กราบเรียนถามสองคำถาม
หนึ่ง คำว่าเสพอารมณ์ หมายถึงยินดียินร้ายกับอารมณ์นั้น ใช่หรือไม่
สอง ประมาณการ/เปรียบเทียบความเร็วของจิต มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกส่วนไหนหรือ อรรถกถา ฎีกาที่ใหน อย่างไร
ขอบพระคุณยิ่งครับ
๑. คำว่า เสพอารมณ์ ภาษาบาลี ชวน ในการกล่าวถึงวิถีจิต โดยกิจ ซึ่งมักนิยมแปลทับศัพท์ว่า ชวนะ และอธิบายว่า เสพอารมณ์ หรือแล่นไปอย่างเร็ว ขณะนั้นจิตเป็นกุศล เป็นอกุศล หรือเป็นกิริยาจิตของพระอรหันต์
๒. มีกล่าวไว้ในอรรถกถาและฎีกาทั้งหลาย ว่าจิตเกิดดับเร็วเมื่อเทียบกับรูป เมื่อรูปดับหนึ่งขณะ จิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ
ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ...
พระองคุลีมาล
[เล่มที่ 77] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 79
อนึ่ง ต่อมน้ำ ย่อมเกิดขึ้น และแตกดับไปในหยาดแห่งน้ำนั้นๆ เป็นของไม่ตั้งอยู่นาน ฉันใด แม้เวทนาก็ฉันนั้น ย่อมเกิดขึ้น และย่อมดับไปเป็นของไม่ตั้งอยู่นาน คือเวทนานั้นซึ่งบัณฑิตพึงนับได้แสนโกฏิขณะ * เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปในขณะชั่วการดีดนิ้วมือครั้งหนึ่ง.
อนุโมทนา
อนุโมทนาครับ แต่ยังไม่ตรงตามที่อยากทราบครับ อยากทราบในความหมายเช่น เสพคนพาล ซ่องเสพคนพาล บัณฑิตไม่ควรซ่องเสพ (คำแปลว่า คบ) อยากทราบหมายถึง "ยินดียินร้าย" หรือไม่ ส่วนเคยพบว่า ชั่วดีดนิ้วหนึ่งครั้ง จิตเกิดแสนโกฏขณะ อะไรทำนองนี้ ไม่ทราบมีที่ไหนเขียนไว้ครับ
จาก ..ความคิดเห็นที่ 2 ได้ยกพุทธพจน์ซึ่งกล่าวถึงเวทนา ซึ่งเป็นเจตสิก เจตสิกเกิดพร้อมจิตและดับพร้อมจิต ดังนั้น จิตจึงเกิดดับเร็วเท่ากับเวทนาหรือจิตและเจตสิกเกิดดับเร็วเท่ากัน
[เล่มที่ 77] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 79
อนึ่ง ต่อมน้ำ ย่อมเกิดขึ้น และแตกดับไปในหยาดแห่งน้ำนั้นๆ เป็นของไม่ตั้งอยู่นาน ฉันใด แม้เวทนาก็ฉันนั้น ย่อมเกิดขึ้น และย่อมดับไปเป็นของไม่ตั้งอยู่นาน คือ เวทนานั้นซึ่งบัณฑิตพึงนับได้แสนโกฏิขณะ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปในขณะชั่วการดีดนิ้วมือครั้งหนึ่ง.
อนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ
ยินดีในกุศลจิตค่ะ