[เล่มที่ 72] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 204
เถราปทาน
ติณทายกวรรคที่ ๕๓
สุคันธเถราปทานที่ ๑๐ (๕๓๐)
ว่าด้วยผลแห่งการสดุดีพระรัตนตรัย
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 72]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 204
สุคันธเถราปทานที่ ๑๐ (๕๓๐)
ว่าด้วยผลแห่งการสดุดีพระรัตนตรัย
[๑๒๐] พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่ง พราหมณ์ ทรงพระยศใหญ่มีพระนามว่ากัสสปะ ประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ในภัทรกัปนี้
พระองค์ทรงสมบูรณ์ด้วยอนุพยัญชนะมี พระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ อันรัศมี วาหนึ่งแวดล้อม มีข่ายรัศมีบังเกิดปรากฏ ก่อให้ เกิดความยินดีเหมือนพระจันทร์ ส่องแสงสว่าง เหมือนพระอาทิตย์ ทรงยังหมู่สัตว์ให้เยือกเย็น เหมือนเมฆฝน เป็นบ่อเกิดแห่งคุณเหมือนสาคร
พระองค์ประหนึ่งว่า แผ่นดินโดยศีล ประหนึ่งว่า ภูเขาหิมวันต์โดยสมาธิ ประหนึ่งว่า อากาศโดยปัญญา เป็นผู้ไม่เกาะเกี่ยวเสมือนลม ฉะนั้น
พระองค์ไม่ทรงบกพร่องเหมือนวิหาร ทรงแกล้วกล้าในบริษัท ทรงประกาศสัจธรรม ช่วยมหาชนให้รอดพ้น
ครั้งนั้น เราเป็นเศรษฐีบุตรผู้มียศใหญ่ ในพระนครพาราณสี มีทรัพย์และข้าวเปลือก มากมาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 205
เราเที่ยวเดินเล่นไปจนถึงป่ามฤคทายวัน ได้เห็นพระศาสดาผู้เป็นนาถะ กำลังทรงแสดง พระธรรมเทศนา เรื่องบทอมตธรรม
เราได้เห็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ เป็นเทพยิ่งกว่าทวยเทพ มีพระดำรัสเกลี้ยงเกลา น่ารัก มีพระสุรเสียงสม่ำเสมอเหมืนนกการะเวก มีพระสำเนียงก้องเหมือนเสียงหงส์และเสียงกลอง ใหญ่ ยังมหาชนให้ทราบชัดได้ และได้สดับ พระสุรเสียงอันไพเราะ จึงได้ละโภคทรัพย์มิใช่ น้อย ออกบวชเป็นบรรพชิต เราบวชแล้วเช่นนี้ ไม่นานก็เป็นพหูสูต เป็นพระธรรมกถึก มีปฏิภาณ อันวิจิตร
เราเป็นคนองอาจในการพรรณนา ได้ พรรณนาพระคุณของพระศาสดาผู้มีพระฉวีวรรณ เหมือนทองคำ ในท่ามกลางบริษัทบ่อยๆ ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้ เป็นพระ ขีณาสพ เป็นผู้ตื่นแล้วไม่มีทุกข์ ทรงตัดความ สงสัยได้แล้วทรงถึงควานสั้นกรรมทุกอย่าง ทรง พ้นกิเลสแล้วในเพราะธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้นั้น เป็นผู้ ตื่นแล้ว ทรงแกล้วกล้าดุจสีหะ พระองค์เป็นผู้ ประเสริฐยิ่ง ทรงประกาศพรหมจักรแก่โลก พร้อม ทั้งเทวโลก ทรงฝึกพระองค์เองและทรงฝึกผู้อื่น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 206
ทรงสงบระงับเอง และทรงทำผู้อื่นให้สงบระงับ เป็นผู้ดับกิเลส เป็นนักบวช ทรงยังผุ้อื่นให้ดับ กิเลส เป็นผู้เบาพระทัยและทรงยังมหาชนให้ เบาใจ
ทรงมีความเพียร องอาจ กล้าหาญ มี พระปัญญา ทรงประกอบด้วยพระกรุณา ทรงมี ความชำนาญ เป็นผู้มีชัยชนะ เป็นพระพิชิตมาร ไม่ทรงคนอง ทรงหมดความห่วงใย
เป็นผู้ไม่หวั่นไหว ไม่สั่นสะเทือน เป็น นักปราชญ์ ไม่ทรงหลงใหล ไม่มีใครเทียมทัน เป็นมุนี มีปรกตินำธุระไป ทรงอาจหาญแม้ในพวก ครู ดังโคอุสภราช พระยาคชสาร (และ) ไกรสร สีหราช
เป็นผู้ปราศจากราคะ ปราศจากมลทิน เป็นดังพรหม กล้ากว่านักปราชญ์ หักเสียซึ่งข้าศึก คือกิเลส หมดเสี้ยนหนาม ปราศจากความเศร้าโศก ไม่มีใครเสมอเหมือน เป็นผู้ประเสริฐ สะอาด หมดจด
เป็นพราหมณ์ เป็นสมณะ เป็นนาถะ เป็นหมอ เป็นผู้กำจัดลูกศร เป็นนักรบ เป็นผู้ เบิกบาน เป็นผู้หลับและตื่น ไม่หวั่นไหว มีใจ เบิกบาน ยิ้มแย้ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 207
ทรงทำการฝึกอินทรีย์ เป็นผู้ทำตนไป เป็นผู้ทำ เป็นผู้นำ เป็นผู้ประกาศ เป็นผู้ทำ สัตว์ให้ร่าเริง เป็นผู้วิด เป็นผู้ตัก เป็นผู้ฟัง เป็นผู้สรรเสริญ
เป็นผู้ไม่กำเริบ ปราศจากลูกศร ไม่มี ทุกข์ ไม่ทรงมีความสงสัย เป็นผู้หมดตัณหา ปราศจากธุลี เป็นผู้ขุด เป็นผู้ทำลาย เป็นผู้กล่าว เป็นผู้ทำให้ปรากฏ
เป็นผู้ยังสัตว์ให้ข้าม ให้ทำประโยชน์ เป็นผู้ถึงสัมปทา เป็นผู้ยังสัตว์ให้บรรลุ เป็นผู้ ไปด้วยกัน เป็นผู้ฆ่า ทรงยังกิเลสให้เร่าร้อน ให้ เหือดแห้ง
ดำรงอยู่ในสัจจะ เสมอด้วยผู้เสมอ ไม่ มีสหาย เป็นที่อยู่แห่งความเอ็นดู มีมนต์อัศจรรย์ ไม่ทรงลวงให้พิศวง เป็นผู้นำ เป็นนักบวชองค์ ที่ ๗
ทรงข้ามพ้นความสงสัยแล้ว ไม่ทรงถือ พระองค์ ทรงมีคุณหาประมาณมิได้ ไม่มีใคร เปรียบปาน ล่วงคลองแห่งถ้อยคำทุกชนิด ล่วง เวไนยสัตว์ทุกคน ทรงชนะหมู่มาร
ความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ มีพระรัศมีกำหนดด้วยร้อยพระองค์นั้น ย่อมนำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 208
อมตมหานิพพานมาให้ เพราะฉะนั้น ความเชื่อ ในพระพุทธเจ้า ในพระธรรมและในพระสงฆ์ จึงมีประโยชน์ใหญ่
เราสรรเสริญพระพุทธเจ้าผู้เป็นสรณะอย่าง สูงสุดของโลก ๓ ด้วยคุณมีอาทิเห็นปานดังนี้ แสดงธรรมกถาในท่ามกลางบริษัท
จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ได้เสวยมหันตสุข ในสวรรค์ชั้นดุสิต จุติจากดุสิตแล้วเกิดในมนุษย์ เป็นผู้มีกลิ่นหอม
ลมหายใจ กลิ่นปากและกลิ่นตัวเองเรา ก็เช่นนั้นเหมือนกัน คือ มีกลิ่นหอม และกลิ่น หอมนั้น นั่นแหละฟุ้งไปเนืองนิตย์ เรามีกลิ่นหอม ทุกอย่าง
กลิ่นปากของเราหอมฟุ้งอยู่ทุกเมื่อ สรีระ ของเรางดงาม หอมฟุ้งทุกทิพาราตรีกาล ปานดัง ดอกปทุม ดอกอุบลและดอกจำปาฉะนั้น
ทั้งหมดนั้นเป็นผลแห่งการกล่าวสรรเสริญ คุณพระพุทธเจ้า ผลนั้นน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง ขอ ท่านทั้งหลายจงตั้งใจสดับคุณของพระพุทธเจ้านั้น ซึ่งเราได้กล่าวแล้ว
ครั้นเรากล่าวสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้าซึ่งนำประโยชน์และความสุขมาให้แล้ว เป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 209
ผู้มีจิตผ่องแผ้วในธรรมทั้งปวง พระสงฆ์เป็นผู้ ประกอบด้วยความเพียร มียศ ถึงความสุข งด งามรุ่งเรือง น่ารักน่าชม เป็นผู้กล่าวไม่ดูหมิ่นดู แคลนไม่มีโทษ และเป็นผู้มีปัญญา
ขวนขวายในธรรมที่เป็นที่สิ้นกิเลส สำหรับผู้ภักดีต่อพระพุทธเจ้าได้นิพพานโดยง่าย เราจักกล่าวถึงเหตุของพวกเรา เชิญท่านทั้งหลาย ฟังเหตุนั้นตามเรื่อง
เราถวายบังคมก็เพราะค้นพบพระยศของ พระผู้มีพระภาคเจ้าที่มีอยู่ เพราะฉะนั้น แม้เรา จะเกิดในภพใดๆ ก็ย่อมเป็นผู้มียศในภพนั้นๆ
เราสรรเสริญพระพุทธเจ้า ผู้ทำที่สุด ทุกข์ และพระธรรมอันสงบระงับ อันปัจจัยมิได้ ปรุงแต่ง จึงได้เป็นผู้ถึงความสุข เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงขอว่า ทรงประทานความสุขแก่ สัตว์ทั้งหลาย
เรากล่าวสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า ว่ามีทั้งส่วนพระองค์และที่เป็นประโยชน์แก่คนอื่น จึงเป็นผู้ประกอบด้วยปีติในพระพุทธเจ้า เพราะ ฉะนั้น เราจึงเป็นผู้มีความงดงาม เมื่อเรากล่าว สรรเสริญพระคุณ ชื่อว่าชมเชยพระผู้นำ ซึ่งทรง ชำนะมาร ล่วงเสียซึ่งเดียรถีย์ ครอบงำเดียรถีย์ ถึง เสียได้ เพราะฉะนั้น เราจึงเป็นคนมีความรุ่งเรือง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 210
เมื่อเรากล่าวสรรเสริญพระคุณของพระสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าทำพระองค์ให้เป็นที่รักแม้แห่ง หมู่ชน เพราะฉะนั้นเราจึงเป็นผู้น่ารัก น่าชม เหมือนพระจันทร์อันมีในสรทกาลฉะนั้น เรา เชยพระสุคตเจ้าด้วยวาจาทุกอย่าง ตามสติสามารถ เพราะฉะนั้น เราจึงมีปฏิภาณวิจิตร เหมือนท่าน พระวังคีสะ
คนพาลพวกใดเป็นผู้ถึงความสงสัย จึง ดูหมิ่นพระมหามุนี เราข่มขี่คนพาลพวกนั้น โดย ชอบธรรม เพราะฉะนั้น เราจึงไม่ถูกดูหมิ่น เรา ได้ช่วยนำกิเลสของสัตว์ทั้งหลายให้หมดไป ด้วย การสรรเสริญพระคุณพระพุทธเจ้า เพราะอำนาจ ของกรรมนั้น เราจึงเป็นผู้มีใจไม่มีกิเลส
เราผู้แสดงพุทธานุสสติ ได้ทำปัญญา เครื่องตรัสรู้ให้เกิดแก่ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น เราจึง เป็นผู้มีปัญญาเห็นแจ้งอรรถอันละเอียด
เราจักเป็นผู้สิ้นอาสวะทุกอย่างจักข้ามพ้น สาครคือสงสารไปได้ และมีความชำนิชำนาญ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ถึงควานดับสนิท
ในกัปนี้เองเราได้ชมเชยพระชินเจ้าใด ด้วยการชมเชยนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็น ผลแห่งพุทธบูชา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 211
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว... คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสุคันธเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบสุคันธเถราปทาน
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ติณมุฏฐิทายกเถราปทาน
๒. เวจจทายกเถราปทาน
๓. สรณคมนิยเถราปทาน
๔. อัพภัญชนทายกเถราปทาน
๕. สุปฏทายกเถราปทาน
๖. ทัณฑทายกเถราปทาน
๗. คิริเนลปูชกเถราปทาน
๘. โพธิสัมมัชชกเถราปทาน
๙. อามัฑผลทายกเถราปทาน
๑๐. สุคันธเถราปทาน
ในวรรคนี้ บัณฑิตคำนวณคาถาทั้งหมดได้ ๑๒๓ คาถา.
จบติณทายกวรรคที่ ๕๓
อรรถกถากิงกณิปุปผวรรคที่ ๕๐ เป็นต้น
อปทานทั้งหมด ในวรรคที่ ๕๐ วรรคที่ ๕๑ วรรคที่ ๕๒ และวรรคที่ ๕๓ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถากิงกณิปุปผวรรคที่ ๕๐ เป็นต้น