ดิฉันอยากทราบว่า การที่คนรุ่นใหม่เรียกร้องการศึกษาธรรมที่ง่ายๆ เข้าใจง่ายๆ หากมีการปรับหลักสูตรการสอนให้ง่ายๆ ถ้อยคำง่ายขึ้น ใช้ถ้อยคำสำนวนต่างๆ เรียบเรียงให้อ่านง่าย จะเป็นการสะสมความเห็นผิดเพิ่มหรือไม่
เหตุที่ถามเพราะได้คุยกับนักเขียนหนังสือธรรมท่านหนึ่ง ท่านกล่าวว่าการทำธรรมะให้ยุ่งยากนั้นไม่ถูกต้อง ท่านกล่าวว่าพระธรรมเป็นเรื่องเรียบง่าย สมควรแก่การอธิบายให้เข้าใจง่าย และท่านก็ได้ออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอนใหม่ที่ง่ายและเหมาะสมแก่คนรุ่นใหม่มากขึ้น ในใจดิฉันไม่เห็นด้วยเลยแต่ก็รับฟังท่านอยู่เสมอๆ
ท่านยกตัวอย่าง พระหลายๆ ท่านที่มีสื่อบันเทิงต่างๆ มาช่วยในการสอนธรรมะเช่น การ์ตูนธรรมะ ละครธรรมะ หนังสือธรรมะที่ออกแบบรูปเล่มสดใส และใช้ถ้อยคำวัยรุ่น บทความธรรมะ กลอนธรรมะ รวมไปถึงการใช้เพลงวัยรุ่นประกอบการสอนธรรมะท่านกล่าวว่าการสอนเช่นนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี เพราะมีวัยรุ่นและผู้คนส่วนใหญ่หันมาศึกษาธรรมะกันมากขึ้น มากกว่าสมัยก่อน ท่านให้เหตุผลว่า ธรรมะควรสอนง่ายๆ คนจึงจะมาสนใจเยอะและปฏิบัติตามได้เยอะ ใครที่สอนเชิงปฏิบัติให้ไปทำอะไรที่ง่ายๆ จะได้รับความนิยมมาก
ดิฉันก็สนทนาตอบในฐานะรุ่นน้องที่สนิทว่า อันที่จริงพระธรรมไม่ใช่เรื่องง่ายเป็นเรื่องของปัญญา ไม่ใช่ท่าทางหรือรูปแบบการปฏิบัติ แต่เป็นความเข้าใจ ขณะปฏิบัติธรรมนั้น ปัญญาปฏิบัติกิจของปัญญา ไม่มีตัวตนหรือท่าทางที่จะปฏิบัติธรรมะได้ เพราะสภาพธรรมไม่สามารถบังคับบัญชาได้ พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญมามากกว่า ๔ อสงไขย แต่เดี๋ยวนี้กลับมีธรรมะเรียนลัด หรือธรรมะง่ายๆ สไตล์วัยรุ่นออกมาเยอะมากโอกาสจะผิดเพี้ยนเป็นไปได้มาก ท่านก็นิ่งฟังแต่ก็ไม่รู้ว่าท่านคิดอะไร ดิฉันนึกในใจว่าการพยายามทำให้หลักธรรมง่ายๆ เหมือนเป็นการดูถูกพระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้า
ซึ่งดิฉันก็ไม่เคยคาดคั้นท่านว่าต้องทำให้ถูกต้อง เพราะท่านมีอัธยาศัยมาทางนี้เพียงแต่บอกท่านไปว่า การเข้าใจพระธรรมจริงๆ เป็นไปตามการสะสม และเป็นไปตามยุคสมัย ควรจะศึกษาเฉพาะตนให้เข้าใจจริงๆ เสียก่อนจึงคิดไปสอนคนอื่น เพราะจะบาปมากถ้าทำให้พระธรรมผิดเพี้ยน สมัยก่อนผู้คนสะสมปัญญามาเยอะ ฟังแค่ประโยคเดียวก็บรรลุได้เพราะสะสมปัญญามาเยอะ (มากกว่าอสงไขย) ยุคสมัยนี้ก็เป็นยุคปัญญาทางธรรมน้อยกว่าสมัยก่อน ต้องฟัง ต้องอ่าน ทำความเข้าใจนาน กว่าจะเข้าใจจริงๆ แต่เพราะความยากจึงมีคนพยายามทำให้ง่าย อย่างที่พระพุทธองค์ทรงเปรียบพระธรรมวินัยเหมือนกลอง ที่นานๆ ไปก็จะมีคนเอาหนังกลองใหม่มาแปะทับไปเรื่อยๆ จนคนรุ่นหลังไม่รู้ว่าเนื้อแท้เป็นอย่างไร
แต่ท่านผู้นั้นก็บอกว่า ก็ยังดีกว่าให้เด็กๆ ไปเที่ยวเล่นกัน สอนง่ายๆ จะได้ทำตามง่ายๆ เพราะคนยุคนี้ปัญญาน้อยก็เลยต้องสอนง่ายๆ
ประเด็นคือ ดิฉันสงสัยว่าในเมื่อยุคนี้ไม่สามารถนำพระธรรมยากๆ มาให้ศึกษากันได้ถ้วนหน้าแล้ว การที่พยายามทำให้ง่ายซึ่งมีคนศึกษาโดยแพร่หลาย ผู้ที่ศึกษาบทเรียนที่ลัดสั้นนั้น จะสะสมความเห็นผิดเพิ่มขึ้นหรือไม่ เพราะอะไร ที่ว่ายุคนี้ผู้คนปัญญาน้อยกิเลสหนา เข้าใจพระธรรมได้ยากกว่ายุคก่อน จำเป็นหรือไม่ที่ต้องอธิบายตีความให้ง่ายลงจากเดิม
การสอนธรรมะให้ง่าย สำหรับเด็กรุ่นใหม่ น่าจะทำได้ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้โดยแบ่งตามสมควรแก่บุคคล เช่น ฆราวาส ต้องรักษาศีล ๕ ศีล ๕ มีอะไรบ้างที่ต้องรู้ หรือเรื่องทิศทั้ง ๖ มีอะไรบ้าง และต้องปฏิบัติอย่างไร คิดว่าไม่ยากสำหรับเด็กรุ่นใหม่ แค่สอนให้เขาอยู่ในสังคมอย่างเป็นปกติสุข ไม่เบียดเบียนกัน รู้หน้าที่ของตนเองว่าอะไรควรทำ หรือไม่ควรทำ
การสอนธรรมะให้ง่ายแก่คนรุ่นใหม่
ตามความคิดเห็นของดิฉัน ในหัวข้อนี้ ไม่มีทางที่จะเป็นไปได้เลย หากว่าท่านผู้สอนไม่มีความรู้ความเข้าใจจริงๆ ตั้งแต่ต้นว่า ธรรมคืออะไร?
นักเขียนหนังสือธรรมท่านหนึ่ง ท่านกล่าวว่าการทำธรรมะให้ยุ่งยากนั้น ไม่ถูกต้อง
ท่านกล่าวว่าพระธรรมเป็นเรื่องเรียบง่าย สมควรแก่การอธิบายให้เข้าใจง่าย นั่นเป็นการดูถูกพระปัญญาคุณของพระพุทธองค์ เพราะว่าพระธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียด ลึกซึ้งเข้าใจยาก รู้ตามและเห็นตามได้ยาก และท่านก็ได้ออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอนใหม่ที่ง่ายและเหมาะสมแก่คนรุ่นใหม่มากขึ้น นั่นก็เป็นเรื่องของการสะสมของท่าน ท่านยกตัวอย่างพระหลายๆ ท่าน ที่มีสื่อบันเทิงต่างๆ มาช่วยในการสอนธรรมะ เช่น การ์ตูนธรรมะ ละครธรรมะ หนังสือธรรมะที่ออกแบบรูปเล่มสดใส และใช้ถ้อยคำวัยรุ่น บทความธรรมะ กลอนธรรมะ รวมไปถึงการใช้เพลงวัยรุ่นประกอบการสอนธรรมะ ท่านกล่าวว่าการสอนเช่นนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี เพราะมีวัยรุ่นและผู้คนส่วนใหญ่หันมาศึกษาธรรมะกันมากขึ้นมากกว่าสมัยก่อน ท่านให้เหตุผลว่า ธรรมะควรสอนง่ายๆ คนจึงจะมาสนใจเยอะ และปฏิบัติตามได้เยอะ ใครที่สอนเชิงปฏิบัติให้ไปทำอะไรที่ง่ายๆ จะได้รับความนิยมมาก นั่นก็เป็นเรื่องของท่านและการสะสมของท่านอีกเช่นเดียวกัน
ประเด็นคือ ดิฉันสงสัยว่า ในเมื่อยุคนี้ไม่สามารถนำพระธรรมยากๆ มาให้ศึกษากันได้ถ้วนหน้าแล้ว การที่พยายามทำให้ง่ายซึ่งมีคนศึกษาโดยแพร่หลาย ผู้ที่ศึกษาบทเรียนที่ลัด สั้น นั้น จะสะสมความเห็นผิดเพิ่มขึ้นหรือไม่ เพราะอะไร ตามความคิดเห็นของดิฉัน การสะสมความเห็นผิดก็ต้องมีอย่างแน่นอน เหตุผลคือ เพราะเค้าได้เคยสะสมความเห็นผิดแบบนี้มาแล้วแต่ชาติปางก่อน ชาตินี้จึงมีการสะสมแบบนี้เพิ่มขึ้นอีก
ที่ว่ายุคนี้ผู้คนปัญญาน้อยกิเลสหนา เข้าใจพระธรรมได้ยากกว่ายุคก่อน จำเป็นหรือไม่ที่ต้องอธิบายตีความให้ง่ายลงจากเดิม? ตัวดิฉันเองก็เคยสงสัยอยู่เสมอว่า คนสมัยนี้ เค้าต้องการที่จะขัดเกลากิเลสจริงๆ หรือไม่? แล้วเค้ารู้หรือเข้าใจจริงๆ หรือเปล่าว่า กิเลสคืออะไร? มีแต่ที่เห็นทั่วไปคือทำบุญแล้วขอให้ได้บุญเยอะๆ โดยที่ยังไม่เข้าใจเลยแม้แต่คำว่า บุญคืออะไร? ไม่เคยแม้แต่คิดที่จะแสวงหาความจริงว่า บุญคืออะไร? กิเลสคืออะไร?
ดังนั้นในความคิดเห็นของดิฉัน ขออนุญาตสรุปว่า อย่าไปสนใจในความคิดเห็นของคนอื่นเลยค่ะว่าเป็นอย่างไร? สนใจเพียงแค่ว่า พยายามทำความเข้าใจในการฟัง การอ่านและพิจารณา ไตร่ตรองตามที่ท่านแสดงว่าเหตุนั้นตรงกับผลหรือไม่ อย่างไร?แค่นี้ประโยชน์ที่เราจะได้รับก็มหาศาลแล้วค่ะ
ดิฉันเคยคิดอยากจะเกื้อกูลคนอื่น คนที่เรารัก เช่น ลูก เพื่อนสนิท ญาติๆ แต่ในที่สุด ก็คิดขึ้นได้ว่า เค้าอยากจะให้เราเกื้อกูลหรือเปล่า? เค้าอาจจะไม่ต้องการก็ได้ ฉะนั้น สังคมโลกก็จะดำเนินไปตามกรรมของแต่ละคน ไม่มีใครสามารถที่จะทำอะไรได้ ทุกอย่างเป็นไปตามการสะสมทั้งถูกและผิด
วิชาทางโลกยังต้องใช้เวลาเรียนเป็น ๑๐ ปีขึ้นไป ทางธรรมยิ่งกว่านั้นอีกต้องฟัง ต้องศึกษาจนกว่าจะหมดกิเลส และธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ไม่ใช่ของง่าย ถ้าง่ายเราก็บรรลุกันไปหมดแล้วค่ะ ยิ่งเรารู้ว่าพระธรรมคำสอนยากแค่ไหน ก็เป็นการสรรเสริญพระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้าแล้วค่ะ ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ไม่มีตัวตนหรือเราที่จะทำให้ง่าย อยู่ที่เราอบรมเจริญปัญญาค่ะ
ขออนุโมทนาคุณ namarupa ค่ะ
การเข้าใจพระธรรมเป็นเรื่องยากมากๆ จริงๆ ต้องเป็นจีรกาลภาวนา
ธรรมมะไม่ง่ายน่ะครับ
ถ้าการสอนธรรมสามารถทำให้ง่ายได้จริง พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าคงได้ทรงกระทำแล้วเป็นบุคคลแรก เพราะทรงถึงพร้อมด้วยพระสัพพัญญุตญาน ทรงรู้จริตและอัธยาศัยของสัตว์โลกอันหาประมาณมิได้
คำสอนของพระองค์เป็นสัจจธรรมคือ ความจริงแท้ เมื่อเป็นความจริงแท้จะเบี่ยงเบนให้เป็นอย่างอื่นได้มั้ย ถ้าได้ก็ไม่ใช่สัจจธรรม
ขออนุโมทนาครับ
ง่ายๆ คงไม่ใช่ธรรมของพระพุทธเจ้า แต่เป็นของนักคิดอื่นๆ สอนให้เข้าใจทีละน้อยแม้ยาก
ขออนุโมทนาครับ
ยินดีในกุศลจิตค่ะ