พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 398
ก็การไม่หลงลืมในอิริยาบถทั้งหลาย มีการก้าวไปข้างหน้าเป็นต้นชื่อว่า อสัมโมหสัมปชัญญะ บัณฑิตพึงทราบข้อนั้น ดังต่อไปนี้ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อก้าวไปข้างหน้าหรือถอยมาข้างหลัง ไม่หลงใหลอยู่ เหมือนปุถุชนผู้อันธพาลหลงใหลอยู่ว่า อัตตา ย่อมก้าวไปในอิริยาบถทั้งหลายมีการก้าวไปข้างหน้าเป็นต้น การก้าวไปสำเร็จได้ด้วยอัตตาหรือ ว่าเราย่อมก้าวไป การก้าวไปสำเร็จได้ด้วยเรา ดังนี้ อันที่จริงครั้นเมื่อจิตเกิดขึ้นว่าเราจักก้าวไป ดังนี้ " ไม่หลงลืมในอิริยาบถทั้งหลาย" หมายความว่าอย่างไร และ " อสัมโมหสัมปชัญญะ" หมายความว่าอย่างไร
การไม่หลงลืมในอิริยาบถทั้งหลาย คือจิตที่เป็นไปในอิริยาบถประกอบด้วยสติปัฏฐานหมายถึง ขณะนั้นมีสติและสัมปชัญญะ โดยภาษาบาลีก็ คือ อสมฺโมหสมฺปชญฺญ
จิตที่เป็นไปในอิริยาบถ หมายความว่าอย่างไร
อิริยาบถ คือ ยืน เดิน นั่ง และนอน ใช่ไหมครับ
จิตที่เป็นไปในอิริยาบถ คือ ขณะจิตที่อยู่ในอิริยาบถนั้นๆ
อิริยาบถ คือ อากัปกิริยาของร่างกายที่เป็นไป (ยืน เดิน นั่ง นอน)
ถ้าคำว่า " อสัมโมหสัมปชัญญะ " คือไม่หลงลืมและประกอบด้วยปัญญา
ทำไมหมายถึงวิปัสสนาเป็นสมถะไม่ได้หรือ
ขณะนั้นเป็นทั้งสมถะและวิปัสสนาเพราะจิตสงบ
ถ้าจิตที่สงบจากอกุศลเป็นสมถะ สมถะในที่นี้คงไม่ได้หมายถึงกุศลจิตในอารมณ์ 40 ?