จริงอยู่ ความเพียร ท่านเรียกว่า อารัมภะ ด้วยสามารถแห่งความพยายาม.
บทว่า วิริยารมฺโภ นี้ เป็นบทแสดงถึงสภาวะของความเพียรนั้น. การก้าวออกด้วยการออกไปจากความเกียจคร้าน การก้าวหน้าด้วยการก้าวไปสู่ฐานะอื่นๆ ความขวนขวายด้วยการย่างขึ้นไป ความพยายามด้วยการไปไม่หยุด ความอุตสาหะด้วยความขะมักเขม้น ความขยันด้วยความขะมักเขม้นอย่างสูง ความมั่นคงด้วยตั้งอยู่ในความหนักแน่น ความทรงไว้ เพราะทรงไว้ด้วยสามารถการทรงจิตและเจตสิกไว้ได้ หรือทรงความสืบต่อแห่งกุศลไว้ด้วยสามารถความเป็นไปโดยไม่ขาดตอน
อีกนัยหนึ่ง ความก้าวออกนี้เพื่อบรรเทากามทั้งหลาย ความก้าวหน้านี้เพื่อตัดความผูกพัน ความขวนขวายนี้เพื่อถอนโอฆะ ความพยายามนี้เพื่อไปถึงฝั่ง ความอุตสาหะนี้เพื่อไปข้างหน้า ความขยันนี้เพื่อความยิ่งขึ้นไป ความมั่นคงนี้เพื่อถอนกิเลสเพียงดังกลอนเหล็ก. ความทรงไว้นี้เพื่อไม่หยุดยั้ง ความก้าวหน้ามิได้ย่อหย่อน ด้วยสามารถการก้าวไปไม่หยุดในกาลอันเป็นไปอย่างนี้ว่า หนังเอ็นและกระดูกจงเหลืออยู่ก็ตาม อธิบายว่า ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง
อนึ่ง เพราะความเพียรนี้ไม่ปลงฉันทะ ไม่ทอดธุระ ไม่ข้ามไป ไม่สละ นำมาซึ่งความเป็นผู้ไม่ท้อถอย ในที่ที่ทำกุศลกรรม ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ความไม่ปลงฉันทะ ความไม่ทอดธุระ ดังนี้ เหมือนอย่างว่าชนทั้งหลายกล่าวว่า พวกท่านจงจับโค นำสินค้าไปในที่ที่เจิ่งไปด้วยน้ำใกล้ฝั่งคงคา โคนั้นแม้คุกเข่าลงที่พื้นก็ยังนำสินค้าไปได้ ไม่ให้สินค้าตกลงที่พื้นฉันใด ภิกษุไม่ทอด
ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่...
ผู้ปรารภความเพียร [มหานิทเทส]
ความเพียร เป็นเจตสิกที่เกิดกับจิต ๗๓ ดวง เว้นอเหตุกะจิต ๑๖ ดวง ดังนั้น มหากุศลญาณสัมปยุตตจิตทุกดวงมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยและความเพียรนี้ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์บุคล ไม่ใช่เรา เพียร เป็นธรรมอย่างหนึ่งที่จะต้องอบรมไปจนเป็นวิริยินทรีย์ และต่อไปเป็นวิริยพละ ไม่หวั่นไหวในความเกียจคร้าน ชื่อว่า สัมมาวายามะ ครับ
ขออนุโมทนาความเพียรในกุศลค่ะ
[เล่มที่ ๒๔] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๓๐
บทว่า อาตาปี แปลว่า มีความเพียร จริงอยู่ความเพียร ตรัสเรียกว่า อาตาปะ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องเผากิเลสทั้งหลายให้เร่าร้อน ความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสของนระนั้นมีอยู่ เหตุนั้น นระผู้มีความเพียรนั้นจึงชื่อว่า อาตาปี แปลว่า ผู้มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสให้เร่าร้อน.
ปุถุชนทุกคนต้องการความเจริญไม่ต้องการความเสื่อมจึงศึกษาธรรม ผู้ต้องการความเจริญแต่กลับไม่ศึกษาเป็นทางแห่งความเสื่อม
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ความเพียร เป็นสภาพธัมมะที่มีจริง เกิดกับจิตเกือบทุกดวง เพียรที่เกิดกับอกุศลก็มีเกิดกับกุศลก็มี ความเพียรไม่ใช่มีตัวตนที่จะพยายามละกิเลส แต่เป็นปัญญาที่เกิดจากการฟังพระธรรม จึงเพียรที่จะฟังพระธรรม เจริญกุศลทุกประการ ความเพียรที่เกิดกับกุศล มีหลายระดับ ขณะที่ให้ทานก็มีวิริยเจตสิก ความเพียรแต่ไม่ใช่สัมมาวายามะ แต่ขณะใดที่เป็นสติปัฏฐานเกิด รู้ลักษณะของสภาพธัมมะที่มีจริงว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ขณะนั้นมีความเพียรเป็น สัมมาวายามะ ในมรรค เป็นความเพียรที่เป็นไปเพื่อดับกิเลส ดังนั้น จึงไม่ต้องไปทำความเพียรกัน เพราะขณะที่สติปัฏฐานเกิดก็มีความเพียรแล้ว และที่สำคัญไม่ได้หมายความว่า ความเพียรทุกอย่างจะดี ดังข้อความในพระไตรปิฎก
เรื่อง ความเพียรที่ควรเจริญและไม่ควรเจริญ
[เล่มที่ ๓๙] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ ๓๐๙
ข้อความบางตอน ...
จากวัชชิยสูตร
เมื่อบุคคลเริ่มตั้งความเพียรอันใดอยู่ อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมไป เรากล่าวการเริ่มตั้งความเพียรเห็นปานนั้นว่า ไม่ควรเริ่มตั้ง เมื่อบุคคลเริ่มตั้งความเพียรอันใดอยู่ อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญยิ่ง เรากล่าวการเริ่มตั้งความเพียรเห็นปานนั้น ว่าควรเริ่มตั้ง
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขออนุโมทนาครับ
กราบนอบน้อมพระรัตนตรัยด้วยเศียรเกล้า
กราบขอบพระคุณยินดีในกุศลทุกท่านด้วยความเคารพ
ฟังพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง โดยท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และคณะวิทยากรจากมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา จึงเข้าใจเรื่องความเพียร ที่มีทั้งเพียรในกุศลและเพียรในอกุศลและที่สำคัญ ความเพียรไม่ใช่เรา ตั้งแต่เพียรฟังพระธรรม เข้าใจเรื่องราวของสภาพธรรม จากความเข้าใจขั้นปริยัติ นำไปสู่ความเพียรที่จะระลึกลักษณะของสภาพธรรม ก็เป็นสภาพธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย ขณะนี้ มีธรรมะเกิดตลอดเวลา แต่จะปรากฏด้วยดีหรือยัง ความเพียรจะทำกิจหน้าที่หรือไม่ ก็ตามเหตุปัจจัย
ฟังพระธรรมต่อไปด้วยเห็นประโยชน์อย่างยิ่งค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาค่ะ