๑๑. ปฐมโมรนิวาปสูตร ว่าด้วยขันธ์ ๓
โดย บ้านธัมมะ  22 ต.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 38776

[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 583

ตติยปัณณาสก์

โยธาชีวรรคที่ ๔

๑๑. ปฐมโมรนิวาปสูตร

ว่าด้วยขันธ์ ๓


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 34]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 583

๑๑. ปฐมโมรนิวาปสูตร

ว่าด้วยขันธ์ ๓

[๕๘๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ โมรนิวาปสถาน (ที่เลี้ยงนกยูง) อันเป็นอารามของปริพาชก ใกล้พระนครราชคฤห์ ฯลฯ ตรัสพระธรรมเทศนาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นผู้สำเร็จถึงที่สุด ปลอดโปร่งจากเครื่องผูกมัดเสมอไป เป็นพรหมจารีเต็มที่ จบกรณียกิจสิ้น เป็นผู้ประเสริฐแห่งเทวดามนุษย์ทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการ คืออะไรบ้าง คือ ศีลขันธ์เป็นอเสขะ สมาธิขันธ์เป็นอเสขะ ปัญญาขันธ์เป็นอเสขะ ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นผู้สำเร็จถึงที่สุด ฯลฯ เป็นผู้ประเสริฐแห่งเทวดามนุษย์ทั้งหลาย.

จบปฐมโมรนิวาปสูตรที่ ๑๑


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 584

อรรถกถาปฐมโมรนิวาปสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมโมรนิวาปสูตรที่ ๑๑ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อจฺจนฺตนิฏฺโ ความว่า สำเร็จโดยก้าวล่วงที่สุด (แห่งทุกข์) อธิบายว่า สำเร็จอกุปปธรรม. คำที่เหลือเช่นเดียวกัน (กับคำที่กล่าวแล้ว) ทั้งนั้น.

จบอรรถกถาปฐมโมรนิวาปสูตรที่ ๑๑