วิบากเป็นผล ซึ่งเกิดจากเหตุการณ์ไม่ได้รับสิ่งที่ปรารถนา ย่อมเป็นเพราะได้เจริญเหตุที่เป็นอกุศล อกุศลกรรมย่อมเป็นเหตุให้ได้รับผลที่ไม่พึงประสงค์ มนุษย์ภูมิเป็นที่ดูผลของบุญและบาป เมื่อใดได้รับผลของอกุศลกรรม พึงสอนตัวเราเองว่า เพราะเราไม่ได้เจริญเหตุที่ดี พอชาตินี้ถึงได้เป็นอย่างนี้ ต่อแต่นี้ไป ถ้าเราต้องการผลที่ดี ย่อมต้องเจริญเหตุที่ดีไว้ให้มากขึ้นกว่าเดิม เป็นผู้รู้เหตุและผล มั่นคงในกรรมและผลของกรรม ไม่โทษใครๆ ที่ทำให้ แต่เป็นเพราะกรรมที่ได้กระทำมาแล้ว อบรมเจริญเหตุที่ดีให้มากขึ้น ให้กุศลนั้นเป็นบารมี เพื่อถึงฝั่งในวันข้างหน้า
ถ้าคนที่มั่นคงเชื่อกรรมและผลของกรรมจริงๆ คนนั้นจะไม่กล้าทำทุจริตทางกาย ทางวาจา และทางใจ หรือยังทำอยู่ เพราะหลงลืมสติ เพราะกำลังของกิเลสมีมากกว่า ที่สำคัญเพราะขาดปัญญาค่ะ
มั่นคงในกรรมและผลของกรรม ไม่โทษใครๆ
ตามปกติทั่วไป ปุถุชนย่อมยึดถือ สิ่งต่างๆ ว่าเป็นเรา เป็นสัตว์ บุคคล ไม่รู้ว่าเป็นธัมมะ เป็น จิต เจตสิก รูป ดังนั้น การที่ได้รับผลดี (วิบาก) ก็ไม่ใช่เราที่รับ แต่เป็นจิตประเภทหนึ่งที่ทำหน้าที่ คือวิบากจิต และวิบากจิต (ผลของกรรม) ก็เป็นผลมาจากเหตุ คือกุศลหรืออกุศลที่ทำ ถามว่าใครทำกุศลหรืออกุศล ก็ไม่มีสัตว์หรือบุคคลทำ แต่เป็นจิต เจตสิก นั่นแหละที่ทำหน้าที่ (กุศลจิตหรืออกุศลจิต)
ดังนั้น เราจะโทษใคร ถ้าได้รับสิ่งที่ดีหรือไม่ดี ในเมื่อไม่มีใครให้โทษ เป็นธัมมะทั้งหมดครับ เมื่อคิดได้ดังนี้ ก็เปลี่ยนจากที่เป็นอกุศล ไม่ชอบคนนั้นคนนี้ ที่ทำไม่ดีกับเรา เปลี่ยนเป็นกุศล ว่าเป็นเพียงธัมมะเท่านั้น ไม่มีใครทำเรา และไม่มีใครรับผล แต่เป็นจิต เจตสิ รูป เท่านั้นครับ
ขอเชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ ครับ
สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตน [สติปัฏฐานสูตร]
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ขออนุโมทนา
กรรม ๑๒
กรรมที่ให้ผลตามกาล ๔
กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน
กรรมที่ให้ในชาติหน้าและชาติต่อไป
กรรมที่ให้ผลในชาติต่อๆ ไป ได้โอกาสเมื่อใดให้ผลเมื่อนั้น
อโหสิกรรม
กรรมที่ไม่ผลิตผล
กรรมที่ให้ผลตามแรงหนักเบา ๔
กรรมซึ่งทำหน้าที่อีก ๔
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
อนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
ยินดีในกุศลจิตค่ะ