[เล่มที่ 7] พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒- หน้าที่ ๒๗๕
พระพุทธบัญญัติห้ามใช้จีวรที่ไม่ตัด
[๑๔๘] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ใช้จีวรที่ไม่ได้ตัด ใช้จีวรที่ย้อมน้ำฝาด มีสีเหมือนงาช้าง ประชาชนจึงพากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสห้ามว่า ก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุไม่พึงใช้จีวรที่มิได้ตัด รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ
พระพุทธบัญชาให้แต่งจีวร
[๑๔๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนครราชคฤห์ตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จพระพุทธดำเนินไปทางทักขิณาติรีชนบท พระองค์ทอดพระเนตรเห็นนาของชาวมคธ ซึ่งเขาพูนดินขึ้นเป็นคันนาสีเหลี่ยม พูนคันนายาวทั้งด้านยาวและด้านกว้าง พูนคันนาคั่นในระหว่างๆ ด้วยคันนาสั้นๆ พูนคันนาเชื่อมกันดังทาง ๔ แพร่ง ตามที่ซึ่งคันนากับคันนาผ่านตัดกันไป ครั้นแล้วรับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า อานนท์เธอเห็นนาของชาวมคธซึ่งเขาพูนดินขึ้นเป็นคันนาสี่เหลี่ยม พูนคันนายาวทั้งด้านยาวและด้านกว้าง พูนคันนาคั่นใน ระหว่างๆ ด้วยคันนาสั้นๆ พูนคันนาเชื่อมกันดังทาง ๔ แพร่ง ตามที่ซึ่งคันนากับคันนาผ่านตัดกันไปหรือไม่
อา. เห็นตามพระพุทธดำรัส พระพุทธเจ้าข้า
ภ. เธอสามารถแต่งจีวรของภิกษุทั้งหลายให้มีรูปอย่างนั้นได้หรือไม่
อา. สามารถ พระพุทธเจ้าข้า
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ทักขิณาคิรีชนบทตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จกลับมาพระนครราชคฤห์อีก ครั้งนั้นท่านพระอานนท์แต่งจีวรสำหรับภิกษุหลายรูป ครั้นแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ ภาคเจ้าได้กราบทูลว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงทอดพระเนตรจีวรที่ข้าพระพุทธเจ้าแต่งแล้ว พระพุทธเจ้าข้า
ตรัสสรรเสริญท่านพระอานนท์
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นคนฉลาด อานนท์เป็นคนเจ้าปัญญา อานนท์ได้ซาบซึ้งถึงเนื้อความแห่งถ้อยคำที่เรากล่าวย่อได้โดยกว้างขวาง อานนท์ทำผ้าชื่อกุสิก็ได้ ทำผ้าชื่ออัฑฒกุสิก็ได้ ทำผ้าชื่อมณฑลก็ได้ ทำผ้าชื่ออัทฒมณฑลก็ได้ ทำผ้าชื่อวิวัฏฏะก็ได้ ทำผ้าชื่ออนุวิวัฏฏะก็ได้ ทำผ้าชื่อคีเวยยกะก็ได้ ทำผ้าชื่อชังเฆยยกะก็ได้และทำผ้าชื่อพาหันตะก็ได้ จีวรจักเป็นผ้าที่ตัดแล้วเศร้าหมองด้วยศัสตรา สมควรแก่สมณะและพวกศัตรูไม่ต้องการ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าสังฆาฏิตัด ผ้าอุตราสงค์ตัด ผ้าอันตรวาสกตัด
[เล่มที่ 7] พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ ๓๔๐
อรรถกถา
ว่าด้วยจีวรตัด
บทว่า อจฺจิพทฺธํ คือ มีกระทงนาเนื่องกันเป็นสี่เหลี่ยม
บทว่า ปาลิพฺทธํ คือ พูนคันนายาวทั้งด้านยาวและด้านกว้าง
บทว่า มริยาทพทฺธํ คือ พูนคันนาคั่นในระหว่างๆ ด้วยคันนาสั้นๆ
บทว่า สิงฺฆาฏกพทฺธํ คือ พูนคันนาเชื่อมกันดังทาง ๔ แพร่ง ตามที่ซึ่งคันนากับคันนาผ่านตัดกันไป อธิบายว่า มีสัณฐานดังทาง ๔ แพร่ง
สองบทว่า อุสฺสหสิ ตฺวํ อานนฺท มีความว่า อานนท์ เธออาจหรือ
บทว่า สํวิทฺหิตุํ ได้แก่ เพื่อทำ
สองบทว่า อุสฺสหามิ ภควา มีความว่า ท่านอานนท์แสดงว่า ข้าพระองค์อาจตามนัยที่พระองค์ประทาน
บทว่า ยตฺร หิ นาม คือ โย นาม
วินิจฉัยในคำว่า กุสิมฺปิ นาม เป็นอาทิ พึงทราบดังนี้:-
คำว่า กุสิ นี้เป็นชื่อแห่งผ้ายาว มีอนุวาตด้านยาวและด้านกว้าง เป็นต้น
คำว่า อฑฺฒกุสิ เป็นชื่อแห่งผ้าสั้นในระหว่างๆ .
มณฑล นั้นได้แก่ กระทงใหญ่ในขัณฑ์อันหนึ่งๆ แห่งจีวรมี ๕ ขัณฑ์
อัฑฒมณฑล นั้นได้แก่ กระทงเล็ก
วิวัฏฏะ นั้นได้แก่ ขัณฑ์ตรงกลางที่เย็บมณฑลกับอัฑฒมณฑลติดกัน
อนุวิวัฏฏะ นั้นได้แก่ ๒ ขัณฑ์ที่สองข้างแห่งวิวัฎฏะนั้น
คีเวยยกะ นั้นได้แก่ ผ้าตามอื่นที่เย็บด้วยด้าย เพื่อทำให้ทนทานในที่ๆ พันคอ
ชังเฆยยกะ นั้นได้แก่ ผ้าที่เย็บอย่างนั้นเหมือนกัน ในที่ๆ ปกแข้ง
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า คำว่า คีเวยยกะและชังเฆยยกะ นั้นเป็นชื่อแห่งผ้าที่ตั้งอยู่ในที่แห่งคอและในที่แห่งแข้ง พาหันตะ นั้นได้แก่ ขัณฑ์อันหนึ่งๆ นอกอนุวิวัฏฏะ
คำว่า กุสิมฺปิ นามเป็นอาทินี้ พระอาจารย์ทั้งหลายวิจารณ์แล้วด้วยจีวรมี ๕ ขัณฑ์ ด้วยประการฉะนี้แล
อีกประการหนึ่งคำว่า อนุวิวัฏฏะ นี้เป็นชื่อแห่ง ๒ ขัณฑ์ โดยข้างอันหนึ่งแห่งวิวัฏฏะ เป็นชื่อแห่ง ๓ ขัณฑ์บ้าง ๔ ขัณฑ์บ้างโดยข้างอันหนึ่งแห่งวิวัฏฏะ
คำว่า พาหันตะ นี้เป็นชื่อแห่งชายทั้งสอง (แห่งจีวร) ที่ภิกษุห่มจีวรได้ขนาดพอดี ม้วนพาดไว้บนแขน มีด้านหน้าอยู่นอก
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น