[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 95
มหาวรรค
ญาณกถามาติกา
๒๙ - ๓๑. อรรถกถา วิหารัฏฐสมาปัตตัฏฐญาณุทเทส
ว่าด้วยวิหารัฏฐญาณและสมาปัตตัฏฐญาณ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 95
๒๙ - ๓๑. อรรถกถาวิหารัฏฐสมาปัตตัฏฐญาณุทเทส
ว่าด้วย วิหารัฏฐญาณและสมาปัตตัฏฐญาณ
ญาณทั้งหลายอื่นจากนี้ ๓ ญาณมีวิหารัฏฐญาณเป็นต้น ท่านยกขึ้นแสดงต่อจากปฏิสัมภิทาญาณ เพราะเกิดแก่พระอริยบุคคลเท่านั้นและเพราะเป็นประเภทแห่งปฏิสัมภิทา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 96
จริงอยู่ วิหารัฏฐญาณ เป็นธรรมปฏิสัมภิทา, สมาปัตตัฏฐญาณ เป็นอรรถปฏิสัมภิทา. แท้จริง ญาณในสภาวธรรม ท่านกล่าวไว้ใน ปฏิสัมภิทากถา (๑) ว่า ธรรมปฏิสัมภิทา. ส่วนญาณในนิพพานเป็นอรรถปฏิสัมภิทานั่นแหละ.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า วิหารนานตฺเต - ในความต่างแห่งธรรมเป็นเครื่องอยู่ ความว่า ในธรรมเป็นเครื่องอยู่ คือวิปัสสนาต่างๆ ด้วยสามารถแห่งอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น.
คำว่า วิหารฏฺเ - ในอรรถว่าธรรมเป็นเครื่องอยู่ ได้แก่ ในธรรมเป็นเครื่องอยู่คือมีวิปัสสนาเป็นสภาวะ.
คำว่า วิหาโร ได้แก่ วิปัสสนาพร้อมด้วยสัมปยุตธรรมนั่นเอง (๒).
คำว่า สมาปตฺตินานตฺเต - ในความต่างแห่งสมาบัติ ความว่า ในผลสมาบัติ ด้วยสามารถแห่งอนิมิตตนิพพานเป็นต้น.
คำว่า สมาปตฺติ - สมาบัติ ได้แก่ จิตและเจตสิกธรรมทั้งหลายอันเป็นโลกุตรผล.
คำว่า วิหารสมาปตฺตินานตฺเต ในวิหารธรรมและความต่างแห่งสมาบัติ ท่านกล่าวแล้วด้วยสามารถแห่งญาณทั้ง ๒.
๑. ขุ.ปุ. ๓๑/๖๐๓. ๒. สัมปยุตธรรม ได้แก่ มหากุสลญาณสัมปยุตจิต ๔ เจตสิก ๓๕ (เว้นอัปปมัญญา ๒ เพราะในขณะวิปัสสนาเกิดไม่มีสัตวบัญญัติเป็นอารมณ์, และปัญญาเจตสิกอีก ๑ เพราะปัญญาเป็นตัววิปัสสนา)