ผมเองก็ชอบออกกำลังกาย เดินมั่ง วิ่งมั่ง แล้วแต่วัน ได้ยินมาว่าในสมัพุทธกาล
พระภิกษุสงฆ์ก็จาริกไป เพื่อเผยแพร่ธรรมโดยการเดิน ก็ถือว่าเป็นการออกกำลังกาย
ได้ แต่ก็มานึกถึงการเดินจงกรม ไม่ทราบว่าเป็นอย่างไร แต่พอผมนึกถึงคำนี้ทีไร
ก็จะนึกถึง ซ้ายย่างหนอ ขวาย่างหนอ ทุกที แต่ผมว่าไม่น่าจะใช่ จึงใคร่จะทราบว่า
การเดินจงกรมนี้ เป็นอย่างไรครับ
การเดินจงกรมโดยศัพท์ หมายถึง การก้าวไปตามลำดับ ซึ่งในชีวิตของสมณะเพศ
การออกกำลังกายแบบคฤหัสถ์มีการเต้น การวิ่ง หรือกีฬาประเภทต่างๆ ไม่สมควร ฉะนั้น
การเดินจงกรมจึงเป็นการบริหารร่างกาย เพื่อเป็นการผลัดเปลี่ยนอิริยาบถเท่านั้น แต่เนื่อง
จากท่านพระภิกษุเป็นผู้มีปกติอบรมเจริญสติปัฏฐานในทุกอิริยาบถ การเดินของท่านก็เดิน
ปกติคือ มีการพิจารณาธรรมะด้วย แต่ไม่ใช่มีการบริกรรมคำว่า ย่างหนอ
บัญญัติ ๖ ตามนัยของอาจารย์ ก็ว่าโดยนัยของอาจารย์อันเป็นอรรถกถามุตตกะ (นอกไปจากอรรถกถา) มีบัญญัติ ๖ อื่นอีก คือ.
๑. อุปาทาบัญญัติ ๒. อุปนิธาบัญญัติ ๓. สโมธานบัญญัติ ๔. อุปนิกขิตตบัญญัติ ๕. ตัชชาบัญญัติ ๖. สันติบัญญัติ (พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้าที่ 183)
บัญญัติใด มีคำว่า ปฐวี เตโช ความแข็ง ความร้อนเป็นต้น เพราะเพ่งสภาวธรรมนั้นๆ บัญญัตินี้ ชื่อว่า ตัชชาบัญญัติ.
อนึ่ง ในบรรดาบัญญัติ ๖ เหล่านั้น ตัชชาบัญญัติ ก็คือ วิชชมานบัญญัตินั่นเอง. บัญญัติที่เหลือย่อมรวมเป็นพวกอวิชชมานบัญญัติ และอวิชมาเนน อวิชชมานบัญญัติ. (พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้าที่ 186) ท่านมหาธัมมปาลเถระอาจารย์ชาวลังกา กล่าวไว้ในวิสุทธิมัคคมหาฎีกาว่า สภาวธมฺโม หิ คมฺภีโร น ปญฺญติ นนุ จ ตชฺชา ปญฺญตฺติวเสน สภาวธมฺโม คณฺหายตีติ สจฺจํ คณฺหายตีติ ปุพฺพภาเค ภาวนาย ปน วฒฺฑมา นาย ปญฺญตฺตึ สมติกฺกมิตฺวา สภาเวเยว จิตฺตํ ติฏฺฐตีติ อยากให้ ช่วยแปลข้อความบาลีนี้ และแสดงความเห็นด้วยครับ
ข้อความ ที่ส่งไปก่อนหน้านี้ มีอ้างอิงคือ วิสุทธิ. ฎี. ๑.๓๑๖
เป็นความจริงว่า สภาวธรรมเป็นของลึกซึ้ง บัญญัติไม่เป็นของลึกซึ้ง
ถามว่า ก็พระโยคีย่อมถือเอา สภาวธรรมด้วยอำนาจบัญญัติ ที่เกิดจาก
สภาวธรรมนั้นมิใช่หรือ
ตอบว่า ในเบื้องต้น ย่อมถือเอาสภาวธรรม ด้วยอำนาจบัญญัติ ที่เกิด จากสภาวธรรมก็จริง แต่เมื่อภาวนาเจริญไปอยู่ จิตย่อมก้าวล่วงบัญญัติ แล้วตั้งอยู่ในสภาวธรรมเท่านั้น
เชิญคลิกอ่าน...
เรื่องที่จงกรมและเรื่องไฟ [จุลวรรค]
เชิญคลิกอ่าน...จำวัดที่ผิดพระวินัย [มหาวิภังค์ ]