ผู้ยินดีในการขัดคอ หมายถึงบุคคลลักษณะใดครับ
คำว่า ผู้ยินดีในการขัดคอ หมายถึง ผู้ที่ชอบโต้แย้ง คำกล่าวของผู้อื่นคือใครจะพูดอะไรมา เขาก็พูดขัดไปทุกเรื่อง ตัวอย่าง เช่น สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคแสดงพระธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายว่า อายุของมนุษย์ทั้งหลายน้อย คนดี ควรดูหมิ่นอายุนั้นเสีย ควรประพฤติดุจคน ที่ถูกไฟไหม้ศีรษะ ฉะนั้น การที่มัจจุไม่เมาจะไม่มีเลย.
มารก็พูดขัดว่า อายุของมนุษย์ทั้งหลายยืนยาว คนดี ไม่ควรดูหมิ่นอายุนั้นเลย ควรประพฤติดุจ เด็กอ่อนที่เอาแต่กินนม ฉะนั้น ไม่มีมัจจุมาดอก...
ในพระไตรปิฏกก็มีแสดงไว้ ตอนที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน พระสุภัททะกล่าวว่าดีแล้ว ต่อไปไม่มีใครมาสอน มาว่า มาห้ามไม่ให้ทำอย่างโน้นอย่างนี้อีก ท่านพระมหากัสสปะ ได้ยินก็เกิดความสลดสังเวช เป็นเหตุให้ท่านพระมหากัสสปะทำสังคายนาครั้งที่ 1 ค่ะ
ขณะขัดคอ สภาพจิตเป็นอย่างไร เป็นเพื่อนหรือเป็นศัตรู
โต้แย้งเพื่อความเข้าใจถูก เพื่อเกื้อกูล จิตเป็นอย่างไร
โต้แย้งไปทุกเรื่องจิตเป็นอย่างไร
ไม่โต้แย้งในสิ่งที่ควรโต้แย้งเพราะอะไร
โต้แย้งขัดคอ ในสิ่งที่ไม่ควรโต้แย้งจิตเป็นอะไร
[เล่มที่ 60] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 206
บุรุษผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญา เห็นคนผู้กระทำการงานเช่นไร ด้วยจักษุ ได้ฟังเรื่องนั้นด้วยหู พึงรู้ว่าผู้นี้ไม่ใช่มิตรของเรา วิญญูชนพึงพยายามอย่างไร เพื่อรู้จักผู้นั้น.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ เมื่อจะตรัสบอกลักษณะของผู้ที่มิใช่มิตรแก่พระราชาได้ ตรัสพระคาถาว่า บุคคลผู้มิใช่มิตรเห็นเพื่อนๆ แล้ว ไม่ยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่ร่าเริงต้อนรับเพื่อนไม่แลดูเพื่อน กล่าวคำย้อนเพื่อน.
ไม่มีใครรู้สภาพจิตขณะนั้นของใครได้ สภาพธรรมเป็นไปตามการสะสม + สั่งสม
อนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนา
ขอบพระคุณมากครับ
ขออนุโมทนา
สาธุ
ขออนุโมทนาครับ
อนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ