๓. สุวรรณสามชาดก ว่าด้วยสุวรรณสามบําเพ็ญเมตตาบารมี
โดย บ้านธัมมะ  15 ก.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 34658

[เล่มที่ 63] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 155

๓. สุวรรณสามชาดก

ว่าด้วยสุวรรณสามบําเพ็ญเมตตาบารมี

อรรถกถา สุวรรณสามชาดก 168


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 63]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 155

๓. สุวรรณสามชาดก

ว่าด้วยสุวรรณสามบำเพ็ญเมตตาบารมี

[๔๘๒] ใครหนอใช้ลูกศรยิงเรา ผู้ประมาทกำลังแบกหม้อน้ำ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ คนไหนยิงเรา ซ่อนกายอยู่ เนื้อของเราก็กินไม่ได้ หนังก็ไม่มีประโยชน์ เมื่อเป็นเช่นนี้ เขาเข้าใจว่าเราเป็นผู้ควรยิง ด้วยเหตุอะไรหนอ ท่านคือใคร หรือเป็นบุตรของใคร เราจะรู้จักท่านได้อย่างไร ดูก่อนสหาย เราถามท่านแล้ว ขอท่านจงบอกเถิด ทำไมท่านจึงยิงเราแล้วซ่อนตัวเสีย.

[๔๘๓] เราเป็นพระราชาของชาวกาสี คนเรียกเราว่า พระเจ้าปิลยักษ์ เราละแว่นแคว้นเที่ยวแสวงหามฤคเพราะความโลภ อนึ่ง เราเป็นผู้ฉลาดในธนูศิลป์ ปรากฏว่าเป็นผู้แม่นยำนัก แม้ช้างมาสู่ระยะลูกศรของเรา ก็ไม่พึงพ้นไปได้ ท่านคือใคร หรือเป็นบุตรของใคร พวกเราจะรู้จักท่านได้อย่างไร ท่านจงแจ้งชื่อและโคตรของบิดาท่านและของตัวท่าน.

[๔๘๔] ขอจงทรงพระเจริญ ข้าพระองค์เป็นบุตรของนายพราน ญาติทั้งหลายเรียกข้าพระองค์เมื่อยังมีชีวิตอยู่ว่า สามะ วันนี้ข้าพระองค์ถึงปากมรณะนอนอยู่อย่างนี้ ข้าพระองค์ถูกพระองค์ยิงด้วย


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 156

ลูกศรใหญ่อาบยาพิษ เหมือนมฤคที่ถูกพรานป่ายิงแล้ว ฉะนั้น ข้าแต่พระราชา ขอพระองค์จงทอดพระเนตรข้าพระองค์ผู้นอนจมอยู่ในโลหิตของตน เชิญทอดพระเนตรลูกศร อันแล่นเข้าข้างขวาทะลุออกข้างซ้าย ข้าพระองค์บ้วนโลหิตอยู่ เป็นผู้กระสับกระส่าย ขอทูลถามพระองค์ว่า พระองค์ยิงข้าพระองค์แล้ว จะซ่อนพระองค์อยู่ทำไม เสือเหลืองถูกฆ่าเพราะหนัง ช้างถูกฆ่าเพราะงา เมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์เข้าพระทัยว่า ข้าพระองค์เป็นผู้ควรยิง ด้วยเหตุอะไรหนอ.

[๔๘๕] ดูก่อนสามะ มฤคปรากฏแล้ว มาสู่ระยะลูกศร เห็นท่านเข้าก็หนีไป เพราะเหตุนั้น เราจึงเกิดความโกรธ.

[๔๘๖] จำเดิมแต่ข้าพระองค์จำความได้ รู้จักถูกและผิด ฝูงมฤคในป่าแม้ดุร้าย ก็ไม่สะดุ้งกลัวข้าพระองค์ จำเดิมแต่ข้าพระองค์นุ่งผ้าเปลือกไม้ ตั้งอยู่ในปฐมวัย ฝูงมฤคในป่าแม้ดุร้ายก็ไม่สะดุ้งกลัวข้าพระองค์ ข้าแต่พระราชา ฝูงกินนรผู้ขลาดอยู่ภูเขาคันธมาทน์ เห็นข้าพระองค์ย่อมไม่สะดุ้งกลัว เราทั้งหลายต่างชื่นชมต่อกันไปสู่ภูเขาและป่า เมื่อเป็นเช่นนี้ มฤคทั้งหลายจะสะดุ้งกลัวข้าพระองค์ด้วยเหตุไร.

[๔๘๗] ดูก่อนสามะ เนื้อเห็นท่านแล้วหาได้ตกใจไม่ เรากล่าวเท็จแก่ท่านดอก เราถูกความโกรธและ


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 157

ความโลภครอบงำแล้ว จึงยิงท่านด้วยลูกศรนั้น ดูก่อนสามะ ท่านมาแต่ไหน หรือใครใช้ท่านมา ท่านผู้จะตักน้ำจึงไปสู่แม่น้ำมิคสัมมตา แล้วกลับมา.

[๔๘๘] บิดามารดาของข้าพระองค์ตาบอด ข้าพระองค์เลี้ยงท่านเหล่านั้นอยู่ในป่าใหญ่ ข้าพระองค์นำน้ำมาเพื่อท่านทั้งสองนั้น จึงมาแม่น้ำมิคสัมมตา.

[๔๘๙] อาหารของบิดามารดานั้นยังพอมีอยู่ เมื่อเป็นเช่นนี้ ชีวิตของท่านทั้งสองนั้น จักดำรงอยู่ราวหกวัน ท่านทั้งสองนั้นตามืด เกรงจะตายเสียเพราะไม่ได้ดื่มน้ำ ความทุกข์ เพราะถูกพระองค์ยิงด้วยลูกศรนี้ หาเป็นความทุกข์ของข้าพระองค์นักไม่ เพราะความทุกข์นี้อันบุรุษจะต้องได้ประสบ ความทุกข์ ที่ข้าพระองค์ไม่ได้เห็นบิดามารดา เป็นความทุกข์ของข้าพระองค์ ยิ่งกว่าความทุกข์เพราะถูกพระองค์ยิงด้วยลูกศรนี้เสียอีก ความทุกข์เพราะถูกพระองค์ยิงด้วยลูกศรนี้ หาเป็นความทุกข์ของข้าพระองค์นักไม่ เพราะความทุกข์นี้อันบุรุษจะต้องได้ประสบ บิดามารดาทั้งสองนั้นเป็นคนกำพร้าเข็ญใจ จะร้องไห้อยู่ตลอดราตรีนาน จักเหือดแห้งไปในกึ่งราตรีหรือในที่สุดราตรี ดุจแม่น้ำน้อยในคิมหฤดูจักเหือดแห้งไป ข้าพระองค์เคยหมั่นบำรุงบำเรอนวดมือเท้าของท่านทั้งสองนั้น บัดนี้ไม่เห็นข้าพระองค์ ท่านทั้งสองจักบ่นเรียกหาว่า พ่อสามๆ เที่ยวอยู่ในป่าใหญ่ ลูกศรคือ


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 158

ความโศกที่สองนี้แหละ ยังหัวใจของข้าพระองค์ให้หวั่นไหว เพราะข้าพระองค์ไม่ได้เห็นท่านทั้งสองผู้จักษุบอด ข้าพระองค์เห็นจักละเสียซึ่งชีวิต.

[๔๙๐] ดูก่อนสามะผู้งดงามน่าดู ท่านอย่าปริเทวะมากเลย เราเป็นผู้ฉลาดในธนูศิลป์ ปรากฏในชมพูทวีปทั้งสิ้นว่าเป็นผู้แม่นยำนัก จักฆ่ามฤคและแสวงหามูลผลาหารป่ามา ทำการงานเลี้ยงบิดามารดาของท่านในป่าใหญ่ ดูก่อนสามะ ป่าที่บิดามารดาของท่านอยู่ อยู่ที่ไหน เราจักเลี้ยงบิดามารดาของท่านให้เหมือนท่านเลี้ยง.

[๔๙๑] ข้าแต่พระราชา หนทางที่เดินเฉพาะคนเดียว ซึ่งอยู่ทางหัวนอนของข้าพระองค์นี้ เสด็จดำเนินไปแต่ที่นี้ระหว่างกึ่งเสียงกู่ จะถึงสถานที่อยู่แห่งบิดามารดาของข้าพระองค์ ขอเสด็จดำเนินแต่ที่นี้ไปเลี้ยงดูท่านทั้งสองในสถานที่นั้นเถิด.

[๔๙๒] ข้าแต่พระเจ้ากาสิราช ข้าพระบาทขอน้อมกราบพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้ยังชาวกาสีให้เจริญ ข้าพระบาทขอน้อมกราบพระองค์ ขอพระองค์ทรงบำรุงเลี้ยงบิดามารดาตามืดของข้าพระองค์ในป่าใหญ่ ข้าพระองค์ขอประคองอัญชลีถวายบังคมพระองค์ ขอพระองค์มีพระดำรัสกะบิดามารดาของข้าพระองค์ให้ทราบว่า ข้าพระองค์ไหว้นบท่านด้วย.


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 159

[๔๙๓] หนุ่มสามะผู้งดงามน่าดูนั้น ครั้นกล่าวคำนี้แล้ว ถูกกำลังแห่งพิษซาบซ่าน เป็นผู้วิสัญญีสลบไป.

[๔๙๔] พระราชานั้น ทรงคร่ำครวญน่าสงสารเป็นอันมากว่า เราสำคัญว่าจะไม่แก่ไม่ตาย เรารู้เรื่องนี้วันนี้ แต่ก่อนหารู้ไม่. เพราะได้เห็นสามบัณฑิตทำกาลกิริยา ความไม่มาแห่งมฤตยู ย่อมไม่มี สามบัณฑิตถูกลูกศรอาบยาพิษ ซึมซาบแล้วพูดอยู่กะเรา. ครั้นกาลล่วงไปอย่างนี้ในวันนี้ ไม่พูดอะไรๆ เลย เราจะต้องไปสู่นรกแน่นอน เราไม่มีความสงสัยในข้อนี้เลย. เพราะว่าบาปหยาบช้าอันเราทำแล้ว ตลอดราตรีนานในกาลนั้น เราทำกรรมหยาบช้าในบ้านเมือง คนทั้งหลายจะติเตียนเรา ใครเล่าจะควรมากล่าวติเตียนเรา ในราวป่าอันหามนุษย์มิได้. คนทั้งหลายจะประชุมกันในบ้านเมือง โจทนาว่ากล่าวเอาโทษเรา ใครเล่าหนอจะโจทนาว่ากล่าวเอาโทษเราในป่าอันหามนุษย์มิได้.

[๔๙๕] เทพธิดานั้น อันตรธานไปในภูเขาคันธมาทน์ มาภาษิตคาถาเหล่านี้ เพื่ออนุเคราะห์พระราชาว่า พระองค์ทำความผิดมาก ได้ทำกรรมอันชั่วช้า บิดามารดาและบุตร ทั้งสามผู้หาความประทุษร้ายมิได้ ถูกพระองค์ฆ่าเสียด้วยลูกศรลูกเดียวกัน เชิญเสด็จมาเถิด ข้าพเจ้าจะพร่ำสอนพระองค์ ด้วยวิธีที่พระองค์จะได้สุคติ พระองค์จงเลี้ยงดูบิดามารดาทั้งสองผู้มี


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 160

จักษุมืด โดยธรรมในป่า ข้าพเจ้าเข้าใจว่า สุคติจะพึงมีแก่พระองค์.

[๔๙๖] พระราชานั้นทรงคร่ำครวญ อย่างน่าสงสารเป็นอันมาก ทรงถือหม้อน้ำ บ่ายพระพักตร์ทางทิศทักษิณเสด็จหลีกไปแล้ว.

[๔๙๗] นั่นเสียงฝีเท้าใครหนอ เสียงฝีเท้ามนุษย์เดินเป็นแน่ เสียงฝีเท้าสามบุตรเราไม่ดัง ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ท่านเป็นใครหนอ สามบุตรเราเดินเบา วางเท้าเบา เสียงฝีเท้าสามบุตรเราไม่ดัง ท่านเป็นใครหนอ.

[๔๙๘] เราเป็นพระราชาของชาวกาสี คนเรียกเราว่า พระเจ้าปิลยักษ์ เราละแว่นแคว้นเที่ยวแสวงหามฤคเพราะความโลภ อนึ่ง เราเป็นผู้ฉลาดในธนูศิลป์ ปรากฏว่าเป็นผู้แม่นยำนัก แม้ช้างมาสู่ระยะลูกศรของเรา ก็ไม่พึงพ้นไปได้.

[๔๙๙] ข้าแต่มหาบพิตร พระองค์เสด็จมาดีแล้ว อนึ่ง พระองค์เสด็จมาแต่ไกลก็เหมือนใกล้ พระองค์ผู้มีอิสระเสด็จมาถึงแล้ว ขอจงทรงทราบสิ่งที่มีอยู่ในที่นี้ ข้าแต่มหาบพิตร เชิญเสวยผลมะพลับ ผลมะหาด ผลมะซาง และผลหมากเม่าอันเป็นผลไม้เล็กน้อย ขอได้โปรดเลือกเสวยผลที่ดีๆ เถิด ข้าแต่มหาบพิตร ขอจงทรงดื่มน้ำซึ่งเป็นน้ำเย็น นำมาแต่มิคสัมมตานที ซึ่งไหลจากซอกเขา ถ้าทรงพระประสงค์.


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 161

[๕๐๐] ท่านทั้งสองจักษุมืดไม่สามารถจะเห็นอะไรๆ ในป่า ใครเล่าหนอนำผลไม้มาเพื่อท่านทั้งสอง ความสะสมผลไม้น้อยใหญ่ไว้โดยเรียบร้อยนี้ ปรากฏแก่ข้าพเจ้าว่า ดูเหมือนคนตาดีสะสมไว้.

[๕๐๑] สามะหนุ่มน้อยรูปร่างสันทัดงดงามน่าดู เกศาของเธอยาวดำ เฟื้อยลงไปปลายงอนช้อนขึ้นข้างบน เธอนั่นแหละนำผลไม้มาถือหม้อน้ำจากที่นี่ ไปสู่แม่น้ำนำน้ำมา เห็นจะกลับมาใกล้แล้ว.

[๕๐๒] ข้าพเจ้าได้ฆ่าสามกุมารผู้ปฏิบัติบำรุงท่านเสียแล้ว ผู้เป็นเจ้ากล่าวถึงสามกุมารผู้งดงามน่าดูใด เกศาของสามกุมารนั้นยาวดำเฟื้อยลงไปปลายงอน ช้อนขึ้นเบื้องบน สามกุมารนั้นข้าพเจ้าฆ่าเสียแล้ว นอนอยู่ที่หาดทรายเปรอะเปื้อนด้วยโลหิต.

[๕๐๓] ข้าแต่ทุกูลบัณฑิต ท่านพูดกับใครซึ่งบอกว่า ข้าพเจ้าฆ่าสามกุมารเสียแล้ว ใจของดิฉันย่อมหวั่นไหวเพราะได้ยินว่า สามกุมารถูกฆ่าเสียแล้ว กิ่งอ่อนแห่งต้นโพธิ์ใบอันลมพัดให้หวั่นไหว ฉันใด ใจของดิฉันย่อมหวั่นไหวเพราะได้ยินว่า สามกุมารถูกฆ่าเสียแล้ว ฉันนั้น.

[๕๐๔] ดูก่อนนางปาริกา ท่านผู้นี้คือพระเจ้ากาสี พระองค์ทรงยิงสามกุมารด้วยลูกศร ที่มิคสัมมตานที ด้วยความโกรธ เราทั้งสองอย่าปรารถนาบาปต่อพระองค์เลย.


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 162

[๕๐๕] บุตรที่รักอันหาได้ด้วยยาก ผู้ได้เลี้ยงเราทั้งสองผู้ตามืดในป่า จะไม่ยังจิตให้โกรธในบุคคลผู้ฆ่าบุตรคนเดียวนั้นได้อย่างไร.

[๕๐๖] บุตรที่รักอันหาได้ด้วยยาก ผู้ได้เลี้ยงเราทั้งสองผู้ตามืดในป่า บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญบุคคลผู้ไม่โกรธในบุคคลผู้ฆ่าบุตรคนเดียวนั้น.

[๕๐๗] ขอผู้เป็นเจ้าทั้งสองอย่าคร่ำครวญเพราะข้าพเจ้ากล่าวว่า ข้าพเจ้าฆ่าสามกุมารเสียแล้วไปมากเลย ข้าพเจ้าจักรับการงานเลี้ยงดูผู้เป็นเจ้าทั้งสองในป่าใหญ่ ข้าพเจ้าเป็นผู้ฉลาดในธนูศิลป์ ปรากฏว่าเป็นผู้แม่นยำนัก ข้าพเจ้าจักรับการงานเลี้ยงดูผู้เป็นเจ้าทั้งสองในป่าใหญ่ ข้าพเจ้าจักฆ่ามฤคและแสวงหามูลผลในป่า รับการงานเลี้ยงดูผู้เป็นเจ้าทั้งสองในป่าใหญ่.

[๕๐๘] ขอถวายพระพรมหาบพิตร สภาพนั่นไม่สมควร การทรงทำอย่างนั้นไม่ควรในอาตมาทั้งสอง พระองค์เป็นพระราชาของอาตมาทั้งสอง อาตมาทั้งสองขอถวายบังคมพระยุคลบาทของพระองค์.

[๕๐๙] ข้าแต่ท่านผู้เชื้อชาติเนสาท ท่านกล่าวเป็นธรรม ท่านบำเพ็ญความถ่อมตนแล้ว ขอท่านจงเป็นบิดาของข้าพเจ้า ข้าแต่นางปาริกา ขอท่านจงเป็นมารดาของข้าพเจ้า.


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 163

[๕๑๐] ข้าแต่พระเจ้ากาสี อาตมาทั้งสองขอนอบน้อมแด่พระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้ยังชาวกาสีให้เจริญ อาตมาทั้งสองขอนอบน้อมแด่พระองค์ อาตมาทั้งสองประคองอัญชลีแด่พระองค์ ขอพระองค์โปรดพาอาตมาทั้งสองไปให้ถึงสามกุมาร อาตมาทั้งสองจะสัมผัสเท้าทั้งสองและดวงหน้าอันงดงามน่าดูของเธอ แล้วทรมานตนให้ถึงกาลกิริยา.

[๕๑๑] สามกุมารถูกฆ่านอนอยู่ที่ป่าใด ดุจดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ตกลงเหนือแผ่นดินแล้วเกลือกเปื้อนด้วยฝุ่นทราย ป่านั้นเป็นป่าใหญ่ เกลือนกล่นด้วยพาลมฤค ปรากฏเหมือนที่สุดอากาศ ผู้เป็นเจ้าทั้งสองจงอยู่ในอาศรมนี้แหละ.

[๕๑๒] ถ้าในป่านั้นมีพาลมฤคตั้งร้อย ตั้งพันและตั้งหมื่น อาตมาทั้งสองก็ไม่มีความกลัวในพาลมฤคทั้งหลายในป่าไหนๆ เลย.

[๕๑๓] ในกาลนั้น พระเจ้ากาสีทรงพาฤาษีทั้งสองผู้ตามืดไปในป่าใหญ่ สุวรรณสามถูกฆ่าอยู่ในที่ใด ก็ทรงจูงมือฤๅษีทั้งสองไปในที่นั้น.

[๕๑๔] ดาบสดาบสินีทั้งสองเห็นสามกุมารผู้เป็นบุตรนอนเกลือกเปื้อนฝุ่นทราย ถูกทิ้งไว้ในป่าใหญ่ ดุจดวงจันทร์หรือดวงอาทิตย์ตกเหนือแผ่นดินก็ปริเทวนาการน่าสงสาร ประคองแขนทั้งสองร้องไห้ว่าสภาพไม่ยุติธรรมมาเป็นไปในโลกนี้ พ่อสามผู้งามน่าดู พ่อ


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 164

มาหลับเอาจริงๆ เคลิบเคลิ้มเอามากมายดั่งคนดื่มสุราเข้ม ขัดเคืองใครเอาใหญ่ ถือตัวมิใช่น้อย มีใจพิเศษ ในเมื่อกาลล่วงไปอย่างนี้ในวันนี้ พ่อไม่พูดอะไรๆ บ้างเลย พ่อสามนี้เป็นผู้ปฏิบัติบำรุงเราทั้งสองผู้ตามืด มาทำกาลกิริยาเสียแล้ว บัดนี้ใครเล่าจักชำระชฎาอันหม่นหมองเปื้อนฝุ่นละออง ใครเล่าจักจับกราดกวาดอาศรมของเราทั้งสอง ใครเล่าจักจัดน้ำเย็นและนำร้อนให้อาบ ใครเล่าจักให้เราทั้งสองได้บริโภคมูลผลาหารในป่า ลูกสามะนี้เป็นผู้ปฏิบัติบำรุงเราทั้งสองผู้ตามืดมาทำกาลกิริยาเสียแล้ว.

[๕๑๕] มารดาผู้ระทมจิตด้วยความโศกถึงบุตร ได้เห็นสามะผู้เป็นบุตรนอนเกลือกเปื้อนด้วยฝุ่นทราย ได้กล่าวคำสัจว่า ลูกสามะนี้ได้เป็นผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติ ได้เป็นผู้ประพฤติดังพรหมเป็นปกติ ได้เป็นผู้กล่าวคำจริงมาแต่ก่อน ได้เป็นผู้เลี้ยงบิดามารดา ได้เป็นผู้ประพฤติยำเกรงต่อท่านผู้เจริญในสกุล เป็นผู้เป็นที่รักยิ่งกว่าชีวิตของเราโดยความจริงใดๆ ด้วยการกล่าวความจริงนั้นๆ ขอพิษของลูกสามะจงหายไป บุญอย่างใดอย่างหนึ่งที่ลูกสามะกระทำแล้วแก่เราและแก่บิดาของเธอ มีอยู่ ด้วยอานุภาพกุศลบุญนั้นทั้งหมด ขอพิษของลูกสามะจงหายไป.

[๕๑๖] บิดาผู้ระทมจิตด้วยความโศกถึงบุตร ได้เห็นสามะผู้เป็นบุตรนอนเกลือกเปื้อนด้วยฝุ่นทราย ได้


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 165

กล่าวคำสัจว่า ลูกสามะนี้ได้เป็นผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติ ได้เป็นผู้ประพฤติดังพรหมเป็นปกติ ได้เป็นผู้กล่าวคำจริงมาแต่ก่อน ได้เป็นผู้เลี้ยงบิดามารดา ได้เป็นผู้ประพฤติยำเกรงต่อท่านผู้เจริญในสกุล เป็นผู้เป็นที่รักยิ่งกว่าชีวิตของเรา โดยความจริงใดๆ ด้วยการกล่าวความจริงนั้นๆ ขอพิษของลูกสามะจงหายไป บุญอย่างใดอย่างหนึ่งที่ลูกสามะกระทำแล้วแก่เราและแก่มารดาของเธอ มีอยู่ ด้วยอานุภาพกุศลบุญนั้นทั้งหมด ขอพิษของลูกสามะจงหายไป.

[๕๑๗] นางพสุนธรีเทพธิดาอันตรธานไปจากภูเขาคันธมาทน์ มากล่าวสัจจวาจาด้วยความเอ็นดูสามกุมารว่า เราอยู่ที่ภูเขาคันธมาทน์ตลอดราตรีนาน ใครๆ อื่นซึ่งเป็นที่รักของเรากว่าสามกุมารไม่มี ของหอมล้วนแล้วด้วยไม้หอมทั้งหมด ณ คันธมาทน์บรรพตมีอยู่ ด้วยสัจจวาจานี้ ขอพิษของสามกุมารจงหายไป เมื่อฤๅษีทั้งสองบ่นเพ้อรำพันเป็นอันมากน่าสงสาร สามกุมารผู้หนุ่มงดงามน่าทัศนา ก็ลุกขึ้นเร็วพลัน.

[๕๑๘] ข้าพเจ้ามีนามว่าสามะ ขอความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าลุกขึ้นได้แล้วโดยสวัสดี ขอท่านทั้งหลายอย่าคร่ำครวญนักเลย จงพูดกะข้าพเจ้าด้วยเสียงอันไพเราะเถิด.


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 166

[๕๑๙] ข้าแต่มหาบพิตร พระองค์เสด็จมาดีแล้ว อนึ่ง พระองค์เสด็จมาแต่ไกลก็เหมือนใกล้ พระองค์ผู้มีอิสระเสด็จมาถึงแล้ว ขอจงทรงทราบสิ่งที่มีอยู่ในที่นี้ ข้าแต่มหาบพิตร เชิญเสวยผลมะพลับ ผลมะหาด ผลมะซาง และผลหมากเม่าอันเป็นผลไม้เล็กน้อย ขอได้โปรดเสือกเสวยผลที่ดีๆ เถิด ข้าแต่มหาบพิตร ขอจงทรงดื่มน้ำซึ่งเป็นน้ำเย็น นำมาแต่มิคสัมมตานที ซึ่งไหลมาจากซอกเขา ถ้าทรงพระประสงค์.

[๕๒๐] ข้าพเจ้าหลงเอามาก หลงเอาจริงๆ มืดไปทั่วทิศ ข้าพเจ้าได้เห็นสามบัณฑิตนั้น ทำกาลกิริยาแล้ว ทำไมท่านเป็นได้อีกเล่าหนอ.

[๕๒๑] ข้าแต่มหาราชเจ้า โลกย่อมสำคัญซึ่งบุคคลผู้ยังมีชีวิตอยู่ เสวยเวทนาอย่างหนัก มีความดำริในใจเข้าไปใกล้แล้ว ยังเป็นอยู่แท้ๆ ว่าตายแล้ว ข้าแต่มหาราชเจ้า โลกย่อมสำคัญซึ่งบุคคลผู้ยังมีชีวิตอยู่ เสวยเวทนาอย่างหนัก ถึงความดับสนิทระงับแล้วนั้น ยังเป็นอยู่แท้ๆ ว่าตายแล้ว.

[๕๒๒] บุคคลใดเลี้ยงดูบิดามารดาโดยธรรม เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อมแก้ไขคุ้มครองบุคคลผู้เลี้ยงบิดามารดานั้น บุคคลใดเลี้ยงดูบิดามารดาโดยธรรม นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมสรรเสริญบุคคลผู้นั้น


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 167

ในโลกนี้ บุคคลนั้นละจากโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงอยู่ในสวรรค์.

[๕๒๓] ข้าพเจ้านี้หลงเอามากจริงๆ มืดไปทั่วทิศ ท่านสามบัณฑิต ข้าพเจ้าขอถึงท่านเป็นสรณะ และขอท่านจงเป็นสรณะของข้าพเจ้า.

[๕๒๔] ข้าแต่ขัตติยมหาราช ขอพระองค์ทรงประพฤติธรรมในพระชนกพระชนนี ในพระโอรสและพระมเหสี ในมิตรและอมาตย์ ในพาหนะและพลนิกาย ในชาวบ้านและชาวนิคม ในชาวแว่นแคว้นและชาวชนบท ในสมณะและพราหมณ์ ในฝูงมฤคและฝูงปักษีเถิด ครั้นพระองค์ทรงประพฤติธรรมนั้นๆ ในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์ ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์ทรงประพฤติธรรมเถิด ธรรมที่พระองค์ทรงประพฤติแล้ว ย่อมนำความสุขมาให้ ครั้นพระองค์ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์ ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์ทรงประพฤติธรรมเถิด พระอินทร์ เทพเจ้าพร้อมทั้งพระพรหมถึงแล้วซึ่งทิพยสถานด้วยธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ข้าแต่พระราชา ขอพระองค์อย่าทรงประมาทธรรม.

จบสุวรรณสามชาดกที่ ๓


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 168

อรรถกถามหานิบาต

สุวรรณสามชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภพระภิกษุรูปหนึ่งผู้เลี้ยงมารดา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า โก นุ มํ อุสุนา วิชฺฌิ ดังนี้เป็นต้น.

ดังได้สดับมา ในกรุงสาวัตถี มีกุลบุตรผู้หนึ่งเป็นบุตรคนเดียวของสกุลเศรษฐีผู้หนึ่งซึ่งมีทรัพย์สมบัติสิบแปดโกฏิ กุลบุตรนั้นเป็นที่รักเป็นที่เจริญใจของบิดามารดา วันหนึ่ง เขาอยู่บนปราสาทเปิดสีหบัญชรแลดูในถนนใหญ่ เห็นมหาชนถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น ไปสู่พระเชตวันมหาวิหาร เพื่อต้องการสดับพระธรรมเทศนา จึงคิดว่า แม้ตัวเราก็จักไปกับพวกนั้นบ้าง จึงให้คนถือของหอมและดอกไม้เป็นต้นไปสู่พระวิหาร ถวายผ้าเภสัชและน้ำดื่มเป็นต้นแด่พระสงฆ์ และบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ฟังพระธรรมเทศนาแล้วเห็นโทษในกามทั้งหลาย กำหนดอานิสงส์แห่งบรรพชา ครั้นบริษัทลุกไปแล้ว จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลขอบรรพชา ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะกุลบุตรนั้นอย่างนี้ว่า พระตถาคตทั้งหลายไม่ยังบุตรที่บิดามารดายังมิได้อนุญาตให้บรรพชา กุลบุตรได้ฟังรับสั่งดังนั้น จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กลับไปเคหสถาน ไหว้บิดามารดาด้วยความเคารพเป็นอันดีแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าแต่คุณพ่อคุณแม่ ข้าพเจ้าจักบวชในสำนักพระตถาคต ลำดับนั้นบิดามารดาของกุลบุตรนั้นได้ฟังคำของเขาแล้ว ก็เป็นราวกะมีหัวใจแตกเป็นเจ็ดเสี่ยง เพราะมีบุตรคนเดียว หวั่นไหวอยู่ด้วยความสิเนหาในบุตร ได้กล่าว


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 169

อย่างนี้ว่า ดูก่อนพ่อผู้เป็นบุตรที่รัก ผู้เป็นหน่อแห่งสกุล ผู้เป็นดั่งดวงตา ผู้เช่นกับชีวิตของเราทั้งสอง เราทั้งสองเว้นจากเจ้าเสีย จะมีชีวิตอยู่ได้อย่างไร ชีวิตของเราทั้งสองเนื่องในเจ้า เราทั้งสองก็แก่เฒ่าแล้ว จักตายในวันนี้พรุ่งนี้หรือมะรืนนี้ เจ้ายังจะละเราทั้งสองไปเสียอีก ธรรมดาว่าบรรพชาอันบุคคลทำได้ยากยิ่ง เมื่อต้องการเย็น ย่อมได้ร้อน เมื่อต้องการร้อน ย่อมได้เย็น เพราะเหตุนั้น เจ้าอย่าบวชเลย กุลบุตรได้สดับคำของบิดามารดาดังนั้น ก็มีความทุกข์โทมนัส นั่งก้มศีรษะซบเซา ไม่บริโภคอาหารเจ็ดวัน ลำดับนั้นบิดามารดาของกุลบุตรนั้น คิดกันอย่างนี้ว่า ถ้าบุตรของเราไม่ได้รับอนุญาตให้บวชก็จักตาย เราจักไม่ได้เห็นเขาอีกเลย บุตรเราเป็นอยู่ด้วยเพศบรรพชิต เราจักได้เห็นอีกต่อไป ครั้นคิดเห็นกันอย่างนี้แล้วจึงอนุญาตว่า ดูก่อนพ่อ ผู้เป็นลูกรัก เราอนุญาตให้เจ้าบวช เจ้าจงบวชเถิด กุลบุตรได้ฟังดังนั้นก็มีใจยินดี น้อมสรีระทั้งสิ้นลงกราบแทบเท้าบิดามารดา ลาออกจากกรุงสาวัตถีไปสู่พระเชตวันมหาวิหาร ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลขอบรรพชา พระศาสดาตรัสสั่งภิกษุหนึ่งให้บวชกุลบุตรนั้นเป็นสามเณร จำเดิมแต่สามเณรนั้นบวชแล้ว ลาภสักการะเกิดขึ้นเป็นอันมาก สามเณรนั้นยังอาจารย์และอุปัชฌาย์ให้ยินดีอุปสมบทเป็นภิกษุแล้ว เล่าเรียนธรรมอยู่ห้าพรรษา ดำริว่า เราอยู่ในที่นี้เกลื่อนกล่นไปด้วยหมู่ญาติเป็นต้น หาสมควรแก่เราไม่ เป็นผู้ใคร่จะบำเพ็ญวิปัสสนาธุระ จึงเรียนกรรมฐานในสำนักอุปัชฌาย์ ออกจากวิหารเชตวันไปสู่ปัจจันตคามแห่งหนึ่ง อยู่ในป่าอาศัยปัจจันตคามนั้น ภิกษุนั้นเจริญวิปัสสนาในที่นั้น แม้เพียรพยายามอยู่ถึงสิบสองปี ก็ไม่สามารถยังธรรมวิเศษให้เกิด ฝ่ายบิดามารดาของภิกษุนั้น ครั้นเมื่อกาลล่วงไปได้ขัดสนลง คิดเห็นว่า ก็เหล่าชนที่ประกอบการนาหรือพาณิชย์ บุตรหรือพี่น้องที่จะเตือนนึกถึงพาพวกเราไป ไม่มีในสกุลนี้ พวกเขาถือเอาทรัพย์ตามกำลังของตนๆ


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 170

หนีไปตามชอบใจ แม้ทาสกรรมกรในเรือนเป็นต้น ก็ถือเอาเงินทองเป็นต้นหนีไป ครั้นต่อมา ชนทั้งสองจึงตกทุกข์ได้ยากเหลือเกิน ไม่ได้แม้การรดน้ำในมือ ต้องขายเรือน ไม่มีเรือนอยู่ ถึงความเป็นผู้น่าสงสารอย่างยิ่ง นุ่งห่มผ้าท่อนเก่า ถือกระเบื้องเที่ยวขอทานที่นี่ที่นั่น ในกาลนั้น ภิกษุรูปหนึ่งออกจากพระเชตวันมหาวิหารไปถึงที่อยู่ของภิกษุบุตรเศรษฐีอนาถานั้น ภิกษุเศรษฐีบุตรนั้นทำอาคันตุกวัตรแก่ภิกษุนั้นแล้ว นั่งเป็นสุขแล้วจึงถามว่า ท่านมาแต่ไหน ภิกษุอาคันตุกะแจ้งว่ามาแต่พระเชตวัน จึงถามถึงความผาสุกแห่งพระศาสดาและของพระมหาสาวกเป็นต้น แล้วถามถึงข่าวคราวแห่งบิดามารดาว่า ท่านขอรับ สกุลเศรษฐีชื่อโน้นในกรุงสาวัตถีสบายดีหรือ ภิกษุอาคันตุกะตอบว่า อาวุโส ท่านอย่าถามถึงข่าวคราวแห่งสกุลนั้นเลย ถามว่า เป็นอย่างไรหรือท่าน ตอบว่า ได้ยินว่า สกุลนั้นมีบุตรคนเดียว เขาบวชในพระศาสนา จำเดิมแต่เขาบวชแล้ว สกุลนั้นก็เสื่อมสิ้นไป บัดนี้เศรษฐีทั้งสองเป็นกำพร้าน่าสงสารอย่างยิ่ง ถือกระเบื้องเที่ยวขอทาน ภิกษุเศรษฐีบุตรได้ฟังคำของภิกษุอาคันตุกะแล้ว ก็ไม่อาจจะทรงตัวอยู่ได้ มีน้ำตานองหน้าเริ่มร้องไห้ พระเถระเห็นดังนั้นจึงกล่าวว่า เธอร้องไห้ทำไม ภิกษุเศรษฐีบุตรตอบว่า ท่านขอรับ ชนสองคนนั้นเป็นบิดามารดาของกระผม กระผมเป็นบุตรของท่านทั้งสองนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า บิดามารดาของเธอถึงความพินาศเพราะอาศัยเธอ เธอจงไปปฏิบัติบิดามารดานั้น ภิกษุเศรษฐีบุตรคิดว่า เราแม้เพียรพยายามอยู่ถึงสิบสองปี ก็ไม่สามารถที่จะยังมรรคหรือผลให้บังเกิด เราจักเป็นคนอาภัพ ประโยชน์อะไรด้วยบรรพชาเล่า เราจักเป็นคฤหัสถ์เลี้ยงบิดามารดา ให้ทาน จักเป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า คิดฉะนี้แล้ว มอบสถานที่อยู่ในป่าแก่พระเถระนั้น นมัสการพระเถระแล้ว รุ่งขึ้นจึงออกจากป่าไปโดยลำดับ ลุถึงวิหารหลังพระเชตวัน ไม่ไกลกรุงสาวัตถี ณ ที่


ความคิดเห็น 17    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 171

ตรงนั้นเป็นทางสองแพร่ง ทางหนึ่งไปพระเชตวัน ทางหนึ่งไปในกรุงสาวัตถี ภิกษุนั้นหยุดอยู่ตรงนั้น คิดว่า เราจักไปหาบิดามารดาก่อน หรือจักไปเฝ้าพระทศพลก่อน แล้วคิดต่อไปว่า เราไม่ได้พบบิดามารดานานแล้วก็จริง แต่จำเดิมแต่นี้ เราจักได้เฝ้าพระพุทธเจ้าได้ยาก วันนี้เราจักเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วฟังธรรม รุ่งขึ้นจึงไปหาบิดามารดาแต่เช้าเทียว คิดฉะนี้แล้ว ละมรรคาไปกรุงสาวัตถี ไปสู่มรรคาที่ไปพระเชตวัน ถึงพระเชตวันเวลาเย็น.

ก็วันนั้น พระศาสดาทรงตรวจดูสัตวโลกในเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งภิกษุผู้เป็นบุตรแห่งสกุลรูปนี้ พระองค์จึงทรงพรรณนาคุณแห่งบิดามารดาด้วยมาตุโปสกสูตร ในเวลาที่ภิกษุนั้นมาถึง ก็ภิกษุนั้นยืนอยู่ในที่สุดบริษัท สดับธรรมกถาอันไพเราะ จึงรำพึงว่า เราคิดไว้ว่าจักเป็นคฤหัสถ์ อาจบำรุงปฏิบัติบิดามารดา แต่พระศาสดาตรัสว่า แม้เป็นบรรพชิตก็ทำอุปการะแก่บิดามารดาได้ ถ้าเราไม่ได้มาเฝ้าพระศาสดาก่อนแล้วไป พึงเสื่อมจากบรรพชาเห็นปานนี้ ก็บัดนี้ เราไม่ต้องสึกเป็นคฤหัสถ์ เป็นบรรพชิตอยู่นี่แหละ จักบำรุงบิดามารดา ภิกษุนั้นถวายบังคมพระศาสดาแล้วออกจากพระเชตวันไปสู่โรงสลาก รับภัตตาหารและยาคูที่ได้ด้วยสลาก เป็นภิกษุอยู่ป่าสิบสองปี ได้เป็นเหมือนถึงความเป็นผู้พ่ายแพ้แล้ว ภิกษุนั้นเข้าไปในกรุงสาวัตถีแต่เช้าทีเดียว คิดว่าเราจักรับข้าวยาคูก่อนหรือไปหาบิดามารดาก่อน แล้วคิดว่า การมีมือเปล่าไปสู่สำนักคนกำพร้าไม่สมควร จึงถือเอายาคูไปสู่ประตูเรือนเก่าของบิดามารดาเหล่านั้น ได้เห็นบิดามารดาเที่ยวขอยาคูแล้วเข้าอาศัยริมฝาเรือนคนอื่นนั่งอยู่ ถึงความเป็นคนกำพร้าเข็ญใจ ก็มีความโศกเกิดขึ้น มีน้ำตานองหน้ายืนอยู่ในที่ใกล้ๆ บิดามารดาทั้งสองนั้น บิดามารดาแม้เห็นท่านแล้วก็จำไม่ได้ มารดาของภิกษุนั้นสำคัญว่า ภิกษุนั้นจักยืนเพื่อภิกขาจาร จึงกล่าวว่า ของเคี้ยวของฉันอันควรถวายพระผู้เป็นเจ้าไม่มี นิมนต์โปรดสัตว์


ความคิดเห็น 18    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 172

ข้างหน้าเถิด ภิกษุนั้นได้ฟังคำแห่งมารดา ก็เกิดความโศกเป็นกำลัง มีน้ำตานองหน้ายืนอยู่ตรงนั้นเอง เพราะได้รับความเศร้าใจ แม้มารดากล่าวเช่นนั้นสองครั้งสามครั้ง ก็ยังยืนอยู่นั่นเอง ลำดับนั้น บิดาของภิกษุนั้นพูดกะมารดาว่า จงไปดู นั่นบุตรของเราทั้งสองหรือหนอ นางลุกขึ้นแล้วไปใกล้ภิกษุนั้นแลดูก็จำได้ จึงหมอบปริเทวนาการแทบเท้าแห่งภิกษุผู้เป็นบุตร ฝ่ายบิดาไปบ้างก็ร้องไห้ตรงที่นั้นเหมือนกัน น่าสงสารเหลือเกิน ฝ่ายภิกษุนั้นเห็นบิดามารดาก็ไม่อาจจะทรงกายอยู่ได้จึงร้องไห้ ภิกษุนั้นกลั้นความโศกแล้วกล่าวว่า ท่านทั้งสองอย่าคิดเลย อาตมาจักเลี้ยงดูท่านให้ผาสุก ยังบิดามารดาให้อุ่นใจแล้ว ให้ดื่มยาคู ให้นั่งพักในที่ควรส่วนหนึ่งแล้ว นำภิกษาหารมาอีกให้บิดามารดาบริโภค แล้วแสวงหาภิกษาเพื่อตน ไปสู่สำนักบิดามารดา ถามเรื่องภัตตาหารอีก ได้รับตอบว่า ไม่บริโภค จึงบริโภคเอง แล้วให้บิดามารดาอยู่ในที่ควรแห่งหนึ่ง ภิกษุนั้นได้ปฏิบัติบิดามารดาทั้งสองโดยทำนองนี้ดังแต่นั้นมา แม้ภัตที่เกิดในปักษ์เป็นต้นที่ตนได้มา ก็ให้แก่บิดามารดา ตนเองเที่ยวภิกษาจาร ได้มาก็บริโภค เมื่อไม่ได้ก็ไม่บริโภค ได้ผ้าจำพรรษาก็ตาม ผ้าอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งเป็นอดิเรกลาภก็ตาม ก็ให้แก่บิดามารดา ซักย้อมผ้าเก่าๆ ที่บิดามารดานุ่งห่มแล้ว เย็บปะนุ่งห่มเอง ก็วันที่ภิกษุนั้นได้อาหาร มีน้อยวัน วันที่ไม่ได้ มีมากกว่า ผ้านุ่งผ้าห่มของภิกษุนั้นเศร้าหมองเต็มที เมื่อภิกษุนั้นปฏิบัติบิดามารดาต่อมา ก็เป็นผู้ซูบผอมเศร้าหมองไม่ผ่องใส กายเหลืองขึ้นๆ มีตัวดาษไปด้วยเส้นเอ็น ครั้งนั้นเหล่าภิกษุที่เป็นเพื่อนเห็นเพื่อนคบกันมาเห็นภิกษุนั้น จึงถามว่า อาวุโส แต่ก่อนสรีรวรรณะของเธองามสดใส แต่บัดนี้เธอซูบผอมเศร้าหมองไม่ผ่องใส กายเหลืองขึ้นๆ มีตัวดาษไปด้วยเส้นเอ็น พยาธิเกิดขึ้นแก่เธอหรือ ภิกษุนั้นตอบว่า อาวุโส ข้าพเจ้าไม่มีพยาธิ แต่มีความกังวล แล้วบอกประพฤติเหตุนั้น ภิกษุเหล่านั้น จึงกล่าวว่า อาวุโส พระศาสดาไม่


ความคิดเห็น 19    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 173

ประทานอนุญาตเพื่อยังของที่เขาให้ด้วยศรัทธาให้ตกไป ก็ท่านถือเอาของที่เขาให้ด้วยศรัทธามาให้แก่เหล่าคฤหัสถ์ ทำกิจไม่สมควร ภิกษุนั้นได้ฟังถ้อยคำของภิกษุเหล่านั้นก็ละอาย ทอดทิ้งมาตาปิตุปัฏฐานกิจเสีย ภิกษุเหล่านั้นยังไม่พอใจ แม้ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ จึงพากันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุชื่อโน้นยังของที่เขาให้ด้วยศรัทธาให้ตกไปเลี้ยงดูคฤหัสถ์ พระศาสดาตรัสเรียกภิกษุนั้นมาตรัสถามว่า แน่ะภิกษุ ได้ยินว่า เธอถือเอาศรัทธาไทยไปเลี้ยงคฤหัสถ์ จริงหรือ เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลรับว่า จริงพระเจ้าข้า เมื่อทรงใคร่จะสรรเสริญการกระทำของภิกษุนั้น และทรงใคร่จะประกาศบุพจริยาของพระองค์ จึงตรัสถามว่า แน่ะภิกษุ เมื่อเธอเลี้ยงดูเหล่าคฤหัสถ์ เลี้ยงดูคฤหัสถ์เหล่าไหน ภิกษุนั้นกราบทูลว่า บิดามารดาของข้าพระองค์ พระเจ้าข้า เพื่อจะยังความอุตสาหะให้เกิดแก่ภิกษุนั้น พระศาสดาได้ทรงประทานสาธุการสามครั้งว่า สาธุ สาธุ สาธุ แล้วตรัสว่า เธอดำรงอยู่ในทางที่เราดำเนินแล้ว แม้เราเมื่อประพฤติบุพจริยาก็ได้บำรุงเลี้ยงบิดามารดา ภิกษุนั้นกลับได้ความเบิกบานใจ ลำดับนั้น เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลวิงวอนให้ทรงประกาศบุพจริยา พระศาสดาจึงทรงนำอดีตนิทานมาแสดงดังต่อไปนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล ณ ที่ไม่ไกลแต่กรุงพาราณสี มีบ้านนายพรานบ้านหนึ่งริมฝั่งนี้แห่งแม่น้ำ และมีบ้านนายพรานอีกบ้านหนึ่งริมฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำ ในบ้านแห่งหนึ่งๆ มีตระกูลประมาณห้าร้อยตระกูล นายเนสาทผู้เป็นใหญ่สองคนในบ้านทั้งสองเป็นสหายกัน ในเวลาที่ยังหนุ่มอยู่ เขาได้ทำกติกาสัญญากันอย่างนี้ว่า ถ้าข้างหนึ่งมีธิดา ข้างหนึ่งมีบุตร เราจักทำอาวาหวิวาทมงคลแก่บุตรธิดาเหล่านั้น ลำดับนั้น ในเรือนของนายเนสาทผู้เป็นใหญ่ในบ้านริมฝั่งนี้คลอดบุตร บิดามารดาให้ชื่อว่า ทุกูลกุมาร เพราะ


ความคิดเห็น 20    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 174

กุมารนั้นอันญาติทั้งหลายรองรับด้วยทุกูลพัสตร์ในขณะเกิด ในเรือนของนายเนสาทผู้เป็นใหญ่อีกคนหนึ่งคลอดธิดา บิดามารดาให้ชื่อว่า ปาริกากุมารี เพราะนางเกิดฝั่งโน้น กุมารกุมารีทั้งสองนี้รูปงามน่าเลื่อมใสมีผิวพรรณดังทองคำ แม้เกิดในสกุลนายพรานก็ไม่ทำปาณาติบาต.

กาลต่อมา เมื่อทุกูลกุมารมีอายุได้สิบหกปี บิดามารดาพูดว่า จะนำกุมาริกามาเพื่อเจ้า แต่ทุกูลกุมารมาแต่พรหมโลก เป็นสัตว์บริสุทธิ์ จึงปิดหูทั้งสองกล่าวว่า ข้าแต่คุณพ่อคุณแม่ ฉันไม่ต้องการอยู่ครองเรือน โปรดอย่าได้พูดอย่างนี้ แม้บิดามารดาพูดอยู่ถึงสองครั้งสามครั้ง ก็ไม่ปรารถนา ฝ่ายปาริกากุมารีแม้บิดามารดาพูดว่า แน่ะแม่ บุตรของสหายเรามีอยู่ เขามีรูปงามน่าเลื่อมใสมีผิวพรรณดั่งทองคำ เราจักให้ลูกแก่เขา นางปาริกาก็กล่าวห้ามอย่างเดียวกัน แล้วปิดหูทั้งสองเสีย เพราะนางมาแต่พรหมโลกเป็นสัตว์บริสุทธิ์.

ในคราวนั้น ทุกูลกุมารส่งข่าวลับไปถึงนางปาริกาว่า ถ้าปาริกามีความต้องการด้วยเมถุนธรรม ก็จงไปสู่เรือนของบุคคลอื่น ฉันไม่มีความพอใจในเมถุน แม้นางปาริกาก็ส่งข่าวลับไปถึงทุกูลกุมารเหมือนกัน แต่บิดามารดาได้กระทำอาวาหวิวาหมงคล แก่กุมารกุมารีทั้งสองผู้ไม่ปรารถนาเรื่องประเวณีเลย เขาทั้งสองมิได้หยั่งลงสู่สมุทรคือกิเลส อยู่ด้วยกันเหมือนมหาพรหมสององค์ ฉะนั้น ฝ่ายทุกูลกุมารไม่ฆ่าปลาหรือเนื้อ โดยที่สุดแม้เนื้อที่บุคคลนำมา ก็ไม่ขาย ลำดับนั้น บิดามารดาพูดกะเขาว่า แน่ะพ่อ เจ้าเกิดในสกุลนายพราน ไม่ปรารถนาอยู่ครองเรือน ไม่ทำการฆ่าสัตว์ เจ้าจักทำอะไร ทุกูลกุมารกล่าวตอบอย่างนี้ว่า ข้าแต่คุณพ่อคุณแม่ เมื่อท่านทั้งสองอนุญาต เราทั้งสองก็จักบวช บิดามารดาได้ฟังดังนั้น จึงอนุญาตว่า ถ้าเช่นนั้น เจ้าทั้งสองจงบวชเถิด ทุกูลกุมารและปาริกากุมารีก็ยินดีร่าเริง ไหว้บิดามารดา


ความคิดเห็น 21    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 175

แล้วออกจากบ้าน เข้าสู่หิมวันตประเทศทางฝั่งแม่น้ำคงคา โดยลำดับ ละแม่น้ำคงคามุ่งตรงไปแม่น้ำมิคสัมมตา ซึ่งไหลลงมาแต่หิมวันตประเทศถึงแม่น้ำคงคา.

ขณะนั้น พิภพแห่งท้าวสักกเทวราชสำแดงอาการเร่าร้อน ท้าวสักกเทวราชทรงอาวัชนาการก็ทรงทราบการณ์นั้น จึงตรัสเรียกพระวิสสุกรรมเทพบุตรมา ตรัสว่า แน่ะพ่อวิสสุกรรม ท่านมหาบุรุษทั้งสองออกจากบ้าน ใคร่จะบวชเป็นฤๅษี เข้าสู่หิมวันตประเทศ ควรที่ท่านทั้งสองนั้นจะได้ที่อยู่ ท่านจงเนรมิตบรรณศาลา และบรรพชิตบริขารเพื่อท่านทั้งสองนั้น ณ ภายในกึ่งเสียงกู่ ตั้งแต่มิคสัมมตานที เสร็จแล้วกลับมา พระวิสสุกรรมเทพบุตรรับเทวบัญชาแล้ว ไปจัดกิจทั้งปวงโดยนัยที่กล่าวแล้วในมูคปักขชาดก ไล่เนื้อและนกที่มีสำเนียงไม่เป็นที่ชอบใจให้หนีไป แล้วเนรมิตมรรคาเดินผู้เดียว แล้วกลับไปที่อยู่ของตน กุมารกุมารีทั้งสองเห็นทางนั้น แล้วก็เดินไปตามทางนั้นถึงอาศรมบท ทุกูลบัณฑิตเข้าสู่บรรณศาลา เห็นบรรพชิตบริขารก็ทราบสักกทัตติยภาพว่า ท้าวสักกะประทานแก่เรา จึงเปลื้องผ้าสาฎกออก นุ่งผ้าเปลือกไม้สีแดงผืนหนึ่งห่มผืนหนึ่ง พาดหนังเสือบนบ่า ผูกมณฑลชฎาทรงเพศฤๅษี แล้วให้นางปาริกาบวชเป็นฤๅษิณี ฤๅษีฤๅษิณีทั้งสององค์นั้น เจริญเมตตาภูมิกามาพจรอาศัยอยู่ในที่นั้น แม้ฝูงเนื้อและนกทั้งปวง ก็กลับได้เมตตาจิตต่อกันและกัน ด้วยอานุภาพเมตตาแห่งดาบสดาบสินีทั้งสองนั้น บรรดาสัตว์เหล่านั้น ไม่มีสัตว์ไรๆ เบียดเบียนสัตว์ไรๆ เลย ฝ่ายปาริกาดาบสินีลุกขึ้นแต่เช้า ตั้งน้ำดื่มและของฉันแล้วกวาดอาศรมบททำกิจทั้งปวง ดาบสและดาบสินีทั้งสองนั้น นำผลไม้เล็กใหญ่มาฉัน แล้วเข้าสู่บรรณศาลาของตนๆ เจริญสมณธรรม สำเร็จการอยู่ในที่นั้นนั่นแล.


ความคิดเห็น 22    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 176

ท้าวสักกเทวราชเสด็จมาสู่ที่บำรุงแห่งพระมุนีทั้งสองนั้น วันหนึ่งพระองค์ทรงพิจารณาเห็นอันตรายแห่งพระมุนีทั้งสองนั้นว่า จักษุทั้งสองข้างของท่านทั้งสองนี้จักมืด จึงลงมาจากเทวโลกเข้าไปหาทุกูลบัณฑิต นมัสการแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ตรัสอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อันตรายจะปรากฏแก่ท่านทั้งสอง ควรที่ท่านทั้งสองจะได้บุตรไว้สำหรับปฏิบัติท่าน ขอท่านทั้งสองจงเสพโลกธรรม ทุกูลบัณฑิตได้สดับคำของท้าวสักกเทวราชจึงกล่าวว่า ดูก่อนท้าวสักกะ พระองค์ตรัสอะไร เราทั้งสองแม้อยู่ท่ามกลางเรือนก็หาได้เสพโลกธรรมไม่ เราทั้งสองละโลกธรรมนี้ เกลียดดุจกองคูถอันเต็มไปด้วยหนอน ก็บัดนี้เราทั้งสองเข้าป่าบวชเป็นฤๅษี จักกระทำกรรมเช่นนี้อย่างไรได้ ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้เป็นเจ้าไม่ต้องทำอย่างนั้น เป็นแต่เอามือลูบท้องปาริกาดาบสินีเวลานางมีระดู ทุกูลบัณฑิตรับว่า อย่างนี้อาจทำได้ ท้าวสักกเทวราชนมัสการทุกูลดาบสแล้วกลับไปที่อยู่ของตน ฝ่ายทุกูลบัณฑิตก็บอกนางปรริกาให้รู้ตัว แล้วเอามือลูบท้องนางในเวลาที่นางมีระดู.

ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์จุติจากเทวโลก ถือปฏิสนธิในท้องนางปาริกาฤๅษีณี กาลล่วงไปได้สิบเดือน นางคลอดบุตรมีผิวพรรณดั่งทองคำ ด้วยเหตุนั้นเอง บิดามารดาจึงตั้งชื่อบุตรว่า สุวรรณสามกุมาร เวลาที่ปาริกาดาบสินี ไปป่าเพื่อหามูลผลาผล นางกินรีทั้งหลายที่อยู่ภายในบรรพต ได้ทำหน้าที่นางนม ดาบสดาบสินีทั้งสองสรงน้ำพระโพธิสัตว์แล้วให้บรรทมในบรรณศาลา แล้วพากันไปหาผลไม้เล็กใหญ่ ในขณะนั้น นางกินรีทั้งหลายอุ้มกุมารไปสรงน้ำที่ซอกเขาเป็นต้น แล้วขึ้นสู่ยอดบรรพต ประดับด้วยบุปผชาติต่างๆ แล้วฝนหรดาลและมโนศิลาเป็นต้นที่แผ่นศิลา ประให้เป็นเม็ดที่นลาตแล้วนำมาให้ไสยาสน์ในบรรณศาลา ฝ่ายนางปาริกากลับมาก็ให้บุตรดื่มนม กาลต่อมา บิดามารดาปกปักรักษาบุตรนั้น จนมีอายุได้สิบหกปี ให้นั่งอยู่ในบรรณ-


ความคิดเห็น 23    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 177

ศาลา ตนเองพากันไปป่าเพื่อหามูลผลาผลในป่า ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทรงคิดว่า อันตรายอะไรๆ จะพึงมีแก่บิดามารดาของเรา ในกาลบางคราว จึงทรงสังเกตทางที่บิดามารดาไป.

อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อดาบสดาบสินีทั้งสองนำมูลผลาผลในป่ากลับมาในเวลาเย็น ถึงที่ใกล้อาศรมบท มหาเมฆตั้งขึ้นฝนตก ท่านทั้งสองจึงเข้าไปสู่โคนไม้แห่งหนึ่ง ยืนอยู่บนยอดจอมปลวก อสรพิษมีอยู่ภายในจอมปลวกนั้น น้ำฝนเจือกลิ่นเหงื่อจากสรีระของสองท่านนั้น ไหลลงเข้ารูจมูกแห่งอสรพิษนั้น มันโกรธพ่นลมในจมูกออกมา ลมในจมูกนั้นถูกจักษุทั้งสองข้างแห่งดาบสและดาบสินีนั้น ทั้งสองท่านก็เป็นคนจักษุมืดไม่เห็นกันและกัน เพราะลมนั้น ทุกูลบัณฑิตเรียกนางปาริกามาบอกว่า ปาริกา จักษุทั้งสองของฉันมืด ฉันมองไม่เห็นเธอ แม้นางปาริกาก็กล่าวอย่างนั้นเหมือนกัน ทั้งสองมองไม่เห็นทางก็ยืนคร่ำครวญอยู่ด้วยเข้าใจว่า บัดนี้ชีวิตของเราทั้งสองไม่มีละ.

ก็ดาบสและดาบสินีทั้งสองนั้น มีบุรพกรรมเป็นอย่างไร ได้ยินว่า ท่านทั้งสองนั้นในปางก่อนเกิดในสกุลแพทย์ ครั้งนั้น แพทย์นั้นรักษาโรคในจักษุของบุรุษมีทรัพย์มากคนหนึ่ง บุรุษนั้นจักษุหายดีแล้ว ไม่ให้ทรัพย์ค่ารักษาอะไรๆ แก่แพทย์นั้น แพทย์โกรธเขา ไปสู่เรือนแจ้งแก่ภริยาของตนว่า ที่รัก ฉันรักษาโรคในจักษุของบุรุษนั้นหาย บัดนี้เขาไม่ให้ทรัพย์ค่ารักษาแก่ฉัน เราจะทำอย่างไรดี ฝ่ายภริยาได้สดับสามีกล่าวก็โกรธ จึงกล่าวว่า เราไม่ต้องการทรัพย์ที่มีอยู่ของมัน ท่านจงประกอบยาขนานหนึ่งให้มันหยอด ทำจักษุทั้งสองของมันให้บอดเสียเลย สามีเห็นชอบด้วย จึงออกจากเรือนไปหาบุรุษนั้น ได้กระทำตามนั้น บุรุษผู้มีทรัพย์มากคนนั้น ไม่นานนักก็กลับจักษุมืดไปอีก ดาบสและดาบสินีทั้งสองมีจักษุมืดด้วยบาปกรรมอันนี้.


ความคิดเห็น 24    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 178

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์คิดว่า บิดามารดาของเราในวันอื่นๆ เคยกลับเวลานี้ บัดนี้เราไม่รู้เรื่องราวของท่านทั้งสองนั้น จึงเดินสวนทางร้องเรียกหาไป ท่านทั้งสองนั้นจำเสียงบุตรได้ก็ขานรับ แล้วกล่าวห้ามด้วยความรักในบุตรว่า มีอันตรายในที่นี้ อย่ามาเลยลูก พระมหาสัตว์ตอบท่านทั้งสองว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านทั้งสองจงจับปลายไม้เท้านี้มาเถิด แล้วยื่นไม้เท้ายาวให้ท่านทั้งสองจับ ท่านทั้งสองจับปลายไม้เท้าแล้วมาหาบุตร พระมหาสัตว์ถามว่า จักษุของท่านทั้งสองมืดไปด้วยเหตุอะไร บิดามารดาทั้งสองก็เล่าให้พระมหาสัตว์ผู้บุตรฟังว่า ลูกรัก เมื่อฝนตก เราทั้งสองยืนอยู่บนยอดจอมปลวกที่โคนไม้ในที่นี้ จักษุทั้งสองมืดไปด้วยเหตุนั้น พระมหาสัตว์ได้สดับคำของบิดามารดา ก็รู้ว่าอสรพิษมีในจอมปลวกนั้น อสรพิษนั้นขัดเคืองปล่อยลมในจมูกออกมา พระมหาสัตว์เห็นบิดามารดาแล้วร้องไห้และหัวเราะ บิดามารดาจึงถามว่า ทำไมถึงร้องไห้และหัวเราะ พระมหาสัตว์ตอบว่า ข้าพเจ้าร้องไห้ด้วยเสียใจว่าจักษุของท่านทั้งสองพินาศไป ในเวลาที่ข้าพเจ้ายังเป็นเด็กอยู่ แต่ข้าพเจ้าหัวเราะด้วยดีใจว่า ข้าพเจ้าจักได้ปฏิบัติบำรุงท่านทั้งสองในบัดนี้ ขอท่านทั้งสองอย่าได้คิดอะไรเลย ข้าพเจ้าจักปฏิบัติบำรุงท่านทั้งสองให้ผาสุก พระมหาสัตว์ปลอบโยนให้บิดามารดาทั้งสองเบาใจ แล้วนำมาอาศรมบท ผูกเชือกเป็นราวในที่ทั้งปวงสำหรับบิดามารดาทั้งสองนั้น คือที่พักกลางคืน ที่พักกลางวัน ที่จงกรม บรรณศาลา ที่ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ จำเดิมแต่นั้นมา ให้บิดามารดาอยู่ในอาศรมบท ไปนำมูลผลาผลในป่ามาเองตั้งไว้ในบรรณศาลา กวาดที่อยู่ของบิดามารดาแต่เช้าทีเดียว ไหว้บิดามารดาแล้วถือหม้อน้ำไปสู่มิคสัมมตานที นำน้ำดื่มมา แต่งตั้งของฉันไว้ ให้ไม้สีฟันและน้ำบ้วนปากเป็นต้น ให้ผลาผลที่มีรสอร่อย เมื่อบิดามารดาบริโภคแลบ้วนปากแล้ว ตนเองจึงบริโภค


ความคิดเห็น 25    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 179

ผลาผลที่เหลือ เสร็จกิจบริโภคแล้วไหว้ลาบิดามารดา มีฝูงมฤคแวดล้อมเข้าป่าเพื่อต้องการหาผลาผล เหล่ากินนรที่เชิงบรรพต แวดล้อมพระโพธิสัตว์ ช่วยเก็บผลาผลให้พระโพธิสัตว์ เวลาเย็นพระโพธิสัตว์กลับมาอาศรม เอาหม้อตักน้ำมาตั้งไว้ ต้มน้ำให้ร้อนแล้วอาบและล้างเท้าบิดามารดาตามอัธยาศัย นำกระเบื้องถ่านเพลิงมาให้ผิง เช็ดมือเท้าของบิดามารดา เมื่อบิดามารดานั่งแล้วก็ให้บริโภคผลาผล ส่วนตนเองบริโภคเมื่อบิดามารดาบริโภคเสร็จแล้ว จัดวางผลาผลที่เหลือไว้ในอาศรมบท พระโพธิสัตว์ปฏิบัติบำรุงบิดามารดาโดยทำนองนี้ทีเดียว.

สมัยนั้น พระราชาพระนามว่า ปิลยักขราช เสวยราชสมบัติอยู่ใน กรุงพาราณสี พระองค์ทรงโลภเนื้อมฤค จึงมอบราชสมบัติให้พระชนนีปกครอง ผูกสอดราชาวุธห้าอย่างเข้าสู่หิมวันตประเทศ ทรงฆ่ามฤคทั้งหลายเสวยเนื้อ เสด็จถึงมิคสัมมตานที แล้วถึงท่าที่สุวรรณสามพระโพธิสัตว์ตักน้ำโดยลำดับ ทอดพระเนตรเห็นรอยเท้ามฤค ก็ทรงทำซุ้มด้วยกิ่งไม้มีสีเขียว โก่งคันศรสอดลูกศรอาบยาพิษ ประทับนั่งเตรียมอยู่ในซุ้มนั้น ฝ่ายพระมหาสัตว์นำผลาผลมาในเวลาเย็น วางไว้ในอาศรมบท ไหว้บิดามารดาลาไปตักน้ำ ถือหม้อน้ำมีฝูงมฤคแวดล้อม ให้มฤคสองตัวเดินเคียงกัน วางหม้อน้ำดื่มบนหลังมฤคทั้งสองมือประคองไปสู่ท่าน้ำ ฝ่ายพระราชาประทับอยู่ในซุ้ม ทอดพระเนตรเห็นพระโพธิสัตว์ดำเนินมาทรงคิดว่า เราเที่ยวมาในหิมวันตประเทศ ตลอดกาลถึงเพียงนี้ ยังไม่เคยเห็นมนุษย์ ผู้นี้จะเป็นเทวดาหรือนาคหนอ ถ้าเราจักเข้าไปไต่ถามผู้นี้ ถ้าเป็นเทวดาก็จักเหาะขึ้นสู่อากาศ ถ้าเป็นนาคก็จักดำดินไป แต่เราจะเที่ยวอยู่ในหิมวันตประเทศตลอดกาลทั้งปวงก็หาไม่ ถ้าเราจักกลับพาราณสี อมาตย์ทั้งหลายจักถามเราในการที่เราเที่ยวในหิมวันตประเทศนั้นว่า เมื่อพระองค์อยู่ในหิมวันตประเทศได้เคยทอดพระเนตรเห็นอะไร


ความคิดเห็น 26    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 180

อัศจรรย์บ้าง เราจักกล่าวว่าได้เคยเห็นสัตว์เช่นนี้ เขาก็จักถามว่า สัตว์นั้นชื่ออะไร ถ้าเราจักตอบว่า ไม่รู้จัก เขาก็จักติเตียนเรา เพราะเหตุนั้น เราจักยิงผู้นี้ทำให้ทุรพลแล้วจึงถามเรื่อง ลำดับนั้น ในเมื่อฝูงมฤคนั้นลงดื่มน้ำแล้วขึ้นก่อน พระโพธิสัตว์จึงค่อยๆ ลงราวกะพระเถระผู้มีวัตรอันเรียนแล้ว อาบน้ำระงับความกระวนกระวายแล้วขึ้นจากน้ำ นุ่งผ้าเปลือกไม้สีแดงผืนหนึ่ง ห่มผืนหนึ่ง เอาหนังเสือพาดเฉวียงบ่า ยกหม้อน้ำขึ้นเช็ดน้ำแล้ววางบนบ่าซ้าย ก็ในกาลนั้น พระราชาทรงคิดว่า บัดนี้เป็นสมัยที่จะยิง จึงยกลูกศรอาบยาพิษนั้นขึ้นยิงพระโพธิสัตว์ถูกข้างขวาทะลุออกข้างซ้าย ฝูงมฤครู้ว่าพระมหาสัตว์ถูกยิง ตกใจกลัวหนีไป ฝ่ายสุวรรณสามบัณฑิตแม้ถูกยิง ก็ประคองหม้อน้ำไว้โดยปกติ ตั้งสติค่อยๆ วางหม้อน้ำลง คุ้ยเกลี่ยทรายตั้งหม้อน้ำ กำหนดทิศ หันศีรษะไปทางทิศาภาคเป็นที่อยู่ของบิดามารดา เป็นดุจสุวรรณปฏิมานอนบนทรายมีพรรณดั่งแผ่นเงิน ตั้งสติกล่าวว่า ชื่อว่าบุคคลผู้มีเวรของเราในหิมวันตประเทศนี้ย่อมไม่มี บุคคลผู้มีเวรของบิดามารดาของเราก็ไม่มี กล่าวดังนี้แล้วถ่มโลหิตในปาก ไม่เห็นพระราชาเลย เมื่อจะถามจึงกล่าวคาถาที่หนึ่งว่า

ใครหนอใช้ลูกศรยิงเราผู้ประมาทกำลังแบกหม้อน้ำ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ คนไหนยิงเรา ซ่อนกายอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปมตฺตํ ความว่า ผู้ไม่ตั้งสติในการเจริญเมตตา ก็คำนี้พระโพธิสัตว์กล่าวหมายเนื้อความว่า ได้กระทำตนเป็นผู้ประมาทในขณะนั้น. บทว่า วิทฺธา ความว่า ยิงแล้วซ่อนกายอยู่ในที่นี้ ชนชื่อไรหนอ เป็นกษัตริย์ หรือพราหมณ์ หรือแพศย์ ใช้ลูกศรอาบยาพิษ


ความคิดเห็น 27    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 181

ยิงเราผู้กำลังไปตักน้ำที่มิคสัมมตานที คือชนชื่อไรหนอยิงเราแล้วซ่อนกายอยู่ คือปกปิดตนในพุ่มไม้.

ก็แลครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เพื่อจะแสดงความที่มังสะในสรีระของตน เห็นว่าไม่เป็นภักษา จึงกล่าวคาถาที่สองว่า

เนื้อของเราก็กินไม่ได้ หนังก็ไม่มีประโยชน์ เมื่อเป็นเช่นนี้ เขาเข้าใจว่าเราเป็นผู้ควรยิง ด้วยเหตุอะไรหนอ.

ในคาถานั้นมีความว่า ท่านมาณพผู้เจริญ เนื้อของเรา คือเนื้อในสรีระของเรา กินไม่ได้ คือมนุษย์ทั้งหลายไม่พึงกิน หนังของเรา คือหนังในสรีระของเรา ไม่มีประโยชน์แก่มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนี้ คือแม้เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษนี้ได้เข้าใจว่าเราเป็นผู้ควรยิง คือควรแทง คือยิงเราโดยไม่พิจารณาด้วยวรรณะอะไร คือด้วยเหตุอะไร.

ครั้นกล่าวคาถาที่สองแล้ว เมื่อจะถามถึงชื่อเป็นต้น พระโพธิสัตว์ จึงกล่าวคาถาว่า

ท่านคือใคร หรือเป็นบุตรของใคร เราจะรู้จักท่านได้อย่างไร ดูก่อนสหาย เราถามท่านแล้ว ขอท่านจงบอกเถิด ทำไมท่านยิงเราแล้วจึงซ่อนตัวเสีย

ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วก็ได้นิ่งอยู่.

พระราชาทรงสดับดังนั้น ทรงดำริว่า บุรุษนี้แม้ถูกเรายิงด้วยลูกศรอาบยาพิษล้มแล้ว ก็ไม่ด่าไม่ตัดพ้อเรา เรียกหาเราด้วยถ้อยคำที่น่ารัก ดุจบุคคลจับฟั้นหัวใจ เราจักไปหาเขา แล้วเสด็จไปประทับยืนในที่ใกล้พระโพธิสัตว์ แล้วตรัสว่า


ความคิดเห็น 28    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 182

เราเป็นพระราชาของชาวกาสี คนเรียกเราว่า พระเจ้าปิลยักษ์ เราละแว่นแคว้นเที่ยวแสวงหามฤคเพราะความโลภ อนึ่ง เราเป็นผู้ฉลาดในธนูศิลป์ ปรากฏว่าเป็นผู้แม่นยำนัก แม้ช้างมาสู่ระยะลูกศรของเรา ก็ไม่พึงพ้นไปได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ราชาหมสฺมิ ความว่า ได้ยินว่า พระเจ้าปิลยักษ์นั้นมีพระดำริอย่างนี้ว่า เทวดาก็ตามนาคก็ตาม ย่อมพูดภาษามนุษย์ได้ทั้งนั้น เราไม่รู้จักผู้นี้ว่าเป็นเทวดา หรือนาค หรือมนุษย์ ถ้าเขาโกรธ จะทำให้พินาศได้ เมื่อกล่าวถึงเราว่าเป็นพระราชา ใครๆ ที่ไม่กลัวย่อมไม่มี เพราะเหตุดังนี้นั้น เพื่อจะให้รู้ว่าพระองค์เป็นพระราชา จึงได้ตรัสก่อนว่า ราชาหมสฺมิ ดังนี้. ดูก่อนมาณพผู้เจริญ เราเป็นพระราชาของชาวกาสี คือของชนผู้อยู่ในกาสิกรัฐ. บทว่า มํ ได้แก่ ประชาชนรู้จักเราโดยนามว่า พระเจ้าปิลยักษ์. บทว่า วิทู ได้แก่ รู้จัก คือเรียก. บทว่า โลภา ความว่า มอบราชสมบัติแก่พระชนนี เพราะความโลภเนื้อมฤค. บทว่า มิคเมสํ ได้แก่ แสวงหา คือค้นหาเหล่ามฤค. บทว่า จรามหํ ความว่า เราเที่ยวไปในป่าผู้เดียวเท่านั้น พระราชาประสงค์จะแสดงกำลังของพระองค์ จึงตรัสคาถาที่สอง. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิสฺสฏฺเ ได้แก่ ในธนูศิลป์. บทว่า ทฬฺหธมฺโม ความว่า เป็นผู้สามารถโก่งและลดซึ่งธนูอันหนัก คือ ธนูหนักพันแรงคนยกได้ ได้ยินกันแพร่หลาย คือปรากฏไปทั่วพื้นชมพูทวีป. บทว่า อาคโต อุสุปาตนํ ความว่า ช้างที่มีกำลังมาในที่ลูกศรของเราตก ก็ไม่พ้นจากที่ไปได้ถึงเจ็ดก้าว.

พระราชาทรงสรรเสริญกำลังของพระองค์ดังนี้แล้ว เมื่อจะตรัสถามชื่อและโคตรของพระโพธิสัตว์ จึงตรัสว่า


ความคิดเห็น 29    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 183

ท่านคือใคร หรือเป็นบุตรของใคร พวกเราจะรู้จักท่านได้อย่างไร ท่านจงแจ้งชื่อและโคตรของบิดาท่านและของตัวท่าน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปเวทย แปลว่า พึงบอก.

พระมหาสัตว์ได้สดับดังนั้นแล้ว ดำริว่า ถ้าเราบอกว่า เราเป็นเทวดา นาค ยักษ์ กินนร หรือเป็นกษัตริย์เป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง พระราชานี้ย่อมเชื่อคำของเรา เราควรกล่าวความจริงเท่านั้น ดำริฉะนี้แล้วจึงทูลว่า

ขอจงทรงพระเจริญ ข้าพระองค์เป็นบุตรฤๅษีผู้เป็นบุตรของนายพราน ญาติทั้งหลายเรียกข้าพระองค์เมื่อยังมีชีวิตอยู่ว่า สามะ วันนี้ข้าพระองค์ถึงปากมรณะนอนอยู่อย่างนี้ ข้าพระองค์ถูกพระองค์ยิงด้วยลูกศรใหญ่อาบยาพิษ เหมือนมฤคที่ถูกพรานป่ายิงแล้ว ฉะนั้น ข้าแต่พระราชา ขอพระองค์จงทอดพระเนตร ซึ่งข้าพระองค์ผู้นอนจมอยู่ในโลหิตของตน เชิญทอดพระเนตรลูกศรอันแล่นเข้าข้างขวาทะลุออกข้างซ้าย ข้าพระองค์บ้วนโลหิตอยู่ เป็นผู้กระสับกระส่าย ขอทูลถามพระองค์ว่า พระองค์ยิงข้าพระองค์แล้ว จะซ่อนพระองค์อยู่ทำไม เสือเหลืองถูกฆ่าเพราะหนัง ช้างถูกฆ่าเพราะงา เมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์เข้าพระทัยว่า ข้าพระองค์เป็นผู้ควรยิง ด้วยเหตุอะไรหนอ.


ความคิดเห็น 30    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 184

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภทฺทนฺเต ความว่า ข้าแต่พระมหาราช ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ ข้าพระองค์เป็นบุตรฤๅษีผู้เป็นบุตรนายพราน. บทว่า ชีวนฺตํ ความว่า ญาติทั้งหลายเมื่อเรียกขานข้าพระองค์ซึ่งยังมีชีวิตอยู่เมื่อก่อนแต่นี้ว่า มาเถิดสามะ ไปเถิดสามะ ก็ได้เรียกกันว่า สามะ. บทว่า สวาชฺเชวงฺคโต ความว่า วันนี้ ข้าพระองค์นั้น ไป คือถึง คือเข้าไปในปากแห่งมรณะแล้วอย่างนี้. บทว่า สเย แปลว่า นอนอยู่ มฤคถูกพรานป่ายิงด้วยลูกศรใหญ่อาบยาพิษ ฉันใด แม้ข้าพระองค์ก็ฉันนั้น คือเป็นผู้ถูกพระองค์ทรงยิงอย่างนั้น บทว่า ปริปลุโต ความว่า นอนจม ขอพระองค์โปรดทอดพระเนตรข้าพระองค์ผู้นอนอยู่เห็นปานนี้. บทว่า ปฏิวามคตํ ความว่า เข้าทางข้างขวาแล้วทะลุออกทางข้างซ้าย. บทว่า ปสฺส ได้แก่ โปรดทอดพระเนตรข้าพระองค์. บทว่า ถิมฺหามิ แปลว่า บ้วนอยู่ พระมหาสัตว์นั้นดำรงสตินั้นไม่หวั่นไหวเลย ถ่มโลหิต ตรัสแล้วด้วยประการฉะนี้. บทว่า อาตุโร ความว่า ข้าพระองค์เจ็บหนักขอทูลถามพระองค์. บทว่า นิลียสิ ความว่า ประทับนั่งอยู่ในพุ่มไม้แห่งหนึ่ง. บทว่า วิทฺเธยฺยํ แปลว่า ควรยิง. บทว่า อมญฺถ ความว่า ได้เข้าใจว่าเหมือนมฤค.

พระราชาทรงสดับคำของพระมหาสัตว์แล้ว ไม่ตรัสบอกตามจริง เมื่อจะตรัสคำเท็จจึงตรัสว่า

ดูก่อนสามะ มฤคปรากฏแล้ว มาสู่ระยะลูกศร เห็นท่านเข้าก็หนีไป เพราะเหตุนั้นเราจึงเกิดความโกรธ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุพฺพิชฺชิ แปลว่า หนีไป. บทว่า อาวิสิ ได้แก่ ท่วมทับ พระราชาทรงแสดงว่า ความโกรธเกิดขึ้นแก่เราเพราะเหตุนั้น.


ความคิดเห็น 31    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 185

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระราชาผู้ใหญ่ พระองค์ตรัสอะไร ขึ้นชื่อว่ามฤคที่เห็นข้าพระองค์แล้วหนีไป ไม่มีในหิมวันตประเทศนี้ แล้วทูลว่า

จำเดิมแต่ข้าพระองค์จำความได้ รู้จักถูกและผิด ฝูงมฤคในป่าแม้ดุร้าย ก็ไม่สะดุ้งกลัวข้าพระองค์ จำเดิมแต่ข้าพระองค์นุ่งผ้าเปลือกไม้ ตั้งอยู่ในปฐมวัย ฝูงมฤคในป่าแม้ดุร้าย ก็ไม่สะดุ้งกลัวข้าพระองค์ ข้าแต่พระราชา ฝูงกินนรผู้ขลาดอยู่ภูเขาคันธมาทน์ เห็นข้าพระองค์ย่อมไม่ละดุ้งกลัว เราทั้งหลายต่างชื่นชมต่อกันไปสู่ภูเขาและป่า เมื่อเป็นเช่นนี้ มฤคทั้งหลายจะสะดุ้งกลัวข้าพระองค์ ด้วยเหตุไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น มํ มิคา ความว่า ธรรมดามฤคทั้งหลายเห็นข้าพระองค์แล้วย่อมไม่สะดุ้งกลัว. บทว่า สาปทานิ ได้แก่ พาลมฤค. บทว่า ยโต นิธึ ความว่า จำเดิมแต่กาลที่ข้าพระองค์นุ่ง คือ ทรงผ้าเปลือกไม้. บทว่า ภีรู กึปุริสา ราช ความว่า ข้าแต่พระราชาผู้ใหญ่ มฤคทั้งหลายจงยกไว้ก่อน ธรรมดากินนรทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้ขลาดอย่างยิ่ง กินนรเหล่าใดอยู่ที่ภูเขาคันธมาทน์นี้ กินนรแม้เหล่านั้นเห็นข้าพระองค์แล้วย่อมไม่สะดุ้งกลัว พวกเราชื่นชมต่อกันและกัน ไปตามป่าเขาลำเนาไพรโดยแท้แล. บทว่า อุตฺราสนฺติ มิคา มมํ ความว่า พระมหาสัตว์แสดงความว่า เพราะเหตุไร พระองค์จึงจักให้ข้าพระองค์เชื่อว่า มฤคทั้งหลายเห็นข้าพระองค์แล้วสะดุ้งกลัว พระราชาได้สดับดังนั้นแล้ว ทรงดำริว่า เรายิงสุวรรณสามผู้ไร้ความผิดนี้แล้ว ยังกล่าวมุสาวาทอีก เราจักกล่าวคำจริงเท่านั้น ดังนี้แล้ว จึงตรัสว่า


ความคิดเห็น 32    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 186

ดูก่อนสามะ เนื้อเห็นท่านแล้ว หาได้ตกใจไม่ เรากล่าวเท็จแก่ท่านดอก เราถูกความโกรธและความโลภครอบงำแล้ว จึงยิงท่านด้วยลูกศรนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ตทฺทส ความว่า เนื้อเห็นท่านแล้วไม่ตกใจ. บทว่า กินฺตาหํ ความว่า เรากล่าวเท็จในสำนักของท่านผู้มีทัศนะงามอย่างนี้ดอก. บทว่า โกธโลภาภิภูตาหํ ความว่า เราเป็นผู้อันความโกรธและความโลภครอบงำแล้ว ก็เมื่อเนื้อทั้งหลายข้ามลงก่อนแล้วนั่นแล เราจักยิงเนื้อทั้งหลายเพราะความโกรธ เรายืนยกธนูอยู่ ภายหลังได้เห็นพระโพธิสัตว์ ไม่รู้ว่าพระโพธิสัตว์นั้นเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาเทวาดาเป็นต้น จักถามพระโพธิสัตว์นั้น พระราชายังความโลภให้เกิดขึ้นด้วยประการฉะนี้ ฉะนั้นจึงตรัสอย่างนี้.

ก็แลครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว พระราชาทรงดำริว่า สุวรรณสามนี้จะมิได้อยู่อาศัยในป่านี้แต่ผู้เดียวเท่านั้น ญาติทั้งหลายของเขาพึงมีแน่ จักถามเขาดู จึงตรัสคาถาอีกว่า

ดูก่อนสามะ ท่านมาแต่ไหน หรือใครใช้ท่านมา ท่านผู้จะตักน้ำจึงไปสู่แม่น้ำมิคสัมมตา แล้วกลับมา.

บรรดาบทเหล่านั้น พระราชาตรัสเรียกพระโพธิสัตว์ ด้วยบทว่า สาม. บทว่า อาคมฺม ความว่า จากประเทศไหนมาสู่ป่านี้. บทว่า กสฺส วา ปหิโต ความว่า ท่านถูกใครส่งไปด้วยคำว่า จงไปสู่แม่น้ำเพื่อนำน้ำมาแก่พวกเรา ดังนี้ จึงมายังแม่น้ำมิคสัมมตานี้.

พระโพธิสัตว์ได้สดับพระดำรัสของพระราชาแล้ว กลั้นทุกขเวทนาเป็นอันมาก บ้วนโลหิตแล้วกล่าวคาถาว่า


ความคิดเห็น 33    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 187

บิดามารดาของข้าพระองค์ตาบอด ข้าพระองค์เลี้ยงท่านเหล่านั้นอยู่ในป่าใหญ่ ข้าพระองค์นำน้ำมาเพื่อท่านทั้งสองนั้น จึงมาแม่น้ำมิคสัมมตา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภรามิ ความว่า นำมูลผลาผลเป็นต้นมาเลี้ยงดู.

ก็แลครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็บ่นรำพันปรารภบิดามารดา กล่าวว่า

อาหารของบิดามารดานั้นยังพอมีอยู่ เมื่อเป็นเช่นนี้ ชีวิตของท่านทั้งสองนั้นจักดำรงอยู่ราวหกวัน ท่านทั้งสองนั้นตามืด เกรงจักตายเสียเพราะไม่ได้ดื่มน้ำ ความทุกข์เพราะถูกพระองค์ยิงด้วยลูกศรนี้ หาเป็นความทุกข์ของข้าพระองค์นักไม่ เพราะความทุกข์นี้อันบุรุษจะต้องได้ประสบ ความทุกข์ที่ข้าพระองค์ไม่ได้เห็นบิดามารดา เป็นความทุกข์ของข้าพระองค์ ยิ่งกว่าความทุกข์เพราะถูกพระองค์ยิงด้วยลูกศรนี้เสียอีก ความทุกข์เพราะถูกพระองค์ยิงด้วยลูกศรนี้ หาเป็นความทุกข์ของข้าพระองค์นักไม่ เพราะความทุกข์นี้อันบุรุษจะต้องได้ประสบ บิดามารดาทั้งสองนั้นเป็นกำพร้าเข็ญใจ จะร้องไห้อยู่ตลอดราตรีนาน จักเหือดแห้งไปในกึ่งราตรีหรือในที่สุดราตรี ดุจแม่น้ำน้อยในคิมหฤดูจักเหือดแห้งไป ข้าพระองค์เคยหมั่นบำรุงบำเรอนวดมือเท้าของท่านทั้งสองนั้น บัดนี้ไม่เห็นข้าพระองค์ ท่านทั้งสองจัก


ความคิดเห็น 34    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 188

บ่นเรียกหาว่า พ่อสามๆ เที่ยวอยู่ในป่าใหญ่ ลูกศรคือความโศกที่สองนี้แหละ ยังหัวใจของข้าพระองค์ให้หวั่นไหว เพราะข้าพระองค์ไม่ได้เห็นท่านทั้งสองผู้จักษุบอด ข้าพระองค์เห็นจักละเสียซึ่งชีวิต.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า. อุสามตฺตํ ได้แก่ พอเป็นอาหาร ได้ยินว่า คำว่า อุสา เป็นชื่อของโภชนาหาร ความว่า บิดามารดาทั้งสองนั้นยังมีโภชนาหาร. บทว่า อถ สาหสฺส ชีวิตํ ความว่า มีชีวิตอยู่ได้ประมาณหกวัน พระมหาสัตว์กล่าวคำนี้ หมายถึงผลาผลที่นำมาตั้งไว้ อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อุสา ได้แก่ ไออุ่น ด้วยบทนั้น พระมหาสัตว์แสดงความนี้ว่า ในร่างกายของบิดามารดาทั้งสองนั้นพอมีไออุ่นอยู่ เมื่อเป็นเช่นนั้นก็จะมีชีวิตอยู่ได้หกวัน ด้วยผลาผลที่ข้าพระองค์นำมา. บทว่า มริสฺสเร แปลว่า จักตาย ข้าแต่พระราชาผู้ใหญ่ ความทุกข์เพราะถูกพระองค์ยิงนี้ ถึงเป็นความทุกข์ก็จริง แต่ไม่เป็นความทุกข์ของข้าพระองค์ เพราะเหตุไรจึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า ปุมุนา ได้แก่ อันบุรุษ ความว่า ความทุกข์เห็นปานนั้นนี้ อันบุรุษพึงได้ประสบทั้งนั้น ก็เพราะความทุกข์ที่ข้าพระองค์ไม่ได้เห็นคุณแม่ปาริกานั้น เป็นความทุกข์ของข้าพระองค์ยิ่งกว่าความทุกข์เพราะถูกพระองค์ยิงนี้ร้อยเท่าพันเท่าแสนเท่า. บทว่า จิรํ รตฺตาย รุจฺจติ ความว่า จักร้องไห้ตลอดราตรีนาน. บทว่า อฑฺฒรตฺเต ได้แก่ ในสมัยกึ่งราตรี. บทว่า รตฺเต วา ได้แก่ ในสุดท้ายราตรี. บทว่า อวสุสฺสติ ได้แก่ จักเหือดแห้ง อธิบายว่า จักเหือดแห้งไปเหมือนแม่น้ำน้อยในฤดูร้อน. บทว่า อุฏฺ านปาทจริยาย ความว่า ข้าแต่พระราชาผู้ใหญ่ ข้าพระองค์ลุกขึ้นคืนละสองสามครั้ง หรือวันละสองสามครั้ง ปฏิบัติรับใช้บิดามารดาทั้งสองนั้น นวดมือเท้าของท่านทั้งสองนั้น ด้วยความหมั่นเพียรของข้าพระองค์ บัดนี้ ท่านทั้งสองผู้มีจักษุมืด


ความคิดเห็น 35    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 189

นั้นไม่เห็นข้าพระองค์ จักลุกขึ้นเพื่อต้องการการปฏิบัตินั้นๆ จักบ่นรำพันว่า พ่อสาม พ่อสาม จักถูกหนามตำเอาเที่ยวไปในหิมวันตประเทศนี้. บทว่า ทุติยํ ความว่า ลูกศรคือความโศกเพราะไม่ได้เห็นบิดามารดาทั้งสองนั้น ซึ่งเป็นความทุกข์ที่สองนี้ เป็นความทุกข์กว่าถูกลูกศรอาบยาพิษยิงเอาครั้งแรกร้อยเท่าพันเท่าแสนเท่า.

พระราชาทรงฟังความคร่ำครวญของพระโพธิสัตว์ ทรงคิดว่า บุรุษนี้เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ตั้งอยู่ในธรรม ปฏิบัติบิดามารดาเยี่ยมยอด บัดนี้ได้ความทุกข์ถึงเพียงนี้ ยังคร่ำครวญถึงบิดามารดา เราได้ทำความผิดในบุรุษผู้สมบูรณ์ด้วยคุณธรรมอย่างนี้ เราควรเล้าโลมเอาใจบุรุษนี้อย่างไรดีหนอ แล้วทรงสันนิษฐานว่า ในเวลาที่เราตกนรก ราชสมบัติจักทำอะไรได้ เราจักปฏิบัติบิดามารดาของบุรุษนี้ โดยทำนองที่บุรุษนี้ปฏิบัติแล้ว การตายของบุรุษนี้จักเป็นเหมือนไม่ตาย ด้วยประการฉะนี้ จึงตรัสว่า

ดูก่อนสามะผู้งดงามน่าดู ท่านอย่าปริเทวะมากเลย เราเป็นผู้ฉลาดในธนูศิลป์ ปรากฏในชมพูทวีปทั้งสิ้นว่าเป็นผู้แม่นยำนัก จักฆ่ามฤคและแสวงหามูลอาหารป่ามา ทำการงานเลี้ยงบิดามารดาของท่านในป่าใหญ่ ดูก่อนสามะ ป่าที่บิดามารดาของท่านอยู่ อยู่ที่ไหน เราจักเลี้ยงบิดามารดาของท่าน ให้เหมือนท่านเลี้ยง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภริสสนฺเต ความว่า เราจักเลี้ยงบิดามารดาของท่านเหล่านั้น. บทว่า มิคานํ ได้แก่ ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลืองและมฤคเป็นต้น. บทว่า วิฆาสมนฺเวสํ ความว่า แสวงหา คือ


ความคิดเห็น 36    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 190

เสาะหาซึ่งอาหาร พระราชาตรัสว่า เราเป็นผู้ฉลาดในธนูศิลป์ จักฆ่ามฤคอ้วนๆ เลี้ยงบิดามารดาของท่าน ด้วยมังสะอันอร่อย ดังนี้ เมื่อพระโพธิสัตว์ทูลว่า ข้าแต่พระราชาผู้ใหญ่ พระองค์อย่าทำการฆ่าสัตว์เพราะเหตุพวกข้าพระองค์เลย ดังนี้ จึงตรัสคำนี้อย่างนี้. บทว่า ยถา เต ความว่า ท่านได้เลี้ยงท่านทั้งสองนั้นอย่างใด แม้ข้าพเจ้าก็จักเลี้ยงท่านทั้งสองนั้นอย่างนั้นเหมือนกัน.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ได้สดับพระวาจาของพระราชานั้นแล้วจึงทูลว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า ถ้าอย่างนั้น ขอพระองค์โปรดเลี้ยงดูบิดามารดาของข้าพระองค์เถิด เมื่อจะชี้ทางให้ทรงทราบ จึงทูลว่า

ข้าแต่พระราชา หนทางที่เดินเฉพาะคนเดียวซึ่งอยู่ทางหัวนอนของข้าพระองค์นี้ เสด็จดำเนินไปแต่ที่นี้ระหว่างกึ่งเสียงกู่ จะถึงสถานที่อยู่แห่งบิดามารดาของข้าพระองค์ ขอเสด็จดำเนินแต่ที่นี้ไป เลี้ยงดูท่านทั้งสองในสถานที่นั้นเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอกปที แปลว่า ทางเดินเฉพาะคนเดียว บทว่า อุสฺสีสเก ได้แก่ ในที่ด้านศีรษะของข้าพระองค์นี้. บทว่า อฑฺฒโฆสํ แปลว่า ระหว่างกึ่งเสียงกู่.

พระมหาสัตว์ทูลชี้ทางแด่พระราชาอย่างนี้แล้ว กลั้นเวทนาเห็นปานนั้นไว้ด้วยความสิเนหาในบิดามารดาเป็นกำลัง ประคองอัญชลีทูลวิงวอนเพื่อต้องการให้เลี้ยงดูบิดามารดา ได้ทูลอย่างนี้อีกว่า

ข้าแต่พระเจ้ากาสิราช ข้าพระบาทขอน้อมกราบพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้ยังชาวกาสีให้เจริญ ข้าพระ


ความคิดเห็น 37    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 191

บาทขอน้อมกราบพระองค์ ขอพระองค์ทรงบำรุงเลี้ยงบิดามารดาตามืดของข้าพระองค์ในป่าใหญ่ ข้าพระองค์ขอประคองอัญชลีถวายบังคมพระองค์ ขอพระองค์มีพระดำรัสกะบิดามารดาของข้าพระองค์ให้ทราบว่า ข้าพระองค์ไหว้นบท่านด้วย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วุตฺโต วชฺชาสิ ความว่า พระมหาสัตว์ทูลว่า ข้าแต่พระราชาผู้ใหญ่ พระองค์ผู้อันข้าพระองค์กราบทูลแล้ว โปรดตรัสบอกการกราบไหว้ให้บิดามารดาทราบ อย่างนี้ว่า สามะบุตรของท่านทั้งสอง ถูกเรายิงด้วยลูกศรอาบยาพิษที่ริมฝั่งแม่น้ำ นอนตะแคงข้างขวาเหนือหาดทรายคล้ายแผ่นเงิน ประคองอัญชลีแก่ท่าน กราบไหว้เท้าทั้งสองของท่าน.

พระราชาทรงรับคำ พระมหาสัตว์ส่งการไหว้บิดามารดาแล้วก็ถึงวิสัญญีสลบนิ่งไป.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความข้อนั้น จึงตรัสว่า

หนุ่มสามะผู้งดงามน่าดูนั้น ครั้นกล่าวคำนี้แล้ว ถูกกำลังแห่งพิษซาบซ่าน เป็นผู้วิสัญญีสลบไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมปชฺชถ ได้แก่ เป็นผู้วิสัญญี.

พระมหาสัตว์นั้น เมื่อกล่าวมาได้เพียงเท่านี้ก็ดับอัสสาสะ ไม่ได้กล่าวต่อไปอีกเลย ก็ในกาลนั้น ถ้อยคำที่เป็นไปอาศัยหทัยรูป ซึ่งติดต่อจิตแห่งพระโพธิสัตว์นั้นขาดแล้วเพราะกำลังแห่งพิษซาบซ่าน โอฐของพระโพธิสัตว์ก็ปิด จักษุก็หลับ มือเท้าแข็งกระด้าง ร่างกายทั้งสิ้นเปื้อนโลหิต ลำดับนั้น


ความคิดเห็น 38    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 192

พระราชาทรงคิดว่า สุวรรณสามนี้ พูดกับเราอยู่เดี๋ยวนี้ เป็นอะไรไปหนอ จึงทรงพิจารณาตรวจดูลมอัสสาสะปัสสาสะของพระโพธิสัตว์ ก็ลมอัสสาสะปัสสาสะดับแล้ว สรีระก็แข็งแล้ว พระราชาทอดพระเนตรเห็นเหตุนั้น ก็ทรงทราบว่า บัดนี้สุวรรณสามตายแล้วดับแล้ว ไม่ทรงสามารถที่จะกลั้นความโศกไว้ได้ ก็วางพระหัตถ์ไว้บนพระเศียรครวญคร่ำรำพันด้วยเสียงอันดัง.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความข้อนั้น จึงตรัสว่า

พระราชานั้นทรงคร่ำครวญน่าสงสาร เป็นอันมากว่า เราสำคัญว่าจะไม่แก่ไม่ตาย เรารู้เรื่องนี้วันนี้ แต่ก่อนหารู้ไม่ เพราะได้เห็นสามบัณฑิตทำกาลกิริยา ความไม่มาแห่งมฤตยูย่อมไม่มี สามบัณฑิตถูกลูกศรอาบยาพิษ ซึมซาบแล้วพูดอยู่กะเรา ครั้นกาลล่วงไปอย่างนี้ในวันนี้ ไม่พูดอะไรๆ เลย เราจะต้องไปสู่นรกแน่นอน เราไม่มีความสงสัยในข้อนี้เลย เพราะว่าบาปหยาบช้า อันเราทำแล้วตลอดราตรีนานในกาลนั้น เราทำกรรมหยาบช้าในบ้านเมือง คนทั้งหลายจะติเตียนเรา ใครเล่าจะควรมากล่าวติเตียนเราในราวป่าอันหามนุษย์มิได้ คนทั้งหลายจะประชุมกันในบ้านเมือง โจทนาว่ากล่าวเอาโทษเรา ใครเล่าหนอจะโจทนาว่ากล่าวเอาโทษเราในป่าอันหามนุษย์มิได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาสึ ความว่า เราได้มีความสำคัญว่า จะไม่แก่ไม่ตายมาตลอดกาลเท่านี้. บทว่า อชฺเชตํ ความว่า วันนี้เราได้เห็นสามบัณฑิตนี้ทำกาลกิริยา จึงรู้ว่าทั้งตัวเราและเหล่าสัตว์อื่นๆ ต้องแก่ต้องตาย


ความคิดเห็น 39    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 193

ทั้งนั้น. บทว่า นตฺถิ มจฺจุสฺส นาคโม ความว่า พระราชาทรงครวญคร่ำรำพันว่า ความมาแห่งมัจจุนั้น เรารู้ในวันนี้เอง เมื่อก่อนแต่นี้เราไม่รู้เลย. บทว่า สฺ วาชฺเชวงฺคเต กาเล ความว่า พระราชาทรงแสดงว่า สามบัณฑิตใดถูกลูกศรอาบยาพิษซึมซาบแล้วเจรจาอยู่กะเราในบัดนี้ทีเดียว สามบัณฑิตนั้นครั้นมรณกาลไปคือเป็นไปอย่างนี้ในวันนี้ ไม่กล่าวอะไรๆ แม้แต่น้อยเลย. บทว่า ตทา หิ ความว่า เราผู้ยิงสามบัณฑิตในขณะนั้นได้กระทำบาปแล้ว. บทว่า จิรํ รตฺตาย กิพฺพิสํ ความว่า ก็บาปนั้นทารุณหยาบช้าสามารถทำให้เดือดร้อนตลอดราตรีนาน. บทว่า ตสฺส ความว่า ติเตียนเรานั้นผู้เที่ยวทำกรรมชั่วเห็นปานนี้. บทว่า วตฺตาโร ความว่า ย่อมติเตียน. ติเตียนที่ไหน? ติเตียนในบ้าน. ติเตียนว่าอย่างไร ติเตียนว่าเป็นผู้ทำกรรมหยาบช้า.

พระราชาทรงคร่ำครวญว่า ก็ในป่าอันหามนุษย์มิได้นี้ ใครเล่าควรจะกล่าวติเตียนเรา ถ้าจะมี ก็พึงว่ากล่าวเรา. บทว่า สารยนฺติ ได้แก่ ในบ้านหรือในนิคมเป็นต้น. บทว่า สํคจฺฉ มาณวา ความว่า คนทั้งหลายจะประชุมกันในที่นั้นๆ จะยังกันและกันให้ระลึกถึงกรรมทั้งหลาย จะโจทนาอย่างนี้ว่า แน่ะท่านผู้ฆ่าคน ท่านทำทารุณกรรม ท่านต้องได้รับโทษอย่างโน้น แต่ในป่าอันหามนุษย์มิได้นี้ ใครเล่าจักยังพระราชานี้ให้ระลึกถึงกรรม พระราชาทรงโจทนาตนคร่ำครวญอยู่อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

กาลนั้น เทพธิดามีนามว่าพสุนธรี อยู่ภูเขาคันธมาทน์ เคยเป็นมารดาของพระมหาสัตว์ในอัตภาพที่เจ็ด พิจารณาดูพระโพธิสัตว์อยู่เป็นนิจ ด้วยความสิเนหาในบุตร ก็วันนั้นนางเสวยทิพยสมบัติ มิได้พิจารณาดูพระมหาสัตว์


ความคิดเห็น 40    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 194

บางอาจารย์ว่า นางไปสู่เทวสมาคมเสีย ดังนี้ก็มี ในเวลาที่พระมหาสัตว์สลบ นางพิจารณาดูว่า ความเป็นไปของบุตรเราเป็นอย่างไรบ้างหนอ ได้เห็นว่าพระเจ้าปิลยักษ์นี้ ยิงบุตรของเราด้วยลูกศรอาบยาพิษ ให้ล้มอยู่ที่หาดทรายฝั่งแม่น้ำมิคสัมมตา พร่ำรำพันด้วยเสียงอันดัง ถ้าเราจักไม่ไปในที่นั้น สุวรรณสามบุตรของเราจักพินาศอยู่ในที่นี้ แม้พระหทัยของพระราชาก็จักแตก บิดามารดาของสามะจักอดอาหาร จะไม่ได้น้ำดื่ม จักเหือดแห้งตาย แต่เมื่อเราไป พระราชาจักถือเอาหม้อน้ำดื่มไปสู่สำนักบิดามารดาของสุวรรณสามนั้น ก็แลครั้นเสด็จไปแล้วจักรับสั่งว่า บุตรของท่านทั้งสอง เราฆ่าเสียแล้ว และทรงสดับคำของท่านทั้งสองนั้นแล้ว จักนำท่านทั้งสองนั้นไปสู่สำนักของสุวรรณสามผู้บุตร เมื่อเป็นเช่นนี้ ดาบสดาบสินีทั้งสอง และเราจักทำสัจจกิริยา พิษของสุวรรณสามก็จักหาย บุตรของเราจักได้ชีวิตคืนมา จักษุทั้งสองข้างของบิดามารดาสุวรรณสามจักแลเห็นเป็นปกติ และพระราชาจักได้ทรงสดับธรรมเทศนาของสุวรรณสาม เสด็จกลับพระนคร ทรงบริจาคมหาทานครองราชสมบัติโดยยุติธรรม มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า เพราะเหตุนั้น เราจะไปในที่นั้น เทพธิดานั้นจึงไปสถิตอยู่ในอากาศโดยไม่ปรากฏกาย ที่ฝั่งมิคสัมมตานที กล่าวกับพระเจ้าปิลยักขราช.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

เทพธิดานั้นอันตรธานไปในภูเขาคันธมาทน์ มาภาษิตคาถาเหล่านี้ เพื่ออนุเคราะห์พระราชาว่า พระองค์ทำความผิดมาก ได้ทำกรรมอันชั่วช้า บิดามารดาและบุตรทั้งสามผู้หาความประทุษร้ายมิได้ ถูก


ความคิดเห็น 41    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 195

พระองค์ฆ่าเสียด้วยลูกศรลูกเดียวกัน เชิญเสด็จมาเถิด ข้าพเจ้าจะพร่ำสอนพระองค์ ด้วยวิธีที่พระองค์จะได้สุคติ พระองค์จงเลี้ยงดูบิดามารดาทั้งสองผู้มีจักษุมืดโดยธรรม ในป่า ข้าพเจ้าเข้าใจว่า สุคติจะพึงมีแก่พระองค์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รญฺโว แปลว่า พระราชานั่นแหละ. บทว่า อาคุํ กริ ความว่า ดูก่อนพระราชาผู้ใหญ่ พระองค์ได้ทรงกระทำความผิดมากคือบาปมาก. บทว่า ทุกฺกฏํ ความว่า ความชั่วใดที่พระองค์กระทำแล้วมีอยู่ พระองค์ได้กระทำแล้วซึ่งความชั่วนั้นอันเป็นกรรมลามก. บทว่า อทูสกา แปลว่า ผู้หาโทษมิได้. บทว่า ปิตาปุตฺตา ความว่า ชนสามคนเหล่านั้น คือ มารดาหนึ่ง บิดาหนึ่ง บุตรหนึ่ง พระองค์ฆ่าด้วยลูกศรลูกเดียว ด้วยว่าเมื่อพระองค์ฆ่าสุวรรณสามนั้น แม้บิดามารดาของสุวรรณสามผู้ปฏิพัทธ์สุวรรณสามนั้น ย่อมเป็นอันพระองค์ฆ่าเสียเหมือนกัน. บทว่า อนุสิกฺขามิ ความว่า จักให้ศึกษา คือ จักพร่ำสอน. บทว่า โปเส ความว่า จงตั้งอยู่ในฐานะสุวรรณสาม ยังความสิเนหาให้เกิดขึ้น เลี้ยงดูบิดามารดาทั้งสองซึ่งตาบอดนั้น ราวกะว่าสุวรรณสาม. บทว่า มญฺเหํ สุคตี สิยา ความว่า ข้าพเจ้าเข้าใจว่า พระองค์จักพึงไปสุคติเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้.

พระราชาทรงสดับคำของเทพธิดาแล้วทรงเชื่อว่า เราเลี้ยงบิดามารดาของสุวรรณสามแล้วจักไปสู่สวรรค์ ทรงดำริว่า เราจะต้องการราชสมบัติทำไม เราจักเลี้ยงดูท่านทั้งสองนั้น ทรงตั้งพระหฤทัยมั่น ทรงร่ำไรรำพันเป็นกำลัง ทรงทำความโศกให้เบาบาง เข้าพระหฤทัยว่า สุวรรณสามโพธิสัตว์สิ้นชีพแล้ว


ความคิดเห็น 42    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 196

จึงทรงบูชาสรีระของพระโพธิสัตว์นั้น ด้วยบุปผชาติต่างๆ ประพรมด้วยน้ำ ทำประทักษิณสามรอบ ทรงกราบในฐานะทั้งสี่แล้วถือหม้อน้ำที่พระโพธิสัตว์ใส่ไว้เต็มแล้ว ถึงความโทมนัส บ่ายพระพักตร์ทางทิศทักษิณเสด็จไป.

พระศาสดาเมื่อทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

พระราชานั้นทรงคร่ำครวญอย่างน่าสงสารเป็นอันมาก ทรงถือหม้อน้ำ บ่ายพระพักตร์ทางทิศทักษิณ เสด็จหลีกไปแล้ว.

แม้โดยปกติพระราชาเป็นผู้มีพระกำลังมาก ทรงถือหม้อน้ำเข้าไปสู่อาศรมบท ถึงประตูบรรณศาลาของทุกูลบัณฑิต ดุจบุคคลกระแทกอาศรมให้กระเทือน ทุกูลบัณฑิตนั่งอยู่ภายในได้ฟังเสียงฝีพระบาทแห่งพระเจ้าปิลยักขราช ก็นึกในใจว่า นี้ไม่ใช่เสียงแห่งฝีเท้าสุวรรณสามบุตรเรา เสียงฝีเท้าใครหนอ เมื่อจะถามจึงกล่าวคาถาสองคาถาว่า

นั่นเสียงฝีเท้าใครหนอ เสียงฝีเท้ามนุษย์เดินเป็นแน่ เสียงฝีเท้าสามบุตรเราไม่ดัง ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ท่านเป็นใครหนอ สามบุตรเราเดินเบา วางเท้าเบา เสียงฝีเท้าสามบุตรเราไม่ดัง ท่านเป็นใครหนอ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มนุสฺสสฺเสว ความว่า เสียงฝีเท้าที่มานี้ไม่ใช่ของราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง ยักษ์ และกินนรเป็นต้น เป็นเสียงฝีเท้าของมนุษย์แน่ แต่ไม่ใช่ของสุวรรณสาม. บทว่า สนฺตํ หิ ได้แก่ เงียบ. บทว่า วชฺชติ ได้แก่ ก้าวไป. บทว่า หญฺติ ได้แก่ วาง.

พระราชาได้สดับคำถามนั้น ทรงดำริว่า ถ้าเราไม่บอกความที่เราเป็นพระราชา บอกว่าเราฆ่าบุตรของท่านเสียแล้ว ท่านทั้งสองนี้จักโกรธเรา


ความคิดเห็น 43    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 197

กล่าวคำหยาบกะเรา เมื่อเป็นเช่นนี้ ความโกรธในท่านทั้งสองนี้ก็จักเกิดขึ้นแก่เรา ครั้นความโกรธเกิดขึ้น เราก็จักเบียดเบียนท่านทั้งสองนั้น กรรมนั้นจักเป็นอกุศลของเรา แต่เมื่อเราบอกว่าเราเป็นพระราชา ชื่อว่าผู้ที่ไม่เกรงกลัวย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น เราจะบอกความที่เราเป็นพระราชาก่อน ทรงดำริฉะนี้แล้ว ทรงวางหม้อน้ำไว้ที่โรงน้ำดื่ม แล้วประทับยืนที่ประตูบรรณศาลา เมื่อจะแสดงพระองค์ให้ฤๅษีรู้จัก จึงตรัสว่า

เราเป็นพระราชาของชาวกาสี คนเรียกเราว่า พระเจ้าปิลยักษ์ เราละแว่นแคว้นเที่ยวแสวงหามฤคเพราะความโลภ อนึ่ง เราเป็นผู้ฉลาดในธนูศิลป์ ปรากฏว่าเป็นผู้แม่นยำนัก แม้ช้างมาสู่ระยะลูกศรของเราก็ไม่พึงพ้นไปได้.

ฝ่ายทุกูลบัณฑิตเมื่อจะทำปฏิสันถารกับพระราชา จึงทูลว่า

ข้าแต่มหาบพิตร พระองค์เสด็จมาดีแล้ว อนึ่ง พระองค์เสด็จมาแต่ไกลก็เหมือนใกล้ พระองค์ผู้มีอิสระเสด็จมาถึงแล้ว ขอจงทรงทราบสิ่งที่มีอยู่ในที่นี้ ข้าแต่มหาบพิตร เชิญเสวยผลมะพลับ ผลมะหาด ผลมะซาง และผลหมากเม่า อันเป็นผลไม้เล็กน้อย ขอได้โปรดเลือกเสวยผลที่ดีๆ เถิด ข้าแต่มหาบพิตร ขอจงทรงดื่มน้ำซึ่งเป็นน้ำเย็น นำมาแต่มิคสัมมตานทีซึ่งไหลจากซอกเขา ถ้าทรงพระประสงค์.

เนื้อความของคาถานั้น ได้กล่าวไว้แล้วในสัตติคุมพชาดก แต่ในที่นี้ บทว่า คิริคพฺภรา ท่านกล่าวหมายเอามิคสัมมตานที เพราะมิคสัมมตานทีนั้นไหลมาแต่ซอกเขา จึงชื่อว่าเกิดแต่ซอกเขา.


ความคิดเห็น 44    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 198

เมื่อดาบสทำปฏิสันถารอย่างนี้แล้ว พระราชาทรงคิดว่า เราไม่ควรจะบอกว่า เราฆ่าบุตรของท่านเสียแล้ว ดังนี้ก่อน ทำเหมือนไม่รู้ พูดเรื่องอะไรๆ ไปก่อนแล้วจึงบอก ทรงดำริดังนี้แล้ว จึงตรัสว่า

ท่านทั้งสองจักษุมืดไม่สามารถจะเห็นอะไรๆ ในป่า ใครเล่าหนอนำผลไม้มาเพื่อท่านทั้งสอง ความสะสมผลไม้น้อยใหญ่ไว้โดยเรียบร้อยนี้ ปรากฏแก่ข้าพเจ้าว่า ดูเหมือนคนตาดีสะสมไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาลํ ความว่า ท่านทั้งสองตามืด ไม่สามารถจะมองเห็นอะไรๆ ในป่านี้ได้. บทว่า โก นุ โว ผลมาหริ ความว่า ใครหนอนำผลไม้น้อยใหญ่มาเพื่อท่านทั้งสอง. บทว่า นิวาโป ความว่า การเก็บคือสะสมผลไม้น้อยใหญ่ที่บริสุทธิ์ดี ซึ่งควรที่จะรับประทานที่ทำไว้อย่างเรียบร้อย คือโดยนัย โดยอุบาย โดยเหตุนี้. บทว่า อนนฺธสฺเสว ความว่า ย่อมปรากฏ คือเข้าไปตั้งไว้แก่เราเหมือนคนตาดีทำไว้.

ทุกูลบัณฑิตได้ฟังดังนั้น เพื่อจะแสดงว่ามูลผลาผลตนมิได้นำมา แต่บุตรของตนนำมา จึงได้กล่าวสองคาถาว่า

สามะหนุ่มน้อยรูปร่างสันทัดงดงามน่าดู เกศาของเธอยาวดำ เฟื้อยลงไปปลายงอนช้อนขึ้นข้างบน เธอนั่นแหละนำผลไม้มา ถือหม้อนำจากที่นี่ ไปสู่แม่น้ำนำน้ำมา เห็นจะกลับมาใกล้แล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาติพฺรหา ความว่า ไม่สูงไป ไม่เตี้ยไป. บทว่า สุนคฺคเวลฺลิตา ความว่า งอนขึ้นเหมือนปลายมีดเชือดเนื้อ สำหรับสับเนื้อ กล่าวคือมีปลายงอนขึ้น. บทว่า กมณฺฑลุํ ได้แก่ หม้อ.


ความคิดเห็น 45    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 199

บทว่า ทูรมาคโต ความว่า เข้าใจว่า บัดนี้พ่อสุวรรณสามจักมาใกล้แล้ว คือจักมาแล้วสู่ที่ใกล้.

พระราชาได้ทรงสดับดังนั้นแล้วจึงตรัสว่า

ข้าพเจ้าได้ฆ่าสามกุมารผู้ปฏิบัติบำรุงท่านเสียแล้ว ผู้เป็นเจ้ากล่าวถึงสามกุมารผู้งดงามน่าดูใด เกศาของสามกุมารนั้นยาวดำ เฟื้อยลงไปปลายงอนช้อนขึ้นเบื้องบน สามกุมารนั้นข้าพเจ้าฆ่าเสียแล้ว นอนอยู่ที่หาดทรายเปรอะเปื้อนด้วยโลหิต.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวธึ ความว่า ข้าพเจ้ายิงด้วยลูกศรยิงมฤคให้ตายแล้ว. บทว่า ปเวเทถ ได้แก่ กล่าวถึง. บทว่า เสติ ความว่า นอนอยู่บนหาดทรายริมฝั่งมิคสัมมตานที.

ก็บรรณศาลาของปาริกาดาบสินีอยู่ใกล้ของทุกูลบัณฑิต นางนั่งอยู่ในบรรณศาลานั้น ได้ฟังพระดำรัสของพระราชา ก็ใคร่จะรู้ประพฤติการณ์นั้น จึงออกจากบรรณศาลาของตน ไปสำนักทุกูลบัณฑิตด้วยสำคัญเชือกที่สำหรับสาวเดินไปได้กล่าวว่า

ข้าแต่ทุกูลบัณฑิต ท่านพูดกับใครซึ่งบอกว่า ข้าพเจ้าฆ่าสามกุมารเสียแล้ว ใจของดิฉันย่อมหวั่นไหวเพราะได้ยินว่า สามกุมารถูกฆ่าเสียแล้ว กิ่งอ่อนแห่งต้นโพธิ์ใบ อันลมพัดให้หวั่นไหว ฉันใด ใจของดิฉันย่อมหวั่นไหวเพราะได้ยินว่า สามกุมารถูกฆ่าเสียแล้ว ฉันนั้น.


ความคิดเห็น 46    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 200

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วาทินา ความว่า ผู้กล่าวว่า ข้าพเจ้าฆ่าสามกุมารเสียแล้ว. บทว่า ปวาลํ ได้แก่ หน่ออ่อน. บทว่า มาลุเตริตํ ความว่า ถูกลมพัดให้หวั่นไหว.

ลำดับนั้น ทุกูลบัณฑิตเมื่อจะโอวาทนางปาริกาดาบสินีนั้น จึงกล่าวว่า

ดูก่อนนางปาริกา ท่านผู้นี้คือพระเจ้ากาสี พระองค์ทรงยิงสามกุมารด้วยลูกศร ที่มิคสัมมตานที ด้วยความโกรธ เราทั้งสองอย่าปรารถนาบาปต่อพระองค์เลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิคสมฺมเต ความว่า ที่หาดทรายริมฝั่งมิคสัมมตานที. บทว่า โกธสา ความว่า ด้วยความโกรธที่เกิดขึ้นในเพราะมฤคทั้งหลาย. บทว่า มา ปาปมิจฺฉิมฺหา ความว่า เราทั้งสองอย่าปรารถนาบาปต่อพระองค์เลย.

ปาริกาดาบสินีกล่าวอีกว่า

บุตรที่รักอันหาได้ด้วยยาก ผู้ได้เลี้ยงเราทั้งสองผู้ตามืดในป่า จะไม่ยังจิตให้โกรธ ในบุคคลผู้ฆ่าบุตรคนเดียวนั้นได้อย่างไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฆาตมฺหิ แปลว่า ในบุคคลผู้ฆ่า. ทุกูลบัณฑิตกล่าวว่า

บุตรที่รักอันหาได้ด้วยยาก ผู้ได้เลี้ยงเราทั้งสองผู้ตามืดในป่า บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญบุคคลผู้ไม่โกรธในบุคคลผู้ฆ่าบุตรคนเดียวนั้น.


ความคิดเห็น 47    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 201

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อโกธํ ความว่า บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญ คือกล่าวถึงบุคคลผู้ไม่โกรธนั้นว่า ขึ้นชื่อว่าความโกรธ ย่อมทำให้ตกนรก ฉะนั้น ไม่พึงทำความโกรธนั้น พึงทำความไม่โกรธในบุคคลผู้ฆ่าบุตรเท่านั้น.

ก็แลครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ดาบสดาบสินีทั้งสอง ก็ข้อนทรวงด้วยมือทั้งสอง พรรณนาคุณของพระมหาสัตว์ คร่ำครวญเป็นอันมาก.

ลำดับนั้น พระเจ้าปิลยักขราชเมื่อจะทรงเล้าโลมเอาใจดาบสทั้งสองนั้น จึงตรัสว่า

ขอผู้เป็นเจ้าทั้งสองอย่าคร่ำครวญ เพราะข้าพเจ้ากล่าวว่าข้าพเจ้าฆ่าสามกุมารเสียแล้วไปมากเลย ข้าพเจ้าจักรับการงานเลี้ยงดูผู้เป็นเจ้าทั้งสอง ในป่าใหญ่ ข้าพเจ้าเป็นผู้ฉลาดในธนูศิลป์ ปรากฏว่าเป็นผู้แม่นยำนัก ข้าพเจ้าจักรับการงานเลี้ยงดูผู้เป็นเจ้าทั้งสอง ในป่าใหญ่ ข้าพเจ้าจักฆ่ามฤคและแสวงหามูลผลในป่า รับการงานเลี้ยงดูผู้เป็นเจ้าทั้งสองในป่าใหญ่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วาทินา ความว่า ท่านทั้งสองอย่ากล่าวคำเป็นต้นว่า บุตรผู้ถึงพร้อมด้วยคุณอย่างนี้ของเรา ถูกท่านผู้กล่าวอยู่กับข้าพเจ้าว่า ฆ่าสามกุมารเสียแล้วดังนี้ ฆ่าแล้ว บัดนี้ใครจักเลี้ยงดูพวกเรา ดังนี้คร่ำครวญมากไปเลย ข้าพเจ้าจักทำการงานแก่ท่านทั้งสอง เลี้ยงดูท่านทั้งสองเหมือนสามกุมาร ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว พระราชาได้ปลอบใจท่านทั้งสองนั้นว่า ขอท่านทั้งสองอย่าได้คิดเลย ข้าพเจ้าไม่ต้องการราชสมบัติ ข้าพเจ้าจักเลี้ยงดูท่านทั้งสองตลอดชีวิต.


ความคิดเห็น 48    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 202

ลำดับนั้น ฝ่ายดาบสดาบสินีทั้งสองนั้นสนทนากับพระราชา ทูลว่า

ขอถวายพระพรมหาบพิตร สภาพนั้นไม่สมควร การทรงทำอย่างนั้นไม่ควรในอาตมาทั้งสอง พระองค์เป็นพระราชาของอาตมาทั้งสอง อาตมาทั้งสอง ขอถวายบังคมพระยุคลบาทของพระองค์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺโม ได้แก่ สภาพหรือเหตุการณ์. บทว่า เนตํ กปฺปติ ความว่า การกระทำการงานของพระองค์นั้น ย่อมไม่ควร คือไม่งาม ไม่สมควรในอาตมาทั้งสอง. บทว่า ปาเท วนฺทาม เต ความว่า ก็ดาบสดาบสินีทั้งสองนั้น ตั้งอยู่ในเพศบรรพชิต ทูลพระราชาดังนี้ เพราะความโศกในบุตรครอบงำ และเพราะไม่มีมานะ.

พระราชาได้ทรงสดับดังนั้น ทรงยินดีเหลือเกิน ทรงดำริว่า โอ น่าอัศจรรย์ แม้เพียงคำหยาบของฤๅษีทั้งสองนี้ ก็ไม่มีในเราผู้ทำความประทุษร้ายถึงเพียงนี้ กลับยกย่องเราเสียอีก จึงตรัสอย่างนี้ว่า

ข้าแต่ท่านผู้เชื้อชาติเนสาท ท่านกล่าวเป็นธรรม ท่านบำเพ็ญความถ่อมตนแล้ว ขอท่านจงเป็นบิดาของข้าพเจ้า ข้าแต่นางปาริกา ขอท่านจงเป็นมารดาของข้าพเจ้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตยา ความว่า เมื่อกล่าวเป็นคนๆ ก็กล่าวอย่างนี้. บทว่า ปิตา เป็นต้น ความว่า ข้าแต่พ่อทุกูลบัณฑิต ตั้งแต่วันนี้ไป ขอท่านจงตั้งอยู่ในฐานะแห่งบิดาของข้าพเจ้า ข้าแต่แม่ปาริกา แม้ท่านก็ขอจงตั้งอยู่ในฐานะแห่งมารดา ข้าพเจ้าก็จักตั้งอยู่ในฐานะแห่งสามกุมารบุตรของท่าน กระทำกิจทุกอย่างมีล้างเท้าเป็นต้น ขอท่านทั้งสองจงอย่ากำหนดข้าพเจ้าว่าเป็นพระราชา จงกำหนดว่าเหมือนสามกุมารเถิด.


ความคิดเห็น 49    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 203

ดาบสทั้งสองประคองอัญชลีไหว้ เมื่อจะทูลวิงวอนว่า ขอถวายพระพรมหาบพิตร พระองค์ไม่มีหน้าที่ที่จะทำการงานแก่อาตมาทั้งสอง แต่ขอพระองค์จงทรงถือปลายไม้เท้าของอาตมาทั้งสองนำไปแสดงตัวสุวรรณสามเถิด จึงกล่าวสองคาถาว่า

ข้าแต่พระเจ้ากาสี อาตมาทั้งสองขอนอบน้อมแด่พระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้ยังชาวกาสีให้เจริญ อาตมาทั้งสองนอบน้อมแด่พระองค์ อาตมาทั้งสองประคองอัญชลีแด่พระองค์ ขอพระองค์โปรดพาอาตมาทั้งสองไปให้ถึงสามกุมาร อาตมาทั้งสองจะสัมผัสเท้าทั้งสองและดวงหน้าอันงดงามน่าดูของเธอ แล้วทรมานตนให้ถึงกาลกิริยา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาว สามานุปาปย ความว่า โปรดพาอาตมาทั้งสองไปให้ถึงที่ที่สามกุมารอยู่. บทว่า ภุชทสฺสนํ ความว่า สามกุมารผู้งามน่าดู คือมีรูปงามน่าเลื่อมใส. บทว่า สํสุมฺภมานา ได้แก่ โบย. บทว่า กาลมาคมยามฺหเส ความว่า จักกระทำ คือจักถึงกาลกิริยา.

เมื่อท่านเหล่านั้นสนทนากันอยู่อย่างนี้ พระอาทิตย์อัสดงคต ลำดับนั้น พระราชาทรงดำริว่า ถ้าเรานำฤๅษีทั้งสองผู้ตามืดไปในสำนักของสุวรรณสามในบัดนี้ทีเดียว หทัยของฤๅษีทั้งสองจักแตกเพราะเห็นสุวรรณสามนั้น เราก็ชื่อว่านอนอยู่ในนรก ในกาลที่ท่านทั้งสามทำกาลกิริยา ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้น เราจักไม่ให้ฤๅษีทั้งสองนั้นไป ทรงดำริฉะนี้แล้ว จึงตรัสคาถาสี่คาถาว่า


ความคิดเห็น 50    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 204

สามกุมารถูกฆ่านอนอยู่ที่ป่าใด ดุจดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ตกลงเหนือแผ่นดินแล้ว เกลือกเปื้อนด้วยฝุ่นทราย ป่านั้นเป็นป่าใหญ่ เกลื่อนกล่นด้วยพาลมฤค ปรากฏเหมือนที่สุดอากาศ ผู้เป็นเจ้าทั้งสองจงอยู่ในอาศรมนี้แหละ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺรหา ได้แก่ สูงยิ่ง. บทว่า อากาสนฺตํ ความว่า ป่านั่นแหละ เห็นกันทั่ว คือรู้กันทั่ว เป็นราวกะว่าที่สุดแห่งอากาศ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อากาสนฺตํ ความว่า ทำให้เป็นรอยอยู่ คือประกาศอยู่. บทว่า ฉมา ได้แก่ บนแผ่นดิน คือปฐพี. ปาฐะว่า ฉมํ ดังนี้ก็มี ความว่า เหมือนล้มลงบนแผ่นดิน. บทว่า ปริกุณฺิโต ความว่า เปรอะเปื้อน คือพัวพัน.

ลำดับนั้น ฤๅษีทั้งสองได้กล่าวคาถาเพื่อจะแสดงว่า ตนไม่กลัวพาลมฤคทั้งหลายว่า

ถ้าในป่านั้นมีพาลมฤค ตั้งร้อยตั้งพันและตั้งหมื่น อาตมาทั้งสองก็ไม่มีความกลัว ในพาลมฤคทั้งหลายในป่าไหนๆ เลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกจิ ความว่า ในป่านี้แม้เป็นประเทศแห่งหนึ่งในที่ไหนๆ อาตมาทั้งสองก็ไม่มีความกลัวในพาลมฤคทั้งหลาย.

ลำดับนั้น พระราชาเมื่อไม่อาจห้ามฤาษีทั้งสองนั้น ก็ทรงจูงมือนำไปในสำนักสุวรรณสามนั้น.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความข้อนั้น จึงตรัสว่า


ความคิดเห็น 51    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 205

ในกาลนั้น พระเจ้ากาสีทรงพาฤๅษีทั้งสองผู้ตามืดไปในป่าใหญ่ สุวรรณสามถูกฆ่าอยู่ในที่ใด ก็ทรงจูงมือฤๅษีทั้งสองไปในที่นั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตโต แปลว่า ในกาลนั้น. บทว่า อนฺธานํ ได้แก่ ฤาษีทั้งสองผู้ตามืด. บทว่า อหุ แปลว่า ได้เป็นแล้ว. บทว่า ยตฺถ ความว่า พระเจ้ากาสีทรงนำฤๅษีทั้งสองไปในที่ที่สุวรรณสามนอนอยู่.

ก็แลครั้นทรงนำไปแล้ว ประทับยืนในที่ใกล้สุวรรณสามแล้วตรัสว่า นี้บุตรของผู้เป็นเจ้าทั้งสอง ลำดับนั้น ฤาษีผู้เป็นบิดาของพระโพธิสัตว์ซ้อนเศียรขึ้นวางไว้บนตัก ฤๅษิณีผู้เป็นมารดาก็ยกเท้าขึ้นวางไว้บนตักของตน นั่งบ่นรำพันอยู่.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความข้อนั้น ตรัสว่า

ดาบสดาบสินีทั้งสองเห็นสามกุมารผู้เป็นบุตรนอนเกลือกเปื้อนฝุ่นทราย ถูกทิ้งไว้ในป่าใหญ่ ดุจดวงจันทร์หรือดวงอาทิตย์ตกเหนือแผ่นดิน ก็ปริเทวนาการน่าสงสาร ประคองแขนทั้งสองร้องไห้ว่า สภาพไม่ยุติธรรมมาเป็นไปในโลกนี้ พ่อสามผู้งามน่าดู พ่อมาหลับเอาจริงๆ เคลิบเคลิ้มเอามากมายดังคนดื่มสุราเข้ม ขัดเคืองใครเอาใหญ่ ถือตัวมิใช่น้อย มีใจพิเศษ ในเมื่อกาลล่วงไปอย่างนี้ในวันนี้ พ่อไม่พูดไรๆ บ้างเลย พ่อสามนี้เป็นผู้ปฏิบัติบำรุงเราทั้งสองผู้ตามืด มาทำกาลกิริยาเสียแล้ว บัดนี้ใครเล่า


ความคิดเห็น 52    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 206

จักชำระชฎาอันหม่นหมองเปื้อนฝุ่นละออง ใครเล่าจักจับกราดกวาดอาศรมของเราทั้งสอง ใครเล่าจักจัดน้ำเย็นและน้ำร้อนให้อาบ ใครเล่าจักให้เราทั้งสองได้บริโภคมูลผลาหารในป่า ลูกสามะนี้เป็นผู้ปฏิบัติบำรุงเราทั้งสองผู้ตามืด มาทำกาลกิริยาเสียแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปวิทฺธํ ความว่า ทิ้งไว้อย่างไร้ประโยชน์. บทว่า อธมฺโม กิร โภ อิติ ความว่า ได้ยินว่า ความอยุติธรรมกำลังเป็นไปในโลกนี้ในวันนี้. บทว่า มตฺโต ความว่า มัวเมา คือถึงความประมาทดุจดื่มสุราเข้ม. บทว่า ทิตฺโต แปลว่า วางปึ่ง. บทว่า วิมโน ความว่า เป็นนักเลง ฤๅษีทั้งสองพูดบ่นเพ้อทั่วๆ ไป. บทว่า ชฏํ ได้แก่ ชฎาของเราทั้งสองที่มัวหมอง. บทว่า ปํสุคตํ ความว่า จักอากูลมลทินจับในเวลาใด. บทว่า โกทานิ ความว่า บัดนี้ ใครเล่าจักจัดตั้งชฎานั้นให้ตรง คือทำความสะอาด แล้วทำให้ตรงในเวลานั้น.

ลำดับนั้น ฤๅษิณีผู้มารดาแห่งพระโพธิสัตว์ เมื่อบ่นเพ้อเป็นหนักหนา ก็เอามืออังที่อกพระโพธิสัตว์พิจารณาความอบอุ่น คิดว่า ความอบอุ่นของบุตรเรายังเป็นไปอยู่ บุตรเราจักสลบด้วยกำลังยาพิษ เราจักกระทำสัจจกิริยาแก่บุตรเรา เพื่อถอนพิษออกเสีย คิดฉะนี้แล้วได้กระทำสัจจกิริยา

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความข้อนั้น จึงตรัสว่า

มารดาผู้ระทมจิตด้วยความโศกถึงบุตร ได้เห็นสามะผู้เป็นบุตรนอนเกลือกเปื้อนด้วยฝุ่นทราย ได้กล่าวคำสัจว่า ลูกสามะนี้ได้เป็นผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติ ได้เป็นผู้ประพฤติดังพรหมเป็นปกติ ได้เป็นผู้


ความคิดเห็น 53    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 207

กล่าวคำจริงมาแต่ก่อน ได้เป็นผู้เลี้ยงบิดามารดา ได้เป็นผู้ประพฤติยำเกรงต่อท่านผู้เจริญในสกุล เป็นผู้เป็นที่รักยิ่งกว่าชีวิตของเรา โดยความจริงใดๆ ด้วยการกล่าวความจริงนั้นๆ ขอพิษของลูกสามะจงหายไป บุญอย่างใดอย่างหนึ่งที่ลูกสามะกระทำแล้วแก่เราและแก่บิดาของเธอ มีอยู่ ด้วยอานุภาพกุศลบุญนั้นทั้งหมด ขอพิษของลูกสามะจงหายไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เยน สจฺเจน ได้แก่ ด้วยความจริงใด คือด้วยสภาวะใด. บทว่า ธมฺมจารี ได้แก่ ผู้ประพฤติธรรมคือกุศลกรรมบถสิบ. บทว่า สจฺจวาที ความว่า ไม่กล่าวมุสาวาท แม้ด้วยการหัวเราะ. บทว่า มาตาเปติภโร ความว่า เป็นผู้ไม่เกียจคร้าน เลี้ยงดูบิดามารดาตลอดคืนวัน. บทว่า กุเล เชฏฺาปจฺจายิโก ความว่า เป็นผู้กระทำสักการะแก่บิดาเป็นต้นผู้เจริญที่สุด.

เมื่อมารดาทำสัจจกิริยาด้วยเจ็ดคาถาอย่างนี้ สามกุมารก็พลิกตัวกลับนอนต่อไป ลำดับนั้น บิดาคิดว่า ลูกของเรายังมีชีวิตอยู่ เราจักทำสัจจกิริยาบ้าง จึงได้ทำสัจจกิริยาอย่างนั้น.

พระศาสดาเพื่อจะทรงประกาศความข้อนั้น จึงตรัสว่า

บิดาผู้ระทมจิตด้วยความโศกถึงบุตร ได้เห็นสามะผู้เป็นบุตรนอนเกลือกเปื้อนด้วยฝุ่นทราย ได้กล่าวคำสัจว่า ลูกสามะนี้ได้เป็นผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติ ได้เป็นผู้ประพฤติดังพรหมเป็นปกติ ได้เป็นผู้กล่าวคำจริงมาแต่ก่อน ได้เป็นผู้เลี้ยงบิดามารดา ได้


ความคิดเห็น 54    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 208

เป็นผู้ประพฤติยำเกรงต่อท่านผู้เจริญในสกุล เป็นผู้เป็นที่รักยิ่งกว่าชีวิตของเรา โดยความจริงใดๆ ด้วยการกล่าวความจริงนั้นๆ ขอพิษของลูกสามะจงหายไป บุญอย่างใดอย่างหนึ่งที่ลูกสามะกระทำแล้วแก่เราและแก่มารดาของเธอ มีอยู่ ด้วยอานุภาพกุศลบุญนั้นทั้งหมด ขอพิษของลูกสามะจงหายไป.

เมื่อบิดาทำสัจจกิริยาอยู่อย่างนี้ พระมหาสัตว์พลิกตัวอีกข้างหนึ่งนอนต่อไป ลำดับนั้น เทพธิดาผู้มีนามว่าพสุนธรีได้ทำสัจจกิริยาลำดับที่สามแก่พระมหาสัตว์นั้น.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความข้อนั้น จึงตรัสว่า

นางพสุนธรีเทพธิดา อันตรธานไปจากภูเขาคันธมาทน์ มากล่าวสัจจวาจาด้วยความเอ็นดูสามกุมารว่า เราอยู่ที่ภูเขาคันธมาทน์ตลอดราตรีนาน ใครๆ อื่นซึ่งเป็นที่รักของเรากว่าสามกุมารไม่มี ของหอมล้วนแล้วด้วยไม้หอมทั้งหมด ณ คันธมาทน์บรรพตมีอยู่ ด้วยสัจจวาจานี้ ขอพิษของสามกุมารจงหายไป เมื่อฤๅษีทั้งสองบ่นเพ้อรำพันเป็นอันมากน่าสงสาร สามกุมารผู้หนุ่มงดงามน่าทัศนา ก็ลุกขึ้นเร็วพลัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปพฺพตฺยาหํ ตัดบทเป็น ปพฺพเต อหํ ความว่า เราอยู่ ณ บรรพต. บทว่า วนมยา ได้แก่ ล้วนแล้วไปด้วยต้นไม้มีกลิ่นหอม ที่ภูเขานั้นไม่มีต้นไม้อะไรๆ ที่ไม่มีกลิ่นหอมเลย. บทว่า เตสํ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อฤาษีทั้งสองนั้นบ่นเพ้อรำพันกันอยู่นั่นแล


ความคิดเห็น 55    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 209

สามกุมารได้ลุกขึ้นเร็วพลัน ในกาลที่เทพธิดาทำสัจจกิริยาจบลง ความเจ็บป่วยของสามกุมารนั้นได้คลายหายไปเหมือนน้ำกลิ้งจากใบบัว ไม่ปรากฏแผลที่ถูกยิงว่า ถูกยิงตรงนี้ ถูกยิง ณ ที่นี้.

อัศจรรย์ทั้งปวงคือ พระมหาสัตว์หายโรค ฤาษีผู้เป็นบิดามารดาได้ดวงตากลับเห็นเป็นปกติ แสงอรุณขึ้น และท่านทั้งสี่เหล่านั้นปรากฏที่อาศรม ได้มีขึ้นในขณะเดียวกันทีเดียว บิดามารดาทั้งสองได้ดวงตาดีเป็นปกติแล้ว ยินดีอย่างเหลือเกินว่า ลูกสามะหายโรค ลำดับนั้น สามบัณฑิตได้กล่าวกะท่านเหล่านั้นด้วยคาถานี้ว่า

ข้าพเจ้ามีนามว่าสามะ ขอความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าลุกขึ้นได้แล้วโดยสวัสดี ขอท่านทั้งหลายอย่าคร่ำครวญนักเลย จงพูดกะข้าพเจ้าด้วยเสียงอันไพเราะเถิด.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์แลเห็นพระราชา เมื่อจะทูลปฏิสันถาร จึงกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

ข้าแต่มหาบพิตร พระองค์เสด็จมาดีแล้ว อนึ่ง พระองค์เสด็จมาแต่ไกลก็เหมือนใกล้ พระองค์ผู้มีอิสระเสด็จมาถึงแล้ว ขอจงทรงทราบสิ่งที่มีอยู่ในที่นี้ ข้าแต่มหาบพิตร เชิญเสวยผลมะพลับ ผลมะหาด ผลมะซาง และผลหมากเม่า อันเป็นผลไม้เล็กน้อย ขอได้โปรดเลือกเสวยผลที่ดีๆ เถิด ข้าแต่มหาบพิตร ขอจงทรงดื่มน้ำซึ่งเป็นน้ำเย็น นำมาแต่มิคสัมมตานที ซึ่งไหลจากซอกเขา ถ้าทรงพระประสงค์.


ความคิดเห็น 56    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 210

ฝ่ายพระราชาทอดพระเนตรเห็นอัศจรรย์นั้น จึงตรัสว่า

ข้าพเจ้าหลงเอามาก หลงเอาจริงๆ มืดไปทั่วทิศ ข้าพเจ้าได้เห็นสามบัณฑิตนั้นทำกาลกิริยาแล้ว ทำไมท่านเป็นได้อีกเล่าหนอ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เปตํ ความว่า ได้เห็นสามบัณฑิตทำกาลกิริยาแล้ว. บทว่า โก นุ ตฺวํ ความว่า พระราชาตรัสถามว่า ท่านกลับเป็นขึ้นมาได้อย่างไรหนอ.

ฝ่ายสามบัณฑิตดำริว่า พระราชาทรงกำหนดเราว่าตายแล้ว เราจักประกาศความที่เรายังไม่ตายแก่พระองค์ จึงทูลว่า

ข้าแต่มหาราชเจ้า โลกย่อมสำคัญซึ่งบุคคลผู้ยังมีชีวิตอยู่ เสวยเวทนาอย่างหนัก มีความดำริในใจ เข้าไปใกล้แล้ว ยังเป็นอยู่แท้ๆ ว่าตายแล้ว ข้าแต่มหาราชเจ้า โลกย่อมสำคัญซึ่งบุคคลผู้ยังมีชีวิตอยู่ เสวยเวทนาอย่างหนัก ถึงความดับสนิทระงับแล้วนั้น ยังเป็นอยู่แท้ๆ ว่าตายแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปิ ชีวํ ได้แก่ ยังเป็นอยู่แท้ๆ. บทว่า อุปนีตมนสงฺกปฺปํ ได้แก่ มีจิตวาระหยั่งลงในภวังค์. บทว่า ชีวนฺตํ แปลว่า ยังมีชีวิตอยู่จริงๆ. บทว่า มญฺเต ความว่า โลกนี้ย่อมสำคัญว่าผู้นี้ตายแล้ว. บทว่า นิโรธคตํ ความว่า สามบัณฑิตกล่าวว่า โลกย่อมสำคัญซึ่งบุคคลผู้ยังมีชีวิตอยู่ มีอัสสาสะปัสสาสะ ถึงความดับสนิท ระงับแล้วยังเป็นอยู่แท้ๆ เช่นข้าพระองค์ ว่าตายแล้วอย่างนี้.

ก็แลครั้นทูลอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์ประสงค์จะประกอบพระราชาไว้ในประโยชน์ เมื่อแสดงธรรมจึงได้กล่าวคาถาอีกสองคาถาว่า


ความคิดเห็น 57    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 211

บุคคลใดเลี้ยงดูบิดามารดาโดยธรรม เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมแก้ไขคุ้มครองบุคคลผู้เลี้ยงดูบิดามารดานั้น บุคคลใดเลี้ยงดูบิดามารดาโดยธรรม นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมสรรเสริญบุคคลผู้นั้นในโลกนี้ บุคคลนั้นละจากโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงอยู่ในสวรรค์.

พระราชาได้สดับคำนั้นแล้ว ทรงดำริว่า น่าอัศจรรย์หนอ แม้เทวดาทั้งหลายก็เยียวยาโรคที่เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้เลี้ยงดูบิดามารดา สามบัณฑิตนี้งดงามเหลือเกิน ทรงดำริฉะนี้แล้ว ประคองอัญชลีตรัสว่า

ข้าพเจ้านี้หลงเอามากจริงๆ มืดไปทั่วทิศ ท่านสามบัณฑิต ข้าพเจ้าขอถึงท่านเป็นสรณะ และขอท่านจงเป็นสรณะของข้าพเจ้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภิยฺโย ความว่า เพราะข้าพเจ้าได้ทำผิดในผู้ที่มีศีลบริสุทธิ์สมบูรณ์ด้วยคุณธรรมเช่นท่าน ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงหลงเอาจริงๆ เหลือเกิน. บทว่า ตฺวญฺจ เม สรณํ ภว ความว่า ข้าพเจ้าขอถึงท่านเป็นสรณะ และขอท่านจงเป็นสรณะ คือจงเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้าผู้ขอถึงสรณะ คือขอท่านจงทำข้าพเจ้าให้ไปเทวโลก.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทูลพระราชาว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ถ้าพระองค์มีพระประสงค์เสด็จสู่เทวโลก มีพระประสงค์บริโภคทิพยสมบัติใหญ่ จงทรงประพฤติในทศพิธราชธรรมจรรยาเหล่านี้เถิด เมื่อจะถวายโอวาทแด่พระราชา จึงได้กล่าวคาถาอันว่าด้วยการประพฤติทศพิธราชธรรมว่า


ความคิดเห็น 58    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 212

ข้าแต่ขัตติยมหาราช ขอพระองค์ทรงประพฤติธรรมในพระชนกพระชนนี ในพระโอรสและพระมเหสี ในมิตรและอมาตย์ ในพาหนะและพลนิกาย ในชาวบ้านและชาวนิคม ในชาวแว่นแคว้นและชาวชนบท ในสมณะและพราหมณ์ ในฝูงมฤคและฝูงปักษีเถิด ครั้นพระองค์ทรงประพฤติธรรมนั้นๆ ในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์ ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์ทรงประพฤติธรรมเถิด ธรรมที่พระองค์ทรงประพฤติแล้ว ย่อมนำความสุขมาให้ ครั้นพระองค์ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์ ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์ทรงประพฤติธรรมเถิด พระอินทร์ เทพเจ้าพร้อมทั้งพระพรหมถึงแล้วซึ่งทิพยสถาน ด้วยธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ข้าแต่พระราชา ขอพระองค์อย่าทรงประมาทธรรม.

ก็เนื้อความของคาถาเหล่านี้ มีกล่าวไว้โดยพิสดารแล้วในสกุณชาดกนั่นแล.

พระมหาสัตว์แสดงธรรมถวายพระราชาอย่างนี้แล้ว เมื่อจะถวายโอวาทยิ่งขึ้น ได้ถวายเบญจศีล พระราชาทรงรับโอวาทของพระมหาสัตว์นั้นด้วยพระเศียร ทรงไหว้พระโพธิสัตว์ ขอขมาโทษพระโพธิสัตว์แล้วเสด็จกลับกรุงพาราณสี ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลมีทานเป็นต้น ทรงรักษาเบญจศีลครองราชสมบัติโดยธรรมโดยเสมอ ในที่สุดแห่งพระชนม์ ได้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า ฝ่ายพระโพธิสัตว์ปฏิบัติบำรุงบิดามารดา ยังอภิญญาและสมาบัติ


ความคิดเห็น 59    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 213

ให้บังเกิดพร้อมด้วยบิดามารดา มิได้เสื่อมจากฌาน ในที่สุดแห่งอายุได้เข้าถึงพรหมโลกพร้อมด้วยบิดามารดานั้นแล.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าการเลี้ยงดูบิดามารดาเป็นวงศ์ของบัณฑิตทั้งหลาย ตรัสฉะนี้แล้ว ทรงประกาศอริยสัจสี่ประชุมชาดก ในเวลาเทศนาอริยสัจสี่จบลง ภิกษุนั้นบรรลุโสดาปัตติผล พระราชาปิลยักขราช ในกาลนั้นกลับชาติมาเป็นภิกษุชื่ออานนท์ในกาลนี้ พสุนธรีเทพธิดาเป็นภิกษุณีชื่ออุบลวรรณา ท้าวสักกเทวราชเป็นภิกษุชื่ออนุรุทธะ. ทุกูลบัณฑิตผู้บิดาเป็นภิกษุชื่อมหากัสสปะ นางปาริกาผู้มารดาเป็นภิกษุณีชื่อภัททกาปิลานี ก็สุวรรณสามบัณฑิต คือเราผู้สัมมาสัมพุทธะนี้เองแล.

จบ สุวรรณสามชาดก