[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 337
ตติยปัณณาสก์
สมณสัญญาวรรคที่ ๑
๑. สมณสัญญาสูตร
ว่าด้วยภิกษุเจริญสมณสัญญา ๓ ประการแล้ว ย่อมยังธรรม ๗ ประการให้บริบูรณ์
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 337
ตติยปัณณาสก์
สมณสัญญาวรรคที่ ๑
๑. สมณสัญญาสูตร
ว่าด้วยภิกษุเจริญสมณสัญญา ๓ ประการแล้ว
ย่อมยังธรรม ๗ ประการให้บริบูรณ์
[๑๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณสัญญา ๓ ประการ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๗ ประการให้บริบูรณ์ สมณสัญญา ๓ ประการเป็นไฉน คือสมณสัญญาว่า เราเป็นผู้มีเพศต่างจากคฤหัสถ์ ๑ ชีวิตของเราเนื่องด้วยผู้อื่น ๑ มรรยาทอย่างอื่นอันเราควรทำมีอยู่ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณสัญญา ๓ ประการนี้แล อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๗ ประการให้บริบูรณ์ ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือภิกษุเป็นผู้มีปกติทำติดต่อเป็นนิตย์ เป็นผู้มีความประพฤติติดต่อเป็นนิตย์ในศีลทั้งหลาย ๑ เป็นผู้ไม่โลภมาก ๑ เป็นผู้ไม่พยาบาท ๑ เป็นผู้ไม่ถือตัว ๑ เป็นผู้ใคร่ในการศึกษา ๑ เป็นผู้มีการพิจารณาในปัจจัยทั้งหลายอันเป็นบริขารแห่งชีวิตว่า ปัจจัยเหล่านี้มีประโยชน์เช่นนี้ แล้วจึงบริโภค ๑ เป็นผู้ปรารภความเพียร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณสัญญา ๓ ประการนี้แล อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๗ ประการนี้ให้บริบูรณ์.
จบสมณสัญญาสูตรที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 338
ตติยปัณณาสก์
สมณสัญญาวรรคที่ ๑
อรรถกถาสมณสัญญาสูตรที่ ๑
สมณสัญญาสูตรที่ ๑ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สมณสญฺา ได้แก่ ความสำคัญหมายรู้ที่เกิดขึ้นแก่สมณะทั้งหลาย. บทว่า สตตการี ได้แก่ ทำไม่มีระหว่าง. บทว่า อพฺยาปชฺโฌ ได้แก่ ไร้ทุกข์. บทว่า อิจฺจตฺถนฺติสฺส โหติ ความว่า สมณสัญญา ย่อมมีแก่ภิกษุนั้น ในปัจจัยเครื่องปรุงแต่งชีวิต อย่างนี้ว่า เหล่านี้เป็นปัจจัย เพื่อสิ่งนี้. อธิบายว่า ภิกษุบริโภคปัจจัยที่พิจารณาแล้ว.
จบอรรถกถาสมณสัญญาสูตรที่ ๑