ความหมายของวันวิสาขบูชาที่แท้จริง
โดย akrapat  14 ก.ค. 2554
หัวข้อหมายเลข 18739

ที่จริง ความหมายของวันวิสาขะ คือ วันที่เจ้าชาย สิตธัตถะ ประสูตร ตรัสรู้ หรือ ปรินิพพาน ในวันเดียวกัน แต่อาจจะห่างกันหลายปี หรือ ภายในวันเดียว หรือ ขณะ จิตเดียวกันแน่ ผมเห็นว่า คนในยุคนี้ ไม่ค่อยเชื่อเรื่องราวปาฏิหารย์ มากนัก บางทีถ้า เรามีเหตุผลมากพอ ที่สนับสนุนความเชื่อ ก็อาจจะทำให้ศาสนาพุทธดูไม่งมงายอย่าง ที่คนอื่นเขามองก็เป็นได้

พุทธประวัติและวันวิสาขบูชา มีขึ้นภายหลังพุทธกาล อาจจะมีความคลาดเคลื่อน ก็ เป็นได้ ผมเห็นว่า วันวิสาขบูชา เป็นวันที่ยูเนสโกจัด ให้เป็นวันสำคัญของโลก ไป แล้ว บางทีถ้าเราสามารถอธิบาย ให้ฝรั่งเข้าใจในความหมายที่ถูกต้อง ไม่เน้น อิทธิ ฤทธิ์มากนัก และดูไม่ตลกในสายตาศาสนาอื่นซึ่งนับถือเทพเจ้า ก็น่าจะเป็นเรื่องดี ใช่ไหมครับ เพราะศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา และเหตุผล จึงน่าจะอธิบายได้ ทุกอย่าง แม้บางอย่างจะจับต้องไม่ได้ด้วย ประสาทสัมผัสของมนุษย์ก็ตาม เจ้าชายสิตธัตถะประสูตร แล้วเดินได้ ๗ ก้าว และเปล่งวาจา ว่าชาตินี้เป็นชาติสุด ท้ายของเรา หรือ พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น ภายหลังจากตรัสรู้ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ ภายหลัง จากตรัสรู้และประจักษ์ สภาวะนิพพานครั้งแรก เกิดปัจจเวกขณญาณพิจารณาสภาวะ ธรรมที่ตนเองเพิ่ง ผ่านมา ว่ามีกิเลสอะไรเหลืออยู่ หลังจากนั้นลุกขึ้นเดิน ๗ ก้าว แล้ว

ขณะที่เดิน ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ เปล่งวาจาว่า ชาตินี้เป็น ชาติสุดท้ายของเรา อันไหนจะสมเหตุสมผลมากกว่ากัน แน่นอนผมไม่สงสัยในบรรดามนุษย์ทั้งหลาย พระพุทธเจ้าประเสริฐที่สุด แต่ท่านก็ เป็นมนุษย์ไม่ใช่เทพเจ้า และในระยะเวลา ๒๕๐๐ ปีพัฒนาการ จึงไม่น่าจะต่างกันกับคน สมัยนี้มากนัก

ประเด็นที่น่าสงสัยก็คือ

คำว่าประสูตร คือ การประสูตรของเจ้าชายสิตทัตถะ? หรือ การอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้าภายหลังจากตรัสรู้?

ขณะที่ยังเป็นเจ้าชายสิตทัตถะ ขณะนั้นยังไม่ใช่พระพุทธเจ้า ถึงแม้จะเป็นคนเดียวกัน แต่ระยะเวลา ต่างกัน คือ เจ้าชายสิตทัตถะประสูตร อาจจะเดินได้เลยหรือไม่ กระผมไม่ อาจทราบได้ แต่ถ้าหมายถึงการอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้า แน่นอนท่านต้องเดินได้แล้ว และมีบุญญาบารมีมากพอที่ดอกบัวจะผุดรองรับ พระบาท ด้วยบุญญาบารมีที่สะสมมา มาก แสดงถึงสัญลักษณ์ ที่แสดงความนอบน้อม ของเทวดา และผู้ที่ต้องการบูชาทั้ง หลาย รวมทั้งคนสมัยนี้ด้วย

การตรัสรู้คือ การบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณด้วยตัวเอง แน่นอนไม่ต้องสงสัย การปรินิพพาน คือการดับขันธปรินิพพานในพรรษาที่ ๘๔ หรือ สอุปปาทิเส สนิพพาน คือ ดับกิเลสเป็นสุมทเฉท แต่ขันธยังอยู่ ถ้าเป็น อย่างนั้น คำว่าพระพุทธเจ้าประสูตร ตรัสรู้ และปรินิพพาน ภายในวันเดียวอาจจะหมายถึง ประเด็นที่ว่า

๑. การอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้า ภายหลังจากตรัสรู้ และ ดับกิเลสเป็นสมุทเฉท ใน ขณะจิตเดียว หรือวันเดียวกัน

๒. เจ้าชายสิตทัตถะประสูตร ในคืนวันเพ็ญ หลังจากนั้น อายุ๓๕ ตรัสรู้เป็นพระ พุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญ และดับขันธปรินิพพาน อายุ ๘๔ ในคืนวันเพ็ญ

๓. อาจจะรวมถึง ทั้ง สองกรณีรวมกัน อย่างไหนจะดูสมเหตุสมผล กว่ากัน ขอเชิญสมาชิกร่วมแสดงความคิดเห็นครับ



ความคิดเห็น 1    โดย paderm  วันที่ 14 ก.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ในสมัยพุทธกาล คนสมัยนั้น นับวันต่างๆ โดย แบบ จันทรคติ คือ อาศัยพระจันทร์ ที่โคจรรอบโลก 29-30 วันเป็นต้น การโคจรของดวงจันทร์ ก็มีจะตามเดือน ตามฤกษ์ นักกษัตรต่างๆ ครับ ดังนั้น เมื่อสมัยที่พระโพธิสัตว์ประสูติ ก็ประสูติในวันที่ พระจันทร์โคจร เสวยฤกษ์ วิสาขะ ในวันเพ็ญ เดือน 6 นั่นเอง จึงเรียกว่า วันวิสาขปูรณมีนั่นเองและเมื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในวันนั้นก็เป็นวันที่ พระจันทร์โคจร เสวยฤกษ์วิสาขะ ในวันเพ็ญเดือน 6 เช่นกันครับ แต่ไม่ใช่วันเดียวกันกับประสูติ แต่พระจันทร์เสวยฤกษ์วิสาขะ ในวันเพ็ญ เดือน 6 เหมือนกันเรียกว่าวันวิสาขปูรณมี และในวันที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน ก็เป็นวันที่ พระจันทร์โคจรมาในฤกษ์ วิสาขะฤกษ์ ในวันเพ็ญ เดือน 6 อีกเช่นกันครับ ดังนั้นทั้ง 3 วันจึงเหมือนกันที่ พระจันทร์โคจร เสวยฤกษ์ วิสาขะในวันเพ็ญเดือน 6 จึงเรียกว่าวันวิสาขปูรณมีในสมัยนั้นแล้วครับ ดังนั้นวันวิสาขบูชาจึงมีที่มาอย่างนี้ ทั้งประสูติ ตรัสรู้และปรินิพพานในวันเพ็ญ เดือน 6 ดวงจันทร์เสวยฤกษ์ วิสาขะ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้าที่ 92

อนึ่ง พระมหาบุรุษทรงปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระมารดาเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงแสดงพระธรรมจักร ทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์ในฤกษ์อุตตราสาฬหะ ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน โดยฤกษ์วิสาขะ ประชุมพระสาวก และทรงปลงอายุสังขาร โดยฤกษ์มาฆะ. เสด็จลงจากเทวโลกโดยฤกษ์อัสสยุชะ พึงนำมาแสดงเพียงเท่านี้ นี้ กำหนดหลายวาระ


ความคิดเห็น 2    โดย paderm  วันที่ 14 ก.ค. 2554

ส่วนที่ผู้ถามคิดว่า วันประสูติพระโพธิสัตว์ไม่น่าจะเดินได้ 7 ก้าวและเปล่งอาสภิวาจา แต่น่าจะเป็นวันที่ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จึงเดิน 7 ก้าวและเปล่งอาสภิวาจาว่าชาตินี้ เป็นชาติสุดท้าย เป็นต้น นั่นเป็นความคิดที่คิดได้ครับ แต่ความจริงที่เป็นสัจจะ นั่นก็ อีกอย่างหนึ่งครับ ก่อนจะถึงชาติสุดท้าย พระโพธิสัตว์ บำเพ็ญบารมีมา 4 อสงไขย แสนกัป บารมีคือความดีประการต่างๆ มากมาย ซึ่งกุศลกรรมที่ทำมากมาย ตามหลัก ธรรมแล้ว การให้ผลของกรรมก็ให้ผลทั้งที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม คือ นำปฏิสนธิ ที่เป็นนามธรรมและ เกิดกัมมัชชรูป ดังนั้น ทำไมบางคนมีรูปร่างต่างๆ กัน รูปดี ไม่ดี ก็แล้วแต่กรรมนั่นเอง แต่สำหรับบุคคลที่ทำกรรมดีมามากมายมหาศาล นับชาติไม่ถ้วน รูปที่เกิดย่อมเป็นรูปที่ดี ต่างกับรูปของผู้ที่ไม่ได้ทำกุศลมามากมายแน่นอน ดังนั้น ความสามารถที่เกิดจากรูปที่ดีมากๆ กับรูปที่ดีธรรมดา หรือไม่ดี ดังเช่นพวกๆ เรา จึง ต่างกัน เปรียบกันไมได้เลย เมื่อมีรูปที่ดี พิเศษ ก็มีเหตุที่สมเหตุ สมผลคือจากกุศล กรรมที่ทำมามากมาย มหาศาลที่บำเพ็ญบารมีนั้น รูปที่พิเศษนั้นก็สามารถทำอะไรได้พิเศษกว่าคนอื่นนั่นเองครับ ไม่ว่าจะเป็นการพูดได้เลยเมื่อเกิด หรือ การเดินได้เลย เมื่อเกิด จึงไม่แปลกเลย หากเราศึกษาเรื่องเหตุและผลของสภาพธรรมแต่ละอย่างถูก ต้อง เพราะเหตุสมควรแก่ผลอย่างแท้จริง พระโพธิสัตว์จึงได้รูปที่ดี มีความสามารถ พิเศษเพราะบุญมหาศาลที่ในอดีต สะสมมาให้ผลในชาติสุดท้ายครับ ดังนั้น การเอา ตัวเราเองเป็นประมาณ หรือ ชาวโลกทั่วไปเป็นประมาณในความสามารถของคนทั่วไป มาตัดสิน ผู้ที่บำเพ็ญบารมีกุศลมามากไมได้ครับ เพราะเหตุต่างกันนั่นเอง จึงเป็นมหาบุรุษ บุรุษที่ยิ่งใหญ่ด้วยกุศลธรรมที่ทำมานั่นเองครับ ทุกอย่างจึงย่อมพิเศษกว่าคนอื่นเป็นธรรมดา


ความคิดเห็น 3    โดย paderm  วันที่ 14 ก.ค. 2554

ดังนั้นในวันที่พระโพธิสัตว์ ประสูติ จึงเป็นวันวิสาขปูรณมี วันที่พระจันทณ์เสวยฤกษ์ วิสาขะและเมื่อพระองค์ประสูติ พระองค์ก็ได้สำรวจทุกทิศ เห็นว่าไม่มีใครยิ่งกว่า พระองค์ จะยิ่งกว่าได้อย่างไรในเมื่อพระองค์บำเพ็ญบารมี เหนือกว่าคนอื่นมากกมาย และท่านจึงเปล่งอาสภิวาจา ตามที่พระองค์แสดงไว้ว่า พระโพธิสัตว์เสด็จไปโดอย่าง พระบาท ๗ ก้าว เมื่อท้าวมหาพรหมกั้นพระเศวตฉัตร ทรงเหลียวดูทั่วทิศ ทรง เปล่งอาสภิวาจาว่าเราเป็นผู้เลิศในโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดในโลก เราเป็นผู้ ประเสริฐที่สุดในโลก การเกิดครั้งนี้เป็นการเกิดครั้งสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีต่อไป ดังนี้ .


อาสภิวาจา มีคำว่า ท่านเกิดเป็นครั้งสุดท้ายด้วย แสดงว่าท่านพูดตอนที่ประสูติ่ ไม่ใช่ ตอนที่ตรัสรู้ตอนเป็นพระพุทธเจ้าครับ

ในพระไตรปิฎกก็แสดงคำว่า ตถาคต นัย ความหมายหนึ่งว่า ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปอย่างนั้น เสด็จไปอย่างนั้นหมายถึง พระโพธิสัตว์ในชาติสุดท้าย ทุกๆ พระองค์ เมื่อประสูติก็สำรวจดูทิศและก็เสด็จไป 7 ก้าว กล่าวอาสภิวาจาครับ ไม่ว่าจะเป็นพระ พุทธเจ้ากัสสปะ พระพุทเจ้าทีปังกร พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คือ เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติก็เดิน 7 ก้าวและกล่าวอาสภิวาจาครับ จึงเรียกว่า เสด็จไป อย่างนั้น คือ ทุกพระองค์เสด็จไปอย่างนั้น เรียกว่า ตถาคตครับ ดังนั้นการเดินได้ 7 ก้าว การเปล่งอาสภิวาจา จึงไม่ใช่ตอนตรัสรู้ แต่ตอนที่ประสูติเท่านั้นครับ นี้เป็นเรื่อง ธรรมดา และไม่ใช่เรื่องน่าอัศจรรย์อะไร สำหรับบุคคลพิเศษที่อบรมบุญบารมีมามากมายครับ แม้สัตว์เดรัจฉาน เกิดมาก็ยังเดินได้ จะกล่าวไปใยถึงบุคคลที่บำเพ็ญกุศลมามาก รูปพิเศษกว่าคนอื่นเพราะผลของบุญครับ

ส่วนใครจะเลื่อมใส ไม่เลื่อมใส ก็แล้วแต่การสะสมศรัทธาของสัตว์โลกมา แม้พระ พุทธองค์ก็ไม่สามารถทำให้ทุกคนศรัทธาในพระองค์ได้หมด แต่ที่พระองค์แสดงเรื่อง ฤทธิ์ ปาฏิหารย์และพระธรรมด้วย ก็เพื่อแสดงตามความเป็นจริงว่ามีจริงอย่างนั้นด้วย ครับและพระองค์แสดงเหตุที่อบรมได้เช่นนั้นด้วยครับ ขออนุโมทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


ความคิดเห็น 4    โดย khampan.a  วันที่ 14 ก.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์เสด็จอุบัติขึ้นในโลกเพื่อเกื้อกูลแก่สัตว์โลกอย่างแท้จริง ชีวิตของพระองค์ในชาติสุดท้าย จิตขณะแรกของพระองค์คือปฏิสนธิจิต[ที่เข้าใจกันคือถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางสิริมหามายา]เกิดขึ้นเมื่อวันเพ็ญเดือน ๘ คือ วันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ต่อจากนั้นมา ๑๐ เดือน ตรงกับวันเพ็ญเดือน ๖ พระองค์ก็ทรงประสูติจากพระครรภ์ของพระมาดาและทรงดำเนินไปได้ ๗ ก้าวพร้อมกับทรงเปล่งอาสภิวาจา ต่อจากนั้นเรื่อยมา ชีวิตของพระองค์ก็ทรงดำเนินไปตามปกติของฆราวาสวิสัยที่ยังไม่ได้ดับกิเลส จนกระทั่งพระชนมายุได้ ๒๙ พรรษา พระองค์เสด็จออกผนวชแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ซึ่งวันที่พระองค์เสด็จออกผนวชนั้น ตรงกับวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ (เดือน ๘) ต่อจากนั้นผ่านไป ๖ ปี ตอนที่พระองค์ทรงมีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษาพระองค์ก็ได้ทรงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรงกับวันเพ็ญเดือน ๖ (วันวิสาขบูชา) เมื่อพระองค์ได้ทรงตรัสรู้แล้ว พระบารมีที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญมานั้น ไม่ใช่เพื่อพระองค์เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น แต่เพื่ออุปการะเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ผ่านมาอีก ๒ เดือน ตรงกับวันเพ็ญเดือน ๘ พระองค์ทรงแสดงปฐมเทศนาโปรดภิกษุปัญจวัคคีย์ จนเป็นเหตุให้ท่านโกณฑัญญะ ได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมถึงความเป็นพระโสดาบัน เป็นอริยสงฆ์องค์แรกในโลก ต่อจากนั้นเป็นต้นมาตลอดระยะเวลา ๔๕ พรรษา พระองค์ทรงแสดงธรรมโปรดสัตว์โลกมาโดยตลอด เวลาพักผ่อนของพระองค์น้อยมาก ทั้งหมดทั้งปวงนั้นเพื่ออุปการะเกื้อกูลแก่สัตว์โลกให้เกิดปัญญา อย่างแท้จริง และมีผู้ได้รับประโยชน์จากพระธรรมที่พระองค์ทรงแสดงมากมายนับไม่ถ้วน จนกระทั่งถึงวันเพ็ญเดือน ๖ ในขณะที่พระองค์ทรงมีพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา พระองค์ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน เป็นการตายครั้งสุดท้ายของพระองค์ ไม่มีการเกิดอีกในสังสารวัฏฏ์ พระธรรมเป็นศาสดาแทนพระองค์ ผู้ที่ได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ด้วยความตั้งใจ ก็ย่อมจะได้รับประโยชน์จากพระธรรมที่พระองค์ทรงแสดงตามกำลังปัญญาของตนเอง ซึ่งเป็นการยากมากที่จะได้ฟัง เพราะฉะนั้นแล้ว พระธรรมแต่ละคำ ซึ่งเกิดจากการตรัสรู้ของพระองค์นั้น ควรค่าแก่การศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เมื่อเริ่มฟัง เริ่มศึกษาความรู้ความเข้าใจก็จะค่อยๆ เจริญขึ้นไปตามลำดับ ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 5    โดย ผู้ร่วมเดินทาง  วันที่ 15 ก.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาอาจารย์ผเดิมและอาจารย์คำปันมากครับ


ความคิดเห็น 6    โดย ธนฤทธิ์  วันที่ 16 ก.ค. 2554
ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 9    โดย เจียมจิต  วันที่ 29 พ.ค. 2561

กราบ อนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 10    โดย chatchai.k  วันที่ 25 พ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ