๑. สมาธิสูตร ว่าด้วยผู้มีจิตตั้งมั่นรู้เหตุเกิดและดับแห่งเวทนา (เริ่มเล่ม 29)
โดย บ้านธัมมะ  20 ก.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 37384

[เล่มที่ 29] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 1

๒. เวทนาสังยุต

ปฐมกสคาถวรรคที่ ๑

๑. สมาธิสูตร

ว่าด้วยผู้มีจิตตั้งมั่นรู้เหตุเกิดและดับแห่งเวทนา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 29]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 1

๒. เวทนาสังยุต

ปฐมกสคาถวรรคที่ ๑

๑. สมาธิสูตร

ว่าด้วยผู้มีจิตตั้งมั่นรู้เหตุเกิดและดับแห่งเวทนา

[๓๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้ เวทนา ๓ เป็นไฉน คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้แล.

[๓๖๐] สาวกของพระพุทธเจ้ามีจิตมั่นคงดีแล้ว มีสัมปชัญญะ มีสติ ย่อมรู้ชัดซึ่งเวทนาและเหตุเกิดแห่งเวทนาทั้งหลาย อนึ่งเวทนาเหล่านี้จะดับไปในที่ใด ย่อมรู้ชัดซึ่งที่นั้น (คือนิพพาน) และทางดำเนินให้ถึงความสิ้นไปแห่งเวทนาเหล่านั้น เพราะสิ้นเวทนา ภิกษุเป็นผู้หมดความหิว ปรินิพพานแล้ว.

จบ สมาธิสูตรที่ ๑


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 2

เวทนาสังยุต

ปฐมกสคาถวรรคที่ ๑

อรรถกถาสมาธิสูตรที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัยในสมาธิสูตรที่ ๑ แห่งสหคาถาวรรค (๑) ในเวทนา สังยุต ดังต่อไปนี้.

บทว่า สมาหิโต ความว่า มีจิตตั้งมั่นด้วยอุปจาร หรือด้วย อัปปนา. บทว่า เวทนา จ ปชานาติ ความว่า สาวกของพระพุทธเจ้า ย่อมรู้ชัดเวทนาด้วยสามารถแห่งทุกขสัจ. บทว่า เวทนานญฺจ สมฺภวํ ความว่า ย่อมรู้ชัดเหตุเกิดแห่งเวทนาเหล่านั้นแล ด้วยสามารถแห่งสมุทยสัจ. บทว่า ยตฺถ เจตา ความว่า เวทนาเหล่านี้ จะดับในนิพพานใดย่อมรู้ชัด ซึ่งนิพพานนั้น ด้วยสามารถแห่งนิโรธสัจ. บทว่า ขฺยคามินํ ความว่า ย่อมรู้ชัดทางดำเนินให้ถึงความสิ้นไปแห่งเวทนาเหล่านั้นแล ด้วย สามารถแห่งมรรคสัจ. บทว่า นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโต ความว่า ภิกษุผู้ หมดตัณหา ปรินิพพานแล้วด้วยความดับกิเลส. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเวทนาอันเที่ยวไปในการพิจารณาด้วยประการดังนี้. ตรัสสมณะและวิปัสสนาด้วยบททั้งสองในคาถาทั้งหลาย. ตรัสสัจจะ ๔ ด้วยบทที่เหลือ การกำหนดธรรมเป็นไปในภูมิ ๔ อันรวบรวมธรรมไว้ทั้งหมด ก็ได้ตรัสไว้ในพระสูตรนี้ด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาสมาธิสูตรที่ ๑


(๑) บาลี เป็น ปฐมสคาถวรรค