[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 785
ทุติยปัณณาสก์
เทวตาวรรคที่ ๒
๓. มิตตสูตร
ว่าด้วยคุณ และโทษของการมีมิตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 785
๓. มิตตสูตร
ว่าด้วยคุณ และโทษของการมีมิตร
[๓๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีมิตรลามก มีสหายลามก มีเพื่อนฝูงลามก เสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้มิตรลามก และประพฤติตามมิตรลามก เหล่านั้นอยู่ จักบำเพ็ญธรรม คือ อภิสมาจาริกวัตรให้บริบูรณ์ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุไม่บำเพ็ญธรรม คือ อภิสมาจาริกวัตรให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญเสขธรรมให้บริบูรณ์ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ไม่บำเพ็ญเสขธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ไม่บำเพ็ญศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์แล้ว จักละกามราคะ รูปราคะ หรืออรูปราคะ ข้อนี้ ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนฝูงดี เสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้มิตรดี และประพฤติตามมิตรเหล่านั้นอยู่ จักบำเพ็ญธรรม คือ อภิสมาจาริกวัตรให้บริบูรณ์ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ บำเพ็ญธรรม คือ อภิสมาจาริกวัตรให้บริบูรณ์ จักบำเพ็ญเสขธรรมให้บริบูรณ์ ข้อนี้ย่อม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 786
เป็นฐานะที่จะมีได้ บำเพ็ญเสขธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ บำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์แล้ว จักละกามราคะ รูปราคะ หรืออรูปราคะ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้.
จบมิตตสูตรที่ ๓
อรรถกถามิตตสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในมิตตสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อาภิสมาจาริกํ ได้แก่ ธรรมที่เป็นสมาจารสูงสุด คือ ศีลที่เป็นข้อบัญญัติ ด้วยสามารถแห่งวัตร. บทว่า เสขธมฺมํ ได้แก่ ศีลที่เป็นข้อบัญญัติ เกี่ยวกับเสขิยวัตร บทว่า สีลานิ ได้แก่ มหาศีล ๔ อย่าง.
จบอรรถกถา มิตตสูตรที่ ๓