี้
ที่ชื่อว่า กำหนดสกุล คือ สงฆ์กำหนดสกุลว่า พึงบอกในสกุล มีจำนวนเท่านี้
ที่ชื่อว่า กำหนดอาบัติและกำหนดสกุล คือ สงฆ์กำหนดอาบัติ และกำหนดสกุลไว้ว่า พึงบอกตามจำนวนอาบัติเท่านี้ ในสกุลมีจำนวนเท่านี้
ที่ชื่อว่า ไม่กำหนดอาบัติ ไม่กำหนดสกุล คือ สงฆ์ไม่ได้กำหนดอาบัติ และไม่ได้กำหนดสกุลไว้ว่า พึงบอกตามจำนวนอาบัติเท่านี้ ใน สกุลมีจำนวนเท่านี้.
[๓๔๕] ในการกำหนดอาบัติภิกษุบอกอาบัติอื่นนอกจากอาบัติที่สงฆ์ กำหนดไว้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ในการกำหนดสกุล ภิกษุบอกในสกุลอื่นนอกจากสกุลที่สงฆ์กำหนดไว้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ในการกำหนดอาบัติและกำหนดสกุล ภิกษุบอกอาบัตินอกจากอาบัติที่ สงฆ์กำหนดให้ ในสกุลนอกจากสกุลที่สงฆ์กำหนดให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ในการไม่กำหนดอาบัติ ไม่กำหนดสกุล บอก ไม่ต้องอาบัติ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 250
ติกปาจิตตีย์
[๓๔๖] อาบัติชั่วหยาบ ภิกษุสำคัญว่าอาบัติชั่วหยาบ บอกแก่อนุปสัมบัน เว้นไว้แต่ภิกษุได้รับสมมติ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อาบัติชั่วหยาบ ภิกษุสงสัย บอกแก่อนุปสัมบัน เว้นไว้แต่ภิกษุได้ รับสมมติ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อาบัติชั่วหยาบ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่อาบัติชั่วหยาบ บอกแก่อนุปสัมบัน เว้นไว้แต่ภิกษุได้รับสมมติ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกกฏ
[๓๔๗] ภิกษุบอกอาบัติไม่ชั่วหยาบ ต้องอาบัติทุกกฏ. ภิกษุบอกอัชฌาจารที่ชั่วหยาบก็ตาม ไม่ชั่วหยาบก็ตาม แก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อาบัติไม่ชั่วหยาบ ภิกษุสำคัญว่า อาบัติชั่วหยาบ ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
อาบัติไม่ชั่วหยาบ ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
อาบัติไม่ชั่วหยาบ ภิกษุสำคัญว่า อาบัติไม่ชั่วหยาบ ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๓๔๘] ภิกษุบอกวัตถุ ไม่บอกอาบัติ ๑ ภิกษุบอกอาบัติ ไม่บอก วัตถุ ๑ ภิกษุได้รับสมมติ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้อง อาบัติแล.
มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 251
มุสาวาทวรรค ทุฏฐุลลาโรจนสิขาบทที่ ๙
พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๙ ดังต่อไปนี้
[แก้อรรถ เรื่องอาบัติชั่วหยาบ]
ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาทั้งหลายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปาราชิก ไว้ในพระบาลีนี้ว่า อาบัติที่ชื่อว่า ชั่วหยาบ ได้แก่ปาราชิก ๔ และสังฆาทิเสส ๑๓ ดังนี้ เพื่อแสดงอรรถแห่งทุฏฐุลลศัพท์, แต่สังฆาทิเสส ทรงประสงค์เอา ในสิกขาบทนี้. ในบาลีนั้น มีการวิจารณ์ดังต่อไปนี้ ถ้าว่า เมื่อภิกษุบอก ปาราชิก ไม่พึงเป็นปาจิตตีย์ไซร้. แม้เมื่อมีศัพท์ว่าอุปสัมบัน สำหรับภิกษุ และภิกษุณี ในสิกขาบทใด ท่านไม่ประสงค์เอานางภิกษุณี, ในสิกขาบทนั้น เว้นภิกษุเสีย ที่เหลือนอกนี้ ท่านเรียกว่า อนุปสัมบัน ฉันใด, ในสิกขาบทนี้ ก็ฉันนั้น แม้เมื่อมีศัพท์ว่าทุฏฐุลละ สำหรับปาราชิกและสังฆาทิเสส ถ้าไม่ ทรงประสงค์เอาปาราชิก พระผู้มีพระภาคเจ้าก็จะพึงตรัสคำนี้เท่านั้นว่า อาบัติ ที่ชื่อว่าชั่วหยาบ ได้แก่สังฆาทิเสส ๑๓.
ในคำว่า ทุฏฐุลฺลา นาม อาปตฺติ เป็นต้นนั้น พึงมีมติของบาง อาจารย์ว่า ภิกษุใด ต้องปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้น เคลื่อนแล้วจากภิกษุภาวะ เพราะเหตุนั้น ภิกษุ เมื่อบอกอาบัติของภิกษุนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ. เมื่อมี อธิบายอย่างนี้ แม้ภิกษุผู้ด่าก็พึงต้องอาบัติทุกกฏ และต้องปาจิตตีย์เท่านั้น. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ (ในปาราชิก) ว่า บุคคลเป็นผู้ไม่ บริสุทธิ์ ต้องธรรมคือปาราชิกอย่างใดอย่างหนึ่ง, ถ้าบุคคลเป็นผู้มีความเข้าใจ ว่าบริสุทธิ์ ให้บุคคลผู้นั้นกระทำโอกาส แล้วพูดมีความประสงค์จะด่า ต้อง โอมสวาท. เมื่อบาลีถูกวิจารณ์อย่างนี้ ปาจิตตีย์นั่นแหละ ย่อมปรากฏแม้แก่
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 252
ผู้บอกอาบัติปาราชิก. จะปรากฎ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น พระอรรถกถาจารย์ เท่านั้นเป็นหลักได้ ในคำว่า ทุฏฐุลฺลา นาม อาปตฺติ นี้ เพราะ (คำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปาราชิกไว้ เพื่อทรงแสดงอรรถแห่งทุฏฐุลลศัพท์ แต่ สังฆาทิเสสทรงประสงค์เอาในสิกขาบทนี้) พระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้แล้วใน อรรถกถาทั้งปวง. การวิจารณ์แม้อย่างอื่น หามีไม่.
แม้ในเบื้องต้น ข้าพเจ้าก็ได้กล่าวไว้แล้วว่า
ธรรมและวินัยใด อันพระพุทธเจ้า ตรัสแล้ว ธรรมและวินัยนั้น อันโอรส ทั้งหลายของพระพุทธเจ้านั้นรู้แล้วอย่างนั้น นั่นเทียว ดังนี้เป็นต้น. จริงอยู่ พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลาย ย่อมทราบพระประสงค์ของ พระพุทธเจ้า. ก็คำของพระอรรถกถาจารย์นั่น บัณฑิตพึงทราบโดยบรรยาย แม้นี้ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า เว้นไว้แต่ภิกษุผู้ใด้รับสมมติ. ก็การบอกแก่ ภิกษุผู้ได้รับสมมติ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตเพื่อประโยชน์ในอันสำรวม ต่อไป คือ เพื่อประโยชน์จะไม่ต้องอาบัติเช่นนั้นอีก, และไม่ใช่เพื่อต้องการ จะประกาศเพียงโทษของภิกษุนั้น, ทั้งไม่ใช่เพื่อต้องการเกียดกันที่พึ่งของภิกษุ นั้นในพระศาสนา, และความเป็นภิกษุของผู้ต้องปาราชิกโดยไม่ต้องอาบัติเห็น ปานนั้นอีก หามีไม่ เพราะเหตุนั้น คำที่พระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ใน อรรถกถาทั้งหลายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปาราชิกไว้ เพื่อแสดงอรรถแห่ง ทุฎฐุลลศัพท์ แต่สังฆาทิเสส ทรงประสงค์เอาในสิกขาบทนี้ ดังนี้ เป็นอัน ท่านกล่าวชอบแล้ว.
ก็ในคำว่า อตฺถิ ภิกฺขุสมฺมติ อาปตฺติปริยนฺตา เป็นต้น มี วินิจฉัยดังนี้ ภิกษุสมมติ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไ่ว้นี้ไม่ได้มาในบาง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 253
สิกขาบท, แต่เพราะภิกษุสมมติตรัสไว้ในสิกขาบทนี้นั่นแล จึงควรทราบว่า สงฆ์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติเนืองๆ แล้วอปโลกน์ ๓ ครั้ง ทำด้วยความเป็นผู้ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูลแก่ภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้จักถึงความสังวรต่อไป แม้ด้วย ความละอายและความเกรงกลัวในคนเหล่าอื่นอย่างนี้.
คำว่า อทุฏฺฐุลฺลํ อาปตฺตึ อาโรเจติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส มีความว่า เป็นทุกกฏ แก่ภิกษุผู้บอกกองอาบัติแม้ทั้ง ๕. ในมหาปัจจรีท่าน ปรับอาบัติทุกกฏอย่างเดียว แม้แก่ภิกษุผู้บอกอาบัติปาราชิก.
ในคำว่า อนุปสมฺปนฺนสฺส ทุฏฺฐุลฺลํ วา อทุฏฺฐุลฺลํ วา อชฺณาจารํ นี้ ท่านกล่าวรูปความไว้ว่า สิกขาบท ๕ ข้างต้น ชื่อว่า อัชฌาจาร ชั่วหยาบ ที่เหลือชื่อว่าอัชฌาจารไม่ชั่วหยาบ, ก็สุกกวิสัฏฐิกายสังสัคคะ ทุฎฐุลลวาจา และอัตตกามะ ชื่อว่าเป็นอัชฌาจาร ของภิกษุนั้น.
สองบทว่า วตฺถุํ อาโรเจติ มีความว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้บอก อย่างนี้ว่า ภิกษุนี้ ต้องสุกกวิสัฎฐิ ต้องกายสังสัคคะ ต้องทุฏฐุลละ ต้อง อัตตกามะ.
สองบทว่า อาปตฺตึ อาโรเจติ มีความว่า ภิกษุกล่าวว่า ภิกษุนี้ ต้องปาราชิก ต้องสังฆาทิเสส ต้องถุลลัจจัย ต้องปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต ดังนี้ ไม่เป็นอาบัติ. เมื่อภิกษุบอกเชื่อมต่ออาบัติกับวัตถุ โดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุนี้ ปล่อยอสุจิ ต้องสังฆาทิเสส ดังนี้เท่านั้น จึงเป็น อาบัติ. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เกิดขึ้นทางกายกับจิต ๑ ทางวาจากับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ดังนี้แล.
ทุฏฐุลลาโรจนสิกขาบทที่ ๙ จบ