[เล่มที่ 49] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 399
จูฬวรรคที่ ๓
๕. กุมารเปตวัตถุ
ว่าด้วยเด็กพูดวาจาหยาบเป็นบาปได้
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 49]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 399
๕. กุมารเปตวัตถุ
ว่าด้วยเด็กพูดวาจาหยาบเป็นบาปได้
เมื่อจะประกาศเนื้อความนั้น พระสังคีติกาจารย์ได้กล่าวคาถา ๗ คาถาความว่า :-
[๑๑๕] พระญาณของพระสุคตศาสดาน่าอัศจรรย์ เป็นเหตุให้พระองค์ทรงพยากรณ์บุคคลได้อย่างถูกต้องว่า บุคคลบางคนมีบุญมาก บางคนมีบุญน้อย คฤหบดีผู้นี้เมื่อยังเป็นเด็ก ถูกเขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นอยู่ได้ด้วยน้ำนมจากนิ้วมือตลอดราตรี ยักษ์และภูตปีศาจ หรืองูเล็กงูใหญ่ ก็ไม่เบียดเบียนเด็กผู้มีบุญอันได้ทำไว้แล้ว แม้สุนัขทั้งหลายก็พากันมาเลียเท้าทั้งสองของเด็กนี้ ฝูงเหยี่ยวและสุนัขจิ้งจอกก็พากันมาเดินเวียนรักษา ฝูงนกก็พากันมาคาบเอามลทินครรภ์ไปทิ้ง ส่วนฝูงกาพากันมานำเอาขี้ตาเด็กนี้ หรือใครๆ ที่จะทำเมล็ดพรรณผักกาด ให้เป็นยามิได้มี และไม่ได้ถือเอาการประกอบ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 400
ฤกษ์ยามทั้งไม่ได้เรี่ยรายซึ่งข้าวเปลือกทั้งปวง พระผู้มีพระภาคเจ้าอันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว มีพระปัญญากว้างขวาง ได้ทอดพระเนตรเห็นเด็กอันบุคคลนำมาทิ้งไว้ในป่าช้าในราตรี ผู้ถึงแล้วซึ่งความทุกข์อย่างยิ่งเช่นนี้ เหมือนก้อน แห่งเนยใสหวั่นไหวอยู่ มีความสงสัยว่ารอดหรือไม่รอดหนอ เหลืออยู่แต่สักว่าชีวิต ครั้นแล้วได้พยากรณ์ว่า เด็กคนนี้จักเป็นผู้มีตระกูลสูง มีโภคสมบัติในพระนครนี้.
พวกอุบาสกผู้ยืนอยู่ในที่ใกล้พระศาสดาทูลถามว่า :-
อะไรเป็นวัตรเป็นพรหมจรรย์ของเขา นี้เป็นวิบากแห่งวัตรหรือพรหมจรรย์ที่เขาประพฤติแล้วเช่นไร เขาถึงความพินาศเช่นนี้แล้ว จักเสวยความสำเร็จเช่นนั้นเพราะกรรมอะไร.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า:-
เมื่อก่อน มหาชนทำการบูชาอย่างโอฬารแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เด็กนั้นมิได้มีจิตเอื้อเฟื้อในการบูชา ได้กล่าววาจาหยาบคายอันมิใช่ของสัตบุรุษ ภายหลังเด็กนั้นอันมารดาตักเตือนให้กลับความวิตกอันลามกนั้นแล้ว กลับได้ปีติและความเลื่อมใส ได้บำรุงพระตถาคต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 401
ซึ่งประทับอยู่ ณ วิหารเชตวัน ด้วยข้าวยาคู ๗ วัน ข้อนั้นเป็นวัตรเป็นพรหมจรรย์ของเขา นี้เป็นวิบากแห่งวัตรและพรหมจรรย์ที่เขาประพฤติแล้วนั้น เขาถึงความพินาศเช่นนั้นแล้ว จักได้ความสำเร็จเช่นนั้น เขาตั้งอยู่ในมนุษยโลกนี้สิ้นร้อยปี เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยกามคุณทั้งปวง เมื่อตายไปจักเข้าถึงความเป็นสหายแห่งท้าววาสวะในสัมปรายภพ.
จบ กุมารเปตวัตถุที่ ๕
อรรถกถากุมารเปตวัตถุที่ ๕
เรื่องแห่งกุมารเปรตนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อจฺเฉรรูปํ สุคตสฺส าณํ ดังนี้. เรื่องนั้นมีอุปุปัตติเหตุเป็นอย่างไร.
ได้ยินว่า ในกรุงสาวัตถี อุบาสกและอุบาสิกาเป็นอันมากเป็นหมู่กันโดยธรรม สร้างมณฑปหลังใหญ่ไว้ในพระนคร ประดับมณฑปนั้นด้วยผ้านานาพรรณ นิมนต์พระศาสดาและพระภิกษุสงฆ์มาแต่เช้าตรู่ ให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานนั่งบนอาสนะที่ลาดด้วยเครื่องลาดอย่างดีควรแก่ค่ามาก บูชาด้วยสักการะมีของหอมและดอกไม้เป็นต้นแล้ว ให้มหาทานเป็นไป. บุรุษคนหนึ่งมีจิตถูกมลทินคือความตระหนี่กลุ้มรุม พอเห็นดังนั้น ทนต่อสักการะนั้นไม่ได้ จึงกล่าวอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งหมดนี้ทิ้งเสียที่กองหยากเหยื่อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 402
ยังจะดีกว่า กว่าการที่จะถวายแก่สมณะโล้นเหล่านี้ซึ่งหาดีมิได้เลย. พวกอุบาสกอุบาสิกาได้ฟังดังนั้น เกิดความสลดใจพากันคิดว่า การที่บุรุษนี้ขวนขวายสร้างกรรมชั่วอันเป็นเหตุให้ผิดในภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานถึงอย่างนี้ จัดว่าเป็นกรรมอันหนักหนอ ดังนี้แล้ว จึงได้บอกเรื่องนั้นแก่มารดาของเขาแล้วกล่าวว่า ไป เธอจงไปขอขมาโทษพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยพระสงฆ์สาวก. มารดารับคำแล้ว เมื่อจะขู่บุตรให้ยินยอม จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า และเยี่ยมภิกษุสงฆ์ แสดงโทษที่บุตรกระทำไว้ให้ขมาโทษแล้ว ได้กระทำการบูชาด้วยการถวายข้าวยาคูตลอด ๗ วัน แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์. เพราะฉะนั้น ไม่นานนักบุตรก็ทำกาละ บังเกิดในท้องของหญิงแพศยา. ผู้เลี้ยงชีพด้วยกรรมที่เศร้าหมอง. ก็พอบุตรเกิดขึ้นเท่านั้น มารดารู้ว่า เป็นเด็กชาย ก็ให้เขาไปทิ้งเสียที่ป่าช้า. บุตรนั้น อันพลังแห่งบุญของตนคุ้มครองรักษาไว้ในที่นั้น ไม่ถูกอะไรๆ เบียดเบียน จึงหลับ เป็นสุขเหมือนหลับที่ตักของมารดา. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า เทวดาพากันรับคุ้มครองรักษาบุตรนั้นไว้.
ครั้นเวลาใกล้รุ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากมหากรุณาสมาบัติ ทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธจักษุ ทอดพระเนตรเห็นเด็กนั้นที่ถูกทอดทิ้งไว้ที่ป่าช้า จึงได้เสด็จไปยังป่าช้าในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น. มหาชนประชุมกันว่า พระศาสดาเสด็จมาในที่นี้ เห็นจะมีเหตุอะไรในที่นี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่บริษัทผู้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 403
ประชุมกันแล้วว่า เด็กคนนี้ไม่มีใครรู้จัก บัดนี้ถูกทอดทิ้งไว้ในป่าช้า ไร้ที่พึ่งก็จริง ถึงอย่างนั้น เด็กนั้นก็จักได้รับสมบัติอันโอฬารในอนาคต ปัจจุบัน และอภิสัมปรายภพแล้ว ถูกพวกมนุษย์เหล่านั้นทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในชาติปางก่อน เด็กคนนี้ทำกรรมอะไรไว้ ดังนี้จึงทรงประกาศกรรมที่เด็กกระทำไว้ และสมบัติที่เด็กพึงได้รับในอนาคต โดยนัยเป็นต้นว่า :-
หมู่ชนได้กระทำการบูชาอย่างโอฬารแก่พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แต่จิตของเด็กนั้นกลับกลายเป็นอย่างอื่น จึงได้กล่าววาจาหยาบคาย มิใช่ของสัตบุรุษดังนี้แล้ว
จึงแสดงธรรมอันเหมาะสมแก่อัธยาศัยของบริษัทที่พากันมาประชุมแล้ว จึงได้ตรัสพระธรรมเทศนาที่พระองค์ทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เองในเบื้องบน. ในเวลาจบสัจจะ สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ได้ตรัสรู้ธรรม. ก็กฏุมพีคนหนึ่งผู้มีทรัพย์ ๘๐ โกฏิ ได้รับเด็กนั้นต่อพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เป็นบุตรของเรา. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า เด็กนี้อันบุญกรรมมีประมาณเท่านี้รักษาไว้แล้ว และมหาชนพากันกระทำการอนุเคราะห์ ดังนี้แล้ว จึงเสด็จไปยังพระวิหาร.
สมัยต่อมา เมื่อกฏุมพีนั้นทำกาละแล้ว เธอก็ปกครองทรัพย์ที่กฏุมพีนั้นมอบให้เก็บรวมทรัพย์ไว้ ได้เป็นคฤหบดี มีสมบัติมากในพระนครนั้นเอง ได้เป็นผู้ยินดีในการให้ทานเป็นต้น. ภายหลัง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 404
วันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่า น่าอัศจรรย์ พระศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลาย เด็กชื่อแม้นั้น ในกาลนั้นเป็นคนอนาถา แต่บัดนี้เสวยสมบัติมาก และกระทำอย่างโอฬาร พระศาสดาทรงสดับดังนั้นแล้ว ทรงพยากรณ์ว่า ภิกษุทั้งหลาย มิใช่เธอจะมีสมบัติแต่เพียงเท่านี้ โดยที่แท้ในเวลาสิ้นอายุ จัก บังเกิดเป็นโอรสของท้าวสักกเทวราชในภพชั้นดาวดึงส์ และจักได้สมบัติอันเป็นทิพย์. ภิกษุทั้งหลายและมหาชนได้ฟังดังนั้นแล้ว คิดว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ผู้เห็นกาลไกล ทรงสดับเหตุนั้นแล้ว เสด็จไป เมื่อเขาพอเกิดมาเท่านั้นก็ถูกทิ้งในป่าช้าผีดิบ เสด็จไปในที่นั้น กระทำการสงเคราะห์เธอดังนี้แล้ว จึงพากันชมเชยญาณพิเศษของพระศาสดา แล้วได้กราบทูลประวัติของเด็กนั้นในอัตภาพนั้น. พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย เมื่อจะแสดงความนั้น จึงได้กล่าวคาถา ๖ คาถาว่า :-
พระญาณของพระสุคตศาสดาน่าอัศจรรย์ เป็นเหตุให้พระองค์ทรงพยากรณ์บุคคลว่า บุคคลบางคนมีบุญมาก บางคนมีบุญน้อย. กุมารนี้ถูกทอดทิ้งในป่าช้าเป็นอยู่ได้ด้วยน้ำนมจากนิ้วมือตลอดราตรี ยักษ์และภูตปีศาจ หรืองูเล็ก งูใหญ่ ก็ไม่เบียดเบียนเด็กผู้มีบุญอันได้ทำไว้แล้ว แม้สุนัขทั้งหลายก็พากันมาเลียเล็บเท้าทั้งสองของเด็กนี้ ฝูงกาและสุนัขจิ้งจอกก็พากันมาเดินเวียน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 405
รักษา ฝูงนกก็พากันมาคาบเอามลทินครรภ์ไปทิ้ง ส่วนฝูงกาพากันมาเอาขี้ตาไปทิ้ง มนุษย์และอมนุษย์ไรๆ มิได้จัดแจงรักษาเด็กนี้ หรือใครๆ ที่จะทำเมล็ดพันธุ์ผักกาดให้เป็นยามิได้มี และไม่ได้ถือเอาการประกอบฤกษ์ยาม ทั้งไม่ได้เรี่ยรายซึ่งข้าวเปลือกทั้งปวง พระผู้มีพระภาคเจ้าอันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว มีพระปัญญากว้างขวาง ได้ทอดพระเนตรเห็นเด็กอันบุคลลนำมาทิ้งไว้ในป่าช้าในราตรี ผู้ถึงซึ่งความทุกข์อย่างยิ่งเช่นนี้ เหมือนก้อนเนยใสหวั่นไหวอยู่ มีความสงสัยว่า รอดหรือไม่รอด เหลืออยู่แต่สักว่าชีวิต ครั้นได้รับพยากรณ์ว่า เด็กนี้จักเป็นผู้มีสกุลสูง มีโภคสมบัติในพระนครนี้
พวกอุบาสกผู้ยืนอยู่ในที่ใกล้พระศาสดาทูลถามว่า
อะไรเป็นวัตรเป็นพรหมจรรย์ของเขา นี้เป็นวิบากแห่งวัตรหรือพรหมจรรย์ที่เขาประพฤติแล้วเช่นไร เขาถึงความพินาศเช่นนี้แล้ว จักเสวยความสำเร็จเช่นนั้น เพราะกรรมอะไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อจฺเฉรรูปํ ได้แก่ มีสภาวะน่าอัศจรรย์. บทว่า สุคตสฺส าณํ ได้แก่ พระญาณแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอันไม่ทั่วไปกับสาวกอื่น ซึ่งท่านกล่าวหมายเอาพระ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 406
สัพพัญญุตญาณมีอาสยานุสยญาณเป็นต้นเท่านั้น. เพื่อจะเลี่ยงคำถามว่า พระญาณนี้นั้นไม่เป็นวิสัยของพระสาวกอื่น เป็นอย่างไร จึงกล่าวว่า พระศาสดาทรงพยากรณ์ตามชั้นของบุคคล. ด้วยคำนั้น ท่านแสดงว่า ความที่พระญาณเป็นภาวะน่าอัศจรรย์ ย่อมรู้ได้ด้วยเทศนาของพระศาสดาเท่านั้น.
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงพยากรณ์ พระองค์จงตรัสว่า บุคคลบางคนมีบุญมาก บางคนมีบุญน้อย ดังนี้. ความแห่งคำนั้นมีอธิบายดังนี้ว่า บุคคลบางพวกในโลกนี้ มีกุศลธรรมมาก เป็นผู้เสื่อมจากชาติเป็นต้น ด้วยอำนาจอกุศลที่ตนได้แล้วเป็นปัจจัยก็มี บ้างพวกมีบุญน้อยก็มี บางพวกมีบุญธรรมน้อยกว่าก็มี เป็นผู้รุ่งเรืองเพราะความเป็นบุญรุ่งเรืองมากด้วยเหตุมีเขตุตสมบัติเป็นต้น ก็มี.
บทว่า สิวถิกาย แปลว่า ในป่าช้า. บทว่า อวฺคุฏฺเสนฺเหน ได้แก่ ด้วยน้ำนมอันไหลออกจากนิ้วมือ อธิบายว่า ด้วยน้ำนมอันไหลออกจากนิ้วมือของเทวดา. บทว่า น ยกฺขภูตา น สรีสปา วา ความว่า สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นปีศาจภูต ยักขภูต หรืองูใหญ่น้อยที่เที่ยวไป หรือเดินไป ไม่พึงเบียดเบียน คือไม่พึงทำร้าย.
บทว่า ปลิหึสุ ปาเท ความว่า เลียเท้าทั้งสองด้วยลิ้นของตน. บทว่า ธงฺกา แปลว่า พวกเหยี่ยว. บทว่า ปริวตฺตยนฺติ ความว่า เที่ยวเวียนรักษาไปๆ มาๆ เพื่อให้รู้ว่าไม่มีโรคว่า ใครๆ อย่าพึงเบียดเบียนกุมารนั้นเลย. บทว่า คพฺภาสยํ แปลว่า มลทินครรภ์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 407
บทว่า ปกฺขิคณา ได้แก่ ฝูงนกมีแร้งและเหยี่ยวเป็นต้น. บทว่า หรนฺติ แปลว่า ขจัดไป. บทว่า อกฺขิมูลํ ได้แก่ ขี้ตา.
บทว่า เกจิ ได้แก่ พวกเป็นมนุษย์ แต่อมนุษย์จัดแจงรักษา. บทว่า โอสธํ ได้แก่ ยาอันบำบัดโรคในกาลนั้นและกาลต่อไป. ด้วยบทว่า สาสปธูปนํ วา ท่านแสดงว่า ผู้ที่จะทำยาด้วยเมล็ดพรรณผักกาดเพื่อจะรักษาเด็กผู้แรกเกิดนั้น ไม่มี. บทว่า นตฺขตฺตโยคมฺปิ น อคฺคเหสุํ ความว่า ไม่ยึดเอาแม้ด้วยการประกอบฤกษ์, อธิบายว่า ใครๆ ไม่กระทำกรรมแรกเกิดให้แก่เธออย่างนี้ว่า เด็กนี้เกิดในฤกษ์โน้น ดีถิโน้น ครู่โน้น. บทว่า น สพฺพธญฺานิปิ อากิรึสุ ความว่า เมื่อจะกระทำมงคล ไม่ได้กระทำข้าวเปลือกมีข้าวสาลีเป็นต้นอันเจือด้วยน้ำมันเมล็ดพรรณผักกาดที่เขาประกอบให้เป็นยาแก่เด็กนั้น.
บทว่า เอตาทิสํ แปลว่า เห็นปานนั้น. บทว่า อุตฺตมกิจฺฉปตฺตํ ความว่า ได้รับความยากอย่างยิ่ง คือ ได้รับทุกข์อย่างยิ่ง. บทว่า รตฺตาภตํ ได้แก่ ที่เขานำมาในราตรี. บทว่า โนนีตปิณฺฑํ วิย ได้แก่ เสมือนกับก้อนเนยใส, ท่านกล่าวอย่างนั้น เพราะเป็นเพียงชิ้นเนื้อ. บทว่า ปเวธมานํ ได้แก่ สั่นอยู่โดยภาวะที่มีกำลังน้อย. บทว่า สํสยํ ความว่า ชื่อว่ามีความสงสัย เพราะมีความสงสัยว่า เขาจะมีชีวิตอยู่หรือไม่หนอ. บทว่า ชีวิตสาวเสสํ ได้แก่ เหลืออยู่แต่เพียงชีวิตอย่างเดียว เพราะไม่มีทรัพย์อันเป็นเหตุดำรงชีวิต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 408
บทว่า อคฺคกุลิโก ภวิสฺสติ โภคโต จ ความว่า จักเป็นผู้มีสกุลสูง คือ มีสกุลสูงสุดอันมีโภคะเป็นเหตุ คือด้วยอำนาจโภคะ.
คาถาว่า กิสฺส วตํ เป็นต้นนี้ พึงทราบว่า อุบาสกผู้อยู่ในสำนักของพระศาสดากราบทูลด้วยอำนาจคำถามถึงกรรมที่เขาทำไว้ และคาถานั้นแลอุบาสกผู้ประชุมกันอยู่ในป่าช้าได้กล่าวไว้แล้ว. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิสฺส แปลว่า พึงเป็นกรรมอะไร. บทว่า วตํ ได้แก่ การสมาทานวัตร. บทว่า กิสฺส มีวาจาประกอบการเปลี่ยนวิภัติอีกว่า วัตรและพรหมจรรย์ที่เธอสั่งสมไว้ดีเช่นไร. บทว่า เอตาทิสํ ความว่า ชื่อว่าเห็นปานนั้น เพราะเกิดในท้องหญิงแพศยา ถูกทอดทิ้งในป่าช้า. บทว่า พฺยสนํ แปลว่า ความพินาศ. บทว่า เอตาทิสํ แปลว่า เห็นปานนั้น, อธิบายว่า มีประการดังกล่าว แล้ว โดยนัยมีอาทิว่า เป็นอยู่ตลอดราตรีด้วยน้ำนมที่ไหลออกจากนิ้วมือ และโดยนัยมีอาทิว่า เด็กนี้จักมีสกุลสูงแห่งนครนี้. บทว่า อิทฺธึ ได้แก่ เทวฤทธิ์ อธิบายว่า ทิพยสมบัติ.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าถูกอุบาสกเหล่านั้นทูลถามแล้ว ได้ทรงพยากรณ์ในเวลานั้น โดยประการที่พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายเมื่อจะแสดงได้กล่าวคาถา ๔ คาถาว่า :-
มหาชนได้ทำการบูชาอย่างโอฬารแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เด็กนั้นมิได้มีจิตเอื้อเฟื้อในการบูชา ได้กล่าววาจาหยาบคายอันมิใช่ของสัตบุรุษ ภายหลังเด็กนั้นอัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 409
มารดาตักเตือนให้กลับความวิตกอันลามกนั้นแล้ว กลับได้ปีติและความเลื่อมใส ได้บำรุงพระตถาคตซึ่งประทับอยู่ที่พระเชตวันมหาวิหาร ด้วยข้าวยาคู ๗ วัน ข้อนั้นเป็นวัตรเป็นพรหมจรรย์ของเขา นี้เป็นวิบากแห่งวัตรและพรหมจรรย์ที่เขาประพฤติแล้วนั้น เขาถึงความพินาศเช่นนี้แล้ว จักได้ความสำเร็จเช่นนั้น เขาตั้งอยู่ในมนุษยโลกนี้สิ้น ๑๐๐ ปี เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยกามคุณทั้งปวง เมื่อตายไปจักเข้าถึงความเป็นสหายแห่งท้าววาสวะในสัมปรายภพ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชนตา ได้แก่ หมู่ชน อธิบายว่า คณะแห่งอุบาสก. บทว่า ตตฺร ได้แก่ ในการบูชานั้น. บทว่า อสฺส ได้แก่ ของทารกนั้น. บทว่า จิตฺตสฺสหุ อญฺถตฺตํ ความว่า ในภพก่อน จิตของเขามีภาวะเป็นอย่างอื่น คือ ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่เคารพ ไม่มีปีติ. บทว่า อสพฺภํ ได้แก่ ได้กล่าววาจาหยาบอันไม่ควรที่จะฟังในที่ประชุมแห่งสาธุชน.
บทว่า โส ได้แก่ เด็กนี้นั้น. บทว่า ตํ วิตกฺกํ ได้แก่ วิตกอันลามกนั้น. บทว่า ปวิโนทยิตฺวา ได้แก่ สงบระงับด้วยสัญญัติที่มารดากระทำ. บทว่า ปีตึ ปสาทํ ปฏิลทฺธา ได้แก่ กลับได้ คือ ทำปีติและความเลื่อมใสให้เกิด. บทว่า ผาคุยา อุปฏฺาสิ ได้แก่ บำรุงด้วยการถวายข้าวยาคู. บทว่า สตฺตรตฺตํ แปลว่า ตลอด ๗ วัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 410
บทว่า ตสฺส วตํ ตํ ปน พฺรหฺมจริยํ ความว่า ความเลื่อมใส และการให้แห่งจิตของตนซึ่งมีประการดังเรากล่าวในหนหลังนั้น เป็นวัตรและเป็นพรหมจรรย์ของบุคคลนี้ อธิบายว่า ไม่มีสิ่งไรอื่น.
บทว่า ตฺวาน ความว่า ตั้งอยู่ในมนุษยโลกนี้แหละจนสิ้นอายุ. บทว่า อภิสมฺปรายํ ได้แก่ ในภพใหม่. บทว่า สหพฺยตํ คจฺฉติ วาสวสฺส ได้แก่ จักเข้าถึงความเป็นสหาย โดยความเป็นบุตรแห่งท้าวสักกะจอมเทพ. ก็คำว่า สหพฺยตํ คจฺฉติ วาสวสฺส นี้ เป็นคำปัจจุบันกาล ใช้ในอรรถอันเป็นอนาคต. คำที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้น ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถากุมารเปตวัตถุที่ ๕