ในบุพพสิกขา - เสนาสนปฏิสังยุตตกถา กล่าวถึงบุคคลไม่ควรไหว้ ไว้ที่บอกว่า ผู้เข้าไปยังละแวกบ้าน ไม่ควรไหว้ คำว่า ละแวกบ้าน นี้หมายถึง
อะไรครับ ผมเข้าใจว่าอยู่ในบ้านโยมแล้วพระเจอกัน ห้ามไหว้ใช่ไหมครับ?
ขอบคุณครับ
คำว่า ละแวกบ้าน หมายถึงเขตบ้าน คือไม่ใช่บริเวณป่า หรือไม่ใช่อาราม
ดังนั้น เวลาเข้าเขตบ้าน อันเป็นที่อยู่อาศัยของคฤหัสถ์ ทรงบัญญัติพระวินัยว่า
พระภิกษุไม่ควรกราบไหว้กัน เพราะไม่สะดวกด้วยประการทั้งปวง เพราะการไหว้
รวมถึงการก้มลงกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ด้วยครับ
นโม อาสยานุสยญาณสฺส : ขอนอบน้อมอาสยานุสยญาณ
สวัสดีครับ คุณเต๋า, คุณประเชิญ ขอร่วมสนทนาด้วยคน ครับ.
1. เรื่องละแวกบ้านนี้ จำเป็นต้องทำความเข้าใจ ธรรมเนียมโบราณว่า สมัยโบราณนั้น ระหว่างป่ากับหมู่บ้าน จะมีเสาหรือกำแพงกั้นเอาไว้ ที่เรียกว่า เสาอินทขีลนั่นเองครับ.
พระภิกษุจะอยู่ในป่า ส่วนคฤหัสถ์โดยมากจะอยู่ในหมู่บ้าน จะบิณฑบาตรคราหนึ่งพระภิกษุจึงจะเข้าหมู่บ้านไปทางประตูของกำแพงเมือง.
เขตบ้าน เขตเมือง จึงมีด้วยประการดังกล่าวมานี้.
ส่วนถ้าว่ากันโดยสมัยแล้ว ยุคนี้ เว้นแค่วัด สถานที่ตั้งใจว่าจะพักอยู่เท่านั้น และป่าที่อื่นควรเรียกว่าละแวกบ้านหมด.
2. เรื่องคำว่าไหว้ (วันทนา) ที่พบในพระวินัย หมายถึง การกราบ ครับ, แต่ไทยเราแปลไปเองว่าไหว้ ซึ่งไม่ตรงกับคำอธิบายในพระไตรปิฎกบางแห่ง ครับ.
ขอบคุณครับ
ครับ
ในพระไตรปิฏกก็มีแสดงไว้ มีพระภิกษุรูปหนึ่งเที่ยวบิณฑบาตรในละแวกบ้าน
ตอนกลางคืน ทำให้ผู้หญิงคนหนึ่งตกใจ พระพุทธเจ้าก็ทรงบัญญัติสิกขาบท
ไม่ให้ภิกษุบิณฑบาตรในยามวิกาลค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ