[เล่มที่ 7] พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒
พระวินัยปิฎก
เล่มที่ ๕
มหาวรรค ภาคที่ ๒
เภสัชชขันธกะ
ภิกษุอาพาธในฤดูสารท 25/58
พระพุทธานุญาตเภสัช ๕ ในกาล 58
พระพุทธานุญาตเภสัช ๕ นอกกาล 26/60
พระพุทธานุญาตน้ํามันเปลว 27/61
พระพุทธานุญาตมูลเภสัช 28/61
พระพุทธานุญาตเครื่องบดยา 62
พระพุทธานุญาตกสาวเภสัช 29/62
พระพุทธานุญาตปัณณเภสัช 30/62
พระพุทธานุญาตผลเภสัช 31/63
พระพุทธานุญาตชตุเภสัช 32/63
พระพุทธานุญาตโลณเภสัช 33/64
พระพุทธานุญาตจุรณเภสัชเป็นต้น 34/64
พระพุทธานุญาตเครื่องกรอง 35/65
พระพุทธานุญาตเนื้อดิบและเลือดสด 36/65
พระพุทธานุญาตยาตาเป็นต้น 37/66
พระพุทธานุญาตน้ํามันเป็นต้น 38/68
พระปิลินทวัจฉะเถระอาพาธเป็นโรคลม 39/70
อาพาธโรคลมเสียดยอกตามข้อ 40/71
อาพาธเท้าแตก 41/72
อาพาธเป็นโรคฝี 42/72
พระพุทธานุญาตยามหาวิกัฏ ๔ อย่าง 43/73
ภิกษุอาพาธด้วยโรคต่างๆ 44/74
พระปิลินทวัจจเถระซ่อมแปลงเงื้อมเขา 45/75
พระพุทธานุญาตอารามิก -/76
เนรมิตมาลัยทองคํา 46/77
พระพุทธานุญาตเภสัช ๕ 47/80
พระพุทธานุญาตงบน้ําอ้อย 48/81
พระพุทธานุญาตถั่วเขียว 81
พระพุทธานุญาตยาดองโลณโสจิรกะ 82
ประชวรโรคลมเกิดในพระอุทร 49/82
พุทธประเพณี 83
ทรงตําหนิท่านพระอานนท์ 83
พระพุทธบัญญัติห้ามอามิสที่เป็นอันโตวุตถะเป็นต้น 84
พระพุทธานุญาตให้อุ่นโภชนาหาร 50/84
พระพุทธานุญาตอามิสที่เป็นอันโตวุตถะเป็นต้น 51/85
ผลไม้กลางทาง 52/86
พุทธประเพณี 86
พระพุทธานุญาตให้รับประเคนของที่เป็นอุคคหิต 87
พราหมณ์ถวายงาและน้ําผึ้งใหม่ 53/87
พระพุทธานุญาตให้ฉันโภชนะไม่เป็นเดน 89
ตระกูลอุปัฏฐากของพระอุปนันทศากยบุตร 54/89
พระสารีบุตรเถระอาพาธ 55/90
พระพุทธานุญาตผลไม้ที่ใช้เพาะพันธุ์ไม่ได้ 56/91
พระพุทธบัญญัติห้ามทําสัตถกรรม 57/92
ทรงประชุมภิกษุสงฆ์ 92
พระพุทธบัญญัติห้ามทําวัตถิกรรม 93
อุบาสิกาสุปปิยาถวายเนื้อขา 58/94
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม 59/96
ทรงติเตียน 97
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อมนุษย์ 97
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อช้าง 60/97
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อม้า 98
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อสุนัข 98
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้องู 99
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อราชสีห์ 99
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อเสือโคร่ง 100
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อเสือเหลือง 100
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อหมี 100
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อเสือดาว 100
เรื่องพราหมณ์ถวายยาคูและขนมปรุงด้วยน้ําหวาน 61/101
ข้าวยาคูมีคุณ ๑๐ อย่าง 103
คาถาอนุโมทนา 62/103
พระพุทธานุญาตข้าวยาคูและขนมปรุงด้วยน้ําหวาน 62/104
เรื่องมหาอํามาตย์ผู้เริ่มเลื่อมใส 64/104
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม 107
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันยาคูที่แข้น 107
เรื่องพราหมณ์เวลัฏฐกัจจานะถวายงบน้ําอ้อย 65/107
ทรงแสดงอนุปุพพิกถาและจตุราริยสัจ 111
พระพุทธานุญาตงบน้ําอ้อย 66/112
ทรงรับอาคารพักแรม 67/112
โทษแห่งศีลวิบัติ ๕ ประการ 68/114
อานิสงฆ์แห่งศีลสมบัติ ๕ ประการ 69/115
เรื่องสุนีธะวัสสการะมหาอํามาตย์ 71/116
คาถาอนุโมทนา 73/118
ทรงแสดงจตุราริยสัจ 75/120
นิคมคาถา 76/120
เรื่องเจ้าลิจฉวีชาวพระนครเวสาลี 77/121
นางอัมพปาลีถวายอัมพปาลีวัน 123
เรื่องสีหะเสนาบดีดําริเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า 78/124
อกิริยวาทกถา 125
พระพุทธดํารัสตอบ 79/126
แสดงตนเป็นอุบาสก 80/130
สีหะเสนาบดีได้ธรรมจักษะ 131
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อที่ทําเฉพาะ 134
พระพุทธบัญญัติห้ามภัตตาหารบางชนิด 81/134
พระพุทธานุญาตกัปปิยภูมิ 82/135
วิธีสมมติกับปิยภูมิ 136
กรรมวาจาสมมติกัปปิยภูมิ 136
พระพุทธานุญาตกัปปิยภูมิ ๓ ชนิด 137
พระพุทธานุญาตกัปปิยภูมิ ๔ ชนิด 137
เรื่องเมณฑกะคหบดี 83/138
พระพุทธคุณ 142
ทรงแสดงธรรมโปรด 143
แสดงตนเป็นอุบาสก 144
เมณฑกะคหบดีอังคาสพระสงฆ์ 85/146
เมณฑกานุญาต 148
เรื่องเกณิยชฎิล 86/149
พระพุทธานุญาตน้ําอัฏฐบาน 152
เตรียมการต้อนรับพระพุทธเจ้า 88/153
โรชะมัลลกษัตริย์ได้ธรรมจักษุ 155
พระพุทธานุญาตผักและแป้ง 158
เรื่องวุฑฒบรรพชิต 89/158
พุทธประเพณี 159
ห้ามภิกษุผู้เคยเป็นช่างกัลบกเก็บรักษามีดโกน 160
พระพุทธานุญาตผลไม้ 90/160
พืชของสงฆ์และของบุคคล 91/161
พระพุทธานุญาตมหาปเทส ๔ 92/161
วัตถุเป็นกัปปิยะและอกัปปิยะ 161
พระพุทธานุญาตกาลิกระคน 93/162
หัวข้อประจําขันธกะ 94/163
อรรถกถา 165
ว่าด้วยเภสัช 165
ว่าด้วยอันโตวุตถะเป็นต้น 171
ว่าด้วยสัตถกรรมเป็นต้น 172
ว่าด้วยเนื้อที่ควรและไม่ควร 173
ว่าด้วยทรงอนุญาตยาคูเป็นต้น 174
เรื่องเจ้าลิจฉวี 178
ว่าด้วยอุททิสสมังสะ 178
ว่าด้วยกัปปิยภูมิ 180
ว่าด้วยปัญจโครสและเสบียงทาง 185
ว่าด้วยน้ําอัฏจบาน 186
ว่าด้วยรส ๔ อย่าง 187
ว่าด้วยผักและแป้ง 188
เรื่องภิกษุเคยเป็นช่างโกนผม 188
มหาปเทส ๔ 189
ว่าด้วยกาลิกระคนกัน 191
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 7]
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 58
เภสัชชขันธกะ
ภิกษุอาพาธในฤดูสารท
[๒๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุ ทั้งหลายอันอาพาธซึ่งเกิดชุมในฤดูสารทถูกต้องแล้ว ยาคูที่ดื่มเข้าไปก็พุ่งออก แม้ข้าวสวยที่ ฉันแล้วก็พุ่งออก เพราะอาพาธนั้น พวกเธอจึงซูบผอม เศร้า หมอง มีผิวพรรณไม่ดี มีผิวเหลืองขึ้นๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็น พระผู้มี พระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุเหล่านั้นซูบผอมเศร้าหมอง มีผิวพรรณ ไม่ดี มีผิวเหลืองขึ้นๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็น ครั้นแล้วจึงตรัสเรียกท่าน พระอานนท์มารับสั่งถามว่า ดูก่อนอานนท์ ทำไมหนอ เดี๋ยวนี้ภิกษุทั้งหลายจึง ซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ดี มีผิวเหลืองขึ้นๆ มีเนื้อตัวสะพรั่ง ด้วยเอ็น.
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า เดี๋ยวนี้ภิกษุทั้งหลาย อันอาพาธซึ่งเกิดชุมในฤดูสารทถูกต้องแล้ว ยาคูที่ดื่มเข้าไปก็พุ่งออก แม้ข้าว สวยที่ฉันแล้วก็พุ่งออก เพราะอาพาธนั้น พวกเธอจึงซูบผอม เศร้าหมองมี ผิวพรรณไม่ดี มีผิวเหลืองขึ้นๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็น.
พระพุทธานุญาตเภสัช ๕ ในกาล
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับในที่สงัดทรงหลีกเร้นอยู่ได้มีพระ ปริวิตกแห่งพระทัยเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เดี๋ยวนี้ภิกษุทั้งหลายอันอาพาธซึ่งเกิดชุม ในฤดูสารท ถูกต้องแล้ว ยาคูที่ดื่มเข้าไปก็พุ่งออก แม้ข้าวสวยที่ฉันแล้วก็พุ่ง
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 59
ออก เพราะอาพาธนั้น พวกเธอจึงซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ดี มี ผิวเหลืองขึ้นๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็น เราจะพึงอนุญาตอะไรหนอ เป็น เภสัชแก่ภิกษุทั้งหลาย ซึ่งเป็นเภสัชอยู่ในตัว และเขาสมมติว่าเป็นเภสัช ทั้ง จะพึงสำเร็จประโยชน์ในอาหารกิจแก่สัตว์โลก และจะไม่พึงปรากฏเป็นอาหาร หยาบ ทีนั้นพระองค์ได้มีพระปริวิตกสืบต่อไปว่า เภสัช ๕ นี้แล คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อยเป็นเภสัชอยู่ในตัว และเขาสมมติว่าเป็นเภสัช ทั้งสำเร็จประโยชน์ในอาหารกิจแก่สัตว์โลก และไม่ปรากฏเป็นอาหารหยาบ ผิฉะนั้น เราพึงอนุญาตเภสัช ๕ นี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ให้รับประเคนในกาลแล้ว บริโภคในกาล ครั้นเวลาสายัณห์พระองค์เสด็จออกจากที่หลีกเร้น ทรงทำ ธรรมีกถา ในเหตุเพราะเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่ง กะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ณ ตำบลนี้ ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เดี๋ยวนี้ภิกษุทั้งหลายอันอาพาธซึ่งเกิด ชุมในฤดูสารทถูกต้องแล้ว ยาคูที่ดื่มเข้าไปก็พุ่งออก แม้ข้าวสวยที่ฉันแล้วก็ พุ่งออก เพราะอาพาธนั้น พวกเธอจึงซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ดี มีผิวเหลืองขึ้นๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็น เราจะพึงอนุญาตอะไรหนอ เป็น เภสัชแก่ภิกษุทั้งหลาย ซึ่งเป็นเภสัชอยู่ในตัวและเขาสมมติว่าเป็นเภสัช ทั้งจะ พึงสำเร็จประโยชน์ในอาหารกิจแก่สัตว์โลก และไม่ปรากฏเป็นอาหารหยาบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความปริวิตกสืบต่อไปว่า เภสัช ๕ นี้แล เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นเภสัชอยู่ในตัว และเขาสมมติว่า เป็นเภสัชทั้งสำเร็จประโยชน์ในอาหารกิจแก่สัตว์โลก และไม่ปรากฏเป็น อาหาร หยาบ ผิฉะนั้น เราพึงอนุญาตเภสัช ๕ นี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ให้รับประเคน ในกาลแล้วบริโภคในกาล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รับประเคน เภสัช ๕ นั้นในกาล แล้วบริโภคในกาล.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 60
พระพุทธานุญาติเภสัช ๕ นอกกาล
[๒๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายรับประเคนเภสัช ๕ นั้น ในกาล แล้วบริโภคในกาล โภชนาหารของพวกเธอชนิดธรรมดา ชนิดเลว ไม่ย่อย ไม่จำต้องกล่าวถึงโภชนาหารที่ดี พวกเธออันอาพาธซึ่งเกิดชุมในฤดูสารทนั้น และอันความเบื้อภัตตาหารนี้ถูกต้องแล้ว เพราะเหตุ ๒ ประการนั้น ยิ่งเป็นผู้ ซูบผอมเศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ดี มีผิวเหลืองขึ้นๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วย เอ็นมากขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุเหล่านั้นซึ่งซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ดี มีผิวพรรณเหลืองขึ้นๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็น มากขึ้น ครั้นแล้ว จึงตรัสเรียกท่านพระอานนท์ มารับสั่งถามว่า ดูก่อนอานนท์ ทำไมหนอ เดี๋ยวนี้พระภิกษุ ทั้งหลายยิ่งซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ดี มีผิวเหลืองขึ้นๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็นมากขึ้น.
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า เดี๋ยวนี้ภิกษุทั้งหลาย รับประเคนเภสัช ๕ นั้นในกาลแล้วบริโภคในกาล โภชนาหารของพวกเธอชนิด ธรรมดา ชนิดเลว ไม่ย่อย ไม่จำต้องกล่าวถึงโภชนาหารที่ดี พวกเธออัน อาพาธซึ่งเกิดในฤดูสารทนั้น และอันความเบื่อภัตตาหารนี้ถูกต้องแล้ว เพราะ เหตุ ๒ ประการนั้น ยิ่งเป็นผู้ซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ดี มีผิวเหลืองขึ้นๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็นมากขึ้น.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้า มูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับ สั่งว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รับประเคนเภสัช ๕ นั้น แล้วบริโภคได้ทั้งให้กาล ทั้งนอกกาล.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 61
พระพุทธานุญาตน้ำมันเปลว
[๒๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายที่อาพาธมีความต้องการด้วย น้ำมันเปลว เป็นเภสัช จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัส อนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำมันเปลวเป็น เภสัช คือ น้ำมันเปลวหมี น้ำมันเปลวปลา น้ำมันเปลวปลาฉลาม น้ำมัน เปลวหมู น้ามันเปลวลา ที่รับประเคนในกาล เจียวในกาล กรองในกาล บริโภคอย่างน้ำมัน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุรับประเคนในวิกาล เจียวในวิกาล กรองในวิกาล หากจะพึงบริโภคน้ำมันเปลวนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ๓ ตัว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุรับปะเคนในกาล เจียวในวิกาล กรอง ในวิกาล หากจะพึงบริโภคน้ำมันเปลวนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุรับประเคนในกาล เจียวในกาล กรอง ในวิกาล หากจะพึงบริโภคน้ำมันเปลวนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ตัว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุรับประเคนในกาล เจียวในกาล กรองใน กาล หากจะพึงบริโภคน้ำมันเปลวนั้น ไม่ต้องอาบัติ.
พระพุทธานุญาตมูลเภสัช
[๒๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายที่อาพาธมีความต้องการด้วย รากไม้เป็นเภสัช จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาต แก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตรากไม้ที่เป็นเภสัช คือ ขมิ้น ขิง ว่านน้ำ ว่านเปราะ อุตพิด ข่า แฝก แห้วหมู ก็หรือมูลเภสัช แม้ชนิดอื่นใดบรรดามีที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยวในของควรเคี้ยว ที่
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 62
ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรบริโภคในของควรบริโภค รับประเคนมูลเภสัช เหล่านั้นแล้วเก็บไว้ได้จนตลอดชีพ ต่อมีเหตุ จึงให้บริโภคได้ เมื่อเหตุไม่มี ภิกษุบริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธานุญาตเครื่องบดยา
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายที่อาพาธมีความต้องการด้วยรากไม้ที่เป็น เภสัชชนิดละเอียด จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาต แก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตัวหินบด ลูกหินบด.
พระพุทธานุญาตกสาวเภสัช
[๒๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายที่อาพาธมีความต้องการด้วย น้ำฝาดเป็นเภสัช จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาต แก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำฝาดที่เป็นเภสัช คือ น้ำฝาดสะเดา น้ำฝาดมูกมัน น้ำฝาดกระดอมหรือขี้กา น้ำฝาดบรเพ็ดหรือพญา มือเหล็ก น้ำฝาดกถินพิมาน ก็หรือกสาวเภสัชแม้ชนิดอื่นใดบรรดามี ที่ไม่ สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยวในของควรเคี้ยว ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ ของควรบริโภคในของควรบริโภค รับประเคนกสาวเภสัชเหล่านั้น แล้วเก็บ ไว้ได้จนตลอดชีพ ต่อมีเหตุ จึงให้บริโภคได้ เมื่อเหตุไม่มี ภิกษุบริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธานุญาตปัณณเภสัช
[๓๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายที่อาพาธมีความต้องการด้วย ใบไม้เป็นเภสัช จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตใบไม้ที่เป็นเภสัช คือ ใบ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 63
สะเดา ใบมูกมัน ใบกระคอมหรือขี้กา ใบกะเพรา หรือแมงลัก ใบผาย ก็หรือ ปัณณเภสัชแม้ชนิดอื่นใดบรรดามี ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยว ในของควรเคี้ยว ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรบริโภคในของควรบริโภค รับประเคนปัณณเภสัชเหล่านั้น แล้วเก็บไว้ได้จนตลอดชีพ ต่อมีเหตุ จึงให้ บริโภคได้ เมื่อเหตุไม่มี ภิกษุบริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธานุญาตผลเภสัช
[๓๑] ก็โดยสมัยนั่นแล ภิกษุทั้งหลายที่อาพาธมีความต้องการด้วย ผลไม้เป็นเภสัช จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผลไม้ที่เป็นเภสัช คือ ลูก พิลังกาสา ดีปรี พริก สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม ผลแห่งโกฐ ก็ หรือผลเภสัชแม้ชนิดอื่นใดบรรดามี ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยวใน ของควรเคี้ยว ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรบริโภคในของควรบริโภค รับ ประเคนผลเภสัชเหล่านั้นแล้ว เก็บไว้ได้จนตลอดชีพ ต่อมีเหตุ จึงให้บริโภคได้ เมื่อเหตุไม่มี ภิกษุบริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธานุญาตชตุเภสัช
[๓๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายที่อาพาธมีความต้องการด้วย ยางไม้เป็นเภสัช จึงกราบทูลเรื่องนั้นแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยางไม้ที่เป็นเภสัช คือ ยาง อันไหลออกจากต้นหิงคุ ยางอันเขาเคี่ยวจากก้านและใบแห่งต้นหิงคุ ยางอันเขา เคี่ยวจากใบแห่งต้นหิงคุ หรือเจือของอื่นด้วยยางอันไหลออกจากยอดไม้ตกะ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 64
ยางอันไหลออกจากใบแห่งต้นตกะ ยางอันเขาเดี่ยวจากใบหรือไหลออกจากก้าน แห่งต้นตกะ กำยานก็หรือชตุเภสัชชนิดอื่นในบรรดามีที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ ของควรเคี้ยวในของควรเคี้ยว ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรบริโภคในของ ควรบริโภค รับประเคนชตุเภสัชเหล่านั้น แล้วเก็บไว้ได้จนตลอดชีพ ต่อมี เหตุ จึงให้บริโภคได้ เมื่อเหตุไม่มี ภิกษุบริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธานุญาตโลณเภสัช
[๓๓] ก็โดยสมัยนั้นแล. ภิกษุทั้งหลายที่อาพาธมีความต้องการด้วย เกลือเป็นเภสัช จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเกลือที่เป็นเภสัช คือ เกลือ สมุทร เกลือดำ เกลือสินเธาว์ เกลือดินโป่ง เกลือหุง ก็หรือโลณเภสัชชนิด อื่นใดบรรดามี ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยวในของควรเคี้ยว ที่ไม่ สำเร็จประโยชน์แก่ของควรบริโภคในของควรบริโภค รับ ประเคนโลณเภสัช เหล่านั้น แล้วเก็บไว้ได้จนตลอดชีพ ต่อมีเหตุ จึงให้บริโภคได้ เมื่อเหตุไม่มี ภิกษุบริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธานุญาตโลณเภสัช
[๓๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระเวลัฏฐสีสะ อุปัชฌาย์ของท่านพระ อานนท์ อาพาธเป็นโรคฝีดาษหรืออีสุกอีใส ผ้านุ่งผ้าห่มกรังอยู่ที่ตัว เพราะ น้ำเหลืองของโรคนั้น ภิกษุทั้งหลายเอาน้ำชุบๆ ผ้าเหล่านั้นแล้วค่อยๆ ดึงออก มา พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จพระพุทธดำเนินตามเสนาสนะ. ได้ทอดพระเนตร เห็นภิกษุพวกนั้น กำลังเอาน้ำชุบๆ ผ้านั้นแล้วค่อยๆ ดึงออกมา ครั้นแล้วเสด็จ พระพุทธดำเนินเข้าไปทางภิกษุเหล่านั้น ได้ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 65
ภิกษุรูปนี้อาพาธด้วยโรคอะไร ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ท่านรูปนี้อาพาธด้วยโรคฝีดาษ หรืออีสุกอีใส ผ้ากรังอยู่ที่ตัว เพราะน้ำเหลือง พวกข้าพระพุทธเจ้าเอาน้ำชุบๆ ผ้าเหล่านั้น แล้วค่อยๆ ดึงออกมา.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตเภสัชชนิดผง สำหรับภิกษุผู้เป็นผีก็ดี พุพองก็ดี สิวก็ดี โรคฝีดาษ หรือ อีสุกอีใสก็ดี มีกลิ่นตัวแรงก็ดี.
เราอนุญาตโคมัย ดินเหนียว กากน้ำย้อม สำหรับภิกษุไม่อาพาธ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ครก สาก.
พระพุทธานุญาตเครื่องกรอง
[๓๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายที่อาพาธมีความต้องการด้วย ยาผงที่กรองแล้ว จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตวัตถุเครื่องกรองยาผง.
ภิกษุอาพาธมีความต้องการด้วยยาผงที่ละเอียด พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้ากรองยา.
พระพุทธานุญาตเนื้อดิบและเลือดสด
[๓๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเพราะผีเข้า พระอาจารย์ พระอุปัชฌายะช่วยกันรักษาเธอ ก็ไม่สามารถแก้ไขให้หายโรคได้ เธอเดินไป ที่เขียงแล่หมู แล้วเคี้ยวกินเนื้อดิบ ดื่มกินเลือดสด อาพาธเพราะผีเข้าของเธอ นั้นหายดังปลิดทิ้ง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัส อนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเนื้อดิบ เลือดสด ในเพราะอาพาธเกิดแต่ผีเข้า.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 66
พระพุทธานุญาตยาตาเป็นต้น
[๓๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคนัยน์ตา ภิกษุ ทั้งหลายจูงเธอไปให้ถ่ายอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ พระพุทธดำเนินตามเสนาสนะ ได้ทอดพระเนตรเห็นพวกภิกษุนั้นกำลังจูงภิกษุ รูปนั้นไปให้ถ่ายอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง จึงเสด็จพระพุทธดำเนินเข้าไปทาง ภิกษุพวกนั้น แล้วได้ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้อาพาธเป็น อะไร ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ท่านรูปนี้อาพาธเป็นโรคนัยน์ตา พวกข้าพระ พุทธเจ้าคอยจูงท่านรูปนี้ไปให้ถ่ายอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง พระพุทธเจ้าข้า.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตยาตา คือ ยาตาที่ปรุงด้วยเครื่องปรุงหลายอย่าง ยาตาที่ทำ ด้วยเครื่องปรุงต่างๆ ยาตาที่เกิดในกระแสน้ำเป็นต้น หรดาลกลีบทอง เขม่าไฟ.
พวกภิกษุอาพาธมีความต้องการด้วยเครื่องยาที่จะบดผสมกับยาตา จึง กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดู ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้จันทน์ กฤษณา กะลัมพัก ใบเฉียง แห้วหมู.
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายเก็บยาตาชนิดผงไว้ในโอบ้าง ในขันบ้าง ผง หญ้าบ้าง ฝุ่นบ้าง ปลิวลง จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัส อนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกลักยาตา
สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ใช้กลักยาตาชนิดต่างๆ คือ ชนิดที่ทำด้วย ทองคำบ้าง ชนิดที่ทำด้วยเงินบ้าง คนทั้งหลายจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนเหล่าคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาคเจ้าๆ ตรัสห้ามแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึง ใช้กลักยาตาชนิดต่างๆ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 67
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกลักยาตาที่ทำด้วยกระดูก ทำด้วยงา ทำด้วยเขา ทำด้วยไม้อ้อ ทำด้วยไม้ไผ่ ทำด้วยไม้ ทำด้วยยาง ทำด้วยผลไม้ ทำด้วยโลหะ ทำด้วยเปลือกสังข์.
สมัยต่อมา กลักยาตาไม่มีฝาปิด ผงหญ้าบ้าง ฝุ่นบ้าง ปลิวตกลง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตฝาปิด.
ฝาปิดยังตกได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ผูกด้าย แล้วพันกับกลักยาตา.
กลักยาตาแตก พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดู ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถักหุ้มด้วยด้าย.
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลาย ป้ายยาตาด้วยนิ้วมือ นัยน์ตาช้ำ จึง กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดู ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้ป้ายยาตา.
สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ใช้ไม้ป้ายตาชนิดต่างๆ คือ ที่ทำด้วยทองคำ บ้าง ที่ทำด้วยเงินบ้าง คนทั้งหลายจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือน เหล่าคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ ภาคเจ้าๆ ตรัสห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้ไม้ ป้ายยาตาชนิดต่างๆ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้ป้ายยาตาที่ทำด้วยกระดูก ทำด้วย งา ทำด้วยเขา ... ทำด้วยเปลือกสังข์.
สมัยต่อมา ไม้ป้ายยาตาทกลงที่พื้นเปื้อน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย เราอนุญาตภาชนะสำหรับเก็บไม้ป้ายยาตา.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 68
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายบริหารกลักยาตาบ้าง ไม้ป้ายยาตาบ้าง ด้วย มือ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลาย ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตถุงกลักยาตา.
หูถุงสำหรับสะพายไม่มี ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต เชือกผูกเป็นสายสะพาย.
พระพุทธานุญาตน้ำมันเป็นต้น
[๓๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระปิลินทวัจฉะปวดศีรษะ ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลาย ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำมันทาศีรษะ โรคปวดศีรษะยังไม่หาย ภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลาย ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตการนัดถุ์ น้ำมันที่นัดถุ์ไหลออก ภิกษุ ทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกล้องสำหรับนัดถุ์.
สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ใช้กล้องสำหรับนัดถุ์ชนิดต่างๆ คือ ชนิด ที่ทำด้วยทองคำบ้าง ชนิดที่ทำด้วยเงินบ้าง คนทั้งหลายจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนเหล่าคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้กล้องสำหรับนัดถุ์ชนิดต่างๆ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกล้องสำหรับ นัดถุ์ที่ทำด้วยกระดูก ... ทำด้วยเปลือกสังข์.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 69
ท่านพระปิลินทวัจฉะนัดถุ์ไม่เท่ากัน ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง หลายเราอนุญาตกล้องสำหรับนัดถุ์ประกอบด้วยหลอดคู่ โรคปวดศีรษะยังไม่ หาย ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาต แก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สูดควัน ภิกษุทั้งหลาย จุดเกลียวผ้าแล้วสูดควันนั้นนั่นแหละ คอแสบร้อน จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตกล้องสูควัน.
สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ใช้กล้องสูดควันชนิดต่างๆ คือ ชนิดที่ทำ ด้วยทองคำบ้าง ชนิดที่ทำด้วยเงินบ้าง คนทั้งหลายจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนเหล่าคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้กล้องสูดควันชนิดต่างๆ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกล้องสูดควันที่ทำด้วยกระดูก ... ทำ ด้วยเปลือกสังข์.
สมัยต่อมา กล้องสูดควันไม่มีฝาปิด ตัวสัตว์เข้าไปได้ ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตฝาปิด.
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายบริหารกล้องสูดควันด้วยมือ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตถุงกล้องสูดควัน กล้องสูดควันเหล่านั้นอยู่รวมกันย่อม กระทบกันได้ ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัส
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 70
อนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตถุงคู่ หูสำหรับ สะพายไม่มี ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัส อนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเชือกผูกเป็นสาย สะพาย.
พระปิลินทวัจฉะเถระอาพาธเป็นโรคลม
[๓๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระปิลินทวัจฉะอาพาธเป็นโรคลม พวก แพทย์ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า ต้องหุงน้ำมันถวาย ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำมันที่หุง ในน้ำมันที่หุงนั้นแล แพทย์ต้องเจือน้ำเมา ด้วย ภิกษุทั้งหลายาจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาต แก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เจือน้ำเมาลงในน้ำมัน ที่หุง.
สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์หุงน้ำมันเจือน้ำเมาลงไปเกินขนาด ดื่มน้ำมัน นั้นแล้วเมา ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัส ห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงดื่มน้ำมันที่เจือน้ำเมาลง ไปเกินขนาด รูปใดดื่ม พึงปรับอาบัติตามธรรม.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดื่มน้ำมันซึ่งเจือน้ำเมา ชนิดที่เขา หุงไม่ปรากฏสี กลิ่น และรสของน้ำเมา.
สมัยต่อมา น้ำมันที่พวกภิกษุหุงเจือน้ำเมาลงไปเกินขนาดมีมาก ครั้ง นั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า จะพึงปฏิบัติในน้ำมันที่เจือน้ำเมาลงไป เกินขนาดอย่างไรหนอ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัส
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 71
อนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ตั้งเอาไว้เป็น ยาทา.
สมัยต่อมา ท่านพระปิลินทวัจฉะหุงน้ำมันไว้มาก ภาชนะสำหรับ บรรจุน้ำมันไม่มี ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตลักจั่น ๓ ชนิด คือ ลักจั่นทำด้วยโลหะ ๑ ลักจั่นทำด้วยไม้ ๑ ลักจั่นทำด้วยผลไม้ ๑.
สมัยต่อมา ท่านพระปิลินทวัจฉะอาพาธเป็นโรคลมตามอวัยวะ ภิกษุ ทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้ง หลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการเข้ากระโจม โรคลมยังไม่หาย ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการรมใบไม้ต่างๆ โรคลมยังไม่ หาย พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการรมใหญ่ โรคลมยังไม่หาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำที่ต้มเดือดด้วยใบไม้ต่าง ชนิด โรคลมยังไม่หาย พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลาย ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอ่างน้ำ.
อาพาธโรคลมเสียดยอกตามข้อ
[๔๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระปิลินทวัจฉะ อาพาธ เป็นโรคลม เสียดยอกตามข้อ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัส อนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ระบายโลหิต ออก โรคลมเสียดยอกตามข้อยังไม่หาย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 72
พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเพื่อให้ดูดโลหิตออกด้วยเขา.
อาพาธเท้าแตก
[๔๑] ก็โดยสมัยนั้นแล เท้าของท่านพระปิลินทวัจฉะแตก ภิกษุ ทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้ง หลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยาทาเท้า โรคยังไม่หาย ภิกษุ ทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้ง หลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปรุงน้ำมันทาเท้า.
อาพาธเป็นโรคฝี
[๔๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคฝี ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการผ่าตัด. ภิกษุนั้นต้องการน้ำฝาด ภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลาย ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำฝาด. ภิกษุนั้นต้องการงาที่บดแล้ว ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตงาที่บดแล้ว. ภิกษุนั้นต้องการยาพอก ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตภิกษุทั้ง หลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยาพอก. ภิกษุนั้นต้องการผ้าพันแผล ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าพันแผล. แผลคัน ภิกษุทั้งหลาย
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 73
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ชะด้วยน้ำแป้งเมล็ดพันธุ์ผักกาด. แผลชิ้น หรือเป็นฝ้า ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัส อนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รมควัน. เนื่องอกยื่นออกมา ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัส อนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ตัดด้วยก้อน เกลือ. แผลไม่งอก ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำมันทาแผล. น้ำมันไหลเยิ้ม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัส อนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าเก่าสำหรับซับ น้ำมันและการรักษาบาดแผลทุกชนิด.
พระพุทธานุญาตยามหาวิกัฏ ๔ อย่าง
[๔๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัด ภิกษุทั้งหลายกราบทูล เรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตให้ใช้ยามหาวิกัฏอย่าง คือ คูถ มูตร เถ้า ดิน ต่อมาภิกษุทั้งหลาย ติดสงสัยว่า ยามหาวิกัฏไม่ต้องรับประเคน หรือต้องรับประเคน จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาต แก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุรับประเคน ในเมื่อมีกัปปิยการก เมื่อกัปปิยการก ไม่มี ให้ภิกษุหยิบบริโภคเองได้.
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งดื่มยาพิษเข้าไป ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 74
หลาย เราอนุญาต ให้คืนน้ำเจือคูถ ต่อมา ภิกษุทั้งหลายคิดสงสัยว่า น้ำเจือคูถ นั้นจะไม่ต้องรับประเคน หรือต้องรับประเคน จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต คูถที่ภิกษุหยิบไว้ตอนกำลังถ่าย นั่นแหละเป็นอันประเคนแล้ว ไม่ต้องรับ ประเคนอีก.
ภิกษุอาพาธด้วยโรคต่างๆ
[๔๔] ก็โดยสมัยนั่นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธถูกยาแฝด ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดื่มน้ำที่เขาละลายจากดินรอยไถซึ่งติดผาล.
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นพรรดึก ภิกษุทั้งหลายกราบทูล เรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดื่มน้ำด่างอามิส.
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคผอมเหลือง ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดื่มยาผลสมอดองน้ำมูตรโค.
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคผิวหนังภิกษุทั้งหลายกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้ทำการลูบไล้ด้วยของหอม.
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งมีกายกอปรด้วยโทษมาก ภิกษุทั้งหลายกราบ ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดื่มยาประจุถ่าย ภิกษุนั้นมีดวามต้องการน้ำข้าวใส
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 75
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำข้าวใส มีความต้องการด้วยน้ำ ถั่วเขียวต้มที่ไม่ข้น ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่อ นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำถั่วเขียวต้ม ที่ไม่ข้น มีความต้องการด้วยน้ำถั่วเขียวต้มที่ข้นนิดหน่อย ภิกษุทั้งหลายกราบ ทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำถั่วเขียวต้มที่ข้นนิดหน่อย มีความต้องการด้วยน้ำ เนื้อต้ม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาต แก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำเนื้อต้ม.
พระปิลินทวัจฉะเถระซ่อมแปลงเงื้อมเขา
[๔๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระปิลินทวัจฉะ กำลังให้คนชำระ เงื้อมเขา ในเขตพระนครราชคฤห์ ประสงค์จะทำให้เป็นสถานที่เร้น ขณะนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชเสด็จพระราชดำเนินไปหาท่านพระปิลินทวัจฉะถึงสำนัก ทรงอภิวาทแล้วประทับเหนือพระราชอาสน์อันควรส่วนข้างหนึ่ง ได้ตรัสถามท่านพระปิลินทวัจฉะว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า พระเถระกำลังให้เขาทำ อะไรอยู่
ท่านพระปิลินทวัจฉะถวายพระพรว่า อาตมภาพกำลังให้เขาชำระเงื้อม เขาประสงค์ให้เป็นสถานที่เร้น ขอถวายพระพร.
พิ. พระคุณเจ้าต้องการคนทำการวัดบ้างไหม?
ปิ. ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคเจ้ายังไม่ทรงอนุญาตคนทำการ วัด.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 76
พิ. ถ้าเช่นนั้น โปรดทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วบอกให้ข้าพเจ้า ทราบ.
ท่านพระปิลินทวัจฉะรับพระราชโองการว่า จะปฏิบัติอย่างนั้น ขอ ถวายพระพร แล้วชี้แจงให้พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชให้เห็นแจ้ง สมาทานอาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ครั้นพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช อันท่านพระปิลินทวัจฉะชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้ทรงสมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว เสด็จลุกจากพระราชอาสน์ทรงอภิวาทท่านพระปิลินทวัจฉะ ทรงทำประทักษิณแล้วเสด็จกลับ.
หลังจากนั้น ท่านพระปิลินทวัจฉะ ส่งสมณฑูตไปในสำนักพระผู้ พระภาคเจ้า กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช มีพระราชประสงค์จะถวายคนทำการวัด ข้าพระพุทธเจ้าจะพึงปฏิบัติอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า
พระพุทธานุญาตอารามิก
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเหตุเพราะเป็น เค้ามูลนั้นในเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้มีตนทำการวัด.
พระเจ้าพิมพิสาร จอมเสนามาคธราช เสด็จพระราชดำเนินไปหาท่าน พระปิลินทวัจฉะถึงสำนักเป็นคำรบสอง ทรงอภิวาทแล้วประทับเหนือพระราช อาสน์อันควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วตรัสถามพระปิลินทวัจฉะว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า คนการวัด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้วหรือ?
ท่านพระปิลินทวัจขฉะถวายพระพรว่า ขอถวายพระพร ทรงอนุญาต แล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 77
พระเจ้าพิมพิสารตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น ข้าพเจ้าจักถวายคนทำการวัคแก่ พระคุณเจ้า.
ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ทรงรับปฏิญาณถวาย คนทำการวัดแก่ท่านพระปิลินทวัจฉะดังนั้นแล้ว ทรงลืมเสีย ต่อนานมาทรง ระลึกได้จึงตรัสถามหาอำมาตย์ผู้สำเร็จราชกิจทั้งปวงผู้หนึ่งว่า พนาย คนทำ การวัดที่เราได้รับปฏิญาณจะถวายแก่พระคุณเจ้านั้น เราได้ถวายไปแล้วหรือ?
มหาอำมาตย์กราบทูลว่า ขอเดชะ ยังไม่ได้พระราชทาน พระพุทธ เจ้าข้า.
พระราชาตรัสถามว่า จากวันนั้นมานานกี่ราตรีแล้ว.
ท่านมหาอำมาตย์นับราตรีแล้วกราบทูลในทันใดนั้นแลว่า ขอเดชะ ๕๐๐ ราตรี พระพุทธเจ้าข้า.
พระราชารับสั่งว่า พนาย ถ้าเช่นนั้น จงถวายท่านไป ๕๐๐ คน ท่าน มหาอำมาตย์รับพระบรมราชโองการว่าเป็นดังโปรดเกล้า ขอเดชะ แล้วได้จัด คนทำการวัดไปถวายท่านพระปิลินทวัจฉะ ๕๐๐ คน หมู่บ้านของคนทำการวัด พวกนั้นได้ตั้งอยู่แผนกหนึ่ง คนทั้งหลายเรียกบ้านตำบลนั้นว่า ตำบลบ้าน อารามิกบ้าง ตำบลบ้านปิลินทวัจฉะบ้าง.
นิรมิตมาลัยทองคำ
[๘๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระปิลินทวัจฉะได้เป็นพระกุลุปกะ ใน หมู่บ้านตำบลนั้น ครั้นเช้าวันหนึ่ง ท่านครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังตำบลบ้านปิลินทวัจฉะ สมัยนั้น ในตำบลบ้านนั้นมีมหรสพ พวกเด็กๆ ตกแต่งกายประดับดอกไม้ล่นมหรสพอยู่ พอดี ท่านพระปิลินทวัจฉะ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 78
เที่ยวบิณฑบาตไปทามลำดับในตำบลบ้านปิลินทวัจฉะ ได้เข้าไปถึงเรือนคน ทำการวัคผู้หนึ่ง ครั้นแล้วนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย.
ขณะนั้น ธิดาของสตรีผู้ทำการวัดนั้น เห็นเด็กๆ พวกอื่นตกแต่งกาย ประดับดอกไม้แล้ว ร้องอ้อนว่า ขอจงให้ดอกไม้แก่ดิฉัน ขอจงให้เครื่องตก แต่งกายแก่ดิฉัน.
ท่านเพระปิลินทวัจฉะจึงถามสตรีผู้ทำการวัดคนนั้นว่า เด็กหญิงคนนี้ ร้องอ้อนอยากได้อะไร?
นางกราบเรียนว่า ท่านเจ้าข้า เด็กหญิงคนนี้เห็นเด็กๆ พวกอื่นตก แต่งกายประดับดอกไม้ จึงร้องอ้อนขอว่า ขอจงให้ดอกไม้แก่ดิฉัน ขอจงไห้ เครื่องตกแต่งกายแก่ดิฉัน ดิฉันบอกว่า เราเป็นคนจนจะได้ดอกไม้มาจากไหน จะได้เครื่องตกแต่งมาจากไหน?
ขณะนั้น ท่านพระปิลินทวัจฉะหยิบขดหญ้าพวกหนึ่งส่งไห้แล้วกล่าวว่า เจ้าจงสวมขดหญ้าพวงนี้ลงบนศีรษะเด็กหญิงนั้น ทันใดนั้นนางได้รับขดหญ้า สวมลงที่ศีรษะเด็กหญิงนั้น ขดหญ้านั้น ได้กลายเป็นระเบียบดอกไม้ทองคำงาม มากน่าดู น่าชม ระเบียบดอกไม้ทองคำเช่นนั้น แม้ในพระราชฐานก็ไม่มี.
คนทั้งหลายกราบทูลแด่พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชว่า ขอเดชะ ระเบียบดอกไม้ทองคำที่เรือนของคนทำการวัดชื่อโน้นงามมาก น่าดู น่าชม แม้ในพระราชฐานก็ไม่มี เขาเป็นคนเข็ญใจจะได้มาแค่ไหน เป็นต้องได้มาด้วย โจรกรรมแน่นอน.
จึงท้าวเธอสั่งให้จองจำตระกูลคนทำการวัดนั้นแล้ว.
ครั้นเช้าวันที่ ๒ ท่านพระปิลินทวัจฉะครองอันตรวาสกแล้วถือบาตร จีวรเข้าไปบิณฑบาตถึงตำบลบ้านปิลินทวัจฉะ เมื่อเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 79
ตรอกในตำบลบ้านปิลินทวัจฉะได้เดินผ่านไปทางเรือนคนทำการวัดผู้นั้น ครั้น แล้วได้ถามคนที่คุ้นเคยกันว่า ตระกูลคนทำการวัดไปไหนเสีย?
คนพวกนั้นกราบเรียนว่า เขาถูกรับสั่งให้จองจำ เพราะเรื่องระเบียบ ดอกไม้ทองคำ เจ้าข้า.
ทันใดนั้น ท่านพระปิลินทวัจฉะได้ เข้าไปสู่พระราชนิเวศน์ นั่งเหนือ อาสนะที่เขาจัดถวาย.
ขณะนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช เสด็จเข้าไปหาท่าน พระปิลินทวัจฉะ ทรงอภิวาทแล้วประทับเหนือพระราชอาสน์อันควรส่วนข้าง หนึ่ง.
ท่านพระปิลินทวัจฉะได้ทูลถามพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ผู้ ประทับเรียบร้อยแล้วดังนี้ว่า ขอถวายพระพร ตระกูลคนทำการวัดถูกรับสั่งให้ จองจำด้วยเรื่องอะไร?
พระเจ้าพิมพิสารตรัสตอบว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า เพราะที่เรือนของเขา มีระเบียบดอกไม้ทองคำอย่างงามมาก น่าชม แม้ที่ในวังก็ยังไม่มี เขาเป็นคน จนจะได้มาแต่ไหน เป็นต้องได้มาด้วยโจรกรรมอย่างแน่นอน.
ขณะนั้น ท่านพระปิลินทวัจฉะได้อธิษฐานปราสาทของพระเจ้า พิมพิสารจอมเสนามาคราชว่า จงเป็นทอง ปราสาทนั้นได้กลายเป็นทองไป ทั้งหมด แล้วได้ถวายพระพรถามว่า ขอถวายพระพร ก็นี่ทองมากมายเท่านั้น มหาบพิตรได้มาแค่ไหน.
พระเจ้าพิมพิสารตรัสว่า ข้าพเจ้าทราบแล้ว นี้เป็นอิทธานุภาพของ พระคุณเจ้า ดังนี้ แล้วรับสั่งให้ปล่อยตระกูลคนทำการวัดนั้นพ้นพระราชอาญา ไป.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 80
พระพุทธานุญาตเภสัช ๕
[๔๗] ประชาชนทราบข่าวว่า ท่านพระปิลินทวัจฉะแสดงอิทธิ ปาฏิหาริย์อันเป็นธรรมยวดยิ่งของมนุษย์ ในบริษัทพร้อมทั้งพระราชา ต่างพา กันยินดีเลื่อมใสยิ่ง นำเภสัช ๕ คือ เนยใส เนยข้น น้ามัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย มาถวายท่านพระปิลินทวัจฉะ แม้ตามปกติท่านก็ได้เภสัช ๕ อยู่เสมอ ท่านจึง แบ่งเภสัชที่ได้มาถวายแก่บริษัท แต่บริษัทของท่านเป็นผู้มักมาก เก็บเภสัชที่ ได้ๆ มาไว้ในกระถางบ้าง ในหม้อน้ำบ้าง จนเต็ม บรรจุลงในหม้อกรองน้ำ บ้าง ในถุงย่ามบ้าง จนเต็มแล้ว แขวนไว้ที่หน้าต่าง เภสัช เหล่านั้นก็เยิ้มซึม แม้สัตว์จำพวกหนูก็เกลื่อนกล่นไปทั่ววิหาร คนทั้งหลายเดินเที่ยวชมไปตาม วิหารพบเข้า ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า สมณะเชื้อสายศากยบุตร เหล่านั้นมีเรือนคลังในภายใน เหมือนพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ฉะนั้น.
ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลาย จึงได้พอใจในความมักมากเช่นนี้ แล้ว กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุทั้งหลาย พอใจในความมักมากเช่นนี้ จริงหรืออ.
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงติเตียนว่า ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า อนึ่ง มีเภสัชอันควรลิ้มของภิกษุผู้อาพาธ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ภิกษุรับประเคนของนั้น แล้ว พึง
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 81
เก็บไว้ฉัน ได้ ๗ วันเป็นอย่างยิ่ง ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไป พึงปรับอาบัติตาม ธรรม.
ภาณวารว่าด้วยทรงอนุญาตเภสัช ที่ ๑ จบ
พระพุทธานุญาตงบน้ำอ้อย
[๔๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนครสาวัตถีตาม พระพุทธาภิรย์แล้วเสด็จพุทธดำเนินไปทางพระนครราชคฤห์ท่านพระกังขา เรวตะได้แวะเข้าโรงทำงบน้ำอ้อย ในระหว่างทาง เห็นเขาผสมแป้งบ้าง เถ้าบ้าง ลงในงบน้ำอ้อย จึงรังเกียจว่า งบน้ำอ้อยเจืออามิส เป็นอกัปปิยะ ไม่ควรจะ ฉันในเวลาวิกาล ดังนี้ จึงพร้อมด้วยบริษัทไม่ฉันงบน้ำอ้อย แม้พวกภิกษุที่ เชื่อฟังคำท่านก็พลอยไม่ฉันงบน้ำอ้อยไปด้วย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนทั้งหลายผสมแป้งบ้าง เถ้าบ้าง ลงในงบน้ำอ้อย เพื่อประสงค์อะไร?
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เพื่อประสงค์ให้เกาะกันแน่น พระพุทธเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย ถ้าคนทั้งหลายผสมแป้งบ้าง เถ้าบ้าง ลงในงบน้ำอ้อย เพื่อประสงค์ให้ เกาะกันแน่นงบน้ำอ้อยนั้นก็ยังถึงความนับว่า งบน้ำอ้อยนั้นแหละ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันงบน้ำอ้อยตามสบาย.
พระพุทธานุญาตถั่วเขียว
ท่านพระกังขาเรวตะ ได้เห็นถั่วเขียวงอกขึ้นในกองอุจจาระ ณ ระหว่าง ทาง แล้วรังเกียจว่า ถั่วเขียวเป็นอกัปปิยะ แม้ต้มแล้วก็ยังงอกได้ จึงพร้อม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 82
ด้วยบริษัทไม่ฉันถั่วเขียว แม้พวกภิกษุที่เชื่อฟังคำของท่านก็พลอยไม่ฉันถั่วเขียวไปด้วย ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัส อนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถั่วเขียวแม้ที่ต้มแล้ว ถ้ายัง งอกได้ เราอนุญาตให้ฉันถั่วเขียวได้ตามสบาย.
พระพุทธอนุญาตยาดองโลมโสจิรกะ
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคลมเกิดในอุทร ท่านได้ดื่มยา คองโลณโสจิรกะ โรคลมเกิดในอุทรของท่านหายขาด ภิกษุทั้งหลายกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุอาพาธฉันยาคองโลณโสจิรกะได้ตามสบาย แต่ ภิกษุไม่อาพาธต้องเจือน้ำฉันอย่างน้ำปานะ.
ประชวรโรคลมเกิดในพระอุทร
[๔๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จพระพุทธดำเนินโดยลำดับ เสด็จถึงพระนครราชคฤห์ ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ที่พระเวฬุวันวิหาร อัน เป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์นั้น คราวนั้น พระองค์ประชวรโรคลนเกิดในพระอุทร ท่านพระอานนท์จึงดำริว่า แม้เมื่อ ก่อนพระผู้มีพระภาคเจ้าประชวรโรคลมเกิดในพระอุทร ก็ทรงพระสำราญได้ ด้วยยาคูปรุงด้วยของ ๓ อย่างจึงของาบ้าง ข้าวสารบ้าง ถั่วเขียวบ้าง ด้วยตน เอง เก็บไว้ในภายในที่อยู่ ต้มด้วยในเองในภายในที่อยู่ แล้วน้อมเข้าไปถวาย พระผู้มีพระภาคเจ้ากราบทูลว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดดื่มยาคูปรุงด้วยของ ๓ อย่าง พระพุทธเจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 83
พุทธประเพณี
พระตถาคตทั้งหลายทรงทราบอยู่ ย่อมตรัสถามก็มี ทรงทราบอยู่ ย่อม ไม่ตรัสถามก็มี ทรงทราบกาลแล้วตรัสถาม ทรงทราบกาลแล้วไม่ตรัสถาม พระตถาคตทั้งหลาย ย่อมตรัสถามสิ่งที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ตรัสถามสิ่ง ที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ในสิ่งที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ พระองค์ทรง กำจัดด้วยข้อปฏิบัติ.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมสอบถามภิกษุทั้งหลายด้วย อาการ ๒ อย่าง คือ จักทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง จักทรงบัญญัติสิกขาบทแก่ พระสาวกทั้งหลายอย่างหนึ่ง.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อน อานนท์ ยาคูนี้ได้มาแค่ไหน?
ท่านพระอานนท์กราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบทันที.
ทรงตำหนิท่านพระอานนท์
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนอานนท์ การกระทำ ของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร มิใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควร ทำ ดูก่อนอานนท์ ไฉนเธอจึงได้พอใจในความมักมากเช่นนี้เล่า ดูก่อน อานนท์ อามิสที่เก็บไว้ในภายในที่อยู่ เป็นอกัปปิยะ แม้ที่หุงต้มในภายในที่ อยู่ ก็เป็นอกัปปิยะแม้ที่หุงต้มเอง ก็เป็นอกัปปิยะ. การกระทำของเธอนั่น ไม่ เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายดังต่อไปนี้:-
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 84
พระพุทธบัญญัติห้ามอามิสที่เป็นอันโตวุตถะเป็นต้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันอามิสที่เก็บไว้ในภายในที่อยู่ ที่หุง ต้มในภายในที่อยู่ และที่หุงต้มเอง รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายในที่อยู่ หุงต้มในภาย ในที่อยู่ และหุงต้มเอง ถ้าภิกษุฉันอามิสนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ๓ ตัว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายในที่อยู่ หุงต้มในภาย ในที่อยู่แต่ผู้อื่นหุงต้ม ถ้าภิกษุฉันอามิสนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายในที่อยู่ แต่หุงต้มใน กายนอกและหุงต้มเอง ถ้าภิกษุฉันอามิสนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายนอก แต่หุงต้มในภาย ใน และหุงต้มเอง ถ้าภิกษุฉันอามิสนั้น ต้ออาบัติทุกกฏ ๒ ตัว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายในที่อยู่ แต่หุงต้นใน กายนอก และผู้อื่นหุงต้ม ถ้าภิกษุฉันอามิสนั้น ต้องอาบัติทุกกฏตัวเดียว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายนอก หุงค้มในภายใน แค่ ผู้อื่นหุงต้ม ถ้าภิกษุฉันอามิสนั้น ต้องอาบัติทุกกฏตัวเดียว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายนอก หุงต้มในภายนอก แต่หุงต้มเอง ถ้าภิกษุฉันอามิสนั้น ต้องอาบัติทุกกฏตัวเดียว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายนอก หุงต้มในภายนอก และผู้อื่นหุงต้ม ถ้าภิกษุฉัน อามิสนั้นและ ไม่ต้องอาบัติ.
พระพุทธานุญาตให้อุ่นโภชนาหาร
[๕๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงห้ามภัตตาหารที่หุงต้มเอง จึงรังเกียจในโภชนาหารที่ต้องอุ่น แล้วกราบทูล
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 85
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตให้อุ่นภัตตาหารที่ต้องอุ่น.
พระพุทธานุญาตอามิสที่เป็นอันโตวุตถะเป็นต้น
[๕๑] ก็โดยสมัยนั้นแล พระนครราชคฤห์บังเกิดทุพภิกขภัย คน ทั้งหลายนำเกลือบ้าง น้ำมันบ้าง ข้าวสารบ้าง ของควรเคี้ยวบ้าง มายังอาราม ภิกษุทั้งหลายให้เก็บของเหล่านั้นไว้ข้างนอก สัตว์ต่างๆ กินเสียบ้าง พวกโจร ลักเอาไปบ้าง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัส อนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เก็บไว้ ณ ภาย ในได้.
กัปปิยการกทั้งหลายเก็บอามิสไว้ข้างในแล้ว หุงต้มข้างนอก พวกคน กินเดนพากันห้อมล้อม.
ภิกษุทั้งหลายไม่พอใจฉัน แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้หุงต้มในภายใน.
ในคราวเกิดทุพภิกขภัย พวกกัปปิยการกนำสิ่งของไปเสียมากมายถวาย ภิกษุเพียงเล็กน้อย.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาต แก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้หุงต้มเอง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอามิสที่เก็บไว้ในภายในที่อยู่ ที่หุงต้ม ในภายในที่อยู่ และที่หุงต้มเอง.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 86
ผลไม้กลางทาง
[๕๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุหลายรูปด้วยกันจำพรรษาในกาสี ชนบทแล้ว เดินทางไปสู่พระนครราชคฤห์ เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ใน ระหว่างทางไม่ได้โภชนาหารที่เศร้าหมอง หรือประณีตบริบูรณ์ พอแก่ความ ต้องการเลย ถึงของขบเคี้ยวคือผลไม้มาก แต่ก็หากัปปิยการกไม่ได้ ต่างพา กันลำบาก ครั้น เดินทางไปพระนครราชคฤห์ ถึงพระเวฬุวันวิหารอันเป็นสถาน ที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคม นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง.
พุทธประเพณี
ก็การที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลาย นั่นเป็นพุทธประเพณี.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลายร่างกายของพวกเธอยังพอทนได้หรือ ยังพอให้เป็นไปได้หรือ เดินทาง มามีความลำบากน้อยหรือ และพวกเธอมาจากไหนเล่า?
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ยังพอทนได้พระพุทธเจ้าข้า ยังพอให้เป็นไป ได้พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระพุทธเจ้าจำพรรษาในกาสีชนบทแล้วเดินทางมา พระนครราชคฤห์ เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ พระเวฬุวันนี้ ในระหว่างทาง ไม่ได้โภชนาหารที่เศร้าหมองหรือประณีต บริบูรณ์ พอแก่ความต้องการเลย ถึงของขบเคี้ยว คือผลไม้มีมาก แต่ก็หากัปปิยการกไม่ได้ เพระเหตุนั้น พวก ข้าพระพุทธเจ้าจึงเดินทางมามีความลำบาก.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 87
พระพุทธานุญาตให้รับประเคนของที่เป็นอุคคหิต
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาต ภิกษุเห็นของขบเคี้ยว คือ ผลไม้ในที่ใด ถึงกัปปิยการก ไม่มี ก็ให้หยิบนำไปเอง พบกัปปิยการกแล้ว วางไว้บนพื้นดิน ให้กัปปิยการก ประเคนแล้วฉัน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รับประเคนสิ่งของที่ภิกษุถูกต้อง แล้วได้.
พราหมณ์ถวายงาและน้ำผึ้งใหม่
[๕๓] ก็โดยสมัยนั้นแล งานใหม่และน้ำผึ้งใหม่บังเกิดแก่พราหมณ์ ผู้หนึ่ง พราหมณ์จึงได้ติดตกลงว่า ผิฉะนั้น เราพึงถวายงาใหม่และน้ำผึ้งใหม่ แก่ภิกษุสงฆ์ มีองค์พระพุทธเจ้าเป็นประมุข ครั้นแล้วได้ไปในพุทธสำนัก ครั้นถึงแล้วได้ทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการทูลประศรัยพอ ให้เป็นที่บันเทิง เป็นที่ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พราหมณ์ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอท่านพระโคดมพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จงทรงพระกรุณา โปรดรับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้าในวันพรุ่งนี้ เพื่อเจริญบุญกุศล และ ปีติปราโมทย์แก่ข้าพระพุทธเจ้าด้วยเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ ครั้นพราหมณ์นั้น ทราบการรับนิมนต์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกลับไป แล้วสั่งให้ตกแต่ง ของเคี้ยวของฉันอันประณีตโดยผ่านราตรีนั้นแล้ว ให้คนไปกราบทูลภัตกาล แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่าถึงเวลาแล้ว ท่านพระโคดม ภัตตาหารเสร็จแล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 88
ขณะนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวรเสด็จพระพุทธดำเนินไปสู่นิเวศน์ของพราหมณ์นั้น ครั้นถึงแล้ว ประทับนั่งเหนือพระพุทธอาสน์ที่เขาจัดถวาย พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ พราหมณ์นั้น จึงอังคาสภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยขาทนียโภชนียาหารอัน ประณีต ด้วยมือของตน ยังพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เสวยจนเสร็จแล้ว ทรงนำ พระหัตถ์ออกจากบาตรให้ห้ามภัตรแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มี พระภาคเจ้าทรงชี้แจงพราหมณ์นั้นผู้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้วลุกจากที่ประทับเสด็จกลับ ครั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จกลับแล้วไม่ทันนานพราหมณ์นั้นระลึกขึ้นได้ว่า เราคิด ว่าจักถวายงาใหม่และน้ำผึ้งใหม่ จึงได้นิมนต์ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็น ประมุข เพื่อถวายไทยธรรมเหล่าใด ไทยธรรมเหล่านั้นเราลืมถวาย ผิฉะนั้น เราพึงให้เขาจัดงาใหม่และน้ำผึ้งใหม่บรรจุขวดและหม้อนำไปสู่ อาราม ดังนี้ แล้วให้เขาจัดงาใหม่และน้ำผึ้งใหม่บรรจุขวดและหม้อนำไปสู่อาราม เข้าไปใน พุทธสำนัก ครั้นถึงแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลคำนี้ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดม ข้าพระพุทธเจ้าคิดว่าจักถวายงาใหม่ และน้ำผึ้งใหม่ จึงได้นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข เพื่อถวายไทย ธรรมเหล่าใด ไทยธรรมเหล่านั้นข้าพระพุทธเจ้าลืมถวาย ขอท่านพระโคตม โปรดรับงาใหม่และน้ำผึ้งใหม่ของข้าพระพุทธเจ้าเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงถวาย แก่ภิกษุทั้งหลาย.
ก็คราวนั้นอัตคัดอาหาร ภิกษุทั้งหลายรับสิ่งของเล็กน้อยแล้วห้ามเสีย บ้าง พิจารณาแล้วห้ามเสียบ้าง เป็นอันว่าพระสงฆ์ล้วนเป็นผู้ห้ามภัตรทั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายรังเกียจ ไม่รับประเคน.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 89
พระพุทธานาญาตให้ฉันโภชนะไม่เป็นเดน
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้ง หลาย พวกเธอจงรับประเคนฉันเถิด เราอนุญาตให้ภิกษุฉันเสร็จ ห้ามภัตร แล้ว ฉันโภชนะอันไม่เป็นเดน ซึ่งนำมาจากสถานที่ฉัน.
ตระกูลอุปัฏฐากของพระอุปนันทศากยบุตร
[๕๔] ก็สมัยนั้นแล ตระกูลอุปัฏฐากของท่านพระอุปนันทศากยบุตร ได้ส่งของเคี้ยวไปเพื่อถวายพระสงฆ์ สั่งว่า ต้องมอบให้พระคุณเจ้าอุปนนท์ ถวายสงฆ์แต่เวลานั้นท่านพระอุปนันทศากยบุตร กำลังเข้าไปบิณฑบาตในบ้าน ครั้นชาวบ้านพวกนั้นไปถึงอารามแล้วถามภิกษุทั้งหลายว่า พระคุณเจ้าอุปนนท์ ไปไหน เจ้าข้า?
ภิกษุทั้งหลายตอบว่า ท่านพระอุปนันทศากยบุตรนั้นเข้าไปบิณฑบาต ในบ้านแล้ว.
ชาวบ้านสั่งว่าท่านเจ้าข้า ของเคี้ยวนี้ต้องมอบให้พระคุณเจ้าอุปนนท์ ถวายภิกษุสงฆ์.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น พวกเธอจงรับประเคนเก็บไว้จนกว่าอุปนนท์จะมา
ครั้นท่านพระอุปนันทศากยบุตร เข้าไปเยี่ยมตระกูลทั้งหลายก่อนเวลา ฉันแล้วมาถึงต่อกลางวัน ก็คราวนั้นเป็นสมัยทุพภิกขภัย ภิกษุทั้งหลายรับสิ่ง ของเล็กน้อยแล้วห้ามเสียบ้าง พิจารณาแล้วห้ามเสียบ้าง เป็นอันว่าภิกษุสงฆ์ ล้วนเป็นผู้ห้ามภัตรทั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายรังเกียจไม่รับประเคน,
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 90
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย พวกเธอจงรับประเคนฉันเถิด เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ฉันเสร็จห้ามภัตร แล้ว ฉันโภชนะอันไม่เป็นเดน ซึ่งรับประเคนไว้ในปุเรภัตรได้ .
พระสารีบุตรเถระอาพาธ
[๕๕] ครั้นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนครราชคฤห์ ตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จพระพุทธดำเนินมุ่งไปทางพระนครสาวัตถี เสด็จ จาริกโดยลำดับ ถึงพระนครสาวัตถีแล้ว ทราบว่าพระองค์ประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถีนั้น วันต่อมา ท่านพระวารีบุตรอาพาธเป็นไข้ตัวร้อน ท่านพระมหาโมคคัลลานะเข้าไปเยี่ยม ท่านพระสารีบุตร ได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า อาวุโส สารีบุตร เมื่อก่อนท่าน อาพาธเป็นไข้ตัวร้อน รักษาหายด้วยเภสัชอะไร.
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า รักษาหายด้วยรากกบัวและเง่าบัว.
ท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงได้หายตัวไปในพระวิหารเชตวันทันที มา ปรากฏอยู่ ณ ริมฝั่งสระโบกขรณีมันทากินี เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังเหยียด แขนที่ดู้ หรือดู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น.
ช้างเชือกหนึ่งได้เห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะกำลังมาแต่ไกล ครั้น แล้วได้กล่าวคำนี้กะท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า นิมนต์พระคุณเจ้ามหาโมคคัลลานะมา พระคุณเจ้ามหาโมคคัลลานะมาดีแล้ว พระคุณเจ้าต้องประสงค์สิ่งไร ข้าพเจ้าจะถวายสิ่งนั้น เจ้าข้า.
ท่านพระมหาโมคคัลลานะตอบว่า ฉันประสงค์เง่าบัวและรากบัว.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 91
ช้างเชือกนั้นสั่งช้างอีกเชือกหนึ่งทันทีว่า พนาย ผิฉะนั้น เจ้าจงถวาย เง่าบัวและรากบัวแก่พระคุณเจ้า จนพอแก่ความต้องการ.
ช้างเชือกที่ถูกใช้นั้นลงสู่สระโบกขรณีมันทากินี จึงใช้งวงถอนเง่าบัว และรากบัวล้างน้ำให้สะอาด ม้วนเป็นเห่อเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะ ทันใดนั้นท่านพระมหาโมคคัลลานะได้หายตัวไปที่ริมฝั่งสระโบกชรณีมันทากินี มาปรากฏตัวทีพระวิหารเชตวัน เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลัง เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น แม้ช้างเชือกนั้นก็ได้หายไปตรงริมฝั่งสระโบกขรณี มันทากินี มาปรากฏตัวที่พระวิหารเชตวัน ได้ประเคนเง่าบัวและรากบัวแก่ ท่านพระมหาโมคคัลลานะ แล้วหายตัวไปจากพระวิหารเชตวัน มาปรากฏตัวที่ ริมฝั่งสระโบกขรณีมันทากินี ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะน้อมเง่าบัว และรากบัวเข้าไปถวายท่านพระสารีบุตร เมื่อท่านพระสารีบุตรฉันเง่าบัวและ รากบัวแล้ว โรคไข้ตัวร้อนก็หายทันที เง่าบัวและรากบัวยังเหลืออยู่มากมาย
ก็แลสมัยนั้นอัตคัดอาหาร ภิกษุทั้งหลายรับสิ่งของเล็กน้อยแล้วห้าม เสียบ้าง พิจารณาแล้วห้ามเสียบ้าง เป็นอันว่าภิกษุสงฆ์ล้วนเป็นผู้ห้ามภัตรทั้ง นั้น ภิกษุทั้งหลายรังเกียจไม่รับประเคน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงรับประเคนฉันเถิด เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ฉันเสร็จ ห้ามภัตรแล้ว ฉันโภชนะอันไม่เป็นเดน ซึ่งเกิดในป่า เกิดในสระบัว.
พระพทุธานุญาตผลไม้ที่ใช้เพราะพันธุ์ไม่ได้
[๕๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ในพระนครสาวัตถีมีของฉัน คือ ผลไม้เกิด ขึ้นมาก แต่กัปปิยการกไม่มี ภิกษุทั้งหลายรังเกียจไม่ฉันผลไม้ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 92
ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันผลไม้ที่ใช้เพาะพันธุ์ไม่ได้ หรือที่ปล้อนเมล็ดออก แล้ว ยังมิได้ทำกัปปะก็ฉันได้.
พระพุทธบัญญัติห้ามทำสัตถกรรม
[๕๗] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนครสาวัตถี ตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จพระพุทธดำเนินไปทางพระนครราชคฤห์ เสด็จ พระพุทธดำเนินผ่านระยะทางโดยลำดับ ถึงพระนครราชคฤห์ ทราบว่า พระ องค์ประทับอยู่ในพระเวฬุวันวิหารอันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์นั้น คราวนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคริดสีดวงทวาร นายแพทย์ชื่ออากาสโคตตะกำลังทำการผ่าตัดทวารหนักด้วยศัสตรา ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จพระพุทธดำเนินตามเสนาสนะ เสด็จไปถึงวิหารที่อยู่ ของภิกษุรูปนั้น นายแพทย์อากาสโคตตะได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จ มาแต่ไกล ครั้นแล้วได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขออาราธนาท่าน พระโคดมเสด็จมาทอดพระเนตรวัจจมรรคของภิกษุรูปนี้ เหมือนปากคางคก.
ทรงประชุนภิกษุทั้งหลาย
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า โมฆบุรุษนี้เยาะเย้ยเรา จึงเสด็จกลับจากที่นั้นแล แล้วรับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ในวิหารหลังโน้น มีภิกษุอาพาธหรือ?
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า มี พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปนั้นอาพาธเป็นอะไร?
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 93
ภิ. ท่านรูปนั้นอาพาธเป็นโรคริดสีดวงทวาร นายแพทย์อากาสโคตตะ ทำการผ่าตัดทวารหนักด้วยศัสตรา พระพุทธเจ้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การ กระทำของโมฆบุรุษนั้น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร มิใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษนั้นจึงได้ให้ทำสัตถกรรมในที่ แคบเล่า ในที่แคบมีผิวเนื้ออ่อน แผลงอกเต็มยาก ผ่าตัดไม่สะดวก การกระทำ ของโมฆบุรุษนั้นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ไม่พึงทำสัตถกรรมในที่แคบ รูปใดให้ทำ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พระพุทธบัญญัติห้ามทำวัตถิกรรม
สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามทำการ ผ่าตัดทวารหนักด้วยศัสตรา จึงเลี่ยงให้ทำการรัดหัวไส้ บรรดาภิกษุที่มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้ให้ทำ วัตถิกรรมเล่าแล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุฉัพพัคคีย์ให้ทำวัตถิกรรม จริงหรือ?
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้ทำสัตถกรรม หรือวัตถิกรรมในที่ประมาณ ๒ นิ้ว โดยรอบแห่งที่แคบ รูปใดให้ทำ ต้อง อาบัติถุลลัจจัย.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 94
อุบาสิกาสุปปิยาถวายเนื้อขา
[๕๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนครราชคฤห์ ตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จพระพุทธดำเนินไปทางพระนครพาราณสี เสด็จ พระพุทธดำเนินผ่านระยะทางโดยลำดับถึงพระนครพาราณสีแล้ว ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ ณ อิสิปตนะมฤคทายวันเขตพระนครพาราณสีนั้น สมัยนั้น อุบาสกสุปปิยะและอุบาสิกาสุปปิยา ๒ คน เป็นผู้เลื่อมใส เป็นทายก กัปปิยการก บำรุงพระสงฆ์อยู่ในพระนครพาราณสี วันหนึ่ง อุบาสิกาสุปปิยาไปสู่อาราม เที่ยวเยี่ยมวิหารและบริเวณทั่วทุกแห่ง แล้วเรียนถามภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุ รูปไรอาพาธ ภิกษุรูปไรโปรดให้ดิฉันนำอะไรมาถวาย เจ้าข้า.
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งดื่มยาถ่ายและได้บอกอุบาสิกาสุปปิยาว่า ดูก่อน น้องหญิง อาตมาดื่มยาถ่าย อาตมาต้องการน้ำเนื้อต้ม.
อุบาสิกาสุปปิยารับคำว่า ดิฉันจักนำมาถวายเป็นพิเศษ เจ้าข้า แล้ว ไปเรือนสั่งชายคนรับใช้ว่า เจ้าจงไปหาซื้อเนื้อสัตว์ที่เขาขายมา.
ชายคนรับใช้รับคำอุบาสิกาสุปปิยาว่า ขอรับกระผม แล้วเที่ยวหาซื้อ ทั่วพระนครพาราณสีก็มิได้พบเนื้อสัตว์ที่เขาขาย จึงได้กลับไปหาอุบาสิกาสุปปิยา แล้วเรียนว่า เนื้อสัตว์ที่เขาขายไม่มี ขอรับ เพราะวันนี้ห้ามฆ่าสัตว์.
อุบาสิกาสุปปิยาจึงได้มีความปริวิตกว่า ภิกษุอาพาธรูปนั้นแล เมื่อ ไม่ได้ฉันน้ำเนื้อต้ม อาพาธจักมากขึ้นหรือจักถึงมรณภาพ การที่เรารับคำแล้ว ไม่จัดหาไปถวายนั้น เป็นการไม่สมควรแก่เราเลย ดังนี้ แล้วได้หยิบมีดหั่น เนื้อมาเชือดเนื้อขา ส่งให้หญิงคนรับใช้สั่งว่า แม่สาวใช้ ผิฉะนั้น แม่จงต้ม เนื้อนี้แล้วนำไปถวายภิกษุรูปที่อาพาธอยู่ในวิหารหลังโน้น อนึ่ง ผู้ใดถามถึงฉัน จงบอกว่าป่วย แล้วเอาผ้าห่มพันขา เข้าห้องนอนบนเตียง.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 95
ครั้งนั้น อุบาสกสุปปิยะไปเรือนแล้วถามหาหญิงคนรับใช้ว่า แม่สุปปิยา ไปไหน?
หญิงคนรับใช้ตอบว่า คุณนายนอนในห้อง เจ้าข้า.
จึงอุบาสกสุปปิยะเข้าไปหาอุบาสิกาสุปปิยาถึงในห้องนอน แล้วได้ ถามว่า เธอนอนทำไม อุบาสิกา
ดิฉันไม่สบายค่ะ อุบาสก.
เธอป่วยเป็นอะไร?
ทีนั้น อุบาสิกาสุปปิยาจึงเล่าเรื่องนั้นให้อุบาสกสุปปิยะทราบ.
ขณะนั้น อุบาสกสุปปิยะร่าเริงดีใจว่า อัศจรรย์นัก ชาวเราไม่เคยมี เลย ชาวเรา แม่สุปปิยานี้มีศรัทธาเลื่อมใสถึงแก่สละเนื้อของตนเอง สิ่งไรอื่น ทำไมนางจักให้ไม่ได้เล่า แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง อุบาสกสุปปิยะนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลคำนี้ แด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเ จ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์ จงทรงพระกรุณาโปรดรับภัตตาหารของข้าพระพุทธะจ้าในวันพรุ่งนี้ เพื่อ เจริญมหากุศล และปีติปราโมทย์ แก่ข้าพระพุทธเจ้าด้วยเถิด พระผู้มีพระภาค เจ้าทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ ครั้นอุบาสกสุปปิยะทราบการรับนิมนต์ของพระ ผู้มีพระภาคเจ้าแล้วลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณ แล้วกลับไป และสั่งให้ตกแต่งของเคี้ยวของฉันอันประณีตโดยผ่านราตรีนั้น แล้วให้คนไปกราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ถึงเวลาแล้ว พระพุทธ เจ้าข้าภัตตาหารเสร็จแล้ว.
ขณะนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสก แล้ว ถือบาตรจีวรเสด็จไปสู่นิเวศน์ของอุบาสกสุปปิยะ ครั้นถึงแล้วประทับนั่งเหนือ พุทธอาสน์ที่เขาจัดถวายพร้อมด้วยพระสงฆ์ อุบาสกสุปปิยะจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 96
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถานอุบาสกสุปปิยะผู้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่งว่า อุบาสิกาสุปปิยาไปไหน?
อุ. นางป่วย พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ถ้าเช่นนั้น เชิญอุบาสิกาสุปปิยามา.
อุ. นางไม่สามารถ พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ถ้าเช่นนั้น พวกเธอช่วยกันพยุงพามา.
ขณะนั้น อุบาสกสุปปิยะได้พยุงอุบาสิกาสุปปิยามาเฝ้า พร้อมกับนางได้ เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า แผลใหญ่เพียงนั้นได้งอกเต็ม มีผิวพรรณเรียบสนิท เกิดโลมชาติทันที อุบาสกสุปปิยะและอุบาสิกาสุปปิยา จึงพากันร่าเริงยินดีว่า อัศจรรย์นักชาวเรา ไม่เคยมีเลยชาวเรา พระตถาคตทรงมีพระฤทธิ์มาก ทรง มีพระอานุภาพมาก เพราะพอเห็นพระองค์เท่านั้น แผลใหญ่โตยังงอกขึ้นเต็ม ทันที มีผิวพรรณเรียบสนิท เกิดโลมชาติ แล้วอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า เป็นประมุข ด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีตด้วยมือของตน จนยังพระผู้มี พระภาคเจ้าผู้เสวยเสร็จแล้ว ทรงนำพระหัตถ์ออกจากบาตรให้ห้ามภัตรแล้ว นั่ง อยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงชี้แจงให้อุบาสกสุปปิยะแลอุบาสิกาสุปปิยา เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ทรงลุกจากที่ประทับ เสด็จกลับ.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
[๕๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ใน เพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปไหนขอเนื้อต่ออุบาสิกาสุปปิยา.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 97
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเช่นนี้แล้ว ภิกษุรูปนั้นได้ทูลรับต่อพระผู้มี พระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้า ได้ขอเนื้อต่ออุบาสิกาสุปปิยา พระพุทธเจ้าข้า.
พ. เขานำมาถวายแล้ว หรือ ภิกษุ?
ภิ. เธอฉันเมาถวายแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.
พ. เธอฉันแล้วหรือ ภิกษุ?
ภิ. ฉันแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.
พ. เธอพิจารณาหรือเปล่า ภิกษุ?
ภิ. มิได้พิจารณา พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอ จึงไม่ได้พิจารณา แล้วฉันเนื้อเล่า เธอฉันเนื้อมนุษย์แล้ว การกระทำของเธอ นั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรง ทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า:-
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อมนุษย์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาคนที่มีศรัทธาเลื่อมใสมีอยู่ เขาสละเนื้อ ของเขาถวายก็ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อมนุษย์ รูปใดฉัน ต้องอาบัติถุลลัจจัย อนึ่ง ภิกษุยังมิได้พิจารณา ไม่พึงฉันเนื้อ รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อช้าง
[๖๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ช้างหลวงล้มลงหลายเชือก สมัยอัตคัตอาหาร ประชาชนพากันบริโภคเนื้อช้าง และถวายแก่พวกภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต ภิกษุ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 98
ทั้งหลายฉันเนื้อช้าง ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงได้ฉันเนื้อช้างเล่า เพราะช้างเป็นราชพาหนะ ถ้า พระเจ้าอยู่หัวทรงทราบ คงไม่ทรงเลื่อมใสต่อพระสมณะเหล่านั้นเป็นแน่ ภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ทรงบัญญัติห้ามภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อช้าง รูปใดฉัน ต้องอาบัติ ทุกกฏ.
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อม้า
สมัยต่อมา ม้าหลวงตายมาก สมัยนั้นอัตคัดอาหาร ประชาชนพากันบริโภค เนื้อม้า และถวายแก่ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต ภิกษุทั้งหลายฉันเนื้อม้า ประชาชน จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงได้ ฉันเนื้อม้าเล่า เพราะม้าเป็นราชพาหนะ ถ้าพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบ คงไม่ทรง เลื่อมใสต่อพระสมณะเหล่านั้นเป็นแน่ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อม้า รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อสุนัข
สมัยต่อมา ถึงคราวอัตคัดอาหาร ประชาชนพากันบริโภคเนื้อสุนัข และถวายแก่พวกภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต ภิกษุทั้งหลายฉันเนื้อสุนัข ประชาชน จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงได้ ฉันเนื้อสุนัขเล่า เพราะสุนัขเป็นสัตว์น่าเกลียด น่าชัง ภิกษุทั้งหลายกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อสุนัข รูปใดฉัน ต้องอาบัติ ทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 99
พระพุทะบัญญัติห้ามฉันเนื้องู
สมัยต่อมา ถึงคราวอัตคัดอาหาร ประชาชนพากันบริโภคเนื้องู และ ถวายแก่พวกภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต ภิกษุทั้งหลายฉันเนื้องู ประชาชนจึงเพ่ง โทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงได้ฉันเนื้องู เล่า เพราะงูเป็นสัตว์น่าเกลียดน่าชัง แม้พระยานาคชื่อสุปัสสะก็เข้าไปใน พุทธสำนัก ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า บรรดานาคที่ไม่มี ศรัทธา ไม่เลื่อมใสมีอยู่ มันคงเบียดเบียนพวกภิกษุจำนวนน้อยบ้าง ขอประทานพระวโรกาส พระพุทธเจ้าข้า ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายโปรดกรุณาอยู่ฉัน เนื้องู ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้พระยานาคสุปัสสะเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา ครั้นพระยานาคสุปัสสะอันพระผู้มี พระภาคเจ้าทรงให้เห็นแจ้งสมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้วถวาย บังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าทำประทักษิณกลับไป.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้องู รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อราชสีห์
สมัยต่อมา พวกพรานฆ่าราชสีห์แล้วบริโภคเนื้อราชสีห์ และถวายแก่ พวกภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต พวกภิกษุฉันเนื้อราสีห์แล้วอยู่ในป่า ฝูงราชสีห์ฆ่า พวกภิกษุเสีย เพราะได้กลิ่นเนื้อราชสีห์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อราชสีห์ รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 100
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อเสือโคร่ง
สมัยต่อมา พวกพรานฆ่าเสือโคร่งแล้วบริโภคเนื้อเสือโคร่งและถวาย แก่พวกภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต พวกภิกษุฉันเนื้อเสือโคร่งแล้วอยู่ในป่า เหล่าเสือ โคร่งฆ่าพวกภิกษุเสียเพราะได้กลิ่นเนื้อเสือโคร่ง ภิกษุทั้งหลายก็กราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อเสือโคร่ง รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อเสือเหลือง
สมัยต่อมา พวกพรานฆ่าเสือเหลือง แล้วบริโภคเนื้อเสือเหลืองและ ถวายแก่พวกภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต พวกภิกษุฉันเนื้อเสือเหลืองแล้วอยู่ในป่า เหล่าเสือเหลืองฆ่าพวกภิกษุเสีย เพราะได้กลิ่นเนื้อเสือเหลือง ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดู ก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉัน เนื้อเสือเหลือง รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อหมี
สมัยต่อมา พวกพรานฆ่าหมีแล้วบริโภคเนื้อหมี และถวายแก่พวก ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต พวกภิกษุฉันเนื้อหมีแล้วอยู่ในป่า เหล่าหมีฆ่าพวกภิกษุ เสียเพราะได้กลิ่นเนื้อหมี ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อหมี รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อเสือดาว
สมัยต่อมา พวกพรานฆ่าเสือดาวแล้วบริโภคเนื้อเสือดาว และถวาย แก่พวกภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต พวกภิกษุฉันเนื้อเสือดาวแล้วอยู่ในป่า เหล่า
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 101
เสือดาวฆ่าพวกภิกษุเสีย เพราะได้กล่นเนื้อเสือดาว ภิกษุทั้งหลายกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อเสือดาว รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
สุปปิยภาณวาร ที่ ๒ จบ
เรื่องพราหมณ์ถวายยาคูและขนมปรุงด้วยน้ำหวาน
[๖๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนครพาราณสี ตามพระพุทธาภิรมย์แล้วเสด็จพระพุทธดำเนินมุ่งไปทางอันธกวินทะชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๑,๒๕๐ รูป คราวนั้นประชาชนชาวชนบทบรรทุกเกลือบ้าง น้ำมันบ้าง ข้าวสารบ้าง ของควรเคี้ยวบ้าง เป็นอันมาก มาในเกวียน เดินติดตามภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขมาข้างหลังๆ ด้วยตั้งใจว่า ได้โอกาสเมื่อใดจักทำภัตตาหารถวายเมื่อนั้น อนึ่ง คนกินเดน ประมาณ ๕๐๐ คนก็พลอยเดินติดตามไปด้วย ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ พระพุทธดำเนินผ่านระยะทางโดยลำดับเสด็จถึงอันธกวินทชนบท.
ขณะนั้นพราหมณ์คนหนึ่ง ยังหาโอกาสไม่ได้ จึงดำริในใจว่าเราเดิน ติดตามภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขมากว่า ๒ เตือนแล้ว ด้วยหมายใจว่า ได้โอกาสเมื่อใด จักทำภัตตาหารถวายเมื่อนั้น แต่ก็หาโอกาสไม่ได้ อนึ่ง เรา ตัวคนเดียวและยังเสียประโยชน์ทางฆราวาสไปมาก ไฉนหนอ เราพึงตรวจดู โรงอาหารสิ่งใดไม่มีในโรงอาหาร เราพึงตกแต่งสิ่งนั้นถวาย แล้วจึงตรวจดู โรงอาหารมิได้เห็นมีของ ๒ สิ่ง คือยาคู ๑ ขนมปรุงด้วยน้ำหวาน ๑ จึงเข้าไป หาท่านพระอานนท์ถึงสำนัก ครั้นแล้วได้กราบเรียนคำนี้แด่ท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าอานนท์ ข้าพเจ้าหาโอกาสในที่นี้ไม่ได้จึงได้ดำริในใจว่า ตน
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 102
เดินติดตามภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขมากว่า ๒ เตือนแล้ว ด้วยหมาย ใจว่าได้โอกาสเมื่อใดจักทำภัตตาหารถวายเมื่อนั้น แต่ก็หาโอกาสไม่ได้ อนึ่ง ตนตัวคนเดียวและยังเสียประโยชน์ทางฆราวาสของตนไปมาก ไฉนหนอตนพึง ตรวจดูโรงอาหาร สิ่งใดไม่มีในโรงอาหาร พึงตกแต่งสิ่งนั้นถวาย ดังนี้ ข้า แด่พระคุณเจ้าอานนท์ข้าพเจ้านั้นตรวจดูโรงอาหาร มิได้เห็นมีของ ๒ สิ่ง คือ ยาคู ๑ ขนมปรุงด้วยน้ำหวาน ๑ ถ้าข้าพเจ้าตกแต่งยาคู และขนมปรุงด้วยน้ำ หวานถวาย ท่านพระโคดมจะพึงรับของข้าพเจ้าไหม เจ้าข้า?.
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้นฉันจักทูลถาม พระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าทันที.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ถ้าเช่นนั้นพราหมณ์จงตก แต่ง ถวายเถิด.
ท่านพระอานนท์ บอกพราหมณ์ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้นท่าน ตกแต่งถวายได้ละ.
พราหมณ์นั้น จึงตกแต่งยาคูและขนมปรุงด้วยน้ำหวานมากมายโดยผ่าน ราตรีนั้น แล้วน้อมเข้าไปถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้ากราบทูลว่า ขอท่านพระ โคดมโปรดกรุณรับยาคูและขนมปรุงด้วยน้ำหวานของข้าพระพุทธเจ้าด้วยเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้นเธอจงถวาย แก่ภิกษุทั้งหลายๆ รังเกียจไม่รับ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย พวกเธอจงรับประเคนฉันเถิด.
พราหมณ์นั้นจึงอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยยาคู และขนมปรุงด้วยน้ำหวานมากมายด้วยมือของตน จนยังพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ เสวยเสร็จล้างพระหัตถ์แล้ว ทรงนำพระหัตถ์ออกจากบาตร ให้ห้ามภัตรแล้ว จึงนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 103
ข้าวยาคูมีคุณ ๑๐ อย่าง
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้กะพราหมณ์นั้น ผู้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ดูก่อนพราหมณ์ ข้าวยาคูมีคุณ ๑๐ อย่างนี้ ๑๐ อย่าง เป็นไฉน คือ ผู้ให้ข้าวยาคู. ชื่อว่าให้อายุ ๑ ให้วรรณะ ๑ ให้สุข ๑ ให้กำลัง ๑ ให้ปฏิภาณ ๑ ข้าวยาคูที่ดื่มแล้วกำจัดความหิว ๑ บรรเทาความระหาย ๑ ทำ ลมให้เดินคล่อง ๑ ล้างลำไส้ ๑ ย่อยอาหารใหม่ที่เหลืออยู่ ๑ ดูก่อนพราหมณ์ ข้าวยาคูมีคุณ ๑. อย่างนี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้น ได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสอนุ- โมทนาคาถาดังต่อไปนี้:-
คาถาอนุโมทนา
[๖๒] ทายกใดถวายข้าวยาคูโดย เคารพตามกาล แก่ปฏิคาหก ผู้สำรวมแล้ว บริโภคโภชนะอันผู้อื่นถวาย ทายกนั้นชื่อว่า ตามเพิ่มให้ซึ่งสถานะ ๑๐ อย่างแก่ปฏิคาหก นั้น อายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาณ ย่อมเกิดแก่ปฏิคาหกนั้น แต่นั้นยาคูย่อมกำจัดความหิว ความระหาย ทำลมให้เดินคล่อง ล้างลำไส้ และย่อยอาหาร ยาคูนั้นพระสุคตตรัสสรรเจริญว่าเป็นเภสัช เพราะเหตุนั้น แล มนุษย์ชนที่ต้องการสุขยั่งยืนปรารถนา สุขที่เลิศ หรือยากได้ความงามอันเพริศพริ้ง ในมนุษย์ จึงควรแท้เพื่อถวายข้าวยาคู.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 104
พระพุทธานุญาตข้าวยาคูและขนมปรุงด้วยน้ำหวาน
[๖๓] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนาแก่พราหมณ์นั้นด้วย ๓ คาถานี้แล้ว เสด็จลุกจากที่ประทับกลับไป.
ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูล นั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตข้าวยาคู และขนมปรุงด้วยน้ำหวาน.
เรื่องมหาอำมาตย์ผู้เลื่อมใส
[๖๔] ประชาชนทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตยาคู และขนมปรุงด้วยน้ำหวานแก่ภิกษุทั้งหลาย จึงตกแต่งยาคูที่แข้นและขนมปรุง ด้วยน้ำหวานถวายแต่เช้า ภิกษุทั้งหลายที่ได้รับอังคาสด้วยยาคูที่แข้นและขนม ปรุงด้วยน้ำหวานแต่เช้า ฉันภัตตาหารในโรงอาหารไม่ได้ตามที่คาดหมาย คราว นั้น มหาอำมาตย์คนหนึ่งผู้เริ่มเลื่อมใส ได้นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น ประมุขเพื่อฉันในวันรุ่งขึ้นและได้มีความคิดว่า ถ้ากระไร เราพึงตกแต่งสำรับ มังสะ ๑,๒๕๐ ที่ เพื่อภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป น้อมเข้าไปถวายภิกษุรูปละ ๑ สำรับ แล้วสั่งให้ตกแต่งขาทนียโภชนียาหารอันประณีตและสำรับมังสะ ๑,๒๕0 ที่ โดย ผ่านราตรีนั้น แล้วสั่ง ให้เจ้าพนักงานไปกราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ว่าถึงเวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารสำเร็จแล้ว.
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสกแล้ว ทรงถือ บาตรจีวรเสด็จพระพุทธดำเนินสู่นิเวศน์ของมหาอำมาตย์ผู้เริ่มเลื่อมใสนั้น แล้ว ประทับนั่งเหนือพระพุทธอาสน์ที่เขาจัดถวาย พร้อมด้วยพระสงฆ์ มหาอำมาตย์ ผู้เริ่มเลื่อมใสนั้น จึงอังคาสภิกษุทั้งหลายอยู่ในโรงอาหาร.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 105
ภิกษุทั้งหลายพูดอย่างนี้ว่า จงถวายแต่น้อยเถิดท่าน จงถวายแต่น้อย เถิดท่าน.
ท่านมหาอำมาตย์กราบเรียนว่า ท่านเจ้าข้า ขอท่านทั้งหลายอย่ารับ แต่น้อยๆ ด้วยคิดว่า นี้เป็นมหาอำมาตย์ที่เริ่มเลื่อมใส กระผมตกแต่งที่ขาทนีย โภชนียาหารไว้มาก กับสำรับมังสะ ๑,๒๕0 ที่ จักน้อมเข้าไปถวายภิกษุรูปละ ๑ สำรับขอท่านทั้งหลายกรุณารับให้พอแก่ความต้องการเถิด เจ้าข้า.
ภิกษุทั้งหลายว่า ท่าน พวกอาตมภาพรับแต่น้อยๆ มิใช่เพราะเหตุ นั้นเลย แต่เพราะพวกอาตมภาพได้รับอังคาสด้วยยาคูที่แข้น และขนมปรุง ด้วยน้ำหวานแต่เช้า ฉะนั้น พวกอาตมภาพจึงขอรับแต่น้อยๆ.
ทันใดนั้น มหาอำมาตย์ผู้เริ่มเลื่อมใสนั้นจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ว่า ไฉนพระคุณเจ้าทั้งหลาย อันกระผมนิมนต์แล้วจึงได้ฉันยาคูที่แข้นของ ผู้อื่นเล่า กระผมไม่สามารถจะถวายให้พอแก่ความต้องการหรือ แล้วโกรธไม่ พอใจ เพ่งจะหาโทษให้ ได้บรรจุบาตรของภิกษุทั้งหลายเต็มพลางกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจะฉันก็ได้ นำไปก็ได้ ครั้นแล้ว อังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น ประมุข ด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีตด้วยมือของตน จนยังพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เสวยเสร็จแล้วนำพระหัตถ์ออกจากบาตรให้ห้ามบัตรแล้ว นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงชี้แจงแก่มหาอำมาตย์ผู้เริ่มเลื่อมใสนั้น ซึ่งนั่ง เฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วย ธรรมีกถาแล้ว ทรงลุกจากที่ประทับเสด็จกลับ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ กลับไม่ทันนาน มหาอำมาตย์ผู้เริ่มเลื่อมใสนั้นได้บังเกิดความรำคาญและความ เดือดร้อนว่า มิใช่ลาภของเราหนอ ลาภของเราไม่มีหนอ เราได้ชั่ว แล้วหนอ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 106
เราไม่ได้ดีแล้วหนอ เพราะเราโกรธไม่พอใจ เพ่งจะหาโทษให้ ได้บรรจุ บาตรของภิกษุทั้งหลายเต็มพลางกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจะฉันก็ได้ นำไปก็ได้ อะไรหนอแล เราสร้างสมมาก คือ บุญหรือบาป ครั้นแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคเจ้าถวายบงคมนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง จึงกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จกลับไม่ทัน นาน ความรำคาญและความ เดือดร้อนได้บังเกิดแก่ข้าพระพุทธเจ้า ณ ที่นั้น ว่า มิใช่ลาภของข้าพระพุทธเจ้า หนอ ลาภของข้าพระพุทธเจ้าไม่มีหนอ ข้าพระพุทธเจ้าได้ชั่วแล้วหนอ ข้าพระพุทธเจ้าไม่ได้ดีแล้วหนอ เพราะข้าพระพุทธเจ้าโกรธไม่พอใจ เพ่งจะหาโทษ ให้ ได้บรรจุบาตรของภิกษุทั้งหลายเต็มพลางกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจะฉันก็ได้ นำไปก็ได้ อะไรหนอแล ข้าพระพุทธเจ้าสร้างสมไว้มาก คือ บุญหรือบาป ดังนี้ อะไรกันแน่ที่ข้าพระพุทธเจ้าสร้างสมมาก คือ บุญหรือบาป พระพุทธ เจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า อาวุโส ท่านนิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข เพื่อเจริญบุญกุศลและปีติปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้ด้วยทานอัน เลิศใค ท่านชื่อว่าสร้างสมบุญไว้มากเพราะทานอันเลิศนั้น เมล็ดข้าวสุกเมล็ด หนึ่งๆ ของท่าน อันภิกษุรูปหนึ่งๆ ผู้เลิศด้วยคุณสมบัติอันใด รับไปแล้ว ท่านชื่อว่าสร้างสมบุญไว้มาก เพราะภิกษุผู้เลิศด้วยคุณสมบัติอันนั้น สวรรค์ เป็นอันท่านปรารภไว้แล้ว.
ลำดับนั้น มหาอำมาตย์ผู้เริ่มเลื่อมใสนั้น ได้ทราบว่าเป็นลาภของตน ได้ดีแล้ว บุญมากอันคนสร้างสมแล้ว สวรรค์อันตนปรารภไว้แล้ว ก็ร่าเริง ดีใจลุกจากที่นั่งถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณกลับไป.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 107
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุ เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุทั้งหลายอันทายกนิมนต์ไว้แห่งอื่น ฉันยาคู ที่แข้นของผู้อื่นจริงหรือ?
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันยาคูที่แข้น
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน โมฆบุรุษเหล่านั้น อันทายกนิมนต์ไว้แห่งอื่น จึงได้ฉัน ยาคที่แข้นของผู้อื่นเล่า การกระทำของพวกโมฆบุรุษนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง ไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุอันทายกนิมนต์ไว้แห่งอื่น ไม่พึงฉันยาคูที่แข้นของผู้อื่นรูปใด ฉัน พึงปรับอาบัติตามธรรม.
เรื่องพราหนณ์เวลัฏฐกัจจานะถวายงลบนาอ้อย
[๖๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในอันธกวินทชนบท ตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จพระพุทธดำเนินมุ่งไปทางพระนครราชคฤห์ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๑,๒๕๐ รูป คราวนั้น พราหมณ์เวลัฏฐ- กัจจานะ เดินทางไกลแต่พระนครราชคฤห์ไปยังอันธกวินทชนบท พร้อมด้วย เกวียนประมาณ ๕๐๐ เล่มล้วนบรรทุกหม้องบน้ำอ้อยเต็มทุกเล่ม พระผู้มี พระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นเวลัฏฐกัจจานะกำลังมาแต่ไกล ครั้นแล้ว เสด็จแวะออกจากทางประทับนั่ง ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 108
พราหมณ์เวลัฏฐกัจจานะ จึงเดินเข้าไปถึงที่ประทับ ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลคำนี้ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าปรารถนาจะถวาย งบน้ำอ้อย แก่ภิกษุรูป ๑ หม้อ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัจจานะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงนำ งบน้าอ้อยมาแต่เพียงหม้อเดียว.
พราหมณ์เวลัฏฐกัจจานะทูลรับสนองพระพุทธดำรัสว่า เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า แล้วนำงบน้ำอ้อยมาแต่หม้อเดียว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า หม้องบน้ำอ้อย ข้าพระพุทธเจ้านำ มาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าจะปฏิบัติอย่างไร ต่อไป?
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัจจานะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงถวาย งบน้ำอ้อยแก่ภิกษุทั้งหลาย.
พราหมณ์เวลัฏฐกัจจานะ ทูลรับสนองพระพุทธดำรัสว่า เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า แล้วถวายงบน้ำอ้อยแก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วได้กราบทูลคำนี้แด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า งบน้ำอ้อยข้าพระพุทธเจ้าถวายแก่ภิกษุทั้งหลาย พระพุทธเจ้าข้า แต่งบน้ำอ้อยนี้ยังเหลืออยู่มาก ข้าพระพุทธเจ้าจะปฏิบัติอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัจจานะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงถวาย งบน้ำอ้อยแก่ภิกษุทั้งหลายจนพอแกความต้องการ.
พราหมณ์เวลัฏฐกัจจานะ ทูลรับสนองพระพุทธดำรัสว่าเป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า แล้ว ถวายงบน้ำอ้อยแก่ภิกษุทุกรูป จนพอแก่ความต้องการ แล้วได้ทูลคำนี้ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า งบน้ำอ้อยข้าพระพุทธเจ้าถวายแก่ภิกษุ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 109
ทั้งหลายจนพอแก่ความต้องการแล้ว พระพุทธเจ้าข้า แต่งบน้ำอ้อยนี้ยังเหลือ อยู่มาก ข้าพระพุทธเจ้าจะปฏิบัติอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัจจานะ. ถ้าเช่นนั้น เธอจงอังคาส ภิกษุทั้งหลายด้วยงบน้ำอ้อยให้อิ่มหนำ.
พราหมณ์เวลัฏฐกัจจานะทูลรับสนองพระพุทธดำรัสว่า เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า แล้วอังคาสภิกษุทั้งหลายด้วยงบน้ำอ้อยให้อิ่มหนำ ภิกษุบาง พวกบรรจุงบน้ำอ้อยเต็มบาตรบ้าง เต็มหม้อกรองน้ำบ้าง เต็มถุงย่ามบ้าง ครั้น พราหมณ์เวลัฎฐกัจจานะอังคาสภิกษุทั้งหลายด้วยงบน้ำอ้อยให้อิ่มหนำแล้วได้ทูล คำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ภิกษุทั้งหลายอันข้าพระพุทธเจ้าอังคาสด้วยงบ น้ำอ้อยให้อิ่มหนำแล้วพระพุทธเจ้าข้า แต่งบน้ำอ้อยนี้ยังเหลืออยู่มาก ข้าพระพุทธเจ้าจะปฏิบัติอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า?
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัจจานะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงให้งบ น้ำอ้อยแก่พวกคนกินเดน.
พราหมณ์เวลัฎฐกจัจานะ ทูลรับสนองพระพุทธดำรัสว่า เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า แล้วจึงให้งบน้ำอ้อยแก่พวกคนกินเดน แล้วได้ทูลคำนี้แด่ พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า งบน้ำอ้อยข้าพระพุทธเจ้าให้พวกคนกินเดนแล้ว พระพุทธเจ้าข้า แต่งบน้ำอ้อยนี้ยังเหลืออยู่มาก ข้าพระพุทธเจ้าจะปฏิบัติอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า?
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัจจานะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงให้ งบน้ำอ้อยแก่พวกคนกินเดน จนพอแก่ความต้องการ.
พราหมณ์เวลัฏฐกัจจานะ ทูลรับสนองพระพุทธดำรัสว่า เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า แล้ว จึงให้งบน้ำอ้อยแก่พวกคนกินเดน จนพอแก่ความต้อง
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 110
การแล้วได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า งบน้ำอ้อยข้าพระพุทธเจ้าให้พวก คนกินเดนจนพอแก่ความต้องการแล้ว พระพุทธเจ้าข้า แต่งบน้ำอ้อยนี้ยังเหลือ อยู่มาก ข้าพระพุทธเจ้าจะปฏิบัติอย่างไรต่อไป พระพุทธเจ้าข้า?
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัจจานะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงเลี้ยงดู พวกคนกินเดนให้อิ่มหนำ ด้วยงบน้ำอ้อย.
พราหมณ์เวลัฏฐกัจจานะ ทูลรับสนองพระพุทธดำรัสว่า เป็นอย่าง นั้นพระพุทธเจ้าข้า แล้วเลี้ยงดูพวกคนกินเดนให้อิ่มหนำด้วยงบน้ำอ้อย คน กินเดนบางพวกบรรจุงบน้ำอ้อยเต็มกระป๋องบ้าง เต็มหม้อน้ำบ้าง ห่อเต็ม ผ้าขาวปูลาดบ้าง เต็มพกบ้าง ครั้นพราหมณ์เวลัฎฐกัจจานะเลี้ยงดูพวกคนกิน เดนไห้อิ่มหนำด้วยงบน้ำอ้อย แล้วทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พวกคน กินเดนอันข้าพระพุทธเจ้าเลี้ยงดูด้วยงบน้ำอ้อยให้อิ่มหนำแล้ว พระพุทธเจ้าข้า แต่งบน้ำอ่อยนี้ยังเหลืออยู่มาก ข้าพระพุทธเจ้าจะปฏิบัติอย่างไรต่อไป พระ พุทธเจ้าข้า?
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัจจานะ ทั่วโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลกพรหมโลก ทั่วทุกหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ เราไม่เล็งเห็นบุคคลผู้ที่บริโภคงบน้ำอ้อยนั้นแล้วจะให้ย่อยได้ดี นอกจากตถาคต หรือสาวกของตถาคต ดูก่อนกัจจานะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงทิ้งงบน้ำอ้อยนั้นเสีย ในสถานที่อันปราศจากของเขียงสด หรือจงเทเสียในน้ำซึ่งปราศจากตัวสัตว์.
พราหมณ์เวลัฏฐกัจจานะ ทูลรับสนองพระพุทธดำรัสว่า เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า แล้วเทงบน้ำอ้อยนั้นลงในน้ำซึ่งปราศจากตัวสัตว์ งบน้ำอ้อย ที่เทลงในน้ำนั้น เดือดพลุ่ง ส่งเสียงดังจิฏิจิฏิ พ่นไอพ่นควันทันที เปรียบ เหมือนผาลที่ร้อนโชนตลอดวันอันบุคคลจุ่มลงในน้ำ ย่อมเดือดพลุ่ง ส่งเสียง
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 111
ดังจิฏิจิฏิ พ่นไอพ่นควันอยู่ แม้ฉันใด งบน้ำอ้อยที่เทลงในน้ำนั้น ย่อม เดือดพล่าน ส่งเสียงดังจิฏิจิฏิ พ่นไอพ่นควันอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน.
พราหมณ์เวลัฏฐกัจจานะ สลดใจ บังเกิดโลมชาติชูชนทันที แล้ว เข้าไปในพุทธสำนัก ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง.
ทรงแสดงอนุปุพพิกถาและจตุราริยสัจ
เมื่อพราหมณ์เวลัฏฐกัจจานะนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงอนุปุพพิกถา คือ ทรงประกาศ ทานกถา สีลกถา สัคคกถา ซึ่งโทษแห่งกามอันต่ำทรามอันเศร้าหมอง และอานิสงส์ในความ ออกจากกาม เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่าพราหมณ์เวลัฏฐกัจจานะมีจิตสงบ มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดง ด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดวงตาเห็นธรรมปราศจาก ธุลี ปราศจากมลทินได้เกิดแก่พราหมณ์เวลัฏฐกัจจานะ ณ ที่นั่งนั้นแลว่า สิ่ง ใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา ดุจผ้าสะอาดปราศจากมลทิน ควรได้รับน้ำย้อมเป็นอย่างดีฉะนั้น ครั้นพราหมณ์ เวลัฏฐกัจจานะได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยังลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความ สงสัยแล้ว ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น ในคำสอนของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระพุทธเจ้าข้า ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายอย่างนี้ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 112
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจ ว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ข้าพระพุทธเจ้านี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงจำข้า พระพุทธเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเติมแต่วันนี้เป็นต้นไป.
พระพุทธานุญาตงบน้ำอ้อย
[๖๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จพระพุทธดำเนินผ่านระยะ ทางโดยลำดับ เสด็จถึงพระนครราชคฤห์แล้ว ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์นั้น ครั้งนั้น ในพระนครราชคฤห์มีงบน้ำอ้อยมาก ภิกษุ ทั้งหลายรังเกียจว่า ผู้ไม่อาพาธ จึงไม่ฉันงบน้ำอ้อย แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตงบน้ำอ้อยแก่ภิกษุผู้อาพาธ และงบน้ำอ้อยละลายน้ำแก่ภิกษุผู้ไม่ อาพาธ.
ทรงรับอาคารพังแรม
[๖๗] ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนครราชคฤห์ ทามพระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จพระพุทธดำเนินมุ่งไปทางตำบลบ้านปาฏลิพร้อม ด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่จำหวน ๑,๒๕๐ รูป เสด็จพระพุทธดำเนินผ่านระยะทาง โดยลำดับถึงตำบลบ้านปาฏลิแล้ว อุบาสกอุบาสิกาชาวตำบลบ้านปาฏลิได้ทราบ ข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงตำบลบ้านปาฏลิแล้ว จึงพากันเข้าไปเฝ้า ณ พลับพลาที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วน
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 113
ข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้อุบาสกอุบาสิกาชาวตำบลบ้านปาฏลิผู้ นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา.
ครั้นอุบาสก อุบาสิกาชาวตำบลบ้านปาฏลิอันพระผู้มีพระภาคเจ้าชี้แจง ให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ได้กราบทูลคำนี้ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ โปรด ทรงรับอาคารพักแรมของพวกข้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับโดยดุษณีภาพ ครั้นอุบาสกอุบาสิกาชาวตำบลบ้านปาฏลิทราบ การทรงรับของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงลุกจากที่นั่งถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณแล้วพากันเดินไปทางอาคารพักแรม ปูลาดดาดเพดาน ทั่วอาคารพักแรมทุกแห่ง จัดอาสนะ ตั้งหม้อน้ำ ตามแระทีปน้ำมัน แล้ว พากันเข้าไปยังพลับพลาที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พวกเขายืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลคำ นี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระพุทธเจ้าปูลาดดาด เพดานอาคารพักแรมทุกแห่ง จัดอาสนะ ตั้งหม้อน้ำ ตามประทีปน้ำมันไว้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบกาล อันควรในบัดนี้ พระพุทธเจ้าข้า.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตร จีวรแล้ว เสด็จไปทางอาคารพักแรมพร้อมกับภิกษุสงฆ์ ทรงชำระพระบาทยุดล แล้วเสด็จเข้าสู่อาคารพักแรม ประทับนั่งพิงเสากลางผินพระพักตร์ไปทางทิศ ตะวันออก แม้ภิกษุสงฆ์เล่าก็ล้างเท้าแล้ว เข้าสู่อาคารพักแรม นั่งพิงฝาด้าน ตะวันตก ผินหน้าไปทางทิศตะวันออก ห้อมล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ อุบาสกอุบาสิกาชาวตำบลบ้านปาฏลิก็ล้างเท้าแล้วเข้าสู่อาคารพักแรม นั่งพิงฝา ด้านตะวันออก ผินหน้าไปทางตะวันตก ห้อมล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 114
ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทศนาโปรดอุบาสก อุบาสิกา ชาว ตำบลบ้านปาฏลิ ดังต่อไปนี้:-
โทษแห่งศีลวิบัติ ๕ ประการ
[๖๘] ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีลมี ๕ ประการเหล่านี้ ๕ ประการเป็นไฉน? ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย คนทุศีล ผู้มีศีล วิบัติในโลกนี้ ย่อมเข้าถึงความเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ใหญ่หลวง เพราะเหตุแห่ง ความประมาท นี้เป็นโทษข้อที่ ๑ แห่งศีลวิบัติ ของตนทุศีล.
ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย อนึ่ง โทษข้ออื่นยังมีอีก ชื่อเสียงอันลามก ของตนทุศีล ผู้มีศีลวิบัติย่อมเฟื่องพุงไป นี้เป็นโทษข้อที่ ๒ แห่งศีลวิบัติ ของคนทุศีล.
ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย อนึ่ง โทษข้ออื่นยังมีอีก คนทุศีล ผู้มีศีลวิบัติ เขาไปหาบริษัทใดๆ เช่น ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คหดีบริษัท สมณบริษัท ย่อมเป็นผู้ครั่นคร้าม ขวยเขินเข้าไปหาบริษัทนั้นๆ นี้เป็นโทษ ข้อที่ ๓ แห่งศีลวิบัติ ของคนทุศีล.
ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย อนึ่ง โทษข้ออื่นยังมีอีก คนทุศีล ผู้มีศีลวิบัติ ย่อมเป็นผู้หลงทำกาละ นี้เป็นโทษข้อที่ ๔ แห่งศีลวิบัติ ของคนทุศีล.
ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย อนึ่ง โทษข้ออื่นยังมีอีก คนทุศีล ผู้มีศีลวิบัติ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก นี้เป็น โทษข้อที่ ๕ แห่งศีลวิบัติ ของคนทุศีล.
ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีล มี ๕ ประการ นี้แล.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 115
อานิสงส์แห่งศีลสมบัติ ๕ ประการ
[๖๙] ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีลมี ๕ ประการเหล่านั้น ๕ ประการเป็นไฉน? ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย คนมีศีล ถึง พร้อมด้วยศีลในโลก ย่อมได้กองโภคทรัพย์ใหญ่หลวง เพราะเหตุแห่งความ ไม่ประมาท นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑ แห่งศีลสมบัติ ของคนมีศีล.
ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย อนึ่ง อานิสงส์ข้ออื่นยังมีอีก ชื่อเสียงอันดีงาม ของคนมีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมเฟื่องฟุ้งไป นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๒ แห่ง ศีลสมบัติ ของคนมีศีล.
ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย อนึ่ง อานิสงส์ข้ออื่นยังมีอีก คนมีศีลถึงพร้อม ด้วยศีล เข้าไปหาบริษัทใดๆ เช่น ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คหบดีบริษัท สมณบริษัท ย่อมเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ขวยเขินเข้าไปหาบริษัทนั้นๆ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๓ แห่งศีลสมบัติ ของคนมีศีล.
ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย อนึ่ง อานิสงส์ข้ออื่นยังมีอีก คนมีศีลถึงพร้อม ด้วยศีล ย่อมไม่หลงทำกาละ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๔ แห่งศีลสมบัติ ของคน มีศีล.
ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย อนึ่ง อานิสงส์ข้ออื่นยังมีอีก คนมีศีลถึงพร้อม ด้วยศีล เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ นี้เป็น อานิสงส์ข้อที่ ๕ แห่งศีลสมบัติ ของคนมีศีล.
ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย อานิสงส์แห่งศีลสมบัติ ของคนมีศีล มี ๕ ประการ นี้แล.
[๗๐] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจง ให้อุบาสกอุบาสิกาของ ตำบลบ้านปาฏลิเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาจนดึกดื่นแล้ว
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 116
ทรงส่งกลับด้วยรับสั่งว่า ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย ราตรีจวนสว่างแล้ว บัดนี้ พวกเธอจงรู้กาลที่จะกลับเถิด อุบาสกอุบาสิกาชาวตำบลบ้านปาฏลิ รับสนอง พระพุทธดำรัสว่า พระพุทธเจ้าข้า แล้วลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระ ภาคเจ้า ทำประทักษิณแล้วพากันกลับ ครั้นอุบาสกอุบาสิกาชาวตำบลบ้าน ปาฏลิกลับไปไม่ทันนาน พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จเข้าสุญญาคารแล้ว.
เรื่องสุนีธะวัสสการะมหาอำมาตย์
[๗๑] ก็โดยสมัยนั้นแล มหาอำมาตย์แห่งมคธรัฐ ๒ ท่านชื่อ สุนีธะ ๑ วัสสการะ ๑ กำลังจัดการสร้างพระนคร ณ ตำบลบ้านปาฏลิ เพื่อป้องกันชาว วัชชี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตื่นบรรทมในเวลาปัจจุสมัยแห่งราตรี ได้ทรง เล็งทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงวิสัยของมนุษย์ ทอดพระเนตรเห็นเทวดาเป็นอัน มากกำลังยึดถือที่ดินในตำบลบ้านปาฏลิ คือ ในประเทศที่ใด พวกเทวดามี ศักดิ์ใหญ่ยึดถือที่ดิน พวกเจ้าและราชมหาอำมาตย์ผู้มีศักดิ์สูงๆ ต่างก็น้อมจิต เพื่อสร้างนิเวศน์ลงในประเทศที่นั้น ในประเทศที่ใด พวกเทวดาที่มีศักดิ์ชั้น กลางยึดถือที่ดิน พวกเจ้าและราชมหาอำมาตย์ที่มีศักดิ์ชั้นกลางๆ ต่างก็น้อมจิต เพื่อสร้างนิเวศน์ลงในประเทศที่นั้น ในประเทศที่ใด เทวดาที่มีศักดิ์ชั้นต่ำยึด ถือที่ดิน พวกเจ้าและราชมหาอำมาตย์ชั้นต่ำๆ ต่างก็น้อมจิตเพื่อสร้างนิเวศน์ ลงในประเทศที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงรับสั่งถามท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อน อานนท์ พวกไหนกำลังสร้างนครลงที่ตำบลบ้านปาฏลิ.
อ. มหาอำมาตย์แห่งมคธรัฐ ชื่อ สุนีธะ ๑ วัสสการะ ๑ กำลังสร้าง นครลงที่ตำบลบ้านปาฏลิ เพื่อป้องกันชาววัชชี พระพุทธเจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 117
ภ. ดูก่อนอานนท์ สุนีธะ กับ วัสสการะ ๒ มหาอำมาตย์แห่งมคธ รัฐกำลังสร้างนครลงในตำบลบ้านปาฏลิ เพื่อป้องกันชาววัชชีเหมือนได้ปรึกษา กับพวกเทพเจ้าชั้นดาวดึงส์ ฉะนั้น อานนท์ เมื่อเวลาปัจจุสมัยแห่งราตรีนี้ เราลุกขึ้น ได้เล็งทิพจักขุอันบริสุทธิ์ล่วงวิสัยของมนุษย์ เห็นพวกเทวดาเป็นอัน มากกำลังยึดถือที่ดินในตำบลบ้านปาฏลิ คือ ในประเทศที่ใด พวกเทวดามี ศักดิ์สูงๆ ยึดถือที่ดินพวกเจ้าและราชมหาอำมาตย์ผู้มีศักดิ์สูงๆ ต่างก็น้อมจิต เพื่อสร้างนิเวศน์ลงในประเทศที่นั้น ในประเทศที่ใด เทวดามีศักดิ์ชั้นกลางๆ ยึดถือที่ดิน พวกเจ้าและราชมหาอำมาตย์ผู้มีศักดิ์ชั้นกลางๆ ต่างก็น้อมจิตเพื่อ สร้างนิเวศน์ลงในประเทศที่นั้น ในประเทศที่ใด เทวดาผู้มีศักดิ์ชั้นต่ำๆ ยึดถือ ที่ดิน พวกเจ้าและราชมหาอำมาตย์ผู้มีศักดิ์ชั้นต่ำๆ ต่างก็น้อมจิตเพื่อสร้าง นิเวศน์ลงในประเทศที่นั้น อานนท์ ตลอดสถานที่อันเป็นย่านชุมนุมแห่ง อารยชน และเป็นทางค้าขาย พระนครนี้ จักเป็นพระนครชั้นเอก เป็นทำเล ค้าขาย ชื่อปาฏลิบุตร และเมืองปาฏลิบุตรจักบังเกิดอันตราย ๓ ประการ คือ บังเกิดแต่ไฟ ๑ บังเกิดแต่น้ำ ๑ บังเกิดแต่ภายใน คือ แตกสามัคคีกัน ๑.
[๗๒] ครั้งนั้น ท่านสุนีธะมหาอำมาตย์และท่านวัสสการะมหาอำมาตย์ แห่งมคธรัฐ พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วได้ทูลปราศรัยกับ พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้เป็นที่บันเทิง เป็นที่ระลึกถึง กันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลอาราธนา พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอท่านพระโคดม พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จงทรงพระกรุณาโปรดรับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพื่อเจริญกุศลและปีติ ปราโมทย์ในวันนี้ด้วยเถิดพระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับอาราธนา โดยดุษณีภาพ ครั้นสุนีธะมหาอำมาตย์และวัสสการะมหาอำมาตย์ ทราบพระ-
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 118
อาการที่ทรงรับอาราธนาแล้ว ลุกจากที่นั่งกลับไป ครั้นตกแต่งของเคี้ยวของ ฉันอันประณีตแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ไปกราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ถึงเวลาแล้ว ท่านพระโคดม ภัตตาหารเสร็จแล้ว.
ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสก ทรง ถือบาตรจีวรเสด็จพระพุทธดำเนินไปทางสถานที่อังคาส ของสองมหาอำมาตย์ แห่งมคธรัฐครั้นถึงแล้วประทับนั่งเหนือพระพุทธอาสน์ที่เขาจัดถวาย พร้อม ด้วยภิกษุสงฆ์ ครั้งสองมหาอำมาตย์อังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีต ด้วยมือของตน จนยังพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เสวยเสร็จแล้วทรงนำพระหัตถ์ออกจากบาตร ให้ห้ามภัตรแล้ว ได้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีjพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนาแก่สองหาอำมาตย์นั้น ด้วยพระคาถาเหล่านั้น ว่าดังนี้:-
คาถาอนุโมทนา
[๗๓] บัณฑิตชาติอยู่ในประเทศใด เลี้ยงดูท่านผู้มีศีล ผู้สำรวม ประพฤติพรหมจรรย์ในประเทศนั้น และได้อุทิศทักษิณาแก่ เหล่าเทพดาผู้สถิตในสถานที่นั้นเทพดาเหล่า นั้นอันบัณฑิตชาติบูชาแล้ว ย่อมบูชาตอบ อันบัณฑิตชาตินับถือแล้วย่อมนับถือตอบ ซึ่งบัณฑิตชาตินั้น แต่นั้น ย่อมอนุเคราะห์ บัณฑิตชาตินั้น ดุจมารดาอนุเคราะห์บุตรผู้ เกิดแต่อก ฉะนั้น คนที่เทพดาอนุเคราะห์ แล้ว ย่อมพบเห็นแต่สิ่งที่เจริญทุกเมื่อ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 119
[๗๔] ครั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนาแก่สองมหาอำมาตย์ ด้วยพระคาถาเหล่านี้แล้ว ทรงลุกจากพระพุทธอาสน์เสด็จกลับ สองมหาอำมาตย์จึงตามส่งเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ไปทางเบื้องพระปฤษฎางค์ด้วยความ ประสงค์ว่า วันนี้ พระสมณโคดมจักเสด็จออกทางประตูด้านใด ประตูด้าน นั้นจักมีนามว่า ประตูพระโคดม จักเสด็จข้ามแม่น้ำคงคาโดยท่าใด ท่านั้น จักมีนามว่า ท่าพระโคดม ต่อมาประตูที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จพระพุทธ ดำเนินผ่านไปนั้น ได้ปรากฏนามว่า ประตูพระโคดม
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จพระพุทธดำเนินไปทางแม่น้ำคงคา ก็เวลานั้น แม้น้ำคงคากำลังเปี่ยม น้ำเสมอตลิ่ง พอกาดื่มกินได้ คนทั้งหลาย ใคร่จะไปจากฝั่งนี้สู่ฝั่งโน้น ต่างก็หาเรือ ต่างก็หาแพ ต่างก็ผูกแพลูกบวบ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นคนเหล่านั้นต่างก็พากันหาเรือ หาแพ ผูกแพลูกบวบ ประสงค์จะข้ามจากฝั่งนี้ไปสู่ฝั่งโน้น จึงได้ทรงอันตรธาน ณ ฝั่งนี้แห่งแม่น้ำคงคา ไปปรากฏ ณ ฝั่งโน้นพร้อมกับภิกษุสงฆ์ ดุจบุรุษมีกำลัง เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความข้อนี้แล้ว จึงทรงเปล่ง พระอุทานนี้ในเวลานั้น ว่าดังนี้:-
ชนเหล่าใดจะข้ามแม่น้ำที่ห้วงลึก ชนเทล่านั้นต้องสร้างสะพานแล้วสละสระ น้อยเสีย จึงข้ามสถานอันลุ่มเต็มด้วยน้ำได้ ส่วนคนที่จะข้ามแม่น้ำน้อยนี้ ก็ผูกแพข้าม ไปได้ แต่พวกคนมีปัญญา เว้นแพเสียก็ข้าม ได้.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 120
ทรงแสดงจตุราริยสัจ
[๗๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จพระพุทธดำเนินเข้าไปทาง ตำบลบ้านโกฏิ ทราบว่าพระองค์ประทับอยู่ที่ตำบลบ้านโกฏินั้น.
ณ ที่นั้นแลพระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะพระภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เราและพวกเธอเร่ร่อนท่องเที่ยวไป ตลอดกาลนานอย่างนี้ เพราะไม่ ได้ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอดอริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ อะไรบ้าง? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราและพวกเธอเร่ร่อนท่องเที่ยวไปตลอดกาลนานอย่างนี้ เพราะไม่ได้ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอดทุกขอริยสัจ ... ทุกขสมุทยอริยสัจ ... ทุกขนิโรธอริยสัจ ... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจ ทุกขมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้น อันเราและ พวกเธอได้ตรัสรู้แล้ว ได้แทงตลอดแล้ว ตัดตัณหาในภพได้ขาดแล้ว ตัณหา ที่จะนำไปเกิดก็สิ้นแล้ว บัดนี้ ไม่มีการเกิดอีกต่อไป.
นิคมคาถา
[๗๖] เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ตาม เป็นจริง จึงต้องท่องเที่ยวไปในชาตินั้นๆ ตลอดเวลานาน อริยสัจเหล่านั้นนั่น เราและ พวกเธอได้เห็นแล้ว ตัณหาที่จะนำไปเกิด เราและพวกเธอได้ถอนขึ้นแล้ว รากแห่ง ทุกข์ เราและพวกเธอได้ตัดขาดแล้ว บัดนี้ ไม่มีการเกิดอีก.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 121
เรื่องเจ้าลิจฉวีชาวพระนครเวสาลี
[๗๗] นางอัมพปาลีหญิงงามเมืองได้ทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาโดยลำดับถึงตำบลบ้านโกฏิแล้ว จึงให้จัดยวดยานที่งามๆ แล้วขึ้น สู่ยวดยานที่งามๆ มียวดยานที่งามๆ ออกไปจากพระนครเวสาลี เพื่อเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ไปด้วยยวดยานตลอดพื้นที่ที่ยวดยานจะไปได้ แล้วลง จากยวดยานเดินด้วยเท้าเข้าไปถึงพุทธสำนัก ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้ว ได้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้นาง เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา ครั้นนางอัมพปาลีคณิกา อันพระผู้มีพระภาค เจ้าทรงชี้แจงให้เห็นแจ้งสมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วย ธรรมีกถาแล้ว ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอพระผู้มีพระภาค เจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ทรงพระกรุณาโปรดรับภัตตาหารของหม่อมฉันเพื่อ เจริญบุญกุศลและปีติปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับอาราธนา โดยดุษณีภาพ ครั้นนางทราบพระอาการที่ทรงรับอาราธนาแล้ว ลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณกลับไป.
พวกเจ้าลิจฉวีชาวพระนครเวสาลี ได้ทรงสดับข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาโดยลำดับ ถึงตำบลบ้านโกฏิแล้ว จึงพากันจัดยวดยานที่งามๆ เสด็จขึ้นสู่ยวดยานที่งามๆ ออกไปจากพระนครเวสาลี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระ ภาคเจ้า เจ้าลิจฉวีบางพวกเขียว คือ มีพระฉวีเขียว ทรงวัตถาลังการเขียว บางพวกเหลือง คือ มีพระฉวีเหลือง ทรงวัตถาลังการเหลือง บางพวกแดง คือ มี พระฉวีแดง ทรงวัตถาลังการแดง บางพวกขาว คือ มีพระฉวีขาว ทรง วัตถาลังการขาว.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 122
ขณะนั้น นางอัมพปาลีคณิกา ทำให้งอนรถกระทบงอนรถ แอก กระทบแอก ล้อกระทบล้อ เพลากระทบเพลา ของเจ้าลิจฉวีหนุ่มๆ เจ้าลิจ- ฉวีเหล่านั้นจึงได้ตรัสถามนางว่า แม่อัมพปาลี เหตุไฉนเธอจึงได้ทำให้งอนรถ กระทบงอนรถ แอกกระแทกแอก ล้อกระแทกล้อ เพลากระทบเพลา ของ เจ้าลิจฉวีหนุ่มๆ ของพวกเราเล่า.
อัม. จริงอย่างนั้น พ่ะยะค่ะ เพราะหม่อมฉันได้นิมนต์ภิกษุสงฆ์มี พระพุทธเจ้าเป็นประมุข เพื่อเจริญบุญกุศลและปีติปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้.
ลจ. แม่อัมพปาลี เธอจงให้ภัตตาหารมื้อนี้แก่พวกฉัน ด้วยราคาแสน กษาปณ์เถิด.
อัม. แม้ว่าฝ่าพระบาท จะพึงประทาน พระนครเวสาลีพร้อมทั้ง ชนบทแก่หม่อมฉันๆ ก็ถวายภัตตาหารมื้อนั้นไม่ได้ พ่ะยะค่ะ.
เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น จึงได้ทรงดีดพระองคุลีตรัสว่า ท่านทั้งหลาย พวก เราแพ้แม่อัมพปาลีแล้ว ท่านทั้งหลาย พวกเราแพ้แม่อัมพปาลีแล้ว จึงพากัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ได้ทอดพระเนตรเห็นเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นกำลัง เสด็จมาแต่ไกลครั้นแล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ เหล่าใดไม่เคยเห็นเทพเจ้าชั้นดาวดึงส์ ก็จงแลดูพวกเจ้าลิจฉวี พิจารณาดู เทียบเตียงดู พวกเจ้าลิจฉวีกับพวกเทพเจ้าชั้นคาวดึงส์เถิด เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น จึงได้เสด็จไป ด้วยยวดยาน ตลอดพื้นที่ที่ยวดยานจะไปได้ แล้วเสด็จลงจาก ยวดยานทรงดำเนินด้วยพระบาท เข้าไปถึงพุทธสำนัก ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ประทับนั่งอยู่ ณ ทีควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงชี้แจงให้เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น ทรงเห็นแจ้งสมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วย ธรรมีกถา เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว จึงได้กราบทูลอาราธนาพระ-
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 123
ผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอพระองค์พรอันด้วยภิกษุสงฆ์ทรงพระกรุณาโปรดรับภัตตาหารของพวกข้าพระพุทธเจ้า เพื่อเจริญบุญกุศล และปีติปราโมทย์ ในวัน พรุ่งนี้ด้วยเถิดพระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนลิจฉวีทั้งหลาย อาตมารับนิมนต์ ฉันภัตตาหารของนางอัมพปาลีคณิกา เพื่อเจริญบุญกุศล และปีติปราโมทย์ ในวันพรุ่งนี้แล้ว.
เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นทรงดีดองคุลีแล้วตรัสในทันใดนั้นว่า ท่านทั้งหลาย พวกเราแพ้นางอัมพปาลีคณิกาแล้ว ท่านทั้งหลาย พวกเราแพ้นางอัมพปาลีคณิกาแล้ว และได้ทรงเพลิดเพลินยินดีตามภาษิตของพระผู้มีพระๆ ภาคเจ้า เสด็จลุกจากที่ประทับถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำประทักษิณ แล้ว เสด็จกลับ.
นางอัมพปาลี ถวายอัมพปาลีวัน
ครั้นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ตำบลบ้านโกฏิตาม พระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จพระพุทธดำเนินไปทางเมืองนาทิกา ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ที่พระตำหนักตึก เขตเมืองนาทิกานั้น.
ส่วนนางอัมพปาลีคณิกา สั่งให้ตกแต่งของเคี้ยวของฉันอันประณีต ใน สวนของตนโดยผ่านราตรีนั้น แล้วให้คนไปกราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระ ภาคเจ้าว่าถึงเวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารเสร็จแล้ว.
ขณะนั้นเป็นเวลาเข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวรเสด็จพระพุทธดำเนินไปสู่สถานที่อังคาสของนางอัมพปาลีคณิกา ครั้งถึงแล้วประทับนั่งเหนือพระพุทธอาสน์ที่เขาจัดถวาย พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ นางอัมพปาลีคณิกา จึงอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยขาทนีย โภชนียาหารอันประณีตด้วยมือของตน ยังพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เสวยเสร็จ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 124
แล้ว จนทรงนำพระหัตถ์ออกจากบาตร ให้ห้ามภัตรแล้ว ได้นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง นางได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า หม่อมฉันขอถวาย สวนอัมพปาลีวันนี้ แก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประนุข พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับเป็นสังฆารามแล้ว ครั้น แล้วพระองค์ทรงชี้แจงให้ นางอัมพปาลีเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา เสด็จลุกจาก พระพุทธอาสน์แล้ว เสด็จพระพุทธดำเนินไป ทางป่ามหาวัน ทราบว่า พระองค์ ประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวันเขตพระนครเวสาลีนั้น.
เรื่องเจ้าลิจฉวีชาวพระนครเวสาลี จบ
ลิจฉวีภาณวาร จบ
เรื่องสีหะเสนาบดี
ทรงดำริเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
[๗๘] ก็โดยสมัยนั่นแล เจ้าลิจฉวีบรรดาที่มีชื่อเสียง มีคนรู้จัก นั่ง ประชุมพร้อมกัน ณ ท้องพระโรงต่างพากันตรัสสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรม คุณ พระสังฆคุณ โดยอเนกปริยาย และเวลานั้น สีหะเสนาบดีสาวกของนิครนถ์ นั่งอยู่ในที่ประชุมนั้นด้วย จึงคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นจักเป็น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยไม่ต้องสงสัยเลย คงเป็นความจริง เจ้าลิจฉวี บรรดาที่มีชื่อเสียง มีคนรู้จักเหล่านี้จึงได้นั่งประชุมพร้อมกัน ณ ท้องพระโรง ต่างพากันตรัสสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณโดยอเนก ปริยาย ถ้ากระไรเราพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 125
พระองค์นั้น แล้วจึงได้เข้าไปหานิครนถ์นาฏบุตรถึงสำนัก ครั้นแล้วไหว้นิครนถ์ นาฏบุตร นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งและได้แจ้งความประสงค์นี้ แก่นิครนถ์ นาฏบุตรว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าอยากจะไปเฝ้าพระสมณโคดม.
อกิริยวาทกถา
นิครนถ์นาฏบุตรพูดค้านว่า ท่านสีหะ ก็ท่านเป็นคนกล่าวการทำ ไฉน จึงจักไปเฝ้าพระสมณโคดมผู้เป็นคนกล่าวการไม่ทำเล่า เพราะพระสมณโคดม เป็นผู้กล่าวการไม่ทำ ทรงแสดงธรรมเพื่อการไม่ทำ และทรงแนะนำสาวกตาน แนวนั้น.
ขณะนั้น ความตระเตรียมในอันจะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าของสีหะ เสนาบดีได้เลิกล้มไป.
แม้ครั้งที่ ๒.
แม้ครั้งที่ ๓ เจ้าลิจฉวีบรรดาที่มีชื่อเสียง มีคนรู้จักได้นั่งประชุม พร้อมกัน ณ ท้องพระโรง ต่างพากันตรัสสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ โดยอเนกปริยาย ท่านสีหะเสนาบดีก็ได้คิดเป็นครั้งที่ ๓ ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น จักเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยไม่ ต้องสงสัยเลยคงเป็นความจริง เจ้าลิจฉวีบรรดาที่มีชื่อเสียง มีคนรู้จักเหล่านี้ จึงได้มานั่งประชุมพร้อมกัน ณ ท้องพระโรง ต่างพากันตรัสสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ โดยอเนกปริยาย ก็พวกนิครนถ์ เราจะ บอกหรือไม่บอกจักทำอะไรแก่เรา ผิฉะนั้น เราจะไม่บอกพวกนิครนถ์ ไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นเลยทีเดียว จึงเวลาบ่าย สีหะเสนาบดีออกจากพระนครเวสาลีพร้อมด้วยรถ ๕๐๐ คัน ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ไปด้วยยวดยานตลอดพื้นที่ที่ยวดยานจะผ่านไปได้ แล้วลงจาก
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 126
ยวดยานเดินเข้าไปถึงพุทธสำนัก ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง สีหะเสนาบดีนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบ ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า.
พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าทราบมาว่า พระสมณโคดมกล่าวการ ไม่ทำ ทรงแสดงธรรมเพื่อการไม่ทำ และทรงแนะนำสาวกตามแนวนั้น บุคคล จำพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมกล่าวการไม่ทำ ทรงแสดงธรรมเพื่อ การไม่ทำและทรงแนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้นั้น ได้กล่าวตามที่พระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสแล้ว ไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำอันไม่เป็นจริง กล่าว อ้างเหตุสมควรแก่เหตุ เพราะถ้อยคำที่สมควรพูดบางอย่างที่มีเหตุผล จะไม่มา ถึงฐานะที่วิญญูชนจะพึงติเตียนบ้างหรือ เพราะข้าพระพุทธเจ้าไม่ประสงค์จะ กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าเลย พระพุทธเจ้าข้า.
พระพุทธดำรัสตอบ
[๗๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า มีอยู่จริง สีหะ เหตุที่เขา กล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมกล่าวการไม่ทำ แสดงธรรมเพื่อการไม่ทำ และ แนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก.
มีอยู่จริง สีหะ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม กล่าวการ ทำแสดงธรรมเพื่อการทำ และแนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก.
มีอยู่จริง สีหะ เหตุที่เรากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมกล่าวความ ชาดสูญ แสดงธรรมเพื่อความขาดสูญ และแนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก.
มีอยู่จริง สีหะ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมช่างรังเกียจ แสดงธรรมเพื่อความรังเกียจ และแนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 127
มีจริงอยู่ สีหะ เหตุที่เขตกล่าวหาเราว่า พระสมณโคเมช่างกำจัด แสดงธรรมเพื่อความกำจัด และแนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก.
มีจริงอยู่ สีหะ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคตมช่างเผาผลาญ แสดงธรรมเพื่อความเผาผลาญ และแนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้ ชื่อว่า กล่าวถูก. มีจริงอยู่ สีหะ เหตุที่เขากล่าหาเราว่า พระสมณโคดมไม่ผุดเกิด แสดงธรรมเพื่อความไม่ผุดเกิด และแนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้ ชื่อว่า กล่าวถูก.
มีอยู่จริง สีหะ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม กล่าวเป็น ผู้เบาใจ แสดงธรรมเพื่อความเบาใจ และแนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก.
ดูก่อนสีหะ ก็เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมกล่าวการไม่ทำ แสดงธรรมเพื่อการไม่ทำ และแนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก นั้นเป็นอย่างไร ดูก่อนสีหะ เพราะเรากล่าวการไม่ทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เรากล่าวการไม่ทำสิ่งที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แล เหตุที่เขา กล่าวหาเราว่าพระสมณโคดมกล่าวการไม่ทำ แสดงธรรมเพื่อการไม่ทำ และ แนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก.
ดูก่อนสีหะ อนึ่ง เหตุที่กล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมกล่าวการทำ แสดงธรรมเพื่อการทำ และแนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูกนั้น เป็นอย่างไร ดูก่อนสีหะ เพราะเรากล่าวการทำกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต เรากล่าวการทำสิ่งที่เป็นกุศลหลายอย่าง นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระ สมณโคดมกล่าวการทำ แสดงธรรมเพื่อการทำ และแนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้ชื่อว่ากล่าวถูก.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 128
ดูก่อนสีหะ อนึ่ง เหตุที่กล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมกล่าวความขาด สูญ แสดพรธรรมเพื่อความขาดสูญ และแนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้ ชื่อว่า กล่าวถูกนั้น เป็นอย่างไร ดูก่อนสีหะ เพราะเรากล่าวความขาดสูญแห่งราคะ โทสะ โมหะ เรากล่าวความขาดสูญแห่งสถานะที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมกล่าวความขาดสูญ แสดพรธรรมเพื่อ ความขาดสูญ และแนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก.
ดูก่อนสีหะ อนึ่ง เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมช่างรังเกียจ แสดงธรรมเพื่อความรังเกียจ และแนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้ ชื่อว่ากล่าว ถูกนั้น เป็นอย่างไร ดูก่อนสีหะ เพราะเรารังเกียจกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เรารังเกียจความถึงพร้อมแก่สถานะที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้ แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมช่างรังเกียจ แสดงธรรมเพื่อความ รังเกียจ และแนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก.
ดูก่อนสีหะ อนึ่ง เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมช่างกำจัด แสดงธรรมเพื่อความกำจัด และแนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้ ชื่อว่ากล่าว ถูกนั้น เป็นอย่างไร ดูก่อนสีหะ เพราะเราแสดงธรรมเพื่อกำจัด ราคะ โทสะ โมหะ แสดงธรรมเพื่อกำจัด สถานะที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แล เหตุที่ เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมช่างกำจัด แสดงธรรมเพื่อความกำจัดและ แนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก.
ดูก่อนสีหะ อนึ่ง เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมช่างเผาผลาญ แสดงธรรมเพื่อความเผาผลาญ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูกนั้น เป็นอย่างไร ดูก่อนสีหะ เพราะเรากล่าวธรรมที่เป็นบาปอกุศล คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ว่าเป็นธรรมควรเผาผลาญ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลซึ่งควรเผาผลาญ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 129
อันผู้ใดละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้ มีในภายหลัง มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เรากล่าวผู้นั้นว่า เป็นคน ช่างเผาผลาญ ตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มีในภายหลัง มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา นี้แล เหตุที่เขากล่าว หาเราว่า พระสมณโคดมช่างเผาผลาญ แสดงธรรมเพื่อความเผาผลาญ และ แนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก.
ดูก่อนสีหะ อนึ่ง เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมไม่ผุดเกิด แสดงธรรมเพื่อความไม่ผุดเกิด และแนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้ ชื่อว่า กล่าวถูกนั้น เป็นอย่างไร ดูก่อนสีหะ เพราะการนอนในครรภ์ต่อไป การ เกิดในภพใหม่ อันผู้ใดละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอด ด้วน ทำไม่ให้มีในภายหลัง มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เรากล่าวผู้นั้น ว่า เป็นคนไม่ผุดเกิด ดูก่อนสีหะ การนอนในครรภ์ต่อไป การเกิดในภพ ใหม่ ตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำ ไม่ให้มีในภายหลัง มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา นี้แล เหตุที่เขากล่าว หาเราว่า พระสมณโคดมไม่ผุดเกิด แสดงธรรมเพื่อความไม่ผุดเกิด และ แนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก.
ดูก่อนสีหะ อนึ่ง เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นผู้เบา ใจ แสดงธรรมเพื่อความเบาใจ และแนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้ ชื่อว่า กล่าวถูกนั้น เป็นอย่างไร ดูก่อนสีหะ เพราะเราเบาใจ ด้วยธรรมที่ให้เกิด ความโล่งใจอย่างสูงและเพื่อความเบาใจ และแนะนำสาวกตามแนวนอน นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นผู้เบาใจ แสดงธรรมเพื่อความเบาใจ และแนะนำสาวกตามแนวนั้น ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 130
แสดงตนเป็นอุบาสก
[๘๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านสีหะเสนาบดี ได้ กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ภาษิต ของพระองค์ไพเราะนัก พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนก ปริยายอย่างนี้ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทาง. แก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยทั้งใจว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ข้าพระพุทธเจ้านี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็น สรณะ ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระพุทธเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้มอบชีวิตถึง สรณะ จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.
ภ. ดูก่อนสีหะ เธอจงทำการที่ใคร่ครวญเสียก่อนแล้วทำ เพราะการ ใคร่ครวญเสียก่อนแล้วทำ เป็นความดีสำหรับคนมีชื่อเสียงเช่นเธอ
สี พระพุทธเจ้าข้า โดยพระพุทธดำรัสแม้นี้ ข้าพระพุทธเจ้ายินดี พอใจยีงกว่าคาดหมายไว้ เพราะพระองค์ตรัสอย่างนี้กะข้าพระพุทธเจ้าว่า ดูก่อน สีหะ เธอจงทำการที่ใคร่ครวญเสียก่อนแล้วทำ เพราะการใคร่ครวญเสียก่อน แล้วทำ เป็นความดีสำหรับคนมีชื่อเสียงเช่นเธอ ความจริง พวกอัญญเดียรถีย์ ได้ข้าพระพุทธเจ้าเป็นสาวก พึงยกธงเที่ยวประกาศทั่วพระนครเวสาลีว่า สีหะ เสนาบดีเข้าถึงความเป็นสาวกของพวกเราแล้ว แต่ส่วนพระองค์สิ มาตรัสอย่างนี้ กะข้าพระพุทธเจ้าว่า ดูก่อนสีหะ เธอจงทำการที่ใคร่ครวญเสียก่อนแล้วทำ เพราะการใคร่ครวญเสียก่อนแล้วทำ เป็นความดีสำหรับคนมีชื่อเสียงเช่นเธอ ข้าพระพุทธเจ้านี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็น สรณะ แม้ครั้งที่ ๒ ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระพุทธเจ้าว่า เป็นอุบาสก ผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเติมแต่วันนี้เป็นต้นไป พระพุทธเจ้าข้า
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 131
ภ. นานนักแล สีหะ ตระกูลของเธอได้เป็นสถานที่รับรองพวก นิครนถ์มา ด้วยเหตุนั้น เธอพึงสำคัญเห็นบิณฑบาตว่าเป็นของควรให้นิครนถ์ เหล่านั้นผู้เข้าไปถึงแล้ว.
สี. โดยพระพุทธดำรัสแม้นี้ ข้าพระพุทธเจ้ายินดี พอใจยิ่งกว่า คาดหมายไว้ เพราะพระองค์ตรัสอย่างนี้กะข้าพระพุทธเจ้าว่า นานนักแล สีหะ ตระกูลของเธอได้เป็นสถานที่รับรองพวกนิครนถ์มา ด้วยเหตุนั้น เธอพึงสำคัญ บิณฑบาตว่าเป็นของควรให้นิครนถ์เหล่านั้นผู้เข้าไปถึงแล้ว ดังนี้ ข้าพระพุทธเจ้าได้ทราบว่า พระสมณโคดมรับสั่งอย่างนี้ว่า ควรให้ทานแก่เราผู้เดียว ไม่ควรให้ทานแก่คนพวกอื่น ควรให้ทานแก่สาวกของเราเท่านั้น ไม่ควรให้ ทานแก่สาวกของศาสดาอื่น เพราะทานที่ให้แก่เราเท่านั้น มีผลมาก ทานที่ ให้แก่คนพวกอื่นไม่มีผลมาก ทานที่ให้แก่สาวกของเราเท่านั้น มีผลมาก ทาน ที่ให้แก่สาวกของศาสดาอื่นไม่มีผลมาก แต่ส่วนพระองค์ทรงชักชวนข้าพระพุทธเจ้า ในการให้แม้ในพวกนิครนถ์ แต่ข้าพระพุทธเจ้าจักรู้กาลในข้อนี้เอง ข้าพระพุทธเจ้านี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็น สรณะ แม้ครั้งที่ ๓ ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระพุทธเจ้าว่า เป็นอุบาสก ผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเติมแต่วันนี้เป็นต้นไป พระพุทธเจ้าข้า.
สีหะเสนาบดี ได้ธรรมจักษุ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่สีหะเสนาบดี คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา ซึ่งโทษแห่งกามอันต่ำทราม อันเศร้าหมอง และอานิสงส์ในความออกจากกาม เมื่อพระองค์ทรงทราบว่า สีหะเสนาบดีมีจิตคล่อง มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิต
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 132
ผ่องใสแล้ว จึงได้ทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรง ยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดวงตาเห็น ธรรมปราศจากธุลี ปราศจากมลทินได้เกิดแก่สีหะเสนาบดี ณ สถานที่นั่ง นั้นแลว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความ ดับเป็นธรรมดา ดุจผ้าที่สะอาดปราศจากมลทินควรรับน้ำย้อมเป็นอย่างดี ฉะนั้น.
ครั้นสีหะเสนาบดีเห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้ธรรมแจ่มแจ้ง แล้ว หยั่งลงสู่ธรรมแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความ สงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น ในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมกับภิกษุ สงฆ์ จงทรงพระกรุณาโปรดรับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้า เพื่อเจริญบุญ กุศลและปีติปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรับอาราธนาโดยดุษณีภาพ ครั้นสีหะเสนาบดีทราบอาการที่ทรงรับอาราธนา ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้ลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำ ประทักษิณกลับไป ต่อมาสีหะเสนาบดีใช้มหาดเล็กผู้หนึ่งว่า พนาย เจ้าจงไป หาซื้อเนื้อสดที่เขาขาย แล้วสั่งให้ตกแต่งขาทนียโภชนียาหาร อันประณีตโดย ผ่านราตรีนั้นแล้ว ให้มหาดเล็กไปกราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ถึงเวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารเสร็จแล้ว.
ครั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรสาวก ถือบาตราจีวร เสด็จพระพุทธดำเนินไปทางนิเวศน์ของสีหะเสนาบดี ครั้นถึงแล้วประทับนั่ง เหนือพุทธอาสน์ที่เขาจัดถวาย พร้อมกับ ภิกษุสงฆ์.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 133
ก็โดยสมัยนั้นแล พวกนิครนถ์เป็นอันมาก พากันประคองแขน คร่ำครวญไปตามถนน หนทางสี่แยก สามแยกทั่วทุกสายในพระนครเวสาลีว่า วันนี้ สีหะเสนาบดีล้มสัตว์ของเลี้ยงตัวอ้วนๆ ทำอาหารถวายพระสมณโคตม พระสมณโคดมทรงทราบอยู่ยังเสวยเนื้อนั้นซึ่งเขาทำเฉพาะเจาะจงตน ขณะนั้น มหาดเล็กผู้หนึ่งเข้าไปเฝ้าสีหะเสนาบดีทูลกระซิบว่า ขอเดชะ ฝ่าพระบาทพึง ทราบว่านิครนถ์มากมายเหล่านั้น พากันประคองแขนคร่ำครวญไปตามถนน หนทางสี่แยกสามแยก ทั่วทุกสายในพระนครเวสาลีว่า วันนี้สีหะเสนาบดี ล้ม สัตว์ของเลี้ยงตัวอ้วนๆ ทำอาหารถวายพระสนณโคดม พระสมณโคดมทรง ทราบอยู่ ยังเสวยเนื้อนั้นซึ่งเขาทำเฉพาะเจาะจงตน.
สีหะเสนาบดีตอบว่า ช่างเถิดเจ้า ท่านเหล่านั้นมุ่งติเตียนพระพุทธเจ้า มุ่งติเตียนพระธรรม มุ่งติเตียนพระสงฆ์มานานแล้ว แต่ก็กล่าวตู่พระผู้มีพระ ภาคเจ้าพระองค์นั้นด้วยถ้อยคำอันไม่มี เปล่า เท็จ ไม่จริง ยังไม่หนำใจ ส่วนพวกเราไม่ตั้งใจปลงสัตว์จากชีวิต แม้เพราะเหตุแห่งชีวิตเลย.
ครั้งนั้น สีหะเสนาบดีอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วย ขาทนียโภชนียาหารอัน ประณีตด้วยมือของตน ยังพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เสวย เสร็จ จนทรงนำพระหัตถ์ออกจากบาตรให้ห้ามภัตแล้ว นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้สีหะเสนาบดีผู้นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่งเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ทรง ลุกจากที่ประทับเสด็จกลับไป.
เรื่องสีหะเสนาบดี จบ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 134
หระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อที่ทำเฉพาะ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูล นั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่ไม่พึงฉันเนื้อที่เขาทำจำเพาะ รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฎ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ปลา เนื้อ ที่บริสุทธิ์โดยส่วนสาม คือไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้รังเกียจ.
พระพุทธบัญญัติห้ามภัตตาหารบางชนิด
[๘๑] ก็โดยสมัยนั้นแล พระนครเวสาลีมีภิกษาหารมาก มีข้าวกล้า งอกงาม บิณฑบาตก็หาง่าย ภิกษุสงฆ์จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการถือบาตร แสวงหาก็ทำได้ง่าย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ทรงพระปริวิตกอย่างนี้ว่า ภัตตาหารที่เราอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคราว อัตคัดอาหารมีข้าวกล้าน้อย บิณฑบาตได้ฝืดเคือง คืออาหารที่เก็บไว้ภายในที่ อยู่ ๑ อาหารที่หุงต้มภายในที่อยู่ ๑ อาหารที่หุงต้มเอง ๑ อาหารที่จับต้องแล้วรับ ประเคนใหม่ ๑ อาหารที่ทายกนำมาจากที่นิมนต์นั้น ๑ อาหารที่รับประเคนฉัน ในปุเรภัต ๑ อาหารที่เกิดในป่าและเกิดในสระบัว ๑ ภัตตาหารเหล่านั้น ภิกษุ ทั้งหลายยังฉันอยู่ทุกวันนี้หรือหนอ?
ครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่ประทับพักเร้น แล้ว รับสั่งถามพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ ภัตตาหารที่เราอนุญาตแก่ภิกษุทั้ง หลาย เมื่อคราวอัตคัดอาหาร มีขาวกล้าน้อย บิณฑบาตได้ฝืดเคือง คืออาหาร ทีเก็บไว้ภายในที่อยู่ ๑ อาหารที่หุงต้มภายในที่อยู่ ๑ อาหารที่หุงต้มเอง ๑ อาหาร ที่จับต้องแล้วรับประเคนใหม่ ๑ อาหารที่ทายกนำมาจากที่นิมนต์นั้น ๑ อาหาร
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 135
ที่รับประเคนฉันในปุเรภัต ๑ อาหรที่เกิดในป่าและเกิดในสระบัว ๑ ภัตตาหาร เหล่านั้น ภิกษุทั้งหลายยังฉันอยู่ทุกวันนี้หรือ?
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ยังฉัน อยู่พระพุทธเจ้าข้า.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลายภัตตาหารที่เราอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายเมื่อคราวอัตคัดอาหาร มีข้าว กล้าน้อยบิณฑบาตได้ฝืดเคือง คืออาการที่เก็บไว้ภายในที่อยู่ ๑ อาหารที่หุงต้ม ภายในที่อยู่ ๑ อาหารที่หุงต้มเอง ๑ อาหารที่จับต้องแล้วรับประเคนใหม่ ๑ อาหารที่ทายกนำมาจากที่นิมนต์นั้น ๑ อาหารที่รับประเคนฉันในปุเรภัต ๑ อาหารที่เกิดในป่าและเกิดในสระบัว ๑ ภัตตาหารเหล่านั้น เราห้ามจำเดิมแต่ วันนี้เป็นต้นไป.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันอาหารที่เก็บไว้ภายในที่อยู่ อาหาร ที่หุงต้มภายในที่อยู่ อาหารที่หุงต้มเอง อาหารที่จับต้องแล้วรับประเคนใหม่ รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนอาหารที่ทายกนำมาจากที่นิมนต์นั้น อาหาร ที่รับประเคนฉันในปุเรภัต อาหารที่เกิดในป่าและเกิดในสระบัว ยังไม่เป็น เคน ภิกษุฉันเสร็จ ห้ามภัตแล้ว ไม่พึงฉัน รูปใดฉัน พึงปรับอาบัติตาม ธรรม.
พระพุทธานุญาตกัปปิยภูมิ
[๘๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ประชาชนชาวชนบทบรรทุกเกลือบ้าง น้ำมัน บ้าง ข้าวสารบ้าง ของขบฉันบ้าง ไว้ในเกวียนเป็นอันมาก แล้วตั้งวงล้อม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 136
เกวียนอยู่นอกซุ้มประตูพระอารามคอยท่าว่าเมื่อใด เราทั้งหลายได้ลำดับที่จะ ถวาย เมื่อนั้นเราจักทำภัตตาหารถวาย ฝนตั้งเค้ามาจะตกใหญ่ จึงคนเหล่านั้น พากันเข้าไปหาท่านพระอานนท์กราบเรียนว่า ท่านพระอานนท์เจ้าข้า เกลือ น้ำมัน ข้าวสาร และของขบฉันเป็นอันมาก พวกข้าพเจ้าบรรทุกไว้ในเกวียน ตั้งอยู่ที่หน้าวัดนี้ และฝนตั้งเค้ามาจะตกใหญ่ ท่านพระอานนท์เจ้าข้า พวก ข้าพเจ้าจะพึงปฏิบัติอย่างไร จึงท่านพระอานนท์กราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มี พระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงสมมติวิหารที่ตั้งอยู่ สุดเขตวัด ให้เป็นสถานที่เก็บของกัปปิยะแล้วให้เก็บไว้ในสถานที่ที่สงฆ์จำนง หมาย คือวิหาร เรือนมุงแถบเดียว เรือนชั้น เรือนโล้น หรือถ้าก็ได้.
วิธีสมมติกัปปิยภูมิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสมมติอย่างนี้.
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาสมมติกัปปิยภูมิ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติวิหารมีชื่อนี้ ให้เป็นกัปปิยภูมิ นี้เป็น ญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติวิหารมีชื่อนี้ ให้เป็นกัปปิยภูมิ การสมมติวิหารมีชื่อนี้ให้เป็นกัปปิยภูมิ ชอบแก่ ท่านผู้ใด ท่านผู่นั้น พึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง พูด.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 137
วิหารมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติให้เป็นกัปปิยภูมิแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้น จงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
สมัยต่อมา ชาวบ้านต้มข้าวต้ม หุงข้าวสวย ต้มแกง สับเนื้อ ผ่า ฟืน ส่งเสียงเซ็งแซ่เกรียวกราว ณ สถานที่กัปปิยภูมิ ที่สงฆ์สมมติไว้นั้นแล.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตื่นบรรทมในเวลาปัจจุสมัยแห่งราตรีได้ ทรงสดับเสียงเซ็งแซ่เกรียวกราว และเสียงการ้องก้อง ครั้นแล้วรับสั่งถามท่าน พระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ เสียงเซ็งแช่เกรียวกราว และเสียงการ้องก้องนั้น อะไรกันหนอ.
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ชาวบ้านมาต้ม ข้าวต้ม หุงข้าวสวย ต้มแกง สับเนื้อ ผ่าฟืน ณ สถานที่กัปปิยภูมิ ซึ่งสงฆ์สมมติ ไว้นั้นแล เสียงเซ็งแซ่เกรียวกราว และเสียงการ้องนั่นคือเสียงนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พระพุทธานุญาตกัปปิภูมิ ๓ ชนิด
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมมีกถา ในเพราะเหตุเป็น ข้าวต้ม ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้สถานที่กัปปิยภูมิซึ่งสงฆ์สมมติ รูปใดใช้ ต้องอาบัติ ทุกกฏ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสถานที่กัปปิยภูมิ ๓ ชนิด คือ อุสสาวนันติกา ๑ โคนิสาทิกา ๑ คหปติกา ๑.
พระพุทธานุญาติกัปปิยภูมิ ๔ ชนิด
สมัยต่อมา ท่านพระยโสชะอาพาธ ชาวบ้านนำเภสัชมาถวายท่าน ภิกษุทั้งหลายให้เก็บเภสัชเหล่านั้นไว้ข้างนอก สัตว์กินเสียบ้าง ขโมยลักไป
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 138
เสียบ้าง ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัส อนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้สถานที่ กัปปิยภูมิที่สงฆ์สมมติ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสถานที่กัปปิยภูมิ ๔ ชนิดคือ อุสสาวนันติกา ๑ โคนิสาทิกา ๑ คหปติกา ๑ สมมติกา ๑.
เรื่องเมณฑกะคหบดี
[๘๓] ก็โดยสมัยนั้นแล เมณฑกะคหบดีตั้งบ้านเรือนอยู่ในพระนคร ภัททิยะ ท่านมีอิทธานุภาพเห็นปานฉะนี้ คือ ท่านสระเกล้า แล้วให้กวาดฉาง ข้าวนุ่งอยู่นอกประตู ท่อธารข้าวเปลือกตกจากอากาศเต็มฉาง ภริยามีอิทธานุ- ภาพเห็นปานฉะนี้ คือ นางนั่งใกล้กระถางข้าวสุกขนาดจุน้ำหนึ่งอาฬหกใบเดียว เท่านั้น และหม้อแกงหม้อหนึ่ง เลี้ยงอาหารแก่บุรุษที่เป็นทาสและกรรมกร อาหารนั้นไม่หมดสิ้นตลอดเวลาที่นางยังไม่ลุกไปจากที่ บุตรมีอิทธานุภาพเห็น ปานฉะนี้ คือ เขาถือถุงจุเงินพันหนึ่ง ถุงเดียวเท่านั้น แล้วแจกเบี้ยหวัดกลางปี แก่บุรุษที่เป็นทาสและกรรมกร เงินนั้นไม่หมดสิ้น ตลอดเวลาที่ถุงเงินยังอยู่ ในมือของเขา สะใภ้มีอิทธานุภาพเห็นปานฉะนี้ คือ นางนั่งใกล้กระเฌอจุข้าว ๔ ทะนานใบเดียวเท่านั้น แล้วแจกข้าวกลางปีแก่บุรุษที่เป็นทาสและกรรมกร ข้าวนั้นมิได้หมดสิ้นตลอดเวลาที่นางยังไม่ลุกไปจากที่ ทาสมีอิทธานุภาพเห็น ปานฉะนี้ คือเมือเขาไถนาด้วยไถคันเดียว มีรอยไถถึง ๗ รอย.
พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชได้ทรงสดับข่าวว่า เมณฑกะคหบดี ตั้งบ้านเรือนอยู่ในพระนครภัททิยะแคว้นของพระองค์ เธอมีอิทธานุภาพเห็น ปานฉะนี้ คือ เธอสระเกล้าแล้วให้กวาดฉางข้าว นั่งอยู่นอกประตู ท่อธาร
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 139
ข้าวเปลือกตกจากอากาศเต็มฉาง ภริยามีอิทธานุภาพเห็นปานฉะนี้ คือ นางนั่ง ไกล้กระถางข้าวสุกขนาดจุน้ำหนึ่งอาฬหกใบเดียวเท่านั้น และหม้อแกงหม้อ หนึ่ง เลี้ยงอาหารแก่บุรุษที่เป็นทาสและกรรมกร อาหารนั้นไม่หมดสิ้นตลอด เวลาที่นางยังไม่ลุกไปจากที่ บุตรมีอิทธานุภาพเห็นปานะนี้ คือ เขาถือถุงจุเงิน พันเหนึ่งถุงเดียวเท่านั้นแล้วแจกเบี้ยหวัดกลางปีแก่บุรุษที่เป็นทาสและกรรมกร เงินนั้นไม่หมดสิ้น ตลอดเวลาที่ถุงเงินยังอยู่ในมือของเขา สะใภ้มีอิทธานุ- ภาพเห็นปานฉะนี้ คือ นางนั่งใกล้กระเฌอจุข้าว ๔ ทะนานใบเดียวเท่านั้น แล้ว แจกข้าวกลางปีแก่บุรุษที่เป็นทาสและกรรมกร ข้าวนั้นมิได้หมดสิ้นตลอดเวลา ที่นางยังไม่ลุกไปจากที่ ทาสมีอิทธานุภาพเห็นปานฉะนี้ คือ เมื่อเขาไถนาด้วย ไถคันเดียว มีรอยไถถึง ๗ รอย.
ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ได้ตรัสเรียกมหาอำมาตย์ผู้สำเร็จราชการมารับสั่งว่า ข่าวว่าเมณฑกะคหบดีตั้งบ้านเรือนอยู่ใน พระนครภัททิยะแคว้นของเรา เธอมีอิทธานุภาพเห็นปานฉะนี้ คือ เธอสระ เกล้าแล้วให้กวาดฉางข้าวนั่งอยู่นอกประตู ต่อธารข้าวเปลือกตกจากอากาศเต็ม ฉาง ภริยามีอิทธานุภาพเห็นปานฉะนี้ คือ นางนั่งใกล้กระถางข้าวสุกขนาดจุ น้ำหนึ่งอาฬหกใบเดียวเท่านั้น และหม้อแกงใบหนึ่ง เลี้ยงอาหารแก่บุรุษที่ เป็นทาสและกรรมกร อาหารนั้นไม่หมดสิ้นตลอดเวลาที่นางยังไม่ลุกไปจากที่ บุตรมีอิทธานุภาพเห็นปานฉะนี้ คือ เขาถือถุงจุเงินพันหนึ่งถุงเดียวเท่านั้น แล้ว แจกเบี้ยหวัดกลางปีแก่บุรุษที่เป็นทาสและกรรมกรเงินนั้นไม่หมดสิ้นตลอดเวลา ที่ถุงเงินยังอยู่ในมือของเขา สะใภ้มีอิทธานุภาพเห็นปานฉะนี้ คือ นางนั่งใกล้ กระเฌอจุข้าว ๔ ทะนานใบเดียวเท่านั้น แล้วแจกข้าวกลางปีแก่บุรุษที่เป็น ทาสและกรรมกร ข้าวนั้นมิได้หมดสิ้นตลอดเวลาที่นางยังไม่ลูกไปจากที่ ทาส
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 140
มีอิทธานุภาพเห็นปานฉะนี้ คือ เมื่อเขาไถนาด้วยไถคันเดียว มีรอยไถถึง ๗ รอย พนาย เธอจงไปดูให้รู้เห็นเหมือนอย่างเราได้เห็นด้วยตนเอง.
ท่านมหาอำมาตย์รับพระบรมราชโองการของพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชว่า เป็นดังพระราชประสงค์ พระพุทธเจ้าข้า แล้วพร้อมด้วย เสนา ๔ เหล่า เดินทางไปยังภัททิยนคร บทจรไปโดยลำดับจนถึงเมืองภัททิยะ เข้าไปหาเมณฑกะคหบดี ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะเมณฑกะคหบดีว่า ท่าน คหบดี ความจริงข้าพเจ้ามาโดยมีพระบรมราชโองการว่า พนาย ข่าวว่าเมณฑกะ คหบดีตั้งบ้านเรือนอยู่ในพระนครภัททิยะแคว้นของเรา ครอบครัวของเธอมี อิทธานุภาพเห็นปานฉะนี้ คือ เธอสระเกล้าแล้วให้กวาดฉางข้าว นั่งอยู่นอก ประตู ท่อธารข้าวเปลือกตกจากอากาศเต็มฉาง ภริยามีอิทธานุภาพเห็นปาน ฉะนี้ คือ นางนั่งใกล้กระถางข้าวสุกขนาดจุน้ำหนึ่งอาฬหกใบเดียวเท่านั้น และ หม้อแกงหม้อหนึ่ง เลี้ยงอาหารแก่บุรุษที่เป็นทาสและกรรมกร อาหารนั้นไม่ หมดสิ้นตลอดเวลาที่นางยังไม่ลุกไปจากที่ บุตรมีอิทธานุภาพเห็นปานฉะนี้ คือ เขาถือถุงจุเงินพันหนึ่งถุงเดียวเท่านั้น แล้วแจกเบี้ยหวัดกลางปีแก่บุรุษที่เป็น ทาสและกรรมกร เงินนั้นไม่หมดสิ้นตลอดเวลาที่ถึงเงินยังอยู่ในมือของเขา สะใภ้มีอิทธานุภาพเห็นปานฉะนี้ คือ นางนั่งใกล้กระเฌอจุข้าว ๘ ทะนานใบ เดียวเท่านั้น และแจกข้าวกลางปีแก่บุรุษที่เป็นทาสและกรรมกร ข้าวนั้นมิได้ หมดสิ้นตลอดเวลาที่นางยังไม่ลุกไปจากที่ ทาสมีอิทธานุภาพเห็นปานฉะนี้ คือ เมื่อเขาไถนาด้วยไถคันเดียว มีรอยไถถึง ๗ รอย พนาย เธอจงไปดูให้รู้เห็น เหมือนอย่างเรา ได้เห็นด้วยตนเอง ท่านคหบดี ข้าพเจ้าขอชมอิทธานุภาพ ของท่าน.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 141
เมณฑกะคหบดีจึงสระเกล้าแล้ว ให้กวาดฉางข้าว นั่งอยู่นอกประตู ท่อธารข้าวเปลือกตกลงมาจากอากาศเต็มฉาง.
มหาอำมาตย์สรรเสริญว่า ท่านคหบดี อิทธานุภาพของท่าน ข้าพเจ้า ได้เห็นแล้ว ขอชมอิทธานุภาพของภรรยาท่าน.
เมณฑกะคหบดีสั่งภรรยาในทันใดว่า ถ้าเช่นนั้น เธอจงเลี้ยงอาหาร แก่เสนา ๔ เหล่า.
ขณะนั้น ภรรยาท่านเมณฑกะคหบดีได้นั่งใกล้กระถางข้าวสุกขนาดจุ น้ำหนึ่งอาฬหกใบเดียวเท่านั้น กับหม้อแกงหม้อหนึ่ง แล้วเลี้ยงอาหารแก่เสนา ๔ เหล่า อาหารนั้นมิได้หมดสิ้นไปตลอดเวลาที่นางยังไม่ลุกไปจากที่.
มหาอำมาตย์สรรเสริญว่า ท่านคหบดี อิทธานุภาพของภรรยาท่าน ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว ขอชมอิทธานุภาพของบุตรท่าน.
เมณฑกะคหบดีจึงสั่งบุตรว่า ถ้าเช่นนั้น พ่อจงแจกเบี้ยหวัดกลางปี แก่เสนา ๔ เหล่า.
ขณะนั้น บุตรของท่านเมณฑกะคหบดีถือถุงจุเงินพันหนึ่ง ถุงเดียว เท่านั้น แล้วได้แจกเบี้ยหวัดกลางปีแก่เสนา ๔ เหล่า เงินนั้นมิได้หมดสิ้นไป ตลอดเวลาที่ถุงเงินยังอยู่ในมือของเขา.
ท่านมหาอำมาตย์สรรเสริญว่า ท่านคหบดี อิทธานุภาพของบุตรท่าน ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว ขอชมอิทธานุภาพของสะใภ้ท่าน.
เมณฑกะคหบดีสั่งสะใภ้ทันทีว่า ถ้าเช่นนั้น แม่จงแจกข้าวกลางปีแก่ เสนา ๔ เหล่า.
ขณะนั้น สะใภ้ของเมณฑกะคหบดีได้นั่งใกล้กระเฌอจุข้าว ๔ ทะนาน ใบเดียวเท่านั้น แล้วได้แจกข้าวกลางปีแก่เสนา ๔ เหล่า ข้าวนั้นมิได้หมดสิ้น ไปตลอดเวลาที่นางยังไม่ลุกไปจากที่.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 142
มหาอำมาตย์สรรเสริญว่า ท่านคหบดี อิทธานุภาพของสะใภ้ท่าน ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว ขอชมอิทธานุภาพของทาสท่าน.
เมณ. อิทธานุภาพของทาสข้าพเจ้า ท่านต้องชมที่นา ขอรับ.
ม. ไม่ต้องละท่านคหบดี แม้อิทธานุภาพของทาสท่าน ก็เป็นอัน ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว ครั้นเสร็จราชการนั้นแล้ว ท่านมหาอำมาตย์นั้นพร้อม ด้วยเสนา ๔ เหล่า ก็เดินทางกลับพระนครราชคฤห์ เข้าเฝ้าพระเจ้าพิมิมสาร จอมเสนามาคธราช กราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบทุกประการ.
[๘๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนครเวสาลีตาม พระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จจาริกทางพระนครภัททิยะ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ ใหญ่ ประมาณ ๑,๒๕๐ รูป เสด็จจาริกโดยลำดับ ได้เสด็จถึงพระนครภัททิยะ แล้ว ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ ณ ชาติยาวัน เขตพระนครภัททิยะนั้น.
พระพุทธคุณ
เมณฑกะคหบดีได้สดับข่าวถนัดแน่ว่า ท่านผู้เจริญ พระสมณะโคดม ศากยบุตร ทรงผนวชจากศากยตระกูล เสด็จโดยลำดับถึงพระนครภัททิยะ ประทับอยู่ ณ ชาติยาวัน เขตพระนครภัททิยะ ก็พระกิตติศัพท์อันงามของ ท่านพระโคดมพระองค์นั้น ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงบรรลุ วิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของทวยเทพและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็น ผู้จำแนกธรรม พระองค์ทรงทำโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง แล้วทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 143
ทั้งสมณะพราหมณ์ ทวยเทพและมนุษย์ให้รู้ ทรงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้ง พยัญชนะครบบริบูรณ์บริสุทธิ์ อนึ่ง การเห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเห็นปานนั้น เป็นความดี.
หลังจากนั้น เมณฑกะคหบดีให้จัดแจงยวดยานที่งามๆ แล้วขึ้นสู่ยวด ยานที่งามๆ มียวดยานที่งามๆ หลายคันแล่นออกจากพระนครภัททิยะไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พวกเดียรถีย์เป็นอันมาก ได้เห็นเมณฑกะคหบดีกำลังมาแต่ไกลเทียว ครั้นแล้วได้ทักถามเมณฑกะคหบดีว่า ท่านคหบดี ท่านจะไปที่ไหน?
เมณ. ข้าพเจ้าจะไปเฝ้าพระสมณโคดม เจ้าข้า.
ค. คหบดี ก็ท่านเป็นกิริยวาท จะไปเฝ้าสมณโคดมผู้เป็นอกิริยวาท ทำไม เพราะพระสมณโคดมเป็นอกิริยวาท แสดงธรรมเพื่อความไม่ทำ และ แนะนำสาวกตามแนวนั้น.
ลำดับนั้น เมณฑกะคหบดีคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น จักเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแน่แท้ไม่ต้องสงสัย เพราะฉะนั้น เดียรถีย์ พวกนี้จึงพากันริษยา แล้วไปด้วยยวดยานตลอดภูมิภาคที่ยวดยานจะไปได้ ลง จากยวดยานแล้ว เดินเข้าไปในพุทธสำนัก ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่ง อยู่ ณ ที่ควรส่วนช้างหนึ่ง.
ทรงแสดงธรรมโปรด
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่เมณฑกะคหบดี ผู้นั่ง อยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 144
ซึ่งโทษแห่งกามอันต่ำทรามอันเศร้าหมอง และอานิสงส์ในความออกจากกาม ขณะเมื่อพระองค์ทรงทราบว่า ท่านเมณฑกะคหบดีมีจิตคล่อง มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศ พระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดวงตาเห็นธรรมปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแก่ท่านเมณฑกะคหบดี ณ สถานที่นั่งนั้นแลว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิด ขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมคา ดุจผ้าที่สะอาดปราศจาก มลทิน ควรรับน้ำย้อมด้วยดีฉะนั้น.
แสงตนเป็นอุบาสก
ครั้นเมณฑกะคหบดีเห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้ธรรมแจ่มแจ้ง แล้ว หยังลงสู่ธรรมแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความ สงสัยถึงความเป็นผู้องอาจ ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบ ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระพุทธเจ้าข้า ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ทรงประกาศ ธรรมโดยอเนกปริยายอย่างนี้ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยประสงค์ว่า คน มีจักษุจักเห็นรูปฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้านี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระพุทธเจ้าว่า เป็น อุบาสกผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป และขอพระองค์พร้อม กับภิกษุสงฆ์ จงทรงพระกรุณาโปรดรับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้า เพื่อเจริญ บุญกุศลและปีติปราโมทย์ในวัน พรุ่งนี้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระ-
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 145
ภาคเจ้าทรงรับอาราธนาด้วยดุษณีภาพ ครั้นเมณฑกะคหบดีทราบการรับ อาราธนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมทำประทักษิณ กลับไปแล้วสั่งให้ตกแต่งของเคี้ยวของฉันอันประณีตโดยผ่านราตรีนั้น แล้วให้ เจ้าหน้าที่ไปกราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ถึงเวลาแล้ว พระพุทธ เจ้าข้า ภัตาหารเสร็จแล้ว.
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระๆ ภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวร เสด็จพระพุทธดำเนินเข้าไปทางนิเวศน์ของเมณฑกะคหบดี ครั้นถึงแล้วประทับ นั่งเหนือพุทธอาสน์ที่จัดไว้ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์.
ขณะนั้น ภรรยา บุตร สะใภ้ และทาส ของเมณฑกะคหบดีได้ เช้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระ ผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่เขาทั้งหลาย คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา ซึ่งโทษแห่งกามอันต่ำทรามอันเศร้าหมอง และอานิสงส์ ในความออกจากกาม เมื่อพระองค์ทรงทราบว่า ชนเหล่านั้นมีจิตคล่อง มีจิต อ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศ พระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดวงตาเห็นธรรมปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแก่เขาทั้งหลาย ณ สถานที่นั่งนั้นแลว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา ดุจผ้าที่สะอาดปราศจากมลทิน ควรรับน้ำย้อมด้วยดีฉะนั้น.
ครั้นชนเหล่านั้นเห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้ธรรมแจ่มแจ้ง แล้ว หยั่งลงสู่ธรรมแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความ สงสัยแล้ว ถึงความเป็นผู้องอาจ ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 146
ได้กราบทูลคำนี้ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระพุทธเจ้าข้า ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ทรง ประกาศธรรมโดยอเนกปริยายอย่างนี้ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของคว่ำ เปิด ของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยประสงค์ว่า คนมีจักษุจักเห็นรูปฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าเหล่านี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระพุทธเจ้า ทั้งหลายว่า เป็นอุบาสกอุบาสิกาผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.
ครั้นเมณฑกะคหบดีอังคาสภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วย ขาทนียโภชนียาหารอันประณีต ด้วยมือของตนจนยังพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เสวย เสร็จทรงนำพระหัตถ์จากบาตรให้ห้ามภัตแล้วจึงนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลปวารณาแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ตราบใดที่พระองค์ยังประทับอยู่ ณ พระนครภัททิยะ ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายภัตตาหารเป็นประจำแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เมณฑกะคหบดีเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา แล้วทรงลุกจากที่ประทับเสด็จ กลับไป.
เมณฑกะคหบดีอังคาสพระสงฆ์
[๘๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนครภัททิยะตาม พระพุทธาภิรมย์แล้ว ไม่ได้ทรงลาเมณฑกะคหบดี เสด็จพระพุทธดำเนินไปทาง ชนบทอังคุตตราปะ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๑,๒๕๐ รูป เมณฑกะ คหบดีได้ทราบข่าวแน่ชัดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จพระพุทธดำเนินไปทาง
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 147
ชนบทอังคุตตราปะ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๑,๒๕๐ รูป จึงสั่งทาส และกรรมกรว่า พนายทั้งหลาย ถ้ากระนั้น พวกเจ้าจงบรรทุกเกลือบ้าง น้ำมัน บ้าง ข้าวสารบ้าง ของขบฉันบ้าง ลงในเกวียนให้มากๆ และคนเลี้ยงโค ๑,๒๕๐ คน จงพาแม่โคนม ๑,๒๕๐ ตัว มาด้วย เราจักเลี้ยงพระสงฆ์ด้วย น้ำนมสดอันรีดใหม่ที่มีน้ำนมยังอุ่นๆ ณ สถานที่ๆ เราได้พบพระผู้มี พระภาคเจ้า ครั้นเมณฑกะคหบดีตามไปพบพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ ระหว่างทาง กันดาร จึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลอาราธนาว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมกับ ภิกษุสงฆ์ จงทรงพระกรุณาโปรดรับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้า เพื่อเจริญ บุญกุศลและปีติปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้ด้วยเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับ อาราธนาโดยดุษณีภาพ ครั้นเมณฑกะคหบดี ทราบการทรงรับอาราธนาของ พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ลุกจากที่นั่งถวายบังคมทำประทักษิณกลับไปแล้วสั่ง ให้ตกแต่งของเคี้ยวของฉันอันประณีต โดยผ่านราตรีนั้น แล้วให้คนไปกราบ ทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ถึงเวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหาร เสร็จแล้ว.
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตร จีวรเสด็จพระพุทธดำเนินเข้าสถานที่อังคาสของเมณฑกะคหบดี ครั้นแล้ว ประทับนั่งเหนือพระพุทธอาสน์ที่เขาปูลาดถวาย พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เมณฑกะ คหบดีจึงสั่งคนเลี้ยงโค ๑,๒๕๐ คนว่า พนายทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นจงช่วยกัน จับแม่โคนมคนละตัวแล้วยืนใกล้ๆ ภิกษุรูปละคนๆ เราจักเลี้ยงพระด้วย น้ำนมสดอันรีดใหม่ที่มีน้ำยังอุ่นๆ ครั้นแล้วได้อังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า เป็นประมุข ด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีต และด้วยน้ำนมสดอันรีดใหม่
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 148
ด้วยมือของตน จนให้ห้ามภัตแล้ว ภิกษุทั้งหลายรังเกียจ ไม่ยอมรับประเคน น้ำนมสด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จงรับประเคน ฉันเถิด.
เมื่อเมณฑกะคหบดีอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขด้วย ขาทนียโภชนียาหารอันประณีต และด้วยน้ำนมสดรีดใหม่ด้วยมือของตนจนยัง พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เสวยเสร็จ ทรงนำพระหัตถ์ออกจากบาตรให้ห้ามภัตแล้ว ได้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมณฑกะคหบดีนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลคำนี้ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า มีอยู่ พระพุทธเจ้าข้า หนทาง กันดารอัตคัดน้ำ อัตคัดอาหาร ภิกษุไม่มีเสบียงจะเดินทางไป ทำไม่ได้ง่าย ขอประทานพระวโรกาสขอพระองค์โปรดทรงอนุญาตเสบียงเดินทางแก่ภิกษุทั้งหลายด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า
เมณฑกานุญาต
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เมณฑกะคหบดีเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ทรงลุกจากที่ประทับเสด็จ กลับไป หลังจากนั้นพระองค์ทรงธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตโครส ๕ คือ นมสด นมส้ม เปรียง เนยข้น เนยใส
มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย หนทางกันดารอัตคัดน้ำ อัตคัดอาหาร ภิกษุ ไม่มีเสบียงจะเดินทางไป ทำไม่ได้ง่าย เราอนุญาตให้แสวงหาเสบียงได้คือ ภิกษุต้องการข้าวสาร พึงแสวงหาข้าวสาร ต้องการถั่วเขียว พึงแสวงหาถั่วเขียว ต้องการถั่วราชมาส พึงแสวงหาถั่วราชมาส ต้องการเกลือ พึงแสวงหาเกลือ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 149
ต้องการน้ำอ้อย พึงแสวงหาน้ำอ้อย ต้องการน้ำมัน พึงแสวงหาน้ำมัน ต้อง การเนยใส ก็พึงแสวงหาเนยใส.
มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ชาวบ้านที่มีศรัทธาเลื่อมใส เขามอบเงินทองไว้ ในมือกัปปิยการกสั่งว่า สิ่งใดควรแก่พระผู้เป็นเจ้า ขอท่านจงถวายสิ่งนั้นด้วย กัปปิยภัณฑ์นี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยินดีของอันเป็นกัปปิยะจากกัปปิยภันฑ์นั้นไว้ แต่เรามิได้กล่าวว่า พึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงินโดยปริยาย ไรๆ เลย.
เรื่องเกณิยชฏิล
[๘๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จพระพุทธดำเนินผ่านระยะ ทางโดยลำลับ เสด็จถึงอาปณนิคมแล้ว เกณิยชฎิลได้สดับข่าวถนัดแน่ว่า ท่าน ผู้เจริญ พระสมณโคดมศากยบุตร ทรงผนวชจากศากยตระกูล เสด็จโดยลำดับ ถึงอาปณนิคมแล้ว ก็พระกิตติศัพท์อันงามของท่านพระโคตมพระองค์นั้น ขจรไปแล้ว อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรง เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงบรรลุวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของ ทวยเทพและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม พระองค์ทรงทำ โลกนี้พรอ้มทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกให้แจ้งชัด ด้วยพระปัญญาอันยิ่ง ของพระองค์เอง แล้วทรงสั่งสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ ทวยเทพ และมนุษย์ให้รู้ ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะครบบริบูรณ์บริสุทธิ์ อนึ่ง การเห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเห็นปานนั้น เป็นความดี.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 150
หลังจากนั้น เกณิยชฎิลได้ดำริว่า เราจะให้นำอะไรไปถวายพระสมณโคดมดีหนอ จึงได้ดำริต่อไปว่า บรรดาฤษีผู้เป็นบุรพาจารย์ของพวกพราหมณ์ คือ ฤษีอัฎฐกะ ฤษีวามกะ ฤษีวามเทวะ ฤษีเวสสามิตตะ ฤษียมตัคคิ ฤษี อังคีรสะ ฤษีภารทวาชะ ฤษีวาเสฏฐะ ฤษีกัสสปะ ฤษีภคุ ซึ่งเป็นผู้ผูกมนต์ บอกมนต์มาก่อนพวกพราหมณ์ในบัดนี้ ขับตามกล่าวตามซึ่งบทมนต์ของเก่านี้ ที่ท่านขับแล้วบอกแล้ว รวบรวมไว้แล้ว กล่าวได้ถูกต้อง บอกได้ถูกต้องตามที่ กล่าวไว้บอกไว้ เป็นผู้เว้นฉันในราตรี งดฉันในเวลาวิกาล ฤษีเหล่านั้นได้ยินดี น้ำปานะเห็นปานนี้ แม้พระสมณโคดมก็เว้นฉันในราตรี งดฉันในเวลาวิกาล ก็ควรจะยินดีน้ำปานะเห็นปานนี้บ้าง แล้วสั่งให้ตกแต่งน้ำปานะเป็นอันมาก ให้ คนหาบไปถึงพุทธสำนัก ครั้นถึงแล้วได้กราบทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการกราบทูลปราศรัยพอให้เป็นที่บันเทิง เป็นที่ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอท่านพระโคดมโปรดทรงรับน้ำปานะของ ข้าพระพุทธเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เกณิยะ ถ้าเช่นนั้นจงถวายแก่ภิกษุทั้งลาย ภิกษุทั้งหลายรังเกียจ ไม่ยอมรับประเคน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จงขอรับประเคนฉันเถิด ครั้งนั้นเกณิยชฎิลได้อังคาส ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุช ด้วยน้ำปานะเป็นอันมากด้วยมือของตน ยังพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ล้างพระหัตถ์ จนนำพระหัตถ์จากบาตรให้ห้ามภัตแล้ว ได้นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงชี้แจงให้เกณิยชฎิลผู้นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 151
ครั้งนั้น เกณิยชฎิลอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ได้กราบทูลอาราธนาพระผู้มี พระภาคเจ้าว่า ขอท่านพระโคดมพร้อมกับภิกษุสงฆ์ ทรงพระกรุณาโปรดจง รับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้าเพื่อเจริญบุญกุศลและปีติปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้ ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือนว่า เกณิยะ ภิกษุสงฆ์มีมากถึง ๑,๒๕ํ๐ รูป และท่านก็เลื่อมใสยิ่งนักในหมู่พราหมณ์.
เกณิยชฎิล ได้ทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นคำรบสองว่า แม้ ภิกษุสงฆ์จะมีมากถึง ๑,๒๕๐ รูป และข้าพระพุทธเจ้าได้เลื่อมใสยิ่งนักในหมู่ พราหมณ์ก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ขอท่านพระโคดมพร้อมกับภิกษุสงฆ์ ทรง พระกรุณาโปรดจงรับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้า เพื่อเจริญบุญกุศลและปีติ- ปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือนเกณิยะว่า ภิกษุสงฆ์มีมากถึง ๑,๒๕ํ๐ รูป และท่านก็เลื่อมใสยิ่งนักในหมู่พราหมณ์.
เกณิยชฎิล ก็ได้กราบทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นคำรบ ๓ ว่า แม้ภิกษุสงฆ์จะมีมากถึง ๑,๒๕๐ รูป และ.ข้าพระพุทธเจ้าได้เลื่อมใสยิ่งนักในหมู่ พราหมณ์ก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ขอท่านพระโคดมพร้อมกับภิกษุสงฆ์ ทรง พระกรุณาโปรดจงรับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้า เพื่อเจริญบุญกุศลและปีติ ปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับอาราธนาโดยดุษณีภาพ ครั้น เกณิยชฎิล ทราบอาการรับอาราธนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ลุกจากที่นั่งกลับไป.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 152
พระพุทธานุญาติน้ำอัฏฐบาน
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตน้ำปานะ ๘ ชนิดคือ น้ำปานะทำด้วยผลมะม่วง ๑ น้ำ ปานะทำด้วยผลหว้า ๑ น้ำปานะทำด้วยผลกล้วยมีเมล็ด ๑ น้ำปานะทำด้วยผล กล้วยไม่มีเมล็ด ๑ น้ำปานะทำด้วยผลมะซาง ๑ น้ำปานะทำด้วยผลจันทน์หรือ องุ่น ๑ น้ำปานะทำด้วยเง่าบัว ๑ น้ำปานะทำด้วยผลมะปรางหรือลิ้นจี่ ๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำผลไม้ทุกชนิด เว้นน้ำต้มเมล็ด ข้าวเปลือก.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำใบไม้ทุกชนิด เว้นน้ำผักดอง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำดอกไม้ทุกชนิด เว้นน้ำดอก มะซาง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำอ้อยสด.
ครั้งนั้น เกณิยชฎิลสั่งให้ตกแต่งของเคี้ยวของฉันอันประณีต ณ อาศรม ของตนโดยผ่านราตรีนั้น แล้วให้คนไปกราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ว่าถึงเวลาแล้ว ท่านพระโคดมภัตตาหารเสร็จแล้ว ขณะนั้นเป็นเวลาเช้า พระ ผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสก แล้วถือบาตรจีวรเสด็จพระพุทธดำเนิน ไปทางอาศรมของเกณิยชฎิล ครั้นถึงแล้ว ประทับนั่งเหนือพระพุทธอาสน์ที่ เขาจัดถวาย พร้อมกับภิกษุสงฆ์ เกณิยชฎิลจึงอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า เป็นประมุข ด้วยของเคี้ยวของฉันอันประณีต ด้วยมือของตน ยังพระผู้มี พระภาคเจ้าผู้เสวยเสร็จ จนนำพระหัตถ์จากบาตร ให้ห้ามภัตแล้ว ได้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 153
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงอนุโมทนาเกณิยชฎิลด้วยคาถาเหล่านี้ ว่า ดังนี้:-
[๘๗] ยัญทั้งหลายมีการบูชาไฟเป็น หัวหน้า สาวิตติฉันท์เป็นยอดของฉันทศาสตร์ พระมหาราชเจ้าเป็นประมุขของมนุษยนิกร สมุทรสาครเป็นประธานของ แม่น้ำทั้งหลาย ดวงจันทร์ใหญ่กว่าดวงดาว นักษัตรในอากาศ ดวงภาณุมาศใหญ่กว่า บรรดาสิ่งของที่มีแสงร้อนทั้งหลาย ฉันใด พระสงฆ์ ย่อมเป็นใหญ่สำหรับทายกผู้หวัง บุญบำเพ็ญทานอยู่ฉันนั้น.
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนาเกณิยชฎิล ด้วยคาถาเหล่านั้น แล้ว ทรงลุกจากที่ประทับเสด็จกลับ.
เตรียมการต้อนรับพระพุทธเจ้า
[๘๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อาปณนิคมคาม พระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จจาริกไปทางพระนครกุสินารา พร้อมด้วยภิกษุ หมู่ใหญ่ประมาณ ๑,๒๕๐ รูป.
พวกมัลลกษัตริย์ชาวพระนครกุสินารา ได้ทรงทราบข่าวแน่ถนัดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จมาพระนครกุสินารา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๑,๒๕๐ รูป มัลลกษัตริย์เหล่านั้นได้ตั้งกติกาไว้ว่า ผู้ใดไม่ต้อนรับ เสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า จะต้องถูกปรับสินไหมเป็นเงิน ๕๐๐ กษาปณ์ สมัย
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 154
นั้น โรชะมัลลกษัตริย์เป็นพระสหายของพระอานนท์ ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จจาริกโดยลำดับ ถึงพระนครกุสินาราแล้ว พวกมัลลกษัตริย์ชาวพระนคร กุสินาราได้จัดการต้อนรับเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ครั้นโรชะมัลลกษัตริย์ รับเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่พักทรงอภิวาท แล้วประทับยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
ท่านพระอานนท์ได้ปราศรัยกะโรชะมัลลกษัตริย์ผู้ประทับยืน ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่งว่า ท่านโรชะ การรับเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าของท่านโอฬารแท้.
โรชะมัลลกษัตริย์ตรัสว่า พระคุณเจ้าอานนท์ พระพุทธเจ้าก็ดี พระ ธรรมก็ดี พระสงฆ์ก็ดี ไม่ได้ทำให้ข้าพเจ้าใหญ่โต พวกญาติต่างหากได้ตั้ง กติกาไว้ว่า ผู้ไม่ต้อนรับเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า จะต้องถูกปรับสินไหม เป็นเงิน ๕๐๐ กษาปณ์ ข้าพเจ้านั้นแลได้ต้อนรับเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเช่น นี้เพราะกลัวพวกญาติปรับสินไหม.
ทันใดท่านพระอานนท์แสดงความไม่พอใจว่า ไฉน โรชะมัลลกษัตริย์ จึงได้ตรัสอย่างนี้ แล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคม นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลคำนี้ แด่พระผู้มีพระภาคะเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า โรชะมัลลกษัตริย์ผู้นี้ เป็นคนมีชื่อเสียง มีคนรู้จักมาก และความ เลื่อมใสในพระธรรมวินัยนี้ ของคนที่มีผู้รู้จักมากเช่นนี้ มีอิทธิพลมากนัก ขอประทานพระวโรกาสขอพระองค์ทรงกรุณาโปรดบันดาลให้โรชะมัลลกษัตริย์ เลื่อมใสในพระธรรมวินัยนี้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ การที่จะบันดาลให้โรชะมัลลกษัตริย์เลื่อมใสในพระธรรมวินัยนี้นั้น ตถาคตทำได้ไม่ยากเลย.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 155
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแผ่เมตตาจิตไปยังโรชะมัลลกษัตริย์ แล้วทรงลุกจากที่ประทับเสด็จเข้าพระวิหาร ครั้นโรชะมัลลกษัตริย์ อันพระเมตตาจิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าถูกต้องแล้ว ได้เที่ยวค้นหาตามวิหาร ตาม บริเวณทั่วทุกแห่งดุจโคแน่ลูกอ่อน แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ท่านเจ้าข้า เวลานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ประทับ อยู่ ที่ไหน เพราะข้าพเจ้าใคร่จะเฝ้าพระองค์
ภิกษุทั้งหลายถวายพระพรว่า ท่านโรชะ พระวิหารนั่นเขาปิดพระทวารเสียแล้ว ขอท่านโปรดสงบเสียง เสด็จเข้าไปทางพระวิหารนั้น ต่อยๆ ย่องเข้าไปที่หน้ามุข ทรงกระแอมแล้วทรงเคาะพระทวารเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงเปิดพระทวารรับท่าน ถวายพระพร.
โรชะมัลลกษัตริย์ได้ธรรมจักษุ
ขณะนั้น โรชะมัลลกษัตริย์ทรงสงบเสียง เสด็จเข้าไปทางพระวิหาร ซึ่งปิดพระทวารเสียแล้วนั้น ค่อยๆ ย่องเข้าไปที่หน้ามุข ทรงกระแอมแล้ว เคาะบานพระทวาร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปิดพระทวารรับ จึงโรชะมัลลกษัตริย์เสด็จเข้าพระวิหาร ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วประทับนั่งเฝ้า อยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่โรชะมัลลกษัตริย์ คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา ซึ่งโทษแห่ง กามอันต่ำทรามอันเศร้าหมอง และอานิสงส์ในความออกจากกาม ขณะเมื่อ พระองค์ทรงทราบว่าโรชะมัลลกษัตริย์มีจิตคล่อง มีจิตอ่อน มีจิตปราศจาก นิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนา ที่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 156
ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้บังเกิดแก่โรชะมัลลกษัตริย์ ณ สถานที่ประทับนั้นแลว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา ดุจผ้าที่สะอาดปราศจากมลทินควรรับน้ำย่อม ด้วยดี ฉะนั้น โรชะมัลลกษัตริย์ได้ทรงเห็นธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้ง ได้หยั่งลงสู่ธรรมแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้องอาจ ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลคำ น้ำแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่าขอประทานพระวโรกาส ขอพระคุณเจ้าทั้งหลาย โปรดรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ของข้า พระพุทธเจ้าผู้เดียว อย่ารับของตนอื่น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนโรชะ แม้อริยบุคคลผู้ได้เห็นธรรม แล้วด้วยญาณของพระเสขะ ด้วยทัสสนะของพระเสขะเหมือนอย่างท่าน ก็คงมี ความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอ พระคุเนเจ้าทั้งหลายคงกรุณารับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารของพวกเราเท่านั้น คงไม่รับของผู้อื่นเป็น แน่ เพราะฉะนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจักรับปัจจัยของท่านด้วย ของตนอื่นด้วย.
ก็โดยสมัยนั้นแล ประชาชนทั้งหลายได้จัดตั้งลำดับภัตตาหารอันประณีตไว้ที่นครกุสินารา ครั้นโรชะมัลลกษัตริย์ไม่ได้ลำดับที่จะถวายภัตตาหารจึง ได้ทรงดำริว่า ไฉนหนอ เราพึงตรวจดูโรงอาหาร สิ่งใดไม่มีในโรงอาหาร เราพึงตกแต่งสิ่งนั้นถวาย ครั้นแล้วทรงตรวจดูในโรงอาหาร ไม่ทอดพระเนตร เห็นของ ๒ อย่าง คือผักสด ๑ ของขบฉันที่ทำด้วยแป้ง ๑ จึงเสด็จเข้าไปหา ท่านพระอานนท์ ครั้นแล้วได้ทูลหารือว่า ท่านพระอานนท์เจ้าข้า เมื่อข้าพเจ้า ไม่ได้ลำดับที่จะถวายภัตตาหาร ณ สถานที่แห่งนี้ ได้มีความดำริว่า ไฉนหนอ เราะพึงตรวจดูโรงอาหาร สิ่งใดไม่มีในโรงอาหาร เราพึงตกแต่งสิ่งนั้นถวาย
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 157
ท่านพระอานนท์เจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นเมื่อตรวจดูโรงอาหาร ไม่ได้เห็นของ ๒ อย่าง คือ ผักสด ๑ ของขบฉันที่ทำด้วยแป้ง ๑ หากข้าพเจ้าพึงตกแต่งผักสด และของขบฉันที่ทำด้วยแป้งถวาย พระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงทรงรับของข้าพเจ้า หรือไม่ เจ้าข้า.
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า ท่านโรชะ ถ้ากระนั้นอาตมาจะทูล ถามพระผู้มีพระภาคเจ้าดู แล้วได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อานนท์ ถ้าเช่นนั้นจงให้เขาตกแต่งเถิด.
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า ท่านโรชะ ถ้ากระนั้น ท่านจงตกแต่ง ถวาย.
โรชะมัลลกษัตริย์ จึงสั่งให้ตกแต่งผักสดและของขบเคี้ยวที่ทำด้วยแป้ง เป็นอันมาก โดยผ่านราตรีนั้นแล้ว น้อมถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพลาง กราบทูลว่าขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงโปรดรับผักสด และของขบฉันที่ทำด้วย แป้ง ของข้าพระพุทธเจ้าเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนโรชะ ถ้าเช่นนั้น จงถวายภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายรังเกียจ ไม่รับประเคน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงรับประเคนฉันเถิด ขณะนั้น โรชะมัลลกษัตริย์ ทรงอังคาสภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขด้วยผักสด และของขบฉันที่ ทำด้วยแป้งมากมาย ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์ ยังพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ล้าง พระหัตถ์แล้ว จนทรงนำพระหัตถ์จากบาตร ให้ห้ามภัตแล้ว ได้ประทับเฝ้า อยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้โรชะมัลลกษัตริย์ ผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ทรงเห็นแจ้งสมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วย ธรรมีกถาแล้ว ทรงลุกจากที่ประทับเสด็จกลับ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 158
พระพุทธนุญาติผักและแป้ง
ภายหลังพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาแล้ว ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผักสดทุกชนิด และของขบที่ทำด้วยแป้ง ทุกชนิด.
เรื่องวุฑฒบรรพชิต
[๘๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในพระนครกุสินารา ตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จพระพุทธดำเนินสู่อาตุมานครพร้อมด้วยภิกษุ สงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๑,๒๕๐ รูป สมัยนั้นมีภิกษุบวชภายแก่รูปหนึ่ง เคย เป็นช่างกัลบก อาศัยอยู่ในอาตุมานคร เธอมีบุตรชายสองคน เป็นเด็กพูดจา อ่อนหวาน มีไหวพริบดี ขยัน แข็งแรง มีฝีมือยอดเยี่ยมในการช่างกัลบก ของตนดีเท่าอาจารย์ เธอได้ทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จมาสู่ อาตุมานคร พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๑,๒๕๐ รูป ครั้นแล้วได้แจ้ง ความประสงค์อันนั้นแก่บุตรทั้งสองนั้นว่า พ่อทั้งหลาย ข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จสู่อาตุมานคร พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๑,๒๕๐ ไปเถิด พ่อทั้งสอง จงถือเครื่องมือตัดผมและโกนผมกับทะนานและถุง เที่ยว ไปตัดและโกนผม ตามบ้านเรือนทุกแห่ง แลกเกลือบ้าง น้ำมันบ้าง ข้าวสาร บ้าง ของขบฉันบ้าง พ่อจักทำยาคูที่ดื่มได้ถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เสด็จมา ถึงแล้ว.
บุตรชายทั้งสองรับคำสั่งของหลวงพ่อว่า จะปฏิบัติเช่นนั้น แล้วถือ เครื่องมือตัดผมโกนผมกับทะนานและถุง เที่ยวไปตัดและโกนผมตามบ้านเรือน
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 159
ทุกแห่ง แลกเกลือบ้าง น้ำมันบ้าง ข้าวสารบ้าง ของขบฉันบ้าง ชาวบ้าน เห็นเด็กสองคนนั้น พูดจาอ่อนหวาน มีไหวพริบดี แม้ผู้ที่ไม่ประสงค์จะให้ ตัดและโกนผม ก็ให้ตัดให้โกนผม ถึงให้ตัดให้โกนผมแล้ว ก็ให้ค่าแรงมาก เป็นอันว่าเด็กทั้งสองคนนั้น เก็บรวบรวมเกลือบ้าง น้ำมันบ้าง ข้าวสารบ้าง ของขบฉันบ้าง ได้เป็นอันมาก.
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกโดยลำดับ เสด็จถึงอาตุมานครแล้ว ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ที่ภูสาคารเขตอาตุมานครนั้น พระขรัวคานั้น จึงสั่งให้คนตกแต่งข้าวยาคูเป็นอันมากโดยผ่านราตรีนั้นแล้ว น้อมถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงโปรดรับ ข้าวยาคูของข้าพระพุทธเจ้า.
พุทธประเพณี
พระตถาคตทั้งหลายทรงทราบอยู่ ย่อมตรัสถามก็มี ทรงทราบอยู่ย่อม ไม่ตรัสถามก็มี ทรงทราบกาลแล้วตรัสถาม ทรงทราบกาลแล้วไม่ตรัสถาม พระตถาคตทั้งหลายย่อมตรัสถามสิ่งที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ตรัสถามสิ่งที่ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ในสิ่งที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ พระองค์ทรงกำจัด ด้วยข้อปฏิบัติ พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายด้วย อาการ ๒ อย่าง คือ จักทรงแสดงธรรมอย่าง ๑ จักทรงบัญญัติสิกขาบทแก่ พระสาวกทั้งหลายอย่าง ๑.
ครั้นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามพระขรัวตานั้นว่า ดูก่อน ภิกษุ ข้าวยาคูนี้เธอได้มาจากไหน พระขรัวตาจึงกราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ ทุกประการ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 160
ห้ามภิกษุผู้เคยเป็นช่างกัลบกเก็บรักษามีดโกน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำของ เธอนั้นไม่เหมะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนเธอบวชแล้วจึงได้ชักจูงทายกในส่งอันไม่ควรเล่า การกระทำของเธอนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้ว ทรงทำ ธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตไม่พึง ชักจูงทายกในสิ่งอันไม่ควร รูปใดชักจูง ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุผู้เคยเป็นช่างกัลบก ไม่พึงเก็บรักษา เครื่องตัดโกนผมไว้สำหรับตัว รูปใดเก็บรักษาไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธานุญาตผลไม้
[๙๐] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อาตุมานครตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จพุทธดำเนินไปทางพระนครสาวัตถี เสด็จจาริกโดย ลำดับ ถึงพระนครสาวัตถีแล้ว ทราบว่าพระองค์ประทับอยู่ที่พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถีนั้น เวลานั้น ของขบฉันคือ ผลไม้ในนครสาวัตถีมีดาษดื่นมาก ภิกษุทั้งหลายจึงได้มีความสงสัยว่า ของขบ ฉันคือผลไม้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้แล้วหรือมีได้ทรงอนุญาต แล้ว ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผลไม้ ทุกชนิด.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 161
พืชของสงฆ์และของบุคคล
[๙๑] ก็โดยสมัยนั้นแล พืชของสงฆ์เขาเพาะปลูกในที่ของบุคคล พืชของบุคคลเขาเพาะปลูกในที่ของสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พืช ของสงฆ์ที่เพาะปลูกในที่ของบุคคล พึงให้ส่วนแบ่ง แล้วบริโภค พืชของ บุคคลที่เพาะปลูกในที่ของสงฆ์ พึงให้ส่วนแบ่ง แล้วบริโภค.
พระพุทธานุญาตมหาประเทศ ๔
[๙๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายเกิดความรังเกียจในพระบัญญัติ บางสิ่งบางอย่างว่า สิ่งใดหนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ สิ่งใดไม่ ได้ทรงอนุญาต จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระมีพระภาคเจ้า.
วัตถุเป็นกัปปิยะและอกัปปิยะ
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสประทานสำหรับอ้าง ๘ ข้อ ดังต่อไปนี้.
๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร หาก สิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้น ไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย.
๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย.
๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย.
๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 162
พระพุทธานุญาตกาลิกระคน
[๙๓] ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า ยามกาลิกระคน กับยาวกาลิก ควรหรือไม่ควรหนอ สัตตาหกาลิกระคนกับยาวกาลิก ควรหรือ ไม่ควรหนอ ยาวชีวิกระคนกับยาวกาลิก ควรหรือไม่ควรหนอ สัตตาหกาลิกระคนกับยามกาลิก ควรหรือไม่ควรหนอ ยาวชีวิกระคนกับยามกาลิก ควร หรือไม่ควรหนอ ยาวชีวิกระคนกับสัตตาหกาลิก ควรหรือไม่ควรหนอ แล้ว กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดังนี้.
๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยามกาลิกระคนกับยาวกาลิกที่รับประเคนใน วันนั้น ควรในกาล ไม่ควรในวิกาล.
๒. สัตตาหกาลิกระคนกับยาวกาลิกที่รับประเคนในวันนั้น ควรใน กาล ไม่ควรในวิกาล.
๓. ยาวชีวิกระคนกับยาวกาลิกที่รับประเคนในวันนั้น ควรในกาล ไม่ควรในวิกาล.
๔. สัตตาหกาลิกระคนกับยามกาลิกที่รับประเคนในวันนั้น ควรชั่ว ยาม ล่วงยามแล้วไม่ควร.
๕. ยาวชีวิกระคนกับยามกาลิกที่รับประเคนในวันนั้น ควรชั่วยาม ล่วงยามแล้วไม่ควร.
๖. ยาวชีวิกระคนกับสัตตาหกาลิกที่รับประเคนในวันนั้น ควรตลอด
๗ วัน ล่วง ๗ วันแล้วไม่ควร.
เภสัชชขันธกะที่ ๖ จบ
ในขันธกะนี้มี ๑๐๖ เรื่อง
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 163
หัวข้อประจำขันธกะ
[๙๓] ๑. เรื่องอาพาธที่เกิดชุมในฤดูสารท ๒. เรื่องฉันเภสัชนอก กาล ๓. เรื่องน้ำมันเปลวสัตว์เป็นยา ๔. เรื่องรากไม้ที่เป็นตัวยา ๕. เรื่อง รากไม้ทำยาผง ๖. เรื่องน้ำฝาด ๗. เรื่องใบไม้ ๘. เรื่องผลไม้ ๙. เรื่อง ยางไม้ ๑๐. เรื่องเกลือ ๑๑. เรื่องมูลโค ๑๒. เรื่องยาผงและวัตถุเครื่อง ร่อนยา ๑๓. เรื่องเนื้อดิบเลือดสด ๑๔. เรื่องยาตา ๑๕. เรื่องเครื่องยา ผสมกับยาตา ๑๖. เรื่องกลักยาตาชนิดต่างๆ และกลักยาตาไม่มีฝาปิด ๑๗. เรื่องไม้ป้ายยาตา ๑๘. เรื่องภาชนะเก็บไม้ป้ายยาตา ถุงกลักยาตา และเชือก ผูกเป็นสายสะพาย ๑๙. เรื่องน้ำมันหุงทาศีรษะ ๒๐. เรื่องการนัตถุ์ ๒๑. เรื่องกล้องนัตถุ์ยา ๒๒. เรื่องสูดควัน กล้องสูดควัน ฝาปิดกล้องสูด ควัน ๒๓. เรื่องถุงเก็บกล้องสูดควัน ๒๔. เรื่องน้ำมันหุง ๒๕. เรื่องน้ำ เมาที่ผสมในน้ำมันที่หุง ๒๖. เรื่องน้ำมันเจือน้ำเมามาก ๒๗. เรื่องน้ำมัน เจือน้ำเมามากใช้เป็นยาทา ๒๘. เรื่องลักจั่น ๒๙. เรื่องเข้ากระโจม ๓๐. เรื่องรมด้วยใบไม้ต่างๆ ๓๑. เรื่องการรมใหญ่และเอาใบไม้มาต้มรม ๓๒. เรื่องอ่างน้ำ ๓๓. เรื่องระบายเลือดออก ๓๔. เรื่องกอกโลหิตด้วยเขา ๓๕. เรื่องยาทาเท้า ๓๖. เรื่องปรุงน้ำมันทาเท้า ๓๗. เรื่องผ่าฝี ๓๘. เรื่อง ชะแผลด้วยน้ำฝาด ๓๙. เรื่องงาที่บดแล้ว ๔๐. เรื่องยาพอกแผล ๔๑. เรื่อง ผ้าพันแผล ๔๒. เรื่องชะแผลด้วยน้ำแป้งพันธุ์ผักกาด ๔๓. เรื่องรมแผล ด้วยควัน ๔๔. เรื่องตัดเนื้องอกด้วยก้อนเกลือ ๔๕. เรื่องน้ำมันทาแผล ๔๖. เรื่องผ้าปิดกันน้ำมันเยิ้ม ๔๗. เรื่องยามหาวิกัฏ ๔๘. เรื่องรับประเคน ๔๙. เรื่องดื่มน้ำเจือคูถและหยิบคูถเมื่อกำลังถ่าย ๕๐. เรื่องดื่มน้ำที่ละลายจาก ดินติดผาลไถ ๕๑. เรื่องดื่มน้ำด่างอามิส ๕๒. เรื่องดื่มน้ำสมอดองมูตร
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 164
๕๓. เรื่องทาของหอม ๕๔. เรื่องดื่มยาถ่าย ๕๕. เรื่องน้ำข้าวใส ๕๖. เรื่อง น้ำถั่วเขียวต้มที่ไม่ข้น ๕๗. เรื่องน้ำถั่วเขียวที่ข้นนิดหน่อย ๕๘. เรื่องน้ำต้ม เนื้อ ๕๙. เรื่องชำระเงื้อมเขา และพระราชทานคนทำการวัด ๖๐. เรื่อง ฉันเภสัชที่เก็บไว้ ๗ วัน ๖๑. เรื่องน้าอ้อย ๖๒. เรื่องถั่วเขียว ๖๓. เรื่อง ยาดองโลณโสจิรกะ ๖๔. เรื่องอามิสที่หุงต้มเอง ๖๕. เรื่องภัตตาหารที่ต้อง อุ่น ๖๖. เรื่องให้เก็บที่หุงต้มอามิสในภายในและหุงต้มเอง เมื่อคราวอัตคัด อาหารต่อไปอีก ๖๗. เรื่องรับประเคนผลไม้ที่เป็นอุคคหิตได้ ๖๘. เรื่อง ถวายงา ๖๙. เรื่องของขบฉันที่รับประเคนไว้ตอนเช้า ๗๐. เรื่องเป็นไข้ ตัวร้อน ๗๑. เรื่องฉัน ผลไม้ที่ปล้อนเมล็ดออก ๗๒. เรื่องริดสีดวงทวาร ๗๓. เรื่องสัคถกรรมและวัตถิกรรม ๗๔. เรื่องอุบาสิกาสุปปิยา ๗๕. เรื่อง ทรงห้ามฉันเนื้อมนุษย์ ๗๖. เรื่องทรงห้ามฉันเนื้อช้าง ๗๗. เรื่องทรงห้าม ฉันเนื้อม้า ๗๘. เรื่องทรงห้ามฉันเนื้อสุนัข ๗๙. เรื่องทรงห้ามฉันเนื้องู ๘๐. เรื่องทรงห้ามฉันเนื้อราชสีห์ ๘๑. เรื่องทรงห้ามฉันเนื้อเสือโคร่ง ๘๒. เรื่องทรงห้ามฉันเนื้อเสือเหลือง ๘๓. เรื่องทรงห้ามฉันเนื้อหมี ๘๔. เรื่อง ทรงห้ามฉันเนื้อเสือดาว ๘๕. เรื่องคอยโอกาสถวายภัตร และข้าวยาคู ๘๖. เรื่องมหาอำมาตย์เริ่มเลื่อมใส เป็นต้น เหตุให้ทรงห้ามภิกษุรับนิมนต์ไว้ แห่งหนึ่งแล้วไปฉันในที่อื่น ๘๗. เรื่องถวายงา น้ำอ้อย ๘๘. เรื่องทรงรับ อาคารพักแรม ๘๙. เรื่องมหาอำมาตย์สุนีธะและวัสสการะ ๙๐. เรื่องแม่น้ำ คงคา ๙๑. เรื่องเสด็จตำบลบ้านโกฏิ ทรงแสดงอริยสัจจกถา ๙๒. เรื่อง นางอัมพปาลีคณิกา ๙๓. เรื่องเจ้าลิจฉวี ๙๔. เรื่องอุทิสมังสะ ๙๕. เรื่อง พระนครเวสาลีหาอาหารได้ง่าย ๙๖. เรื่องทรงห้ามอามิสที่เป็นอันโตวุตถะ เป็นต้นใหม่ ๙๗. เรื่องฝนทั้งเค้า ๙๘. เรื่องพระยโสชะอาพาธ ๙๙. เรื่อง
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 165
เมณฑกะคหบดี ถวายปัญจโครสกับเสบียงเดินทาง ๑๐๐. เรื่องเกณิยชฏิลถวาย น้ำอัฏฐบาน คือ น้ำผลมะม่วง น้ำผลหว้า น้ำกล้วยมีเมล็ด น้ำกล้วยไม่มี เมล็ด น้ำผลมะชาง น้ำผลจันทน์ น้ำเง่าบัว น้ำผลมะปราง ๑๐๑. เรื่อง โรชะมัลลกษัตริย์ถวายผักสดและของขบฉันที่สำเร็จด้วยแป้ง ๑๐๒. เรื่องภิกษุ ช่างกัลบกในเมืองอาตุมา ๑๐๓ เรื่องผลไม้ดาษดื่นในพระนครสาวัตถี ๑๐๔. เรื่องพืช ๑๐๕. เรื่องเกิดสงสัยในพระบัญญัติบางสิ่งบางอย่าง ๑๐๖. เรื่อง กาลิกระคน.
หัวข้อประจำขันธกะ จบ
อรรถกถาเภสัชชขันธกะ
ว่าด้วยเภสัช
วินิจฉัยในเภสัชชขันธกะ พึงทราบดังนี้:-
สองบทว่า สารทิเกน อาพาเธน ได้แก่ อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน เกิดขึ้นในสารทกาล (๑) จริงอยู่ ในกาลนั้น ภิกษุทั้งหลายย่อมเปียกด้วยน้ำฝนบ้าง ย่อมเหยียบย่ำโคลนบ้าง แดดย่อมกล้าในระหว่างๆ บ้าง เพราะเหตุนั้น ดีของ ภิกษุเหล่านั้นย่อมเป็นของซึมเข้าไปในลำใส้.
สองบทว่า อาหารตฺถญฺจ ผเรยฺย มีความว่า วัตถุพึงยังประโยชน์ ด้วยอาหารให้สำเร็จ.
(๑) กล่าวตามฤดู ๖ ในตำราแพทย์ ไท, สารทฤต ได้แก่ เดือนสิบเอ็ดกับเดือนสิบสอง และว่า เป็นไข้เพื่อลม.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 166
บทว่า นจฺฉาเทนฺติ มีความว่า ย่อมไม่ยอมไป, คือไม่สามารถจะ ระงับโรคลมได้
บทว่า สิเนสิกานิ ได้แก่ โภชนะที่สนิท.
บทว่า ภตฺตจฺฉาทเกน คือ ความไม่ย่อมแห่งอาหาร.
ในคำว่า กาเล ปฏิคฺคหิตํ เป็นต้น มีความว่า รับประเคน เจียว กรอง ในเมื่อเวลาเที่ยงยังไม่ล่วงเลยไป.
สองบทว่า เตลปริโภเคน ปริภุญฺชิตุ มีความว่า เพื่อบริโภค อย่างบริโภคน้ำมัน ซึ่งเป็นสัตตาหกาลิก.
บทว่า วจตฺถํ ได้แก่ ว่านที่เหลือ.
สองบทว่า นิสทํ นิสทโปตํ ได้แก่ ตัวหินบดและลุกหินบด.
ชื่อว่า ปัคควะ นั้น เป็นชาติไม้เถา (ได้แก่บอระเพ็ด).
บทว่า นตฺตมาลํ ได้แก่ กระถินพิมาน.
วินิจฉัยในบทว่า อจฺฉวสํ เป็นอาทิ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวใน อรรถกถาแห่งนิสสัคคิยกัณฑ์ (๑) นั่นแล.
แม้วินิจฉัยในมูลเภสัชแป็นต้น ก็ได้กล่าวแล้วในขุททกวรรณน (๒) เหมือนกัน เพราะเหตุนั้น คำใดๆ ที่ไม่ได้กล่าวแล้วในก่อน ข้าพเจ้าจัก พรรณนาเฉพาะคำนั้นๆ ในที่นี้. หิงคุ หิงคุชตุ และหิงคุสิปาฏิกา ก็คือ ชาตแห่งหิงคุนั่งเอง. ตกะ ตกปัตติ และตกปัณณิยะ ก็คือชาติครั่งนั่นเอง.
เกลือสมุทรนั้น ได้แก่ เกลือที่เกิดตามฝั่งทะเลเหมือนทราย.
ชื่อว่า กาฬโลณะ นั้น ได้แก่ เกลือตามปกติ.
เกลือสินเธาว์นั้น ได้แก่ เกลือมีสีชาว เกิดตามภูเขา.
(๑) สมนฺต. ทุติย. ๒๕๕.
(๒) สมนฺต. ทุติย. ๔๑๓.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 167
ชื่อว่า อุพภิทะ นั้น ได้แก่ เกลือที่เป็นหน่อขึ้นจากแผ่นดิน.
ชื่อว่า พิละ นั้น ได้แก่ เกลือที่เขาหุงกับเครื่องปรุงทุกอย่าง เกลือ นั้นแดง.
บทว่า ฉกนํ ได้แก่ โคมัย.
สองบทว่า กาโย วา ทุคฺคนฺโธ มีความว่า กลิ่นตัวของภิกษุ บางรูป เหมือนกลิ่นตัวแห่งสัตว์มีม้าเป็นต้น จุรณแห่งไม้ซึกและดอกดำเป็น ต้น หรือจุรณแห่งเครื่องหอมทุกๆ อย่าง ควรแก่ภิกษุแม้นั้น
บทว่า รชนนิปกฺกํ ได้แก่ กากเครื่องย้อม. ภิกษุจะตำแม้ซึ่งจุรณ ตามปกติแล้วแช่น้ำอาบ ก็ควร. แม้จุรณตามปกตินั้น ย่อมถึงความนับว่า กากเครื่องย้อมเหมือนกัน.
อมนุษย์เคี้ยวกินเนื้อดิบและดื่มเลือดสด เพราะเหตุนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า ไม่ได้เคี้ยวกินเนื้อดิบและดื่มเลือดสดนั้น. อมนุษย์ ครั้นเคี้ยวกินและดื่มแล้ว ได้ออกไป เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ จึงกล่าวว่า อาพาธเกิด แต่อมนุษย์นั้นของเธอย่อมระงับ.
คำว่า อญฺชนํ นี้ เป็นคำกล่าวครอบยาตาทั้งหมด.
บทว่า กาฬญฺชนํ ได้แก่ ชาติแห่งยาตาชนิดหนึ่ง หรือยาตาที่หุงด้วย เครื่องปรุงทุกอย่าง.
บทว่า รสญฺชนํ ได้แก่ ยาตาที่ทำด้วยเครื่องปรุงต่างๆ.
บทว่า โสตญฺชนํ ได้แก่ ยาตาที่เกิดในกระแสน้ำเป็นต้น. หรดาล กลีบทอง ชื่อเครุกะ.
ชื่อว่า กปัลละ นั้น ได้แก่ เขม่าที่เอามาจากเปลวประทีป.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 168
ชื่อว่า จันทนะ ได้แก่ จันทน์ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีจันทน์แดงเป็นต้น. เครื่องยาทาทั้งหลายมีกฤษณาเป็นต้น ปรากฏแล้ว. เครื่องยาแม้เหล่าอื่นมีอุบล เขียวเป็นต้น ย่อมควรเหมือนกัน.
บทว่า อญฺชนุปปึสเนหิ ได้แก่ เครื่องยาทั้งหลายที่จะพึงบดผสม กับยาตา. แค่เครื่องบดยาตาไรๆ จะไม่ควรหามิได้.
บทว่า อฏฺิมยํ มีความว่า ภาชนะยาตาที่แล้วด้วยกระดูกที่เหลือ เว้นกระดูกมนุษย์.
บทว่า ทนฺตมยํ ได้แก่ ภาชนะยาตาที่แล้วด้วยงา ทุกอย่างมีงาช้าง เป็นต้น.
ขึ้นชื่อว่า ภาชนะที่ไม่ควร ย่อมไม่มีในภาชนะที่ทำด้วยเขาเลย. ภาชนะ ยาคาที่แล้วด้วยไม้อ้อ เป็นต้น เป็นของควรโดยส่วนเดียวแท้.
บทว่า สลาโกธานิยํ มีความว่า ชนทั้งหลายย่อมเก็บไม้ด้ามยาตา ในที่เก็บอัน ใค เราอนุญาตที่เก็บอันนั้น เป็นกลักก็ตาม เป็นถุงก็ตาม.
บทว่า อํสวทฺธก นั้น ได้แก่ หูสำหรับสะพายแห่งถุงยาตา.
สองบทว่า ยมกํ นตฺถุกรณึ ได้แก่ กล้องยานัตถ์อันเดียวเป็น หลอดคู่ มีรูเท่ากัน.
ข้อว่า อนุชานามิ ภิกฺเว เตลปากํ มีความว่า การหุงน้ามัน ทุกชนิด เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต ให้ใส่เครื่องยาอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงได้แท้.
บทว่า อติปกฺขิตฺตมชฺชานิ มีความว่า มีน้ำเมาอันตนใส่เกิน เปรียบไป, อธิบายว่า ปรุงใส่น้ำเมามากไป.
ลมในอวัยวะใหญ่น้อย ชื่ออังควาตะ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 169
บทว่า สมฺภารเสทํ ได้แก่ การเข้ากระโจมด้วยใบไม้ที่จะพึงหักได้ ต่างๆ อย่าง.
บทว่า มหาเสทํ มีความว่า เราอนุญาตให้นึ่งร่างกายด้วยบรรจุ ถ่านไฟให้เต็มหลุม ประมาณเท่าตัวคนแล้ว กลบด้วยฝุ่นและทรายเป็นต้น ลาดใบไม้ที่แก้ลมได้ต่างๆ ชนิด บนหลุมนั้น แล้วนอนพลิกไปพลิกมาบน ใบไม้นั้น ด้วยตัวอันทาน้ำมันแล้ว.
บทว่า ภงฺโคทกํ ได้แก่ น้ำที่ต้มเดือดด้วยใบไม้ต่างๆ ที่จะพึง หักได้. พึงรดตัวด้วยใบไม้เหล่านั้นและน้ำ เข้ากระโจม.
บทว่า อุทโกฏฺกํ ได้แก่ ซุ้มน้ำ. ความว่า เราอนุญาตให้ใช้ อ่างหรือรางที่เต็มด้วยน้ำอุ่นแล้วลงในอ่างหรือรางนั้น ทำการนึ่งให้เหงือออก.
สองบทว่า ปพฺพวาโต โหติ มีความว่า ลมย่อมออกตามข้อๆ.
สองบทว่า โลหิตํ โมเจตุ มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุปล่อย โลหิตด้วยมีด.
สองบทว่า มชฺชํ อภิสงฺขริตุ มีความว่า เท้าที่ผ่าแล้ว จะหาย เป็นปกติได้ด้วยน้ำเมาใด เราอนุญาตให้ภิกษุใส่ยาต่างๆ ลงในกะลามะพร้าว เป็นต้นปรุงน้ำเมานั้น คือ ให้หุงยาเป็นท สบายแก่เท้าทั้งสอง.
สองบทว่า ติลกกฺเกน อตฺโถ มีความว่า คือการด้วยงาทั้งหลาย ที่บดแล้ว.
บทว่า กพฬิกํ มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุพอกแป้งที่ปากแผล.๑
บทว่า สาสปกุฑฺเฑน มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุชะล้างด้วย แป้งเมล็ดผักกาด.
๑. กพฬิกาติ. อปนาหเภสชฺชนฺติ วิมติวิโนทนี. ยาสำหรับพอก.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 170
บทว่า วุฑฺฒุมํสํ ได้แก่ เนื้อที่งอกขึ้นดังเดือย.
บทว่า วิกาสิกํ ได้แก่ ผ้าเก่าสำหรับกันน้ำมัน.
สองบทว่า สพฺพํ วณปฏิกมฺมํ มีความว่า ขึ้นชื่อว่าการรักษาแผล ทุกอย่างบรรดามี เราอนุญาตททั้งหมด.
สองบทว่า สามํ คเหตฺวา มีความว่า ยามหาวิกัตินี้ อันภิกษุผู้ถูก งูกัคอย่างเดียวเท่านั้น พึงถือเอาฉันเอง หามิได้ เมื่อพิษอันสัตว์กัดแล้ว แม้ อย่างอื่น ภิกษุก็พึงถือเอาฉันเองได้ แต่ในเหตุเหล่าอื่น รับประเคนแล้วเท่า นั้นจึงควร.
ข้อว่า น ปฏิคฺคาหาเปตพฺโพ มีความว่า ถ้าคูถถึงภาคพื้นแล้ว ต้องรับประเคน แต่จะถือเอาเองซึ่งคูถที่ยังไม่ถึงภาคพื้นควรอยู่. โรคที่เกิด ขึ้นแต่น้ำซึ่งสตรีให้เพื่อทำให้อยู่ในอำนาจ ชื่อว่าอาพาธเกิดแต่ยาอันหญิง แม่เรือนให้.
บทว่า สิตาโลลึ มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุเอาดินที่ติดผาลของ ผู้ไถนาด้วยไถ ละลายน้ำดื่ม.
บทว่า ทุฏฺคหณิโก มีความว่า ผู้มีไฟธาตุเผาอาหารเสีย อธิบาย ว่า อุจจาระออกยาก.
บทว่า อามิสขารํ มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุเผาข้าวสุกที่ตาก แห้งให้ไหม้ แล้วดื่มน้ำต่างที่ไหลออกจากเถ้านั้น.
บทว่า มุตฺตหริฏกํ ได้แก่ สมอไทยที่ดองด้วยมูตรโค.
บทว่า อภิสนฺนกาโย ได้แก่ มีกายเป็นโทษมาก.
บทว่า อจฺฉากญฺชิกํ ได้แก่ น้ำข้าวใส.
บทว่า อกฏยูสํ ได้แก่ น้ำถั่วเขียวต้ม ที่ไม่ข้น.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 171
บทว่า กฏากฏํ ได้แก่ น้ำถั่วเขียวต้มนั่นเอง แต่ข้นหน่อย.
บทว่า ปฏิจฺฉาทนเยน ได้แก่ รสแห่งเนื้อ.
ว่าด้วยอันโตวุตถะเป็นต้น
ข้อว่า สเจ ภิกฺขเว ปกฺกาปิ มคฺคา ชายนฺติ มีความว่าถั่วเขียว ที่ต้มแล้ว ถ้าแน้เป็นขึ้นได้ไซร้ ถั่วเขียวเหล่านั้น ภิกษุพึงฉันได้ตามสบาย ด้วยว่า ถั่วเขียวเหล่านั้น จักเป็นกัปปิยะแท้ เพราะเป็นของต้มแล้ว.
บทว่า อนโตวุตฺถํ ได้แก่ ค้างอยู่ในอกัปปิยกุฏี.
วินิจฉัยในคำว่า สามํ ปกฺกํ นี้ พึงทราบดังนี้:-
ภิกษุจะหุงต้มอามิสอย่างใดอย่างหนึ่งเองไม่ควร เฉพาะอามิสที่สุกแล้ว จะอุ่นควรอยู่.
แม้ชนทั้งหลายใส่ใบผักชีก็ดี ขิงก็ดี เกลือก็ดี ลงในข้าวต้มที่ร้อน สำหรับภิกษุนั้น ภิกษุจะคนแม้ซึ่งข้าวต้มนั้น ย่อมไม่ควร แต่จะคนด้วยคิด จะให้ข้าวต้มเย็น ควรอยู่ แม้ได้ข้าวสุกที่เป็นท้องเล็นแล้วจะปิดไว้ ย่อมไม่ ควร. แต่ถ้าชนทั้งหลายปิดแล้วถวายมา จะปิดไว้ ควรอยู่ หรือจะปิดไว้ด้วย คิดว่า ข้าวสุกจงอย่าเย็น ควรอยู่.
อนึ่ง ในนมสดและมี (นมเปรี้ยวอย่างข้น) เป็นต้น ที่เขาต้มเดือด แล้วครั้งหนึ่ง ภิกษุจะก่อไฟ ควรอยู่ เพราะการทำให้สุกอีก พระผู้มี พระภาคเจ้าทรงอนุญาต.
สองบทว่า อุกฺกปิณฺฑกาปิ ขาทนฺติ มีความว่า แมว หนู เหี้ย และพังพอน ย่อมกินเสีย.
บทว่า ทมกา นั้น ได้แก่ คนกินเดน.
สองบทว่า ตโต นีหฏํ ได้แก่ โภชนะที่ทายกนำอกจากที่ซื่งภิกษุ รับนิมนต์ฉัน
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 172
สองบทว่า วนฏฺํ โปกฺขรฏํ มีความว่า เกิดในป่า และใน กอปทุม.
บทว่า อพีชํ ได้แก่ ผลไม้ที่ยังอ่อม มีเมล็ดจะไม่งอกหน่อได้.
บทว่า นิพฺพฏพีชํ ได้แก่ ผลมะม่วงและขนุนเป็นต้น ที่จะหึง ปล้อนเมล็ดออกแล้วฉัน.
ว่าด้วยสัตถกรรมเป็นต้น
สองบทว่า ทุโรปโย วโณ มีความว่า แผลย่อมงอกยาก. คือว่า หายเป็นปกติได้โดยยาก.
สองบทว่า ทุปฺปริหารํ สติถํ มีความว่า ในที่เคย ระวังมีดยาก.
สองบทว่า สตฺถกมฺมํ วา วตฺถิกมฺมํ วา มีความว่า ในโอกาส ตามที่กำหนดแล้วไม่ควรทำการตัด หรือการผ่า หรือการเจาะ หรือการรีด ด้วยของมีดมอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นมีดก็ตาม เข็มก็ตาม หนามก็ตาม หอก ก็ตาม สะเก็ดหินก็ตาม เล็บก็ตาม เพราะกรรมมีการตัดเป็นต้นนั้นทั้งหมด ย่อมเป็นสัตถกรรมแท้.
อนึ่ง ไม่ควรทำแม้ซึ่งการบีบหัวไส้ด้วยของอย่างได้อย่างหนึ่งจะเป็น หนังก็ตาม ผ้าก็ตาม เพราะว่า การบีบนั้นทั้งหมด เป็นวัตถิกรรมเหมือนกัน
ก็ในพระบาลีนี้ คำว่า สองนิ้วโดยรอบแห่งที่แคบ นี้ตรัสหมายเอา เฉพาะสัตถกรรม. ส่วนวัตถิกรรมทรงห้ามแต่ในที่แคบเท่านั้น. แต่จะหยอด น้ำด่างก็ดี จะรัดด้วยเชือกชนิดใดชนิดหนึ่งก็ดีที่หัวไส้นั้น ควรอยู่. ถ้าหัวไส้ นั้นขาดออกด้วยน้ำด่างหรือเชือกนั้น เป็นอันขาดด้วยดี.
ถึงโรคอัณฑะโตก็ไม่ควรทำสัตถกรรม เพราะเหตุนั้น ไม่ควรทำ สัตถกรรมด้วยคิดว่า เราจะผ่าอัณฑะควักเอาเม็ดออกทำให้หายโต. แต่ในการ ย่างด้วยไฟและทายา ไม่มีการห้าม.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 173
ในทวารหนัก กรวยใบไม้และเกลียวชุดที่ทายาแล้วก็ดี หลอดไม้ไผ่ ก็ดี ซึ่งสำหรับหยอดน้ำด่าง และกรอกน้ำมัน ย่อมควร.
ว่าด้วยเนื้อที่ควรและไม่ควร
บทว่า ปวตฺตมํสํ ได้แก่ เนื้อของสัตว์ที่ตายแล้วนั้นเอง.
บทว่า มาฆาโต มีความว่า วันนั้น ใครๆ ไม่ได้เพื่อจะปลงสัตว์ น้อยหนึ่งจากชีวิต.
มีดสำหรับเชือดเนื้อเรียกว่า โปตถยิกะ.
บทว่า กิมฺปิมาย พึงตัดว่า กิมฺปิ อิมาย.
คำว่า น ภควา อุสฺสหติ มีความว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้านาง ไม่สามารถจะมาได้.
บทว่า ยตฺร หิ นาม มีความว่า ชื่อเพราะเหตุไร?
บทว่า ปฏิเวกขิ ได้แก่ วิมํสิ แปลว่า เธอพิจารณาแล้วหรือมี คำอธิบายว่า เธอสอบถามแล้วหรือ? บทว่า อปฺปฏิเวกฺขิตฺวา ได้แก่ อปฺปฏิปุจฺฉิตฺวา แปลว่าไม่ สอบถามแล้ว. ก็ถ้า ภิกษุรู้อยู่ว่า นี้เป็นเนื้อชนิดนั้น กิจที่จะสอบถาม ย่อม ไม่มี แต่เมื่อไม่รู้ ต้องถามก่อนจึงฉัน.
วินิจฉัยในคำว่า สุนมํสํ นี้ พึงทราบดังนี้:-
สุนัขป่าย่อมเป็นเหมือนสุนัขบ้าน. เนื้อสุนัขป่านั้นควร.๑
ฝ่ายสุนัขใด เกิดด้วยแม่สุนัขบ้านกับพ่อสุนัขป่าผสมกัน หรือด้วยแม่ สุนัขป่ากับพ่อสุนัขบ้านผสมกัน เนื้อของสุนัขนั้น ไม่ควร. เพราะสุนัข นั้นช่องเสพทั้งสองฝ่าย.
๑. นำจะไม่ควร.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 174
บทว่า อหิมํสํ มีความว่า เนื้อแห่งทีฆชาติซึ่งไม่มีเท้าชนิดใดชนิด หนึ่ง ไม่ควร. เนื้อราชสีห์ เป็นต้นเป็นของชัดแล้วทั้งนั้น.
ก็บรรดาอกัปปิยมังสะเหล่านั้น เนื้อมนุษย์ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงห้าม ก็เพราะมนุษย์มีชาติเหมือนตน เนื้อช้างและม้า ที่ทรงห้ามก็เพราะ เป็นราชพาหนะ เนื้อสุนัขและเนื้องูที่ทรงห้าม ก็เพราะเป็นของสกปรก เนื้อ ๕ อย่างมีเนื้อราชสีห์เป็นต้น ที่ทรงห้าม ก็เพื่อต้องการความไม่มีอันตรายแก่ คน ฉะนั้นแล.
เนื้อก็ดี กระดูกก็ดี เลือดก็ดี หนังก็ดี ขนก็ดี แห่งสัตว์ ๑๐ ชนิด มีมนุษย์เป็นต้นแหล่านี้ ไม่ควรทั้งหมด ด้วยประการฉะนี้.
เมื่อภิกษุรู้ก็ตาม ไม่รู้ก็ตาม ฉันอย่างใดอย่างหนึ่ง คงเป็นอาบัติแท้ รู้เมื่อใด พึงแสดงเมื่อนั้น. ไม่ถามก่อน รับด้วยตั้งใจว่า เราจักฉัน ต้อง ทุกกฏ แม้เพราะรับ. รับด้วยตั้งใจว่า จักถามก่อนจึงฉัน ไม่เป็นอาบัติ.
อนึ่ง เป็นอาบัติเฉพาะแก่ภิกษุผู้รู้แล้วฉันเนื้อที่เป็นอุททิสสมังสะ เธอ รู้ในภายหลัง ไม่ควรปรับอาบัติ.
ว่าด้วยทรงอนุญาตยาคูเป็นต้น
บทว่า เอกโก มีความว่า เราไม่มีเพื่อนเป็นที่สอง.
ข้อว่า ปหูตํ ยาคุญฺจ มธุโคฬิกญฺจ ปฏิยาทาเปฺวา มีความว่า ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นให้ตกแต่งยาคุเป็นต้น ใช้ทรัพย์หมดไปแสนหนึ่ง
ในที่สุดแห่งอนุโมทนาคาถา พึงทำการเชื่อมบทว่า ปตฺถยตํ อิจฺฉตํ ด้วยคำว่า อลเมว ทาตุ นี้ แปลว่า ควรแท้ที่จะให้แก่ปฏิคาหกทั้งหลาย ผู้อยากได้.
ก็ถ้า ปาฐะว่า ปตฺตยตา อิจฺฉตา มีอยู่ไซร้ ปาฐะนั้นแลพึงถือ เอา.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 175
บทว่า โภชฺชยาคุํ ได้แก่ ยาคูที่ยังการห้ามให้เกิด.
บทว่า ยทคฺเคน มีความว่า ทำยาคูใดให้เป็นต้น.
หลายบทว่า สคฺคา เต อารทฺธา มีความว่า บุญเป็นเหตุให้เกิด ในสวรรค์ ท่านได้สร้างสมแล้ว.
สองบทว่า ยถาธมฺโม กาเรตพฺโพ มีความว่า ภิกษุนั้นพึงให้ทำ ตาธรรม ด้วยปรัมปรโภชนสิกขาบท เพราะว่า การห้าม (โภชนะ) ย่อมมี เพราะยาคูที่ควรฉัน.
สองบทว่า นาหนฺตํ กจฺจาน มีความว่า ได้ยินว่า เทวดาทั้งหลาย เติมโอชะอันละเอียดลงในน้ำอ้อยงบที่เหลือนั้น น้ำอ้อยงบที่เหลือนั้น ย่อม ไม่ถึงความย่อยไปได้ สำหรับชนเหล่าอื่น; เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสอย่างนั้น.
บทว่า คิลานสฺส คุฬํ มีความว่า เราอนุญาตน้ำอ้อยงบภายหลังภัต แก่ภิกษุผู้อาพาธด้วยพยาธิเห็นปานนั้น.
บทว่า สพฺพสนฺถรึ มีความว่า อาวสถาคาร (เรือนเป็นที่พักแรม) จะเป็นสถานอันปูลาดทั่วถึงด้วยประการใด ได้ปูลาดแล้วด้วยประการนั้น.
บทว่า สุนีธวสฺสการา ได้แก่ พราหมณ์ ๒ คน คือ สุนีธะ ๑ วัสสการะ ๑ เป็นมหาอำมาตย์ของพระเจ้าแผ่นดินมคธ.๑
สองบทว่า วชฺชีนํ ปฏิพาหาย มีความว่า เพื่อต้องการตัดทาง เจริญแห่งราชสกุลแคว้นวัชชีเสีย.
บทว่า วตฺถูนิ ได้แก่ ที่ปลูกเรือน.
๑. ดูความพิสดารในมหาปรินิพพานสูตร ที. มหา. ๑๐/๘๕.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 176
หลายบทว่า จิตฺตานิ นมนฺติ นิเวสนานิ มาเปตุํ มีความว่า ได้ ยินว่า เทวดาเหล่านั้น สิงในสรีระของชนทั้งหลาย ผู้รู้ท่านายชัยภูมิ แล้ว น้อมจิตไปอย่างนั้น.
ถามว่า เพราะเหตุไร?
แก้ว่า เพราะเทวดาทั้งหลายนั้น จักกระทำสักการะตามสมควรแก่เรา ทั้งหลาย.
บทว่า ตาวตึเสหิ มีความว่า ได้ยินว่า เสียงที่ว่า บัณฑิตทั้งหลาย ชาวดาวดึงส์ หมายเอาท้าวสักกเทวราชและพระวิสสุกรรมเฟื่องฟุ้งไปโนโลก เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ตาวตึเสหิ. อธิบายว่า สุนีธอมาตย์ และวัสสการอมาตย์นั้นราวกับได้หารือเทพเจ้าชาวดาวดึงส์แล้ว จึงได้สร้าง.
บทว่า ยาวตา อริยานํ อายตนํ มีความว่า ชื่อว่าสถานเป็นที่ ประชุมแห่งมนุษย์ผู้เป็นอริยะทั้งหลาย มีอยู่เท่าใด.
บทว่า ยาวตา วณิชฺชปโถ มีความว่า ชื่อว่า สถานเป็นที่ซื้อและ ขาย ด้วยอำนาจแห่งกองสินค้าที่นำมาแล้วนั่นเทียว ของพ่อค้าทั้งหลาย มีอยู่ เท่าใด.
สองบทว่า อิทํ อคฺคนครํ มีความว่า เมืองปาฏลีบุตร ซึ่งเป็นแดน แห่งพระอริยะ เป็นสถานแห่งการค้าขาย ของมนุษย์เหล่านั้น นี้จักเป็นเมือง ยอด.
บทว่า ปุฏเภทนํ ได้แก่ เป็นสถานที่แก้ห่อสินค้า. มีคำอธิบายว่า จักเป็นสถานทีแก้มัดสินค้าทั้งหลาย.
วินิจฉัยบทว่า อคฺคิโต วา เป็นต้น พึงทราบดังนี้:-
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 177
วา ศัพท์ ใช้ในสมุจจัยถะ จริงอยู่ บรรดาส่วนเหล่านั้น อันตราย จักมีแก่ส่วนหนึ่ง จากไฟ, แก่ส่วนหนึ่ง จากน้ำ, แก่ส่วนหนึ่ง จากภายใน คือ ความแตกแยกแห่งกันและกัน.
บทว่า อุฬุมฺปํ ได้แก่ ชลพาหนะที่เขาทำตอกลิ่นสลัก เพื่อประโยชน์ แก่การข้ามฟาก.
บทว่า กุลฺลํ ได้แก่ ชลพาหนะที่เขาทำผูกมัดด้วยเถาวัลย์เป็นต้น.
คำว่า อณฺณว นี้ เป็นชื่อของอุทกสถาน ทั้งลึกทั้งกว้าง ราวโยชน์ หนึ่ง โดยกำหนดอย่างต่ำที่สุดแห่งกำหนดทั้งปวง.
แม่น้ำ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์ในบทว่า สรํ นี้. มีคำอธิบาย ว่า ชนเหล่าใดจะข้ามสระ คือ ตัณหา ทั้งลึกทั้งกว้าง ชนเหล่านั้น ทำสะพาน กล่าวคือ อริยมรรค สละ คือ ไม่แตะต้องเลยซึ่งสระน้อยทั้งหลาย จึงข้าม สถานอันลุ่มเต็มด้วยน้ำได้, ก็ชนนี้ แม้ปรารถนาจะข้ามน้ำ มีประมาณน้อยนี้ ย่อมผูกแพแล, ส่วนพระพุทธเจ้า และพระพุทธสาวกทั้งหลาย เป็นชนผู้มี ปัญญา เว้น แพเสียทีเดียว ก็ข้ามได้.
บทว่า อนนุโพธา มีความว่า เพราะไม่ตรัสรู้.
บทว่า สนฺธาวิตํ มีความว่า แล่นไปแล้ว ด้วยอำนาจที่ออกจาก ภพไปสู่ภพ.
บทว่า สํสริตํ มีความว่า ท่องเที่ยวไปแล้ว ด้วยอำนาจการไป บ่อยๆ.
สองบทว่า มมญฺเจว ตุมฺหากญฺจ คือเราด้วย ท่านทั้งหลายด้วย. อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นความในคำว่า สนฺธาวิตํ สํสริตํ นี้ อย่างนี้ว่า ความ แล่นไป ความท่องเที่ยวไป ได้มีแล้วแก่เราด้วย แก่ท่านทั้งหลายด้วย.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 178
บทว่า สํสิตํ ได้แก่ ท่องเที่ยว.
สองบทว่า ภวเนตฺตี สมูหตา มีความว่า เชือกคือตัณหาเป็นเหตุ ไป คือแล่นจากภพ (ไปสู่ภพ) อันเราทั้งหลายกำจัด คือตัด ได้แก่ทำให้เป็น ไปไม่ได้ด้วยดีแล้ว.
เรื่องเจ้าลิจฉวี
คำว่า เชียว นี้ เป็นคำรวบรัดเอาส่วนทั้งปวงเข้าไว้.
บทว่า นีลวณฺณา เป็นต้น ท่านกล่าวเพื่อแสดงวิภาคแห่งคำว่า เขียว นั้นแล. ในบรรดาสีเหล่านั้น สีเขียวเป็นสีปกติของเจ้าลิจฉวี เหล่านั้น หามิได้ คำว่า เขียว นั้น ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งข้อที่เครื่องไล้ทาเขียว เป็นของ งดงาม.
บทว่า ปฏิวฏฺเฏสิ ได้แก่ ปหาเรสิ แปลว่า โดน.
สองบทว่า สาหารํ ทชฺเชยฺยาถ มีความว่า พึงประทานกรุงเวสาลี กับทั้งชนบท.
สองบทว่า องฺคุลี โปเถสุํ มีความว่า ได้ทรงสั่นพระองคุลี.
บทว่า อมฺพกาย ได้แก่ อิตฺถิกาย แปลว่า อันหญิง.
บทว่า โอโลเกถ คือ จงเห็น.
บทว่า อปโลเกถ คือ จงดูบ่อยๆ.
บทว่า อุปสํหรถ ได้แก่ จงเทียบเคียง อธิบายว่า จงเทียบลิจฉวี บริษัทนี้ ด้วยบริษัทแห่งเทพเจ้าชั้นดาวดึงส์ ด้วยจิตของท่านทั้งหลาย คือว่า จงดูทำให้สมกันแก่เทพเจ้าชั้นดาวดึงส์.
ว่าด้วยอุททิสสมังสะ
ข้อว่า ธมฺมสฺส จ อนุธมฺมํ พฺยากโรนฺติ มีความว่า ชนเหล่า นั้น ย่อมกล่าวเหตุสมควรแก่เหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วแลหรือ?
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 179
สองบทว่า สหธมฺมิโก วาทานุวาโท มีความว่า ก็วาทะของพระองค์ เป็นเหตุซึ่งชนเหล่าอื่นกล่าวแล้ว บางอย่าง คือ แม้มีประมาณน้อย ไม่มา ถึงเหตุที่วิญญูชนจะพึงติเตียนหรือ? มีคำอธิบายว่า วาทะเป็นประธานของ พระองค์ ที่เป็นเหตุน่าติเตียนไม่มี แม้โดยเหตุทั้งปวงหรือ?
บทว่า อนพฺภกฺขาตุกามา มีความว่า ข้าพเจ้า ไม่มีประสงค์จะ กล่าวข่ม
บทว่า อนุวิจฺจการํ มีคำอธิบายว่า ท่านจงทำการที่พึงรู้ตาม คือ คิด พิจารณาแล้ว จึงทำ.
บทว่า าตมนุสฺสานํ ได้แก่ (มนุษย์) ผู้มีชื่อเสียงในโลก.
สองบทว่า สาธุ โหติ มีความว่า จะเป็นความดี.
สองบทว่า ปฏากํ ปริหเรยฺยุํ มีความว่า อัญญเดียรถีย์ทั้งหลาย พึงยกธงแผ่นผ้า เที่ยวเป่าร้องในเมือง.
ถามว่า เพราะเหตุไร?
ตอบว่า เพราะพวกเขาคิดว่า ความเป็นใหญ่จักมีแก่พวกเราด้วย อุบายอย่างนี้.
บทว่า โอปานภูตํ มีความว่า (สกุลของท่าน) แต่งไว้แล้ว คือ เตรียมไว้แล้วเป็นดุจบ่อน้ำ.
บทว่า กุลํ ได้แก่ นิเวศน์.
สองบทว่า ทาตพฺพํ มญฺเยฺยาสิ มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทักเตือนว่า ท่านอย่าตัดไทยธรรมของนิครนถ์เหล่านั้นเสียเลย แต่ท่านพึง สำคัญซึ่งไทยธรรม อันตนควรให้แก่นิครนถ์เหล่านั้น ผู้มาถึงเข้าแล้ว.
บทว่า โอกาโร ได้แก่ ความกระทำต่ำ คือ ความเป็นของทราม.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 180
บทว่า สามุกฺกํสิกา ได้แก่ (ธรรมเทศนา) ที่พระองค์เองทรงยก ขึ้น อธิบายว่า ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกเหล่าอื่น.
บทว่า อุทฺทิสฺสกตํ ได้แก่ มังสะที่เขาทำเฉพาะตน.
บทว่า ปฏิจฺจกมฺมํ มีความว่า มังสะที่เขาเจาะจงตนกระทำอีกอย่าง หนึ่ง คำว่า ปฏิจจกรรม นี้ เป็นชื่อของนิมิตกรรม. แม้มังสะ ท่านเรียกว่า ปฏิจจกรรม นี้ เป็นชื่อของนิมิตกรรม. แม้มังสะ ท่านเรียกว่า ปฏิจจกรรม ก็เพราะเหตุว่า ในมังสะนี้มีปฏิจจกรรมนั้น. จริงอยู่ ผู้ใดบริโภคมังสะเห็น ปานนั้น. ผู้นั้น ย่อมเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น อธิบายว่า กรรม คือ การ ฆ่าสัตว์ย่อมมีแม้แก่ผู้นั้น เหมือนมีแก่ผู้ฆ่าเอง.
บทว่า น ชีรนฺติ มีความว่า ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น เมื่อกล่าวตู่อยู่ ชื่อย่อมไม่สร่างไป อธิบายว่า ย่อมไม่มีถึงที่สุดแห่งการกล่าวตู่. กถาแสดง มังสะมีความบริสุทธิ์โดยส่วนสาม ได้กล่าวไว้แล้วในอรรถกถาแห่งสังฆเภท สิกขาบท๑
ว่าด้วยกัปปิยภูมิ
บทว่า ปจฺจนฺติมํ นี้ สักว่าตรัส แต่ว่า ถึงวิหารใกล้ก็ควรจะสมมติ ได้ เพราะพระบาลีที่ตรัสไว้ว่า ยํ สงฺโฆ อากงฺขติ แปลว่า สงฆ์หวังจะ สมมติที่ใด แม้จะไม่สวดกรรมวาจา สมมติด้วยอปโลกน์แทน ก็ควรเหมือน กัน.
บทว่า สกฏปริวตฺตกํ มีความว่า พักอยู่ ประหนึ่งทำให้ห้อมล้อม ด้วยเกวียนทั้งหลาย.
๑. สมนฺต. ทุติย. ๑๑๕.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 181
บทว่า กาโกรวสทฺทํ ได้แก่ เสียงร้องก้องแห่งกาทั้งหลายซึ่งประชุม กัน แต่เช้ามืดทีเดียว เพื่อต้องการจะกินเหยื่อที่เขาทิ้งแล้ว ในที่นั้นๆ. พระเถระชื่อยโสชะ เป็นบุรุษเลิศแห่งบรรพชิตห้าร้อย ในเวลาจบกปิลสูตร.
วินิจฉัยในบทว่า อุสฺสาวนนฺติกํ เป็นต้น พึงทราบดังนี้:-
กัปปิยภูมิ ชื่ออุสสาวนันติกา พึงทำก่อนอย่างนี้ ที่อยู่ใด เขาทำเสียบ บนเสาหรือในเชิงฝา ศิลาที่รองเสาภายใต้ที่อยู่นั้น มีคติอย่างพื้นดินเหมือนกัน.
ก็แล เมื่อจะให้ทั้งเสาแรก หรือเชิงฝาแรก ภิกษุหลายรูปพึงล้อม กันเข้า เปล่งวาจาว่า กปฺปิยกุฏิ กโรม แปลว่า เราทำกัปปิยกุฏิ เมื่อชน ทั้งหลายช่วยกันยกขึ้นให้ตั้งลง พึงจับเองหรือยกเองก็ได้ ให้ตั้งเสาหรือเชิงฝา.
ส่วนในกุรุนทีและมหาปัจจรี ท่านแก้ว่า ภิกษุทั้งหลาย พึงให้ตั้งลง กล่าวว่า กัปปิยกุฏิ กัปปิยกุฏิ.
ในอันธกอรรถกถา แก้ว่า พึงกล่าวว่า สงฺฆสฺส กปฺปิยกุฏึ อธิฏฺามิ แปลว่า ข้าพเจ้า อธิษฐานกัปปิยกุฏิเพื่อสงฆ์. แต่ถึงแม้จะไม่ กล่าวคำนั้น ย่อมไม่มีโทษในเพราะคำที่กล่าวแล้ว ตามนัยที่กล่าวไว้ในอรรถกถาทั้งหลายเท่านั้น. แต่ในอธิการว่าด้วยการทำกัปปิยภูมิ ชื่ออนุสสาวนันติกานี้ มีลักษณะที่ทั่วไปดังนี้ ขณะที่เสาตั้งลง และขณะที่จบคำ เป็นเวลาพร้อมกัน ใช้ได้. แต่ถ้า เมื่อคำยังไม่ทันจบ เสาตั้งลงก่อน หรือเมื่อเสานั้นยังไม่ทัน ตั้งลง คำจบเสียก่อน. กัปปิยกุฏิ ไม่เป็นอันได้ทำ. เพราะเหตุนั้นแล ใน มหาปัจจรี ท่านจึงแก้ว่า ภิกษุมากองค์ด้วยกัน พึงล้อมกันเข้าแล้วกล่าว. ด้วยว่า ความจบคำและความตั้งลงแห่งเสาของภิกษุรูปหนึ่ง ในภิกษุเหล่านี้ จักมีพร้อมกันได้เป็นแน่ ก็แล ในกุฎีทั้งหลายที่มีฝาก่อด้วยอิฐ ศิลาหรือดิน ข้างใต้ถุนจะก่อก็ตามไม่ก่อก็ตาม ภิกษุทั้งหลายปรารถนาจะให้ตั้งฝาขึ้นตั้งแต่
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 182
อิฐหรือศิลา หรือก้อนดินอันใด พึงถือเอาอิฐหรือศิลา หรือก้อนดินอันนั้น ก่อนอันอื่นทั้งหมด ทำกัปปิยกุฏิตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล แต่อิฐเป็นต้น ที่ ก่อขึ้นบนพื้นภายใต้แห่งอิฐก้อนแรกเป็นต้นแห่งฝา ไม่ควร. ส่วนเสาย่อมขึ้น ข้างบน เพราะเหตุนั้น เสาจึงควร.
ในอันธกอรรถกถาแก้ว่า จริงอยู่ เมื่อใช้เสา พึงอธิษฐานเสา ๔ ต้นที่ ๔ มุม เมื่อใช้ฝาที่ก่ออิฐเป็นต้น พึงอธิษฐานอิฐ ๒๓ แผ่นที่ ๔ มุม. แต่ถึง กัปปิยกุฏิที่ไม่ทำอย่างนั้น ก็ไม่มีโทษ เพราะว่าคำที่กล่าวไว้ในอรรถกถาทั้งหลาย เท่านั้น ย่อมเป็นประมาณ.
กัปปิยกุฏิ ชื่อ โคนิสาทิกา มี ๒ อย่าง คือ อารามโคนิสาทิกา ๑ วิหารโคนิสาทิกา ๑. ใน ๒ อย่างนั้น ในวัดโค อารามก็ไม่ได้ล้อม เสนาสนะ ทั้งหลายก็ไม่ล้อม วัดนี้ ชื่ออารามโคสาทิกา, ในวัดใด เสนาสนะล้อมทั้งหมด หรือล้อมบางส่วน อารามไม่ได้ล้อม วัดนี้ชื่อวิหารโคนิสาทิกา. ข้อที่อาราม ไม่ได้ล้อมนั่นแล เป็นประมาณในโคนิสาทิกาทั้ง ๒ อย่าง ด้วยประการฉะนี้. แต่ในกุรุนที่และมหาปัจจรีแก้ว่า อารามที่ล้อมกึ่งหนึ่งก็ดี ล้อมมากกว่ากึ่งก็ดี จัดเป็นอารามที่ล้อมได้. ในอารามที่ล้อมกึ่งหนึ่งเป็นต้นนี้ ควรจะได้กัปปิยกุฏิ.
บทว่า คหปติ มีความว่า ชนทั้งหลายทำอาวาสแล้วกล่าวว่า ข้าพเจ้า ถวายกัปปิยกุฏิ ขอท่านจงใช้สอยเถิด กัปปิยกุฏินี้ ชื่อ คฤหบดี. แม้เขากล่าว ว่า ข้าพเจ้าถวายเพื่อทำกัปปิยกุฏิ ดังนี้ ย่อมควรเหมือนกัน. ส่วนในอันธก อรรถกถาแก้ว่า ของที่รับจากมือของสหธรรมิกที่เหลือเว้นภิกษุเสีย และของ เทวดาและมนุษย์ทั้งปวง ของเป็นสันนิธิและของที่ค้างภายใน เป็นของๆ สหธรรมิกที่เหลือ และของเทวดามนุษย์เหล่านั้น ย่อมควรแก่ภิกษุ เพราะเหตุ นั้น เรือนแห่งสหธรรมิกเหล่านั้น หรือกัปปิยกุฏิที่สหธรรมิกเหล่านั้น ถวาย
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 183
จึงเรียกว่า คฤหบดี. มิใช่แต่เท่านั้น ท่านยังกล่าวอีกว่า เว้นวัดของภิกษุสงฆ์ เสีย ที่อยู่ของพวกนางภิกษุณี หรือของพวกอารามิกบุรุษ หรือของพวก เดียรถีย์ หรือของเหล่าเทวดา หรือของพวกนาค หรือแม้วิมานแห่งพวกพรหม ย่อมเป็นกัปปิยกุฏิได้ คำนั้นท่านกล่าวชอบ เพราะว่า เรือนเป็นของสงฆ์เอง ก็ดี เป็นของภิกษุก็ดี เป็นกุฏิของคฤหบดี ไม่ได้.
กัปปิยกุฏิ ที่ภิกษุสวดประกาศทำด้วยกรรมวาจา ชื่อสัมมตกาฉะนั้นแล.
อามิสใดค้างอยู่ในกัปปิยภูมิ ๔ เหล่านี้ อามิสนั้นทั้งหมด ไม่นับว่า อันโตวุตถะ เพราะว่า กัปปิยกุฏิ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตเพื่อปลด เปลื้องอันโตวุตถะและอันโตปักกะ ของภิกษุและภิกษุณีทั้งหลาย ส่วนอามิสใด เป็นของสงฆ์ก็ดี เป็นของบุคคลก็ดี เป็นของภิกษุหรือภิกษุณีก็ดี ซึ่งเก็บค้าง ไว้ในเรือน ซึ่งพอจะเป็นอาบัติเพราะสหไสยได้ ในอกัปปิยภูมิ ค้างอยู่แม้ราตรี เดียว อามิสนั้นเป็นอันโตวุตถะ และอามิสที่ให้สุกในเรือนนั้น ย่อมจัดเป็น อันโตปักกะ อามิสนั้นไม่ควร. แต่ของที่เป็นสัตตาหกาลิกและยาวชีวิกควรอยู่
วินิจฉัยในอันโตวุตถะและอันโตปักกะนั้น พึงทราบดังนี้:-
สามเณรนำอามิสมีข้าวสารเป็นต้น ของภิกษุมาเก็บไว้ในกัปปิยกุฏิ รุ่งขึ้น หุงถวาย อามิสนั้น ไม่เป็นอันโตวุตถะ.
สามเณรเอาของสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีเนยใสเป็นต้น ที่เก็บไว้ในอกัปปิยกุฎิ ใส่ลงในอามิส มีข้าวสุกเป็นต้นนั้นถวาย อามิสนั้นจัดเป็นมุขสันนิธิ. แต่ใน มหาปัจจรีแก้ว่า อามิสนั้นเป็นอันโตวุตถะ. ความกระทำต่างกันในมุขสันนิธิ และอันโตวุตถะนั้น ก็เพียงแต่ชื่อเท่านั้น.
ภิกษุเอาเนยใสที่เก็บไว้ในอกัปปิยกุฏิและผักที่เป็นยาวชีวิกทอดเข้าด้วย กันแล้วฉัน ผักนั้นเป็นของปราศจากอามิส ควรฉันได้เจ็ดวัน. ถ้าภิกษุฉันปน กับอามิส ผักนั้นเป็นอันโตวุตถะด้วย เป็นสามปักกะด้วย. ความระคนกันแห่ง กาลิกทุกอย่าง พึงทราบโดยอุบายนี้.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 184
ถามว่า ก็กัปปิยกุฏิเหล่านี้ เมื่อไรจะละวัตถุเล่า?
ตอบว่า ควรทราบอุสสาวนันติกาก่อน กัปปิยกุฏิใดที่เขาทำเสียบบน เสา หรือในเชิงฝา กัปปิยกุฏินั้น จะละวัตถุ ต่อเมื่อเสาและเชิงฝาทั้งปวงถูก รื้อเสียแล้ว. แต่ชนทั้งหลายเปลี่ยนเสาหรือเชิงฝาเสีย เสาหรือเชิงฝาใด ยังคงอยู่ กัปปิยกุฏิย่อมตั้งอยู่บนเสาหรือเชิงฝานั้น แต่ย่อมละวัตถุ ต่อเมื่อเสาหรือเชิงฝา ถูกเปลี่ยนแล้วทั้งหมด. กัปปิยกุฏิที่ก่อด้วยอิฐเป็นต้น ย่อมละวัตถุ ในเวลาที่ วัตถุต่างๆ เป็นต้นว่าอิฐหรือศิลาหรือก้อนดิน ที่วางไว้เพื่อรองฝาบนที่ซึ่ง ก่อขึ้น เป็นของพินาศไปแล้ว. ส่วนกัปปิยกุฏิที่อธิษฐานด้วยอิฐเป็นต้นเหล่าใด เมื่ออิฐเป็นต้น เหล่านั้น แม้ถูกรื้อเสียแล้ว แต่อิฐเป็นต้นอื่นจากอิฐเดิมนั้น ยังคงที่อยู่ กัปปิยกุฏิ ยังไม่ละวัตถุก่อน. กัปปิยกุฏิชื่อโคนิสาทิกา ย่อมละวัตถุ ต่อเมื่อเขาทำการล้อมด้วยกำแพงเป็นต้น ภิกษุควรได้กัปปิยกุฏิในอารามนั้นอีก. แต่ถ้า เครื่องล้อมมีกำแพงเป็นต้นเป็นของพังไปที่นั้นๆ แม้อีก โคทั้งหลาย ย่อมเข้าไปทางที่พังนั้นๆ กุฏินั้น ย่อมกลับเป็นกัปปิยกุฏิอีก. ส่วนกัปปิยกุฏิ ๒ ชนิดนอกนี้ จะละวัตถุ ต่อเมื่อเครื่องมุงทั้งปวงผุพังหมดไปเหลือแต่เพียง กลอน. ถ้าบนกลอนทั้งหลาย ยังมีเครื่องมุงเป็นผืนติดกันเป็นแถบ แม้ หย่อมเดียว ยังรักษาอยู่.
ถามว่า ก็ในวัดใด ไม่มีกัปปิยภูมิทั้ง ๔ เหล่านี้ ในวัดนั้นจะพึงทำ อย่างไร?
ตอบว่า ภิกษุพึงให้แก่อนุปสัมบัน ทำให้เป็นของเธอแล้วฉัน. ในข้อนั้น มีเรื่องสาธก ดังนี้:-
ได้ยินว่า พระกรวิกติสสเถระผู้หัวหน้าแห่งพระวินัยธร ได้ไปสู่สำนัก ของพระมหาสิวัตเถระ. ท่านเห็นหม้อเนยใสด้วยแสงประทีปจึงถามว่า นั่นอะไร ขอรับ?
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 185
พระเถระตอบว่า ผู้มีอายุ หม้อเนยใส เรานำมาจากบ้านเพื่อต้องการ ฉันเนยใส ในวันที่มีอาหารน้อย.
ลำดับนั่น พระติสสเถระจึงบอกกับท่านว่า ไม่ควร ขอรับ.
ในวันรุ่งขึ้น พระเถระจึงให้เก็บไว้ที่หน้ามุข. รุ่งขึ้นอีกวันหนึ่ง พระติสสเถระมาเห็นหม้อเนยใสนั้น จึงถามอย่างนั้นแล้ แล้วบอกว่าการเก็บไว้ ในที่ซึ่งควรเป็นอาบัติเพราะสหไสย ไม่สมควร ขอรับ
รุ่งขึ้น พระเถระให้ยกออกไปเกิบไว้ข้องนอก. พวกโจรลักหม้อเนยใส นั้นไป. ท่านจึงพูดกะพระติสสเถระผู้มาในวันรุ่งขึ้นว่า ผู้มีอายุ เมื่อท่านบอก ว่า ไม่ควร หม้อนั้นเก็บไว้ข้างนอก ถูกพวกโจรลักไปแล้ว.
ลำดับนั้น พระติสสเถระ จึงแนะท่านว่า หม้อเนยใสนั้นพึงเป็นของ อันท่านควรให้แก่อนุปสัมบันมิใช่หรือ ขอรับ? เพราะว่าครั้นให้แก่อนุปสัมบัน แล้ว จะทำให้เป็นของฉัน ก็ย่อมควร.
ว่าด้วยปัญจโครสและเสบียงทาง
เรื่องเมณฑกเศรษฐี ชัดเจนแล้ว.
ก็แต่ว่า ในเรื่องเมณฑกเศรษฐีนี้ คำว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว ปญฺจ โครเส มีความว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุฉันโครส ๕ เหล่านี้ ด้วยการบริโภคแผนกหนึ่งบ้าง.
วินิจฉัยในคำว่า ปาเถยฺยํ ปริเยสิตุํ นี้ พึ่งทราบดังต่อไปนี้:-
ถ้าชนบางพวกทราบแล้วถวายเองทีเดียว อย่างนั้นนั่น เป็นการดี ถ้า เขาไม่ถวาย พึงแสวงหาจากสำนักญาติและคนปวารณาหรือด้วยภิกขาจารวัตร, เมื่อไม่ได้ด้วยอาการอย่างนั้น พึงขอจากสำนักแห่งคนที่ไม่ใช่ผู้ปวารณาก็ได้. ในทางที่จะต้องไปเพียงวันเดียว พึงแสวงหาเสบียงเพื่อประโยชน์แก่อาหาร
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 186
วันเดียว. ในทางไกล ตนจะข้ามกันดารไปได้ด้วยเสบียงเท่าใด พึงแสวงหา เท่านั้น.
ว่าด้วยน้ำอัฏฐบาน
สองบทว่า กาเชหิ คาหาเปตฺวา มีความว่า ใช้คนให้ขนหม้อน้ำ ผลพุทรา ซึ่งปรุงดีแล้ว พันหม้อ ด้วยหาบห้าร้อย.
คำว่า เอตสฺมึ นิทาเน เอตสฺมึ ปกรเณ ธมฺมึ กถํ กตฺวา มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา โดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุทั้งหลาย ดีละ เมื่อเธอไม่ดื่มน้ำปานะ ชื่อว่าไม่ยังวาทะให้เกิดขึ้นว่า พวกสาวกของ พระสมณโคดม เป็นผู้มักมากด้วยปัจจัย, และชื่อว่า ได้ทำความเคารพในเรา, และชื่อว่า ท่านทั้งหลายได้ยังคาวาม เคารพอันดีให้เกิดแก่เรา เราเลื่อมใสเป็น อย่างดี ด้วยเหตุนี้ ของท่านทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้ แล้วตรัสคำเป็น ต้นว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต น้ำปานะ ๘ อย่าง.
บรรดาน้ำปานะ ๘ อย่างนั้น อัมพปานะนั้น ได้แก่น้ำปานะที่ทำด้วย น้ำผลมะม่วงดิบหรือสุก. ในมะม่วงดิบและมะม่วงสุก ๒ อย่างนั้น เมื่อจะทำ ด้วยมะม่วงดิบ พึงทุบมะม่วงอ่อนแช่น้ำ ผึ่งแดดให้สุกด้วยแสงอาทิตย์ แล้ว กรอง ปรุงด้วยน้ำผึ้ง น้ำตาลกรวดและการบูรเป็นต้น ที่รับประเคนในวันนั้น. อัมพปานะที่ภิกษุทำอย่างนี้ ย่อมควรในปุเรภัตเท่านั้น. ส่วนอัมพปานะที่พวก อนุปสัมบันทำ ซึ่งภิกษุได้มารับประเคนในปุเรภัต ย่อมควร แม้ด้วยบริโภค เจืออามิสในปุเรภัต, ที่รับประเคนในปัจฉาภัต ย่อมควร โดยบริโภค ปราศจากอามิส จนถึงเวลาอรุณขึ้น. ในน้ำปานะทุกชนิดก็นัยนี้.
อนึ่ง ในน้ำปานะเหล่านั้น ชัมพุปานะ นั้น ได้แก่ น้ำปานะที่ทำ ด้วยผลหว้า.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 187
โจจปานะ นั้น ได้แก่ น้าปานะที่ทำด้วยผลกลัวมีเมล็ด.
โมจปานะ นั้น ได้แก่ น้าปานะที่ทำด้วยผลกลัวไม่มีเมล็ด.
มธุกปานะ นั้น ได้แก่ น้ำปานะที่ทำด้วยรสชาติแห่งผลมะซาง. และ มธุกปานะ นั้น เจือนำจึงควร ล้วนๆ ไม่สมควร
มุททิกปาระ นั้น ได้แก่ น้ำปานะที่เขาคั้นผลจันทน์ในน้ำทำเหมือน อัมพปานะ.
สาลุกปานะ นั้น ได้แก่ น้ำปานะที่เขาคั้นเง่าอุบลแดงและอุบล เขียวเป็นต้นทำ.
ผารุสกปานะ นั้น ได้แก่ น้ำปานะที่ทำด้วยผลมะปราง อย่าง อัมพปานะ. อัฏฐบานเหล่านี้ เย็นก็ดี สุกด้วยแสงอาทิตย์ก็ดี ย่อมควร. สุกด้ายไฟไม่ควร.
ว่าด้วยรส ๔ อย่าง
ธัญญผลรส นั้น ได้แก่ รสแห่งข้าว ๗ ชนิด (๑)
ฑากรส นั้น ได้แก่ รสแห่งผักที่สุก. จริงอยู่ รสแห่งผักที่เป็น ยาวกาลิก ย่อมควรในปุเรภัตเท่านั้น. รสแห่งผักที่เป็นยาวชีวิกที่สุกพร้อมกับ เนยใสเป็นต้น ที่รับประเคนเก็บไว้ ควรฉันได้เจ็ดวัน. แต่ถ้ารสแห่งผักนั้น สุกด้วยน้ำล้วน ควรฉันได้จนตลอดชีวิต. ภิกษุจะต้มผักที่เป็นยาวชีวิกนั้นให้สุก พร้อมกับนมสดเป็นต้นเองไม่ควร. แม้ที่ชนเหล่าอื่นให้สุกแล้ว ย่อมนับว่ารส ผักเหมือนกัน. ส่วนในกุรุนที แก้ว่า รสแม้แห่งผักซึ่งเป็นยาวกาลิก ที่คั้น ในน้ำเย็นทำก็ดี สุกด้วยแสงอาทิตย์ก็ดี ย่อมควร.
(๑) ๑. สาลิ (ศาลิ) ข้าสาลี rice ๒. วีหิ (วฺรีหิ) ข้าวเปลือก rice. pabby ๓. กุทรูส (กุทรุษ) หญ้ากับแก้ ข้าวชนิดหนึ่ง a kind of grain ๔. โคธูม (โคธูม) ข้าวละมาน wheat. ๕. วรก (วรก) ลูกเดือย the bean phaseolus trilobus. ๖. ยว (ยว) ข้าวยวะ corn barleys. ๗. กงฺคุ (กงฺคุ) ข้าวฟ่าง panic seed.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 188
วินิจฉัยในข้อว่า เปตฺวา มธุกปุปฺผรสํ นี้ พึงทราบดังนี้:-
รสดอกมะซางจะสุกด้วยไฟ หรือสุกด้วยแสงอาทิตย์ก็ตามย่อมไม่ควร ในปัจฉาภัต ชนทั้งหลายถือเอารสดอกไม้อันใดซึ่งสุกแล้ว ทำให้เป็นน้ำเมา รสแห่งดอกไม้นั้น ย่อมไม่ควรแต่ต้น แม้ในปุเรภัต. ส่วนดอกมะซาง จะ สดหรือแห้ง หรือคั่วแล้ว หรือคลุกน้ำอ้อยแล้วก็ตามที เขายังไม่ทำให้เป็น น้ำเมา จำเดิมแต่ดอกชนิดใด ดอกชนิดนั้นทั้งหมด ย่อมควรในปุเรภัต รส อ้อยที่ไม่มีกาก ควรในปัจฉาภัต. รส ๔ อย่างเหล่านั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงอนุญาตน้ำปานะ ได้ทรงอนุญาตไว้ด้วยประการฉะนั้นแล.
ว่าด้วยผักและแป้ง
เรื่องแห่งมัลละชื่อโรชะ ชัดเจนแล้วทั้งนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า สพฺพญฺจ ฑากํ ได้แก่ ผักชนิดใด ชนิดหนึ่ง ซึ่งทอดด้วยเนยใสเป็นต้นก็ดี ไม่ได้ทอดก็ดี.
บทว่า ปิฏฺขาทนียํ ได้แก่ ของควรเคี้ยวที่แล้วด้วยแป้ง. ได้ยิน ว่า เจ้าโรชะให้ตกแต่งของทั้งสองอย่างนี้ สิ้นทรัพย์ไปแสนหนึ่ง.
สองบทว่า สงฺครํ อกํสุ มีความว่า ได้ทำข้อบังคับ.
หลายบทว่า อุฬารํ โข เต อิทํ มีความว่า การต้อนรับพระผู้มี พระภาคเจ้าของท่านนี้ เป็นกิจดีแล.
หลายบทว่า นาหํ ภนฺเต อานนฺท พหุกโต มีความว่าเจ้าโรชะ นั้น แสดงว่า เราจะได้มาที่นี่ด้วยความเลื่อมใสและความนับถือมาก ซึ่งเป็น ไปในพระพุทธเจ้าเป็นต้น หามิได้.
เรื่องภิกษุเคยเป็นช่างโกนผม
บทว่า มญฺชุกา ได้แก่ เป็นผู้มีถ้อยคำไพเราะ.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 189
บทว่า ปฏภาเฌยฺยกา มีความว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยไหวพริบใน ศิลปะของตน.
บทว่า ทกฺขา เป็นผู้ฉลาดหรือเป็นผู้ไม่เกียจคร้าน.
บทว่า ปริโยทาตสิปฺปา ได้แก่ ผู้มีศิลปะหาโทษมิได้.
บทว่า นาฬิยาวาปเกน ได้แก่ ทะนานและถึง. มีคำอธิบายว่า ชนทั้งหลายย่อมกรอก คือ ย่อมใส่ข้าวสารที่ได้แล้วๆ ในภาชนะใด ภาชนะ นั้น ชื่อ อาวาปกะ แปลว่า ถุง.
วินิจฉัยในคำว่า น ภิกฺขเว นหาปิตปุพฺเพน ขุรภณฺฑํ นี้พึง ทราบดังนี้:-
ภิกษุผู้เคยเป็นช่างโกนผม ไม่ควรเก็บรักษามีดโกนไว้เลย แต่จะปลง ผมด้วยมีดโกนเป็นของผู้อื่น ควรอยู่. ถ้าจะถือเอาค่าจ้างปลงไม่ควร. ภิกษุใด ไม่เคยเป็นช่างโกนผม แม้ภิกษุนั้นจะรักษามีดโกนไว้ ย่อมควร; ถึงแม้จะถือ เอามีดโกนเล่มนั้นหรือเล่มอื่นปลงผม ก็ควร.
สองบทว่า ภาคํ ทตฺวา มีความว่า พึงให้ส่วนที่ ๑๐. ได้ยินว่า การให้ส่วนที่ ๑๐ นี้ เป็นธรรมเนียมเก่า ในชมพูทวีป เพราะเหตุ นั้น พึง แบ่งเป็น ๑๐ ส่วนแล้ว ให้แก่พวกเจ้าของที่ดินส่วนหนึ่ง.
มหาปเทส ๔
เพื่อประโยชน์ที่ภิกษุทั้งหลายจะได้ถือไว้เป็นแบบ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสมหาปเทส (คือ หลักสำหรับอ้างใหญ่) ๔ ข้อเหล่านั้น ว่า ยํ ภิกฺขเว มยา อิทํ น กปฺปติ เป็นต้น.
พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลาย เมื่อถือเอาสูตรสอบสวนดูในมหาปเทสนั้น ได้เห็นความข้อนี้ว่า.
ด้วยพระบาลีว่า เปตฺวา ธญฺผลรสํ นี้ ธัญญชาติ ๗ ชนิด เป็นอันห้ามแล้วว่า ไม่ควรในปัจฉาภัต. มหาผล ๙ อย่าง คือ ผลตาล ผล
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 190
มะพร้าว ผลขนุน ผลสาเก น้ำเต้า ฟักเขียว แตงไท แตงโม ฟักทอง เป็นอันทรงห้าม และอปรัณณชาติทุกชนิด มีคติอย่างธัญญชาติเหมือนกัน. มหาผลและอปรัณณชาตินั้น ไม่ได้ทรงห้ามไว้ก็จริง ถึงกระนั้น ย่อมเข้ากับ สิ่งที่เป็นอกัปปิยะ; เพราะเหตุนั้น จึงไม่ควรในปัจฉาภัต.
น้ำปานะ ๘ อย่าง ทรงอนุญาตไว้ น้ำปานะแห่งผลไม้เล็กมี หวาย มะชาม มะงั่ว มะขวิด สะคร้อ และเล็บเหยี่ยว เป็นต้น มีคติอย่างอฏัฐบาน แท้ น้ำปานะแห่งผลไม้เหล่านั้น ไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ก็จริง. ถึงกระนั้น ย่อม เข้ากับสิ่งที่เป็นกัปปิยะ; เพราะฉะนั้น จึงควร.
ในกุรุนทีแก้ว่า จริงอยู่ เว้นรสแห่งเมล็ดข้าวกับทั้งสิ่งที่อนุโลมเสีย แล้ว ขึ้นชื่อว่าน้ำผลไม้อื่น ที่ไม่ควร ย่อมไม่มี น้ำผลไม้ทุกชนิดเป็นยาม กาลิกแท้.
จีวรพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ ๖ ชนิด. จีวรอื่นอีก ๖ ชนิดที่ อนุโลมจีวรเหล่านั้น คือ ผ้าทุกุละ ผ้าแคว้นปัตตุนนะ ผ้าเมืองจีน ผ้าเมือง แขก ผ้าสำเร็จด้วยฤทธิ์ ผ้าเทวดาให้ พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายอนุญาต แล้ว.
บรรดาผ้าเหล่านั้น ผ้าปัตตุนนะนั้น ได้แก่ ผ้าที่เกิดด้วยไหมใน ปัตตุนประเทศ. ผ้า ๒ ชนิด เรียกตามชื่อของประเทศนั่นเอง. ผ้า ๓ ชนิด นั้น อนุโลมผ้าไหม ผ้าทุกุละ อนุโลมผ้าป่าน นอกจากนี้ ๒ ชนิด อนุโลม ผ้าฝ้ายหรือผ้าทุกอย่าง.
บาตรพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้าม ๑๑ อย่าง อนุญาต ๒ อย่าง คือ บาตรเหล็ก บาตรดิน. ภาชนะ ๓ อย่าง คือ ภาชนะเหล็ก ภาชนะดิน ภาชนะ ทองแดง อนุโลมแก่บาตรนั้นแล.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 191
กระติกน้ำ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ ๓ อย่าง คือ กระติก โลหะ กระติกไม้ กระติกผลไม้. ภาชนะน้ำ ๓ อย่าง คือ คนโทน้ำ ขันทอง ห้าว หม้อตักน้ำ อนุโลมกระติกน้ำ ๓ อย่างนั้นแล. แต่ในกุรุนทีแก้ว่า สังข์ สำหรับใส่น้ำฉัน และขันน้ำ อนุโลมแก่กระติกเหล่านั้น.
ประคดเอวทรงอนุญาตไว้ ๒ ชนิด คือ ประคดทอเป็นแผ่น ประคด ไส้สุกร ประคดเอวที่ทำด้วยผืนผ้า และด้วยเชือกอนุโลมประคด ๒ ชนิดนั้น
ร่มทรงอนุญาตไว้ ๓ ชนิด คือ ร่มขาว ร่มรำแพน ร่มใบไม้, ร่ม ใบไม้ใบเดียว อนุโลมตามร่ม ๓ ชนิดนั้นเอง; แม้ของอื่นๆ ที่เข้ากับสิ่งที่ ควรและไม่ควร ผู้ปฏิบัติพึงพิจารณาดูบาลีและอรรถกถาแล้วทราบตามนัยนี้ เถิด.
ว่าด้วยกาลิกระคนกัน
คำว่า ตทหุปฏิคฺคหิตํ ถาเล กปฺปติ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสหมายเอารสที่เจือกันทุกอย่าง. ก็ถ้าน้ำปานะเป็นของที่รับประเคนปนกับ มะพร้าวทั้งผล ยังไม่ได้ปอกเปลือก เอามะพร้าวออกเสียแล้ว น้ำปานะนั้น ควรแม้ในเวลาวิกาล.
พวกทายกถวายข้าวปายาสเย็น วางก้อนสัปปิไว้ข้างบน เนยใสใครไม่ ปนกับข้าวปายาส จะเอาเนยใสนั้นออกไว้ฉัน ๗ วันก็ควร.
แม้ในสัตตาหกาลิกที่เหลือ มีน้ำผึ้งและน้ำตาลที่เป็นแท่งเป็นต้น ก็นัย นี้แล.
พวกทายกถวายบิณฑบาต ประดับด้วยกระวานและลูกจันทน์เป็นต้น บ้าง กระวานและลูกาจันทน์เป็นต้นนั้น พึงยกออกล้างไว้ฉันได้ตลอดชีวิต ใน ขิงที่เขาใส่ในยาคูถวายเป็นต้นก็ดี. ในชะเอมที่เขาใส่แม้ในน้ำเป็นอาทิ แล้ว ถวายเป็นต้น ก็ดี มีนัยเหมือนกันแล.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 192
กาลิกใดๆ เป็นของมีรสระคนปนกันไม่ได้อย่างนั้น กาลิกนั้นๆ แม้ รับประเคนรวมกัน; ล้างหรือปอกเสียจนบริสุทธิ์แล้วฉัน ด้วยอำนาจแห่งกาล ของกาลิกนั้นๆ ย่อมควร. แต่ถ้ากาลิกใดเป็นของมีรสแทรกกันได้ ปนกัน ได้ กาลิกนั้น ย่อมไม่ควร.
จริงอยู่ ยาวกาลิกย่อมชักกาลิกทั้ง ๓ มียามกาลิกเป็นต้น ซึ่งมีรส เจือกับตน เข้าสู่สภาพของตน ถึงยามกาลิก ก็ชักกาลิก แม้ ๒ มีสัตตาห กาลิกเป็นต้น เข้าสู่สภาพของตน สัตตาหกาลิกเล่า ย่อมชักยาวชีวิกที่ระคน เข้ากับตน เข้าสู่สภาพของตนเหมือนกัน เพราะฉะนั้น พึงทราบสันนิษฐาน ว่า ยาวชีวิกที่รับประเคนในวันนั้นก็ดี รับประเคนในวันก่อนๆ ก็ดี ปนกับ สัตตาหกาลิกนั้น ซึ่งรับประเคนในวันนั้น ควรเพียง ๗ วัน ปนกับสัตตาห กาลิกที่รับประเคนไว้ ๒ วัน ควรเพียง ๖ วัน ปนกับสัตตาหกาลิกที่รับประเคนไว้ ๓ วัน ควรเพียง ๕ วัน ปนกับสัตตาหกาลิกที่รับประเคนไว้ ๗ วัน ควรในวันนั้นเท่านั้น ก็เพราะเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ยาวชีวิกที่รับประเคนในวันนั้น ปนกับสัตตาหกาลิก ควร ๗ วัน ตรัสว่า ยาวชีวิกที่รับประเคนแล้ว คือปนกับสัตตาหกาลิก ควร ๗ วัน ก็ เมื่อกาลิก ๓ นี้ก้าวล่วงกาล ยาม และ ๗ วัน พึงทราบอาบัติด้วยอำนาจวิกาล โภชนสิกขาบท สันนิธิสิกขาบท และเภสัชชสิกขาบท.
ก็แล ในกาลิก ๔ นี้ กาลิก ๒ คือ ยาวกาลิก ๑ ยามกาลิก ๑ นี้ เท่านั้น เป็นอันโตวุตถะด้วย เป็นสันนิธิการกะด้วย: แค่สัตตาหกาลิกและยาว ชีวิก แม้จะเก็บไว้ในอกัปบียกุฏิ ก็ควร. ทั้งไม่ให้เกิดสันนิธิด้วย ดังนี้แล. คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
อรรถกถาเภสัชชขันธกะ จบ