[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 836
วรรคที่ไม่ได้สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์
ติกวรรคที่ ๑
๖. อัสสาทสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรละและควรเจริญ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 836
๖. อัสสาทสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรละ และควรเจริญ
[๓๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ อัสสาททิฏฐิ (สัสสตทิฏฐิ) ๑ อัตตานุทิฏฐิ (สักกายทิฏฐิ) ๑ มิจฉาทิฏฐิ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการ นี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการ อันภิกษุพึงให้เจริญ เพื่อละธรรม ๓ ประการ เหล่านี้ ๓ ประการ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 837
เป็นไฉน? คือ อนิจจสัญญา อันภิกษุพึงให้เจริญ เพื่อละอัสสาททิฏฐิ ๑ อนัตตสัญญา อันภิกษุพึงให้เจริญ เพื่อละอัตตานุทิฏฐิ ๑ สัมมาทิฏฐิ อันภิกษุพึงให้เจริญ เพื่อละมิจฉาทิฏฐิ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ อันภิกษุพึงให้เจริญ เพื่อละธรรม ๓ ประการ นี้แล.
จบอัสสาทสูตรที่ ๖
อรรถกถาอัสสาทสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในอัสสาทสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อสฺสาททิฏิ ได้แก่ สัสสตทิฏฐิ. บทว่า อตฺตานุทิฏฺิ ได้แก่ สักกายทิฏฐิ มีวัตถุ ๒๐ ที่คล้อยตามอาตมัน. บทว่า มิจฺฉาทิฏฺิ ได้แก่ ทิฏฐิ ๖๒ อย่าง. บทว่า สมฺมาทิฏิ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิในองค์มรรค. อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิทั้งหลาย มีอาทิว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ. กัมมสกตาญาณ ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ.
จบอรรถกถา อัสสาทสูตรที่ ๖