กรรม คือ การกระทำ ได้แก่ เจตนา (ความจงใจ ความตั้งใจ) ที่เป็นกุศล (บุญ) หรืออกุศล (กิเลส) เป็นเหตุให้ทำกุศล หรือกรรม หรืออกุศลกรรมทางกาย ทางวาจา และทางใจ เมื่อได้กระทำกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมสำเร็จไปแล้ว กุศลหรืออกุศลกรรมนั้น จะเป็นปัจจัยให้เกิดผลตามสมควรแก่กรรมนั้นๆ การให้ผลของกรรมนั้น จะให้ผลได้ในชาติที่กระทำก็ได้ หรือจะให้ผลในชาติหน้าหรือชาติต่อๆ ไปก็ได้ ไม่ใช่กรรมทุกกรรมจะให้ผลได้ทั้งหมดในชาติที่กระทำกรรม เพราะกรรมสามารถติดตามไปให้ผลได้ตราบใดที่ยังไม่ได้ให้ผลหรือยังให้ผลไม่หมด เนื่องจาก กรรมจะสะสมสืบต่ออยู่ในจิตทุกๆ ขณะที่จิตเกิดดับสืบต่อกันไป
จากหนังสือ .. กรรมคำตอบของชีวิต โดย อัญญมณี มัลลิกะมาส
กรรมจะสะสมสืบต่ออยู่ในจิตทุกๆ ขณะที่จิตเกิดดับสืบต่อกันไป
การสะสมดังกล่าวที่ว่ามา มีลักษณะเป็นอย่างไร
เราจะทราบได้หรือไม่ด้วยปัญญาของปุถุชน
กรรมที่กระทำแล้วย่อมสะสมอยู่ในจิต โดยความเป็นกัมมปัจจัยคือ เมื่อได้เหตุอันควรย่อมให้วิบากเกิดขึ้น ต้องอาศัยปัญญาระดับพระพุทธองค์ จึงทราบรายละเอียด แต่ผู้ศึกษาตามย่อมรู้ได้ตามเหตุผลว่า กรรมย่อมไม่ไร้ผล และเมื่อมีวิบากเกิดขึ้นเพราะ มีกรรมเป็นปัจจัย
ถ้าคนที่รู้ว่าผลของทานมีจริงๆ คนนั้นจะไม่ให้ทาน ไม่มีเลย
ยินดีในกุศลจิตค่ะ