จากการฟังธรรมะบรรยายที่มูลนิธิในวันนี้ โดนใจจนทำให้นึกถึงคำว่า "เจียมเนื้อเจียมตัว"
จริงๆ คือ ที่คิดว่าทำดีแล้ว ก็ยังไม่ดีพอ ที่คิดว่าเข้าใจแล้ว ก็ยังไม่เข้าใจพอ (ที่จะรู้จัก
ลักษณะของสภาพธรรมะตามความเป็นจริง) ที่คิดว่าละ ก็ยังละไม่มากพอ และก็ยังเป็น
เราที่คิดเจียมเนื้อเจียมตัว (รู้สึกตัวเล็กลงเหมือนผงธุลีเลย) ไม่ได้นึกถึงว่าคิดก็เป็นธรรมะ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ความเจียมเนื้อเจียมตัว มีจริงเพราะเป็นสภาพธรรมที่เป็น จิต เจตสิกที่เกิดขึ้นหาก
ไม่มีจิตและเจตสิกแล้วก็จะไม่มีความเจียมเนื้อ เจียมตัว ดังนั้นขณะที่คิดว่าดีแล้ว ก็
เป็นเราที่ดี จะไม่มีทางที่จะดีพอได้ ถ้ายังเป็นเราที่ดี ถ้าคิดว่าเข้าใจแล้ว ใครคิด
ก็เป็นเรา แต่ลืมว่าเป็นธรรม ก็ยังเข้าใจไม่พอ ขณะนั้นไม่ได้รู้ลักษณะของสภาพธรรม
ที่เกิดขึ้นเลย ที่คิดว่าละแล้ว อะไรละ ต้องเป็นปัญญาที่ละ แต่ละยังไม่พอ ตราบใดที่
ยังเป็นเราที่ละ ขณะนั้นไม่ได้รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดขึ้นในขณะที่ปัญญาเกิด
ในขณะที่ละ ก็ยังยินดี พอใจด้วยโลภะว่าละได้แล้ว ที่สำคัญกิเลสมีมากมาย ปัญญา
เพียงขั้นต้นที่เพียงละความไม่รู้ขั้นการฟังเท่านั้น จึงไม่พอเลยที่ละกิเลสที่มีมากมาย
เมื่อรู้แล้วว่าปัญญายังไม่พอ ปัญญามีน้อยที่จะละกิเลส ก็เกิดความรู้สึกเจียมเนื้อ
เจียมตัว คิดว่าเรามีปัญญาน้อย แล้วใครที่เจียมเนื้อ เจียมตัวก็คือเรานั่นเอง ไม่ได้รู้
ถึงสภาพธรรมที่เป็นความรู้สึก ไม่ได้รู้ลักษณะของจิตในขณะนั้นว่าเป็นธรรมไม่ใช่
เรา มีเราที่คิดว่าตัวเล็กลง มีเราที่ยังมีปัญญาน้อย ไม่ได้รู้ลักษณะของสภาพธรรมว่า
ไม่มีเราที่เจียมเนื้อ เจียมตัว มีแต่สภาพธรรมที่คิดนึกเท่านั้น ในขณะนั้นครับ
ดังนั้นรู้ว่าปัญญาน้อย ตรงตามความเป็นจริง จึงอบรมเหตุคือการฟังพระธรรม โดย
เข้าใจถูกขั้นการฟังว่าเป็นธรรม แม้แต่ความคิดนึกที่เจียมเนื้อเจียมตัวก็เป็นธรรมไม่ใช่
เราครับ ขออนุโมทนาคุณ Nareopak ครับ
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ธรรม เป็นเรื่องที่ละเอียดมาก และที่สำคัญ หมายถึง สิ่งที่มีจริงทุกอย่าง ทุกประการซึ่งก็ไม่พ้นไปจากนามธรรมและรูปธรรม มีจริงในชีวิตประจำวันที่สามารถศึกษาและเข้าใจได้ แต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธคำพูดหรือโวหารที่ใช้กันทั่วๆ ไป ที่สำคัญ คือ ไม่เข้าใจผิด เพราะตามความเป็นจริงแล้ว สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ไม่มี มีแต่ธรรมเท่านั้นถ้ากุศลธรรมเกิดขึ้น ก็เป็นกุศลธรรม ไม่ว่าจะเกิดกับใครก็ตาม ความเป็นผู้เจียมเนื้อเจียมตัว ก็เป็นคำพูดที่คนไทยก็พูดกัน แต่ควรที่จะได้เข้าใจว่า ไม่พ้นไปจากธรรม เพราะสิ่งที่ทำให้เกิดความเจียมเนื้อเจียมตัว ไม่พ้นไปจากกุศลธรรมที่เกิดขึ้น ไม่ได้มีความสำคัญผิดว่าตนเองเป็นคนที่ดีแล้ว เพราะยังไม่ได้เป็นพระอริยบุคคลตั้งแต่ขั้นพระโสดาบัน จนกระทั่งสูงสุด คือ ถึงความเป็นพระอรหันต์ ซึ่ง โดยภาวะของความเป็นปุถุชน เป็นผู้หนาแน่นไปด้วยกิเลส เป็นผู้มีโทษมาก (เพราะกิเลสอกุศลธรรมเกิดขึ้นมาก สะสมไว้มาก) มีกุศลเกิดแทรกสลับกับอกุศลเท่านั้น ดังนั้น จึงเป็นการที่ดีมาก ที่เข้าใจว่า ยังไม่ดีพอ เนื่องจากว่ายังมีกิเลสมาก ซึ่งจะต้องอาศัยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ขัดเกลากิเลสของตนเองต่อไป โดยที่ไม่มีตัวตนที่เจียมเนื้อเจียมตัว ไม่มีตัวตนที่ไปขัดเกลากิเลส แต่เป็นเพราะกุศลธรรมค่อยๆ เจริญขึ้นค่อยๆ ขัดเกลาอกุศลไปตามลำดับ และประการที่สำคัญ ควรอย่างยิ่งที่จะเป็นผู้ว่าง่ายต่อพระธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงจะทำให้เป็นผู้มีความเจริญในกุศลธรรมยิ่งๆ ขึ้นไปได้ ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณ Nareopak และทุกๆ ท่านครับ...
ความคิดเห็นที่1"เมื่อรู้แล้วว่าปัญญายังไม่พอ ปัญญามีน้อยที่จะละกิเลส ก็เกิดความรู้สึกเจียมเนื้อเจียมตัว" ถูกต้องค่ะเป็นเช่นนี้จริงๆ
สังเกตได้ว่าการได้ฟังธรรมบ่อยๆ เนืองๆ ทำให้มีความเข้าใจขึ้นทีละเล็กละน้อย แม้เป็นเรื่องเดียวกัน แต่เมื่อพิจารณาโดยรอบคอบ ก็ทำให้ได้ความเข้าใจชัดเจนขึ้นและบางครั้งยังขัดเกลาความคิดเดิมที่ผิดด้วย ดังนั้นการฟังธรรม บ่อยๆ เนืองๆ จากท่านอาจารย์และวิทยากรของมูลนิธิฯ รวมทั้งกัลยาณมิตร นับว่าได้รับประโยชน์มาก กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์และอนุโมทนากุศลจิตทุกท่าน
แม้แต่ท่านพระสารีบุตร เป็นผู้เลิืศทางด้านปัญญา ท่านก็ยังอ่อนน้อมถ่อมตัว
เปรียบเหมือนโคเขาขาด เจียมตัว ไม่ทำร้ายใคร เปรียบเหมือนลูกคนจัณฑาล
รู้ว่าตัวเองเป็นใคร เข้าสู่สภาก็ไม่หยิ่ง ไม่ถือตัว เปรียบเหมือนผ้าเช็ดธุลี คือ
เช็ดได้หมดทุกอย่าง ไม่ว่าของจะสะอาด หรือไม่สะอาด ฯลฯ ค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาเจียมเนื้อเจียมตัวเป็นได้ทั้งกุศลและอกุศล
ขึ้นอยู่กับสภาพจิตว่าเป็นความนอบน้อมหรือมานะค่ะ
เจียมเนื้อเจียมตัวว่ายังรู้และเข้าใจธรรมะไม่เพียงพอที่จะเป็นคนดีต่อตนเองและผู้อื่น ขออนุโมทนาคะ
ขออนุโมทนาและขอบพระคุณในทุกท่านที่แสดงความคิดเห็นค่ะ