[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 606
เถราปทาน
ตมาลปุปผิยวรรคที่ ๒๐
ขัณฑผุลลิยเถราปทานที่ ๓ (๑๙๓)
ว่าด้วยผลแห่งการทําที่ขรุขระให้เรียบ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 606
ขัณฑผุลลิยเถราปทานที่ ๓ (๑๙๓)
ว่าด้วยผลแห่งการทำที่ขรุขระให้เรียบ
[๑๙๕] พระสถูปของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าผุสสะ มีอยู่ ที่ป่ามหาวัน ในกาลนั้น ต้นไม้งอกขึ้น ณ ที่นั้น ฝูงช้างพากัน มาหักกิน.
เราได้ทำที่ขรุขระให้ราบเรียบ แล้วได้ใส่ก้อนปูนขาว เรายินดีด้วยคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้เป็นที่ เคารพของโลกทั้ง ๓.
ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วย กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการใส่ก้อน ปูนขาว.
ในกัปที่ ๗๗ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๖ ครั้ง ทรงพระนามว่าชิตเสนะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละ มาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระขัณฑผุลลิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.
จบขัณฑผุลลิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 607
๑๙๓. อรรถกถาขัณฑผุลลิยเถราปทาน
พึงทราบอปทานของท่านพระเถระรูปที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ขณฺฑํ ในบทว่า ขณฺฑผุลฺลิยตฺเถโร นี้ หมายถึงสถานที่ ที่ขรุขระผุพังเพราะไม้ทั้งหลายเก่าชำรุด. บทว่า ผุลฺลํ หมายถึงที่ตรงที่ แตกออก เช่นตามมุมที่ประดับประดาพื้นที่และฉัตรเป็นต้น ในที่ที่ไม้ ทั้งหลายผุพังไป. ขณฺฑ และ ผุลฺล รวมกันเป็น ขณฺฑผุลฺลานิ การ ซ่อมแซมไม้ที่ชำรุดผุพัง คือย้ำทำให้มั่นคงแข็งแรง รวมเรียกว่าปฏิสังขรณ์ สิ่งที่ชำรุดผุพัง. ก็ในเวลาที่พระเถระรูปนี้บำเพ็ญบุญสมภาร ทำการฉาบทา ปูนขาวตรงที่ชำรุดผุพัง ที่พระเจดีย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ผุสสะ ให้มั่นคงแข็งแรง ชื่อว่าปฏิสังขรณ์สิ่งชำรุดผุพัง. เพราะฉะนั้น พระเถระรูปนั้นจึงได้ปรากฏชื่อว่าขัณฑผุลลิยเถระ.
จบอรรถกถาขัณฑผุลลิยเถราปทาน