เพิ่งเริ่มศึกษาพระอภิธรรมปริเฉทที่ ๑ ค่ะ อยากได้ตัวอย่างของโลภมูลจิตทั้ง ๘ ดวงโทสมูลจิต ๒ ดวง และ โมหมูลจิต ๒ ดวงค่ะ ขอบคุณค่ะ
ควรทราบว่าตัวอย่างจริงๆ ของอกุศลจิตเกิดขึ้นที่ใจ และในชีวิตประจำวันของเราทุกคนไม่ใช่เรื่องตำรา คือขณะใดจิตไม่เป็นไปในทาน ศีล ภาวนา ขณะนั้นชวนวิถีเป็นโลภมูลจิตหรือโทสะหรือโมหะอย่างใดอย่างหนึ่ง อนึ่งที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ก็เพราะมีจริงๆ อย่างนั้น แต่เราไม่รู้และสำคัญผิดว่า เป็นเรา เป็นคนอื่น แต่จริงๆ คือจิตและเจตสิกเกิดขึ้นทำกิจเท่านั้น และในอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา ท่านมีแสดงไว้ ขอยกข้อความบางตอนมาดังนี้
อภิธัมมัตถสังคหบาลีและอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ ๒๙ จริงอยู่ เมื่อใดบุคคลทำมิจฉาทิฏฐิเป็นเบื้องหน้า โดยนัยเป็นต้นว่า โทษในกามทั้งหลายไม่มี ดังนี้ ร่าเริงยินดีบริโภคกามก็ดีเชื่อถือมงคลมีทิฏฐมงคลเป็นต้น โดยเป็นสาระก็ดี ด้วยจิตที่กล้าเองตามสภาพอย่างเดียว ไม่มีใครช่วยกระตุ้น เมื่อนั้น อกุศลจิตดวงที่ ๑ ย่อมบังเกิดขึ้นฯ อนึ่ง เมื่อใด (บุคคลทำมิจฉาทิฏฐิเป็นเบื้องหน้าโดยนัยเป็นต้นว่า โทษในกามทั้งหลายไม่มี ดังนี้ ร่าเริงยินดี บริโภคกามก็ดี เชื่อถือทิฏฐมงคล เป็นต้น โดยเป็นสาระก็ดี) ด้วยจิตที่อ่อนมีผู้ช่วยกระตุ้น เมื่อนั้น อกุศลจิตดวงที่ ๒ ย่อมเกิดขึ้น ฯ แต่ว่าเมื่อใดบุคคลไม่ทำมิจฉาทิฏฐิเป็นเบื้องหน้า ร่าเริงยินดีอย่างเดียวย่อมเสพเมถุนบ้าง คิดอยากได้สมบัติของคนอื่นบ้าง ย่อมลักทรัพย์ของคนอื่นบ้าง ด้วยจิตกล้าเองตามสภาพอย่างเดียว ไม่มีใครช่วยกระตุ้น เมื่อนั้นอกุศลจิตดวงที่ ๓ ย่อมเกิดขึ้น ฯ
สาธุ
อนุโมทนาคะ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ขณะนี้เองครับ ขณะที่โลภะเกิด ขณะนั้นไม่ได้นึกเลยว่าเป็นโลภะ ที่ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เป็นอสังขาริก เป็นดวงที่ 3 เป็นต้น แต่ขณะนั้นโลภะเกิดแล้ว ดังนั้นการศึกษาธรรม แม้อภิธรรมก็เพื่อเข้าใจความจริงของสภาพธรรมที่เกิดขึ้นว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา แต่พระพุทธองค์ทรงแสดงความละเอียดของสภาพธรรมว่า จิตที่เป็นโลภะ โทสะ โมหะมีประการต่างๆ เพื่อให้เห็นความเป็นจริงของสภาพธรรมและให้เห็นว่าเป็นอนัตตา ไม่มีสัตว์ บุคคลเลย ที่ชอบ โกรธ หลง มีความเห็นผิด ไม่มีความเห็นผิด มีแต่ธรรมเท่านั้นครับ ศึกษาเพื่อเข้าใจความจริงขณะนี้ ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา
ขออนุโมทนา อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
โลภมูลจิตบางครั้งก็เกิดร่วมด้วยกับโสมนัสก็มี เกิดร่วมด้วยกับทิฏฐิก็มี หรือเกิดร่วมกับอุเบกขาก็มี เช่น เราชอบร้องเพลง ขณะนั้นก็มีความยินดีมากในการร้องเพลง แต่บางครั้งเพลงไม่เพราะ เราก็เฉยๆ หรือบางครั้งฟังเพลงมากๆ ก็เบื่อ ก็เป็นความไม่ชอบเป็นโทสะอีก แต่โมหมูลจิต คือความไม่รู้ ความหลง เช่น นั่งเหม่อลอยขณะนั้นไม่มีความพอใจ ไม่มีโลภะ ไม่มีโทสะเกิดร่วมด้วยค่ะ ฯลฯ