[เล่มที่ 32] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 474
อรรถกถาสูตรที่ ๖
ประวัติพระอุบาลีเถระ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 32]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 474
อรรถกถาสูตรที่ ๖
ประวัติพระอุบาลีเถระ
ในสูตรที่ ๖ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ด้วยบทว่า วินยธรานํ ยทิทํ อุปาลิ ท่านแสดงว่า ท่านพระอุบาลีเถระ เป็นยอดของภิกษุสาวก ผู้ทรงวินัย ได้ยินว่า พระเถระรับกัมมัฏฐาน ในสำนักพระตถาคตพระองค์เดียว เจริญวิปัสสนาแล้ว บรรลุพระอรหัต เรียนพระวินัยปิฎก ในสำนักพระตถาคตพระองค์เดียว กล่าวเรื่องทั้ง ๓ เหล่านี้ คือ เรื่องพระทารุกัจฉกะ เรื่องพระอัชชุกะ และเรื่องท่านพระกุมารกัสสปะ เทียบเคียงกับพระสัพพัญญุตญาณเพราะเหตุนั้น ท่านจึงชื่อว่า เป็นยอดของภิกษุสาวก ผู้ทรงวินัย ในปัญหากรรมของท่าน มีเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับ ดังนี้.
ได้ยินว่า พระเถระนี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดในครอบครัว ณ กรุงหงสวดี กำลังฟังธรรมกถาของพระศาสดา วันหนึ่งเห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งไว้ ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นยอดของภิกษุสาวก ผู้ทรงวินัย กระทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น ท่านทำกุศลจนตลอดชีวิต เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ก็ถือปฏิสนธิในเรือนกัลบก บิดามารดาตั้งชื่อท่านว่า อุบาลีกุมาร ท่านเป็นพนักงานแต่งพระองค์กษัตริย์คือเจ้า ๖ พระองค์ เมื่อพระตถาคตประทับอยู่ที่ อนุปิยอัมพวัน ออกบวชพร้อมกับเจ้า ๖ พระองค์ ซึ่งกำลังออกทรงผนวช วิธีบรรพชาของท่านมาแล้วในพระบาลี ท่านบรรพชาอุปสมบทแล้ว ขอให้พระ-
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 475
ศาสดาตรัสสอนกัมมัฏฐาน กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้เจริญ ขอได้โปรดทรงอนุญาตให้ข้าพระองค์อยู่ป่าเถิด พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุเมื่อเธออยู่ป่า ก็จักเจริญแต่ธุระอย่างเดียว แต่เมื่อเธออยู่ในสำนักเรา วาสธุระคือการอบรม คันถุธุระ คือการเล่าเรียน ก็จักบริบูรณ์ พระเถระรับพระดำรัสของพระศาสดาแล้ว กระทำการในวิปัสสนา ไม่นานก็บรรลุพระอรหัต ครั้งนั้น พระศาสดา ทรงให้ท่านเรียนพระวินัยปิฎกทั้งสิ้น ด้วยพระองค์เอง ต่อมาท่านวินิจฉัยเรื่อง ๓ เรื่อง ที่กล่าวไว้แล้วในหนหลัง พระศาสดาประทานสาธุการรับรอง ในเรื่องแต่ละเรื่อง ที่ท่านวินิจฉัยแล้ว ทรงกระทำเรื่องทั้ง ๓ เรื่อง ที่ท่านวินิจฉัยแล้ว ให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง จึงทรงสถาปนาพระเถระไว้ ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นยอดของภิกษุสาวก ผู้ทรงวินัยแล.
จบ อรรถกถาสูตรที่ ๖